Group Blog
 
 
ธันวาคม 2559
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 

Tech Support





การสร้างกราฟเบื้องต้น




     ในโปรแกรม Excel มีเครื่องมือมากมายในการช่วยสร้างกราฟและการนำเสนอผลงาน การสร้างกราฟนั้นจะเป็นวิธีการที่สามารถแสดงข้อมูลตัวเลขออกมาให้เห็นภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูกราฟสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดาย

     กราฟสามารถสร้างความประทับใจต่อคนอ่านข้อมูลได้มากกว่าการแสดงข้อมูลในรูปแบบตารางเพราะรูปภาพสามารถช่วยให้คนเห็นความแตกต่าง และรับรู้ถึงข้อมูลได้เร็วกว่าการใช้ตัวหนังสือหรือตัวเลขธรรมดาเป็นอย่างมาก สีและรูปภาพมีผลต่อผู้อ่านเยอะมาก ถ้าคุณใช้สีหรือรูปภาพไปเน้นในส่วนที่ไม่สำคัญในกราฟอาจจะทำให้ผู้อ่านข้อมูลเข้าใจผิดได้ โดยบทนี้เราจะแนะนำคุณในการใช้เครื่องมือในการสร้างกราฟ ซึ่งคุณสามารถทำการแปลงข้อมูลจำนวนมากของคุณให้กลายเป็นกราฟได้อย่างง่ายดาย

     ในบทนี้ เราจะได้เรียนรู้วิธีการสร้างกราฟแบบรวดเร็ว และเราจะสามารถเพิ่มข้อมูลลงในกราฟและเปลี่ยนชนิดของกราฟได้อีกด้วย และสามารถสร้างเส้นแนวโน้มในกราฟได้ โดยเส้นแนวโน้มจะเป็นการสรุปถึงทิศทางและขนาดของการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา


ขั้นตอนการทำกราฟ มีดังนี้

  1. Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ
  2. Prepare : เตรียมข้อมูล (เช่น สรุปข้อมูลจาก Data ดิบ)
  3. Create : สร้างกราฟ
  4. Customizeปรับแต่งกราฟ
  5. Summarize : สรุปผลของกราฟ


1. Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ

     วัตถุประสงค์ของการทำกราฟนั้นมีอยู่ค่อนข้างหลากหลาย ให้มองว่าที่สำคัญคือเราต้องรู้ว่าเราอยากจะสื่อสารอะไร และถ้าเป็นไปได้ ควรวาดภาพในใจก่อนว่ากราฟควรจะออกมาหน้าตาแบบไหน (ทำในจิตนาการก่อน ค่อยทำใน Excel)

วัตถุประสงค์ที่เจอบ่อยๆ เช่น

  • การเปรียบเทียบข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น เทียบระหว่างแต่ละกลุ่ม, เทียบกับมาตรฐาน หรือ เป้าหมายบางอย่าง
  • บอกการแจกแจงความถี่ เพื่อให้เห็นการกระจายตัวของข้อมูล 
  • บอกสัดส่วนขององค์ประกอบ : เพื่อบอกองค์ประกอบว่าแต่ละส่วนมีมากน้อยแค่ไหน
  • การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว
  • บอกแนวโน้ม คาดการณ์อนาคต
  • แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ หรือ Timeline โครงการ
  • อื่นๆ

2. Prepare : เตรียมข้อมูล

     การเตรียมข้อมูลเพื่อการทำกราฟ หลายๆครั้ง เราอาจต้องพึ่งพาความรู้พื้นฐานเหล่านี้ก่อน

  • Function พวกที่ใช้เพื่อการสรุปข้อมูล เช่น SUM, COUNT, AVERAGE, MAX, MIN, SUMIF, COUNTIF
  • การใช้ Sort & Filter หรือ Advanced Filter => อ่านได้ที่นี่ การกรองข้อมูลใน Excel ด้วย Filter & Sort และ Advanced Filter
  • การใช้ Pivot Table (เป็นวิธีที่สะดวกมาก แนะนำเลย) ใครสนใจการสรุปข้อมูลด้วย Pivot Table เชิญอ่านได้ที่  สรุปทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Pivot Table
  • ปกติแล้ว เรามักจะเตรียมข้อมูลให้เหมือนกับเตรียมฐานข้อมูลตามปกติ คือ
    chart-1

    • ใส่ข้อมูลแต่ละ Record (แต่ละราย แต่ละกลุ่ม) แยกไว้คนละแถวกัน
    • ใส่การวัดข้อมูลในแต่ละมิติ ไว้แยกคอลัมน์กัน (คล้ายๆกับ Field ข้อมูลใน Database)
    • ตรงนี้ไม่ต้องซีเรียส เพราะสามารถปรับแต่งภายหลังได้ง่ายๆ มากๆ ค่ะ
    • ที่สำคัญควรใส่ Label ของข้อมูลให้ครบถ้วยด้วยถ้าเป็นไปได้

3. Create : การสร้างกราฟ

มาถึงขั้นตอนนี้ก็เข้าหน้าที่หลักของ Excel แล้วล่ะค่ะ

  • เมื่อเรามีข้อมูลเตรียมไว้ในตารางแล้ว ให้เราลาก Selection ครอบคลุมพื้นที่ของข้อมูลทั้งหมด จากนั้นไปที่ Ribbon Insert => Chart => เลือกรูปแบบที่ต้องการตามที่ได้แนะนำไปข้างบน
    chart-animate-1
  • เมื่อเราเลือกรูปแบบกราฟไปแล้ว ถ้ากราฟมันสร้างออกมาสลับแกน x แกน y กับสิ่งที่เราคิดไว้แต่แรก เราสามารถกดปุ่ม Switch Row/Column ที่อยู่บน Ribbon Chart Tools => Design ได้เลยค่ะ (ต้องคลิ๊กที่ Chart ก่อน Ribbon นี้ถึงจะโผล่มาให้เห็น)
    chart2
  • บางครั้งเมื่อเราสร้างกราฟแล้ว ต่อไปอยากจะใส่ข้อมูลเพิ่มลงไปอีก มีวิธีง่ายๆ ที่ไม่ต้องเข้าไปนั่งแก้ที่ Select Data เลย นั่นก็คือ สามารถกด Copy ข้อมูลจากตาราง (Ctrl+C) แล้วเลือกที่กราฟ จากนั้นกด Paste (Ctrl+V) ลงไปเลยตรงๆค่ะ
    • ในตัวอย่างนี้ เราเพิ่มทั้งแถวทั้งคอลัมน์ จึงต้อง copy 2 รอบค่ะ
  • chart3

4. Customize : ปรับแต่งกราฟ

ต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือการปรับแต่งกราฟ ซึ่งการที่เราจะปรับแต่งกราฟได้นั้น เราต้องรู้จักส่วนประกอบของกราฟซะก่อนค่ะ

ส่วนประกอบของกราฟ หลักๆ มีดังนี้
chart-component

  • Chart Area : พื้นที่ของกราฟทั้งหมด
  • Plot Area : พื้นที่ที่มีการพลอตข้อมูลลงไปจริงๆ
  • Label ป้ายกำกับ
    • Chart Title : ชื่อกราฟ
    • Axis Title : ชื่อแกน
      • Horizontal : แกนนอน
      • Vertical : แกนตั้ง
    • Legend : เพื่อบอกว่าซีรีส์อะไรคืออะไร
    • Data Label : บอกค่าของ Data
    • Data Table : ตารางข้อมูลต้นฉบับ
  • Axes แกน
    • Axes
      • Vertical Axis : แกนตั้ง
      • Horizontal Axis : แกนนอน
    • Gridlines : เส้นกริด ทั้งทั้งแกนนอนแกนตั้ง และ Major, minor
  • Series คือตัวข้อมูลจริงๆ
    • Series Name : ชื่อของข้อมูล
    • Series Value : ค่าของข้อมูล
  • Category Label : ชื่อประเภทข้อมูล (มักอยู่ที่แกนนอน)

     วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจส่วนประกอบของกราฟ ก็คือ ให้ไปที่ Ribbon Layout ที่อยู่ภายใต้ Chart Tools เลยค่ะ (ต้องเลือกที่กราฟก่อน) ในนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายๆ หมวด ดังนี้

  • Current Selection : เอาไว้เลือกส่วนประกอบของกราฟ มีประโยชน์มากเวลามีส่วนประกอบหลายๆ อันบังกันอยู่ ลองคลิ๊กดูแล้วจะรู้ว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร
    chart6

    • พอเลือกแล้วสามารถกด Format Selection เพื่อปรับแต่งแต่ละส่วนได้อีก

  • เราสามาถ เพิ่ม/ลด ส่วนประกอบของกราฟได้ โดยไปที่เมนู Ribbon แต่ละอัน เช่น Chart Title, Axis Title, Legend, Data Label แล้วเลือก option จาก Drop down เป็นต้น
    chart5

เป็นอย่างไรคะกับพื้นฐานการทำกราฟ การปรับแต่งกราฟไม่ได้จบแค่นี้ เดี๋ยวเราจะมาเจาะลึกลงรายละเอียดมากกว่านี้ เรื่องการผสมกราฟ 2 แบบในกราฟเดียวกัน ติดตามหัวข้อต่อไปได้เลยค่ะ




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2559
0 comments
Last Update : 16 มกราคม 2560 12:45:49 น.
Counter : 2275 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 2436574
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2436574's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.