http://twitter.com/merveillesxx และ http://www.facebook.com/merpage
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
24 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
มองผู้หญิงผ่านเอ็มวีของ น้องหวาย และ วง SWEE:D

โดย merveillesxx




(หมายเหตุ: ออนไลน์ครั้งแรกที่ //www.fuse.in.th/blogs/comment/3224)


เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของค่ายเพลง Kamikaze คือวัยรุ่น ดังนั้นเนื้อหาของเพลงจึงมักวนเวียนอยู่กับเรื่องรักๆใคร่ๆ (อันที่จริงเพลงไทยประมาณ 90% ก็เป็นเรื่องแนวนี้) อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา เรื่อง "บทบาท" ของผู้หญิงในเนื้อเพลงหรือมิวสิกวิดีโอของค่าย Kamikaze มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง

โดยปกติแล้ว ผู้หญิงในเพลงไทยมักมีลักษณะ Passive มากกว่า Active กล่าวคือ เป็นแนวช้ำรัก ถูกทิ้ง อกหัก ร้องไห้ เสียใจ หรือไม่ก็ แอบชอบเขาอยู่ฝ่ายเดียว แต่ไม่กล้าบอก แน่นอนว่าศิลปินที่ปฏิวัติบทบาทของผู้หญิงในวงการเพลงคือ ปาน ธนพร ที่ว่าด้วยผู้หญิงที่ลุกขึ้นมามีปฏิกิริยาตอบกลับต่อเพศตรงข้าม อย่่างไรก็ดี เราจะเห็นได้ว่า เนื้อหาในเพลงของปานมักผูกอยู่กับเรื่องเชิงศีลธรรมและความยุติธรรม ตัวละครหญิงในเพลงมักถูกผู้ชายกระทำก่อน หรือถูกผู้หญิงสักคนแย่งคนรักของตนไป ดังนั้นเธอจึงต้องลุกขึ้นมาต่อสู้หรือเรียกร้องบางสิ่งคืน นอกจากนั้นกลุ่มคนฟังเพลงของปาน น่าจะเป็นคนทำงานมากกว่าวัยรุ่น

นักร้องที่น่าสนใจในตอนนี้จึงเป็น หวาย ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์ กับ อัลบั้มชุดสอง Playgirl ซึ่งแค่ชื่ออัลบั้มก็บ่งบอกถึงคาแร็กเตอร์ของเพลงและนักร้องแล้วว่าย่อมไม่ ใช่ผู้หญิงแบบ Passive โดยภาพรวมแล้วอัลบั้มชุดนี้มีความแปลกแตกต่างอยู่มากถ้าเทียบในเชิง เพลงกระแสหลักยุคปัจจุบัน เพราะเพลงส่วนใหญ่มีเนื้อหาว่าด้วยผู้หญิงที่ไม่ต้องช้ำรักกันอีกต่อไป พวกเธอสามารถเลือกได้ หรือมีสถานะเหนือกว่าผู้ชายในเชิงความสัมพันธ์ด้วยซ้ำ เนื้อหาเพลงไม่ต้องผูกติดกับเรื่องศีลธรรม แต่อิงกับอารมณ์หรือตรรกะแบบวัยรุ่นปุถุชน ดังสามารถดูได้จากเนื้อเพลงต่อไปนี้

"ฉันแค่ไม่รักเธอ เธอก็ไ่ม่ได้ผิด แค่เธอไม่พอ" (เพลง ไม่รักเธอ)

"เธอทำให้ฉันรัก เธอเลยต้องรัก คำตอบมีแค่นั้นนะเธออย่าคิดนาน" (เพลง เธอทำให้ฉันรัก)

"อย่าทำให้ฉันร้อน บอกก่อนว่าฉันร้าย ชอบทำให้หวั่นไหวเดี๋ยวเหอะ เธอได้รู้กัน" (เพลง เธอทำให้ฉันรัก)

ส่วนเพลงที่ตัดเป็นเอ็มวีตัวล่าสุดอย่างเพลง "ผิดที่เขา" (Who Cares) มีเนื้อหาท้าทายคนต่อมศีลธรรมสูงอย่างยิ่ง อันว่าด้วยตัวละครหญิงที่มีสถานก้ำกึ่งเป็นมือที่สาม หรือคนที่มาทีหลังในความสัมพันธ์ของคนคู่หนึ่ง แต่เจ้าตัวเองไม่รู้สึกว่านั่นเป็นเรื่องไม่ถูกควรแต่อย่างใด ดังเนื้อเพลงที่ว่า

"เรื่องอะไรฉันต้องมารับผิด ทั้งที่ฉันเองก็ไม่ได้ทำผิด ต่อให้ผิด แต่ฉันเอง ก็มีสิทธิ ถึงจะมาทีหลังแต่มันก็รักเธอ"

"แม้ว่าฉันจะไม่ได้มาก่อน แล้วทำไมฉันจะต้องไปก่อน"

สำหรับเอ็มวีของเพลงนี้มีจุดเด่นที่การจำลองฉากในศาล (Courtroom Drama) มาเป็นการตัดสินใจกันเรื่องรักสามเส้าของน้องหวายกับชายหญิงอีกสองคน โดยปกตินั้นศาลเป็นตัวแทนของความซีเรียสจริงจัง แต่เอ็มวีได้รื้อถอนภาพจำเหล่านั้นออกไป กระทั่งทนายความยังเป็นกะเทยที่แต่งหน้าทาปากจัดจ้าน นอกจากนั้นอำนาจแห่งตุลาการในฉากดังกล่าวยังไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้พิพากษา (พระเอกเอ็มวี) เป็นผู้กระทำผิดเสียเอง ผู้ชายในเพลงนี้จึงยังมีสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจ แต่ก็ถูกหญิงสาวทำลายลงไม่เหลือชิ้นดี

เรายังสังเกตได้ว่าผู้สร้างเอ็มวีพยายามเพิ่มความชอบธรรมให้กับน้องหวาย โดยการแทรกพล็อตที่ว่าตัวละครแฟนของพระเอกก็คบชู้มีกิ๊ก อย่างไรก็ดี นั่นก็ไม่สามารถล้างข้อหาว่าตัวละครของน้องหวายเป็นมือที่สามได้ และดูเหมือนว่าผู้สร้างเองก็ไม่ได้มองเธอบริสุทธิ์อย่างสัมบูรณ์ เห็นได้จากหลายฉากที่เธอร้องเพลงอยู่หลังลูกกรงอันสื่อถึงคุกนั่นเอง








หลังจากปล่อยเพลงของน้องหวายไม่นาน ค่าย Kamikaze ก็เปิดตัวศิลปินสาวกลุ่มใหม่นาม SWEE:D กับเพลงเปิดตัวที่ชื่อ "ห้าม" (Stop It) ซึ่งก็มีจุดขายต่างไปจากน้องหวาย หรือพูดอีกอย่างว่า SWEE:D ก็มีลุคเหมือนนักร้องเกิร์ลแบนด์ทั่วไป คือขายความน่ารักสดใส

อาจด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้เนื้อหาและบทบาทของผู้หญิงในเพลง SWEE:D เหมือนเพลงในตลาดส่วนใหญ่ ผู้หญิงในเพลงนี้มีลักษณะ Passive เช่นเคย แต่คราวนี้มีลูกเล่น เพราะมันเป็นลักษณะ "ปฏิเสธอย่างสมยอม" กล่าวคือ ผู้หญิงในเพลงห้ามปรามไม่ให้ผู้ชายทำนู่นนี่กับเธอ แต่ก็บอกใบ้ว่าจริงๆ เธอเองก็ปรารถนาในสิ่งนั้นอยู่ลึกๆ ดังเนื้อเพลงที่ว่า

"อย่าชวนอย่างนั้น ​อย่าชวนอย่างนี้​ .. เดี๋ยวลอง"

"อย่ามองอย่างงั้น​ อย่ามองอย่างงี้​ .. เดี๋ยวยอม"

"ห้ามทำล่วงเกิน ห้ามทำล่วงเกิน เพราะฉันนะกลัวติด"

แน่นอนว่าเนื้อเพลงพวกนี้ชวนให้คิดลึกไปถึงเรื่องอย่างว่า แต่นั่นก็เป็นวิธีการที่ค่ายเพลงใช้มานาน

สำหรับมิวสิกวิดีโอของเพลง "ห้าม" มีความน่าสนใจอยู่ที่เรื่องของ "การกิน" กล่าวคือ เอ็มวีเพลงนี้พาเราไปดูโลกอุดมคติของหญิงสาวที่อุดมไปด้วยขนมหวานและลูกดวาด สีสดใส สมาชิกทั้งสามของวงมีสถานะเป็นหุ่นยนต์ไขลาน ซึ่งชวนให้คิดว่าเป็นเหมือนตุ๊กตาของพระเอก แถมพวกเธอยังปรากฏตัวฉากแรกในห้องนอนของเขาเสียด้วย

ในฉากหนึ่งเมื่อสาวๆ พลังงานหมดลง พระเอกก็เอาของหวานให้พวกเธอกิน จนกลับมามีพลังลุกขึ้นมาเต้นได้อีกครั้ง เราสามารถมองลูกอมพวกนี้ได้ในหลายแง่ มันอาจเป็นตัวแทนความรักจากฝ่ายชาย หรืออาจเป็นวัตถุบางอย่างที่หญิงสาวต้องการ จุดหักมุมของเอ็มวีอยู่ที่ตอนท้ายเมื่อพระเอกหมดพลังงานลงบ้าง บรรดาสาวๆ วง SWEE:D เอาลูกอมให้เขากิน แต่มันไม่เป็นผล จนสุดท้ายพวกเธอต้องยื่นแขนให้เขากัดกิน ซึ่งตรงนี้ีมีนัยยะที่รุนแรงมาก กล่าวคือ พวกเธอต้องยอมมอบเนื้อหนังของตัวเองให้ฝ่ายชาย หรือพูดง่ายๆ ว่ามันคือการเอาตัวเข้าแลกนั่นเอง

การกินถูกใช้เป็นสัญลักษณ์บ่อยครั้งในโลกภาพเคลื่อนไหว ทั้งระบบทุนนิยมในหนังซอมบี้ จอร์จ เอ โรเมโร, การล่าอาณานิคมในหนังเรื่อง Eat, for This Is My Body สำหรับการกินกับผู้หญิงที่น่าสนใจคือ หนังเรื่อง In My Skin ที่หญิงสาวลุกขึ้นมากินเลือดเนื้อของตัวเองเพื่อต่อต้านระบบการทำงานบริษัท ที่ผู้ชายเป็นใหญ่ หรือหากเป็นเรื่องผู้หญิงกับเนื้อหนัง ตัวละครเอกของ The Piano Teacher ก็ทำการช่วยตัวเองด้วยการใช้มีดโกนกรีดอวัยวะเพศ อันเป็นดั่งการตบหน้าคนดู(ผู้ชาย)ฉาดใหญ่ โดยปกติการช่วยตัวเองเป็นเรื่องไม่ถูกพูดถึงในสาธารณะ (รวมถึงภาพยนตร์) อยู่แล้ว นี่นางเอกเรื่องนี้กลับช่วยตัวเองต่อหน้าคนดู ด้วยลีลาที่ไม่ธรรมดา

ด้วยควาามที่สื่อใดๆ ก็ตามที่พูดถึงผู้หญิง หลายครั้งก็มักพ่วงไปถึงปฏิสัมพันธ์กับเพศชายไปด้วย จึงต้องลงท้ายไว้ว่า เนื้อหาเพลงและมิวสิกวิดีโอทั้งสองที่ยกมานั้น(น่าจะ)ถูกสรรสร้างด้วยเพศชาย เกือบทั้งสิ้น เพราะบางครั้งโลกดนตรีก็เป็นโลกของผู้ชายอย่างกลายๆ คล้ายกับโลกภาพยนตร์








Create Date : 24 กรกฎาคม 2553
Last Update : 24 กรกฎาคม 2553 20:02:48 น. 7 comments
Counter : 5062 Pageviews.

 
เรื่องเชิงสัญลักษณ์หลังๆนี่ถูกนำมาใช้ผิดๆเยอะเลย

คนทำอาจไม่คิดลึกว่ากลุ่มเป้าหมายอาจคิดทัน (มั้ง)

น่ากลัวสังคมจะแย่




โดย: kanit2425 วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:53:34 น.  

 
โอ... แม่เจ้า วิเคราะห์ได้บรรเจิดมากๆ นี่ Kamikaze มันลึกซึ้งขนาดนี้เลยหรือนี่?

แต่จะว่าไป สิ่งที่ค่ายนี้ทำ ทั้งเนื้อเพลงหรือเรื่องราวใน MV มันก็คือสิ่งที่วัยรุ่นคิดและเป็นกันจริงๆนั่นแหละ แล้วถ้าไม่มองว่าค่ายนี้มันลูกกวาดหลอกเด็กอย่างเดียว พอพิจารณาถึงเนื้อหาของเพลงแล้วก็รู้สึกว่าวัยรุ่นหญิงของค่ายนี้มัน "โต" และล้ำกว่าค่ายคู่แข่งเยอะเลย

ปล. แล้วเห็นอย่างนี้ เพลงน้องหวายยังดังกว่าน้องแก้ม เดอะสตาร์ด้วยซ้ำนะยะ เอาซี้....



โดย: แฟนผมฯ IP: 222.123.0.208 วันที่: 25 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:05:40 น.  

 
ท่าว่าต้องหันมาตั้งใจฟังเพลงและดูเอ็มวีจากค่ายเพลงนี้แบบจริงๆจังๆเสียแล้วสิ ^^


โดย: Seam - C IP: 58.9.198.15 วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:31:23 น.  

 
เอก เข้ามาเปิดบล็อกกี่วันแล้ว
ผมไม่รู้เลย ขออภัย

เดี๋ยวจะโหวดให้นะ


โดย: yyswim วันที่: 7 สิงหาคม 2553 เวลา:12:25:32 น.  

 
ชอบเพลงนี้มากกกกกก

SWEE D ชอบ ๆ ๆ ๆ

ท่าเต้นสุดตริน


โดย: ddd IP: 124.121.178.44 วันที่: 15 สิงหาคม 2553 เวลา:19:47:15 น.  

 
ชอบมากswee d

พิมน่ารักมาก



โดย: แบม IP: 125.25.140.52 วันที่: 17 สิงหาคม 2553 เวลา:19:35:09 น.  

 
พี่หาวยน้องเพลงเพราะมากค่ะ จากกิ๊ปเก๋


โดย: กิ๊ปเก๋ IP: 118.175.131.249 วันที่: 11 มกราคม 2554 เวลา:9:54:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

merveillesxx
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




สำส่อนทางการดูหนัง ฟังเพลงและเสพวรรณกรรม
New Comments
Friends' blogs
[Add merveillesxx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.