THIS IS MY WORLD
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2557
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 
พ่อกับผมและบางสิ่งที่หายไปในสงคราม...สงครามที่ไม่มีฝ่ายใดชนะ


“สงครามไม่มีวันจบหรอก...มันจะมีไปเรื่อยๆชั่วนิรันดร์” (หน้า 52)


จอห์น บอยน์ เขียน
พรพยงค์ นำธวัช แปล
สำนักพิมพ์ แพรวเยาวชน


หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านทีไรไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันว่าทำไมต้องเป็นหนังสือเกี่ยวกับสงครามเกือบทุกทีและหนังสือเล่มล่าสุดของนักเขียนคนโปรด จอห์น บอยน์ (John Boyne) ผู้เคยฝากความประทับใจนักอ่านหลายคนมาแล้ว จากเด็กชายในชุดนอนลายทาง (The Boy in the Striped Pajamas) และกาลครั้งหนึ่งของโนอาห์ บาร์ลีย์วอเตอร์ (Noah Barleywater Runs Away


ครั้งนี้บอยน์กลับมาพร้อมกับหนังสือเล่มใหม่ที่ยังคงมีเสน่ห์เหมือนเดิม “พ่อกับผมและบางสิ่งที่หายไปในสงคราม (Stay where you are and then leave


ถ้าใครเคยอ่าน เด็กชายในชุดนอนลายทางหรือดูภาพยนตร์มาแล้ว จะทราบว่า หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 โดยมีเด็กชายบรูโน ลูกชายของหัวหน้าทหารฝ่ายนาซี ที่มีเพื่อนเป็นเด็กชายชาวยิวที่โดนจับมาขังในค่ายกักกันมิตรภาพของเด็กทั้งสองคนงอกงามภายใต้รั้วไฟฟ้าและการเข่นฆ่าของมนุษย์ด้วยกันเอง 


และ พ่อกับผมและบางสิ่งที่หายไปในสงคราม (Stay where you are and then leave) เป็นเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่1  ครั้งนี้ บอยน์เขียนเรื่องราวในมุมมองของเด็กชายชาวอังกฤษ
นามว่า“แอลฟี ซัมเมอร์ฟีลด์” ที่ต้องสูญเสียช่วงเวลาเด็กของตนเองและพ่อให้กับสงคราม


“ทุกค่ำคืน ก่อนที่เขาจะหลับใหล แอลฟีซัมเมอร์ฟีลด์พยายามนึกว่าชีวิตเคยเป็นเช่นไรก่อนเกิดสงครามแล้วเมื่อแต่ละวันผ่านพ้นไป มันก็ยิ่งยากขึ้นและยากขึ้นที่จะเก็บความทรงจำให้ยังคงชัดเจน”(หน้า1)


พ่อของแอลฟีเป็นคนส่งนมภายในหมู่บ้านแล้วเมื่อสงครามปะทุขึ้น เขาก็เป็นคนแรกๆ ที่อาสาสมัครไปเป็นทหาร แม้ว่าคนในครอบครัวจะคัดค้านแต่พ่อของแอลฟีมีความเห็นว่า นี่คือหน้าที่หน้าที่ที่ลูกผู้ชายทุกคนจะต้องสู้เพื่อราชินีพ่อบอกกับแอลฟีว่าสงครามจะจบลงก่อนคริสต์มาส และพ่อจะรีบกลับมาหาเด็กชายในเร็วๆนี้


“พวกเขาบอกว่ามันจะจบลงก่อนศริสต์มาสแต่คริสต์มาสผ่านมาและผ่านไปสี่ครั้งแล้ว ครั้งที่ห้ากำลังจะมาถึงแต่สงครามยังไม่มีวี่แววจะยุติ”(หน้า 32)


เมื่อหัวหน้าครอบครัวไม่อยู่แม่ของแอลฟีจึงต้องไปสมัครเป็นพยาบาลเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว จนแม่แทบไม่มีเวลาให้แอลฟีเหมือนเมื่อก่อนเด็กชายที่มีอายุเพียงห้าขวบจึงต้องดูแลตัวเอง แม้ในความรู้สึกลึกๆแอลฟีไม่ได้ต้องการแบบนั้นก็ตาม


“สิ่งหนึ่งที่แอลฟีสังเกตเห็นว่าแม่เปลี่ยนไปในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาคือเธอเกรี้ยวกราดขึ้น ไม่เล่นกับเขาอีกต่อไป ---เพราะมักอ่อนเพลียเกินกว่าจะทำได้เธอไม่อ่านหนังสือให้เขาฟังก่อนนอน...” (หน้า33)


ตลอดเวลาสี่ปีที่พ่อหายไปนั้น แรกๆพ่อยังส่งจดหมายกลับมาบ้าง แต่สองสามปีที่ผ่านมา แอลฟีไม่เคยเห็นว่ามีจดหมายมาถึงเด็กชายจึงมักจะใช้เวลาในช่วงเช้าเพื่อตรวจดูรายชื่อของพ่อในหน้าหนังสือพิมพ์


“แอลฟีทำสิ่งที่ทำเสมอในตอนเช้าคือพลิกหนังสือพิมพ์ไปหน้าสี่เพื่ออ่านหมายเลขต่างๆ หมายเลขผู้เสียชีวิตฝ่ายเราหมายเลขผู้เสียชีวิตฝ่ายตรงข้ามหมายเลขผู้บาดเจ็บ...
มีเพียงหมายเลขเดียวที่แอลฟีสนใจจริงๆ 14278 หมายเลขของพ่อ” (หน้า42)


และเมื่อเด็กชายเห็นแม่ต้องลำบากทำงานเป็นพยาบาลและรับจ้างเย็บผ้าเล็กๆน้อยๆ เด็กชายจึงแอบออกไปทำงานรับจ้างขัดรองเท้าที่สถานีรถไฟคิงครอสโดยแอบไม่ให้ใครรู้


“แอลฟีขโมยกล่องขัดรองเท้าของมิสเตอร์ยานาเช็คมาด้วยเหตุผลประการเดียวเพื่อจะได้ออกไปทำงานเหมือนที่
เลนาร์ด ฮอปกินส์ทำและช่วยแบ่งเบาภาระแม่แม่ทำในส่วนของเธอ ได้เวลาแล้วที่เขาจะทำหน้าที่ในส่วนของเขาบ้าง” (หน้า55)


และการออกไปรับจ้างขัดรองเท้านี่เองที่ทำให้แอลฟีได้ค้นพบความจริงบางอย่างความจริงเกี่ยวกับพ่อที่จู่ๆ ก็ไม่เคยส่งจดหมายกลับมาอีกและแอลฟีก็รู้ว่าเขาจะต้องช่วยพ่อให้กลับมาที่บ้านเพื่อให้บ้านกลับมาเป็นบ้านอีกครั้งให้ได้


พ่อกับผมและบางสิ่งที่หายไปในสงคราม (Stay where you are and then leaveยังคงเป็นหนังสือที่มีเสน่ห์การเขียนในแบบของจอห์น บอยน์ที่สามารถเขียนตัวละครเด็กได้เป็นเด็กจริงๆไม่ยัดเยียดใส่ความเป็นผู้ใหญ่ลงไปในตัวละครของแอลฟี เด็กชายใสซื่อแต่ก็มีความรับผิดชอบเพราะพ่อฝากฝังให้เด็กชายเป็นหัวหน้าครอบครัวคอยดูแลแม่แต่เด็กห้าขวบก็คือเด็กห้าขวบที่ยังมีความกลัวในบางครั้ง


ส่วนตัวแล้วหนังสือเรื่องนี้ไม่ได้จบแบบหดหู่เหมือนกับ เด็กชายในชุดนอนลายทาง (The Boy in the Striped Pajamas) แต่หนังสือก็สามารถบอกได้ว่าเมื่อเกิดสงคราม ถึงจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะแต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าพวกเขาจะไม่ต้องสูญเสียอะไรเลย 


แอลฟีสูญเสียชีวิตในวัยเด็กต้องรับผิดชอบเรื่องต่างๆ ด้วยตัวเองตั้งแต่ห้าขวบฝ่ายพ่อที่ออกไปรบก็ต้องเจอกับสงครามและความตาย จนเกิดเรื่องราวบางอย่างในตอนท้าย เราทุกคนต่างสูญเสียด้วยกันทั้งนั้นไม่มีใครเป็นผู้ชนะจริงๆ ในสมรภูมินี้ได้เลย


“เขาไม่อาจบอกเหตุผลพ่อได้ ยังบอกไม่ได้...มิสเตอร์ยานาเช็คเคยบอกเขาเมื่อนานมาแล้ว 
เขาทำไปเพื่อเหตุผลที่ดีที่สุดในโลก เพื่อความรัก” (หน้า 217)






Create Date : 28 สิงหาคม 2557
Last Update : 15 มิถุนายน 2558 10:58:43 น. 10 comments
Counter : 6071 Pageviews.

 
เราไม่ได้อ่านเด็กชายในชุดนอนลายทาง(เพราะหาซื้อไม่ได้ตอนนั้น) แต่ได้ดูหนังค่ะ หนังจบได้แบบว่า (ช็อค) แต่ก็สะเทือนใจดี ส่วนเล่มนี้ก็อยากอ่านเหมือนกันค่ะ


โดย: hiroko วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:20:19:00 น.  

 
อยากอ่านทั้งเด็กชายในชุดนอนลายทาง และเรื่องนี้เลยค่ะ เล็งๆไว้แล้ว


โดย: polyj IP: 171.5.91.24 วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:20:32:28 น.  

 
เล่มนี้น่าอ่านเชียวค่ะ
ปกน่าสนใจด้วย

ขอบคุณสำหรับรีวิวค่า



โดย: lovereason วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:21:53:07 น.  

 
พี่ก๋าห่างเหินกับหนังสือเยาวชนไปนานมากครับ
เล่มนี้น่าสนใจเชียวครับน้องพระจันทร์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 สิงหาคม 2557 เวลา:15:07:00 น.  

 
ใช่..
สงครามไม่มีวันเลิกหรอก
เป็นแล้วเป็นนาน..
แย่จัง


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 29 สิงหาคม 2557 เวลา:21:59:17 น.  

 
น่าอ่านมากเลย


โดย: แฟนlinKinPark วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:0:20:16 น.  

 
เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากๆ ค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:16:28:21 น.  

 
น่าอ่านมากค่ะ ...เด็กชายในชุดนอนลายทาง ก็เช่นกัน


โดย: kunaom วันที่: 31 สิงหาคม 2557 เวลา:0:07:08 น.  

 
เรื่องนี้เป็นเรื่องราวในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนะคะ ไม่ใช่ครั้งที่สอง
ในหน้าแรก สงครามเริ่มปีคศ1914ค่ะ ยังเป็นสงครามโลกครั้งที่1อยู่เลย


โดย: Charlotte (สมาชิกหมายเลข 2380580 ) วันที่: 10 มิถุนายน 2558 เวลา:0:28:35 น.  

 
คุณ Charlotte....ขอบคุณที่ท้วงติงค่ะ แก้ไขแล้วค่ะ


โดย: เจ้าแห่งน้ำคือพระจันทร์ วันที่: 15 มิถุนายน 2558 เวลา:10:59:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรายตะวันจันทร์ส่อง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




Instagram
New Comments
Friends' blogs
[Add พรายตะวันจันทร์ส่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.