Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
กรรมในการให้ทาน



จากหนังสือ "เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน" ฉบับปฏิรูป โดย ดังตฤณ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฮาวฟาร์ หน้าที่ 36-38

กรรมในการให้ทาน

จุดประสงค์ของการให้ทานในทางพุทธศาสนา ก็เพื่อมุ่งทำลายความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นหลัก เมื่อความตระหนี่ถี่เหนียวหายไป ใจดีๆ ก็มาเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายาม แจกแจงความงามตามระดับการให้ได้ดังนี้

1) ทรัพยทาน
"ความตระหนี่" เป็นยางเหนียวที่ทำให้จิตเหนอะหนะ ทึบตัน หาความปลอดโปร่งมิได้ คล้ายฟองเหนียวตะปุ่มตะป่ำเกาะจิตอยู่ยุ่บยั่บ เป็นความอึดอันดแก่เจ้าตัวเอง และคนอยู่ใกล้ กริยาที่แสดงความงก หรือหวงแหนแม้มีส่วนเกินคนลำบากตากหน้ามาขอก็ไม่ให้ ไม่คิดเผื่อแผ่ ไ่ม่เอาใครเลย ล้วนส่งคลื่นความรู้สึกน่าเกลียดออกมาทั้งสิ้น

ตอนเกิดมากเป็นทารกแบเบาะ ธรรมชาติบังคับให้ทุกคนเีรียกร้องเอาเข้าตัวแล้วก็หวงแหนสมบัติส่วนตน ฉะนั้น การให้ทานจึงเป็นเรื่องต้องฝึก จะให้เกิดเองไม่ได้ แล้วก็ไม่มีอุปกรณ์ การฝึกใดหาง่า่ยกว่าข้าวของที่เป็นส่วนเกิน ส่วนที่ไม่ทำให้เราเดือดร้อน แ่ต่อาจช่วยแบ่งเบาให้คนอื่นเดืิอดร้อนน้อยลงได้

เมื่อค่อยๆ ฝึกให้ของ ให้ทรัพย์ส่วนเกิน แบ่งปันของดีให้คนอื่นใช้ยางเหนียวก็เริ่มละลาย กลายเป็นความปลอดโปร่ง น่าอึดอัดน้อยลงจนรู้สึกได้ด้วยตนเอง กระทั่งเมื่อฝึกถึงขั้นที่ "ให้ทานด้วยความเลื่อมใสศรัทธา" ก็จะมีรัศมีสว่างสวยฉายออกมาจากใจ สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัส

การให้ด้วยความศรัทธา คือ เต็มใจให้ ใจจึงเป็นกุศลเต็มกำลังจะเป็นความปลื้มใจที่ได้อนุเคราะห์ผู้อื่น หรือ จะเพราะเลื่อมใสศรัทธาในผู้รับเช่นพระสงฆ์ ผู้ทรงศีลก็ตาม กำลังศรัทธาที่เต็มเปี่ยมจะเป็นปัจจัยให้เกิดผลมากทั้งสิ้นเมื่อคิดให้ทานด้วยจิตที่ผ่องแผ้วสวยใสที่สุด ย่อมเป็นเหตุบันดาลรูปร่างหน้าตาที่สวยชวนพิศที่สุดเช่นกัน

เกณฑ์ง่ายๆ ที่ตัดสินได้ว่าใจของคุณมีศรัทธาขณะให้ทาน คือ เมื่อนึกถึงบุญขณะต่างๆ ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ แล้วนึกอยากยิ้มสดชื่นออกมาจากข้างใน เป็นยิ้มอันบันดาลขึ้นจากความปลื้มเปรม ความอิ่มเอมที่บริสุทธิ์ ปราศจากเงื่อนไขแลกเปลี่ยน แต่ถ้าทำทานแล้วฝืนยิ้มไปแกนๆ ใจไม่เป็นสุขนั้น ไม่นับว่าถึงความเลื่อมใสในทานเพราะแสดงให้เห็นว่าใจยังแห้งแล้งอยู่

หากให้ทานด้วยจิตใจคับแคบ เช่น แก่งแย่งชิงดีเอาหน้า เอาเด่นหรือให้ทานแบบกีดกัน ไม่ยอมร่วมให้ทานกับใคร ไม่ยอมถวายสังฆทานพร้อมกันกับคนแปลกหน้าที่เขามาพร้อมเรา ดึงดันจะแยกเป็นต่างหากให้พระต้องสวดสองที แบบนี้กรรมจะตกแต่งให้ชาติต่อไปหน้าตาออกรสเค็ม หรือเห็นแล้วไม่สบายใจเสียมากกว่าจะน่าเลื่อมใส ตามอาการทางจิตนั่นเอง

วิธีง่ายๆ เพื่อสร้างศรัทธาในการให้ คือ ให้เพราะอยากให้ ถวายเพราะอยากถวาย และอย่าเลือกหน้า อย่าสร้างเงื่อนไขว่า อย่าเป็นสัตว์ ต้องเป็นคน ต้องเป็นพระ ขอเพียงของที่ให้ทานเป็นสิ่งที่คุณได้มาโดยชอบธรรม ไม่เดือดร้อนใครกับทั้งมีน้ำจิตคิดอยากให้ ใจก็เบิกบานเป็นปีิติได้แล้ว ยิ่งสั่งสมบ่อยเท่าไร ใจในการให้ก็ยิ่งสวยขึ้นเท่านั้น

เมื่อคุณให้ทานครบวงจรในที่สุดผลของทานจะนำคุณเลื่อนชั้นทางจิตและคุณจะมีสิทธิ์ให้ทานกับผู้ควรแก่การรับสูงชั้นขึ้นไปเรื่อยๆ เอง ความเลื่อมใสศรัทธาจะเกิดขึ้นสูงสุด เมื่อทั้งผู้ให้และผู้รับมีความบริสุทธิ์หมดจด คือ ศีลสะอาด ความประพฤติสะอาด วัตถุที่ใช้ในการให้ทานสะอาด และความตั้งใจขณะถวายทานสะอาด

กล่าวโดยย่นย่อที่สุด ยิ่งความตระหนี่น้อยลงเท่าไร คุณจะยิ่งเห็นใจตัวเองน่าเกลียดน้อยลงเท่านั้น และยิ่งความเลื่อมใสในการให้ทานปรากฎชัดขึ้นเพียงใด ใครๆ จะยิ่งบอกว่า หน้าตาคุณมีรัศมีชวนชมชัดขึ้น เป็นเงาตามตัว โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ชาติหน้า...





Create Date : 28 มกราคม 2553
Last Update : 6 สิงหาคม 2553 18:46:04 น. 1 comments
Counter : 1042 Pageviews.

 
แค่เติมใจด้วยพรหมวิหารสี่เท่านั้นก็พอค่ะ


โดย: Chulapinan วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:3:01:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.