ทำไมคนถึงเลือกปกป้องความอยุติธรรม ?
ข่าวงานวิจัยทางจิตวิทยาที่ศึกษาเหตุผลของคนที่ออกมาปกป้องระบอบซึ่งเต็มไปด้วยความอยุติธรรม ความฉ้อฉล และสองมาตรฐาน

งานวิจัยนี้ทำโดย Aaron C. Kay แห่ง Duke University และ Justin Friesen แห่ง University of Waterloo พวกเขาได้ออกแบบการทดลองและเก็บข้อมูลจากประเทศต่างๆ มาวิเคราะห์ แล้วหาข้อสรุปเหตุผลทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลัง

นักวิจัยทั้งสองนิยามศัพท์เฉพาะของการปกป้องสถานะของระบบเดิม (status quo) แบบเห็นดีเห็นงามไปด้วย ว่า "การรองรับความชอบธรรมของระบบ" (system justification) ซึ่งแตกต่างจากการยอมรับกับความอยุติธรรมของระบบนั้นเพราะคิดว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้

สิ่งที่พวกเขาสรุปได้ คือ ปัจจัยสภาวะที่ทำให้คนรองรับความชอบธรรมของ status quo มีอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง คือ ความกลัวว่าระบบจะล่ม, ความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาระบบนั้น, ความไม่สามารถในการหลุดพ้นจากระบบได้, ความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ

ความกลัวว่าระบบจะล่ม (System threat) เป็นความกลัวที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับการขู่คุกคามจากเหตุการณ์บางอย่าง เช่น หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ก็หันมาสนับสนุนประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ทั้งที่ก่อนหน้านั้นคะแนนนิยมของประธานาธิบดีบุชตกต่ำลงไปมาก หรือ เหตุการณ์เฮอริเคนแคทริน่า ผู้คนหลายคนก็ให้เหตุผลว่าเป็นชะตากรรมของผู้ประสบภัยเอง เนื่องจากไม่อยากยอมรับว่าระบบกู้ภัยทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาระบบนั้น (System dependence) อันนี้ยืนยันด้วยการทดลองซึ่งเมื่อให้นักศึกษาที่ถูกปลูกฝังให้รู้สึกต้องพึ่งพามหาวิทยาลัย มาอ่านนโยบายของมหาวิทยาลัย นักศึกษาส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยและให้เหตุผลปกป้องนโยบายนั้น แต่พอให้อ่านนโยบายที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ต่างกันแค่แปะป้ายว่าเป็นของรัฐบาล นักศึกษากลับต่อต้าน ในทางกลับกันนักศึกษาที่รู้สึกต้องพึ่งพารัฐบาล ก็จะเห็นด้วยกับนโยบายที่มาจากรัฐบาล และต่อต้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายของมหาวิทยาลัย

ความไม่สามารถในการหลุดพ้นจากระบบได้ (System inescapability) อันนี้ขัดกับสามัญสำนึกที่เชื่อกันว่า พอคนเราหลบหนีจากระบบไม่ได้ ก็ยิ่งอยากจะเปลี่ยนแปลง เพราะผลการทดลองกลับออกมากลายเป็นว่า คนส่วนใหญ่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงระบบเลย เรามีแนวโน้มพยายามปรับตัวความคิดให้เข้ากับระบบนั้นต่างหาก เช่น เมื่อผู้ร่วมการทดลองได้อ่านนโยบายว่ารัฐบาลจะขึ้นค่าแรงให้ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 20% ซึ่งเป็นนโยบายที่ทุกคนรู้สึกได้ว่าไม่เป็นธรรม แต่คนที่เชื่อว่าตนเองไม่มีโอกาสย้ายประเทศมีแนวโน้มเห็นด้วยและให้เหตุผลปกป้องนโยบายนี้มากกว่าคนที่คิดว่าตนเองสามารถย้ายไปอยู่ประเทศอื่นได้

ความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ (low personal control) คนที่รู้สึกว่าตัวเองควบคุมชีวิตตนเองได้น้อย มักจะปกป้องระบบและผู้นำโดยคิดว่ามันเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำ

ที่มา: JuSci



Create Date : 15 ธันวาคม 2554
Last Update : 15 ธันวาคม 2554 2:24:13 น.
Counter : 364 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Momotoy
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
12
13
14
17
19
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog