Day 3 : พิพิธภัณฑ์กิมจิ, พิพิธภัณฑ์สงครามเกาหลี, เนื้อย่างต้นตำรับร้าน Wang Bi Jib
Seoul, South Korea


5 March 2016



เดินออกจากที่พัก ผ่าน Seoul City Hall





วันนี้จะไป Museum Kimchikan

ขึ้น Subway ไปลงสถานี Jonggak ออกทางออก 3-1

เดินไปตามถนน Insadong-Gil ตอนแรกหลงทางหาไม่เจอ ใน Google map ชี้ไปในซอกซอย แต่เดินไปเรื่อยๆก็เจอจนได้

พบว่ามันอยู่ริมถนนใหญ่นั่นแหละ เดินเข้าไปตรงตัวตึก กดลิฟต์ขึ้นไปชั้น 4

ในที่สุดก็ถึง Museum Kimchikan

เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่แสดงเกี่ยวกับทุกอย่างของกิมจิ ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ชนิดของกิมจิ และอื่นๆ รวมถึงมี workshop ทำกิมจิด้วย

ติดอันดับ 11 World Top Food Museum โดย CNN

ค่าเข้า 5000 วอน มี audioguide ให้ฟรี แต่ถ้าจะทำ workshop มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ต้องจองล่วงหน้า และเปิดเมื่อมีคนอย่างน้อย 5 คน







เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 และได้ปิดซ่อมแซมและย้ายที่มาที่ Insadong-gil ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 2015

ตัวพิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด 3 ชั้น (ชั้น 4-6) ชั้น 4-5 เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับกิมจิ ส่วนชั้น 6 เป็น workshop

หลังซื้อตั๋วเสร็จ เข้ามาห้องแรกก็จะมีเกมทำกิมจิให้เล่น มีแบบกิมจิสีส้มกับสีขาว ส่วน audioguide ก็จะเล่าให้ฟังถึงประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้











ไหกิมจิ และฝาปิดไหเรียงกัน เสมือนมองจากข้างบน





ห้องนี้ก็จะมีให้กล้องให้ถ่ายวีดิโอเซลฟี่ตัวเอง แล้วพูดคำว่ากิมจิ แล้วก็จะมีภาพตัวเองไปโผล่ที่ผนังห้อง





ห้อง Lab มีจอที่อธิบายเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกิมจิ เช่นการหมัก เกิดจากการผักใส่เครื่องเทศต่างๆ ทำให้มีแบคทีเรียที่ผลิต Lactic Acid เจริญเติบโต เข้ามาแทนที่แบคทีเรียที่ก่อโรค ความแตกต่างระหว่างการหมักกับการเน่าเสีย ประโยชน์ของการรับประทานกิมจิ ฯลฯ





ภาพแบคทีเรียจากกล้องจุลทรรศน์





บันไดขึ้นไปชั้น 5 ระหว่างเดินบนขั้นบันไดก็มีเสียงคนเคี้ยวกิมจิ กร้วมๆ





Timeline ประวัติศาสตร์ของกิมจิ





วีดิโอสารคดีการหมักกิมจิ ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นภาษาเกาหลีหมดเลย





ระหว่างเดินชมพิพิธภัณฑ์ แบตของ audioguide ก็หมด เลยเอาไปเปลี่ยน เข้ามาใหม่ ได้แปบเดียวก็หมดเพราะว่ามิวเซียมเล็กมาก ชั้นบนสุด (ชั้น 6) จะเข้าไปได้ก็ต้องจองล่วงหน้า+เสียเงินเพิ่มอีก

เลยออกมา เพื่อเดินทางไปที่ต่อไปคือ

The War Memorial of Korea

ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับสงครามของเกาหลี

ขึ้น Subway ไปลงสถานี Samgakji ออกทางออก 12





ระหว่างทางก็มีการจัดแสดง และก็มีหมีพูด้วย






ขึ้นมาจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เดินไปอีกนิดเดียวก็ถึง







Museum กว้างใหญ่ไพศาลมาก





ระหว่างถ่ายรูปอยู่ฝนก็ตกลงมา

หน้าพิพิธภัณฑ์มีธงของชาติต่างๆที่เข้าช่วยเกาหลีใต้รบในสงครามเกาหลี หนึ่งในนั้นมีประเทศไทยด้วย





ประเทศไทยส่งทหารเข้าช่วยในสงครามตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 ถึง ค.ศ.1972 โดยมีทหารไทยเข้าร่วมรบจำนวน นาย 6,326 นาย บาดเจ็บ 1,139 นาย เสียชีวิต 136 นาย

จึงเป็นเหตุผลที่คนไทยเข้าเกาหลีใต้ไม่ต้องใช้วีซ่า







ฝนเริ่มตกหนักแล้ว จึงรีบเดินเข้าไปในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์

ค่าเข้าฟรี มีหนังสือเกี่ยวกับสงครามเกาหลีแจกด้วย มีให้เลือกภาษาอังกฤษ กับ ภาษาเกาหลี และก็มีโบร์ชัวร์แจก เข้าไปหยิบกันเลย






เริ่มเข้าชมตั้งแต่ห้องแรก สงครามระหว่างเกาหลีใต้ กับ เกาหลีเหนือ

กำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ของแต่ละฝ่าย

ซึ่งเกาหลีใต้เทียบไม่ได้เลยกับเกาหลีเหนือ





ผู้นำเกาหลีเหนือขณะนั้นคือ Kim Il-sung ได้เข้าพบ Joseph Stalin เพื่อหารือเกี่ยวกับการโจมตีเกาหลีใต้

ซึ่งสตาลินก็เห็นชอบแต่มีข้อแม้ว่าจีนต้องส่งกำลังหนุนและคอยช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์

เกาหลีเหนือจึงเปิดฉากโฉมตีเกาหลีใต้ และบุกยึดกรุงโซลได้ภายใน 3 วัน

จากภาพ ผู้นำคอมมิวนิสต์ทั้ง 3 คน จีน-โซเวียต-เกาหลีเหนือ

เหมาเจ๋อตุง คิมอิลซุง และโจเซฟ สตาลิน ตามลำดับ







ปืนเกาหลีใต้ (ก็มาจากอเมริกาน่ะแหล่ะ)





ปืนเกาหลีเหนือ (ก็มาจากโซเวียตน่ะแหละ)





เครื่องบินทิ้งระเบิด ทิ้งกันแบบนี้เลยรึ







แนวรบบริเวณเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ





เกาหลีใต้ถูกไล่ต้อนจนจนมุม เหลือดินแดนที่บริเวณเมืองปูซานนิดเดียว





ในที่สุดพระเอกก็มาช่วย นั่นก็คือ อเมริกาและสหประชาชาตินั่นเอง





ผู้นำฝ่ายประชาธิปไตย

ซ้ายสุด - นายพล Douglas MacArthur เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของแนวรบฝั่งตะวันออกไกล (Far East)
กลาง - ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ Syngman Rhee
ขวาสุด - John J.Muccio เป็นเอกอัครราชทูตของอเมริกาประจำเกาหลีใต้

โดยนายพล Douglas MacArthur ได้วางแผนโดยการยกพลขึ้นบกที่อินชอน เพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจแนวรบบริเวณปูซาน





สุดท้ายเกาหลีใต้ก็พลิกสถานการณ์กลับมาเอาชนะเกาหลีเหนือได้ จนเกาหลีใต้สามารถเข้าครอบครองคาบสมุทรเกาหลีได้เกือบทั้งหมด

แต่มันยังไม่จบแค่นั้น

ถ้าเกาหลีใต้เข้ายึดเกาหลีเหนือได้ทั้งหมด ทำให้ชายแดนจีนจะอยู่ติดกับเกาหลี(ของเกาหลีใต้) การที่มีเกาหลีใต้อยู่ใกล้ๆก็เหมือนมีอเมริกามาอยู่ใกล้ๆคอยประชิดคอหอย

เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม จีนจึงส่งกองทัพมาช่วยเหลือ หลังจากที่จีนเข้ามา สงครามก็กลายเป็นไม่มีใครแพ้ใครชนะชัดเจน

สองเกาหลีจึงทำสนธิสัญญาหยุดยิง ในปี ค.ศ.1953 และแบ่งสองเกาหลีเป็นเหนือใต้ที่แถวๆเส้นละติจูด 38 องศาเหนือเหมือนเดิม

------------------

เอาล่ะ เปลี่ยนบรรยากาศมาดูอย่างอื่น เรื่องจิปาถะเกี่ยวกับสงครามบ้าง

เครื่องมือทางการแพทย์





รั้วกั้นระหว่างสองเกาหลี





กระสุนแบบต่างๆ





การสู้รบในอนาคต





ภายในเรือรบ






รายละเอียดของชาติต่างๆที่เข้าช่วยเกาหลีใต้สู้รบในสงครามเกาหลี







เข้าสู่ประวัติศาสตร์สงครามในอดีต ยุคโบราณก่อนสงครามเกาหลี






Hwacha หรือเครื่องยิงจรวดธนู





ป้อมฮวาซอง Hwaseong Fortress







ชุดทหารประจำชาติต่างๆ

Red Coat ของอังกฤษ





ทหารฝรั่งเศส





ทหารเกาหลี





ปิดท้ายด้วยภาพสมรภูมิรบ





------------------

หิวแล้ว มากินเนื้อย่างกันดีกว่า

วันนี้จะพาไปกินเนื้อย่างเกาหลีร้านต้นตำรับ ชื่อร้าน Wang Bi Jib (왕비집) ขึ้นชื่อว่าเป็นร้านเนื้อย่างที่ดีที่สุดในโซล

ร้านนี้ตั้งอยู่ย่านเมียงดงที่คนไทยคุ้นเคยกันดี

ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินมาลงสถานี Myeongdong เดินออกมาทางออก 8

เข้าซอยมา เลี้ยวขวาที่แยกแรก ก็จะเจอร้านดังรูป

ชั้น 1 หน้าร้านจะเป็นร้านขายเครื่องสำอาง Beautiplex

ตัวร้านเนื้อย่างอยู่ชั้นสอง เดินขึ้นบันไดที่อยู่ทางด้านซ้าย





เอาล่ะ ได้เวลาสั่งแล้ว สั่งเป็นเซ็ตสำหรับ 2 คน

ก่อนอื่นเครื่องเคียงมาเสิร์ฟก่อน ตามสไตล์เกาหลีดั้งเดิม ผักนานาชนิด กิมจิ ถั่วงอก ฯลฯ





เนื้อมาแล้ว





ร้านนี้ พนักงานมาย่างให้ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆให้ เรามีหน้าที่กินกับจ่ายตังอย่างเดียว







สุดท้ายมีบะหมี่มาให้ 2 ชาม เป็นบะหมี่น้ำซุปสีส้ม กับบะหมี่น้ำซุปใส อย่างละ 1





สรุปค่าเสียหายตกอยู่ที่ประมาณ 90,000+ วอน (สองคนรวมกัน)

จบสำหรับการท่องเที่ยวโซลวันที่สาม

พรุ่งนี้จะพาออกไปนอกกรุงโซลที่เมืองซูวอน เพื่อไปเที่ยวป้อมฮวาซอง



Create Date : 11 มีนาคม 2559
Last Update : 11 มีนาคม 2559 17:18:43 น.
Counter : 2042 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Mickeytae
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]



มีนาคม 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31