Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
19 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
หัวใจแห่งโยคะ ... 3




หัวใจ แห่งโยคะ : ค้นหาท่วงท่าและมรรคาเฉพาะตัว
ผู้เขียน ที.เค.วี. เทสิกาจารย์
ผู้แปล ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์


เล่มนี้วางแผงมานานมากแล้ว ซื้อมาอ่านไปรอบแรก คราวนั้นเมื่อฝึกฝนโยคะใหม่ใหม่, หนนี้นำมาอ่านอีกรอบ ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้อะไรได้มากขึ้น ชัดเจนขึ้น กระนั้นก็ยังเหลืออีกมากมายที่ต้องศึกษา... คัดลอกส่วนที่โดนโดนมาเก็บไว้ อาจไม่ใช่เนื้อหาสำคัญหรือใช่ อันนี้ไม่ทราบ แต่ว่ามันโดนใจและคิดว่าสำคัญ...อย่างน้อยสำหรับผมเอง พอได้กลับมาอ่าน มาทวน หวังว่าเวลาจะไม่เสียเปล่า คงเก็บอะไรได้เพิ่มขึ้น...




บทที่ 4 การออกแบบการฝึกโยคะอย่างระมัดระวัง

เราควรพยายามทำให้การฝึกอาสนะของเรามีคุณสมบัติของความนุ่มนวลและมั่งคง และให้แน่ใจอยู่เสมอว่าในการพัฒนาคุณสมบัติทั้งสองนี้ เราใช้ความพยายามน้อยลงเรื่อยๆ




การหายใจ

เราใช้การกลั้นหายใจในการฝึกอาสนะเพื่อเน้นผลของอาสนะ,
การกลั้นหายใจหลังจากหายใจออก จะช่วยเน้นผลของอาสนะที่มีต่อบริเวณช่องท้อง ในทางกลับกัน การกลั้นหายใจหลังจากหายใจเข้าในอาสนะบางท่า จะช่วยเน้นผลในบริเวณทรวงอก

กฎที่สำคัญมากข้อหนึ่งที่ควรปฏิบัติตามก็คือ ถ้าการกลั้นหายใจทำให้การหายใจเข้าหรือออกครั้งต่อไปของคุณสั้นลง ให้หยุด แสดงว่าคุณยังไม่พร้อมสำหรับการฝึกนี้ และควรค่อยๆ ฝึกไปทีละน้อย




การพัก

มีกฎข้อหนึ่งที่ควรปฏิบัติตามเกี่ยวกับการพักคือ ถ้าเราจำเป็นต้องพัก เราก็ควรจะพัก




บทที่ 5 การดัดแปลงอาสนะ

เคารพในอาสนะดั่งเดิม

เราต้องเข้าใจว่าเบื้องหลังท่าโยคะทุกท่ามีหลักการบางอย่างอยู่ ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจหลักการนี้ เราจะไม่สามารถทำอาสนะหรือดัดแปลงอาสนะได้อย่างเหมาะสม ครูที่มีความเคารพในอาสนะแบบดั่งเดิมจะช่วยให้เราตระหนักถึงหลักการของอาสนะได้

อาสนะนี้มีความหมายว่าอย่างไร? จุดมุ่งหมายของอาสนะท่านี้คืออะไร? เราต้องใช้ร่างกายส่วนไหนในการทำท่านี้?
เราจะสามารถดัดแปลงอาสนะได้ก็ต่อเมื่อ เราเข้าใจหลักการที่อยู่เบื้องหลังอาสนะนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น ปัศจิมตานาสนะ หรือท่านั่งก้มตัว เป็นท่าที่เรานั่งเหยียดขาไปข้างหน้าและใช้มือจับที่เท้าและก้มตัวให้ศีรษะจรดหน้าแข้ง คำว่า ปัศจิมตานาสนะ แปลว่า “การยืดของทิศตะวันตก” เนื่องจากในอินเดียตามประเพณีดั้งเดิม เวลาเราสวดมนต์หรือฝึกอาสนะ เราจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ตำแหน่งนี้ หลังของเราจะหันไปทางทิศตะวันตก เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของท่านี้คือ การทำให้การเคลื่อนไหวของลมหายใจไปที่หลัง
อุษฏตราสนะ หรือท่าอูฐ เป็นท่าแอ่นหลังจากท่าคุกเข่า โดยวางฝ่ามือบนฝ่าเท้า ยกต้นขาให้ตั้งฉากกับพื้นในขณะคุกเข่า ในขณะที่หน้าอกขยายและเปิดออกในการหายใจเข้า ท่านี้ทำให้เรารู้สึกถึงลมหายใจที่เคลื่อนลงมาตลอดร่างกายส่วนหน้า

“การรู้สึกถึงลมหายใจ” หมายถึง ความรู้สึกของพลังงานหรือปราณที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย
หลักการที่อยู่เบื้องหลังอาสนะดั่งเดิมแต่ละท่านั้น มีความหมายเฉพาะต่อการไหลเวียนของปราณในร่างกาย
ครูที่เข้าใจอาสนะจากจุดยืนของความรู้สึกของร่างกายทั้งหมดและการเคลื่อนไหวของปราณจะสามารถประยุกต์อาสนะดั้งเดิมให้เหมาะกับความจำเป็นของนักเรียนแต่ละคนได้

ลมหายใจเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราใช้ดัดแปลงอาสนะ
ร่างกายมีความยืดหยุ่นตามธรรมชาติซึ่งจะถูกเสริมเพิ่มขึ้นเมื่อเราหายใจในขณะฝึกอาสนะ

เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว ลมหายใจก็เคลื่อนไหวไปด้วย และเมื่อลมหายใจหยุดนิ่ง ร่างกายก็หยุดนิ่ง ดังนั้น ลมหายใจและร่างกายจะกลายเป็นการเคลื่อนไหวหนึ่งเดียว เป็นกระบวนการหนึ่งเดียว และนี่คือโยคะที่มีพลังมาก




บทที่ 6 ปราณายามะ

ในการฝึกปราณายามะ เราจะต้องหาท่านั่งที่เราสามารถอยู่ในท่านั้นได้เป็นเวลานานๆ
สิ่งสำคัญสำหรับท่าในการฝึกปราณายามะคือกระดูกสันหลังจะต้องตรงเสมอ เนื่องจากในปราณายามะนั้นเราจะเกี่ยวข้องกับการหายใจเป็นหลัก ดังนั้นการนั่งฝึกปราณายามะ ร่างกายจะต้องไม่ไปรบกวนการหายใจ

ในการฝึกอาสนะ เราให้ความสนใจกับร่างกายเป็นอันดับแรกและมากที่สุด ในขณะที่เราใช้ลมหายใจในการฝึกอาสนะของเรา
แต่ในการฝึกปราณายามะ เราต้องประยุกต์ท่วงท่าที่ทำให้เราสนใจกับร่างกายน้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข้อเรียกร้องอย่างเดียวที่มีต่อร่างกายในระหว่างการฝึกปราณายามะก็คือ เราควรรู้สึกสบายและให้หลังตรงอยู่เสมอ



ถาม : ฉันพบว่าการนับในขณะที่กลั้นหายใจเป็นเรื่องยาก

ตอบ : นี่เป็นกรณีที่น่าสนใจ
จริงๆ การกลั้นหายใจเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาที่น่าจะเป็นไปได้ที่จะทำอะไรอย่างเช่น การนับ ถึงกับมีคำกล่าวว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการบริกรรมมนตรานั้น ไม่ใช่ขณะที่หายใจเข้าหรือหายใจออก แต่ในขณะที่คุณกำลังกลั้นหายใจ บางมนตรานั้นยาวมาก แต่เราก็ยังสามารถบริกรรมมนตราเหล่านี้ในขณะที่กลั้นหายใจได้ เพราะเราไม่ต้องจดจ่อกับการหายใจ


ถาม : เราควรฝึกปราณายามะจนไม่ต้องนับลมหายใจหรือสัดส่วนระหว่างการหายใจแต่ละระยะหรือไม่?

ตอบ : ใช่ ปราณายามะคืออะไร หากไม่ใช่การอยู่กับลมหายใจ แต่มันก็เป็นสิ่งที่ยากมาก ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการหลายอย่าง
ปรกติแล้วร่างกายของเราจะมีจังหวะของมันเองและเราไม่ได้มีสติกับลมหายใจของเรา
ในขณะที่เรานับลมหายใจ เราจะจดจ่ออยู่กับการหายใจ
แต่เมื่อเราจดจ่อกับปราณยามะอย่างแท้จริง ใครจะมาสนใจกับตัวเลขล่ะ การนับลมหายใจ และวิธีหายใจต่างๆ สัดส่วนของการหายใจ รวมทั้งเทคนิคต่างๆ นั้นเป็นเพียงวิธีการไม่ใช่เป้าหมาย เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การใช้เทคนิคใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเราสามารถอยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆ เฝ้าสังเกตการณ์หายใจด้วยความตื่นตัว นั่นคือเรากำลังฝึกปราณายามะขั้นสูงสุด แต่นั่นเป็นสิ่งที่พูดง่ายกว่าทำ


ถาม : เราจะผ่อนคลายกระบังลมระหว่างการกลั้นหายใจหลังจากหายใจเข้า หรือหลังการหายใจออกได้หรือไม่?

ตอบ : ถ้าคุณหายใจเข้าอย่างถูกต้อง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องผ่อนคลายกระบังลม
แต่ถ้าคุณยกหน้าอกมากเกินไปในขณะที่หายใจเข้า ปอดจะถูกขยายเกินขีดจำกัดตามธรรมชาติของมัน ซึ่งจะทำให้กระบังลมถูกดึงเข้าและยกขึ้น
คุณจะรู้ว่ามันเกิดขึ้น ถ้าคุณรู้สึกว่ามีการเกร็งในลำคอหลังจากหายใจเข้า
ถ้าเป็นอย่างนี้คุณจะต้องผ่อนคลายกระบังลมอย่างตั้งใจ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณยุบท้องมากเกินไปในขณะที่หายใจออก อากาศจะถูกไล่ออกเร็วเกินไปและคุณจะไม่สามารถควบคุมมันได้ดีนัก
ในทำนองเดียวกันเราจะไม่สามารถควบคุมอากาศที่เข้าไปจากการหายใจเข้าได้ถ้าท้องยังหดตัวอยู่หลังการหายใจออก
ไม่ว่าเราจะหายใจออกเต็มที่ขนาดไหนก็ตาม ถ้าคุณได้ยินหรือรู้สึกถึงเสียงที่สะดุดเมื่อคุณเริ่มหายใจเข้า นี่เป็นสัญญาณะเตือนที่ชัดเจนว่าคุณหดท้องมากเกินไป คุณจะรู้สึกถึงอาการเหล่านี้ได้ในลำคอ



บทที่ 7 พันธะ

คำว่า “พันธะ” หมายถึง “ประสานหรือผูกเข้าด้วยกันหรือใกล้ชิดกัน”
เมื่อนำมาใช้ในโยคะ คำว่า พันธะ ยังหมายถึง “การปิด” อีกด้วย
เวลาที่เราฝึกพันธะเราปิดพื้นที่บางส่วนของลำตัวด้วยวิธีการบางอย่าง

พันธะที่สำคัญที่สุด 3 อย่างได้แก่ ชาลันธรพันธะ อุฑฑียานพันธะ และ มูลพันธะ


ชาลันธรพันธะ ใช้คอและกระดูกสันหลังส่วนบนและทำให้กระดูกสันหลังทั้งหมดเหยียดตรง


เวลาเริ่มฝึกชาลันธรพันธะ ให้เรายกกระดูกสันหลังให้ตรง จากนั้นรั้งศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย ยืดคอให้ตรงและก้มคางลง ตราบใดที่คางยังก้มลงและหลังตรง เราก็อยู่ในชาลันธรพันธะ พันธะนี่สามารถฝึกได้ในอาสนะหลายอาสนะแม้จะไม่ใช่ทุกอาสนะ

อุฑฑียานพันธะ มุ่งไปที่บริเวณระหว่างกระบังลมและฐานของกระดูกเชิงกราน


ในพันธะแบบนี้ กระบังลมและท้องส่วนล่างจะถูกยกขึ้น ในขณะที่เริ่มหายใจออก ให้หดท้องเข้ามา เมื่อหายใจออกจนสุดแล้วท้องควรหดเข้าไปเต็มที่ จากนั้นแขม่วท้องขึ้นและหดเข้าไปหากระดูกสันหลัง การหดท้องในลักษณะนี้จะทำให้กระบังลมยกขึ้น
เมื่อฝึกพันธะนี้จนชำนาญแล้ว สะดือจะเคลื่อนเข้าหากระดูกสันหลัง ทวารหนักและกล้ามเนื้อหลังจะหดตัว เวลาที่ฝึกพันธะนี้อย่างสมบูรณ์บริเวณท้องทั้งหมดจะกลวง
สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การหดและคลายท้องจะต้องทำอย่างช้าๆ ถ้าท้องไม่ผ่อนคลายเต็มที่จริงๆ หลังทำอุฑฑียานพันธะ การหายใจเข้าครั้งต่อไปจะถูกจำกัดและคุณจะเกิดอาการสำลัก

ส่วนมูลพันธะ ใช้บริเวณระหว่างสะดือและฐานของกระดูกเชิงกราน


เป็นการฝึกต่อเนื่องจากอุฑฑียานพันธะ โดยผ่อนคลายท้องส่วนบนและกระบังลม แต่ท้องส่วนล่างยังหดอยู่
พูดอีกอย่างคือ บริเวณใต้สะดือยังคงหดอยู่ ในขณะที่บริเวณเหนือสะดือผ่อนคลาย
เราเคลื่อนจากอุฑฑียานพันธะไปสู่มูลพันธะ โดยการกลั้นหายใจหลังหายใจออกในขณะที่ฝึกพันธะทั้งสองแบบ และเราสามารถค้างอยูในมูลพันธะระหว่างการหายใจเข้าครั้งต่อไปได้



บทที่ 8 สิ่งที่ทำให้จิตใจมืดมัว

การที่โยคะมีต้นกำเนิดในอินเดียไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็นฮินดูจึงจะฝึกโยคะได้ ในทางกลับกันโยคะไม่ได้แม้แต่จะคาดหวังว่าคนฮินดูจะต้องฝึกโยคะ

โยคะไม่ต้องการระบบความเชื่อใดๆ โดยเฉพาะ และถึงแม้ว่าเราจะมีความเชื่อใดอยู่แล้ว โยคะจะไม่ไปขัดขวางความเชื่อนั้น ทุกๆ คนสามารถเริ่มต้นได้ และจุดที่เราเริ่มต้นนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลอย่างยิ่ง ขึ้นกับว่าเราอยู่ตรงไหนในช่วงเวลาหนึ่งๆ



ขอบคุณโยคาจารย์และผู้แปล, (รูปประกอบจากโลกออนไลน์)
...รัก ชอบ ไปหาเล่มเต็มมาอ่านครับ ค่อยค่อยเก็บเกี่ยวไป เราจะรู้เพิ่มขึ้นเรื่่อยเรื่อย ที่เลือกมาก็เป็นส่วนน้อยที่ตื้นเขินอยู่มาก...มีอะไรอีกมากเกินกว่าสติปัญญาอันน้อยของผมจะเข้าใจได้ในขณะนี้...
คงเป็นเรื่องของวันข้างหน้า ที่จะหันกลับมาทบทวน เรียนรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้...และทุกเล่้มของศาสตร์แห่งโยคะ




Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2553 8:26:51 น. 3 comments
Counter : 1755 Pageviews.

 
ขอบคุณท่ะ สำหรับการแบ่งปัน


โดย: รสา IP: 110.77.155.242 วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:22:29:41 น.  

 
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน และขออนุญาตนำขัอมูลไปใช้ในการประกอบการฝึกการสอนค่ะ
ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ


โดย: Noomphanthai IP: 192.168.50.88, 182.52.81.101 วันที่: 27 กันยายน 2553 เวลา:16:38:07 น.  

 
ดีจัง


โดย: Noo IP: 124.122.1.75 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:38:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mining 74
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




แม้โลกเสมือน ทว่า...ใจนั้นอาจจริง
มาร่วมรินน้ำใจ ใส่จอกแห่งมิตรภาพ
และร่วมวงสนทนากันเถิด...มาเถอะ
ลิงจอม ทะเล้น
หัวหอม จอมซ่า
กระต่ายจอม กวน
X
X
X

Moon Days   (Open)

(no practice / rest days)

June 12
NEW (sat)

June 26
FULL (sat)

July 11
NEW (sun)

July 26
FULL (mon)

Friends' blogs
[Add Mining 74's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.