" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
7 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
015. ท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร 4 : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย



5802. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

อนุสาวรีย์นี้ เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกแบบโดยหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์คือ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2483 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม กล่าวในในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ว่า


"อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล
เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆ ที่จะออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมืองก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้

ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นแนวของอนุสาวรีย์ ก็กำลังสร้างอาคารให้สง่างามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ และเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัย จะทำให้ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง

— จอมพล ป.พิบูลสงคราม 24 มีนาคม พ.ศ. 2483





5790. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ความหมาย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน

+ ครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง

+ พานรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)

+ ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ

+ ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

+ พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

หลักกิโลเมตร

ในทางด้านคมนาคม อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยใช้นับเป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพมหานคร ควบคู่กับ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่เป็นหลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย







5776. ถนนราชดำเนินกลาง





5778. หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ




5779. ถนน ราชดำเนินกลาง




5780. ฑีฆายุโก โหตุ สังฆราชา




5781. สะพานผ่านฟ้าลีลาศ





5785. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย





5789. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย





5790. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย




5792. ด้านขวามือ คือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย





5797.




5798.





5799.




5800.




5801.




5802. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย





5803. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย




5804. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย




5805. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย




5806. อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย

ภาษาไทยที่นี้ใช้คำว่า "แยก" แต่ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Circle" ซึ่งน่าจะเรียกว่า "วงเวียน" มากกว่าคำว่า "แยก"

Democracy Monument : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ในสมัยก่อนที่มาเรียนหนังสือที่ กทม. ตัวกำหนดสำหรับใช้เป็นตัว มาร์ก ในการเดินทาง คือ สถานีขนส่งหมอชิต (เดิม) สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งเป็นประตูทางเข้าสำหรับการเดินทางเข้ามายัง "กรุงเทพฯ มหานคร" และ ยังได้ใช้ อนุสาวรีย์ ชัยสมรภูมิ และ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นจุดสำหรับรอรถเมล์สำหรับเดินทางไปยังที่ต่างๆ




5808. Democracy Monument : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

แยก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ?
:จะเป็นการแยกระหว่าง ประชาธิปไตย หรือ เผด็จการ หรือ ....

วงเวียน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
: จะเป็นวัฏจักร คือ เป็นระบบ "อนาอารยะชน หรือ ชุมชนคนป่าเถื่อน" ไปสู่ยุคของ "ราชาธิราช หรือ สมบูรณอาญาสิทธิราช" ไปสู่ การเป็น "อภิชณาธิปไตย หรือ อำมาตยาธิปไตย" ไปสู่ ระบบ "เผด็จการทหาร ฟาสซิส หรือ โชกุน" ไปสู่ ระบบการเลือกตั้งผ่านผู้แทน หรือ ประชาธิปไตย แล้ว U-Turn กลับ จากประชาธิปไตย ไปสู่ ระบบเผด็จการทหาร เพื่อนำไปสู่ ระบบสภาขุนนางหรืออภิชณาธิปไตย.....






5809. Democracy Monument : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เกมที่ยิ่งใหญ่ และ สนุกสนานเร้าใจที่สุดของมนุษยชาติ คือ เกมการเมือง
รองลงมา คือ Business Game




5807. เมธาวลัย ศรแดง : METHAWALAI SORNDAENG

สารสนเทศ จาก //travel.sanook.com/bangkok/restaurant_10102.php

ร้าน เมธาวลัย ศรแดง

ผ่านมายาวนานถึง 50 ปี แต่ทว่าความอร่อยแบบไทยแท้ๆ ของ เมธาวลัย ศรแดง ก็ไม่ได้อ่อนแรงหรือว่าเสื่อมลงตามอายุแม้สักนิด

เดิมทีร้านนี้มีชื่อสั้นๆ ว่า ศรแดง เป็นร้านอาหารแบบเปิดโล่ง ให้สามารถมองเห็นวิวรอบข้างได้อย่างชัดเจน ทั้งรถราที่วิ่งขวักไขว่อยู่ตลอดทั้งวัน ทั้งผู้คนที่สัญจรไปมาในละแวกนั้น

แต่พอเปลี่ยนเจ้าของใหม่ เมื่อ 16 ปีที่แล้ว ชื่อร้านก็ปรับเป็น เมธาวลัย ศรแดง พร้อมทั้งเปลี่ยนร้านเป็นห้องกระจกขนาดใหญ่ติดเครื่องปรับอากาศ แบ่งตรงกลางเป็นห้องโถงส่วนตัว ด้านซ้ายขวาแบ่งเป็นห้อง VIP อีกฝั่งละห้อง

ภายในตกแต่งด้วยโทนสีขาว-ครีมให้รู้สึกโปร่งโล่งสบายตา ใช้โต๊ะเก้าอี้แบบหลุยส์ ใช้จานชามเซรามิกคุณภาพดีเข้าคู่กับชุดช้อนส้อมทองเหลืองสวยงาม เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้อาหารมื้อพิเศษนี้น่าทานขึ้นอีกเท่าตัว

หากมาทานอาหารที่ร้านในตอนเที่ยงถึงบ่ายสองโมง คุณจะได้ดื่มด่ำกับเสียงเพลง
สุนทราภรณ์ ไพเราะๆ เคล้าเสียงเปียโนเบาๆ แต่หากพลาดช่วงเวลานี้ไป ก็ยังมีเวลาตอนค่ำๆ ตั้งแต่หนึ่งทุ่มถึงห้าทุ่ม

โดยจะมีวงดนตรีทหารเรือมาเล่นให้ฟังกันสดๆ ประกอบเสียงหวานๆ จากนักร้องเพลงไทยและเพลงจีนที่สลับสับเปลี่ยนกันมาสร้างความความสุขใ ห้กับแขกตลอดช่วงเวลาอาหารเย็น ส่วนเมนูเด็ดของที่นี่คือ ปลากะพงทอดราดน้ำปลา แกงส้มใต้ไหลบัว และทอดมันปลากราย

ร้านเมธาวลัย ศรแดง
หัวมุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง
เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30-23.00 น. โทร 0-2224-3088





5810. ร้านอาหาร เมธาวลัย ศรแดง




5811. ถนน.ดินสอ : Thanon Dinso





5812. ถนน ดินสอ : Dinso Road

จากป้าย ถนนดินสอ Dinso Road อ่านได้ความว่า

ถนนดินสอ มีชื่อเดิมว่า ถนนบ้านดินสอ เป็นถนนที่ราชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 การตัด ถนนดินสอ เพื่อให้เป็นถนนสำหรับประชาชน รวมทั้งรถม้าได้ใช้สัญจรไปมา กรมสุขาภิบาลได้สำรวจทำแผนที่ ตั้งแต่ตรอกดินสอผ่านสวนตึกดิน ไปออกวัดรังษีสุทธาวาส บรรจบถนนรอบพระนคร นอกจากนั้นยังได้สร้างตึกแถวริม ถนนดินสอ ตั้งแต่มุม ถนนดินสอ ตอนจรดถนนบำรุงเมืองยาวไปตาม ถนนดินสอ ด้วย

การก่อสร้าง ถนนดินสอ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2442 พร้อมกับสะพานข้ามคลองหลอด วัดราชนัดดาราม ที่ถนนตัดผ่าน รัชกาลที่ 5. เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ถนนดินสอ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2442 นามของถนนดินสอ มาจากอาชีพดั้งเดิมของชุมชนบ้านดินสอ ที่ถนนตัดผ่าน คือ อาชีพผลิตและจำหน่าย ดินสอเหลือง ดินสอขาว สำหรับเขียน และ จำหน่ายสมุดไทยต่างๆ

ถนนดินสอ เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง ใกล้ลานเสาชิงช้า ตรงไปตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตรงไปจรดถนนพระสุเมรุ ตรงข้ามเชิงสะพานเฉลิมวันชาติ มีความยาวประมาณ 820 เมตร.





5815. บริษัท เมืองโบราณ จำกัด




5842.




5843.





5844.




5845.






5846.


:หมายเหตุ

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ปรากฏอยู่ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ และถือเป็นนโนบายของคณะกรรมการราษฎรชุดแรกในระบอบประชาธิปไตยของประเทศสยาม ซึ่งนำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา คณะกรรมการราษฎรคณะนี้ ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาแต่ได้ถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล

หลัก 6 ประการของคณะราษฎรซึ่งสรุปคำใจความหลักได้ว่า "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา" นี้ ได้ถูกอ้างอิงหลายครั้งในงานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และรัฐพิธีในสมัยนั้น

โดยในทางสถาปัตยกรรมนั้น เช่นที่พบในรูปแบบของเสา 6 ต้นในอาคารหรือซุ้มต่าง ๆ บัวกลุ่ม 6 ชั้นที่เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน (ต่างจากการทำบัวกลุ่มของเจดีย์ตามประเพณี ที่ต้องเป็นเลขคี่เพื่อให้เป็นมงคล) หรือการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม

ในทางศิลปกรรมนั้น เช่นที่พบในงานประติมากรรมชื่อ เลี้ยงช้างน้อยด้วยอ้อยหก ของ ผิว ทิมสา ที่เป็นรูปแม่ช้างเอางวงรัดอ้อย 6 ท่อนอยู่ โดยมีลูกช้างหลายตัวอยู่รอบ ๆ สื่อถึงประเทศไทยที่จะเติบโตขึ้นด้วยหลัก 6 ประการ หรือรูปปั้น หลักหกยกสยาม โดย อินตา ศิริงาม ซึ่งทั้งสองชิ้นนี้ ได้รับรางวัลใน "การประกวดประณีตศิลปกรรม" พ.ศ. 2480 ซึ่งจัดขึ้นในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ดูเพิ่มที่ ศิลปะคณะราษฎร

ส่วนในรัฐพิธีสมัยนั้น ก็นิยมการประดับธง 6 ผืนพร้อมกับประดับพานรัฐธรรมนูญ หรือสิ่งอื่นใดที่จะสื่อถึงรัฐธรรมนูญและหลัก 6 ประการ


เนื้อหา

หลัก 6 ประการสามารถประมวลได้ดังนี้

1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง

2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)

5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น

6.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

หลัก 6 ประการของคณะราษฎรในปัจจุบัน

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่อ้างอิงหลัก 6 ประการของคณะราษฎร เช่น ศาลา 6 เหลี่ยมโปร่ง ที่สวนประติมากรรม กำแพงประวัติศาสตร์ ด้านหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์





Moonfleet ได้มาเยือน Democracy Monument : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2552




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง





Create Date : 07 ธันวาคม 2552
Last Update : 8 ธันวาคม 2552 8:09:39 น. 0 comments
Counter : 7561 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.