" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
31 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
204. ทอมัส เจฟเฟอร์สัน

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




ทอมัส เจฟเฟอร์สัน
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 3

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) (เกิดวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1743 - วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1826) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 3 (ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1801 - วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1809) และผู้ประพันธ์ "คำประกาศอิสรภาพ" (Declaration of Independence) ของสหรัฐอเมริกา เขาคือหนึ่งในบุคคลที่น่ายกย่องที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

ความสนใจของเขาไม่มีขอบเขตและการประสบความสำเร็จของเขายิ่งใหญ่และหลากหลาย เขาคือนักปราชญ์ นักการศึกษา นักธรรมชาตินิยม นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก ช่างประดิษฐ์ ผู้บุกเบิกในกสิกรรม วิทยาศาสตร์ นักดนตรี นักเขียน และเขาคือโฆษกชั้นแนวหน้าในการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในยุคของเขา

ในฐานะประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สันทำให้อำนาจของรัฐบาลเข้มแข็ง เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองในการควบคุมรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา

ทอมัส เจฟเฟอร์สันเป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏบนธนบัตรราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญนิกเกิล (5 เซนต์)

Source://th.wikipedia.org/wiki




ภาพเหมือนของทอมัส เจฟเฟอร์สัน
โดยแรมบรันด์ท พีล ค.ศ. 1800



ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน (อังกฤษ: Jeffersonian democracy) เป็นประเด็นของจุดประสงค์ทางการเมืองต่างๆ ที่ตั้งตามชื่อประธานาธิปดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อการเมืองอเมริกันระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1800 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1820 และเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแนวแจ็คสันที่มามีอิทธิพลต่อจากแนวเจฟเฟอร์สัน บุคคลสำคัญๆ ที่สนับสนุนรายละเอียดของประชาธิปไตยแนวนี้คือตัวเจฟเฟอร์สันเอง, แอลเบิร์ต กาลลาติน, จอห์น แรนดอล์ฟ โรอันโนค และ แนธาเนีย เมคอน

: หัวใจของประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันมีลักษณะที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ข้างล่างที่กลุ่มเจฟเฟอร์สันได้ทำการเสนอในรูปของสุนทรพจน์และกฎหมายต่างๆ:

: คุณค่าทางการเมืองหลักของอเมริกาคือระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน; พลเมืองมีหน้าที่ที่จะช่วยเหลือรัฐและต่อต้านการฉ้อโกงโดยเฉพาะจากระบบกษัตริย์นิยม และ ระบบเจ้าขุนมูลนาย[1]

: เกษตรกรเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีที่เป็นอิสระจากอิทธิพลของการฉ้อโกงจากรัฐบาลเมือง นโยบายของรัฐบาลก็ควรจะเป็นนโยบายที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกร นักลงทุน, นายธนาคาร และอุตสาหกรรมทำให้เมืองเป็นสลัมแห่งการฉ้อโกง และเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง[2]

: พลเมืองอเมริกันมีหน้าที่เผยแพร่สิ่งที่เจฟเฟอร์สันเรียกว่า “จักรวรรดิแห่งเสรีภาพ” ให้โลกรู้ แต่ขณะเดียวกันก็ควรจะหลีกเลี่ยง “การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรกับต่างประเทศ” (Non-interventionism)[3]

: รัฐบาลแห่งชาติเป็นสถาบันที่จำเป็นจะต้องมีเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นองค์กรในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน, พิทักษ์ และ รักษาความปลอดภัยให้แก่พลเมือง, ชาติ และ ประชาคม แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการเฝ้าดูและควบคุม และ จำกัดสิทธิรัฐบาลแห่งชาติอย่างใกล้ชิด ประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบสหพันธรัฐ (Anti-Federalism) ระหว่าง ค.ศ. 1787 ถึง ค.ศ. 1788 ต่างก็หันมาถือปรัชญาเจฟเฟอร์สัน[4]

: กำแพงแห่งการแยกสถาบันศาสนาและสถาบันการเมืองเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแยกสถาบันศาสนาจากการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองโดยสหพันธรัฐ, รัฐบาลเองก็เป็นอิสระจากความขัดแย้งของสถาบันศาสนา และ สถาบันศาสนาเองก็เป็นอิสระจากการฉ้อโกงหรือการเข้ายุ่งเกี่ยวจากสถาบันทางการปกครอง[5]

:รัฐบาลของสหพันธรัฐต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Individual liberty) รัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) เป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาดังกล่าว[6]

: รัฐบาลของสหพันธรัฐต้องไม่ละเมิดสิทธิของรัฐในเครือสหพันธรัฐ เจฟเฟอร์สันวางรากฐานปรัชญาดังกล่าวในการเขียน “ปณิธานเคนทักกีและเวอร์จิเนีย” (Kentucky and Virginia Resolutions) อย่างลับๆ ในปี ค.ศ. 1798[7]

: เสรีภาพในการแสดงออก และ เสรีภาพในการตีพิมพ์เป็นมาตรการอันที่ดีที่สุดในการป้องกันการกดขี่ข่มเหงพลเมืองโดยรัฐบาลของตนเอง การละเมิดปรัชญานี้ของนักสมาพันธ์นิยมโดยการบังคับใช้ “รัฐบัญญัติต่างด้าวและปลุกระดม” ที่ประกอบด้วยรัฐบัญญัติสี่ฉบับที่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาสมัยที่ห้าในปี ค.ศ. 1798 กลายเป็นตัวปัญหาสำคัญ[8] รัฐบัญญัติสี่ฉบับตามความเห็นของผู้ต่อต้านเห็นว่าเป็นการก่อให้เกิดความอยุติธรรมโดยรัฐบาลต่อพลเมืองที่เป็นต่างด้าวและริดรอนสิทธิพลเมืองที่ทำการตีพิมพ์เอกสารที่รัฐบาลถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายของรัฐบาล

: กองทหารประจำและรัฐนาวีเป็นอันตรายต่อเสรีภาพและเป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง การแก้ปัญญหาโดยการใช้การต่อรองทางเศรษฐกิจ (economic coercion) เช่นการห้ามสินค้าเข้าออก[9] (Embargo)[10] อาจจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

: วัตถุประสงค์ของการเขียนรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้นก็เพื่อรับรองเสรีภาพของพลเมือง การเขียนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นไปตามหลักและกฎเกณฑ์ แต่ขณะเดียวกันก็ “ไม่มีสังคมใดที่สามารถเขียนรัฐธรรมนูญที่คงอยู่อย่างถาวรหรือแม้แต่กฎหมายที่คงอยู่อย่างถาวรได้ โลกนี้จะเป็นของชนรุ่นต่อไปที่ยังมีชีวิตอยู่เสมอ”[11]

Source://th.wikipedia.org/wiki



จากหนังสือแปลชุดเสรีภาพ เล่มที่ 49.
ประวัติศาสตร์สังเขปของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 1.
ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง กรกฏาคม พ.ศ.2515


ณ.ที่นี้เป็นที่ฝังร่างของ ธอมัส เจฟเฟอร์สัน ผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพอเมริกันและบทบัญญัติแห่งมลรัฐเวอร์จิเนียกับเสรีภาพในการนับถือศาสนา และ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย

"ข้าพเจ้าไม่เป็นมิตรกับรัฐบาลที่มีอำนาจมาก"

"บทบัญญัติแห่งสมาพันธ์ซึ่งอ่อนแอนั้น เป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์อย่างน่ามหัศจรรย์"

เจฟเฟอร์สันเกรงไปว่า รัฐบาลที่แข็งแกร่งจะบีบรัดประชาชนมากเกินไป เขาได้ต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ เพื่อความเป็นไทจากการควบคุมของศาสนจักร เพื่อเสรีภาพพ้นจากอำนาจของพวกชนชั้นสูงเจ้าของที่ดิน และ เพื่อพ้นจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สินทั้งปวง

เจฟเฟอร์สันเป็นนักประชาธิปไตยที่เชื่อมั่นในหลักความเสมอภาคอย่างแน่นแฟ้น ไม่สนับสนุนเมืองใหญ่ และผลประโยชน์ของฝ่ายโรงงานผู้ผลิต หรือ กิจการธนาคารที่ใหญ่โตตลอดจนวงการธุรกิจต่างๆ เพราะวงการเหล่านี้เป็นสาเหตุของความไม่เสมอภาคทั้งปวง แม้ว่าในบั้นปลายของชีวิต เจฟเฟอร์สันจะยอมรับว่า อุตสาหกรรมเป็นปัจจัยสำคัญของการวางรากฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงของประเทศ แต่ก็ยังมีความคิดว่า อเมริกันจะเป็นชาติที่ผาสุกที่สุด ถ้าหากว่ายังคงเป็นชาติกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่อยู่

เขาเชื่อมั่นว่าโลกใหม่นี้มีคุณค่าเหนือว่าโลกเก่าอย่างไม่อาจเทียบได้ และ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะดำเนินงานทุกอย่างให้เป็นไปตามแนวนั้น ถึงแม้ว่าสหรัฐจะต้องแยกตัวอย่างเด็ดขาดจากโลกเก่าก็ตาม

เจฟเฟอร์สันปรารถนาที่จะเห็นชาวอเมริกันเป็นตนเองทางด้านวัฒนธรรม เช่นเดียวกับ ความเป็นอิสระทางการเมือง มีกฏหมาย วรรณคดี โรงเรียน และ สถาบันทางสังคมตามแบบฉบับของตนเอง

เขาไม่ปรารถนาจะเห็นสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาล ศาสนา การทหาร การแบ่งชนชั้นในสังคมในโลกเก่าก่อตั้งขึ้นในอเมริกา

สหรัฐควรจะเป็นดินแดนทดลองในหลักการเสมอภาคและการปกครองตนเอง ด้วยความเชื่อมั่นว่าสหรัฐกำลัง "ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไปสู่จุดหมายซึ่งไกลเกินกว่าสายตามนุษย์จะมองเห็น"


คัดลอกมาจากหน้า 326. จากหนังสือแปลชุดเสรีภาพ เล่มที่ 49.
ประวัติศาสตร์สังเขปของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ 1.
ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง กรกฏาคม พ.ศ.2515



Create Date : 31 มีนาคม 2553
Last Update : 31 มีนาคม 2553 22:14:17 น. 0 comments
Counter : 5833 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.