จากยอดดอยแดนไกลใครจะเห็น ยากลำเค็ญเพียงใดใจยังมั่น จะปกป้องผ่องไทยชั่วนิรันดร์

 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
10 กรกฏาคม 2550
 

ประวัติพระองค์ดำ(สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)



ประวัติองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ สมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวังจันทน์ จังหวัด พิษณุโลก เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตริย์ ทรงมีพระพี่นางทรงพระนามว่า พระสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชนทรงพระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว ขณะทรงพระเยาว์ สมเด็จพระชนกทรงพระยศเเจ้าขัณฑสีมา ครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2103 พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทรงขอพระองค์ ดำ ซึ่งมีพระชนมายุ 9 ชันษา ไปเป็นองค์ประกัน ณ กรุงหงสาวดี พ.ศ. 2112 ปีมะโรง ทรงตามเสด็จมากับ กองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนอง มาตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนี้ไทยพ่ายแพ้พม่ายับเยิน พม่าได้ สถาปนาพระมหาธรรมราชาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองประเทศราชสมเด็จพระมหา ธรรมราชาจึงขอ "พระองค์ดำ" พระราชโอรสให้กลับ งานภารกิจของบ้านเมืองในฐานะอุปราช พระเกียรติคุณ พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง 4 ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี และมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี เมื่อไปถึงเมืองหางหรือเมืองห้างหลวง ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองห้างหลวง ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง พระชนมายุ 50 พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.2098 ที่เมืองพิษณุโลก พระนามเดิม พระองค์ดำ หรือพระนเรศวร มีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณเทวี และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
หลังจากเสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เขมรเห็นเป็นโอกาสที่ไทยอ่อนแอ จึงได้ยกทัพมาปล้นสดมภ์และกวาดต้อนผู้คนบริเวณชายพระนคร สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงได้ขอตัวสมเด็จพระนเรศวรจากหงสาวดี กลับมาช่วยป้องกันบ้านเมือง เมื่อพระชนมายุได้ 15 พรรษา หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่หงสาวดี หลังสงครามช้างเผือกตามคำทูลขอของพระเจ้าบุเรงนอง ตั้งแต่พระชนมายุได้ 9 พรรษา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหาอุปราช ปกครองหัวเมืองทางเหนือ และประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2114 ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นกำลังสำคัญในการป้องกัน และกอบกู้บ้านเมืองจากข้าศึกทั้งเขมรและพม่า ในปี พ.ศ.2127 พระองค์ได้ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาจากอำนาจของพม่า หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลา 15 ปี เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.2133 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2133 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบ
การสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ.2135 การสงครามในขั้นต่อไปหลังจากนั้นของพระองค์คือ การรุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เริ่มจากการตีเมืองทวาย และตะนาวศรี คืนกลับมาจากพม่าหลังจากสงครามยุทธหัตถี การยกไปตึเมืองเขมรในเวลาต่อมา ยึดเมืองละแวกของเขมรได้ ในปี พ.ศ.2142 พระองค์ยกกองทัพไปปราบปรามมอญแล้วยกขึ้นไปตีเมืองหงสาวดี แต่พระเจ้าตองอูได้นำเสด็จพระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอูก่อน คงทิ้งให้เมืองหงสาวดีร้างก่อนที่พระองค์จะนำทัพไปถึงไม่นาน

รายละเอียดของงานด้านการทหารของพระองค์มีอยู่ในเรื่องราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร จัดแบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ยกเลิกการให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน
สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ เมื่อเสด็จถึงเมืองหาง พระองค์ทรงประชวรเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์กลายเป็นพิษ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 พระชนมายุได้ 50 พรรษา





Create Date : 10 กรกฎาคม 2550
Last Update : 10 กรกฎาคม 2550 14:24:48 น. 0 comments
Counter : 8634 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

teched_ie
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เคยได้ยินคำว่า "มิตรภาพบนหลังเสือ" กันมัยครับพี่น้อง ผมรู้จักคำนี้มาจากในรายการ คนค้นคน แต่วันนี้ผมค้นพบและรู้ว่ามิตรภาพบนหลังเสือนั้นมีจริง
[Add teched_ie's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com