บั้งไฟลาวกับสาวๆตากลม
 
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 สิงหาคม 2549
 
 
*/*/* การบำรุงรักษารถยนต์ในส่วนต่าง ๆ*/*/ 1

เป็นสิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติอยู่เสมอเป็นประจำ เพราะรถถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับคนรักหรือแหน เพราะถ้าอยากให้อยู่กับเรานาน ๆ ก็ต้องรักดูแลเอาใจใส่ให้มาก ซึ่งภายในรถก็จะมีอุปกณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ อยู่มากมาย ทั้งภายในห้องโดยสาร ห้องเครื่องยนต์ แต่จุดที่เราจะต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงสภาพเดิมมากที่สุดก็มีด้วยกันดังนี้


1. เครื่องยนต์
2. ระบบหล่อลื่น
3. ระบบไฟ
4. ระบบหล่อเย็น
5. ระบบเบรก
6. ล้อและยาง
7. ตัวถังและช่วงล่าง
8. อุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ



นอกจากจุดที่สำคัญเหล่านี้แล้ว อุปกรณ์ที่ประกอบอยู่ในชุดเดียวกันที่ต้องตรวจเช็กก็จะกล่าวเป็นส่วน ๆ ไป โดยเราจะเริ่มจากการดูแลเครื่องยนต์กันก่อน



การดูแลรักษาเครื่องยนต์

ก่อนที่จะพูดกันถึงในรายละเอียดอื่น ๆ เราจะต้องมาทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ของเราเสียก่อน เครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันหากแบ่งตามชนิดของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:02:53 ]






ความคิดเห็นที่ 2

รถยนต์เบนซิน

รถยนต์เบนซินเป็นรถที่มีค่อนข้างมากในบ้านเรา เพราะด้วยความแรงและการออกตัวที่ฉับไวทันอกทันใจทำให้ครองใจใครหลาย ๆ คนจึงทำให้เลือกใช้รถประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งรถยนต์เบนซินเป็นรถยนต์ที่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินทั้งธรรมดาและเบนซินซุปเปอร์ ในปัจจุบันเราจะเรียกเป็นค่าอ๊อกเทน 91,95 และ 97 รถแต่ละรุ่นจะระบุอยู่ในคู่มือรถยนต์ว่าควรจะเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนเท่าไหร่ มีบางคนอาจจะเข้าใจว่าการเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนที่สูงกว่าที่ระบุในคู่มือจะทำให้รถแรง หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นอันที่จริงแล้วมันไม่มีผลเท่าไหร่ อีกทั้งยังจะทำให้คุณเปลืองสตางค์ในกระเป๋ามากขึ้น ส่วนใหญ่รถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินนั้นจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุกเล็ก อาจจะมีรถตู้บ้างเล็กน้อย จะสังเกตได้ง่ายคือ ถ้ารถใช้หัวเทียนจะเป็นรถเบนซิน



ข้อดีของรถยนต์เบนซิน


1. อะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องยนต์มีราคาถูกหาซื้อง่าย
2. การเร่งความเร็วทำได้ทันอกทันใจกว่ารถยนต์ดีเซล
3. การสตาร์ทเครื่องทำได้ง่ายกว่ารถยนต์ดีเซล
4. เครื่องยนต์ใหม่และมือสองมีราคาถูก



ข้อเสียของรถยนต์เบนซิน


1. การสึกหรอของเครื่องยนต์มีมาก อายุการใช้งานน้อย
2. น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง
3. ทำให้เกิดมลภาวะ (ทำการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์)



รถยนต์ดีเซล

ส่วนใหญ่รถประเภทดีเซลจะเป็นรถที่เน้นในเรื่องของการบรรทุกเพราะจะมีแรงอึดมากกว่า เครื่องยนต์ก็มีความทนทานรับสภาวะหนัก ๆ ได้ไม่มีถอย ซึ่งรถยนต์เครื่องดีเซลจะใช้น้ำมันดีเซล หรือที่เรียกขานกันติดปากทั่วไปว่า ”โซล่า” ส่วนใหญ่รถยนต์ที่เป็นเครื่องดีเซลจะเป็นรถบรรทุก รถกระบะ การทำงานของรถยนต์จะใช้หัวฉีดและใช้แรงอัดเป็นการจุดระเบิด ฉะนั้นจึงไม่มีหัวทียนซึ่งจะแตกต่างจากรถยนต์เบนซิน



ข้อดีของรถยนต์ดีเซล


1. การเกิดมลภาวะน้อยกว่า (ถ้าเครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้หมดจด)
2. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่จุกจิก
3. เครื่องยนต์มีความทนทานมากกว่าเครื่องเบนซิน
4. น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน
5. การสึกหรอของเครื่องยนต์มีน้อย



ข้อดีของรถยนต์ดีเซล


1. การเร่งกำลังเครื่องยนต์ช้าไม่ทันใจ
2. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ในชิ้นส่วนต่าง ๆ มีราคาแพง
3. เมื่อใช้นานเข้าจะสตาร์ทติดยาก ต้องใช้โช๊คช่วย
4. ทำให้เกิดมลภาวะเช่นเดียวกัน



แต่โดยทั่ว ๆ ไปการบำรุงรักษารถยนต์ทั้งสองประเภทจะมีหลักคล้าย ๆ กัน แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างในบางส่วนเท่านั้น









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:04:47 ]






ความคิดเห็นที่ 3

จุดไหนของเครื่องยนต์ที่ต้องดูแลรักษา จุดหลัก ๆ คงจะเป็นภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งได้แบ่งเป็นจุดต่างๆ คือ


1. ระบบหล่อลื่น (การดูแลน้ำมันเครื่อง และใส้กรองน้ำมันเครื่อง)
2. แบตเตอรี่ (ระบบไฟฟ้า)
3. หม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)
4. หม้อกรองและไส้กรองอากาศ
5. จานจ่ายและหัวเทียน (ระบบจุดระเบิด)
6. คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท (ระบบสตาร์ท)
7. ฟิวส์และหลอดไฟ
8. ระบบเบรก
9. ระบบคลัตซ์และเกียร์
10. ล้อและยาง
11. การบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะหรือการใช้งาน









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:05:59 ]






ความคิดเห็นที่ 4

การดูแลน้ำมันเครื่อง (ระบบหล่อลื่น)

อย่างแรกที่ต้องดูแลเอาใจใส่ก็คือ การดูแลและวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรถยนต์ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ต้องการน้ำ ถ้าขาดเมื่อไหร่ก็ตายเมื่อนั้น รถยนต์ก็เหมือนกันต้องมีน้ำมันเครื่องมาคอยหล่อเลี้ยงอยูตลอดไม่เช่นนั้นเครื่องคงตั้งพังแน่นอน

หน้าที่หลักของน้ำมันเครื่องคือ ช่วยหล่อลื่นระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้เดินสะดวก ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์จึงจำเป็ต้องตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำเมื่อใช้ไปนาน ๆ เพราะจะมีสิ่งปลอมปนทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดน้อยลงตามอายุการใช้งาน



การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

ตามหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่แล้วบรรดาช่างต่าง ๆ จะแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 3 เดือน หรือทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ว่าจะถึงจุดไหนก่อน อย่างเช่น รถวิ่งทางไกลมาถึงระยะ 5,000 กิโลเมตร ภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้เลยไม่ต้องรอให้ครบ 3 เดือน) หรืออาจจะดูตามคู่มือรถของท่านแล้วก็ปฏิบัติตามนั้น ถ้าจะให้ดีในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรจะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องด้วยทุกครั้ง เพราะความสกปรกในไส้กรองอาจเข้าไปทำให้น้ำมันที่เติมใหม่มีสิ่งปลอมปน

ที่สำคัญควรจะให้ช่างผู้มีความชำนาญงานเป็นผู้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรองให้กับท่าน ถ้าหากว่าท่านไม่รู้เรื่องช่างหรือไม่ชำนาญพอ



ขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอง


1. ถ้าเครื่องเย็นให้สตาร์ทเครื่องยนต์ และอุ่นเครื่องไว้จนเครื่องร้อนถึงระดับปกติจึงดับเครื่อง
2. เปิดฝากระโปรงหน้าและถอดฝาเติมน้ำมันออก ถอดนอตถ่ายน้ำมันเครื่องที่ด้านล่างของเครื่องยนต์ออก ปล่อยให้น้ำมันเครื่องไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้
3. ถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องออก ปล่อยให้น้ำมันส่วนที่เหลือไหลออกมา การถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องจำเป็นต้องใช้บล๊อกถอดไส้กรองโดยเฉพาะ
4. ติดตั้งไส้กรองน้ำมันเครื่องใหม่ ตามขั้นตอนที่แนบมากับไส้กรองน้ำมันเครื่อง
5. ใส่แหวนรองตัวใหม่เข้ากับนอตถ่ายน้ำมันเครื่อง ขันนอตถ่ายน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่ด้วยแรงบิด 44 นิวตัน-เมตร (N.M) หรือบิดด้วยมือเท่านั้น
6. เติมน้ำมันเครื่องชนิดที่แนะนำให้ใช้ใส่ลงในเครื่องยนต์ เครื่องเบนซินเติมน้ำมันเครื่องเบนซิน เครื่องดีเซลเติมน้ำมันเครื่องดีเซล
7. ปิดฝาเติมน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์สัญญาณไฟเตือนความดันน้ำมันเครื่องควรจะดับภายใน 5 วินาที แต่ถ้าไฟเตือนไม่ดับท่านจะต้องดับเครื่องยนต์และตรวจดูพลาดว่าทำขั้นตอนก่อนหน้าผิดพลาดหรือเปล่า
8. ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินหลาย ๆ นาที เช็คดูที่นอตถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่องว่ามีน้ำมันเครื่องรั่วออกมาหรือไม่
9. ดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้สักพักแล้วเช็คระดับน้ำมันเครื่องอีกครั้ง ถ้าจำเป็นให้เติมน้ำมันเครื่องจนถึงขีดบนของก้านวัด



สำหรับการตรวจสอบน้ำมันเครื่องควรจะเช็คอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถที่ใช้งานปกติ และควรตรวจสอบอยู่เสมอหากเป็นรถที่ใช้งานหนัก หรือวิ่งทางไกลควรเช็คอยู่เป็นประจำ



การเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ต้องกระทำอยู่เสมอเพื่อความแน่นอนในการขับรถ

การเช็คระดับน้ำมันเครื่องให้ทำหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันไหลลงด้านล่างของเครื่องก่อน และรถจะต้องจอดอยู่บนพื้นราบด้วย


1. ให้ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ซับเช็คก้านวัดให้ไม่มีรอยน้ำมันเครื่องเดิมที่ติดขึ้นมา
2. เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด
3. ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่ง ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบนแสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องถูกต้องแล้ว ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องจนได้ระดับที่ถูกต้อง


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:07:38 ]






ความคิดเห็นที่ 5

การเติมน้ำมันเครื่อง

เมื่อพบว่าน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับมาตรฐาน จะต้องเติมให้ได้ระดับซึ่งควรปฏิบัติดังนี้


1. เปิดฝากระโปรงรถยนต์
2. ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาซึ่งจะอยู่ข้าง ๆ เครื่องยนต์ ส่วนตอนปลายจะมีลักษณะแบนประมาณ 2 นิ้ว และจะมีตัวหนังสือเขียนกำกับเอาไว้ คือ

MAX หมายความว่า มาก

MID หมายความว่า ปานกลาง

MIN หมายความว่า น้อย

เมื่อดึงก้านน้ำมันเครื่องขึ้นมาจะมีน้ำมันติดปลายก้านวัดมาด้วยให้ดูว่าน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่สูงสุดอยู่ในระดับไหน เช่น

MAX หมายความว่า ยังไม่ต้องเติมน้ำมันเครื่อง

MID หมายความว่า ให้เติมน้ำมันเครื่องเล็กน้อยให้ได้ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID

MIN หมายความว่า ต้องเติมน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID


3. การเติมน้ำมันเครื่องให้เปิดฝาเครื่องยนต์ขึ้นมาแล้วเทน้ำมันเครื่องลงไป การเติมแต่ละครั้งให้ดูการวัดจากก้านวัดน้ำมันเครื่องจากข้อ 2 และที่สำคัญการเติมในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1.5-2 ลิตรเป็นอย่างมาก
4. การวัดระดับน้ำมันเครื่อง หลังจากเติมน้ำมันเครื่องให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับไปในช่องเดิม ก่อนใส่ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่เช็ดปลายให้หมดรอยน้ำมัน แล้วจึงใส่กลับลงไปให้สุดแล้วดึงขึ้นมาดูระดับของน้ำมันตามรายละเอียดในข้อ 2
5. เมื่อได้ระดับน้ำมันเครื่องตามที่ต้องการแล้ว ให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องเข้าที่เดิม ปิดฝาเครื่องยนต์ แล้วจึงปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย



ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง


1. ช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์
2. ช่วยลดการเสียดทาน และสึกหรอของเครื่องยนต์
3. รักษาความสะอาดภายในเครื่องยนต์
4. ลดตะกอนสะสม ป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อน
5. ช่วยให้รถสตาร์ทติดง่าย

ฉะนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องจึงมีความสำคัญมาก โปรดปฏิบัติตามคู่มือประจำรถของท่านหรือปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:08:39 ]






ความคิดเห็นที่ 6

การดูแลรักษาแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ ขุมพลังไฟฟ้าแหล่งสำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องเครื่องคอยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ แอร์ โทรทัศน์ ที่ต่างสรรหามาติดกันในรถ รวมไปถึงการจ่ายไฟฟ้าเพื่อการสตาร์ทเครื่องยนต์ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ทั้งสิ้น แต่เมื่อใช้ไปเรื่อย ๆ แบตเตอรี่จะเริ่มมีปัญหา เพราะน้ำยาอิเล็คโตรไลด์ หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าน้ำกลั่นบริสุทธิ์ ที่อยู่ในแบตเตอรี่จะลดลงต่ำกว่าระดับที่ถูกต้องทั่วไป ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นตรวจสอบคอยเช็คน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าลดลงก็ให้เติมน้ำกลั่นกลับเข้าไปให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง เพราะไม่เติมน้ำกลั่นจะสั้นลง การที่จะตรวจเช็คน้ำกลั่นในแบตเตอรี่นั้นก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เปิดฝาจุกด้านบนที่หม้อแบตเตอรี่ทั้ง 6 ฝาดูว่าระดับน้ำกลั่นลดลงหรือไม่ ถ้าท่วมก็ให้เติมน้ำกลั่นลงไป โดยจะต้องให้ท่วมแผ่นทองแดงขึ้นมาประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แต่ในกรณีที่ท่านใดเบื่อการเติมน้ำกลั่นลงหม้อแบตเตอรี่แล้วล่ะก็มีอีกทางให้เลือกคือ ใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นหรือที่รู้จักกันในนาม “แบตเตอรี่แห้ง” อายุในการใช้งานก็พอ ๆ กับแบตเตอรี่ธรรมดาที่เติมน้ำกลั่น แต่มีข้อเสียอยู่อย่างเดียว คือแบตเตอรี่แห้งจะมีราคาแพงกว่ามากยังไงถ้าจะเลือกใช้ก็พิจารณาตามความจำเป็นและงบประมาณในกระเป๋าก็แล้วกัน

เราก็มาว่ากันต่อในเรื่องของน้ำกลั่น การที่จะเลือกน้ำกลั่นมาเติมแบตเตรี่ควรจะเลือกน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่ใช้เติมกับแบตเตอรี่โดยเฉพาะ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันหาน้ำกลั่นไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถใช้น้ำประปาสะอาดแทนได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) น้ำกลั่นจะหาซื้อได้ตามปั้มน้ำมันหรือร้านขายแบตเตอรี่ ราคาประมาณขวดละ 10 บาท ในปริมาณ 1 ลิตร



ขั้นตอนในการเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่


1. เปิดฝาจุกด้านบนของหม้อแบตเตอรี่ 6 ฝา ให้หมด แล้วเช็คดูว่าทั้ง 6 ช่องน้ำกลั่นอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือไม่
2. ถ้าลดลงจนไม่ท่วมแผ่นทองแดงให้เติมน้ำกลั่นลงไปในช่องที่น้ำกลั่นลดลงไป (แต่ละช่องน้ำกลั่นจะลดลงไม่เท่ากัน)โดยให้ท่วมแผ่นทองแดงประมาณ 10-15 มิลลิเมตร
3. อย่าเติมน้ำกลั่นให้ล้นออกมาจากหม้อแบตเตอรี่
4. ถ้าน้ำกลั่นหกเลอะออกมานอกหม้อแบตเตอรี่ให้รีบนำผ้ามาเช็ดให้แห้งทันที
5. เมื่อเติมเสร็จเรียบร้อยให้ปิดจุกฝาทั้ง 6 ฝาให้เรียบร้อย



นอกเหนือจากการตรวจเช็คเติมน้ำกลั่นแล้ว การดูแลรักษาแบตเตอรี่ในส่วนอื่น ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน อย่างเช่น ในส่วนของขั้วแบตเตอรี่ ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือขี้เกลือขึ้นบริเวณขั้วทั้ง 2 ข้าง ของแบตเตอรี่ รวมไปถึงสิ่งสกปรกอื่นที่ติดเป็นคราบ ถ้าพบให้รีบทำความสะอาดโดยทันที เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก การจ่ายไฟไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จุดต่าง ๆ ที่ต้องตรวจสอบอีกคือ ขั้วสายไฟที่ต่อแบตเตอรี่หลวมหรือไม่ ฝาปิดช่องเติมน้ำกลั่นหมุนเกลียวแน่นหรือเปล่า ตรวจเช็คว่ามีรอยรั่วของหม้อแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้ามีต้องรีบแก้ไข









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:10:14 ]






ความคิดเห็นที่ 7

การทำความสะอาดแบตเตอรี่


1. ถ้าเกิดขึ้เกลือขึ้นในขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้าง ให้ถอดขั้วทั้ง 2 ออกมา
2. ใช้แปรงลวดขัดบริเวณที่เกิดขี้เกลือบริเวณทั้งสองข้างถ้าเป็นรอยสกปรกธรรมดาใช้ผ้าเช็ดก็ได้
3. เมื่อทำความสะอาดเสร็จให้ใช้จาระบีทาที่ขั้วแบตเตอรี่และขั้วทองแดงทั้งสองขั้ว
4. ให้ใส่ขั้วกลับลงไปที่เดิม โดยให้สายขั้วบวกใส่ในตำแหน่งขั้วบวก สายขั้วลบใส่ในตำแหน่งขั้วลบ



ข้อแนะนำเพิ่มเติม

1. ควรทำความสะอาดหม้อแบตเตอรี่ด้านนอก ทุก ๆ 6 เดือน โดยการยกหม้อแบตเตอรี่ออกจากรถแล้วใช้แอมโมเนียเช็ด

2. ควรถอดขั้วแบตเตอรี่และทำความสะอาดทุก ๆ 3 เดือน ตามวิธีที่ทำให้เกิดประกายไฟได้

3. อย่าให้โลหะอย่างเช่น ไขควง แหวน โดนขั้วแบตเตอรี่ เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้

4. ขณะจอดรถอย่าเปิดไฟ หรือวิทยุทิ้งเอาไว้นาน ๆ เพราะมันจะดึงไฟแบตเตอรี่ทำให้แบตเตอรี่อ่อน หรือในเวลาที่จะสตาร์ทรถควรจะปิดแอร์หรือวิทยุไว้ชั่วคราวก่อน



ในการที่ไฟแบตเตอรี่อ่อนซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก วิธีที่จะแก้ไขก็คงจะต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟที่ร้านแบตเตอรี่



การชาร์จไฟจะทำได้ 2 กรณี


1. ถอดหม้อแบตเตอรี่ทั้งใบไปให้ทางร้านชาร์จไฟ ในกรณีนี้จะทำได้ง่ายถ้าบ้านอยู่ใกล้กับร้านแบตเตอรี่หรือไม่รีบร้อนติดธุระที่ไหน เพราะการชาร์จไฟแบบนี้จะกินเวลาค่อนข้างนาน คือประมาณ 10 ชั่วโมงกว่าที่การชาร์จไฟจะเต็มแบตเตอรี่
2. การชาร์จไฟจากแบตเตอรี่รถคันอื่น การที่จะใช้วิธีนี้นั้นเพราะหาร้านแบตเตอรี่ในละแวกนั้นได้ยากและรถเกิดสตาร์ทไม่ติดพอดี หรือไม่ก็ต้องรีบออกไปธุระก่อน การชาร์จไฟแบบนี้จะทำได้ง่ายเพียงมีอุปกรณ์ สายชาร์จ แบตเตอรี่ และที่ขาดไม่ได้คือ รถยนต์คันอื่นที่เข้ามาช่วยเหลือ

- นำสายชาร์จแบตเตอรี่มาสองเส้น สายชาร์จนี้ควรจะเป็นสายในการชาร์จไฟโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่มีก็ใช้สายไฟแทนก็ได้ แต่สายไฟต้องมีขนาดใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าสายชาร์จเท่านั้น ห้ามใช้สายที่เล็กกว่าเพราะอาจทำให้สายไฟละลายได้

- ต่อสายชาร์จทั้งสองเส้นเข้ากับขั้วแบตเตอรี่ โดยให้ขั้วบวกต่อกับขั้วบวก ขั้วลบต่อกับขั้วลบ

- จากนั้นให้ลองสตาร์ทรถดู จนกระทั่งรถสตาร์ทติดก็ให้ถอดสายชาร์จออก โดยให้ถอดขั้วบวกออกก่อนจากนั้นจึงถอดขั้วลบ

แต่การชาร์จไฟแบบนี้จะมีไฟแบตเตอรี่อยู่น้อยมาก เมื่อรถจอดหรือดับเครื่องแล้วพอกลับมาสตาร์ทใหม่อาจจะไม่ติดก็ได้ วิธีนี้เป็นการสตาร์ทเพื่อให้ขับรถต่อไปยังร้านแบตเตอรี่เพื่อชาร์จแบตเตอรี่หรือเพื่อขับรถกลับบ้านซึ่งถ้าจะขับต่อก็ต้องมาชาร์จไฟแบบเดิมอีก


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:11:21 ]






ความคิดเห็นที่ 8

การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)

หม้อน้ำถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เครื่องยนต์ไม่ร้อนจัดจนเกิดการน็อค การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากหรือเปล่า ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท และความเสียหายก็จะตามมาได้

ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสัญญาณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สัญลักษณ์เป็นตัว c ย่อมาจาก cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่ H นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม (การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน) ที่สำคัญห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตรายจากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้



น้ำที่ใช้เติมหม้อน้ำก็ให้ใช้น้ำที่ใสสะอาดธรรมดาไม่มีตะกอน อย่างเช่น น้ำประปาทั่วไป ส่วนการเช็คระดับน้ำระบายความร้อนให้ตรวจเช็คที่ถังน้ำสำรองซึ่งอยู่ภายในห้องเครื่องด้านหน้าบริเวณโคมไฟ ซึ่งตัวถังน้ำสำรองจะมีขีดเช็คระดับอยู่ทั้งหมด 3 ขีด คือ MAX,NORMAL,MIN ถ้าน้ำอยู่ในระดับ MIN หรือต่ำสุด ให้เติมน้ำระบายความร้อนลงไปในถังน้ำสำรองจนพอดีกับขีดสูงสุดหรือ MAX



น้ำระบายความร้อนนี้นอกจากจะใส่น้ำเปล่าได้อย่างเดียวแล้วสามารถผสมน้ำยารักษาหม้อน้ำลงไปด้วยได้ เพื่อเป็นสารช่วยในการบำรุงรักษาไม่ให้หม้อน้ำเกิดสนิม ลดการกัดกร่อน และยังช่วยให้เครื่องเย็นเร็วแต่ถ้าจะให้ดีควรใช้น้ำยารักษาหม้อน้ำของแท้ที่เป็นยี่ห้อเดียวกับรถของท่านเพื่อจะได้ป้องกันรถยนต์ของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด



ในรถยนต์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีถังน้ำสำรองอยู่ให้ท่านเติมที่ถังน้ำสำรองได้เลย โดยไม่ต้องเติมในหม้อน้ำรถยนต์ ให้เปิดฝาขึ้นโดยการดึงหรือหมุนเกลียว (โดยส่วนใหญ่ถังน้ำสำรองจะเป็นพลาสติก) จากนั้นให้เติมน้ำลงไปจนถึงขีดสูงสุด แต่อย่าให้ล้นออกมาแล้วจึงปิดฝาดังเดิม



แต่ถ้ารถรุ่นใดไม่มีหม้อน้ำสำรอง (ส่วนใหญ่จะเป็นรถรุ่นเก่า) ให้เติมน้ำได้ที่หม้อน้ำโดยตรง โดยหมุนฝาปิดหม้อน้ำออกจากนั้นให้เติมน้ำให้เต็มแต่ไม่ล้นออกมาแล้วจึงปิดฝาตามเดิม ในกรณีที่ไม่มีหม้อน้ำสำรองให้ตรวจเช็คหม้อน้ำทุกวัน









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:12:54 ]






ความคิดเห็นที่ 9

การเปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำ

การที่เราเติมน้ำบ่อย ๆ อาจจะมีสิ่งปลอมปนหรือตะกอนตกค้างทำให้เกิดสนิม เราจึงควรมีการถ่ายน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 2-3 ปีต่อครั้ง หรือถ้าพบว่าเป็นสนิมควรเปลี่ยนถ่ายทันทีเมื่อพบโดยการเปิดก๊อกถ่ายน้ำหรือท่อยางที่ก๊อกหม้อน้ำออก ถ้าจะให้ดีควรเปิดฝาหม้อน้ำออกเพื่อช่วยให้ถ่ายน้ำได้เร็วขึ้น เมื่อถ่ายน้ำออกหมดให้ปิดก๊อกแล้วเติมน้ำสะอาดลงไป และควรเติมเติมน้ำยากันสนิมลงไปด้วยเพื่อรักษาหม้อน้ำไม่ให้เกิดสนิม



พัดลมและสายพาน

พัดลมและสายพานจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน เมื่อสายพานหมุนพัดลมก็จะทำงานด้วยเพื่อทำหน้าที่เป่าลมไปยังหม้อน้ำเป็นการระบายความร้อนหากสายพานเกิดการชำรุดจนขาดใช้การไม่ได้จะทำให้พัดลมไม่หมุนและน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงควรตรวจเช็คสายพานอยู่เสมอ และหากพบว่าสายพานเก่าหรือเกิดการชำรุดให้รีบถอดเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะไปขาดกลางทาง ถ้าพบว่าสายพานขาดขณะที่ใช้รถและหม้น้ำมีความร้อนสูงห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำโดยเด็ดขาด เพราะไอน้ำร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมไ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อเปลี่ยได้ทันทีด้วย



การตรวจสอบพัดลมและสายพานต้องระวังเรื่องระบบไฟฟ้าด้วย เพราะปกติจะมีสวิตซ์อัตโนมัติควบคุมให้พัดลมหมุนและดับเองเมื่อหม้น้ำร้อนและหม้อน้ำเย็นต้องดับสวิตซ์เครื่องยนต์ก่อนทำการตรวจสอบสายพานและพัดลมเสมอ



ข้อควรระวัง


1. อย่าปล่อยให้สายพานดึงหรือหย่อนเกินไปเมื่อตรวจพบควรให้ช่างแก้ไข
2. อย่าใช้สายพานผิดขนาด
3. อย่าฝืนทนใช้สายพานเก่าหรือชำรุดเมื่อตรวจสอบพบ
4. พยายามอย่าให้น้ำมันหรือสิ่งหล่อลื่นติดสายพาน เพราะจะทำให้สายพานลื่นหลดออกหรือขาดได้









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:14:01 ]






ความคิดเห็นที่ 10

เทอร์โมสตัส เรื่องน่ารู้ของระบบหล่อเย็น

เทอร์โมสตัส เอ่ยชื่อนี้คนขับรถคงจะคุ้นหูและรู้จักกันดี เพราะหน้าที่ของเทอร์โมสตัสจริง ๆ แล้วจะคอยทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์เป็นวาล์วหรือสวิตซ์ทำหน้าที่เปิด-ปิดน้ำไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์เมื่อมีความร้อน ถ้าหากเทอร์โมสตัสชำรุดหรือวาล์วเปิด-ปิดค้างความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต้องเปลี่ยนหรือทำการแก้ไขส่วนการแก้ไขควรเป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น

การบำรุงรักษาหม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศ

หม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศเป็นอีกชิ้นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญภายในรถ หน้าที่หลัก ๆ ของมันคือกรองฝุ่นละอองออกจากอากาศ เพื่อให้ได้อากาศที่สะอาดไหลเวียนผ่านคาร์บิวเรเตอร์ ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศจะทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ได้อย่างมาก เนื่องจากเครื่องยนต์จะมีความสึกหรอสูงหากให้อากาศที่มีฝุ่นละอองถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ หม้อกรองอากาศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ




1. หม้อกรองอากาศแบบแห้ง

หม้อกรองอากาศแบบนี้จะถูกนิยมใช้กันมาก เป็นหม้อกรองอากาศที่ทำด้วยกระดาษพับซ้อนกันเป็นจีบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ของอากาศให้มากขึ้นในการช่วยกรองอากาศ และจะมีจะแกรงลวดเสริมอยู่ภายในเพื่อป้องกันไม่ให้กระดาษล้มหรือยุบตัว แต่เมื่อใช้งานไปนาน ๆ เข้าหม้อกรองอากาศจะมีฝุ่นละอองจับตัวกันมาก จึงต้องถอดไส้กรองอากาศ ออกมาเพื่อทำความสะอาด

- ให้เปิดฝาบริเวณที่เก็บใส้กรองอากาศ ซึ่งจะอยู่บริเวณตอนหนักของรถยนต์ที่ใกล้กับเครื่องยนต์

- คลายน็อตยึดต่าง ๆ แล้วจึงค่อย ๆ นำไส้กรองอากาศออกมา

- ถ้ามีที่เป่าลมหรือที่สูบลมให้ใช้แรงลมเป่าจากรูไส้กรองบริเวณข้างใน เป่าออกมาทางด้านนอกให้ฝุ่นละอองที่จับอยู่กับไส้กรองหลุดออกมา

- ในกรณีที่ไม่มีเครื่องเป่าลมให้นำไส้กรองอากาศมาเคาะกับพื้นเบา ๆ โดยใช้ด้านขนานกับพื้น เพื่อให้ฝุ่นละอองหลุดออกมา

การกระทำทั้ง 2 วิธีต้องใช้ความนุ่มนวล เพราะถ้าหากกระดาษไส้กรองขาดจะทำให้ประสิทธิภาพในการกรองอากาศด้อยลงไปด้วย และถ้าขาดมาก ๆ อาจต้องเปลี่ยนไส้กรองใหม่ ในการทำความสะอาดไส้กรองนั้นควรจะทำทุก ๆ 2,500 กิโลเมตร อายุการใช้งานของไส้กรองอากาศแต่ละอันนั้นจะประมาณ 10,000 กิโลเมตร เมื่อครบระยะทางควรจะเปลี่ยนไส้กรองอากาศอันใหม่เพื่อการกรองอากาศที่ดีขึ้น









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:16:10 ]






ความคิดเห็นที่ 11

2. หม้อกรองอากาศแบบเปียก

หม้อกรองอากาศแบบนี้จะไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนักไส้กรองจะทำมาจาฝอยเหล็กและมีอ่างมันเครื่องสำหรับดักฝุ่นละออง การทำงานของระบบค่อนข้างจะยุ่งยาก คือ เมื่ออากาศถูกดูดผ่านหม้อกรองจะผ่านน้ำมันเครื่อง ฝุ่นละอองจะถูกน้อมันเครื่องจับเอาไว้ อากาศแห้งก็จะถูกดูดเข้าไปในคาร์บิวเรเตอร์ เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาหม้อกรองอากาศแบบเปียกจึงมีความยุ่งยาก และต้องใช้เครื่องมือหลายชนิดพร้อมกับความชำนาญอีกด้วย หน้าที่นี้จึงจะเหมาะกับช่างซ่อมมากกว่า ส่วนการดูแลนั้นควรจะทำทุก ๆ 2,500 กิโลเมตรเช่นกัน และควรเปลี่ยนทุก 10,000-15,000 กิโลเมตรหรือพบว่ามีสิ่งอุดตันมาก ๆในไส้กรอง ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไปแล้วจะใช้ไส้กรองแบบแห้งเพราะการดูแลรักษาง่ายกว่า อีกทั้งยังราคาถูกกว่าไส้กรองอากาศแบบเปียก



การเปลี่ยนไส้กรองอากาศ

- ให้ถอดท่อลมออกโดยการดึงขึ้น

- ถอดน็อตทั้ง 4 ตัวออก จากนั้นถอดฝาครอบหม้อกรองอากาศออก

- ถอดไส้กรองอากาศตัวเก่าออก ใช้ผ้าหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดภายในหม้อกรอง

- วางไส้กรองอากาศตัวใหม่ลงไปในหม้อกรองอากาศ

- ปิดฝาครอบหม้อกรองอากาศกลับเข้าที่แล้วขันน็อตทั้งหมดให้แน่น



ใส้กรองน้ำมัน

เมื่อพูดถึงไส้กรองอากาศแล้วจะไม่พูดถึงไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลก็จะกะไรอยู่ ไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อมาถึงก่อนหรือเปลี่ยนมือท่านสงสัยว่าไส้กรองตัน

เนื่องจากระบบการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันมีความยุ่งยาก ควรทำโดยช่างเทคนิคของศูนย์หรือช่างตามอู่ต่าง ๆ ที่มีความชำนาญงาน ไส้กรองอาจจะถูกเปลี่ยนก่อนกำหนดถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกติดมาในน้ำมันที่เติม









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:17:17 ]






ความคิดเห็นที่ 12

ได้ทั้งความรู้และภาพอันสวยสด ชอบ ๆ ๆ :)

จากคุณ : Webcopy - [ 4 ส.ค. 49 01:18:40 ]






ความคิดเห็นที่ 13

การดูแลจานจ่ายและหัวเทียน (เครื่องเบนซิน)

จานจ่ายและหัวเทียน เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่หลักในการจ่ายไฟและจุดระเบิดในการสตาร์ท แต่ในส่วนของจานจ่ายจะมีอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ในการตรวจเช็คควรมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญงานเป็นผู้ดูแลจะดีกว่า สำหรับการดูแลรักษาหัวเทียนจะไม่ยุ่งยากมากนัก เราสามารถทำเองได้ จึงจะบอกกล่าวในจุดนี้มากกว่า



การทำงานของจานจ่าย

จานจ่ายมักจะติดตั้งอยู่ด้านข้างของเครื่องยนต์ มีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมและจ่ายกระแสไฟไปสู่หัวเทียนเกี่ยวข้องกับการจุดระเบิด ฯลฯ



การตรวจสอบจานจ่ายควรทำทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือตามที่บอกไว้ในหนังสือคู่มือรถของท่าน ซึ่งช่างจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นส่วนประกอบของจานจ่ายด้วย อย่างเช่นปั้มเร่งน้ำมัน คอนเอนเซอร์ หน้าทองขาวการตั้งไทม์มิ่งจุดระเบิด



การทำงานของหัวเทียน

หน้าที่หลักของหัวเทียนจะคอยเป็นจุดระเบิดเผาไหม้ไอดีภายในหั้งเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติด ขั้วหัวเทียนที่ดีจะต้องสะอาดและมีช่องว่าง (ช่วงห่าง) ของระยะเขี้ยวในตำแหน่งที่ถูกต้องจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ นอกจากนี้หัวเทียนจะต้องมีความคงทนต่อความร้อนได้สูง



การเปลี่ยนหัวเทียนควรเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือใช้งานไปได้ประมาณ 20,000 กิโลเมตร ในส่วนของการปรับเขี้ยวหัวเทียนควรปรับทุก 6 เดือน หรือเมื่อใช้งานประมาณ 10,000 กิโลเมตร เพราะเมื่อใช้งานไปนาน ๆ เขี้ยวหัวเทียนจะสึกหรอจากการเผาไหม้จึงต้องมีการปรับระยะช่วงห่างกันใหม่



การเปลี่ยนหัวเทียน

เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องพี่งช่างให้เสียค่าแรงโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งจะมีวิธีดังนี้

- เช็ดคราบน้ำมันหรือฝุ่นออกจากบริเวณรอบ ๆ ปลั๊กหัวเทียน

- ถอดปลั๊กหัวเทียนออก โดยดึงออกมาโดยตรง ๆ

- ถอดหัวเทียนโดยใช้ประแจขันหัวเทียนขนาด 5/8 นิ้ว (16 มิลลิเมตร)

- ใส่หัวเทียนใหม่เข้ากับประแจขันหัวเทียน จากนั้นขันหัวเทียนเข้าไปในรูหัวเทียนที่ฝาสูบโดยใช้มือขันเพื่อป้องกันการปีนเกลียว

- ใช้ประแจวัดแรงบิดขันหัวเทียนให้ได้แรงบิด 18 Nm. (นัวตัน-เมตร) หรือ 1.8 kg-m (กิโลกรัม-เมตร) ถ้าไม่มีประแจวัดแรงบิดให้ใช้ประแจธรรมดาขันหัวเทียนเข้าไปอีก 2/3 รอบหลังจากที่หัวเทียนสัมผัสกับฝาสูบ



เตือนกันสักนิด

ให้ขันหัวเทียนด้วยความระมัดระวัง ถ้าหัวเทียนที่ขันไว้หลวมเกินไปจะร้อนจัดและทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าขันหัวเทียนแน่นเกินไปก็จะทำให้เกลียวของรูหัวเทียนในฝาสูบเสียหายได้

- ใส่ปลั๊กหัวเทียนกลับเข้าที่

- เปลี่ยนหัวเทียนที่เหลือ 3 ตัว ด้วยวิธีการเดียวกัน









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:19:01 ]






ความคิดเห็นที่ 14

การทำความสะอาดหัวเทียนและการตรวจเช็ค

ควรทำการตรวจเช็คอยู่เสมอ เพื่อความเรียบร้อยและสมบูรณ์ของหัวเทียน

- ตรวจสอบระยะเขี้ยวหัวเทียนปรับแต่งตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือที่ติดมากับรถ (ถ้าระยะห่างผิดปกติ)

- ใช้กระดาษทรายปลายมีดทำความสะอาดเขม่าที่ติดอยู่ตามขั้วหัวเทียน

- ถ้าหัวเทียนมีเขม่าจับมากให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบไฟกำลังอัดในกระบอกสูบ กรณีนี้ควรจะปรึกษาช่างจะดีที่สุด

- ในกรณีที่หัวเทียนแตกหรือมีรอยร้าว อาจจะเกิดจากความร้อนในการเผาไหม้ที่มีมากผิดปกติ ควรปรึกษาช่าง

- หากเขี้ยวหัวเทียนเปียกชื้นด้วยน้ำมันหล่อลื่น แสดงว่าระบบควบคุมน้ำมันหล่อลื่นบกพร่องให้ปรึกษาช่างจะดีที่สุด

- เมื่อทำความสะอาดหัวเทียนเสร็จให้ใช้น้ำมันเบนซินล้างให้สะอาดอีกครั้ง

- หัวเทียนมีคราบเขม่าจับอยู่หนาแคะไม่ออก ต้องนำไปเผาไฟให้เขม่าไหม้เป็นถ่านก่อน จึงจะแคะออกได้



การทดสอบหัวเทียน

ในกรณีที่รถสตาร์ทไม่ติดให้สงสัยได้เลยว่าอาจจะเกิดจากหัวเทียนให้คุณถอดออกมาทำความสะอาดตามที่แนะนำไปข้างต้น ต่อจากนั้นให้นำปลั๊กสายหัวเทียนสวมไว้ นำคีมที่มีฉนวนคีบแล้วนำปลายหัวเทียนจ่อกับตัวถังแล้วสตาร์ทเครื่อง ถ้าหัวเทียนมีประกายไฟแสดงว่ายังใช้งานได้ แล้วลองทดสอบหัวเทียนอันอื่น ๆ ดูต่อไป

แต่เมื่อทดสอบแล้วไม่มีประกายไฟให้ลองเปลี่ยนสายปลั๊กหัวเทียนหากยังไม่มีประกายไฟอีกแสดงว่าหัวเทียนอันนั้นเสีย ต้องถึงเวลาเปลี่ยนอันใหม่









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:20:14 ]






ความคิดเห็นที่ 15

คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท

อุปกรณ์ที่เราจะกล่าวถึงชิ้นนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญงาน หรือมีความรู้เกี่ยวกับทางด้านช่างมาเป็นผู้ตรวจเช็คเท่านั้นแต่ที่จะกล่าวถึงก็เพื่อให้ได้ทราบระบบการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในห้องเครื่องยนต์



การทำงานของคอยล์จุดระเบิด

คอยล์จะมีหน้าที่หลักคือ แปลงไฟจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้อนให้กับหัวเทียนทำการจุดระเบิดให้รถสตาร์ทติด เมื่อพบปัญหารถสตาร์ทไม่ติดตรวจสอบระบบอื่น ๆ แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากคอยล์ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างตรวจเช็คอีกครั้ง

การจะตรวจเช็คด้วยตนเองนั้นทำได้เพียงแค่การทำความสะอาดสายคอยล์ และตรวจดูความแน่นของสายขั้วสายไฟ



การทำงานของมอเตอร์สตาร์ทหรือไดสตาร์ท

มอเตอร์สตาร์ทมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบเฉลี่ย และแบบขับล่วงหน้า หรือบางที่เราจะเรียกว่า ไดสตาร์ท รถรุ่นใหม่นิยมใช้แบบขับล่วงหน้าหรือได้สตาร์ทกันมากกว่า

มอเตอร์สตาร์ทจะทำงานร่วมกับโซลินอยด์ ซึ่งควบคุมกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องเช่นเดียวกันการตรวจสอบคงจะต้องอาศัยช่างอย่างเดียว









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:21:24 ]






ความคิดเห็นที่ 16

การตรวจสอบฟิวส์และหลอดไฟ

ฟิวส์และหลอดไฟ มีความจำเป็นมากสำหรับรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืนความจำเป็นยิ่งมากเป็นทวีคูณ แต่ในส่วนนี้เราจะกล่าวกันในเรื่องของฟิวส์ก่อน ฟิวส์ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟแรงสูงเพื่อไม่ให้เกิดการช็อตหรือเกิดความร้อนขึ้น จนทำให้อุปกรณ์ภายในรถยนต์เสียหายฟิวส์เหล่านี้จะอยู่ในกล่องฟิวส์ซึ่งมีอยู่ 2 กล่องด้วยกัน กล่องฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์ จะอยู่ทางด้านขวา การเปิดกล่องฟิวส์ทำได้โดยการยกตัวล็อคแล้วเปิดออก กล่องฟิวส์ในห้องโดยสารจะติดตั้งอยู่ใต้แผงหน้าปัดทางด้านคนขับซึ่งจะมีฝาเปิด โดยหมุนปุ่มล็อคเพื่อเปิดฝากล่องฟิวส์



การตรวจและเปลี่ยนฟิวส์

ถ้าเกิดกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งภายในรถไม่ทำงานสิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ โดยการตรวจดูแผนผังที่หน้าหรือฝากล่องฟิวส์ดูว่าฟิวส์ตัวไหนบ้างที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ไม่ทำงานให้เช็คฟิวส์เหล่านั้นก่อนแล้วจึงเช็คฟิวส์ตัวอื่น ๆ ที่เหลือ ถ้าเช็คแล้วว่าเกิดจากสาเหตุฟิวส์ขาดก็ให้เปลี่ยนฟิวส์ เมื่อเปลี่ยนเสร็จให้ทดลองเปิดอุปกรณ์ดูว่าทำงานหรือไม่

- เปิดสวิตซ์กุญแจมาที่ตำแหน่ง “ล็อค” (0) ตรวจดูว่าไฟใหญ่และอุปกรณ์อย่างอื่นทั้งหมดปิดอยู่

- จากนั้นถอดฝาครอบฟิวส์ออก

- เช็คฟิวส์ตัวใหญ่แต่ละอันภายในกล่องฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์ โดยมองดูที่ด้านบนของตัวฟิวส์ว่าเส้นลวดที่อยู่ข้างในขาดหรือไม่ การที่จะถอดฟิวส์ตัวใหญ่ทำได้โดยใช้ไขควงหัวแฉกขันสกรูยึดออก

- เช็คฟิวส์ตัวเล็กทั้งหมดในกล่องฟิวส์ภายในห้องเครื่องยนต์ และกล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร โดยใช้เครื่องมือถอดฟิวส์ (ที่จะเก็บไว้ในฝากล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร โดยใช้เครื่องมือถอดฟิวส์ (ที่จะเก็บไว้ในฝากล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร) ดึงฟิวส์ออกมาดู

- ตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ ถ้าฟิวส์ขาดให้เปลี่ยนเอาฟิวส์อะไหล่ที่มีขนาดแอมแปร์เท่ากัน หรือต่ำกว่าใส่เข้าไปแทนในกรณีที่จำเป็น ถ้าท่านไม่มีฟิวส์อะไหล่ติดรถมาด้วยให้ถอดฟิวส์ของวงจรอื่นที่มีขนาดแอมแปร์เท่ากันหรือต่ำกว่ามาใส่แทนฟิวส์ที่ขาด โดยต้องเลือกถอดฟิวส์ของวงจรที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้น

- ถ้าฟิวส์ที่เพิ่งเปลี่ยนเข้าไปยังขาดอีกทั้ง ๆ ที่ขนาดของฟิวส์ถูกต้องแสดงว่าระบบไฟฟ้ามีปัญหาท่านจะต้องนำรถไปให้ช่างตรวจสอบระบบไฟฟ้าอีกครั้งโดยละเอียด

- การใส่ฟิวส์ที่มีขนาดแอมแปร์สูงกว่าที่กำหนด จะทำให้ระบบไฟฟ้ามีโอกาสที่จะเสียหายได้มากขึ้น ถ้าท่านไม่มีฟิวส์สำรองให้เลือกขนาดแอมแปร์ที่ถูกต้องหรือเล็กกว่าจะดีที่สุด



รอบรู้กับเรื่องฟิวส์

- อย่าใส่ฟิวส์ผิดขนาด เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในรถอาจจะทำให้เกิดความร้อนจนเกิดเพลิงไหม้ได้

- อย่างใช้อุปกรณ์อื่น ๆ แทนฟิวส์ เช่น ลวด สายทองแดง

- ถ้าเป็นไปได้ควรมีฟิวส์สำรองติดรถเพื่อเปลี่ยนในยามฉุกเฉิน

- ถ้าพบว่าฟิวส์ขาดบ่อยควรจะเข้าไปพบช่างเพื่อตรวจสอบสาเหตุของการลัดวงจร

- กรณีที่ฟิวส์ขาดพร้อมกันหลายตัว นั่นย่อมแสดงถึงความผิดปกติของระบบไฟควรให้ช่างรีบตรวจเช็คโดยด่วน

- ถ้าฟิวส์ขาดกลางทางขณะที่ขับรถอยู่ สามารถใช้แผ่นตะกั่วที่อยู่ในซองบุหรี่หุ้มฟิวส์แล้วใส่เข้าที่เดิม ซึ่งจะใช้ได้ชั่วคราว เมื่อพบร้านซ่อมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที

- ถ้าขั้วฟิวส์สกปรก ชำรุด หรือเปียกน้ำ อาจทำให้เกิดการช็อคได้ จึงควรหมั่นทำความสะอาดและตรวจสอบ

- ทำเครื่องหมายไว้ทุกครั้งเมื่อมีการถอดขั้วฟิวส์ เนื่องจากเวลาใส่กลับอาจมีการสับสน

- ควรจะมีอุปกรณ์วัดไฟ ไขควง ไฟฉาย และเครื่องมืออื่น ๆ ไว้สำหรับตรวจสอบฟิวส์และเครื่องยนต์อื่น ๆ ภายในรถ

- ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของฟิวส์จากคู่มือที่ติดมากับรถ









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 4 ส.ค. 49 01:22:30 ]





Create Date : 13 สิงหาคม 2549
Last Update : 13 สิงหาคม 2549 1:16:26 น. 0 comments
Counter : 553 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

บั้งไฟลาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

[Add บั้งไฟลาว's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com