<<
กุมภาพันธ์ 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
13 กุมภาพันธ์ 2551
 

ภาพยนต์[2.1]

ภาพยนตร์
Motion Picture

ภาพยนตร์ เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่ง ตรงกับคำว่า Motion Picture หรือ Cinema หรือ Cinematograph หรือ CINE ตรงกับภาษาอังกฤษอเมริกันว่า MOVIE
จากการที่คนเราต้องการเก็บภาพไว้เป็นการถาวร ได้เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 มีการศึกษาเรื่อง สุริยคราส โดยการใช้กล้อง
เมื่อ ค.ศ. 1837 นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส คือ หลุยส์ ดาแกร์ (LOUIS JACQUES MANDE DAGUERRE) ได้ประสบความสำเร็จในการคิดค้นกรรมวิธีการถ่ายรูปแบบดาแกร์ (DAGUERROTYPE) ด้วยการใช้กล้องที่เรียกว่า CAMERA OBSCURA ซึ่งกินเวลาการถ่ายภาพครั้งละหลายๆชั่วโมง ต่อมาได้ปรับปรุงให้ใช้เวลาน้อยลงเพื่อถ่ายภาพนิ่งนั้นๆ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ตอบแทนโดยให้บำนาญตลอดชีวิต และนำผลงานไปเผยแพร่ต่อประชาชนในประเทศและสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1867 EDWAED MUYBRIDGE ช่างภาพและช่างสำรวจชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ ได้ถ่ายภาพเพื่อพิสูจน์ว่า ม้าแข่งที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วสูงนั้น จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่ขาของม้าทั้งสี่ขาจะยกลอยขึ้นเหนือพื้นดิน ไมบริดจ์ได้ดำเนินถ่ายภาพม้าแข่งด้วยจำนวนกล้อง 24 กล้อง วางเรียงติดต่อกันไป และได้นำภาพชุดนี้ไปเรียงติดต่อกันบนล้อหมุน ใส่เข้าไปในเครื่องฉายภาพยนตร์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ZOOPRAXISCOPE” ทำให้มองเห็นภาพชุดนั้น แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของม้าวิ่งเหมือนจริง การถ่ายภาพจรองสามารถถ่ายทอดความเคลื่อนไหวคล้ายจริง รัฐบาลอเมริกาได้จดทะเบียบประดิษฐกรรมไว้ในปี ค.ศ. 1879
ค.ศ. 1888 จอร์จ อิวต์แมน (GEORGE EASTMAN 1854-1932) ได้ปรับปรุงวัสดุไวแสงเป็นฟิล์มเซลลูลอยด์โปร่งแสง (CELLULOID) เพื่อถ่ายภาพยนตร์ออกจำหน่าย
ค.ศ. 1889 THOMAS ALVA EDISON นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพยนตร์ 35 มม. เรียกว่า “KINETOSCOPE” และกล้องถ่ายภาพยนตร์เรียกว่า “KINETOGRAPH” โดยเครื่องของเอดิสัน สามารถถ่ายและฉายให้ฟิล์มโค้งงอตามส่วนโค้งของล้อได้ติดต่อกัน อัตราวินาทีละ 48 ภาพ คิดค้นจนสามารถฉายภาพยนตร์ได้ยาวถึง 50 ฟุต ให้เห็นภาพคนแสดงความเคลื่อนไหวคล้ายความเป็นจริง แต่คนดูต้องใช้ตาดูผ่านเลนส์ดูภาพเข้าไปในตู้ฉายภาพยนตร์ได้ทีละคน แบบถ้ำมอง เอดิสันได้จัดแสดง KINETOSCOPE ในนิวยอร์กเมื่อ ค.ศ. 1893 เก็บค่าดูโดยให้หยอดเหรียญ 5 เซนต์อเมริกัน ในช้องหน้า และต่อมาแพร่หลายตามร้านค้าต่างๆ ภาพยนตร์ของเอดิสันมีความยาวจำกัด จึงเรียกได้ว่า เป็นแถบฟิล์มและฟิล์มสตริป ซึ่งนำหัวกับปลายฟิล์มมาติดต่อกัน
ค.ศ. 1902 ช่างถ่ายภาพยนตร์ของเอดิสัน ชื่อ EDWIN S.PORTER ได้ทดลองผลิตภาพยนตร์เรื่องยาวมีเนื้อเรื่องติดต่อกันได้สำเร็จเป็นภาพยนตร์เงียบ ภาพยนตร์ของเขาที่ได้รับการกล่าวถึงเสมอ คือ THE GREAT TRAIN ROBBERY (1903) และ JOHN P.HARRIS ได้นำไปฉายในโรงภาพยนตร์ที่เรียกว่า “NICKELONDON” เก็บค่าดู 5 เซนต์ คนนิยมจึงมีผู้สร้างตามอย่างแพร่หลายไปทั่วสหรัฐฯ
ภาพยนตร์ในขณะนั้น เป็นการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของอเมริกาในสมัยนั้น ให้แนวคิด ความรู้ มุ่งอบรมคน ย้ำเรื่องความดี ละคนชั่วต้องได้รับโทษ
ค.ศ. 1907 D.W.GRIFFITH ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับการแสดงคนแรกของสหรัฐฯ ที่ได้ใช้การจัดองค์ประกอบของภาพ โดยคำนึงถึงขนาดของภาพที่จะจัดตามบทบาทของผู้แสดง ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ดู เขาใช้การเคลื่อนไหวกล้องในการเสนอภาพ และจังหวะการตัดต่อแต่ละ SHOT ได้ต่อเนื่องกันเพื่อสร้างความรู้สึกที่แตกต่างกันของตัวละคร นอกจากนั้น กริฟฟิธยังได้ให้แต่งเพลงดนตรีประกอบภาพยนตร์ กริฟฟิธได้สร้างภาพยนตร์เรื่องยาวที่มีความสมบูรณ์ด้านการถ่ายทำ เรื่อง BIRTH OF A NATION (1915) ซึ่งเป็นเรื่องราวตั้งแต่ก่อนสงครามกลางเมืองในภาคใต้ เกิดเหตุการณ์สงครามกลางเมืองที่รุนแรง จนกระทั่งการฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม โดยได้แสดงถึงรายละเอียด ความวุ่นวาย ขัดแย้งในสังคม ความอ่อนโยนของมนุษย์ การใช้ฉากและเครื่องแต่งกายแสดงความขัดแย้ง และความหวังใหม่ของมนุษย์ชาติ
ในช่วงภาพยนตร์เรื่องยาวในสหรัฐฯนี้ นาย SAMUEL ROTHAFEL ได้ลงทุนสร้างโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ขึ้นที่ถนนบรอดเวย์ในเมือง นิวยอร์ก ซิตี้ เพื่อฉายภาพยนตร์เรื่อง BIRTH OF A NATION
ยุคนี้นับเป็นยุคแรกที่เกิดระบบดารา โดยการใช้ดารานักแสดงมาจับความประทับใจของสาธารณชน ทำให้ดาราดังๆ มีค่าตัวสูงมาก เกิดนิตยสารประเภทแฟนดาราภาพยนตร์ มีการเขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ และมีการต่อต้านภาพยนตร์ที่ผู้ชมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม และ ฮอลลีวู๊ด ได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1915 มีการจัดระบบโรงถ่ายใน ฮอลลี้วู๊ด ให้เป็นมาตรฐาน โดยมีการกำหนดระบบการผลิต ตารางการถ่ายทำ คำนวณงบประมาณ กลั่นกรองรับรองบทก่อนลงมือปฏิบัติงาน รวมทั้งการจัดจำหน่าย เกิดบริษัทนักสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา และมีการผลิตภาพยนตร์ในแนวต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น แนวคาวบอยตะวันตก แนวรักโรแมนติก หนังรักที่เต็มไปด้วยอุดมคติและนุ่มนวลอ่อนหวาน เรื่องตลก
ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นภาพยนตร์เสียง ตั้งแต่ ค.ศ. 1928 และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการผลิตภาพยนตร์ประเภท “ชวนเชื่อ” เพื่อสนับสนุนรัฐบาล และภาพยนตร์สารคดี
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 กิจการวิทยุโทรทัศน์ได้ขยายตัวขึ้น ทำให้ภาพยนตร์เสียรายได้ จึงมีการสร้างภาพยนตร์จอใหญ่และภาพยนตร์สีขึ้น
ธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย ก็ได้มีการพัฒนาการที่น่าสนใจเช่นกัน


ประเภทของภาพยนตร์
ผู้สร้างภาพยนตร์ จัดประเภทของภาพยนตร์ ตามวัตถุประสงค์ ตามขนาดของฟิล์มและระบบจอดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ภาพยนตร์
การจัดประเภทของภาพยนตร์ตามวัตถุประสงค์ของภาพยนตร์ แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. ภาพยนตร์โฆษณาสินค้า
เป็นภาพยนตร์โฆษณาสินค้าหรือธุรกิจการค้า เพื่อชักชวนให้ผู้ชมสินค้า หรือสนับสนุนธุรกิจการค้าโดยตรงหรือโดนอ้อม
2. ภาพยนตร์สารคดี
เป็นภาพยนตร์ที่บันทึกเหตุการณ์ความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล วิถีชีวิตของกลุ่มชน หรือสังคมที่น่าสนใจแทรกเข้าไปด้วย เพื่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ชมมากยิ่งขึ้น
3. ภาพยนตร์การศึกษา
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเครื่องประกอบการสอน การให้ความรู้ การฝึกฝนทางด้านเทคนิค ส่วนมากเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มม. 8 มม. และขนาด SUPER 8 ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้ขนาด SUPER 8 เสียงในฟิล์มแทนขนาด 16 มม. เพราได้ผลงานทางภาพใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกกว่ามาก ภาพยนตร์การศึกษายังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยๆ ได้อีก เช่น TEACHING FILM, CLASSROOM FILM, INSTRUCTIONAL FILM, TRAINING FILM, LOOP FILM, ฯลฯ
4. ภาพยนตร์บันเทิง
ภาพยนตร์ที่มีการแสดงเป็นละคร มุ่งให้ความบันเทิงสนุกสนาน ปล่อยอารมณ์หรือพักผ่อนให้แก่ผู้ชม ซึ่งอาจมีความโศกเศร้ารวมเข้าไปด้วย ภาพยนตร์บันเทิง ประเภทที่ฉายครั้งเดียวจบเรื่อง เรียกว่า FEATURE FILM ส่วนภาพยนตร์ที่ฉายต่อหลายๆตอนจึงจะจบเรียกว่า SERIAL และหากเป็นภาพยนตร์ที่มีการแสดงของตัวละคร มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากน้อย มีฉากต่างๆ ตามจินตนาการของผู้เขียนเรื่อง เรียกว่า ภาพยนตร์เริงรมย์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงแบบหนึ่ง
5. ภาพยนตร์ข่าว
เป็นภาพยนตร์ที่บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ และมีค่าทางข่าว แล้วนำมาฉายหรือแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาที่เกิดข่าวนั้น
6. ภาพยนตร์การ์ตูน
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นโดยวิธีการถ่ายภาพยนตร์ที่ละภาพจากชุดภาพเขียนหรือภาพวาด หรือวัตถุสิ่งของที่มีสามมิติ หรือภาพดอกไม้ หรือหุ่น ที่เป็นภาพการ์ตูน แสดงความเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันตามลำดับ เมื่อนำมาฉายบนจอในอัตราความเร็วปกติ ก็จะมองเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่แสดงความเคลื่อนไหวได้ ฟิล์มภาพยนตร์ที่บันทึกภาพทีละภาพนี้ เมื่อนำมาฉายด้วยเครื่องฉายในอัตราที่สม่ำเสมอ จะปรากฏภาพที่แสดงความเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวช้าหรือเร็วตามจำนวนภาพที่ถ่ายมา ถ้าถ่ายมากภาพก็จะมองเป็นเคลื่อนไหวช้า น้อยภาพก็จะมองเป็นเคลื่อนไหวรวดเร็ว

ขนาดของฟิล์ม
การแบ่งประเภทของภาพยนตร์ตามขนาดของฟิล์ม ได้ดังนี้
1. ขนาด 8 มม. (8 MM. FILM)
เป็นฟิล์มภาพยนตร์ขนาดกว้าง 8 มม. ออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุเข้ากล้องถ่ายภาพยนตร์แบบชนิดเดี่ยว ซึ่งเมื่อผ่านการล้างน้ำยาแล้วไม่จำเป็นต้องผ่ากลางฟิล์มตามยาวของฟิล์มแบบ DOUBLE EIGHT หรือ REGULAR EIGHT แบบธรรมดา สามารถนำมาตัดต่อหรือฉายได้เลย
นอกจากนี้ยังมีฟิล์มภาพยนตร์ แบบ 8 มม. พิเศษด้วย ฟิล์มแบบนี้บรรจุมาในล้อแบบกล่องหรือตลับ ออกแบบมาเพื่อใช้กับกล้องที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้บรรจุฟิล์มเข้ากล้องได้รวดเร็วเป็นพิเศษ เมื่อลงมือถ่าย ฟิล์มจะเคลื่อนออกจากล้อหนึ่งที่บรรจุฟิล์มไว้ ออกสู่ช่องว่างของกล่องผ่านประตูฟิล์ม แล้วม้วนเข้าล้อเปล่าอีกล้อหนึ่งภายในกล่อง ฟิล์มจะมีขนาดกรอบภาพโตกว่ากรอบภาพ 8 มม. ธรรมดาที่มาดั้งเดิม มีขนาดกว้าง 5.58 มม. สู่ 4.22 มม. ฟิล์มยาว 1 ฟุต มีกรอบภาพ 72 ภาพ มีรูหนามเตยอยู่ที่ริมฟิล์มข้างหนึ่ง เล็กกว่าฟิล์ม 8 มม. ธรรมดาจึงทำให้มีขนาดกรอบภาพโตได้ ฟิล์ม 8 มม. พิศษ สามารถฉายได้ภาพที่มีความคมชัด ได้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับฟิล์ม 16 มม.
ฟิล์มกว้าง 8 มม. หรือ 8 มม. พิเศษ สามารถที่จะได้มาจากการผ่าฟิล์ม 35 มม. ที่ใช้ฉายสำหรับทำฟิล์มเป็นฟิล์มภาพยนตร์สำเนา ขนาดแคบกว่าฟิล์มมาตรฐาน และมีรูหนามเตยเล็กเรียงตามยาวของฟิล์มรวม 5 แถว เรียกฟิล์มเช่นนี้ว่า QUAD-8
2. ขนาด 16 มม. (16 MM. FILM)
เป็นฟิล์มภาพยนตร์ขนาดกว้าง 16 มม. เป็นฟิล์มขนาดแคบ ครั้งแรกผลิตออกมาเพื่อใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ประเภทสมัครเล่นเท่านั้น แต่ต่อมาได้รับความนิยมนำมาใช้พิมพ์ย่อภาพยนตร์จากฟิล์ม 35 มม. ประเภทบันเทิงเพื่อนำไปฉายให้ทหารดูในยุทธภูมิสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์การศึกษา ภาพยนตร์โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์ที่นำออกฉายทางโทรทัศน์ สำหรับในประเทศไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิล์ม 35 มม. ขาดแคลน วงการภาพยนตร์ได้นำมาใช้ถ่ายภาพยนตร์บันเทิง ฟิล์มขนาด 16 มม. นี้มี 2 แบบ แบบหนึ่งใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เงียบ มีรูหนามเตยที่ริมฟิล์มทั้ง 2 ข้าง อีกแบบหนึ่งใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เสียง มีรูหนามเตยข้างเดียว อีกข้างหนึ่งใช้ทำเส้นเสียง


3. ขนาด 17.5 มม.
ฟิล์มภาพยนตร์ขนาดกว้าง 17.5 มม. หรือขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของฟิล์มขนาดมาตรฐานสากล 35 มม. พอดี เป็นฟิล์มภาพยนตร์ขนาดแคบ รุ่นแรกที่วงการภาพยนตร์นำมาใช้สร้างภาพยนตร์สมัครเล่น โดย B.ACRES เป็นผู้เริ่มนำมาใช้คนแรก เมื่อ ค.ศ. 1898 ฟิล์ม 17.5 มม. ได้เลิกใช้แล้ว โดยมีฟิล์ม 16 มม. เข้ามาแทนที่ แต่ยังคงใช้ เพื่อบันทึกเสียง ระบบแวง หรือระบบแม่เหล็ก
4. ขนาด 35 มม. ( 35MM. FILM)
ฟิล์มภาพยนตร์ขนาดกว้าง 35 มม. เป็นฟิล์มขนาดมาตรฐานสากล นำมาใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์อาชีพ ตั้งแต่ ค.ศ. 1889 นับตั้งแต่สมัยที่ THOMAS A EDISON เริ่มต้นค้นคว้า ประดิษฐ์และถ่ายทำภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา ฟิล์มนี้มีรูหนามเตยที่ริมฟิล์มทั้ง 2 ข้าง อยู่แนวเดียวกันตลอดแนวยาวของฟิล์ม ขนาดและรูปร่างของรูหนามเตยแต่ละรู ได้มีการเปลี่ยนแปลงกันมาเรื่อยๆ ในปัจจุบันได้แบ่งขนาดและรูปร่างของรูหนามเตยออกเป็น3 แบบ คือ แบบที่ใช้กับฟิล์มเนกาทีฟ โพสิทีฟ และแบบที่ใช้สำหรับฟิล์มซีเนมาสโคป ฟิล์มแบบซีเนมาสโคปมีรูหนามเตยขนาดเล็กกว่าแบบอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อให้เหลือเนื้อที่ในบริเวณความกว้างของฟิล์มมากยิ่งขึ้น จะได้สามารถบรรจุเส้นเสียงแบบแม่เหล็กได้ มากถึง 4 เส้นเสียง ฟิล์มขนาดมาตรฐานนี้สามารถนำไปใช้สำหรับถ่ายรูปในกล้องถ่ายรูปขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มภาพยนตร์ถ่ายได้อีกด้วย
5. ขนาด 70 มม. (70 MM. FILM)
ฟิล์มภาพยนตร์ขนาดกว้าง 70 มม. เป็นขนาดกว้างที่สุดเท่าที่มีใช้ในวงการภาพยนตร์ทั่วโลกในปัจจุบัน เป็นฟิล์มโพสิทีฟ สำหรับทำฟิล์มภาพยนตร์ระบบจอกว้าง โดยขยายภาพให้มีขนาดโดยและมีพื้นที่ริมฟิล์มว่างพอที่จะบรรจุเส้นเสียงระบบแม่เหล็ก ได้มากถึง 6 เส้นเสียง สำหรับบันทึกและเล่นเสียงระบบสเตอริโอได้เป็นอย่างดี

ระบบจอ
การแบ่งประเภทของภาพยนตร์ตามระบบจอฉายภาพยนตร์นั้น จอฉายภาพยนตร์โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
1. จอทึบแสง สำหรับฉายภาพยนตร์จากข้างหน้าจอ ไปที่พื้นไหน้าของจอ ภาพจพสท้อนกลับผิวพื้นจอซึ่งฉาบผิวพื้นหน้าจอด้วยเมล็ดผลึกขนาดเล็กทำให้มองเห็นภาพที่หน้าจอได้ชัดเจน ส่วนด้านหลังจอจะมองไม่เห็นภาพเลย
2. จอแบบโปร่งตา ฉายภาพจากด้านหลังจอ โดยฉากภาพที่กระจกเงาทำมุม 45 องศา เพื่อกลับข้างภาพก่อน กระจกเงาจะสะท้อนภาพไปด้านหลังจอเป็นภาพกลับข้าง และจะปรากฏภาพเป็นภาพตรงตามความจริงด้านหน้าจอ คนดูจะต้องดูด้านหน้าจอ
3. จอผ้าขาว มักใช้ฉากภาพยนตร์กลางแปลง โดยฉายทางด้านหน้าจอ ดูทางข้างหน้าจอเป็นภาพตรงตวามจริง แต่ดูด้านหลังก็ได้ด้วย แต่มองเห็นเป็นภาพกลับข้าง มีลักษณะผสมระหว่าง แบบที่ 1 กับแบบที่ 2
ระบบจอภาพยนตร์ อาจแบ่งได้ดังนี้
1. ซีเนมาสโตป คือระบบภาพยนตร์จอกว้างชนิดหนึ่ง ซึ่งถ่ายด้วนเลนส์แอนามอร์ฟิก ลงบนฟิล์มภาพยนตร์ขนาด 35 มม. เป็นส่วนใหญ่ ส่วนกลางของกรอบภาพบีบให้ภาพลีบหรือแคบเข้า บีบมากที่กึ่งกลางกรอบภาพ และบีบน้อยตามลำดับที่ส่วนซ้ายและขวาของกรอบภาพ เมื่อนำไปฉายด้วยเลนส์ชนิดเดียวกัน ภาพส่วนกว้างจะขยายออกทางกว้างเป็นภาพที่มีสัดส่วนตรงกับของจริงเป็นภาพจอกว้างเป็น 2 เท่าของความสูงของจอ หรืออัตราส่วน 2:1 นำมาใช้ในวงการภาพยนตร์บันเทิง ตั้งแต่ ค.ศ. 1953 และนิยมใช้ถึงปัจจุบัน โดยมีชื่อเรียกต่างๆกัน แล้วแต่บริษัทที่นำไปใช้ เช่น ซอว์สโคป สยามสโคป เป็นต้น
2. ซีเนรามา เป็นภาพยนตร์จอกว้างมากระบบหนึ่ง โดยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์แบบพิเศษที่ใช้เลนส์กว้าง 3 ชุด และใช้ฟิล์มถ่ายภาพยนตร์บรรจุภายในกล้อง 3 ม้วนแยกจากกัน ถ่ายครั้งหนึ่งจะได้มุมรับภาพที่กว้างมากจาเลนส์ 3 ชุดดังกล่าว เมื่อฉายต้องใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 3 เครื่อง ฉายภาพยนตร์แต่ละม้วนไปยังจอ 3 จอ ที่ทำต่อเรียงกันเป็นจอเดียวกัน หรืออาจถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์กล้องเดียวที่ใช้เลนส์แอนามอร์ฟิก หรือเลนส์วีเนมาสโคป เลนส์เดีวบันทึกภาพลงฟิล์มกว้าง 65 มม. แล้วพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดใช้เลนส์ ลงบนฟิล์มภาพยนตร์กว้ง 70 มม. ที่มีเส้นลู่เสียง โดยแยกภาพออกเป็น 3 ส่วน ทางกว้างลงบนฟิล์ม 3 ม้วน ม้วนละ 1 ส่วน ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความลึกของภาพเล็กน้อย แล้วนำมาฉายด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ 70 มม. รวม 3 เครื่องตามวิธีเดิมไปบนจอโค้งที่มีความกว้างเป็นพิเศษ เพื่อแก้ไขหรือลดความเพี้ยนหรือการบิดเบือนทางภาพ
3. ซีเนมิเรเคิล เป็นภาพยนตร์จอกว้างระบบหนึ่ง ที่ใช้เครื่องฉาย 3เครื่อง ฉายภาพยนตร์ 3 ม้วนในฉากเดียวต่อรวมเป็นฉากเดียวกันพร้อมกัน ไปบนจอ 3 จอต่อเรียงรวมเป็นจอเดียวเป็นจอกว้างโค้งและลึกมากเป็นพิเศษ ทำให้มองเห็นภาพบนจอมีความลึกคล้ายมิติที่ 3 วิธีการฉายภาพทำนองเดียวกับภาพยนตร์ซีเรมา
4. ซีเนโอรามา เป็นภาพยนตร์ระบบจอแก้วพิเศาระบบหนึ่ง โดยใช้จอโค้งต่อกันเป็นรูปวงกลมล้อมรอบผู้ชมรวมมุม 360 องศา ใช้เครื่องฉายภาพยนตร์รวม 10 เครื่อง ฉายภาพยนตร์ที่มีภาพต่อเป็นฉากเดียวกัน ภาพยนตร์ระบบนี้ได้นำมาใช้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1896 เชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดภาพยนตร์ที่ใช้ฟิล์มฉายมากกว่า 1 ม้วน ในเครื่องฉายมากกว่า 1 เครื่อง ต่อมาได้นำหลักการนี้มาใช้ในการถ่ายทำและฉายภาพยนตร์ระบบซีเนรามา ระบบเซอร์คารามา และระบบคีโนแพนโนรามา ของรัสเซีย
5. เซอร์คารามา คือภาพยนตร์ระบบที่ใช้จอโค้งล้อมเป็นรูปวงกลม 360 องศา โดยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายภาพยนตร์อย่างละ 6-11 กล้อง และเครื่องแยกจากกัน ถ่ายและฉายภาพยนตร์รอบทิศโดยสัมพันธ์พร้อมกันทุกกล้องและเครื่อง ผู้นั่งชมอยู่ตรงกลาง ซึ่งล้อมรอบด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์คล้ายระบบซีเนโอรามา รัสเซียได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้กล้องถ่ายและเครื่องฉายอย่างละ 22 กล้องและเครื่อง โดยนอกจากใช้ถ่ายและฉายไปบนจอรอบวงกลมแล้ว ยังถ่ายและฉายภาพขึ้นไปบนเพดานโดมโค้งอีกด้วยเรียกว่า KINOPANRAMA
6. แพนนาวิชั่น ภาพยนตร์จอกว้างระบบแพนนาวิชั่น ใช้ฟิล์มภาพยนตร์เนกาทีฟขนาดกว้าง 35 มม. หรือ 65 มม. ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่เคลื่อนฟิล์มทางนอนหรือทางราบแล้วทำพิมพ์ หรือพิมพ์เป็นภาพยนตร์โพสิทีฟทางตั้ง หรือทางดิ่ง แบบภาพยนตร์มาตรฐาน ย่อภาพที่โตทางนอน เป็นภาพที่มีขนาดเล็กลงทางตั้งทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอมีความคมชัดยิ่งขึ้นทั่วทั้งภาพ โดยมีการบีบภาพ ให้แคบเข้าตรงกลางภาพแบบซีเนมาสโคป
7. เทคนิรามา ภาพยนตร์จอกว้างระบบเทคนิรามานี้ ใช้วิธีการถ่ายด้วยกล้องภาพยนตร์ 35 มม. ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ด้วยวิธีเดินกล้องทางนอน คือใช้ฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ 35 มม. ธรรมดา หรือเรียกว่า DOUBLE FRAME ใช้ถ่ายด้วยเลนส์แอนามอร์ฟิก บีบภาพให้ลีบเข้าทางส่วนกลางของภาพ ในอัตราส่วน 1.33:1 แล้วนำไปพิมพ์ย่อขนาดลงบนฟิล์ม 35 มม. ทางตั้งหรือทางความยาวของฟิล์ม แบบกรอบภาพในภาพยนตร์ทั่วไปโดยไม่บีบภาพ เว้นแต่จะใช้เครื่องฉายแบบพิเศษ จึงจะพิมพ์ย่อแบบบีบภาพ การทำเช่นนี้ จะทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอมีความคมชัดยิ่งขึ้นกว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายมาในแบบธรรมดา บริษัท TECHNICOLOR CORPORATION เป็นผู้คิดผลิตภาพยนตร์แบบนี้ขึ้นมมา
8. เทคนิสโคป เป็นภาพยนตร์จอกว้างในระบบเทคนิสโคปคิดประดิษฐ์และสร้างภาพยนตร์ขึ้นโดย บริษัท TECHNICOLOR CORPORATION ใช้เลนส์มุมกว้างที่ความยาวโฟกัส สั้นและเป็นรูปทรงกลมโค้งแบบเลนส์ตาปลา ถ่ายภาพยนตร์ลงบนฟิล์ม 35 มม. ในกรอบภาพแบบครึ่งกรอบ แล้วพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบใช้เลนส์ ลงบนฟิล์ม 35 มม. โดยขยายทางกว้างหรือทางราบของกรอบภาพบนจอกว้าง ในอัตราส่วน 2:1 สำหรับให้นำไปฉายด้วนเลนส์แอนามอร์ฟิก
9. ทอดด์เอโอ ภาพยนตร์ระบบทอดด์เอโอ ซึ่งไมเคิล ทอดด์ ชาวอเมริกันผู้ริเริ่มออกแบบถ่ายทำออกมาฉายเป็นคนแรก ตัวอักษร AO ย่อมาจาก AMERICAN OPTICAL หมายถึง ภาพยนตร์ระบบจอกว้างแบบหนึ่ง ซึ่งถ่ายด้วยฟิล์มสีเนกาตีฟ กว้าง 65 มม. ด้วยกล้องที่สร้างขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
10. วิสตาวิชั่น ระบบวิสตาวิชั่น เป็นภาพยนตร์ระบบจอกว้างโดยไม่บีบภาพตตรงส่วนกลางของภาพ โดยถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์แบบพิเศษโดยเฉพาะ ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. เดินฟิล์มผ่านประตูฟิล์มทางราบหรือทางนอน สามารถถ่ายแต่ละภาพได้ขนาดกว้าง 24 มม. ยาว 36 มม. หรือที่เรียกว่าภาพขนาด DOUBLE FRAME IMAGE ซึ่งมีขนาดโตกว่าขนาดของภาพยนตร์ธรรมดาเท่าตัว ทำให้ภาพที่ฉายไปปรากฏที่จอมีความคมชัดยิ่งขึ้น ในครั้งแรกต้องใช้เครื่องฉายภาพยนตร์แบบพิเศษที่ใช้ฉายภาพทางราบ แต่ต่อมาได้นำเอาฟิล์มภาพยนตร์วิสตาวิชั่นนี้ไปเป็นฟิล์มต้นฉบับ ทำพิมพ์เป็นฟิล์มสำหรับฉายด้วยเครื่องทำพิมพ์แบบใช้เลนส์ ย่อภาพลงบนฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. ในขนาดกรอบภาพที่เล็กลงตามขนาดมาตรฐานทั่วไป ซึ่งเมื่อฉายไปที่จอย่อมจะได้ภาพที่มีความคมชัดดีกว่าภาพยนตร์ที่ถ่านและฉายในขนาดธรรมดา หรือขนาดเท่าเดิมมาก

ภาพยนตร์ไทย
ภาพยนตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย
ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์
ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ และการมอบรางวัลทางภาพยนตร์อยู่หลายโครงการ


ยุคเริ่มต้น


ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด
ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว[3] ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น[4] จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง[3] ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง
พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย[5] ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร[1]
ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคบุคเบิก (2470 - 2489)
บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ ให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น หลวงภรตกรรมโกศล ตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ แสดงเป็นผู้ร้าย [6] ภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย[2] อีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้น
ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อ ๆ มา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2470 เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายในกรุงเทพ


จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย

ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ได้รับความชื่นชม ต่อมา พี่น้องวสุวัต ซึ่งขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า 'บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง'
ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งพิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปรกติ ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง[2]
ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของวงการหนังไทย เพราะบริษัทเสียงศรีกรุงสร้างหนังตามที่เห็นว่าเหมาะสม และยังได้พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา หนังของบริษัทนี้ได้รับการต้อนรับในทุกแห่ง ยังเป็นที่กำเนิดของดาราคู่แรกของ วงการภาพยนตร์ไทย คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ[7] และยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง 'บริษัทไทยฟิล์ม'
ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและถูกแทนที่โดยภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์นำเข้าหลายเรื่องไม่มีบรรยายไทยจึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยาย นักพากย์ที่มีชื่อเสียง คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง)
ต่อมา ทิดเขียวก็ได้ผันตัวเองไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทิดเขียวทดลองพากย์เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซัน[8] ด้วยความคึกคักของกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศพากย์ไทย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยบางรายซึ่งไม่มีทุนรอนมากนักเริ่มมองเห็นทางที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมากมายวิธีดังกล่าวคือ ลงมือถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์เงียบ หลังจากนั้น จึงเชิญนักพากย์ฝีมือดีมาบรรเลงเพลงพากย์ในภายหลัง ผู้ที่เริ่มบุกเบิกวิธีดังกล่าว คือ บริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 ราย ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ ซึ่งได้ทดลองสร้างหนังเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดียิ่ง จึงทำให้เกิดผู้สร้างรายเล็กรายใหญ่ตามมาหลายราย
ในช่วงปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ได้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ผู้สร้างหนังในประเทศไทยจึงหันมาใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. แทนฟิล์มขนาด 35 มม. กิจการหนังพากย์สามารถยืนหยัดจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยการหันมาใช้ฟิล์ม 16 มม. ซึ่งยังพอหาได้จากท้องตลาด ดังนั้น ตลอดเวลาที่เกิดสงครามจึงมีหนังพากย์ 16 มม. ออกฉายโดยตลอดแม้จะไม่ต่อเนื่องก็ตาม[2]
ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 - 2515)


ภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง นำแสดงโดย พระนางคู่ขวัญ 'มิตร-เพชรา'
ผู้สร้างหนังไทยหันมานิยมสร้างด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย[9]
การสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่การถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. และสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงเป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515 [10] ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. นี้ แต่ก็เป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จ ที่เน้นความเพลิดเพลินเพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความเจริญเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา บู๊ล้างผลาญรวมไปถึงโป๊บ้างในบางฉาก เรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรมและจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอ
ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ยุคนี้ คือ ดาราในยุคนั้น มิตร ชัยบัญชาได้เล่นหนังเป็นพระเอกมาแล้วถึง 300 เรื่อง [11] ส่วนฝ่ายหญิงก็จะมีดาราหญิงอยู่กลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอันดับดารายอดนิยม นับตั้งแต่วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อมรา อัศวนนท์ และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทั้งนี้ ก่อนปี พ.ศ. 2502 คู่พระ-คู่นางที่ผูกขาดวงการภาพยนตร์ไทยก็ยังไม่ปรากฏ มีเพียงกลุ่มนักแสดงชั้นนำที่คนดูให้การยอมรับหรือชื่นชมเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2505-2513 พระเอก-นางเอก ของวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้ถูกผูกขาดโดย 'มิตร-เพชรา'[10]
ระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ยุคนั้น ตัวแสดงพูดไปตามบทโดยไม่มีการบันทึกเสียง นักพากย์จึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกับคนดูได้ ก็เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์ ในช่วงเวลานั้นนักพากย์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่ รุจิรา-มารศรี พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรื่อง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา สมพงษ์ วงศ์รักไทย ฯลฯ
ภาพยนตร์ไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)
ในภาวะที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529 มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2521-2525 นั้น เป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคม[12]


ภาพยนตร์เรื่องเขาชื่อกานต์ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์ และภิญโญ ทองเจือ
เมื่อ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 และส่งผลให้หนัง 16 มม. ถึงจุดจบตามไปด้วย เป็นช่วงเวลาที่กิจการสร้างหนังไทยกำลังเปลี่ยนทั้งระบบ จากการสร้างภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร พากย์สด ไปเป็นการสร้างภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม อันเป็นผลจากการตั้งเงื่อนไขในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยของรัฐบาล[3] ในช่วงนั้นได้มีผู้กำกับหัวก้าวหน้าอย่างเปี๊ยก โปสเตอร์ ที่สร้าง โทน ด้วยระบบ 35 มม. แม้ว่าเนื้อหาจะเน้นความบันเทิงเป็นหลัก ทว่าแฝงแรงบันดาลใจให้คนหลายคน โดยเฉพาะ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย และสักกะ จารุจินดา ทำหนังเชิงวิพากษ์สังคมก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16
ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ มีปัญหากับเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่สร้างขึ้นมาพูดถึงระบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง[13] ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าแตะต้อง[14] ในระยะไล่เลี่ยกัน สักกะ จารุจินดา ได้นำ ตลาดพรหมจารี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งนักวิจารณ์และคนดู[12]
ในภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม ได้มีภาพส่วนหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์จริงในการเดินขบวน เมื่อเข้าฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 เทพธิดาโรงแรม ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หลังจากนั้น ท่านมุ้ยได้สร้างหนังออกมาอีกหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหนังรักและหนังวิพากษ์สังคม อย่างเช่น เทวดาเดินดิน เป็นหนังอีกเรื่องที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาด้วยเจตจำนงที่จะวิพากษ์วิจารณ์สังคมเมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานจนเฟ้อ หลังจากโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผ่านไป บ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง เมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี บ้านเมืองไม่ผิดแผกจากยุคเผด็จการทหาร คนทำหนังส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผู้สร้างหนังจำต้องยุติบทบาททางการเมืองของตนเองลงโดยปริยาย หนังที่ผลิตออกมาในช่วงนี้กลับสู่ความบันเทิงเต็มรูปแบบอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นหนังตลกที่ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น รักอุตลุด หรือ เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง ของสมพงษ์ ตรีบุปผา[12]
ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ จากเมตรละ 2.20 บาท เป็นเมตรละ 30 บาท ส่งผลทำให้ผู้สั่งหนังเทศต้องชะลอการสั่งหนังลงชั่วคราว ในทางตรงกันข้ามกลุ่มผู้สร้างหนังไทยได้รับความคึกคักขึ้น ในช่วงเวลานี้เองมีการผลิตหนังไทยเพิ่มถึงปีละ 160 เรื่อง
ปี พ.ศ. 2521-2523 หนังสะท้อนสังคมโดยกลุ่มผู้สร้างที่เป็นคลื่นลูกใหม่ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างมากมาย อาทิ ครูบ้านนอก เทพธิดาบาร์ 21 น้ำค้างหยดเดียว เมืองขอทาน ฯลฯ ในจำนวนนี้ ครูบ้านนอก ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด แม้กลุ่มนักแสดงจะเป็นคนหน้าใหม่แทบทั้งสิ้น







Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2551 8:05:42 น. 0 comments
Counter : 2844 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Naysor
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




[Add Naysor's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com