Mr.Pos : The Thinking & Learning in My Life
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 

Sutter’s Mill : ปฐมบท ‘ความโลภ’ และการแสวงหา ‘ทองคำ’ ในแผ่นดินอเมริกา (เขียนถึงบทเพลงในความทรงจำ)

 

Sutter’s Mill : ปฐมบท ‘ความโลภ’ และการแสวงหา ‘ทองคำ’ ในแผ่นดินอเมริกา

 

 

                หนึ่งในบทเพลงคันทรีอมตะ ที่ถูกถ่ายทอด บอกเล่าเนื้อหา อันเป็นเสี้ยวประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของแผ่นดินอเมริกาได้อย่างสมบูรณ์ ไพเราะที่สุด คงหนีไม่พ้นบทเพลง ‘Sutter’s Mill’ ที่นั่งอยู่ในใจใครหลายคนของ ‘Dan Fogelberg’ (แดน โฟเกลเบิร์ก) นั่นเอง

 

                จริงๆ แล้วผมเองเคยฟังบทเพลง Sutter’s Mill จากการ cover ของ สุดยอดนักร้องเพลงสากลคันทรีชาวไทยผู้ล่วงลับ อย่าง ‘กุ้ง กิตติคุณ เชียรสงค์’ เป็นครั้งแรกมาก่อน ซึ่ง คุณกุ้ง ก็ถ่ายทอดบทเพลงนี้ได้อย่างไพเราะ นุ่มนวลน่าฟัง แทบไม่แตกต่างจากเวอร์ชั่นต้นฉบับของ แดน โฟเกลเบิร์ก แต่อย่างใดเลย

 

เนื้อหาเรื่องราว ตำนานชีวิตของผู้คน และสถานที่ในบทเพลงนี้ล้วนคือส่วนเสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคแสวงหาของอเมริกาที่เกิดขึ้น และมีอยู่จริง สถานที่ในบทเพลงนี้ ที่เรียกว่า Sutter’s Mill ก็คือ โรงเลื่อย ของ นักบุกเบิกชาวอเมริกันในยุคศตวรรษที่ 19 ที่ชื่อ ‘John Sutter’ (จอห์น ซัทเทอร์) ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมธุรกิจกับ  ‘James W. Marshall’ (เจมส์ ดับบลิว มาร์แชล) ซึ่งสถานที่นี้ตั้งอยู่บริเวณด้านใต้ของแม่น้ำอเมริกัน ที่ไหลอยู่ในแถบแคลิฟอร์เนีย และทุกวันนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่มรดกทางประวัติศาสตร์ของอเมริกาไปแล้ว

 

ปฐมเหตุ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ มาร์แชล ได้ค้นพบชิ้นทองคำเล็กๆ ในลำธารใกล้อาณาบริเวณโรงเลื่อย เมื่อวันที่ 24 มกราคม ปี 1848 แม้ว่าคนทั้งคู่จะพยายามเก็บกุมความลับของทองคำนี้ไว้อย่างสุดชีวิตก็ตาม แต่ข่าวการค้นพบทองคำครั้งนี้ก็ได้แพร่กระจายลุกลามไปอย่างรวดเร็ว กระทั่งกลายเป็นข่าวใหญ่ตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ซานฟรานซิสโก นั่นจึงทำให้ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งความโลภ ความปรารถนา และความมุ่งมั่นในการเสาะแสวงหาความมั่งคั่งของผู้คนในดินแดนใหม่นี้ได้อีกแล้วครับ

 

ประวัติศาสตร์กล่าวว่า ภายหลังจากที่สงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพรัฐบาลฝ่ายเหนือ กับกองทัพฝ่ายใต้ระหว่างช่วงปี 1861 –1865 สิ้นสุดลง ผนวกเข้ากับสิ่งกระตุ้นเร้าของข่าวสารขุมทองคำในแผ่นดินฝั่งตะวันตก ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น มีผู้คนหลั่งไหลมายังแคลิฟอร์เนีย เพื่อขุดค้นหาทองคำ กันอย่างมืดฟ้ามัวดินเป็นจำนวนมากถึง 3 แสนกว่าชีวิต ที่ดั้นด้นมาทั้งทางบก และรอนแรมมาทางทะเล พร้อมกับอุปกรณ์ขุด ร่อนทองในแม่น้ำ รวมไปถึงบุคคลอื่นๆ อีกมากมายทั้ง พ่อค้า นักการเงิน นักพนัน และนักแสวงโชค จนพลิกผันให้ แคลิฟอร์เนีย ที่เคยหลับใหลอย่างเงียบสงบ และแทบไม่เคยมีคนผิวขาวเคยก้าวย่างสัมผัสมาก่อน ได้ถูกปลุกตื่นเพียงชั่วข้ามคืน นำพาความเจริญด้านต่างๆ มาสู่แคลิฟอร์เนียราวกับน้ำป่าที่ล้นทะลัก

 

ซึ่งฉากประวัติศาสตร์แห่ง ‘ยุคตื่นทอง’ นี้ก็ได้ถูกบรรยายถ่ายทอดในบทเพลงของ โฟเกลเบิร์ก ไว้อย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์แห่งการค้นพบครั้งประวัติศาสตร์นี้ ได้พลิกผันชะตาชีวิตครั้งใหญ่ให้กับผู้คนบนแผ่นดินทั้งก้าวไปสู่ความมั่งคั่งสำเร็จ และยังได้ทำลายชีวิตของผู้คนอีกมากมายให้หมดสิ้นความหวัง รวมไปถึงต้องพบกับจุดจบในชีวิตเพราะความโลภ ความเหน็บหนาว และความหิวโหยไปพร้อมๆ กัน  

 

บทเพลงคันทรีอมตะอย่าง Sutter’s Mill ยังคล้ายเป็นการจดจารประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญเอาไว้ด้วยว่า กว่าที่ตำนานแห่งเสรีภาพหน้าใหม่บนแผ่นดินอเมริกาจะถูกขีดเขียนขึ้น ครั้งหนึ่งได้มีเหล่านักบุกเบิกรุ่นแรกที่ออกเดินทางมุ่งแสวงหาความหวัง ความใฝ่ฝันในชีวิตบนแผ่นดินโลกใหม่ ต้องจบชีวิต ล้มตายลงทับถมกันอย่างนิรนามไร้คนจดจำ เฉกเช่นเดียวกับที่คนพื้นเมือง ‘อินเดียนแดง’ เจ้าของแผ่นดินเดิม ได้ถูกคนขาวเข้าเบียดเบียน เข่นฆ่า พรากเอาชีวิตของพวกเขาไป นับแสนชีวิตภายในระยะเวลาแสนสั้นเช่นกันด้วย

 

แม้ว่า ณ วันนี้ สุดยอดศิลปินคันทรีเจ้าของเสียงนุ่มละมุน อย่าง แดน โฟเกลเบิร์ก  ผู้สร้างชื่อเสียงร่วมยุคสมัยเดียวกับ คณะดนตรีชื่อก้องอย่าง The Eagles  ในช่วงปี 1970 – 80 จะอำลาโลกไปแล้วด้วยวัยเพียง 56 ปี ด้วยโรคมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตเขาไปในปี 2007 นี้เอง แต่บทเพลงอย่าง Sutter’s Mill ที่เขาขีดเขียนขึ้น และขับร้องเอง ก็ยังมีเนื้อหาอันเป็น ‘สัจธรรม’ ไม่เปลี่ยนแปลง ที่ว่าด้วย ‘ความโลภ’ ในใจคนที่ไม่เคยมีวันถมเติมได้เต็ม จนเป็นต้นรากที่นำมาซึ่ง ‘โศกนาฏกรรม’ ร้ายแรงครั้งแล้วครั้งเล่า นั่นจึงทำให้บทเพลงนี้คงอยู่ในใจแฟนเพลง และเป็นตำนานที่ผู้คนจดจำไปอีกแสนนาน.

 

 In the Spring of Forty-seven,
So the story, it is told,
Old John Sutter went to the mill site
Found a piece of shining gold.

Well, he took it to the city
Where the word, like wildfire spread.
And old John Sutter soon came to wish he'd
Left that stone in the river bed.

For they came like herds of locusts
Every woman, child and man
In their lumbering Conestogas
They left their tracks upon the land.

(Chorus)
Some would fail and some would prosper
Some would die and some would kill
Some would thank the Lord for their deliverance
And some would curse John Sutter's Mill.

 

Well, they came from New York City,
And they came from Alabam'
With their dreams of finding fortunes
In this wild unsettled land.

 

Well, some fell prey to hostile arrows
As they tried to cross the plains.
And some were lost in the Rocky Mountains
With their hands froze to the reins.
Oh...
(Chorus)
Well, some pushed on to California
And others stopped to take their rest.
And by the Spring of Eighteen-sixty
They had opened up the west.

And then the railroad came behind them
And the land was plowed and tamed,
When Old John Sutter went to meet his maker,
With not one penny to his name.
Oh...
(Chorus)

 

And some would curse John Sutter's Mill
Some men's thirsts are never filled.

 

 

 




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2556
1 comments
Last Update : 21 ตุลาคม 2556 14:06:25 น.
Counter : 8256 Pageviews.

 

Good story

 

โดย: Parker IP: 182.232.24.39 12 เมษายน 2563 11:58:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


โปสการ์ดราดซอส
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add โปสการ์ดราดซอส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.