พฤศจิกายน 2556

 
 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
All Blog
Diwali (ดิวาลี) เทศกาลยิ่งใหญ่ของชาวฮินดู


ช่วงนี้เป็นวันที่ชาวฮินดูทั่วโลกมีการเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลี (Diwali) กัน วันนี้เลยขอหยิบยกมาเล่าให้ฟังกันนะว่าความเป็นมาและความสำคัญของวันนี้คืออะไร

Deepavali, Diwali (ดีปาวาลี หรือ ดีวาลี) เป็นเทศกาลสำคัญของชาวฮินดูถือว่าเป็นทั้งวันปีใหม่ของอินเดีย และเป็นวันบูชาพระแม่ลักษมีเทวีด้วย ซึ่งทุก ๆปีจะมีขึ้นประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกๆปีหรือตรงกับช่วงหลังออกพรรษาของบ้านเราเทศกาล Diwali (ดีวาลี) หรือ Deepavali (ดีพาวลี)จะเรียกแบบที่หนึ่งหรือที่สองก็ได้ Diwali เป็นภาษาฮินดี ส่วน Deepavali เป็นภาษาสันสกฤต Diwali หรือ Deepavaliหมายความว่าแถวแห่งตะเกียงเป็นเทศกาลแห่งการประดับไฟของชาวฮินดู


ตำนานความเชื่อเค้าว่ากันไว้ว่า ในคัมภีร์รามายณะ กล่าวว่าเมื่อพระรามสู้รบกับเหล่าอสูร (ราวัน) จนมีชัยแล้ว ก็ได้เดินทางกลับมาสู่อาณาจักรอโยธยาพร้อมกับพระลักษณ์และพระนางสีดาชายาแห่งพระองค์



การกลับมาครั้งนี้เป็นการนำชัยชนะมาสู่อาณาจักรจึงมีการเฉลิมฉลองด้วยไฟกันทั่วทั้งอาณาจักรอโยธยา ซึ่งวันที่พระรามกลับมานี้ก็ตรงกับวันดีปาวาลี

 

แต่ก็มีตำนานอื่น ๆ ที่คนเชื่อกันอีกเช่นเป็นวันประสูติของพระมหาลักษมี และ เป็นวันฉลองชัยที่พระกฤษณะ เอาชนะนรกสูร (Narakasura) เนื่องจากอสูรตนนี้อาศัยอยู่ในความมืดและเมื่อใดก็ตามมีผู้จุดตะเกียงเพื่อใช้แสงสว่างเมื่อนั้นนรกสูรจะโดนสังหารเสียเมื่อพระกฤษณะทรงรับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆ จึงฆ่าสูรเสียดังนั้นจึงเชื่อว่าการจุดประทีบ เป็นการขับไล่นรกสูร หรือสิ่งไม่ดีต่าง ๆและเป็นการอัญเชิญ พระกฤษณะ หรือ เทพเจ้าต่างๆ (สิ่งดี)เข้ามาช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ออกไป

ดิวาลีเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงนั่นหมายถึงเป็นวันแห่งความสุกสว่างของแสงจันทร์

พระจันทร์เต็มดวงในวันดีปาวาลีนี้ถือเป็นการเต็มดวงครั้งแรกของปีใหม่ เรียกว่า "การติก อมาวาสยา"  แม้ในความมืดแสงจันทร์ยังสว่างเฉิดฉายก็มิต้องเกรงกลัวภยันตรายใดๆมาแผ้วพาน
การบูชาพระแม่ลักษมีในวันพระจันทร์เต็มดวงจึงเป็นการระลึกถึงพระคุณแห่งแสงจันทร์ด้วย
ในวันดังกล่าวจะมีการบูชาพระแม่ลักษมีเป็นหลัก แต่เทพเจ้าองค์อื่นๆ ก็จะได้รับการสวดบูชาด้วยเช่นกัน มีการจุดตะเกียงดินเผาเทียน ประทีป ประดับประดาแท่นบูชาด้วยไฟกระพริบสีสันสวยงาม บางบ้านมีการจุดเทียนหรือดวงประทีปในรูปแบบต่างๆวางเป็นแนวยาวซ้ายขวาให้เป็นถนนจากหน้าบ้านไปสู่หิ้งบูชาของพระแม่ลักษมีที่ตั้งอยู่ในบ้าน

 

เมื่อเสร็จสิ้นการสวดมนต์บูชาพระแม่ลักษมีแล้วจะมีการจุดพลุ ประทัดหรือตีเกราะเคาะไม้ให้เสียงดังเพื่อข่มอสูรไล่เอาสิ่งอัปมงคลออกไปจากบ้านเมืองให้เหลือแต่สิ่งที่เป็นมงคลตลอดไป

เทศกาลดิวาลีจึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูผู้คนจะทำความสะอาดบ้าน และตกแต่งบ้านเรือนของพวกเขาอย่างสวยงามด้วยไฟกระพิบบ้างด้วยดิยาบ้าง มีการเล่นดอกไม้ไฟอย่างสนุกสนานในตอนกลางคืนและเป็นช่วงเวลาที่หาซื้อของขวัญโดยเฉพาะขนมหวานและผลไม้แห้งมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้าน


เทศกาลนี้มีความเกี่ยวข้องกับไฟดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เทศกาลแห่งแสงไฟ (The Festival ofLights) เมื่อถึงเวลาเทศกาลทุกบ้านเรือนจะมีการจุดบูชาไฟโดยใช้ตะเกียงดินเผาใบเล็กทำเป็นภาชนะ หรือเรียกกันในชื่อว่า ดิยา (Diya) ซึ่งเป็นตะเกียงดินเผาใบเล็กที่ใช้น้ำมันเนย (Ghee) หรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงมีฝ้ายเหรือสำลีเป็นไส้ตะเกียงและดิยานี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลดิวาลีอีกด้วยผู้คนจึงนิยมซื้อหามาจุดกันในทุก ๆ ที่ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาบ้าน ห้องรับแขกห้องครัว แม้แต่ในห้องน้ำ รวมถึงมีการเล่นดอกไม้ไฟกันด้วย



และอีกอย่างคือ จะมีการทำลวดลายสัญลักษณ์รังโกลี (Rangoli) จากแป้งสี และดอกไม้ต่างๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับผู้มาเยือน ตามลานหน้าบ้าน หรือทางด้านหน้าประตูของบ้านอีกทั้งมีการแขวนดอกดาวเรืองและใบมะม่วงตามประตูและหน้าต่างอีกด้วย


เทศกาลนี้จะเล่นกันอยู่5 วันเริ่มต้นหลังจาก เดือนคาร์ติก้า (Kartika) หรือคืนเดือนมืดไป 15 วันตามปฏิทินชาวฮินดู หรือตามปฏิทินเกรโกเรียนเทศกาลดิวาลีจะตกในประมาณเดือนพฤศจิกายน เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองกันทุกรัฐของประเทศอินเดียแต่เนื่องด้วยความใหญ่โตของประเทศอินเดียทำให้เทศกาลดิวาลีมีการจัดและบูชาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่คือบูชาพระแม่ลักษมีเทวี (ทั่วไป), พระราม พระสีดา (เมืองอโยธยา), พระกฤษณะ (เมืองวรินดาวัน และรัฐคุชราต), เจ้าแม่กาลี(รัฐเบงกอล) เทศกาลจะมีพิธีกรรมทางศานาฮินดูที่เรียกว่า อารตี (Aarti) เป็นการแสดงความเคารพต่อทวยเทพและเทวีต่างๆ ของชาวฮินดู เทศกาลนี้จะเฉลิมฉลองด้วยกัน 5 วัน แต่ทางรัฐทมิฬนาดูลและภาคใต้จะเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีเพียง2 วันเท่านั้น ส่วนการเฉลิมฉลอง5 วัน แต่ละวันจะมีลักษณะความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปคือ


วันที่ 1

ธนเตรส (Dhanteras หรือDhawantari Triodasi) ในวันนี้จะมีการทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านเรือนทางประตูเข้าบ้านจะประดับด้วยลวดลายสัญลักษณ์รังโกลีเพื่อที่จะอันเชิญเจ้าแม่ลักษมีเข้าบ้านตนชาวฮินดูจะมีการซื้อสิ่งของที่เป็นเงินหรือทองหรือภาชนะชิ้นใหม่สักหนึ่งหรือสองชิ้น เชื่อกันว่าเป็นเครื่องหมายของความโชคดีในช่วงตอนเย็นจะจุดไฟตะเกียงดินเผาเพื่อขับไล่วิญญาณร้ายทั้งหลายและมีการสวดสรรเสริญเจ้าแม่ลักษมีด้วยบทเพลงบาจัน (Bhajans) หลังจากนั้นมีการถวายขนมหวานกับเทวีในพื้นที่รัฐมหารัฐมหาราษฏระจะใช้เมล็ดผักชีและน้ำตาลโตนดเป็นเครื่องถวายแทนขนมหวานบ้านไหนมีวัวก็จะประดับตกแต่งและบูชาโดยเฉพาะทางตอนใต้อินเดียมีการบูชาวัวเป็นพิเศษในวันนี้


 

วันที่ 2 เป็นวันนี้ที่เดี้ยนกำลังนั่งเขียนบล๊อกอยู่ (2 พย. 2013)

โชตี้ ดิวาลี (Choti Diwali หรือNarak Chatursasi) ในวันที่สองนี้จะบูชาเจ้าแม่ลักษมี พระราม และพระกฤษณะชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระกฤษณะชนะมารร้ายนรกอสูรวันนี้เป็นวันที่เริ่มเล่นอย่างสนุกสนาน และเล่นพลุไฟในทางอินเดียตอนใต้มีพิธีกรรมที่แปลกมากคือในตอนเช้าของวันนี้จะต้องลุกขึ้นมาก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้นนำคัมคัม (Kumkum)แป้งสีแดงมาผสมกับน้ำมันพืชซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเลือด นำผลไม้รสขมมาตีให้แตกเปรียบเสมือนพระกฤษณะทำลายศรีษะของจอมอสูร และนำแป้งสีแดงที่ผสมมาแต้มที่หน้าผากจากนั้นอาบน้ำที่ผสมด้วยน้ำมันจันทร์

 

ร้านขายดอกไม้ไฟ



วันที่ 3 คือ ดิวาลี (Diwali) วันนี้ถือเป็นวันเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นวันที่บูชาพระแม่ลักษมี ในอิเดียตอนเหนือและตะวันออกการทำความสะอาดบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะพระแม่ลักษมีชอบความสะอาด บ้านหลังไหนที่สะอาดที่สุดพระแม่ลักษมีก็จะเยื่ยมบ้านนั้นเป็นบ้านแรก และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมต้องบูชาไม้กวาดด้วยผงขมิ้นและชาด หลังจากพระอาทิตย์ตกดินมีการจุดตะเกียงดินเผาให้สว่างทั่วทั้งบริเวณบ้านเพื่อเป็นแสงนำทางให้พระแม่ลักษมีเข้าบ้านเรือนตน อีกทั้งยังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและความมืดออกจากบ้านด้วย คนในครอบครัวจะอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ คนอินเดียจะถือวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู มีการเล่นอย่างสนุกสนาน และมีการจุดพลุเล่นกันทั้งคืน


วันที่ 4

ปัดวา (Padwa หรือGovardhan Puja) วันที่สี่เป็นงานบูชาพระกฤษณะและทำบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือที่แม่น้ำในวันนี้สำหรับชาวฮินดูที่เคร่งศาสนาจะไม่นอนหลับในคืนนี้ พวกเขาจะทำอาหาร 56 หรือ108 ชนิดที่แตกต่างกันไป เรียกอาหารเหล่านั้นว่า โภค (Bhog) เพื่อนำไปถวายแด่พระกฤษณะ

 

วันที่ 5

ไภทูช(BhaiDuj) วันสุดท้ายนี้น้องสาวจะเจิมหน้าผากให้พี่ชายเพื่อให้มีความสุขและอายุยืน มีความเจริญในหน้าที่การงาน ฝ่ายพี่ชายก็จะมอบของขวัญและสัญญาว่าจะปกป้องน้องสาวเป็นการตอบแทนสาระสำคัญของการฉลองวันนี้ เพื่อเสริมสร้างความรักระหว่างพี่ชายและน้องสาวเป็นวันที่กินอาหารร่วมกัน มอบของขวัญให้กัน



เป็นอย่างไรจ๊ะคราวนี้แจ่มแจ้งหรือยังว่าวันนี้สำคัญเพียงใดกับชาวฮินดูว่าแล้วเดี้ยนขอไปทำความสะอาดบ้านก่อนนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก//www.siamganesh.com และเวบกลุ่มนักศึกษาไทยเมืองพาราณสี //tsa-bhu.org




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2559 20:24:10 น.
Counter : 37289 Pageviews.

7 comments
  
ว้าว ว .. แค่อ่านและนึกภาพตาม ก็เห็นถึงความยิ่งใหญ่อลังการแล้วค่ะ / ขอบคุณค่ะ
โดย: มิฮิร IP: 223.204.79.55 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2556 เวลา:15:44:07 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่เผื่อได้นำไปใช้ในชีวิตจริงบ้างค่ะ^_^ เสียด้ายได้ร่วมงานปีใหม่คงสนุกน่าดูอยากลองชิมขนมค่ะถ้าจะอร่อย
โดย: รส IP: 171.4.16.49 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2556 เวลา:16:33:14 น.
  
แจ่มแจ้ง อยู่อินเดียมาตั้งหลายปี ก็ยังไม่รู้ว่าสำคัญยังไง รู้แต่ว่าไฟสวยมากในวันนี้
โดย: ว่าที่ อดีตสะใภ้อินเดีย IP: 223.180.224.3 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา:16:42:12 น.
  
ขอบคุณสำหรับรายละเอียดที่ชัดเจนมากเลยค่ะ
โดย: เอ IP: 171.5.151.113 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา:22:19:27 น.
  
ขอบคุนะคะสำหรับความรู้ใหม่
โดย: Supis phongoen IP: 223.24.125.247 วันที่: 19 ตุลาคม 2560 เวลา:10:31:14 น.
  
ขอบคุณนำความรู้มาให้นะตะ 👍
โดย: Love infia IP: 114.109.183.53 วันที่: 21 ตุลาคม 2560 เวลา:5:59:43 น.
  
ยินดีค่า
โดย: puk (Moti ) วันที่: 29 ตุลาคม 2560 เวลา:19:41:33 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Moti
Location :
Chandigarh  India

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 136 คน [?]



Moti เป็นภาษาฮินดี้ แปลว่าอ้วน ซึ่งตรงกับชื่อเล่นของเรา ปุ๊ก จากกรุงเทพ ไปตั้งรกรากอยู่บังกะลอร์เกือบเจ็ดปี ที่บังกาลอร์อยู่ลำพังกับลูก ๆ สองปีเพราะสามีย้ายไปทำงานดูไบ หลังจากนั้นก็ย้ายตามสามีไปดูไบได้สามปี ตอนนี้กลับมาตั้งหลักที่ไทยละจ้า

ขอเกร่นก่อนสำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาอ่าน เรื่องราวและข้อความทั้งหมดใน Blog นี้มาจากความคิดเห็นและประสบการณ์ของเจ้าของ Blog ซึ่งอาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจบางคนที่เข้ามาอ่าน ถ้าหากอ่านแล้วรู้สึกไม่ชอบใจก็สามารถกดเครื่องหมาย x ที่มุมบนขวาได้ จะดีกว่าเข้ามาเม้นท์เพื่อก่อกวนนะจ๊ะที่รัก

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๙ งานเขียนและภาพประกอบในบล็อคนี้เป็นลิขสิทธิ์ตามกฏหมายนะคะ กรุณาอย่าลอกหรือก๊อปปี้ไปใช้ที่อื่นเลยนะค๊า
มาดามภารตะ - Motigang page

Instagram
New Comments