USB Flash Drive อย่าใช้แค่เก็บข้อมูล (ควรใช้มันไปซื้อกาแฟปากซอยด้วย)
แต่ถ้าการไปซื้อกาแฟปากซอย มันหนักหนาเกินไปสำหรับแฟลชไดร์ฟตัวน้อยๆ ที่น่าสงสาร
ก็ให้มันทำงานอย่างอื่นแทนก็ได้ครับ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง ว่าจะให้แฟลชไดร์ฟทำงานอะไรให้เราได้บ้าง

ตอนนี้ไปไหนมาไหน ใครๆ ก็มี USB Flash Drive
เอาเถอะ ถึงจะมีคนเรียกชื่อว่า Thumb Drive, USB Drive มากกว่า ก็แล้วแต่

แม้แต่ในโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ เครื่องเล่น MP3 เครื่องเล่น Hi-MD ไอพอด พีดีเอ หรือแม้แต่กล้องถ่ายรูป
ก็ทำตัวเป็นแฟลชไดร์ฟได้ แค่เสียบสาย มันก็ทำงานเหมือนอีกไดร์ฟหนึ่งได้ทันที

และในสมัยนี้ ความจุระดับ 128 MB ก็ดูเหมือนจะเป็นขนาดขั้นพื้นฐานต่ำสุดไปเสียแล้ว ยิ่งเป็นไอพอดนั่นว่ากันที่ระดับกิกะไบท์เลยทีเดียว ความจุมากมายขนาดนี้ มันสามารถบรรจุโปรแกรมขนาดใหญ่ๆ ลงไปได้มากมายหลายโปรแกรมเลย
แล้วก็น่าจะสั่งให้โปรแกรมมันทำงานให้เราได้เหมือนกับพกเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวเราไปด้วยท่าจะดีไม่น้อย

ปัญหาก็คือโปรแกรมส่วนมากที่ทำงานบนวินโดว์สนั้น มันไม่ได้อยู่อย่างสงบ เจียมเนื้อเจียมตัวอยู่แต่ในโฟลเดอร์ของมัน
มันทำตัวเหมือนต้นไม้ที่หยั่งราก เข้าไปในรีจิสตรีของวินโดว์ส และโฟลเดอร์ของระบบอีกหลายโฟลเดอร์
นอกจากนั้นยังแตกยอดแผ่กิ่งก้านสาขาเข้าไปยุ่งกับโฟลเดอร์อื่นๆ อีก อย่างที่เจอบ่อยๆ ก็พวก My Document

ทำให้การบรรจุตัวโปรแกรมไว้ในแฟลชไดร์ฟ แม้จะทำได้ แต่ก็สั่งให้โปรแกรมทำงานไม่ได้ หรือทำได้ไม่สมบูรณ์

แต่ก็ไม่พ้นความสามารถของโปรแกรมเมอร์ และแฮกเกอร์มือเซียน ที่หาวิธีที่ทำให้โปรแกรมต่างๆ ทำงานบนแฟลชไดร์ฟจนได้

เดี๋ยวนี้ เราสามารถพกโปรแกรมชุดออฟฟิศ เบราเซอร์ และอีกสารพัดโปรแกรมไปบนแฟลชไดร์ฟได้
สั่งให้มันทำงานจากแฟลชไดร์ฟ และเก็บไฟล์ที่สร้างขึ้นไว้บนนั้นได้แล้ว โดยไม่ต้องไปติดตั้งลงบนวินโดว์สให้วุ่นวาย

ข้อดีก็คือ ทั้งโปรแกรมที่คุ้นเคย และทั้งข้อมูล จะอยู่ในมือเราตลอดเวลา ไม่ว่าจะไปใช้ที่คอมพิวเตอร์เครื่องไหนๆ
เพียงแค่เสียบแฟลชไดร์ฟของเราเข้าไปเท่านั้น

เตรียมแฟลชไดร์ฟเอาไว้ครับ เดี๋ยวตอนต่อไป ผมจะมาเล่าให้ฟัง ว่ามีโปรแกรมอะไรบ้างที่ทำงานได้บนแฟลชไดร์ฟ



Create Date : 31 ตุลาคม 2548
Last Update : 12 มกราคม 2549 21:49:25 น.
Counter : 1162 Pageviews.

15 comments
  


( - -") Emm




โดย: ladydunce วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:17:42:31 น.
  
ใช้มันไปซื้อข้าวให้หน่อยดิ.....
โดย: ครีเอทีฟ หัวเห็ด วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:17:44:53 น.
  
รอมาเก็บชื่อโปรแกรม ไป search ของฟรีใน google
โดย: dont wanna no วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:18:41:23 น.
  
พึ่งรู้ครับว่าใช้ USB Flash Drive ไปซื้อกาแฟปากซอยได้ด้วย หลงสั่งให้มันชงเองอยู่ตั้งนาน โง่จริงๆเลยเรา
โดย: K.Ruan วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:19:45:58 น.
  
Flash drive ที่บ้านผมต้มกาแฟเองได้ด้วย ไม่ต้องไปซื้อ
โดย: หมาร่าหมาหรอด วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:20:29:26 น.
  
55555 โอ้ย ไฮเทคจัง ต่อไปคงล้างแก้วให้ต่อได้เลย
โดย: I will see U in the next life. วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:20:35:40 น.
  
แวะมาหาความรู้ค่ะ
โดย: Batgirl 2001 วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:21:23:33 น.
  
ได้ความรู้ดีคะ
ขอบคุณคะ
โดย: Puklook วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:21:34:22 น.
  
เขียนสำนวนได้ดีค่ะ ทำให้เรื่องที่จะเป็นความรู้ได้กลายเป็นเรื่องสนุก

แล้วจะมาอ่านต่อนะคะ
โดย: ZAZaSassY วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:21:46:16 น.
  
เหอ เหอ...
เราเรียกว่า ...จูจุ๊บ อ่ะ

แต่ไม่เคยใช้มันไปซื้อกาแฟหน้าปากซอย
หรอกนะ ...ซอยมันเปลี่ยววววววววววว
โดย: ลลิลลา วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:22:07:49 น.
  
พี่มีคำถามงงๆ ค่ะ (ยกมือ)
1. run โปรแกรมบน Frash Drive ผ่าน USB Interface มันจาไม่ทำงานอืดๆเนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็วผ่าน USB port หรือคะ ถึงจาเป็น V.2 ก้อเถอะ
2. การเชื่อมข้อมูลผ่าน USB port ตลอดเวลาทำให้เกิดความร้อน Frash Drive จะไม่พังเร็วขึ้นเหรอคะ แค่เสียบเฉยๆ แล้ว copy file ก้อร้อนจาแย่

แบบว่าสงสัยอ่ะ มะได้กวนก้า ขอความรู้เพิ่มเติมหน่อยจิ ปายตอบใน blog พี่ก้อได้นะจ๊ะ
โดย: ladybear (ladybear ) วันที่: 31 ตุลาคม 2548 เวลา:22:57:57 น.
  
จากคำถาม ตอบได้ดังนี้ครับ

1. การ run โปรแกรมบนแฟลชไดร์ฟ มันจะเรียกจากไดร์ฟ ครั้งแรกครั้งเดียวครับ จากนั้นโปรแกรมจะทำงานอยู่ใน RAM ของเครื่อง ไม่ได้ประมวลผลในไดร์ฟ

จะมีการเขียนข้อมูลกลับลงไดร์ฟก็นิดหน่อยครับ อย่างเช่นไฟล์ Configuration อะไรทำนองนี้

นั่นคือจะช้าตอนเริ่มต้นเท่านั้น ช้ากว่าเรียกจากฮาร์ดดิสก์ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ช้ามากเหมือนเรียกจาก CD หรือ Floppy Disk

และโปรแกรมส่วนใหญ่ก็มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่ต้องรอนาน
โปรแกรมที่ใหญ่ที่สุดคือชุดออฟฟิศขนาดหลายสิบเม็กกะไบท์ ยังใช้เวลาเริ่มต้นแค่ครึ่งนาทีเอง
โปรแกรมส่วนใหญ่จะตอบสนองในไม่กี่วินาที

นี่เรียกจาก SD การ์ด ของโทรศัพท์ Motorola E680i ซึ่งค่อนข้างช้านะครับ

โดย: อะธีลาส IP: 210.86.207.242 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2548 เวลา:0:10:13 น.
  
2. จากที่บอกไว้ในข้อแรก คือการอ่านเขียน ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา และไม่ได้มีอัตราที่หนักหน่วง

ดังนั้นถ้าไม่ใช่ตอนเรียกโปรแกรม หรือตอนเซฟไฟล์ข้อมูล
แฟลชไดร์ฟ จะอยู่ในสภาวะ "อู้งาน" เกือบตลอดเวลา

การทำงานทั้งหมด เกิดในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ
แฟลชไดร์ฟแทบไม่ร้อนขึ้นเลย

โอ๊ะ.. สบายจัง ใช้มันไปซื้อกาแฟปากซอยเหมือนเดิมดีกว่า
โดย: อะธีลาส IP: 210.86.207.242 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2548 เวลา:0:18:29 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ
โดย: กามล สถิตคาน IP: 210.86.216.56 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:17:30:03 น.
  
แฟรชไดรฟ เฝ้าบ้านได้ ด้วย


เอ้ย ไม่ใช่หมา
โดย: cilladevi (cilladevi ) วันที่: 13 มีนาคม 2550 เวลา:23:21:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
ตุลาคม 2548

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog