DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
14 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

ย้อนรอยคดี 'ผู้พันตึ๋ง'จุดเปลี่ยนนิติวิทยาศาสตร์


          ตามรอยคดี "ผู้พันตึ๋ง" ตกเป็นจำเลยคดีฆ่าผู้ว่าฯ ปรีณะ หลักฐานคราบเลือดและการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ นำมาสู่คำพิพากษาประหารชีวิต และการตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจด้านการตรวจพิสูจน์หลัก ฐานของตำรวจ


            คดีฆาตกรรม "ปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์" อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นอกจากจะเป็นการปิดฉากหนึ่งในตำนานแกนนำนักศึกษากลุ่มกระทิงแดงนาม "พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ" หรือเรียกขานในแวดวงยุทธจักรว่า "ผู้พันตึ๋ง" ยังเป็นการก่อกำเนิดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจการตรวจพิสูจน์หลักฐานที่อยู่ในมือตำรวจมาอย่างยาวนาน !?!


          ปฐมบทแห่งคดีฆาตกรรมอันครึกโครมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2544 ขณะที่ผู้ว่าฯ ปรีณะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาประชุมรับนโยบายจากรัฐบาล โดยเข้าพักที่ห้องเลขที่ 4006 โรงแรมรอยัล แปซิฟิก ถนนพระราม 9 และนัดพบกับ "อังคนางค์ สุนทรวิภาค" เพื่อนสาวคนสนิทเหมือนอย่างที่เคยทำทุกครั้งเมื่อเข้า กทม. และครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน จะมีแตกต่างกันก็ตรงที่ผู้ว่าฯ ปรีณะไม่มีโอกาสได้กลับไปใช้ชีวิตเฉกเช่นปุถุชนได้อีก เมื่อพนักงานโรงแรมมาพบในสภาพไร้ลมหายใจในเวลาต่อมา


            ผู้ ว่าฯ ปรีณะเสียชีวิตในลักษณะคว่ำหน้าอยู่ตรงประตูทางเข้าห้องพัก ลำคอมีรอยถูกเชือดหลายแห่ง ท้ายทอยมีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด .22 มีผ้าเช็ดตัวคลุมที่หัวและคอ 2 ผืน เมื่อช่วงเช้าวันที่ 5 มีนาคม 2544 ส่วน "อังคนางค์" หายตัวไปอย่างมีพิรุธ


            พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ ในฐานะแม่ทัพนครบาลขณะนั้นมอบหมายให้ พล.ต.ต.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผบช.น.นักสืบมือดีเข้าควบคุมการสืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐาน ร่วมกับ พล.ต.ต.อังกูร อาทรไผท ผบก.น.4 ในฐานะควบคุมดูแล สน.วังทองหลาง ท้องที่เกิดเหตุ


            ผ่านไปเพียง 2 วันเท่านั้น หลังถูกกดดันจากตำรวจอย่างหนัก "อังคนางค์" ก็ปรากฏตัวกับพนักงานสอบสวน สน.วังทองหลาง พร้อมให้การรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือสังหารอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรด้วย มือของเธอเอง !?! ตามคำให้การที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเวลานั้น "อังคนางค์" บอกว่า เธอมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับผู้ว่าฯ ปรีณะ หลังจากได้ทำกิจกรรมบางอย่างแล้วก็เอ่ยปากขอยุติความสัมพันธ์ ทว่าผู้ว่าฯ ปรีณะไม่ยินยอม เธอจึงใช้มีดปอกผลไม้ที่ซื้อมาแทงและใช้ปืนขนาด .22 ที่พกติดตัวยิงจนผู้ว่าฯ เสียชีวิต จากนั้นได้หยิบเงินสด 5,000 บาท และแหวนเพชรของผู้ตายไป ซึ่งต่อมานำไปขายที่ร้านจิวเวลลีแห่งหนึ่งบนห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่าน บางกะปิ


            ตำรวจ น่าจะปิดคดีนี้ลงได้นับตั้งแต่ "อังคนางค์" ให้การรับสารภาพ หากว่าไม่มีการตรวจพบในกาลต่อมาว่า ห้วงเวลาเกิดเหตุนั้นมีบุรุษอีกผู้หนึ่งใช้นามแฝงว่า "กาย" เข้าไปพักในโรงแรมเดียวกันกับผู้ว่าฯ ปรีณะ และหากชายคนที่ว่าเป็นคนสามัญธรรมดาก็คงจะไม่ถูกจับจ้องมองด้วยสายตาแห่ง ความกังขา และปริศนาสงสัยทั้งหลายทั้งปวงก็เกิดขึ้นตามมาในวินาทีที่รู้ว่าเขาคือ "ผู้พันตึ๋ง" ผู้กว้างขวางในแวดวงนักเลงของเมืองไทย


            กาย หรือผู้พันตึ่ง หรือ พ.ต.เฉลิมชัย เปิดห้องพักเลขที่ 4015 และ 4017 พักอยู่กับเพื่อนหญิงคนสนิทและ ส.อ.มานิตย์ ศรีสะอาด กับ ส.อ.สุวัฒน์ คำเหง้า สองลูกน้องคนสนิท แทนที่จะปิดสำนวนการสอบสวนตำรวจจึงเริ่มรื้อฟื้นคดีขึ้นมาทำใหม่ทั้งหมด !


            มีกระแสข่าวลือกึ่งกระซิบกระซาบในวงการสีกากีตั้งแต่อดีตจนถึงทุก วันนี้ก็มียังให้ได้ยินบ้างประปรายว่า ผู้พันตึ๋งได้เหยียบตาปลานายตำรวจใหญ่เข้าอย่างจังเบอร์ ในฐานะที่เขาได้รับมอบหมายให้ไปหาข่าวยาเสพติดด้านชายแดนไทย-พม่า แล้วบังเอิญไปเจอเข้ากับหลักฐานชิ้นหนึ่งคือรูปถ่ายภรรยาบิ๊กตำรวจกับเมีย ของราชายาเสพติดนาม "เหว่ย เซียะ กัง" ถึงแม้จะไม่สามารถปรักปรำลงไปชัดว่าคนคนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้า ยาเสพติด แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธถึงสายสัมพันธ์ที่ว่าได้


            แล้ว รายงานชิ้นนี้ก็ถูกส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นจึงทำให้ใครต่อหลายคนอดคิดไปไม่ได้ว่า ทั้งสองเรื่องนี้เกี่ยวโยงกันหรือไม่ ?


            อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการเปลี่ยนพนักงานสอบสวนจากตำรวจนครบาลมาเป็นกองปราบปราม และหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทนำมาสู่การปิดฉากนายทหารคนดังในที่สุด


            การเข้ามาทำคดีของกองปราบปรามต่อจากนครบาล ได้พบหลักฐานเป็นคราบเลือดที่ท่อน้ำในห้องพักของผู้พันตึ๋ง เป็นการพบ 3 วันหลังเกิดเหตุ และผลการตรวจดีเอ็นเอ ก็ตรงกับผู้ว่าฯ ปรีณะ หลักฐานชิ้นนี้มีเหตุผลเพียงพอให้ตำรวจเข้าค้นบ้านพักและค่ายมวยของผู้พัน ตึ๋งย่านเหม่งจ๋าย พบแผนผังและข้อความบางส่วนถูกขยำทิ้ง จากนั้นได้ยึดรองเท้าผ้าใบของ ส.อ.สุวัฒน์ หลังพบคราบเลือดติดอยู่ รวมทั้งคราบเลือดที่ปรากฏอยู่บนแป้นเบรกรถยนต์อีซูซุ ทรูปเปอร์ ทะเบียน 3965 เชียงใหม่ ของผู้พันตึ๋งก็ถูกนำไปตรวจสอบด้วยเช่นเดียวกัน


            ในขณะที่การคลี่ปมคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว "อังคนางค์" ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง ก็กลับคำให้การใหม่ว่า วันเกิดเหตุผู้พันตึ๋งพร้อมด้วย ส.อ.สุวัฒน์ และ ส.อ.มานิตย์ บุกเข้ามาในห้องขู่ให้นั่งก้มหน้าก่อนจับคว่ำหน้าลงกับพื้น หลังจากนั้นผู้พันตึ๋งและลูกน้องก็ลงมือเชือดคอผู้ว่าฯ ปรีณะ แล้วใช้ปืนของเธอยิงที่ศีรษะซ้ำอีกครั้ง


            ด้วยพยานหลักฐานเหล่านี้ ตำรวจกองปราบปรามจึงจับกุมผู้พันตึ๋งและลูกน้องทั้งสองดำเนินคดีในข้อหา ฆาตกรรมผู้ว่าฯ ปรีณะ โดยระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลผู้พันตึ๋งได้เบิกความว่า ถูกกลั่นแกล้งจากนายตำรวจใหญ่รายหนึ่ง พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พนักงานสอบสวนอ้างถึง โดยเฉพาะที่มาของคราบเลือดที่พบบริเวณท่อน้ำในห้องพัก อาจเป็นไปได้ว่าพนักงานโรงแรมเข้ามาล้างมือ หรือถูกกลั่นแกล้งจากตำรวจนำคราบเลือดมาป้ายไว้ที่อ่างล้างหน้า


          ทว่าท้ายที่สุดแล้วพยานหลักฐานมีน้ำหนักเกินกว่าศาลชั้นต้นจะเชื่อ คำเบิกความของจำเลย จึงพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้พันตึ๋ง จำคุกอังคนางค์ 3 ปี 8 เดือน และให้ยกฟ้อง ส.อ.สุวัฒน์ และ ส.อ.มานิตย์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้ประหารชีวิตสองลูกน้องของผู้พันตึ๋งด้วย และศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์


            ถือเป็นการปิดฉากตำนานชีวิตบนเส้นทางสายนักบู๋ ขณะเดียวกันก็เป็นแรงผลักดันให้เกิดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่อยู่ในมือของตำรวจเบ็ดเสร็จมาอย่างยาวนานนับแต่อดีต


            พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ บอกว่า ในชั้นอุทรณ์ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ ได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรม โดยมีข้อร้องเรียน 2 ข้อเกี่ยวกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น เรื่องแรกคือที่มาของคราบเลือดที่ตำรวจพบที่ก๊อกน้ำในห้องพัก โดยตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีคนอื่นนำไปใส่ไว้และเรื่องการตรวจสอบดีเอ็นเอที่ทำ โดยตำรวจอาจไม่ได้มาตรฐาน


            "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือมากที่สุด เมื่อผลออกมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับที่มาของหลักฐานด้วย หากมีที่มาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง มีการจัดฉากขึ้นก็เกิดความไม่เป็นธรรม หลายคดีเกิดปัญหาลักษณะนี้สายเกินกว่าจะแก้ไข จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงต้องทำงานในลักษณะใกล้เคียงกับสำนักงานนิติวิทยา ศาสตร์ตำรวจ"


          พญ.คุณหญิง พรทิพย์ ยังยกตัวอย่างคดีที่เกิดความกังขาอันเกิดจากการสืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐาน จากตำรวจเพียงฝ่ายเดียว คือ คดีวิสามัญฆาตกรรม "โจ ด่านช้าง" ผู้ต้องหาค้ายาเสพติดกับพวกรวม 6 ศพ ทั้งๆ ที่ผู้ต้องหาถูกจับใส่กุญแจมือแล้วยังต่อสู้ขัดขืนจนถูกวิสามัญเมื่อปี 2539 คดี "เสริม สาครราษฎร์" ฆาตกรรม "น.ส.เจนจิรา พลอยองุ่นศรี" แฟนสาว คดีสังหารอาสาสมัครฝ่ายปกครองที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เมื่อหลายปีก่อน และการเสียชีวิตของ "ห้างทอง ธรรมวัฒนะ" กับปมมรดกเลือดอันครึกโครม เมื่อปี 2542 






 

Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2553
3 comments
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2553 10:58:47 น.
Counter : 4403 Pageviews.

 

อยากรู้ข้อมูลสาเหตุการสังหารของผู้พัน

 

โดย: โซ่ IP: 183.89.39.231 29 มีนาคม 2553 18:32:49 น.  

 

 

โดย: peter125 (steven1064 ) 2 มกราคม 2555 9:06:57 น.  

 

สุดยอด

 

โดย: กีกีั IP: 180.183.68.151 14 ตุลาคม 2556 3:25:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.