" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
23 กันยายน 2552
 
All Blogs
 

055. วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดเสาหิน

ตั้งอยู่เลขที่ 98 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่





2097. เสาหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลอง วัดเสาหิน





2153. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2224. พระอุโบสถวัดเสาหิน และ วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2048. ประตู ทางเข้า-ทางออก วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันออก






2049. ถนน และ กำแพง ทางด้านทิศตะวันออก วัดเสาหิน





2050. วัดเสาหิน โรงเรียนวัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2051. สีหราช มุมกำแพงวัดเสาหิน ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ





2052. ถนนเข้าไปในบริเวณวัด ด้านประตูวัดเสาหินทิศตะวันออก





2060. โรงจอดรถยนต์ และ โรงเรียนวัดเสาหิน

:ผ่านเข้าประตูวัดเสาหินด้านทิศตะวันออก ทางขวามือ คือ ถนนไปสู่โรงเรียน





2061. ศาลาบำเพ็ญกุศล

:ผ่านเข้าประตูวัดเสาหินด้านทิศตะวันออก ทางซ้ายมือ คือ ศาลาบำเพ็ญกุศล





2062.

ไม่แน่ใจว่าจะเป็น นกหัสดีลิงค์ที่มีหงอนคล้ายนาค หรือ นกอินทรี





2063. พระอุโบสถ และ วิหารเสาำิำหินจำลอง แห่ง วัดเสาหิน อ.เมือง จ.เชียงใหม่






2064. พระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2065. พระอุโบสถที่สวยงาม แห่ง วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2066. ประวัติอุโบสถวัดเสาหิน

ประวัติอุโบสถวัดเสาหิน

ตามหลักฐานของอาจารย์ด้านโบราณคดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เป็นอุโบสถที่พญาสามผั่งแกนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ไดัก่อสร้างไว้ เมื่อ พ.ศ.1973 พร้อมปักเสมาเป็นเสาหิน มีฐานประทักษิณสูงลักษณะรูปทรงล้านนา โครงสร้างก่ออิฐสอปูน โครงหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ที่ซุ้มประตูทางเข้า มีการประดับปูนปั้นรูปเทวดา หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีกำแพงแก้วรอบทั้ง 4 ด้าน ที่มุมกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีการปั้นหม้อดอกประดับดอกไม้เงินไม้คำไว้สี่ด้าน และ มุมกำแพงแก้วทั้ง 4 มุม ทำเป็นเจดีย์องค์เล็กรูปสี่เหลี่ยมมีฉัตร ที่บันไดมีรูปปั้นสิงห์ 2 ตัว และ รูปพญานาค 2 ตัว มีช่อฟ้าป้านลมเป็นไม้แกะสลักปิดกระจก ของเดิมยังเก็บรักษาไว้ และ ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็มพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ.2411 ถึง พ.ศ.2453 ทางวัดได้ดำเนินการบูรณะครั้งปัจจุบันเมื่อ พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ.2552 โดยมีพระอธิการบุญส่ง กันตธัมโม เจ้าอาวาสลำดับที่ 17 เป็นประธานและมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์อีกจำนวนมาก ได้ทำบุญฉลองสมโภชถวายไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง วันอังคาร ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2552





2069. Moonfleet ขอกราบอนุโมทนาบุญทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมบุญบูชาธรรมในการสร้างพระอุโบสถวัดเสาหิน ในครั้งนี้ด้วยครับ





2070. พระอุูโบสถ วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2073. พระอุโบสถวัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2074. พระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศใต้




2075. พระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันออก






2076. พระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันออกเฉีีียงเหนือ






2079. พระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศเหนือ





2080. พระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันตก





2072. ประวัติการก่อสร้าง วิหารเสาหินจำลองวัดเสาหิน

ตามคำบอกเล่าของคนโบราณ เสาหินจริงได้ประิดิษฐานใต้ฐานพระประธานในพระวิหาร โดยได้ก่อฐานชุกชี (ฐานพระประธาน) ครอบเสาหินไว้ และ ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาขนาดต่างกัน จำนวน 11 องค์ ประดิษฐานไว้เหนือเสาหิน

และยังมีคำบอกเล่าอีกอย่างหนึ่งว่า เสาหินนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวียงกุมกาม ที่พญามังราย ได้ก่อสร้างขึ้นก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงใหม่ ที่อยู่ทิศเหนือของเวียงกุมกาม

ตามคำบอกเล่าคนโบราณว่า เมื่อเวียงกุมกามล่มสลายไปแล้ว เมื่อใดก็ตามถ้ามีเสาหินปรากฏขึ้นในอาณาเขตเวียงกุมกาม และ มีคนเคารพกราบไหว้บูชา เวียงกุมกามที่ล่มสลายในอดีตจะฟื้นกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง ดังเช่นอดีต


วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง

ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวัด และ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของศรัทธาประชาชน......






2081. วิหารเสาำิำหินจำลอง แห่ง วัดเสาหิน




2082. วิหารเสาำิำหินจำลอง แห่ง วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2084. วิหารเสาำิำหินจำลอง แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันตก





2085. วิหารเสาำิำหินจำลอง แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2090. วิหารเสาำิำหินจำลอง แห่ง วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันออก





2098. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2099. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2102. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2103. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2104. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2105.เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน






2106. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน






2109. เสาำิำหินจำลอง แห่ง วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน





2110. ฐานรองรับ เสาหิน





2112. ต้นสาระ อยู่ระหว่าง พระอุโบสถ และ วิหารเสาำิำหินจำลองวัดเสาหิน




2113. ต้นสาระ แห่ง วัดเสาหิน





2111. ดอกและผล ของต้นสาระ





2114. ผล ของ ต้นสาระ





2115. ดอก และ ผล ของ ต้นสาระ




2117. หอพระไตร แห่ง วัดเสาหิน





2118.หอพระไตร แห่ง วัดเสาหิน





2151. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออก





2152. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน




2153. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2154. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2150. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2158. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2160. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2161. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2165. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2166. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2171. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2172. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่




2173. สิงหราช มุมเจดีย์ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้




2174. สิงหราช มุมเจดีย์ ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ






2177.พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2178. สิงหราช แห่ง พระเจดีย์ วัดเสาหิน ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ




2179. พระเจดีย์ ด้านทิศเหนือ




2180. พระพุทธรูปประดิษฐานพระเจดีย์วัดเสาหิน ด้านทิศเหนือ





2181. พระพุทธรูป แห่ง พระเจดีย์วัดเสาหิน ด้านทิศเหนือ





2186.

Moonfleet คิดถึง สฟิงค์ ในเทพนิยายกรีก ที่ถามปัญหา.....





2187.พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2189.พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่




2190. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2191. พระเจดีย์ วัดเสาหิน ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2192. สิงหราชแห่งพระเจดีย์วัดเสาหิน มุมเหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ





2193. สิงหราชแห่งพระเจดีย์วัดเสาหิน มุมเหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้





2194. พระเจดีย์แห่งวัดเสาหิน




2195. พระวิหาร แห่ง วัดเสาหิน กำัลังอยู่ในระหว่างการบูรณะปฏิสังขรณ์





2196. พระวิหาร วัดเสาหิน ในวันพุธที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ.2552





2197. พระวิหาร แห่ง วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2198. พระวิหาร แห่ง วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2199. "สล่า" กำลัง บูรณะ ปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซม พระวิหารวัดเสาหิน





2200. วิหารวัดเสาหิน ตัวบันไดเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ มีหงอนคล้ายนาค


วิหารวัดเสาหิน

ตั้งอยู่ที่ ม.3 ต.หนองหอย สร้างร่วมสมัยเวียงกุมกาม ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๗ - ๒๑๐๑

ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้างพระวิหารหลังนี้เป็นอาคารขนาดย่อม มีข้อพิเศษที่นอกจากหันหน้าไปทางทิศที่ยังหาความหมายไม่ได้ขณะนี้แล้ว ยกพื้นส่วนฐานสูงเป็นการป้องน้ำท่วมถึง

ตัวบันไดเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ มีหงอนคล้ายนาค ซึ่งเป็นสัตว์ในชาดกพระพุทธศาสนา ใช้เป็นพาหนะขึ้นสู่สรวงสวรรค์ หรือแดนพุทธภูมิ

ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ช่างในช่วงนั้นมีอิสระทางความคิด แตกต่างออกไปจากที่นิยมทำเป็นรูปนาคและตัวหางเป็นส่วนใหญ่

ความเชื่อโบราณเล่าสืบกันมาว่ามีเสาหินอยู่ใต้ฐานชุกชี้นี้เสาหินนี้คติความเชื่อเดียวกับเสาอินทขีลเป็นเสาหินที่พระอินทร์ประทานลงมาเพื่อให้เกิดความสุขสงบลงในบ้านเมือง

และผนังเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ ลักษณะฝีมือช่างภาคกลางประมาณ รัชกาลที่ ๓ – ๔

วิหารหลังนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรภาพจิตรกรรมนี้และได้ทรงให้อนุรักษ์ภาพนี้ไว้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลของผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป

Source
://www.nonghoicity.go.th/index.php?mode=news&id=59&id_run=8





2201. นกหัสดีลิงค์แห่งบันไดพระวิหารวัดเสาหิน เบื้องขวา





2202. นกหัสดีลิงค์แห่งบันไดพระวิหารวัดเสาหิน เบื้องซ้าย





2203. นกหัสดีลิงค์แห่งบันไดพระวิหารวัดเสาหิน





2204. ภายในพระวิหารแห่งวัดเสาหิน กำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการบูรณะ




2205. ภายในพระวิหารแห่งวัดเสาหิน เมื่อวันพุธ ที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ.2552





2206. พระประธาน แห่ง พระวิหาร วัดเสาหิน

(คลุมด้วยผ้าเหลือง เพื่อป้องกันองค์พระในระหว่างการก่อสร้าง บูรณะ)






2182.สล่า ช่างฝีมือแห่งล้านนา:กำลังผสมปูนขาว และ ปูนหมัก





2183. สล่าช่างฝีมือ ผู้ทำการบูรณะ ซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์ พระวิหารแห่งวัดเสาหิน ฝีมือของท่านจะอยู่ยั้งยืนยง เคียงคู่พระพุทธศาสนา และ วัดเสาหินตลอดไป





2208. นก ไม่ทราบนาม คือ ยังไม่ทราบชื่อ แห่งบันไดพระวิหารวัดเสาหิน เบื้องซ้าย





2209. นก ไม่ทราบนาม แห่งบันไดพระวิหารวัดเสาหิน เบื้องขวา

นกหัสดีลิงค์ ทีแรกเข้าใจว่าเป็น นกหัสดีลิงค์ แต่ จากการสอบถามจากที่ Google นกหัสดีลิงค์จะมีปากเป็น งวง แต่นกแห่บันไดพระวิหารนี้ไม่มี

มีผู้รู้บอกว่า น่าจะเป็น นก พญารุ่ง หรือ ผญาฮุ่ง แต่ข้อมูล Monnfleet มีไม่เพียงพอจึงขอเขียนว่า เป็น นกไม่ทราบนาม ไปพลางๆก่อนก็แล้วกันนะครับ





2210. วิหารเสาำิำหินจำลอง วัดเสาหิน





2211. ศาลา





2212.





2213.





2214.




2215.




2216.





2217.





2218.





2219.





2221. พิพิธภัณฑ์เครื่องใช้พื้นบ้าน





2225.





2226.





2227.





2043. ทางไป วัดเสาหิน และ ทางไปเทศบาลตำบลหนองหอย




2044. ถนนมหิดล เมื่อข้ามสี่แยกหนองหอยแล้ว (จาก รร.วารี =>Airport) ให้ชิดซ้ายเลี้ยวเข้าซอยที่มีชื่อ ทางไปวัดเสาหิน หรือ เทศบาลตำบลหนองหอย





2055. ถนนและกำแพงด้านหลังวัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2056. ถนนด้านทิศตะวันออกของวัด





2057. มุมสี่แยกด้านหลังวัดเสาหิน




2059. บ้านของสาธุชน ที่อยู่บริเวณข้างวัดเสาหิน





2077. เข้าใจว่า เป็นโรงเรือนช่าง





2078. ถนนในบริเวณวัดเสาหิน ด้านหลังพระอุโบสถ แห่ง วัดเสาหิน





2088. ศาลาบำเพ็ญบุญ





2100. พญานาค เบื้องขวาแห่งบันไดของ วิหารเสาหินจำลอง




2101. พญานาค เบื้องซ้าย แห่งบันไดของ วิหารเสาหินจำลอง






2116. ประตู ทางเข้า-ทางออก ด้านทิศตะวันออก





2120.





2121. วันนี้มีการใช้เป็นสถานที่ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นฯ





2123. ทรัพยากรมนุษย์ สำคัญเกือบที่สุด....





2122. ประตู ทางเข้า-ทางออก วัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2124. ทำบุญ เชิญไปที่ กุฏิเจ้าอาวาส แห่ง วัดเสาหิน ครับ





2126. ทำไมจึงต้องมาเรียกพวกเราว่า "หมาวัด"




2127.





2128. ประตูวัดเสาหิน ด้าน ทิศใต้





2130. ประตูวัดเสาหิน ด้าน ทิศใต้






2131. ศาลาที่สำหรับพักริมทาง ประตูหน้าวัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2133. วัดเสาหิน ประตูทางเข้าด้านทิศใต้





2135. เสาหิน ซอย.15 ม.3 ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2138. วัดเสาหิน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่





2140. สิงห์เบื้องขวา บนเสาประตูวัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2139. สิงห์เบื้องซ้าย บนเสาประตูวัดเสาหิน ด้านทิศใต้





2142. ทำบุญเชิญที่นี่ ครับ




2143. เข้าใจว่าเป็น กุฏิ ของท่านเจ้าอาวาส





2145.





2146.





2147.





2148. พระเจดีย์ แห่ง วัดเสาหิน





2155. หนองน้ำ ในบริเวณของ วัดเสาหิน





2162. โรงเรียน วัดเสาหิน อยู่ในบริเวณของวัดเสาหิน





2163. ธงไทย ไตรรงค์




2164. เข้าใจว่าเป็น โรงอาหารสำหรับนักเรียน





2167. เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า





2168. When I was just a little boy.....





2169. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง.......





Moonfleet ได้มาเยือน วัดเสาหิน หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วันพุธ ที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ 2552





นพบุรีศรีนครพิงค์เวียงเชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง




 

Create Date : 23 กันยายน 2552
17 comments
Last Update : 10 มกราคม 2553 0:24:19 น.
Counter : 8527 Pageviews.

 

ประวัติวัดเสาหิน

วัดเสาหินตั้งอยู่เลขที่ 98 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตชุมชนทางด้านทิศของเมืองกุมกาม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางเฉลี่ย 5 กิโลเมตร บริเวณวัดตั้งอยู่บนเนินที่มีพื้นที่ราบลุ่มทางด้านทิศเหนือ และสองข้างด้านตะวันตก และตะวันออก ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มต่ำทำนา ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรญอยู่ล้อม ยกเว้นแนวทางด้านทิศใต้ ด้านหลังวัดห่างออกไปที่เป็นบริเวณที่สูง และเป็นแนวตะลิ่ง ของสายน้ำแม่ปิง แต่เดิมที่ใหลผ่านทางด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม วัดเสาหินสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือค่อนมาทางทิศตะวันออกเล็กน้อย สร้างร่วมสมัยเวียงกุมกาม ระหว่างปี พ.ศ. 1827-2101 ถาวรวัตถุประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ประธาน พระอุโบสถ กำแพง พระวิหารหลังใหม่ อาคารศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และวิหารเสาหินจำลอง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง


วิหารวัดเสาหินก่อสร้างขึ้นเมื่อได ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน วิหารหลังนี้เป็นอาคารขนาดย่อม มีข้อพิเศษที่นอกจากหันหน้าไปหาทิศที่ยังหาความหมายไม่ได้ขณะนี้แล้ว ยกพื้นสวนฐาน ทำสูงมากเป็นการป้องกันน้ำท่วมถึง ตัวบันไดเป็นรูปนกหัสดีลิงค์มีหงอนคล้ายนาค ซึ่งเป็นสัตว์ในนิยาย หรือชาดกในพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นพาหนะขึ้นสุ่สรวงสวรรค์ หรือแดนพุทธภูมิตามความเชื่อ บันไดแบบนี้ก็ไม่นิยมนำมาก่อสร้างเป็นบันไดในอาคารทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีข้อสังเกตุว่าช่วงนั้นมีความอิสระทางความคิดออกแบบ อันมีแนวทางที่แตกต่างออกไปจากกระแสหลักทั่วไป ที่นิยมทำเป็นรูปนาคและตัวหางเป็นส่วนใหญ่ ที่อาจต้องการให้หมายถึงการที่คนได้เข้ามาในวิหารหลังนี้ ก็เหมือนเดินทางไปสู่แดนพุทธภูมิ นอกจากนี้ด้านโครงสร้างส่วนฐานก่ออิฐสอปูน ย่อส่วนลักษณะส่วนสะเปาคำ ( สำเภา ) คือส่วนกลางใหญ่ ส่วนหัวและท้ายเล็กดูคล้ายเรือสำเภอ ส่วนเสาและโครงสร้างหลังคาทำด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง มุงด้วยกระเบื้องดินขอ ป้านลมทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปพยานาคติดกระจกสี ช่อฟ้าไม้ติดกระจก (ของเดิมยังเก็บรักษาไว้เป็นที่ศึกษาของคนรุ่นหลัง) โครงสร้างหน้าแหนบหรือหน้าจั่วแบบม้าตั่งไหม ตกแต่งลายไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นรูปดอกประจำยาม ภายในวิหารในส่วนของซุซี (ฐานพระ) มีลักษณะเด่นที่สร้างเป็นสี่ชั้น แต่ละชั้นความกว้างความสูงก็ลดลั่นกันไป ประดับกระจกและปิดทองรูปดอกกลม ประจำยามกระจังแทรกด้วยลายก้ามปูก้านขดอย่างงดงาม ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานที่มีอยู่จำนวน 11 องค์ ทั้งที่เป็นพระสำริด และพระศิลา แต่ได้ถูกขโมยไปหมด ทางวัดจึงได้สร้างพระพุทธรูปปั้นที่มีพุทธลักษณะเหมือนองค์เดิมมาประดิษฐานแทน ในส่วนของฐานซุกชี้นี้ ตามความเชื่อถือของศรัทธาและตามคำบอกเล่าของคนโบราณที่เล่าสืบกันมาว่ามีเสาหินอยู่ใต้ฐาน
ซุกชีนี้ เสาหินนี้ความคติความเชื่อเดียวกับเสาอินทขิล เป็นเสาหินที่พระอินทร์ประธานลงมาเพื่อให้เกิดความสุขสงบในบ้านเมือง และมีธรรมมาสน์หลวงสำหรับใช้เทศน์ธรรมพื้นเมือง ที่มีศรัทธา นางคำหน้อย พร้อมบุตรหลานได้มีจิตศรัทธาได้สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา เมื่อวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2412 อายุ 134 ปี

และผนังยังเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ ลักษณะช่างฝีมือทางภาคกลาง ประมาณรัชกาลที่ 3-4 ดูได้จากรูปปราสาทราชวัง ประตูและกำแพง และแต่างภายในราชสำนัก มีภาพชาวต่างชาติเป็นทหาร หรือขุนนาง คนนุ่งโจงกระเบนและสอดแทรกภาพผู้หญิง คนพื้นบ้านนุ่งผ้าถุงไม่สวมเสื้อคล้องผ้าปิดส่วนสงวน
ถือไม้คาน หาบเปี๊ยด (กระุบุง) รูปกระท่อม การที่มีการวาดภาพจิตรกรรมที่ผาผนังนี้แสดงถึงความสำคัญของวิหารในอดีตที่เจ้าศรัทธา หรือเจ้าอาวาสที่มีทุนทรัพย์สร้างจ้างช่างจากกรุงเทพ หรือช่างในเขตภาพกลางมาทำงานได้ในครั้งนั้น วิหารหลังนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวลัยภรณ์วลัยลักษณ์ได้เสด็จมาทอดพระเนตรภาพจิตรกรรมนี้ และได้ทรงอนุรักษ์ภาพนี้ไว้เืพื่อเป็นแหล่งข้อมูลของผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป และกำแพงผนังวิหารนี้ก่ออิฐสอปูนฉาบด้วยปูนขาว เีดิมมีหน้าต่างขนาดเล็กกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร อยู่บนหน้าต่างปัจจุบันนี้ ที่บริเวณเหนือแท่นพระยังมีภาพเขียนลายทองล่องชาติ เป็นรูปนกอินทรีย์ที่สวยงาม ประตูด้านหลัง 2 ข้าง มีขนาดเล็ก กว้าง 50 เซนติเมตร และวัดนี้ยังมีพระธาตุเจดีย์ประธานขนาดใหญ่ ย่อมุขขนาดใหญ่ซ้อนกัน 4 ชั้น มีซุ้มพระประทาน 1 ซุ้ม ทางทิศเหนือมีการทำหม้อดอกที่ประดับดอกไม้เงินดอกไม้ทอง 2 ชิ้นๆละ 4 ชุด มีนรสิงห์ตั้งไว้บนฐานพระูธาตุเจดีย์ชั้นบนจำนวน 4 มุม มีรูปปั้นราหูที่ระฆัง จำนวน 8 ตน ตามทิศทั้ง 8 ตามคติความเชื่อคงจะเป็นผู้ัรักษายังพระเจดีย์องค์นี้ ตรงฐานชั้นแรกมีรูปปั้นสิงห์ จำนวน 4 ตัว ตั้งไว้ 4 มุมฐานของเจดีย์ และมีกำแพงแก้วรอบอีกชั้นหนึ่ง ที่กำแพงแก้วนี้มีรูปปั้นเทวดานั่งบนฐานสูง จำนวน 10 องค์

ตามความเชื่อของศรัทธาคิดว่าเจดีย์องค์นี้อาจจะสร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่มีขนาดเล็กกว่า และยังมีพระอุโบสถที่มีฐานประทักษิณสูงลักษณะทางล้านนา โครงสร้างก่ออิฐสอปูน โครงสร้างหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้องดินขอ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามีการประดับปูนปั้นรูปเทวดา หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำแพงแก้วรอบทั้ง 4 ด้าน ที่มุมกำแพงมีการปั้นหม้อดอกประดับดอกไ้ม้เงินดอกไม้ทองคำไว้ 4 ้ด้าน และมุมกำแพงแก้วทั้ง 4 มุม ทำเป็นเจดีย์องค์เล็กรูปสี่เหลี่ยมมีฉัตรที่บันไดมีรูปปั้นสิงห์ 2 ตัว และมีรูปพยานาค 2 ตัว มีช่อฟ้า ป้านลมมีไม้แกะสลักปิดกระจก (ของเิดิมยังเก็บรักษาไว้)

หนองสระ (สระน้ำ) บริเวณหน้าพระวิหารและพระอุโบสถเดิมเป็นสระดินมีขนาดกว้าง มีน้ำใสเย็น ตามคำบอกเล่าของคนโบราณหนองสระนี้เ็ป็นที่พยานาคขึ้นมาเล่นน้ำในวันเดือนเป็. (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ) ปัจจุบันหนองสระนี้มีขนาดเล็ก ทางวัดได้ก่ออิฐและปรับภูมิัทัศน์โดยรอบ และยังมีศาลาการเปรียญและอาคารอื่นอีกจำนวนหนึ่ง และที่ก่อสร้างใหม่ คือ วิหารเสาหินจำลองเพื่อประดิษฐานเสาหินจำลอง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของวัด และเป็นที่สักการะบูชา ตามความเชื่อว่าเสาหินอยู่ใต้ฐานพระประธานในวิหาร ทำให้บ้านเมืองล่มสลายเมื่อไดมีเสาหินปรากฏในบริเวณวัดนี้ เมืองที่ล่มสลายไปจะกลับฟื้นขึ้นมามีความเจริญรุงเรืองอีกครั้ง วิหารเสาหินจำลองนี้เป็นอาคารชั้นเดียว รูปลักษณะทรงจตุรมุขหลังคา 3 ชั้น มีช่อฟ้าป้านลม ยกพื้นสูง 1 เมตร มีทางขึ้น 2 ทาง ประดิษฐานเสาหินที่ทำด้วยหินทรายขาว ขนาดกว้าง 12 นิ้ว สูง 1.99 เมตร รูปทรง 8 เหลี่ยม ที่ยอดมีรูปดอกบัวตูม และมีพระพุทธรูปหินทรายขาว ขนาดเล็กอีกจำนวน 8 องค์ ประดิษฐานรอบเสาหินนี้ และมีเสาหินบริวารอีก 4 ต้น มีรูปทรง 8 เหลี่ยมขนาดเล็ก สูง 99 เซนติเมตร ทำด้วยหินทรายขาว ประดิษฐานรอบเสาหินประธาน มีกำแพงแก้วรอบและมีรูปปูนปั้นนักขษัติย์ ๑๒ ราศี ที่กำแพงแก้วด้านนอก จึงนับว่าวัดนี้เก่าแก่ และมีประวัติความเป็นมาคู่เวียงกุมกาม จึงควรแก่การศึกษาของผู้ที่สนใจต่อไป ประวัดเสาหินฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาของผู้สนใจทั่วไป หากมีข้อผิดพลาดประการได



ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
พระอธิการบุญส่ง กนฺตธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดเสาหิน ลำดับที่ 17
ผู้เรียบเรียง


Source
://watmuangsart.co.cc/index.php?option=com_content&view=article&id=66&Itemid=67

 

โดย: ประวัติวัดเสาหิน (moonfleet ) 23 กันยายน 2552 16:25:18 น.  

 

ปิดวิหาร ๑๐๐ ปี วัดเสาหิน เชียงใหม่

พระอธิการบุญส่ง กนตธมโม เจ้าอาวาสวัดเสาหิน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่ในระยะหลังพบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลทำให้พระวิหารที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปีสมัยเวียงกุมกาม ก่อนจะมีการสร้างเมืองเชียงใหม่ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง




หลังจากตรวจสอบพบว่าบริเวณด้านหลังพระวิหารที่ประดิษฐานพระประธานมีรอยร้าวและยังสามารถมองเห็นอิฐที่แตกกระเทาะออกมาได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ทางวัดได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกรมศิลปากรให้ช่วยเข้ามาทำการบูรณะซ่อมแซมตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ ทางกรมศิลปากรก็ได้เพียงแต่มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกมาตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

พระอธิการบุญส่ง กล่าวต่อว่า จากการประเมินคาดว่าต้องใช้เงินบูรณะกว่า ๒ ล้านบาทเศษ ไม่รวมการปรับปรุงฐานรากที่เริ่มทรุดตัวเนื่องจากรับน้ำหนักมาเป็นเวลานาน และยังมีในส่วนของการบูรณะฐานพระประธานภาพเขียนที่มีรอยร้าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่วนในตัวพระวิหารในส่วนของโครงหลังคาพบว่ามีการแยกตัวของไม้บริเวณคานและจั่วต่างๆอย่างชัดเจน สันนิฐานว่าเกิดจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ไม้มีการบิดตัวแยกออกจากกัน ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง มีรอยร้าวอยู่หลายจุด

หากปล่อยไว้เช่นนี้เชื่อว่าพระวิหารอาจจะถล่มลงมาพังเสียหายได้ เบื้องต้นทางวัดได้มีมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยห้ามพุทธศาสนิกชนและญาติโยมที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาภายในบริเวณพระวิหารโดยเด็ดขาด ซึ่งหากจะทำการบูรณะคงจะต้องใช้เงินสูงนับ ๑๐ ล้านบาท เพื่อให้พระวิหารอยู่ในสภาพสมบูรณ์

(สำนักข่าวเนชั่น ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๐)

Source: //www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1587

 

โดย: ปิดวิหาร ๑๐๐ ปี วัดเสาหิน เชียงใหม่ (moonfleet ) 23 กันยายน 2552 22:54:53 น.  

 

เดินป่าตามหาหนอนไม้ไผ่ ศึกษาระบบนิเวศน์ ทะเลหมอกสุดสวย เมือฟ้าหลังฝน ๒๓ - ๒๕ ตุลาคม ๕๒
เดินป่าศึกษาระบบนิเวศน์ที่กำลังหมดฝน ทำให้ป่าเขียวขจีมีความสมบูรณ์ ทั้งดอกไม้ป่า กล้วยไม้ สมุนไพร ตามหาหนอนไม้ไผ่ และชมทะเลหมอก ดอยบ่อ
ผู้ประสานงาน: somsakbannok@yahoo.com
Tel 081-7655352 ;053-737373
www.hilltribeguide.com

 

โดย: พรานไพร ณ.ดอยบ่อ (guide doi ) 24 กันยายน 2552 13:31:46 น.  

 

วิหารเก่าสวยค่ะ
เพิ่งเห็นว่าการถ่ายรูปเจดีย์ ถ่ายตรงมุม สวยกว่าหน้าตรงค่ะ

อยากเห็นภาพเขียนบนผนังจังเลยค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 24 กันยายน 2552 14:20:24 น.  

 

เช่นเดียวกัน แต่เข้าใจว่า ภาพเขียนฝาผนังในวิหารน่าจะได้รับการเขียนขึ้นมาใหม่นะครับ

เพราะว่าได้เข้าไปแล้ว หวังว่าจะได้ถ่ายเก็บไว้ แต่ก็ไม่พบนะครับ

 

โดย: moonfleet 24 กันยายน 2552 14:57:57 น.  

 

วัดสวยมากครับ ขอคุณมากๆ คะที่ใด้ทำสิ่งที่ดีๆให้กับแผ่นดินเกิดของเรา ขอบคุณพ่อ แม่ พี่ น้อง และ ชาวบ้าน ทุกๆคนที่ร่วมกัน ซ่อมแซม อุโบสถ เจดีย์ และทำให้วัดของจังหวัดเชียงใหม่ของเราสวยงามขอเชิญชวนให้มาเยี่ยมชมและเข้ามาทำบุญที่วัดกันเยอะๆนะครับ



 

โดย: www.kunpean18.com IP: 124.157.141.147 8 ตุลาคม 2552 18:52:48 น.  

 

ดเอด้ะเสมาสา

 

โดย: หกดหด IP: 222.123.215.147 20 พฤศจิกายน 2552 12:08:45 น.  

 

คิดถึงทุกคนมาก เราเป็นศิษเก่า ที่แสนดื้อชื่อเล่นอ๋อม เกือบ7ปีแล้วที่ไม่ได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ 0857160878

 

โดย: ศศิธร สุขใจ IP: 222.123.215.147 20 พฤศจิกายน 2552 12:12:46 น.  

 

ไม่ใช่นกหัสดีลิงค์คับ ที่บันไดวิหาร วัดเสาหิน เป็น พญารุ่ง หรือ ที่เรียกในภาษาล้านนาว่า พยาฮุ่ง คับผม สันนิฐานว่าคงเป็นเยี่ยวหรือนกอินทรีน์คับผม

 

โดย: จาวพยาว IP: 119.31.126.141 9 มกราคม 2553 19:56:49 น.  

 

ขอขอบคุณ จาวพยาว IP: 119.31.126.141 สำหรับความรู้เกี่ยวกับ นก ที่บันไดวิหาร วัดเสาหิน ว่าเป็น พญารุ่ง หรือ ที่เรียกในภาษาล้านนาว่า พยาฮุ่ง

 

โดย: moonfleet 10 มกราคม 2553 0:10:04 น.  

 

รูปโรงอาหาร ที่มุมใต้หลังคา มีรอยแตกเป็นรูไม่น่าเชื่อว่า เมื่อ28ปีก่อนที่ผมเตะฟุตบอลไปโดนใส่
วันนี้รอยนั้นยังอยู่ กลับบ้านไปครั้งหน้าผมจะไปซ่อมให้
ดูรปแล้วน้ำตาจะใหล คิดถึงเพื่อนทุกๆคน ทั้งที่อยู่และไม่อยู่แล้ว "ฮาฮักหมู่คิงกุ๊คนเสมอ และฮักเธอคนนั้นตลอดไป แม้เฮาจะอยู่แสนใกล๋กั๋น " รักและเคารพคุณครูทุกท่านเสมอ ทุกท่านคือเทวดาของผม จากศิษย์ที่ไม่ได้ความ ........1




 

โดย: หนึ่ง IP: 110.164.141.252 24 มกราคม 2554 23:46:12 น.  

 

....หนึ่งลูกปี้นา อ้ายไอ่น้อง หลานอุ๊ยปั๋น เหลนอุ๊ยปวง...
.....และฮักเมาน้องมอญคนงาม...

 

โดย: หนึ่ง IP: 110.164.141.252 24 มกราคม 2554 23:55:56 น.  

 

ย้ายจากกรุงเทพฯ มาอยู่เชียงใหม่ได้เกือบ 10 เดือนแล้วค่ะ อยากจะเข้ามาช่วยยืนยันอีกคนว่า วัดเสาหิน ที่หนองหอยนั้นเป็นวัดที่สวยงามมากมากร่มรื่นสะอาด เก่าแก่แต่งามล้ำสมคำล่ำลือ ภาพเขียนฝาผนังก็สวยงามขนาด(อยากให้กรมศิลปฯหรือผู้เกี่ยวข้องช่วยเร่งส่งงบมาช่วยก่อนที่จะสายเกินไป) ใครยังไม่ได้มาแอ่ว รีบมาเน้อ อีกทั้งพระเจ้าก็ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดีใจขนาดที่มีโอกาสได้มาเป็นคณะศรัทธาวัดนี้ ศีลนั้นทำให้ร่มเย็นจริงจริงเจ้า ต้องปฏิบัติเองถึงจะรู้เจ้า

 

โดย: เอ-yyz IP: 223.206.225.77 22 มิถุนายน 2554 18:38:41 น.  

 

ถ้ามีการลบรูปจิตรกรรมเพื่อจะวาดใหม่ก็น่าเสียดายมาก เพราะเป็นการทำลายมรดกทางศิลปะโดยสิ้นเชิง หวังว่าจะไม่ได้ลบเน้อเจ้า ของใหม่อย่างไรก็สู้ของเก่าปุะปะไม่ได้
เรื่องของเสาหินนั้นถ้าเป็นแนวเดียวกับเสาอินทขีลก็แสดงว่าพื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลของชาวลัวะมาก่อน ไม่น่าแปลกใจเพราะสมัยเวียงกุมกามเป็นสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรล้านนา วัฒนธรรมลัวะ-ไตผสมผสานกัน

 

โดย: รัตนาพร IP: 223.206.10.160 6 สิงหาคม 2554 9:31:05 น.  

 

บันใดพระวิหารวัดเสาหินไม่ใช่ นกหัสดีลิงค์ ครับ
เป็น นกการเวก ต่างหากครับ

 

โดย: เทวพงศ์พันธ์ IP: 110.168.54.87 4 ตุลาคม 2554 21:06:42 น.  

 

วันนี้ไปปั่นรถเล่นมาครับวัดสวยจริงๆ
ภาพหายไปข้างหนึ่งอีกข้างยังเหลืออยู่นะครับ


เลยถ่ายรูปมานิดหน่อยครับ
//www.flickr.com/photos/kykub/sets/72157628494253369/

 

โดย: กริชชัย IP: 115.87.150.119 20 ธันวาคม 2554 14:07:08 น.  

 

วัดเสาหินสวยงามกว่าเดิมมาก และเป็นวัดที่เก่าแก่มากมีโอกาศน่าไปเที่ยวชมนะครับ เจ้าอาวาสใจดีมาก

 

โดย: น้อยคน IP: 49.230.92.255 30 ธันวาคม 2556 22:11:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.