<<
กุมภาพันธ์ 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
13 กุมภาพันธ์ 2551
 

ภาพยนต์[1.1]

ประวัติภาพยนตร์ไทย
ภาพยนตร์เริ่มมีเข้ามาเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ.2466 ผู้นำเข้ามาครั้งแรกคือ นายเอส.จี .มาร์คอฟสกี กับคณะชาวปารีส โดยได้นำเข้ามาครั้งแรกออกฉายที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ เมื่อวันที่10 มิถุนายน พ.ศ.2440 หลังจากเกิด
การฉายภาพยนตร์ในเมืองไทย ก็เกิดกิจการโรงภาพยนตร์ถาวรขึ้นในกรุงเทพฯ โดยมีภาพยนตร์เร่นำภาพยนตร์เข้าฉายรายแล้วรายเล่า เข้ามาฉายในกรุงเทพฯช่วงปีพ.ศ. 2440-2449 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ถือ
ได้ว่าเป็นคนไทยคนแรก ที่เล่นกล้องและถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์พระราชกรณียกิจ ปี พ.ศ. 2465
ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟแทนฝรั่งชาวเยอรมัน ได้ทรงจัดตั้งศูนย์ผลิตภาพยนตร์ อย่างเป็นทางการของกรมรถไฟหลวง
เรียกว่า "กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว" การที่มีกองผลิตภาพยนตร์ในกรมหลวงก็เพื่อสร้างภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ให้ คนไทยและชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวโดยใช้บริการของรถไฟ เพราะในขณะนั้นรถไฟเป็นสิ่งใหม่ สร้างภาพยนตร์
ขึ้นมาเพื่อให้เห็นสถานที่น่าท่องเที่ยวต่างๆของไทย กรมรถไฟหลวงจึงกลายเป็นโรงเรียนในการสร้างคนที่จะผลิตภาพยนตร์เรื่องของไทยต่อไปในอนาคต
ในปีเดียวกันนั้น พ.ศ.2465 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันโดย นายเฮนรี่ แมคเรย์ แห่งบริษัทยูนิเวอร์แซล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยโดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยใช้ดาราไทยแสดงทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นหนังเรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวง
ภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย เรื่องนางสาวสุวรรณ เริ่มลงมือถ่ายทำเมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2465 โดยได้รับความร่วมมือ จากกรมมหรสพกับกรมรถไฟหลวง นางสาวสุวรรณ
มาเสร็จเอาในเดือน มิถุนายน พ.ศ.2465 เสร็จแล้วนายเฮนรี แมคเรย์ ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้แก่ กรมรถไฟหลวงไว้ 1 ชุด เป็นฟิล์มขนาด 35 มิลลิเมตร มีความยาว 8 ม้วน ต่อมาบริษัทสยามภาพยนตร์ได้ขออนุญาติกรมรถไฟหลวง นำมา
ฉายให้ประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2466 เพื่อเก็บเงินรายได้บำรุงสภากาชาดสยาม
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2468 ได้มีคณะฝรั่งนักถ่ายทำภาพยนตร์มืออาชีพ ได้เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในนามของบริษัทพาราเมาท์ มีนายมีเรียน ซี คูเปอร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดง นายเออร์เนสท์ บี โชคเส็ต
เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ มาถ่ายภาพยนตร์เรื่อง ช้าง นำออกฉายสู่สาธารณชนครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2470 และเดินทางนำมาฉายในเมืองไทยให้คนไทยได้ชมกัน ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2471
ต่อมาในรัชกาลที่ 7 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มจะตกต่ำ เงินในท้องพระคลังเหลือน้อยลงทุกที ได้มีการพยายามแก้ปัญหาโดยให้ข้าราชการออกจากงานเป็นจำนวนมาก ได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นอดีตข้าราชการถูกดุลย์ กำลัง
เตรียมการจะสร้างหนังเรื่องที่ แสดงโดยฝีมือคนไทยขึ้นเองเป็นครั้งแรก ในนามบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย โดยมีหลวงสุนทรอัศวราช (จำรัส สรวิสูตร) เป็นหัวหน้าคณะ ประกอบด้วยเพื่อนร่วมงาน คือพันโทหลวงสารานุประพันธ์ (ขาว ปาจิณพยัคฆ์)
พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (อำนวย โรจนานนท์) นายพลพันหุ้มแพร (ไกลวัลย์ จันทนบุพผา) โดยกลุ่มคนทั้งหมดนี้ประกาศจะสร้างหนังเรื่องแรกของออกมา แต่ก็ถูกตัดหน้าโดยผู้สร้างหนังอีกรายหนึ่ง คือกลุ่มพี่น้องสกุลวสุวัตกับพรรคพวกในคณะ
หนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุง ได้จัดตั้งเป็นคณะสร้างหนังเรื่องแสดงขึ้นบ้าง ในนาม "กรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัท" โดยประกาศสร้างหนังเรื่อง โชคสองชั้น และสามารถสร้างสำเร็จนำออกฉายได้ก่อนบริษัทแรก เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม
พ.ศ.2470 เป็นหนัง 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง โชคสองชั้น จึงได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทยทั้งหมด หนังเรื่องนี้มีนายมานิต วสุวัตเป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้ประดิษฐ์ศิลป์
หลวงบุณยมานพพานิช (นักประพันธ์ผู้มีนามปากกาว่า "แสงทอง" นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น) ทำหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์ หลวงกลการเจนจิต ทำหน้าที่ถ่ายภาพ นายกระเศียร รับหน้าที่ตัดต่อ และหลวงอนุรักษ์รัถการ ข้าราชการแห่ง
กรมรถไฟหลวง ทำหน้าที่กำกับการแสดง มานพ ประภารักษ์ รับบทเป็นพระเอก หม่อมหลวงสุดจิตร์ อิศรางกูร รับบทนางเอก สาเหตุที่กลุ่มนายมานิต วสุวัตสามารถสร้างภาพยนตร์ได้สำเร็จก่อน เพราะมีความพร้อมมากกว่าน้องชายของ
นายมานิตสองคน หลวงกลการ เจนจิตกับนายกระเศียร ก็เคยทำงานประจำในกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวของกรมรถไฟหลวง โดยหลวงกลการเจนจิต ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าช่างถ่ายและภาพยนตร์ และกลุ่มวสุวัตรได้ทดลองถ่ายทำภาพยนตร์
เชิงข่าวสารคดีมาเรื่อยๆ เช่น ภาพยนตร์บันทึกการแสดงยุทธกีฬาทหารบก ภาพยนตร์สารคดีนำเที่ยวนำชมน้ำตกไทรโยค ก่อนที่จะทำหนังเรื่อง พอมาทำหนังเรื่องจึงสามารถทำได้สำเร็จก่อน หลังจากคณะสุกลวสุวัตนำ "โชคสองชั้น" ออก
ฉายแล้วไม่นาน ทางคณะบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยของกลุ่มข้าราชการถูกดุลย์ ซึ่งตั่งขึ้นก่อน จึงสามารถสร้างหนังของตนสำเร็จ ออกฉายตามติดมาในชื่อเรื่อง "ไม่คิดเลย" ออกฉายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2470 พอหลังจากหนัง 2 เรื่องออก
ฉายก็มีหนังเรื่องอื่นๆตามมาดังนี้คือ "ใครดีใครได้" และ "ใครเป็นบ้า" ส่วนของศรีกรุง (ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทกรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัทที่เปลี่ยนชื่อ) ก็ได้สร้างเรื่อง "เชื้อไม่ทิ้งแถว" ของบริษัทศรีสยามภาพยนตร์ก็สร้างเรื่อง "เลือดแค้น"
บริษัทสองสหาย สร้างเรื่อง "กรรมสนองกรรม" ของบริษัทเอเชียติ๊กโปรดักชั่นสร้างเรื่อง "หมัดพ่อค้า" ของบริษัทกาญจนนฤมิตร และเรื่อง "แสงมหาพินาศ" ของหัสดินทรภาพยนตร์ โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์เป็นผู้สร้าง เรื่อง "แสง
มหาพินาศ" นี้การทำเทคนิคปล่อยแสงซึ่งเป็นเทคนิคของภาพยนตร์ไทยในยุคแรกๆ ม.ร.ว. อนุศักดิ์ หัสดินทร์ เป็นเจ้าของทำหนังหลายเรื่องมีทั้งกำไรและขาดทุน
ในปี พ.ศ. 2473 มีการสร้างหนังเรื่อง "รบระหว่างรัก" โดยขุนวิจิตรมาตรา เป็นผู้แต่งเรื่อง เขียนบทและกำกับการแสดง เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งด้านคำชมเชยและด้านของรายได้ ในปี พ.ศ.2476 ฮอลลีวู๊ดนิยมทำหนังผี
ศรีกรุงก็ทำหนังผีเรื่อง "ปู่โสมเฝ้าทรัพย" เป็นบทประพันธ์ของขุนวิจิตรมาตรา และยังกำกับการแสดงเองอีกด้วย เรื่องนี้ถือเป็นการเริ่มการแต่งกายที่เข้าสู่แบบสากลมากขึ้น เพราะเป็นยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เวลานั้นได้เกิดเพลงไทย
สากลขึ้นมาเป็นครั้งแรก อย่างเพลง "กล้วยไม้" และเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ทำเป็นสี เรื่อง "หลงทาง" ที่ถ่ายทำด้วยระบบซิงเกิ้ลซิสเต็ม คือ การถ่ายภาพกับเสียงในกล้องเดียวกัน
การถ่ายทำในระบบนี้จะมีปัญหาทางด้านของเทคนิค เวลาล้างฟิล์มและตัดต่อเป็นอย่างมาก ฝรั่งคิดทำระบบดับเบิ้ลซีสเต็ม คือถ่ายภาพกล้องหนึ่ง ถ่ายเสียงกล้องหนึ่งแยกกัน แต่มีเครื่องไฟฟ้า ทำให้เดินกล้องได้พร้อมกันทั้งสอง
กล้อง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศรีกรุงได้คิดปรับปรุงได้สำเร็จเช่นกัน จากนั้นมาบริษัทศรีกรุง ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น เสียงศรีกรุง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงดำริที่จะให้มีสถานที่มหรสพอันทันสมัย ทัดเทียมกับ
ต่างประเทศขึ้นสักแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นที่อำนวยความบันเทิงเริงรมย์แก่ประชาชนทั่วไป และเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเมืองไทยด้วย หลังจากที่ทรงตรวจสถานที่แล้วทรงเห็นว่าตรงถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตีทอง เหมาะสมที่สุด
เพราะเป็นที่เด่นอยู่ตรงหัวมุมพอดีและได้ทรงประกอบพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 แล้วพระราชทานนามว่า "ศาลาเฉลิมกรุง" โดยมีหม่อมเจ้าสมัยกฤดากร ทรงเป็นผู้ออกแบบ บริษัทบางกอกทำหน้าที่รับเหมา
ก่อสร้าง
เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เจ้าพระจาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ม.ร.ว.มูล ดารากร) ประกอบพิธีเปิดแทนพระองค์เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์
เรื่องแรกที่ทำการฉายเปิดเป็นปฐมฤกษ์ก็คือเรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล" โดยรายได้ทั้งหมดที่เก็บได้จากค่าผ่านประตูของการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปบำรุงสภากาชาด
สยาม โดยมิได้หักค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง นับเป็นโรงภาพยนตร์ชั้น1 แห่งเดียวในประเทศไทย ต่อมาหลังสงความโลกครั้งที่ 2 โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่และทันสมัย ซึ่งจัดอยู่ในโรงชั้น 1 ของ
ประเทศก็มีผู้สร้างขึ้นมาอีกหลาแห่ง เช่น ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์คิงส์ โรงภาพยนตร์ควีนส์ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมเขตร์ และโรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงกลาโหมได้มอบให้ภาพยนตร์ เสียงศรีกรุง ถ่ายทำหนังเผยแพร่กิจการทหารของกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ เป็นหนังมีพระเอก นางเอก เรื่อง "เลือดทหารไทย" มีพันตรีหม่อมหลวงขาบกุญชร
และ นางสาวจำรุ กรรณสูตร นำแสดง มีการถ่ายทำอย่างใหญ่โตมโหฬารที่สุด ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ เช่น ทหารบกใช้ปืนใหญ่ ปืนกล ลูกระเบิด รถถัง รถเกราะ รถตีนตะขาบขนาดใหญ่ แบบใหม่ทั้งหมด ทหารเรือใช้เรือรบชนิดต่างๆ ตอปิโด
ลูกระเบิดน้ำลึกแบบใหม่ และทหารอากาศใช้เครื่องบินขนาดใหญ่แบบใหม่ทั้งหมด และในปีเดียวกันนี้ ศรีกรุงได้สร้างโรงถ่ายขึ้นที่ บางกะปิ เป็นโรงถ่ายที่ทันสมัยที่สุดในเมืองไทยขณะนั้น
เสร็จจากหนังของรัฐบาล ศรีกรุงทำหนังของตัวเอง เรื่อง "พญาน้อยชมตลาด" หลวงอนุรักษ์รัถการ กำกับการแสดง มีหลวงภรตกรรมโกศลเป็นตัว พญาน้อย ได้นางเอกใหม่คือ มานี สุมนนัฏ แสดงเป็นเม้ยเจิง ออกฉายในเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2478 ต่อมาสร้างเรื่อง "เมืองแม่หม้าย" หลวงอนุรักษ์รัถการ กำกับฯ มานี สุมนนัฏ เล่นเป็นพญาเมืองแม่หม้าย มีเกษม มิลินทจินดา เป็นพระเอก หนังออกฉายเดือน กุมภาพันธ์ 2479 และเรื่อง "เลือดชาวนา" นาย ศรีสุข วสุวัต กับนายเชื้อ
อินทรฑูต กำกับการแสดง นำแสดงโดยปลอบ ผลาชีวะ และราศรี เพ็ญงาม มีดาราใหม่ร่วมแสดงด้วยคือ จำรัส สุวคนธ์ ได้เล่นเป็นพระรอง มีบทบาทไม่มากแต่ได้ร้องเพลง "ตะวันยอแสง" จากเพลงนี้เอง ที่ทำให้ทุกคนรู้จัก จำรัส สุวคนธ์ และ
กลายเป็นเพลงฮิตมากในช่วงนั้น
เนื่องจากบทบาทการแสดงและเสียงร้องของจำรัส สุวคนธ์ ทำให้ศรีกรุง ส่งเสริมให้จำรัส สุวคนธ์ขึ้นตำแหน่ง พระเอก จำรัส สุวคนธ์ ได้แสดงคู่กับ มานี สุมนนัฏ ร่วมกันอีกหลายเรื่อง เช่น "กลัวเมีย หลอกเมีย" และเรื่องที่ดังที่สุดคือ
"เพลงหวานใจ" เป็นหนังเพลงมโหฬารในสมัยนั้น ซึ่งเป็นหนังล้ำยุคร้องเล่น เต้นรำ เป็นฝรั่งไปเลย ขุนวิจิตรมาตรา เป็นผู้แต่งเรื่องและกำกับการแสดง ดยมีนารถ ถาวรบุตร แต่งทำนองและเรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งนารถ ถาวรบุตรเป็นส่วนหนึ่ง
ของความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ ภาพยนตร์ "เพลงหวามใจ" ได้บรรจุเพลงไว้ถึง 8 เพลง ต่างจังหวะกันออกไป ได้แนะนำจังหวะเพลงใหม่ๆ แก่ประชาชนไทยยุคนั้น อาทิ จังหวะรุมบ้าในเพลง เมื่อฉันมองเธอ จังหวะควิกกว๊อลช์ ในเพลง
ฉันหาหวานใจ จังหวะฟอกซ์ทร๊อต เพลง ฉันฝันไป หนังเรื่องนี้ออกฉายเดือนตุลาคม 2480 หลังจากนั้นบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงได้ทำภาพยนตร์ต่อมาอีกหลายเรื่อง จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง การขาดแคลนวัตถุดิบและภัยจาก
สงคราม ทำให้กิจการสร้างหนังเสียง ระบบมาตรฐานของศรีกรุงต้องหยุดชะงักลง นอกจากบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จะสร้างภาพยนตร์ให้คนไทยได้ดูกันแล้ว ยังมีบริษัทไทยฟิล์มซึ่งเป็นคู่แข่งขันในการสร้างภาพยนตร์ บริษัทไทยฟิล์มเกิด
จาก พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ร่วมกับพระสหายสองสามคนคือ ฯพณฯพจน์ สารสิน หลวงสุขุมนัย ประดิษฐ์ และนายประสาท สุขุม ได้ก่อตั้งบริษัทไทยฟิล์ม โดยเริ่มฟอร์มงานโดยส่งคุณชาญ บุนนาค กับคุณประสาท สุขุม
ไปอเมริกาไปดูงานและหาซื้อเครื่องมือมาใช้สร้างหนังและได้ที่ซื้อที่ดินที่ทุ่งมหาเมฆ ราว 20 ไร่ สร้างเป็นโรงถ่าย โดยให้บริษัทคริสเตียนนีแอนด์ เนียลเสน ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่สร้างโรงถ่ายของบริษัทศรีกรุง ที่บางกะปิ เป็นผู้สร้างโรงถ่าย
ไทยฟิล์ม
บริษัทไทยฟิล์มสร้างหนังเรื่องแรกเรื่อง "ถ่านไฟเก่า" ปี พ.ศ. 2481 มีนางเอกชื่อเคลียวพันธ์ บุนนาค ซึ่งในเรื่องนี้มีเพลงดัง คือเพลง บัวขาว และ ลมหวน โดยมี หม่อมหลวงพวงร้อย กับหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ร่วมกัน
ประพันธ์ทำนองเพลง พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ประพันธ์เนื้อเรื่อง ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของบริษัทไทยฟิล์ม คือ "แม่สื่อสาว" สร้างในปี พ.ศ.2481 เรื่อง "วันเพ็ญ" สร้างในปี พ.ศ.2482 นำแสดงโดย สนิท พุกประยูร กับปริม บุนนาค
และอีกเรื่องคือ "ปิดทองหลังพระ" นำแสดงโดย ทวี ณ บางช้าง (มารุต) ถ้าจะมองรูปแบบของบริษัทศรีกรุงและบริษัทไทยฟิล์ม จะเห็นว่ารูปแบบหนังที่สร้างของสองบริษัทจะแตกต่างกัน รูปแบบของบริษัทศรีกรุงจะมีรูปแบบออกกระเดียด
ไปทางศรีกรุง แต่บริษัทไทยฟิล์มจะเน้นหนักในด้านไทยๆ ต่อมาบริษัทไทยฟิล์มได้เลิกกิจการไป ได้ขายกิจการและโรงถ่ายในกองทัพอากาศ ตั้งกองภาพยนตร์ขึ้น และในช่วงนี้มีอีกบริษัทหนึ่ง คือบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2479 ด้วยสร้างเรื่อง "หนามยอกหนามบ่ง" เป็นหนังพากย์ นำแสดงโดย โปร่ง แสงโสภณ อีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัท น.น.ภาพยนตร์ของนายบำรุง แนวพานิช ได้สร้างภาพยนตร์เสียงออกมา
ได้เรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง "ปิดทางรัก" ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2480 แต่ตอนหลังขาดแคลนทุนทรัพย์ จึงต้องหยุดกิจการไป
ยุคที่ 2 ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลที่จะถูกกล่าวในช่วงนี้คือ หม่อมเจ้าศุภวรรณดิศ ดิศกุล หรือเรียกตามชื่อเล่นว่า ท่านขาว ท่านเป็น พระโอรสของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับการศึกษาในวิชาวรรณคดี และโบราณคดี
ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ประเทศฝรั่งเศส กลับมาเมืองไทย เป็นอาจารญ์สอนวิชาฝรั่งเศสที่โรงเรียนกรมศิลปากร มีอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะมาทำงานด้านภาพยนตร์ เคยทำงานหนังสือพิมพ์อยู่พักใหญ่ ต่อมาไปทำงานอยู่แผนกโฆษณากิจการรถไฟ
โดยการชักชวนของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำหนังโฆษณากิจการรถไฟ พอเกิดสงครามอินโดจีน ท่านขาวได้มีโอกาสออกแนวหน้าร่วมกับกองทัพพายัพ ในตำแหน่งผู้ถ่ายภาพยนตร์และถ่ายรูปให้กรมรถไฟ พอสงครามอินโดจีนสงบ ท่านได้สร้าง
หนังประชาสัมพันธ์กิจการรถไฟ โดยใช้ฟิล์มสี 16 มิลลิเมตร มาใช้ในการถ่ายทำเรื่อง "สามปอยหลวง"
เมื่อปี พ.ศ.2482 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่อง 16 มิลลิเมตร เรื่องแรกของเมืองไทยที่ฉายเก็บเงินเพื่อการค้า สร้างจากบทประพันธ์ของ เวทางค์ โดยสร้างให้มีเรื่องราวสนุกสนาน เป็นครั้งแรกที่คนดูได้ชมทิวทัศน์ของเมืองไทยด้วยฟิล์มสี
ที่เรียกว่า สีธรรมชาติ การสร้างด้วยฟิล์ม16 มิลลิเมตร ครั้งแรกของหม่อมเจ้าศุภวรรณดิศ ดิศกุล ใครๆที่ทราบเรื่องก็พากันหัวเราะเยาะ เพราะสมัยนั้นมีแต่ 25 มิลลิเมตรไม่เคยมีใครสักคนทำภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร เพื่อการค้าเลย แต่พอสร้าง
เสร็จนำออกฉาย ที่ศาลาเฉลิมกรุง สามารถทำลายสถิติ "ทาร์ซานกับมนุษย์วานร" เมื่อพ.ศ. 2482 หนังเรื่อง "สามปอยหลวง" ทำรายได้สูงสุดไว้ถึง 34,000 บาทใช้เวลาฉายนาน 21 วัน เลยเกิดการตื่นเต้นกันขนาดใหญ่ หนังเรื่องนี้เป็นหนังพากย์
พากย์โดย ทิดเขียว บรมครูแห่งนักพากย์ไทย ในปลายปี พ.ศ. 2481
วันที่ 16 ธันวาคม พันเอกหลวงพิบูลย์สงคราม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีที่ลาออก ปีพ.ศ. 2483 นายปรีดี พนมยงค์ ได้สร้างภาพยนตร์ไทยเรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" เป็น
ภาพยนตร์ขาว-ดำ 35 มิลลิเมตร พูดภาษาอังกฤษ เพื่อสะท้อนความคิดทางการเมือง ที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิทหารฟาสซิสต์ที่กำลังเฟื่องฟูทั้งในเยอรมันนี ญี่ปุ่น และ ไทย และเรียกร้องสันติภาพ โดยให้เห็นความหมายของสันติภาพ นอกจาก
จะฉายให้คนไทยดูแล้ว ปรีดี พนมยงค์ ยังได้ส่งประกวด รางวัลสันติภาพโนเบิลไพรซ์ จึงเป็นเหตุให้ผุ้แสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้พูดภาษาอังกฤษ แทนที่จะพูดภาษาไทย นำแสดงโดย เรนู กฤตยากร ไพริน เนียลเซน ประดับ รบิลวงศ์ กำกับ
การแสดงโดย สันห์ วสุธาร หนังเรื่องนี้ยิ่งใหญ่มโหฬารด้วยฉากการชนช้าง การถ่ายภาพที่สวยและมุมกล้องที่เด่นของ ประสาท สุขุม หนังไม่ประสบผลสำเร็จในรายได้เมื่อฉายในเมืองไทย ปรีดี พนมยงค์ นำไปฉายโชว์ที่อเมริกาและสิงคโปร์
ในกลางปี พ.ศ. 2483 กองทัพอากาศได้ตั้งกองภาพยนตร์ขึ้น และได้ซื้อโรงถ่ายทุ่งมหาเมฆของบริษัทไทยฟิล์ม มาดำเนินงานต่อ โดยมอบหมายให้อยุ่ในความควบคุมของนาวาอากาศเอกสวัสดิ์ ทิฆัมพร มีครูเนรมิต เป็นผู้กำกับการ
แสดง ภาพยนตร์ของโรงถ่ายทหารอากาศ ได้ติดต่อเชิญพระเจนดุริยางค์ย้ายจากกรมศิลปากร ให้มารับราชการที่กองทัพอากาศ ตั้งวงดนตรีคลาสสิค และโรงเรียนสอนวิชาดนตรีให้ชื่อว่า โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อผลิตนักดนตรีขึ้นมา
ให้เก่งทั้งด้านทฤษฏีและในด้านปฏิบัติ และจำเป็นต้องมีดนตรีใช้บรรเลงประกอบภาพยนตร์ มีนักดนตรีที่ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคือ พรเจนดุริยางค์ สง่า อารัมภีร์ และสุรพล แสงเอก
ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นบุกเมืองไทย ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคที่ 3 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอเกิดสงครามโลก การสร้างภาพยนตร์ก็หยุดชะงักเพราะขาดแคลนฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายทำ การขนฟิล์มทางเรือที่นำมาเมืองไทย
ถูกบอมบ์และโดยเฉพาะไทยเข้าอยู่ฝ่ายอักษะด้วย ทำให้รัฐบาลสมัยนั้นประกาศตน เป็นคู่สงครามกับประเทศที่ผลิตภาพยนตร์เป็นสินค้าออกสูงกว่าทุกประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส นอกจากจะขาดแคลนฟิล์มดิบที่ใช้ในการ
ถ่ายทำแล้ว โรงภาพยนตร์ต่างขาดแคลนภาพยนตร์ที่จะฉาย ทำให้โรงภาพยนตร์ชั้นนำในสมัยนั้น ได้แก่ ศาลาเฉลิมกรุง โอเดี้ยน และพัฒนากร เมื่อขาดแคลนภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ จึงมีการนำภาพยนตร์เรื่องเก่าๆที่สนุกสนานชั้นดีมาฉายพากย์
ไทย โดยมีนักพากย์ปากดีๆ เช่นทิดเขียวกับคณะปัญญพล มาพากย์ สลับกับดนตรีของวงดนตรีคณะต่างๆเล่นสลับฉาก มีละครตลกเรื่องสั้นๆฉากเดียวจบเล่ม เช่นคณะลูกไทย ของจอก ดอกจันทร์ บางครั้งจะมีภาพยนตร์ญี่ปุ่นมาฉายให้ดูบ้าง
แต่ก็ไม่พอเพียง
สมัยนั้นความบันเทิงของคนกรุงเทพฯก็คือ ละครเวที หลังจากศิลปะการละครที่เคยซบเซามานานกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ ในระยะก่อนหน้าเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงวิจิตรวาทการ เมื่อยังดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้รื้อฟื้น
ศิลปะการละครที่มีเนื้อหาหนักไปทางชาตินิยม สร้างความตื่นเต้น เกียวกราวให้บรรดาผู้ชมละครทั้งหลายเพียงช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีก็เงียบหายไป พอเกิดสงครามโลก ศิลปินทั้งหลายก็ก่อหวอดจับเป็นกลุ่มเป็นก้อนพัฒนาเป็นคณะละครใหญ่ๆ
เช่น คณะนิยมไทย คณะเทพศิลป์ และคณะละครวิจิตรเกษม เป็นต้น
การที่ละครเฟื่องฟูในยุคนี้ ทำให้เกิดศิลปินที่เกิดจากละครเวทีเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังจากสิ้นสุดสมัยของละครเวที ศิลปินเหล่านี้ก็เป็นกำลังสำคัญในการหันเหมาแสดงภาพยนตร์ต่อไป กองภาพยนตร์ทหารอากาศในช่วงสงครามได้
สร้างภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่-นาเรา" เมื่อ พ.ศ.2485 ทั้งนี้เนื่องจาก จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีความประสงค์จะยกฐานะของชาวนา ให้สูงขึ้นตามแบบอย่างต่างประเทศให้ฐานะอาชีพชาวนา มีฐานะดีเท่าเทียมอาชีพอื่นๆ โดยมอบหมายให้
กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้แต่งเรื่อง กำกับการแสดงโดย เนรมิต ถ่ายภาพโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ เป็นหนัง 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ เสียงในฟิล์ม นำแสดงโดย เรืออากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ และนางสาวอารี ปิ่นแสง ในเรื่องนี้ มีการแต่ง
กายเป็นชาวนาสมัยใหม่คือใส่รองเท้าบู๊ด และทุกคนยังจำได้ดีถึงเพลง "บ้านไร่-นาเรา" ที่พระเจนดุริยางค์ แต่งทำนอง ขุนวิจิตรมาตรา แต่งเนื้อร้อง ออกฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง โอเดี้ยน ได้รับความสำเร็จอย่างสูง
ในปีเดียวกัน พ.ศ. 2485 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้ให้บริษัทศรีกรุงสร้างภาพยนตร์ ขึ้นมาเรื่องหนึ่งเพื่อปลอบใจประชาชน ตามนโยบายของท่านผู้นำ เรื่อง "น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง" นำแสดงโดยจำรัส สุวคนธ์
และนางสาวนรา นภาพันธุ์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ศรีกรุง หนังเรื่องต่อมาของกองภาพยนตร์ทหารอากาศ คือเรื่อง สงครามเขตหลัง เป็นหนัง ซาว ออน ฟิล์ม และในปีต่อมา พ.ศ. 2486 ฟิล์ม 35 มิลลิเมตร สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์
เรื่องต่อไปก็ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง ทางฝ่ายผู้บังคับบัญชาจึงเจรจาขอซื้อฟิล์มจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อเอามาสร้างหนังเรื่องต่อไป ทางฝ่ายญี่ปุ่นก็ยินดีขายให้เพราะญี่ปุ่นและไทยเป็นมิตรกัน ทางโรงหนังในเมืองไทยในช่วงสงครามก็มีหนัง
สงครามของเยอรมัน และญี่ปุ่นมาฉายให้เห็นชัยชนะในสงครามของฝ่ายอักษะ ให้ชมอยู่เสมอๆในระยะนั้น เมื่อติดต่อซื้อฟิล์มไปแล้ว ก็ตกลงจะสร้างเรื่อง "นักบินกลางคืน" แสดงถึงวีรกรรมของฝูงบินสกัดกั้นฝูงหนึ่งของไทย มีหน้าที่คุ้มครอง
กรุงเทพฯและธนบุรีให้ปลอดภัย แต่น่าเสียดายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องไฟไหม้ไม่เหลือให้ชนรุ่นหลังได้ชมกัน
ยุคที่ 4 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังสงครามโลกสงบ ละครเวทียังได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ.2490-2495 เป็นยุคละครเวทีรุ่งเรือง ก่อนที่จะเสื่อมความนิยมปิดโรงละคร ภาพยนตร์ในช่วงนี้ที่ดังมาก คือเรื่อง "สุภาพบุรุษ
เสือไทย" ออกฉายเมื่อปี พ.ศ.2492 เป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร ที่ทำให้ผู้สร้างหนังไทย หันมานิยมสร้าง ด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง หลังจากหนังเรื่อง "สุภาพบุรุษเสือไทย" ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้
นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร เรื่องนี้เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง ต่อมาย้ายจากโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงไปเข้าเฉลิมบุรี ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งใน
ด้านรายได้และคำชมเชย
ในระยะก่อนสงความโลก ครั้งที่ 2 ประชาชนไทยส่วนมาก ยังไม่ใคร่รู้จักและคุ้นเคยกับภาพยนตร์16 มิลลิเมตรกันนัก ด้วยเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในต่างประเทศ สำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่ส่งเข้ามาฉายในระยะนั้น จากที่เป็น
ประเภท16 มิลลิเมตรยังไม่มีเลย ล้วนแต่เป็นฟิล์มขนาด 35 มิลลิเมตร ทั้งสิ้น ด้วยเครื่องฉายประจำที่มีอยู่ตามโรงภาพยนตร์ล้วนแต่เป็นเครื่องฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่ เครื่องฉายขนาดเล็กยังมีเพียงไม่กี่เครื่องที่จะทำให้ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร
แพร่หลายได้ และผู้ที่มีเครื่องฉายอยู่ส่วนมากก็ใช้สำหรับฉายภาพยนตร์ที่ถ่ายเล่นภายในครอบครัวเท่านั้น กิจการภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร ก่อนสงครามเท่าที่เรียกว่าเป็นภาพยนตร์เรื่อง ที่จำหน่ายฉายหาเงินอย่งแท้จริง ก็เป็นภาพยนตร์ไทย
บางเรื่อง เช่น เรื่อง "สามปอยหลวง" ซึ่ง หม่อมเจ้าศุภวรรณดิศ ดิศกุล เป็นผู้ริเริ่มทำการถ่ายภาพยนตร์ประเภทนี้ขึ้น
ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ สอง สงบแล้ว ประชาชนจึงทราบว่าได้มีภาพยนตร์16 มิลลิเมตร เกิดขึ้นอย่างจริงจังโดยสำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) เป็นผู้เริ่มนำภาพยนตร์ขนาดนี้ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งส่วนมากเป็นจำพวกภาพยนตร์ข่าว
สงครามขนาดสั้น มีความยาวเรื่องละประมาณ 20-30 นาที ที่เป็นข่าวสงครามขนาดยาวมีเพียงเรื่องเดียว คือเรื่อง THE FIGHTING LADY ระบายสี เทคนิค นอกนั้นก็เป็นพวกข่าวความรู้เบ็ดเตล็ดชีวิตชนชาวอเมริกัน การ์ตูนเกี่ยวกับโรคา
พยาธิและป้องกันเชื้อโรคซึ่งสร้างโดย วอล์ทดีสนี่ย์ นักสร้างภาพยนตร์การ์ตูนลือนาม สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้จัดรถพิเศษพร้อมทั้งเครื่องฉายนำภาพยนตร์ศึกษาเหล่านี้ ตระเวนออกฉายโดยไม่หวังผลทางการค้า ซึ่งก็ได้รับความนิยมจาก
ประชาชนมาก พอภาพยนตร์เรื่อง "สุภาพบุรุษเสือไทย" ออกฉายด้วยฟิล์ม16 มิลลิเมตร ก็แพร่หลาย ปี พ.ศ. 2493 อัศวินภาพยนตร์สร้างเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" ของพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล หลังจากในยุคที่ละครเวทีเฟื่องฟู พระองค์เจ้า
ภาณุพันธ์ ยุคล ขายกิจการไทยฟิล์มให้กองภาพยนตร์ทหารอากาศ แล้วตั้งคณะละครชื่อ อัศวินการละคร และเมื่อละครเวทีหมดความนิยม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล ก็หันกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง ในนาม อัศวิน
ภาพยนตร์ เรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" เคยถูกสร้างเป็นละครเวที ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จากอมตะนิยายของพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล สร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย มารุต ถ่ายภาพโดย รัตน์ เปสตันยี สร้างเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร
พากย์ นำแสดงโดย ชูชัย พระขรรค์ชัย สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ชั้น แสงเพ็ญ ถนอม อัครเศรณี หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จในด้านรายได้อย่างงดงาม และมีเพลงอยู่เพลงหนึ่ง ในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีความไพเราะ ที่ทุกคนยังจำได้ดีคือ "เพลง
น้ำตาแสงใต้" ที่แต่งทำนองโดย สง่า อารัมภีร์ แต่งคำร้องโดย มารุต ซึ่งเป็นเพลงอมตะเพลงหนึ่ง ผลงานของอัศวินภาพยนตร์ที่เด่นๆมีเรื่อง "นเรศวรมหาราช" "เป็ดน้อย" "ละครเร่" และ "จำปูน"
อีกบริษัทหนึ่งในช่วงหลังสงครามคือ บริษัทสถาพรภาพยนตร์ ภายหลังกองภาพยนตร์ทหารอากาศ ถูกยุบตามนโยบายทางราชการ กลายเป็นกองดุริยางค์ทหารอากาศ คณะละครศิวารมณ์หันเห มาสร้างภาพยนตร์ด้วยการก่อตั้ง
ขึ้นเป็น "สถาพรภาพยนตร" โดยมี จอมพลอากาศฟื้น ฤทธาคนี เป็นประธานกรรมการบริษัท ร่วมด้วยบุคคลชั้นสูงในวงราชการ อาทิเช่น พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และพล.ท. ม.ล.ขาบ กุญชร โดยมีความมุ่งหมายในการสร้างภาพยนตร์ต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ มีเจ้าหน้าที่ผุ้ดำเนินงานและศิลปินของศิวารมณ์ เข้าทำงานเป็นแกนสำคัญของบริษัทนี้ บริษัทสถาพรภาพยนตร์เป็น บริษัทใหญ่แห่งแรกในยุคหลังสงครามที่มีเครื่องมือทันสมัยและใหญ่โตที่สุด และได้อาศัยโรงถ่ายของกอง
ภาพยนตร์ทหารอากาศมาเป็นโรงถ่ายต่อไป ในระยะแรกสร้างภาพยนตร์มาได้ 4 เรื่อง คือ "เสียงสาป" "มาตุภุมิ" "นางนกป่า" "ชะตารัก" ทุกเรื่องฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่งในสมัยนั้น ยกเว้นเรื่อง "นางนกป่า"
ฉายที่โรงภาพยนตร์ ควีนส์











1.กระบวนการผลิตภาพยนตร์
ขั้นตอนการผลิตรายการ
ขั้นตอนของการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ ประกอบด้วย ขั้นตอนของการเตรียมงานก่อนถ่ายทำ ขั้นตอนการถ่ายทำ และขั้นตอนหลังการถ่ายทำ

1. ขั้นตอนเตรียมงานก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์ (pre-production) การเตรียมงานก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์เปรียบได้เป็นการวางโครงสร้างให้กับงานกองถ่ายทั้งหมด การถ่ายทำภาพยนตร์จะดำเนินการไปด้วยดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดเตรียมงานเป็นสำคัญ ดังนั้น การเตรียมการที่ละเอียดรอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้การถ่ายทำภาพยนตร์ดำเนินไปอย่างเรียบร้อยราบรื่น
1.1) การทำงานกับบทภาพยนตร์ เริ่มตั้งแต่การหาเรื่องที่จะนำมาทำเป็นภาพยนตร์ ซึ่งอาจได้จากความคิดและแรงบันดาลใจของผู้กำกับภาพยนตร์หรือผู้อำนวยการสร้าง หรืออาจนำเรื่องมาจากบทประพันธ์ที่มีอยู่แล้ว ผู้กำกับอาจเป็นผู้ลงมือเขียนบทเองหรือเป็นผู้เสนอโจทย์แล้วให้ผู้เขียนบทนำไปเขียน บทภาพยนตร์ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เป็นพิมพ์เขียวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องถือเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งบทภาพยนตร์ประกอบด้วย แก่นเรื่อง (theme) โครงเรื่อง (plot) การแสดง (drama) ความขัดแย้ง (conflict) จุดวิกฤตสูงสุด (climax) บทสรุปของเรื่อง (resolution) และบทพูด (dialogue) เมื่อได้บทภาพยนตร์มาแล้ว ผู้กำกับจะลงมือตีความและทำความเข้าใจกับบทภาพยนตร์ และเมื่อใดที่บทภาพยนตร์ต้องมีการแก้ไข ผู้กำกับจะเป็นผู้ลงมือปรับปรุงโดยใช้ความชำนาญของตนเองเข้าไปจัดการ ขัดเกลา ตั้งแต่การปรับปรุงบทพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนโครงสร้างของเรื่อง
1.2) การคัดเลือกผู้แสดง ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์จะพิจารณาคัดเลือกผู้แสดงที่เหมาะสม โดยเฉพาะการคัดเลือกดารา เพราะเป็นบุคคลสำคัญของเรื่องในภาพยนตร์เพื่อให้การถ่ายทอดข่าวสารเป็นไปอย่างมีอรรถรส และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการสร้างภาพยนตร์ การคัดเลือกนักแสดงจะมีรูปแบบไม่แน่นอน แล้วแต่วิธีการของผู้กำกับแต่ละคน โดยพื้นฐาน การคัดเลือกผู้แสดงมักต้องคำนึงถึงรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ พื้นฐานและประสบการณ์ทางการแสดง ความละเอียดอ่อนและจินตนาการ น้ำเสียงและการใช้ภาษา ความสามารถทางการแสดงและบุคลิกภาพตรงตามบท บุคลิกภาพและหน้าตาที่มีเสน่ห์ชวนมอง
1.3) การจัดหาสถานที่ การออกแบบและเตรียมงานศิลป์
1.4) การจัดทีมงาน เป็นการคัดเลือกทีมงานแต่ละฝ่ายที่มีความสามารถและเหมาะสมกับภาพยนตร์เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ โดยทีมงานจะต้องสามารถประสานงานกันได้อย่างสอดคล้องสัมพันธ์ และผสมผสานกลมกลืนกัน

2. ขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์ (production) งานในขั้นตอนนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้กำกับภาพยนตร์ที่จะต้องบริหารงานในการถ่ายทำให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นที่สุด โดยมีความงดงามทางศิลปะและการสื่อสารที่ดีที่สุดจากความร่วมมือของทุก ๆ ฝ่าย
สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในขั้นตอนนี้คือ การกำกับการแสดง เนื่องจากการแสดงถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในภาพยนตร์ เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ชมจะเห็นได้อย่างชัดเจนเป็นอันดับแรก ๆ การกำกับการแสดงนั้นถือเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำกับภาพยนตร์กับนักแสดง ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายจะสะท้อนออกมาในผลงาน ซึ่งต่างจะให้อิทธิพลและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การส่งเสริมให้นักแสดงเรียนรู้และพัฒนาบทบาทการแสดงถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้กำกับอย่างหนึ่ง ผู้กำกับควรศึกษาถึงความสามารถของนักแสดงแต่ละคน และพยายามนำความสามารถนั้นออกมาใช้ให้มากที่สุด

3. ขั้นตอนหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ (post-production) ภาพยนตร์ที่เตรียมงานและถ่ายทำตามกำหนดการที่เสร็จสมบูรณ์ก่อนจะนำออกฉายได้จะต้องมีงานหลังการถ่ายทำ แต่ในระหว่างการถ่ายทำก็อาจจะมีขั้นตอนหลังการถ่ายทำควบคู่ไปกับการถ่ายทำก็ได้ โดยขั้นตอนที่สำคัญได้แก่ การตัดต่อลำดับภาพ และการประพันธ์ดนตรีและเพลงประกอบ

บุคลากรการผลิตรายการ
ในการผลิตภาพยนตร์มีบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย สำหรับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่
1. ผู้อำนวยการสร้าง (producer) เป็นผู้ที่รับนโยบายจากผู้อำนวยการบริหาร ควบคุมการทำงานร่วมกันกับผู้กำกับ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ดูแลงบประมาณไม่ให้บานปลาย และเป็นผู้ซื้อบทหรือมีส่วนร่วมในการจ้างบุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่าย ฉายภาพยนตร์ และหาประโยชน์จากภาพยนตร์
2. ผู้กำกับภาพยนตร์ (director) เป็นผู้ตีความ เป็นผู้ควบคุมการผลิตภาพยนตร์ทั้งหมด ขึ้นตรงกับผู้อำนวยการสร้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเรื่องการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับนักแสดงเพื่อถ่ายทอดจากบทภาพยนตร์ให้ปรากฏเป็นภาพตามมุมมองหรือแนวคิดของผู้กำกับ รักษาภาพรวมที่ออกมาทั้งหมด สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทได้ตามความเหมาะสม
3. ผู้เขียนบท (scriptwriter / screenwriter) เป็นผู้สร้างตัวละคร คิดบทสนทนา สถานการณ์ โครงเรื่อง ลำดับฉาก และองค์ประกอบในการเล่าเรื่องต่าง ๆ ในรูปแบบของบทภาพยนตร์
4. ฝ่ายการแสดง โดยมีทั้งผู้ที่อยู่เบื้องหน้า ได้แก่ นักแสดงนำ นักแสดงสมทบ และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง เช่น ผู้คัดเลือกนักแสดง ผู้ฝึกสอนการแสดง ฯลฯ
5. ผู้กำกับภาพ (cinematographer หรือ director of photography) เป็นผู้ทำงานประสานกับผู้กำกับในการแปลความหมายจากบทภาพยนตร์ให้เป็นภาพเคลื่อนไหว เป็นผู้รับผิดชอบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ การจัดองค์ประกอบภาพ การจัดแสง การเลือกใช้กล้อง เลนส์ ฟิล์ม และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งการตกแต่งฉาก อุปกรณ์ประกอบฉากว่ามีความสัมพันธ์กับตัวแสดง เสื้อผ้า ทรงผม และการแต่งหน้าหรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งที่มักจะทำหน้าที่เป็นช่างภาพเองด้วย
6. บุคลากรฝ่ายศิลป์ คือผู้ที่มีหน้าที่ในการสร้างสรรค์ปั้นแต่ง ตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงสิ่งของขนาดใหญ่เพื่อเป็นการเสริมภาพรวมทั้งหมดให้ออกมาดูดี เช่น ผู้ออกแบบการสร้าง ผู้ออกแบบฉาก ผู้จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้ออกแบบเสื้อผ้า ช่างแต่งหน้า ผู้ออกแบบทรงผม ฯลฯ
7. บุคลากรฝ่ายเสียง มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งในส่วนของเสียงบทสนทนา เสียงดนตรี และเสียงประกอบต่าง ๆ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ เช่น ผู้บันทึกเสียงถ่ายทำ ผู้ตัดต่อเสียง นักแต่งเพลง ผู้บันทึกเพลงประกอบ ฯลฯ
8. ผู้ตัดต่อลำดับภาพ (film editor) เป็นผู้คัดเลือกช็อตและเรียงร้อยภาพให้เกิดเรื่องราวขึ้นตามจินตนาการของผู้กำกับ โดยทำงานร่วมกับผู้กำกับอย่างใกล้ชิด
< กล้องถ่ายภาพยนตร์



ผู้ควบคุมความต่อเนื่อง (Continuity) >
เป็นผู้ที่จดรายงาน การถ่ายทำ เสื้อผ้า หน้า ผม ที่ใช้ในแต่ละฉาก จำนวนคัตหรือเทคที่ถ่าย ฯลฯ


< การจัดแสงในการถ่ายภาพยนตร์











< สเลท (Clapboard Slate) บนสเลทจะเขียนข้อมูลสำคัญๆเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์ ใช้สำหรับตีก่อนการถ่ายแต่ละคัต เพื่อให้สะดวกในขั้นตอนการตัดต่อ
< เครื่องวัดแสง


< ผู้บันทึกเสียง ใช้ไมค์บูมในการเก็บเสียงระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์












ดอลลี่ (Dolly) >
อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนกล้องระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์





< ผู้กำกับภาพยนตร์อธิบายสิ่งที่ต้องการให้แก่นักแสดง





< ฝ่ายเสื้อผ้า เตรียมเสื้อผ้าให้พร้อมสำหรับนักแสดง











< ผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบ เพื่อสร้างอารมณ์และบรรยากาศให้กับภาพยนตร์







การตัดต่อภาพยนตร์ >
เพื่อเรียบเรียงสิ่งที่ถ่ายทำมาให้เป็นเรื่องราว


2.ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
กำเนิดภาพยนต์

ปลายศตวรรษที่ 19 ด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีประสานเข้ากับจินตนาการของคนเรา โลกจึงได้ยลโฉมกับประดิษฐกรรมชนิดใหม่ในนาม "ภาพยนตร์" กล่าวกันว่า การกำเนิดขึ้นของภาพยนตร์นั้นถือว่าเป็นจุดหักเหสำคัญจุดหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์ โดยเป็นการละทิ้งวัฒนธรรมทางภาษาไว้เบื้องหลังเพื่อรับวัฒนธรรมทางภาพและเสียง และโดยเฉพาะนับแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นพลังทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของโลกเลยทีเดียว



ความปรารถนาที่จะเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยภาพที่เคลื่อนไหวได้หรือที่เรียกว่า “ภาพยนตร์” นั้น มีอยู่ในความคิดฝันของมนุษย์ทั่วโลกมานานแสนนานแล้ว สันนิษฐานว่าในชั้นแรกก็เป็นการใช้มือเล่นเงาให้เกิดรูปร่างต่างๆ ที่เคลื่อนไหวได้ที่หน้ากองไฟ โดยมีผนังถ้ำเป็นจอฉาย ในสมัยต่อๆ มาก็มีการเขียนภาพที่มีลักษณะอาการต่อเนื่องกันลงในสมุดทีละหน้า หรือบ้างก็เขียนไว้บนพัดที่มีสองด้าน เมื่อพลิกสมุดหรือหมุนพัดเร็วๆ ก็จะได้ภาพที่ดูเคลื่อนไหวได้
หลักการพื้นฐานของภาพยนตร์คือหลักการที่เรียกว่า “ภาพติดตา” (Persistence of Vision) นั่นคือ การที่ภาพที่เรามองเห็นผ่านสายตาจะคงติดอยู่ในเรตินาของเราชั่วขณะหนึ่ง แม้ว่าในความเป็นจริงภาพนั้นจะหายไปแล้ว ซึ่งเป็นหลักการที่มีการค้นพบมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ต่อมาจึงได้มีผู้นำหลักดังกล่าวมาพัฒนา โดยการนำเอาภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อยมาวางเรียงต่อกัน แล้วทำให้เกิดความเคลื่อนไหวเร็วๆอย่างต่อเนื่อง หลักการของภาพติดตาก็จะทำให้เกิดภาพลวงเสมือนว่าภาพนิ่งเหล่านั้นเคลื่อนไหวได้ ซึ่งจากพื้นฐานเช่นนี้เองที่ทำให้ภาพยนตร์มีศัพท์ที่ใช้เรียกอีกคำหนึ่งว่า moving picture นอกเหนือจากคำว่า film , cinema หรือ movie ที่มักใช้กันทั่วไป

และตามปรกติแล้ว ถ้าหากจะให้เกิดความลื่นไหลของการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริง ในเวลา 1 วินาที ภาพยนตร์จะต้องนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกันเป็นจำนวน 24 ภาพ หรือที่เรียกว่าการฉายภาพด้วยความเร็ว 24 ภาพ / วินาที นั่นเอง





ประวัติภาพยนต์ไทย

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกสามารถแบ่งได้คร่าวๆ 4 ยุค ได้แก่

1. ยุคบุกเบิก (ค.ศ. 1815 – 1907)

การทดลองของเอดิสันและคณะ
เอดิสันและดิคสันได้มาทำงานทดลองเกี่ยวกับภาพยนตร์ในราวปี ค.ศ. 1888 จนสามารถประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จ ในปี ค.ศ.1889 เรียกชื่อว่า Kinetograph และภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาถ่ายทำขึ้นในปีเดียวกันนี้คือเรื่อง Fred Ott’s Sneeze อันเป็นการถ่ายทำภาพยนตร์ในระยะเดียวคือ ปานกลางค่อนข้างใกล้ (Medium Close-up) ของชายที่กำลังจาม นอกจากนี้ ยังได้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพยนตร์ที่เรียกว่า Kinetoscope ขึ้นด้วย แต่เป็นเครื่องฉายในลักษณะ “ถ้ำมอง” (Peep-Show) ที่ดูได้คราวละหนึ่งคน ทั้งนี้เพราะเอดิสันเชื่อว่าภาพยนตร์จะสามารถทำเงินได้ต่อเมื่อให้คนดูที่อยากรู้อยากเห็นจ่ายเงินเข้าดูทีละคนเท่านั้น

สิ่งประดิษฐ์ของพี่น้องลูมิแอร์
เนื่องจากว่าเอดิสันได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องฉายและกล้องถ่ายภาพยนตร์ของเขาแต่เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา บรรดานักประดิษฐ์ชาวยุโรปชาติต่างๆ ที่สนใจและค้นคว้าในเรื่องนี้อยู่แล้วเมื่อได้มาชมนิทรรศการประดิษฐกรรมของเอดิสันจึงสามารถลอกแบบและนำไปปรับปรุงให้ดีกว่าได้ และในบรรดานักประดิษฐ์ที่มีบทบาทต่อประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในช่วงปี ค.ศ.1895-1900 นั้น มีอยู่คู่หนึ่งที่นับว่ามีบทบาทสำคัญมากก็คือ พี่น้องลูมิแอร์ อันได้แก่ Auguste และ Louise Lumiere ซึ่งได้ทดลองออกแบบกล้องถ่ายภาพยนตร์ขึ้นโดยใช้เครื่องกลแบบเดียวกับที่ใช้ในจักรเย็บผ้าที่จะช่วยเลื่อนฟิล์มไปข้างหน้า ซึ่งก็คือ “กวัก” อันเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในกล้องถ่ายและฉายภาพยนตร์ปัจจุบัน
ลูมิแอร์ ได้จดทะเบียลิขสิทธิ์ผลงานของเขาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1895 โดยให้ชื่อประดิษฐกรรมนี้ว่า Cinematography ซึ่งมีข้อดีกว่ากล้องของเอดิสัน คือ เป็นทั้งเครื่องถ่ายและเครื่องฉายได้ในตัวเดียว และมีน้ำหนักเบากว่า จึงสามารถนำออกไปถ่ายทำหนังนอกสถานที่ได้
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่พี่น้องลูมิแอร์ถ่ายทำขึ้นก็คือ La Sortie des ouvriers de I’ usine Lumiere (คนงานออกจากโรงงานลูมิแอร์) แสดงให้เห็นภาพชีวิตประจำวันของคนงานที่ออกจากโรงงาน ซึ่งมีลักษณะที่เป็นไปเองตามปกติและไม่มีการ “จัดแสดง” นี่เป็นอีกจุดหนึ่งของความแตกต่างทางด้านศิลปะการสร้างภาพยนตร์ระหว่างลูมิแอร์กับเอดิสันซึ่งจะเห็นได้จากภาพยนตร์หลายๆ เรื่องของสองฝ่ายนี้ อาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่เอดิสันนั้นเป็นบิดาของภาพยนตร์เรื่องหรือภาพยนตร์ที่เป็นการแสดง ลูมิแอร์ก็จะเป็นฝ่ายเริ่มบุกเบิกภาพยนตร์ธรรมชาติหรือสารคดี เพราะว่าหนังของลูมิแอร์ส่วนใหญ่จะเป็นการจับภาพของช่วงชีวิตที่เกิดขึ้นหน้าเลนส์ของกล้องมากกว่าจะเป็นการจัดแสดงขึ้นหน้ากล้อง
การจัดฉายภาพยนตร์ของลูมิแอร์ให้สาธารณชนชมเป็นครั้งแรกทำกันที่ห้องใต้ถุนของร้าน Grand Cafe ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1895 (และถือว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นของภาพยนตร์ในเชิงธุรกิจ) ซึ่งก็ก่อให้เกิดความโกลาหลขึ้นพอสมควร เนื่องจากเมื่อหนังฉายภาพรถไฟที่พุ่งตรงเข้ามาหาคนดู ทำให้คนดูหลายคนที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่นี้ตกใจและวิ่งหนีเพราะคิดว่าเป็นเรื่องจริง

2. ยุคหนังเงียบ (ค.ศ. 1908 – 1928)
ยุคหนังเงียบ เป็นยุคที่สหรัฐฯ ได้พัฒนาศิลปะการสร้างภาพยนตร์ขึ้นอย่างมาก ประจวบกับสงครามโลกครั้งแรกได้เกิดขึ้นในยุคนี้ด้วย เป็นผลให้พัฒนาการทางภาพยนตร์ของประเทศต่างๆ ในยุโรปที่เข้าสงครามต้องสะดุดชะงัก จะเห็นได้จากสถิติที่ว่าก่อนปี ค.ศ.1914 นั้น 90 เปอร์เซ็นต์ของภาพยนตร์ที่ส่งออกไปฉายในตลาดโลกเป็นของฝรั่งเศส ทว่าหลังปี 1928 เป็นต้นมา 85 เปอร์เซ็นต์ของหนังในตลาดโลกเป็นของสหรัฐฯ




Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2551 8:02:44 น. 0 comments
Counter : 1285 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Naysor
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




[Add Naysor's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com