บั้งไฟลาวกับสาวๆตากลม
 
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
12 สิงหาคม 2549
 
 
**มือใหม่หัดขับกลัวอะไรและวิธีการแก้ไข****

ใครๆ ก็ต้องเคยเป็นมือใหม่หัดขับ และบางคนหวาดกลัวในหลายลักษณะการขับ และ หลายคนก็ทำอะไรผิดๆ จนติดเป็นนิสัยเมื่อกลายเป็นมือเก่า
ขับรถได้ หรือ ขับรถเป็นแตกต่างกัน !
อ่านบทความแนะนำมือใหม่หัดขับ แต่มือเก่าก็อ่านได้ เพราะหลายอย่างอาจปฏิบัติผิดๆ มาตั้งแต่ตอนเป็นมือใหม่








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 21:51:31 ]


--------------------------------------------------------------------------------










--------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นที่ 1

1.นั่งชิดพวงมาลัย ชะโงกมองหน้ารถ
ปรับเบาะนั่งจนชิด พนักพิงตั้งชัน นั่งใกล้ พวงมาลัยมาก กลัวจับพวงมาลัยไม่ถนัด และกลัวมองไม่เห็นปลายฝากระโปรงหน้า ขาดความ มั่นใจถ้าไม่ได้มองหรือนั่งห่างพวงมาลัย
** ผลเสีย : หมุนพวงมาลัยได้ไม่คล่อง ขาด ความฉับไวในการบังคับทิศทาง เพราะข้อศอกอยู่ชิดลำตัวเกินไป และแขนงออยู่มาก ถ้าเกิดอุบัติเหตุ หากพวงมาลัยมีถุงลมนิรภัยจะเจ็บหนัก เพราะปะทะกับถุงลมฯ ในจังหวะที่แค่เริ่ม พองตัว ยังไม่พองตัวเกือบเต็มที่ หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก็มีโอกาสสูงที่จะกระแทกกับพวง มาลัยแล้วบาดเจ็บหรือตาย แม้คาดเข็มขัดนิรภัย หากเป็นแบบพื้นฐานไม่ใช่ไฮเทคแบบรั้งกลับอัตโนมัติ ก็อาจจะล็อกร่างกายได้ช้า จนกระแทก กับพวงมาลัยไปก่อน
**วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ปรับระยะห่างของเบาะนั่งและมุมเอนของพนักพิงให้ถูกต้อง ไม่ชิดไม่ห่างไม่เอนไม่ตั้งชันเกินไป การปรับเบาะนั่ง ให้ทดลองเหยียบเบรกด้วยฝ่าเท้า(ไม่ใช่ปลายเท้า)ให้สุด แล้วขาต้องงออยู่เล็กน้อย เพราะถ้าเหยียบสุดแล้วขาตึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ แล้วเหยียบเบรกอยู่ แรงกระแทกจะถ่ายทอดจากแป้นเบรกสู่สะโพกได้มาก แต่ถ้าเบรกสุดแล้วขายังงอ แรงกระแทกจะทำให้เข่างอขึ้นไป แรงกระแทกจะถูกส่งสู่สะโพกน้อยกว่า
พนักพิงเอนมาด้านหลังเล็กน้อย มีมุมเอียงประมาณ 100 องศา ตรวจสอบความเหมาะ สมของตำแหน่งได้ง่ายๆ โดยนั่งพิงพนักแล้วยื่นแขนตึงคว่ำมือไปวางเหนือพวงมาลัย วงพวง มาลัยต้องอยู่บริเวณข้อมือ ถ้าลองกำวงพวงมาลัยด้านบนสุด แขนยังต้องงออยู่เล็กน้อย ตำแหน่งการนั่งตามที่แนะนำนี้ จะทำให้การหมุนพวงมาลัยเป็นไปอย่างคล่องตัวและฉับไว ข้อศอกไม่ชิดลำตัว และแขนไม่เหยียดจนเกินไป


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 21:53:11 ]






ความคิดเห็นที่ 2

2.จับพวงมาลัยไม่ถูกตำแหน่ง
จับพวงมาลัยในตำแหน่งที่รู้สึกว่าตน เองถนัด บางครั้งก็จับมือเดียว บางครั้งก็ละมือ มาจับต่ำสุดเมื่อขับทางโล่งๆ ทั้งที่ใช้ความเร็วสูงอยู่
**ผลเสีย : การบังคับควบคุมในบางช่วงของการขับจะขาดความแม่นยำ ถ้าเกิดเหตุฉุก เฉิน เช่น ต้องเลี้ยวหลบอะไรเร็วๆ หรือยางแตก ก็อาจพลาดได้
** วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : หาเปรียบเทียบหน้า ปัดนาฬิกากับวงพวงมาลัย มือซ้ายควรอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา และมือขวา 3 นาฬิกาเสมอ ยกเว้นตอนเลี้ยว การจับ 2 มือในตำแหน่งนี้จะทำให้การควบคุมทิศทางเป็นไปอย่างแม่น ยำและฉับไว อย่าชะล่าใจจับพวงมาลัยมือเดียว หรือจับผิดตำแหน่งไปจากนี้ เพราะเหตุกะทันหันเกิดขึ้นได้เสมอบนถนนเมืองไทย แม้ แต่เดินทางไกลบนทางตรงโล่ง ก็ควรจับพวงมาลัยทั้ง 2 มือในตำแหน่งนี้ หากเมื่อยก็เอาข้อ ศอกหุบเข้ามาแนบลำตัว แม้จะไม่เคยพลาดทั้งที่จับพวงมาลัยมือเดียวหรือผิดตำแหน่ง แต่เมื่อไรเกิดเหตุฉุกเฉินควบคุมพวงมาลัยได้ไม่ดีจนเกิดอุบัติเหตุ แล้วจะนึกถึงการแนะนำนี้









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:08:33 ]






ความคิดเห็นที่ 3

3.เหยียบเบรกพร้อมคลัตช์
เมื่อไรที่กดเบรกลึกหน่อย หลายคนรีบเหยียบคลัตช์เกือบจะพร้อมกับเบรกเลย อาจจะเพราะกลัวเครื่องยนต์ดับ
***ผลเสีย : เมื่อเหยียบคลัตช์จนสุดขณะที่รถยังไม่หยุด ก็เท่ากับเป็นเกียร์ว่าง ไม่มีแรงเครื่องยนต์ช่วยหน่วงการเบรก ซึ่งในความเป็น จริงก็ไม่ได้มีผลเสียร้ายแรงอะไร หากเบรกโดย ไม่มีการหน่วงจากเครื่องยนต์ เพราะระบบเบรก ของรถยนต์ในปัจจุบันดีเพียงพออยู่แล้ว แต่ก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะต้องเหยียบเบรกพร้อมคลัตช์ ประเด็นสำคัญกลับกลายเป็นเรื่องของสมาธิที่ควรจะจดจ่อกับการเบรก แล้วต้องแบ่งไปที่การเหยียบคลัตช์โดยไม่จำเป็น
***วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : เบรกเมื่อต้องการเบรก ก็ควรจดจ่อกับการเบรกและควบคุมรถ ไม่ต้องเหยียบคลัตช์ไม่ต้องยุ่งกับเกียร์ให้เหยียบ คลัตช์เมื่อรถใกล้หยุด เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับ หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงเพื่อเร่งต่อหลังเลิกเบรก









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:11:22 ]






ความคิดเห็นที่ 4

3. ลดเกียร์ต่ำช่วยเบรก
หรือเรียกกันว่า เชนจ์เกียร์-เชนจ์เกียร์ต่ำ สอนและทำตามกันมาจนกลายเป็นเรื่องถูกต้อง หรือจำเป็นต้องทำไปแล้ว เหยียบเบรกพร้อมกับเหยียบคลัตช์ เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงแล้วถอนคลัตช์
*** ผลเสีย : เมื่อรอบเครื่องยนต์กวาดขึ้นสูงหลังลดเกียร์และถอนคลัตช์ เครื่องยนต์และเกียร์จะสึกหรอมากขึ้นโดยไม่จำเป็น และเสียทั้งสมาธิกับแรงในการเปลี่ยนเกียร์ แทนที่จะไปสนใจกับการเบรกและควบคุมรถ
** วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ไม่ใช่ว่าการลดเกียร์ ต่ำจะไม่ช่วยการเบรกเลย เพราะจริงๆ แล้วช่วย แต่ช่วยน้อยมากบนทางราบ หากไม่เชื่อก็สามารถทดลองได้โดยการลดเกียร์ต่ำโดยไม่เบรก กับกระแทกเบรกแรงๆ อัตราการลดความ เร็วจะต่างกันมาก จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำในขณะที่เบรกเอาอยู่ เบรกเมื่อต้องการเบรก ก็ควรจดจ่อกับการเบรกและควบคุมรถ ไม่ต้องยุ่งกับถ้าจะเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงเพื่อเร่งต่อ ก็ต้องถอนคลัตช์หลังเลิกเบรกแล้ว
การลดเกียร์ต่ำช่วยเบรกหรือควบคุมความเร็ว จะได้ผลบนทางลาดลง และได้ผลเสริม การเบรกเล็กน้อยเมื่อเบรกเอาไม่อยู่แล้ว แต่ถ้า ต้องเบรกกะทันหันอย่างหนักหน่วง ในความเป็นจริงแค่เบรกและคุมพวงมาลัยก็ยุ่งอยู่แล้ว จะลดเกียร์ต่ำโดยไม่เสียสมาธิเสียแรงได้อย่างไร ดังนั้นการเบรกก็ควรใช้เบรกตามหน้าที่ให้เต็มที่ก่อนจะไปวุ่นวายทำอย่างอื่น









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:12:48 ]






ความคิดเห็นที่ 5

4. กลัวหยุดที่ทางขึ้นของสะพานหรือทางชัน
ในกรณีของรถเกียร์ธรรมดาที่ต้องหยุดชั่วคราวในลักษณะนั้น และในเมืองใหญ่ที่การจราจรคับคั่ง รถคันที่จอดต่ออยู่ก็มักจะชิดเข้ามามาก บางคนเหยียบเบรกไว้ เมื่อจะไปต่อ ก็ถอนเบรกแล้วรีบกดคันเร่งพร้อมกับถอนคลัตช์
** ผลเสีย : รถอาจกระตุกอย่างแรง ไปชนรถคันข้างหน้า หรือเครื่องยนต์ดับไหลถอยหลังลงไป
***วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : วิธีที่ดีที่สุด คือ ใช้เบรกมือช่วย ดึงเบรกมือไว้ขณะจอด ถ้าจะให้ดีควรเหยียบเบรกควบคู่กันด้วย การออกตัว ให้เหยียบคลัตช์เข้าเกียร์ จับเบรกมือไว้ ค่อยๆ ถอนคลัตช์และเริ่มกดคันเร่ง พอรถเริ่มกระตุก เบาๆ นั่นแสดงว่าคลัตช์เริ่มจับตัว ก็ให้กดคันเร่งเพิ่มเล็กน้อย ปลดเบรกมือพร้อมถอนคลัตช์ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออีกวิธีหนึ่งที่ไม่ใช้เบรกมือ คือเหยียบเบรกไว้ การออกตัว ให้เหยียบคลัตช์ เข้าเกียร์ ค่อยๆถอนคลัตช์ พอพอรถเริ่มกระ ตุกเบาๆ แสดงว่าคลัตช์เริ่มจับตัว ก็ให้ละเท้าจากเบรกรีบมากดคันเร่ง พร้อมกับถอนคลัตช์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:18:09 ]






ความคิดเห็นที่ 6

ไม่กล้ากดคันเร่งมิด เมื่อจะเน้นอัตราเร่ง
กลัวกินน้ำมัน กลัวเบรกไม่อยู่ กลัวเครื่อง ยนต์สึกหรอ สารพัดจะกลัว
ผลเสีย : อาจเกะกะผู้ร่วมถนนอื่นในขณะนั้น หรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เพราะไม่เร่งหนี
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ในบางสถาน-การณ์ในการขับรถ การเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ อาจไม่ใช่การเบรก แต่กลับเป็นการเร่งส่ง การกดคันเร่งจมมิด ไม่มีอะไรเสียหาย การสึก หรอก็เพิ่มจากปกติน้อยมาก ขับรถให้รื่นรมย์ ถ้าอยากได้อัตราเร่งดีๆ ก็ไม่ต้องลังเลที่จะกดคันเร่งหนักๆ


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:20:47 ]






ความคิดเห็นที่ 7

6. เปลี่ยนเลนได้ เข้าทางได้ ไม่เร่งส่ง
ขับเอื่อยๆ เพราะถือว่าเข้าสู่เลนที่ต้องการ ได้แล้ว
ผลเสีย : ถ้ารถคันข้างหลังอยู่ใกล้หรือมาเร็ว ก็ถือว่าเสียมารยาทและอาจถูกชนท้ายได้
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : เมื่อเข้าสู่เลนที่ต้อง การได้แล้ว หากทางข้างหน้าว่าง และมีรถตามมา ให้กดคันเร่งเพื่อหนีไปด้านหน้า เพิ่มระยะห่างด้านหลัง


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:22:07 ]






ความคิดเห็นที่ 8

7.จอดไม่ชิดริมทาง
การจอดรถในพื้นที่สั้นๆ ยาวกว่าตัวรถไม่มาก หลายคนจอดห่างริมทางหรือของทางเท้า
ผลเสีย : ถ้าห่างมากตำรวจเขียนใบสั่งได้ เกะกะและถูกเฉี่ยวชนจากรถคันอื่น
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ถ้าขณะเข้าจอดเส้นทางโล่งพอสมควร การถอยจอดจะชิดริมได้ง่าย กว่า และต้องการพื้นที่โดยรวมสั้นกว่า การปักหัวรถเข้าไปสู่ช่องว่างจะต้องการพื้นที่ยาวมากกว่า ดังนั้นควรหัดถอยจอดตีวงให้คล่อง ไม่ต้องยึกยักหลายครั้ง


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:23:13 ]






ความคิดเห็นที่ 9

8.กลัวชนวงนอก ไม่กลัวเฉี่ยววงใน
ทั้งการขับออกจากซอย แล้วล้อหลังในปีนริมทางเท้า และการเลี้ยวเข้าที่แคบๆ
ผลเสีย : อาจมีการเฉี่ยวชนให้ต้องซ่อมสี หรือมีอะไรเสียหาย
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง : ตีวงออกสู่ด้านนอกโค้งเผื่อให้ด้านในโค้งห่างสักหน่อย หากไม่ทราบ ว่าจริงๆ แล้วปลายกันชนด้านนอกโค้งจะเลยไปถึงตรงไหน ให้ทดลองตีโค้งเข้าหาเสาแต่ไม่ให้ชน แล้วลงไปดูเพื่อจำไว้ว่ามองจากในห้องโดยสารแล้วใกล้แค่ไหนถึงจะชิดเสาที่สุด


[คลิกเพื่อชมภาพขนาดจริง]








จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:24:16 ]






ความคิดเห็นที่ 10

9. ไม่ค่อยดูกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลัง
เพราะจดจ่อกับการควบคุมรถให้ไปตาม ตามเส้นทางข้างหน้า
ผลเสีย : อาจเสียมารยาทโดยไม่รู้ตัว ทั้งเกะกะผู้อื่น เปลี่ยนเลนกระชั้นชิด หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง :ไม่ยาก ก็มองกระจก มองข้างหรือกระจกมองหลังให้ถี่ขึ้น เพราะรถคันที่ตามมาอาจขับเร็ว มองแต่ละครั้งห่างกัน 3 วินาที อาจจะเข้ามาชิดแล้วก็ได้ ถ้าความเร็วต่าง กัน 50 กม./ชม. ทุก 1 วินาทีรถคันตามจะชิดเข้ามา 14 เมตรหรือประมาณ 4-5 ช่วงคันรถ









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:25:15 ]






ความคิดเห็นที่ 11

มือใหม่หรือมือเก่า หากอยากเรียนรู้อยากปรับปรุงวิธีขับรถที่ไม่ถูกต้อง นับเป็นเรื่องที่ทำได้เสมอ ไม่ว่าจะเคยขับรถมา 2 วัน หรือ 30 ปี

***ขอบคุณแหล่งที่มา..รถบ้าน***









จากคุณ : บั้งไฟลาว - [ 11 ส.ค. 49 22:27:50 ]





Create Date : 12 สิงหาคม 2549
Last Update : 12 สิงหาคม 2549 22:56:21 น. 0 comments
Counter : 4117 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

บั้งไฟลาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

[Add บั้งไฟลาว's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com