DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
4 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการวิเคราะห์วัตถุระเบิด (GT 200, Fido, Ionscan 500 DT)

                    วัตถุระเบิดก็คือสารซึ่งอาจจะเป็นสารเคมีหรือนิวเคลียร์ก็ได้ที่มีคุณสมบัติสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนรูปได้อย่างรวดเร็วจนเกิดสารใหม่ที่มีความเสถียรมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเกิดพลังงานความร้อนตามมาด้วยแรงกดดันขึ้น ตัวอย่างเช่น  TNT (Trinitrotoluene), C-4 (Pentrite), Dynamite และ RDX (RDX หมายถึง Cyclotrimethylenetrinitramine เป็นสารประกอบวัตถุระเบิด)


                วัตถุระเบิดสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท โดยแบ่งตาม 


                1. สารที่เป็นองค์ประกอบของระเบิด 


                2. วัตถุประสงค์ในการใช้งาน 


                3. รอบความเร็วของการระเบิด 


                การจำแนกตามรอบความเร็วของการระเบิด (นิยมใช้มากที่สุด


                1) ระเบิดแรงต่ำ Low - Explosive โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาการระเบิดวัตถุระเบิดประเภทนี้ จะเป็นการลุกไหม้อย่างรวดเร็ว (deflagration) ทำให้เกิดความร้อนและความดันก๊าซ โดยที่คลื่นกระแทก (shock wave) ที่เกิดจากการระเบิด มีความเร็วในการแล่นผ่านตัววัตถุระเบิดเอง น้อยกว่า 1000 เมตรต่อวินาที่ วัตถุระเบิดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ดินปืน 


                2) ระเบิดแรงสูง High - Explosive โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาการระเบิดวัตถุระเบิดประเภทนี้ จะเป็นการสลายตัวรวดเร็วของสารระเบิด (detonation) ทำให้เกิดพลังงานที่เกิดความดันก๊าซ และคลื่นกระแทก (shock wave) ที่สูงมาก โดยที่คลื่นกระแทก (shock wave) มีความเร็วในการแล่นผ่านตัววัตถุระเบิดเอง มากกว่า 1000 เมตรต่อวินาที่ วัตถุระเบิดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ TNT , P.E.T.N. , Dynamite , RDX 


                เมื่อมีการใช้ระเบิดจนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ก็ต้องมีการสืบค้นว่าเป็นระเบิดชนิดใด ใครเป็นผู้ก่อให้เกิดการระเบิด ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีในศาล 


                วงการนิติวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาเครื่องมือตรวจคัดกรองที่มีความไวและจำเพาะมากขึ้นตามลำดับอย่างน้อยก็เพื่อช่วยให้พนักงานสอบสวนทราบว่าที่เกิดเหตุมีระเบิดและสารอันเป็นวัตถุระเบิดนั้นปรากฏอยู่ที่ไหน กับใครบ้าง อย่างเช่น การปิดล้อมตรวจค้นสถานที่ต่างๆ รวมทั้งบ้านพักอาศัยที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เพื่อค้นหาว่ามีวัตถุระเบิดอยู่หรือไม่ และเนื่องจากเครื่องมือมีความไวมากจึงตรวจพบสารระเบิดได้แม้จะมีปริมาณติดตัวผู้ต้องสงสัยเพียงเล็กน้อยก็จะได้ ผลบวก


อุปกรณ์ที่นักนิติวิทยาศาสตร์ใช้ตรวจค้น 


               1) GT 200 เป็นเครื่องมือค้นหาสสารหรือวัตถุต้องสงสัยเบื้องต้นที่สามารถตรวจได้ทั้งวัตถุระเบิด, ปืนและยาเสพติด แต่เป็นอุปกรณ์ที่มีตำหนิ คือ จะเกิดผลผิดพลั้งได้มากกว่าเครื่องอื่นๆ


ลักษณะภายนอก 


                เป็นเครื่องมือตรวจหาวัตถุระเบิดที่มีลักษณะเป็นกระบอกพลาสติกมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดสำหรับตรวจหาวัตถุระเบิดหรือสารเสพติด มีเสาอากาศเป็นตัวตรวจจับคลื่นและเป็นตัวชี้ทิศทาง ไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่ แต่ใช้ไฟฟ้าสถิตจากตัวผู้ตรวจ


หลักการทำงาน 


                ทำงานโดยหลักการการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของสารระเบิดหรือสารเสพติด จะให้พลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้เสาอากาศชี้ไปหาแหล่งกำเนิดพลังงาน


 




 


                2) Dropex Plus Explosives Detection Unit  ตรวจได้แต่สารระเบิดเท่านั้น โดยจะใช้น้ำยาหยดลงไปตรงบริเวณที่สงสัยว่าจะมีวัตถุระเบิดอยู่แล้วนำมาเทียบกับแผ่นมาตรฐานที่มีอยู่ 


                3) Sabre 4000 ตรวจได้ทั้งสารระเบิดและสารเสพติด โดยเป็นแผ่นกระดาษที่นำไปแปะบริเวณที่สงสัยแล้วนำไปเสียบเข้าเครื่องมือ หากตรวจพบเครื่องก็จะส่งสัญญาณ เครื่องนี้ดีตรงที่ไม่ค่อยมี ผลบวกลวง (False Positive) 


                4) Fido เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลหน้าจอแต่จะไม่บอกชนิดของสาร ผู้ตรวจต้องดูเป็นว่าเป็นสารระเบิด เช่น ไนโตรเจนหรือระเบิดพลาสติกจริงหรือเปล่า 


                5) Ionscan 500 DT เป็นเครื่องมือที่ใช้สะดวก พกพาได้ มีความไวขนาดตรวจหาสารระเบิดที่มีปริมาณ ระดับไพโคกรัม (Pycogram) ซึ่งเล็กมากๆ โดยหลักการทำงาน คือ เครื่องจะตรวจหาวัตถุระเบิดจากส่วนประกอบของละอองระเบิด ซึ่งสามารถตรวจหาระเบิดหลายชนิดได้อย่างแม่นยำ 


                อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจคัดกรองเบื้องต้นว่าได้ผลบวก คือ พบสารระเบิดแล้ว จะต้องนำวัตถุพยานที่สงสัยจะมีวัตถุระเบิด ไปตรวจยืนยันในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น GCMS หรือ SPME (Solid Phase Micro Extraction) ซึ่งเทคนิค GCMS ที่ไวจึงเหมาะสำหรับวิเคราะห์หาสารที่ได้ภายหลังการระเบิดและมีประโยชน์มากในการตรวจหาสารระเบิดกลุ่มอินทรีย์ แต่ขั้นตอนในการสกัดตัวอย่างอาจได้สารประกอบหลายชนิดที่ส่งผลรบกวนการวิเคราะห์หาสารระเบิดได้ ในขณะที่ SPME จะสามารถช่วยกำจัดสารรบกวนส่วนใหญ่ออกไปได้




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2553
3 comments
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 14:45:31 น.
Counter : 2106 Pageviews.

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แบบนี้นี่เอง

 

โดย: nompiaw.kongnoo 4 กุมภาพันธ์ 2553 15:06:18 น.  

 

เครื่องลวงโลก

 

โดย: New IP: 202.173.215.148 4 กุมภาพันธ์ 2553 16:01:11 น.  

 

ตกลงว่าที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้บทสรุปมันคืออะไรกันแน่ แล้วมันใช้งานได้จริงไหมไม่รู้จะเชื่อใครดี ทหารก็ยืนยันว่าใช้ได้ นักวิชาการก็ออกมาค้าว่าเป็นไปไม่ได้ เผลอๆจะเป็นข่าวผลกระทบจากระบบการเมืองที่สุดแสนน่าเบื่อของบ้านเราก็ได้ น้องปั๊ก ล่ะเหนื่อยใจ แทน สู้ชีวิตหมาหน้าย่น สุดหล่อ papa รวย mama สวยใจดี อย่างน้องชิก็ไม่ได้ สุขสบายเหนือคำบรรยาย วันนี้ไปก่อนนะได้เวลาพักผ่อนกับพี่ชายตัวเล็กแล้ว เอากำลังใจมาฝาก แต่ถ้าจะตอบแทนเป็น cecar ชิก็ ok นะ.......

 

โดย: น้อง(ชิ)หมาขี้สงสัย (forenspug ) 6 กุมภาพันธ์ 2553 15:27:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.