" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
30 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
เรื่องไร้สาระคดี : ตัวมอม

เรื่องไร้สาระคดี : ตัวมอม




8288. วิหารหลังเล็กแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

บริเวณหน้าประตูทางเข้าพระวิหาร (หลังเล็ก)แห่งวัดบุพพาราม จะมี ตัวมอม อยู่คู่หนึ่งครับ






8333. ตัวมอมคู่แห่งพระวิหารหลังเล็กแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8336. ตัวมอมแห่งพระวิหารหลังเล็กแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่




8337. ตัวมอมแห่งพระวิหารหลังเล็กแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8351. ตัวมอมคู่แห่งพระวิหารหลังเล็กแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-----------------------------------------------------------------------------

คัดลอกมาจาก //topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3926831/K3926831.html

ตัวมอม....สัตว์ในวรรณคดีลานนา ?

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ได้เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ พบสถาปัตยกรรมใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ซึ่งอาจจะจำเพาะอยู่ที่ลานนา เห็นมีคำอธิบายว่า "ตัวมอม" ก็เลยเก็บภาพ เจ้าตัวนี้มาจากวัดต่างๆ ในเชียงใหม่ เท่าที่จะหาได้ หลงจากนั้น ก้มาเซิร์ทหาใน google ได้ข้อมูลดังนี้ค่ะ

ตัวมอม เป็นสัตว์ในตำนาน เป็นพาหนะของเทพปัชชุนนะเทวบุตร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฝนในคติล้านนา ตัวมอมมีรูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโต ดังนั้นบุคลิกของมอม จึงดูเหมือนจะน่ากลัวแต่บางครั้งก็ดูขี้เล่น แต่สล่าหรือช่างปั้นบางท่านก็ปั้นมอม ดูคล้ายตุ๊กแก บางกิริยากระเดียดไปทางค่างก็มี

ล้านนามีวัฒนธรรม ทั้งฮินดู พุทธ ที่กล่าวถึง ป่าหิมพานต์ เชิงเขาพระสุเมรุ ที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล มีสัตว์ลูกครึ่ง คนกับเทพ คนกับสัตว์ สัตว์กับเทวดา สัตว์กับสัตว์ เช่น กินรี เงือก คนครึ่งม้า ตัวมอม คนมีคาถาอาคม เช่น คนธรรพ นักสิทธิ์ ทั้งหมดมีฤทธิ์ เหนือมนุษย์ แต่อยู่ในสวรรค์ไม่ได้ จึงมีการแสดงเป็น ปฎิมากรรมเฝ้าศาสนสถาน ทั้งเหราคาบนาคห้าหัว มีความหมายทางนามธรรมถึงอุปาทาน คือความยึดติด ในสิ่งที่คิดว่าเป็นเรา ไม่ว่าร่างกาย ความรู้สึก ความรู้ความจำ ความคิดที่ปรุงแต่งทั้งจินตนาการและเหตุผลหากยึดโดยขาดสติดูเราก็ทุกข์ การปั้นได้ความรู้มาจากช่างจีน จึงมีลีลาของจีนผสม กลายเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา ฉะนั้นคนเก่งอาจไม่มีความสุขคือไม่อาจอยู่ในสวรรค์ ได้แค่โชว์อยู่ตามประตูสวรรค์

จากคุณ : กระจ้อน

-----------------------------------------------------------------------------





8357. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8388. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่






8402. ตัวมอม และ มกรคายนาคห้าเศียรแห่งแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8403. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8406. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8414. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8415. ตัวมอมแม่ลูก แห่ง วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8416. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8417. ตัวมอมแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8418. ตัวมอมแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่





8421. ตัวมอมแห่งหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่




8427. ตัวมอมแห่งวัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ลูกมอมกำลังดูดนมจากแม่มอม จึงอนุมานได้ว่ามอมเป็นสัตว์ที่เกิดมาเป็นตัวและเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (และความรักจากแม่)

-----------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจาก
//topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3926831/K3926831.html

มอม

‘มอม’ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงมอมเหล้ามอมยา หรือสกปรกมอมแมม

แต่ ‘มอม’ คือสัตว์ในนิยายทั้งของล้านนาและทางอีสาน ในพจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง ได้ให้ความหมายของมอมไว้ว่า “รูปสัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ มีแขนยาว ตัวดำ บางท่านว่าคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง บางแห่งแปลว่าเสือดำ...”

ส่วนใหญ่แล้ว มอม น่าจะครึ่งสิงห์ครึ่งลิงมากกว่า เพราะมอมมักจะพบว่ากล่าวคู่กันกับสิงห์อยู่บ่อยครั้ง ดังโคลงท้าวฮุ่งขนเจือง ว่าไว้ดังนี้


“...แต่นั้นท้าวคาดผ้า .....ผืนดาย ดอกเครือ
ของแพงมวลแม่เมือง..... ประสงค์ให้
ลายเจือเกี้ยวสิงห์ ‘มอม’..... เมียงม่าน
ทรงอยู่เค้าดูเข้ม .........ทบเหลียว...”

มอมเป็นสัตว์ที่มีอำนาจมาก ดังจะเห็นได้ตามลายสักตามตัว ทั้งไทยวน ไทดำ ผู้ไทย ที่เรียกว่า ลายมอม ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์มากนั้น ทำให้มอมหยิ่งลำพอง จึงไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงเพื่อก้าวล่วงสู่สวรรค์ชั้นฟ้า จึงได้มาเฝ้าอยู่ตามโบสถ์วิหาร หรือตามประตูเท่านั้น

ลวดลายปูนปั้นรูปมอม สล่าผู้สร้างมักจะออกแบบตามจินตนาการของตัวเอง มอมบางตัวมีลักษณะคล้ายกับลิง บางตัวมองดูก็คล้ายแมว บางตัวก็ดูองอาจ ผึ่งผายราวสีหราช แต่บางตัวอาจมองคล้ายกับกิ้งก่าหรือตุ๊กแกไปก็มี มอมที่ปั้นเต็มตัวประดับตามบันได เช่นที่วัดบุพพาราม วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดป่าดาราภิรมย์ เป็นต้น

และที่สำคัญ ประดับเป็นลวดลายปูนปั้นประดับที่หอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

ที่นี้ จะมีกรอบปูนปั้นเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น มอม กิเลน สิงห์ เงือก ช้าง ฯลฯ ทั้งที่เป็นสัตว์หิมพานต์ และสัตว์ทั่ว ๆ ไป กรอบนี้อยู่ล่างฐานเทวดายืน ที่รายรอบหอไตร

ในนั้นจะมีกรอบที่เป็นรูปมอมอยู่ ๖ กรอบ หลากหลายอิริยาบท บางกรอบทำเป็นเหมือนมองจากด้านบน บางกรอบเป็นรูปมอมจับงู บางกรอบเป็นมอม ๒ ตัวไล่จับกัน

เมื่อมองเลยกรอบรูปสัตว์ขึ้นไปจะเห็นเป็นเทวดายืนเรียงรายกันอยู่ ซึ่งทางด้านทิศตะวันตก จะเป็นรูปเทวดายืนอยู่บนหลังมอม ทำท่าตริภังค์ คือเอี้ยวสะโพก ซึ่งคาดว่าเทวดาองค์นี้ น่าจะเป็นปัชชุนนเทวบุตร ที่ประจำอยู่ทิศตะวันตก และมีมอม เป็นสัตว์พาหนะ

มอม เป็นสัตว์พาหนะของปัชชุนนเทวบุตร เทพแห่งฝน จึงใช้มอม ในการขอฝนต่อปัชชุนนเทวบุตร โดยการ “แห่มอม”

การแห่มอม มักจะทำในช่วงเข้าฝนต้นฤดูทำนา ราวเดือน ๘, ๙ หรือ ๑๐ เหนือ หากยามนั้นฝนยังไม่มา ก็ไม่สามารถที่จะไถนาหว่านกล้าได้ จึงต้องทำพิธีขอฝน

การแห่มอม ก็ทำง่าย ๆ คือ นำมอมไม้แกะสลัก มาใส่ไว้ในชองอ้อย หรือกระบะที่บรรจุเครื่องไทยทานต่าง ๆ ก็จะนำมอมไปแห่ไปตามหมู่บ้านด้วยความครื้นเครง เสียงกลองเสียงฆ้องดังเป็นจังหวะสนุกสนาน เมื่อไปถึงบ้านใด ก็จะนำน้ำมาพรมใส่มอมไม้ในชองอ้อยนั้น พร้อมกับรดน้ำผู้ร่วมขบวนแห่ไปด้วย

คล้ายกับเป็นการฝากสาร ฝากฎีกาความทุกข์อยาก ไปกับมอม เพื่อส่งไปยังปัชชุนนเทวบุตร แล้วจะได้ประทานฝนลงมาให้ชุ่มชื่น

ต่อมา มอมไม้ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกกว้านซื้อไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ หรือคอลเลคชั่นตามบ้านผู้มีเงินหนา กอปรกับฝีมือช่างการทำมอมก็หายไปด้วย ทำให้ไม่มีมอมไม้มาแห่ จึงนำ “แมว” มาแห่แทน มอม


จากคุณ : ศศิศ

-----------------------------------------------------------------------------




6487. ตัวมอมผนังด้านนอกพระอุโบสถแห่งวัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดเกตการาม เดิมชื่อวัดสระเกษ หรือ วัดเกตุแก้ว





6489. ตัวมอมผนังด้านนอกพระอุโบสถแห่งวัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่




6496. ตัวมอมผนังด้านนอกพระอุโบสถแห่งวัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่




6497. ตัวมอมผนังด้านนอกพระอุโบสถแห่งวัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่


-----------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจาก
//www.itti-patihan.com

ตัวมอม หรือ สิงห์มอม ผู้เฝ้าศาสนสถาน

มีสัตว์ประเภทหนึ่งที่คอยเฝ้าอยู่หน้าวิหารหรือศาสนสถาน ซึ่งมีลักษณะแปลกตา ไม่ใคร่ได้เห็นกันบ่อยนัก ส่วนใหญ่จะพบตามบันไดวัดหรือศาสนสถานแถบทางเหนือ โดยปั้นจากปูน หรือแกะด้วยไม้ บางครั้งยังพบเป็นภาพจิตรกรรมตามฝาผนัง หรือทำเป็นลายปูนปั้นในวัดบางแห่ง ซึ่งเราเรียกว่า "มอม"

ลักษณะของ "มอม" จะดูไม่ค่อยเหมือนสัตว์ที่เรารู้จักกันทั่วไป บางแห่งทำเป็นรูปแมวผสมสิงโต บางแห่งทำหน้าตาคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง หรือมีกระทั่งหางเป็นปลาโลมา ลำตัวเป็นเกล็ดตะปุ่มตะป่ำคล้ายหนังกิ้งก่า ซึ่งอาจสรุปได้ว่า มอมเป็นสัตว์ในจินตนาการซึ่งผสมจากสัตว์ต่างๆ มีสี่ขา เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะจากจีน ก่อนที่จะมาผสมผสานกับศิลปะพื้นเมือง พจนานุกรมล้านนาบางฉบับให้ความหมายไว้ว่า มอมเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงโตกับลิง มีแขนยาวคล้ายค่าง บางทีเรียกเสือดำ ซึ่งเสือดำนั้นเข้าใจว่าเป็นสัตว์ต่างชนิดกันกับ "มอม" ที่เฝ้าวัด

ตัว "มอม" จะปรากฏบทบาทเบื้องแรกในตำนานทางเหนือเกี่ยวกับการขอฝน โดยทำหน้าที่เป็นพาหนะของเทวบุตรองค์หนึ่ง ชื่อ เทพปัชชุนนเทวบุตร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเมฆและฝน ปรากฏในคัมภีร์มหาสมัยสูตร ระบุว่า เป็นเทพในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา โดยเป็นเทวะบริวารของพระวรุณ ในคราวที่แคว้นโกศลเกิดความกันดาร พระพุทธองค์ทรงเปล่งพุทธโองการให้ปรชันยะเทวบุตรหรือปัชชุนนเทวบุตร นำฝนให้มาตก หรือในมัจฉาชาดก

เมื่อพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นมัจฉา เทพองค์นี้ก็มีบทบาททำให้ฝนตกลงมา แม้แต่องค์อัครสาวกพระอานนท์ยังเคยเสวยชาติเป็นปัชชุนนเทวบุตร ดังนั้น ชาวล้านนาจึงมีประเพณีขอฝนโดยนำตัวมอมที่แกะสลักจากไม้นำขึ้นเสลี่ยงแห่ขอฝน แล้วใช้น้ำสาดให้ตัวมอมเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ สมัยก่อนตามวัดทางเหนือจะแกะตัวมอมจากไม้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดเท่าแมว แล้วลงรักทาด้วยชาดแดงอย่างสวยงาม ซึ่งการแห่มอมดังกล่าวอาจเป็นต้นเค้าของการแห่นางแมว เนื่องจากแมวมีลักษณะใกล้เคียงกับมอมมาก และภายหลังก็หามอมที่แกะเพื่อใช้ในพิธีขอฝนยากขึ้นทุกที เพราะคนไม่ค่อยรู้จัก

ตัวมอม ยังปรากฏในลายสักตามต้นขาและท้องของกลุ่มลาวพุงดำ ที่กระจายตัวอยู่ทางตอนเหนือของไทย โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความน่าเกรงขามแก่ผู้อื่น และยังปรากฏเป็นงานปั้นปูนในภาคอีสาน โดยคนอีสานจะเรียกว่า "สิงห์มอม" โดยมีความเชื่อว่า มอมเป็นสัตว์ที่ทรงฤทธานุภาพ แข็งแรง ทรงกำลังมหาศาล เป็นเหตุให้ลืมตัว

เมื่อลงมายังมนุษยโลกก็แสดงอำนาจไปทั่ว กิเลสดังกล่าวทำให้มอมไม่สามารถกลับขึ้นไปยังสวรรค์อันเป็นที่สถิตของเทวบุตรได้ เทพปัชชุนนะจึงสั่งให้มาเฝ้าพุทธสถานเพื่อรับฟังพระธรรมคำสอนเป็นเนืองนิจ จนกว่าจะละกิเลสคือความทะนงตน และเข้าใจในพระธรรมจึงจะกลับไปสถิตเป็นเทพพาหนะบนวิมานชั้นฟ้าต่อไป ขณะที่อยู่ในโลกมนุษย์ มอมก็พยายามสร้างประโยชน์สุขให้กับมนุษยโลก เพื่อเพิ่มบุญเพิ่มกุศลโดยเป็นตัวกลางเพื่อขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล

ในบ้านเราจะพบตัวมอมได้หลายแห่ง เช่น ที่วิหารและหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่, หน้าวิหารด้านหลังองค์พระธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ หรือบนลายปิดทองล่องชาดของวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ บางแห่งเป็นรูปเทวบุตรเหยียบบนตัวมอม ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ ยังมีคนสับสนคิดว่า "ตัวมอม" เป็นสัตว์ชนิดเดียวกับตัวมกรหรือเหรา ที่เฝ้าอยู่ตรงราวบันไดศาสนสถาน แต่จริงๆ แล้ว เป็นสัตว์ในจินตนาการต่างชนิด ต่างประเภท และมีศิลปะต่างกันอย่างเห็นได้ชัดครับผม

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง :โดย ราม วัชรประดิษฐ์

-----------------------------------------------------------------------------



1910. ตัวมอม แห่ง วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.เชียงใหม่




1911. ตัวมอม แห่ง วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.เชียงใหม่





1912. ตัวมอม แห่ง วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.เชียงใหม่




1941. ตัวมอม แห่ง วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.เชียงใหม่




1942. ตัวมอม แห่ง วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.เชียงใหม่




1945. ตัวมอม แห่ง วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-----------------------------------------------------------------------------

มอม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มอม เรียกสัตว์ในจินตนาการอย่างหนึ่งรูปร่างคล้ายราชสีห์ผสมมังกร มักปั้นเพื่อใช้ประดับสถานที

ลักษณะ
รูปร่างรูปร่างคล้ายราชสีห์ผสมมังกร ช่างปั้นบางครั้งก็ปั้นให้ดูคล้ายตุ๊กแกหรือค่าง ลักษณะของศิลปะนั้นได้รับอิทธิพลจากจีน

ความเชื่อ
มอมเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์และอาคมเหนือมนุษย์แต่ไม่สามารถอยู่ในบรรลุได้ ทำให้ถูกสร้างเป็นปฏิมากรรมเฝ้าศาสนสถานเหมือนปฏิมากรรมอื่นๆ เพื่อสื่อให้เห็นความยึดติดที่ทำให้เพียงแต่อยู่ตามเทวสถาน ไม่สามารถบรรลุได้

Source://th.wikipedia.org/wiki





ตัวมอมแห่งวัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำหลวง ม.1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี
จ.เชียงใหม่




ตัวมอมแห่งพระอุโบสถ วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำหลวง ม.1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่





ตัวมอมแห่งพระอุโบสถ วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำหลวง ม.1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่






ตัวมอมแห่งพระอุโบสถ วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำหลวง ม.1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่




ตัวมอมแห่งพระวิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำหลวง ม.1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่




ตัวมอมแห่งพระวิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำหลวง ม.1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่


-----------------------------------------------------------------------------




1105. ตัวมอมแห่งวัดมหาวัน ถ.ท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

-----------------------------------------------------------------------------









กุหลาบเวียงพิงค์
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง





Create Date : 30 มกราคม 2554
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2554 23:55:31 น. 1 comments
Counter : 9756 Pageviews.

 
พระอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่าตัวมอมมีจริงครับ ไม่ใช่สัตว์ในเทพนิยาย

อยู่บนเขาสูง อยู่ในน้ำแฉะๆ ตัวเท่าข้อมือ มีเกล็ด มีหางแบบปลา มีสี่ขา ท่านธุดงค์ไปบนเขาทางภาคเหนือ บอกว่าอยู่ในพื้นที่สูงมาก พวกกระเหรียงบนเขาสูงนั้นรู้จักกันเป็นอย่างดี ท่านบอกว่าท่านไปเห็นด้วยตาตัวเองครับ


โดย: นิราลัย วันที่: 24 มิถุนายน 2556 เวลา:20:26:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.