เมษายน 2560

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
อนุมัติตั้งนิคมแบตรถไฟฟ้า



สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุน “โครงการสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมNew S-Curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง” สอดรับไทยแลนด์ 4.0 รัฐบาลเดินหน้าผลักดันระเบียงเศรษฐกิจตั้งเป้าดำเนินการให้เสร็จใน 2 ปี โดยจะเริ่มต้นจาก “อุตสาหกรรมระบบสำรองไฟฟ้า(Energy Storage)” มุ่งเน้นนวัตกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีอันทันสมัย 

นายเจน นำชัยศิริประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมฯในฐานะตัวแทนภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 เพื่อให้เกิดการลงทุนและการสร้างการผลิตในประเทศ รวมถึงการสร้างรายได้จากสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศทำให้เกิดการจ้างงาน ตลอดจนสามารถลดการนำเข้าสินค้าได้ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์หลักของสภาอุตสาหกรรมฯ ในวาระปัจจุบันโดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมไปยัง First S-Curve คือการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิต และ New S-Curve โดยการเติมอุตสาหกรรมอนาคตปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งภาครัฐเองก็ได้มีนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรวมไปถึงข้อตกลงความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต S-curveและ New-S-curve ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุดบนพื้นฐานของประเทศโดยจะเน้นไปในอุตสาหกรรมใหม่ๆ และเป้าหมายหนึ่งในนั้นคือ Energy Storage

นายเจนฯ กล่าวว่า สำหรับคำว่า Energy Storage อาจจะเป็นคำใหม่สำหรับประเทศไทยและเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่จะสามารถต่อยอดมาจากอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่ใช้สำหรับรถยนต์หรือแบตเตอรี่ตะกั่วกรด (lead acid battery) ที่เป็นที่รู้จักและสามารถเข้าใจได้ทันทีซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีมูลค่าการผลิตและจำหน่าย จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ในปี 2557และเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายแต่มีมูลค่าการค้าที่มีนัยยะพอสมควร ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า และระบบการกักเก็บพลังงานของประเทศ Energy Storage จึงได้รับความสนใจ และได้รับมาตรการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง อาทิการสนับสนุนเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)และการสนับสนุนการลงทุนจากBOI ดังนั้น หากมีการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างเต็มระบบคาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า ว่าจะมีมูลค่ามากขึ้นถึง 10 เท่า และมีขนาดตลาดประมาณ 5แสนล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดตลาดแบตเตอรี่ในประเทศไทยที่มีประมาณ 5หมื่นล้านบาทจะสามารถสร้าง GDP ในสัดส่วน  3.6 เปอร์เซนต์ ของ GDPประเทศ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมเป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดการนำเข้าและสร้างการส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ

“ในบันทึกความร่วมมือนี้จะเน้นไปในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีนวัตกรรมในประเทศ ทางด้านพลังงาน เทคโนโลยีใหม่ๆที่จะช่วยลดการนำเข้า และสร้างการส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ทั้งนี้จะเริ่มจากโครงการที่มีความพร้อม 3 ด้านคือ ด้านเทคโนโลยี ด้านเงินลงทุนและด้านบุคลากร ทั้งนี้ ส.อ.ท.และ กนอ.มีความเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นโครงการที่มีความพร้อมมากที่สุดเป็นอันดับต้นเพื่อให้เกิดการลงทุนและการสร้างการผลิตในไทยเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญจะเป็นการสร้างรายได้จากสินค้าที่ผลิตในประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงานและลดการนำเข้าทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาลซึ่งโครงการที่จะเร่งรัดให้เกิดขึ้นภายในปี 2562” นายเจนกล่าว

นายวีรพงศ์ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมออกสู่การลงทุนจำนวน3.08 ล้านล้านบาท จำนวนผู้ประกอบการ 4,446 ราย การจ้างงานกว่า 600,000 ตำแหน่ง

นายวีรพงศ์ฯกล่าวต่อว่า สืบเนื่องจากแนวคิดในการขับเคลื่อนประเทศไทยตามโมเดลการพัฒนาประเทศไทย 4.0โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economics Corridor Development (EEC) และนโยบายเศรษฐกิจและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 แผน 20 ปีกำหนดวิสัยทัศน์มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกทั้งนี้ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากเดิมที่ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตภาคอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม(Innovation Drive Economy) มุ่งเน้นอุตสาหกรรมไปยัง FirstS-Curve อุตสาหกรรม New S-Curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงเห็นความสำคัญต่อการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับ

สภาอุตสาหกรรมฯซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคเอกชนในการประสานนโยบายและดำเนินการกับภาครัฐอันจะเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จร่วมกันในการพัฒนาประเทศและเพื่อวางรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรม First S-Curve อุตสาหกรรม NewS-Curve และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กนอ. ร่วมกับ ส.อ.ท.จึงได้คัดเลือกโครงการเป้าหมายที่มีความสำเร็จสูง (Quick Win Project) ซึ่งเป็นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรม New S-Curve และ FirstS-Curve เป็นโครงการนำร่องโดยเริ่มต้นจาก “อุตสาหกรรมสำรองไฟฟ้า”Energy Storage ซึ่งมีอุตสาหกรรมหลักในตลาดรองรับ คือ

1. ระบบสำรองไฟฟ้า Energy Storageสำหรับระบบกักเก็บไฟฟ้าของประเทศ Generation Unit และ Distribution รวมถึงระบบกับเก็บพลังงานของพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆเพื่อความเสถียรของระบบไฟฟ้าของประเทศ และใช้ในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (CutPeak)

2. ระบบสำรองไฟฟ้า Energy Storageใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าประเภท Hybrid Electric Vehicle (HEV),Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) Battery Electric Vehicle (BEV) และอื่นๆ

3. ระบบสำรองไฟฟ้า Energy Storageสำหรับอุตสาหกรรมประเภทอุปกรณ์สำหรับ ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นสำหรับโทรศัพท์มือถือ และอื่นๆ

“การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นอันสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมไทย4.0 และพัฒนาประเทศไทยสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป” นายวีรพงศ์ฯกล่าว

ด้านนายสมโภชน์  อาหุนัยประธานกรรมการบริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า ถือเป็นมิติใหม่และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน เป็นผู้เสนอแนวคิดในการพัฒนาและรัฐบาลพร้อมเดินหน้าสนับสนุนซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งบริษัทฯมีความพร้อมและจะจับมือกับบริษัท Shenzen Growatt New Energy TechnologyCo., Ltd. ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่ในจีน และ บริษัท AmitaTechnologies Inc. ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ในไต้หวันเพื่อจัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในไทยโดยใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมั่นใจว่าอุตสาหกรรมระบบสำรองไฟฟ้า หรือ Energy Storage (Lithium IonBattery) ที่บริษัทลงทุนนี้ จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าของประเทศและรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนระบบสำรองไฟฟ้าอื่นๆพร้อมทั้งจะช่วยสร้างรายได้ และก่อให้เกิดการจ้างงานในประเทศมากขึ้น.




Create Date : 13 เมษายน 2560
Last Update : 13 เมษายน 2560 19:28:32 น.
Counter : 876 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mua all time
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]