มีวิชาเหมือนมีทรัพย์ อยู่นับแสน
 
มิถุนายน 2552
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
9 มิถุนายน 2552

บทที่ 1 ทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความหมายและความสำคัญของทฤษฎี

ทฤษฎี มาจากคำว่า Theory รากศัพท์ภาษากรีก = การเพ่งดู การพิจารณาอย่างเจาะจง ซึ่งทำให้ได้ผล คือ
1. ความรู้ความเข้าใจ ในสิ่งที่เพ่งดู
2. สามารถทำนายได้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
3. สามารถนำสิ่งที่รู้ไปปฏิบัติตามคำทำนาย หรือ เพื่อ
หลีกเลี่ยงผลตามคำทำนาย
ดังนั้น ทฤษฎี = แผนที่นำไปสู่ความรู้ และ ความจริง

ทฤษฎี คือ การอธิบายเหตุและผล ว่าอะไรคือเหตุ และ อะไรคือผล
สิ่งใดเกิดขึ้นจากสิ่งใด ปรากฏการณ์เกิดจากสาเหตุใด
ทฤษฎี จึงแสดงให้เห็น
“ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป”
สิ่งที่ทฤษฎีพยายามจะบอกเราก็คือ “ความจริง”
คือ เมื่อ ตัวแปรที่ 1
มามีความสัมพันธ์ในรูปแบบเฉพาะเจาะจง
กับตัวแปรที่ 2
ผลที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นเช่นนั้น เสมอไป
ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด คือ การคำนวณ
2 x 1 = 2
1 + 3 = 4
2 + 7 = 9
ถ้าไม่บอกค่าตัวแปรตัวใดตัวหนึ่ง ทฤษฎี ที่เราเรียนรู้มาก็ทำให้เรารู้
X1 x 1 = 2 จงหาว่า X1 = ?
1 + X2 = 4 จงหาว่า X2 = ?
2 + 7 = X3 จงหาว่า X3 = ?
การที่ทฤษฎี บอกเราว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล หรือ สิ่งใดนำไปสู่สิ่งใด
ทำให้เราสามารถนำสิ่งที่รู้ไปใช้ประโยชน์ได้ เพื่อ
- ทำให้ได้ผลตามที่ต้องการ
- เลี่ยงผลที่ไม่ต้องการ

เช่น เรารู้ทฤษฎีการเกิดน้ำ เราจึงหาสารเคมีไปเร่งปฏิกิริยาการรวมตัวกันของก๊าซทำให้เกิด “ฝนหลวง”

เรารู้ทฤษฎีการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก เราจึงพยายามลดการปล่อย CFC สู่ชั้นบรรยากาศ

ทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
= เครื่องมือที่ใช้ในการอธิบาย และ ทำนาย ความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปร ซึ่งทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ ทำนาย ประเมิน และ แก้ไข
ควบคุม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แต่ทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีข้อจำกัด
ไม่หนักแน่น แน่นอน ตายตัว เหมือนทฤษฎีของคณิตศาสตร์
หรือ วิทยาศาสตร์

เพราะ ทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็น สังคมศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “มนุษย์” (คน)  มีกิเลส มีอารมณ์ความรู้สึก มีเปลี่ยนใจ มีแปรปรวนรวนเร
ดังนั้นจึงมีข้อจำกัด
1. ไม่สามารถบอก “ความจริง” ที่ชัดเจนตายตัวได้เหมือนวิทยาศาสตร์ เพราะความจริงเกี่ยวกับมนุษย์นั้นคลุมเครือ
(ยากกว่าวิทยาศาสตร์) เช่น อำนาจคืออะไร นิยามได้หลายแบบ
2. ตัวแปรไม่แน่นอน เปลี่ยนได้ตลอด จับต้องยาก ชั่งตวงวัดไม่ได้
3. การตีความ ก็มีความลำเอียงส่วนบุคคล (Personal Bias)

แต่ ทฤษฎียังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้ศึกษาได้ง่ายมากขึ้น

ดังนั้น บ่อยครั้งที่นักวิชาการจะไม่เรียกทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า “ทฤษฎี”
แต่จะเรียกว่าเป็น
“แนวทางศึกษา” (Approach)
“แนวคิด” (Paradigm)
“สำนักคิด” (School)

สมมติฐาน (Hypothesis)
คือ การอธิบายปรากฏการณ์ว่าตัวแปรใด นำไปสู่อะไร (การอธิบายเหตุ และปัจจัย) เราเรียกคำอธิบายเหล่านี้ว่า “สมมติฐาน” (Hypothesis) ซึ่งคำอธิบายเหล่านี้จำเป็นต้องทำการพิสูจน์ เพราะมันตั้งขึ้นเป็นคำตอบสมมุติเท่านั้น และคำอธิบายหนึ่งที่ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์หนึ่ง ก็อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์อื่น ในบริบทอื่นได้ เช่น คำอธิบายที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรป ก็อาจจะไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียได้ เป็นต้น





 

Create Date : 09 มิถุนายน 2552
0 comments
Last Update : 9 มิถุนายน 2552 20:11:12 น.
Counter : 3401 Pageviews.


ปิ่นเดือน ครูดอย
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพื่อนหลอกมาค่ะ...ตอนนี้ยังงงๆอยู่เลยค่ะ
[Add ปิ่นเดือน ครูดอย's blog to your web]