http://twitter.com/merveillesxx และ http://www.facebook.com/merpage
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
13 กุมภาพันธ์ 2548
 
All Blogs
 

วิวัฒนาการอัตราดอกเบี้ยอเมริกา

วิวัฒนาการอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกาช่วงปี ค.ศ.1930-1980
โดย merveillesxx

หมายเหตุ: จัดทำขึ้นเมื่อ ก.ย. 2547

ช่วงปี 1930-1960
ในปี 1930 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก (The great depression) อันเนื่องมาจากระบบการเงินตอนนั้นเป็นระบบแข่งขันโดยเสรี (Universal Banking) ทำให้ธนาคารแข่งขันกันโดยจ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ เพื่อแย่งเงินฝาก นอกจากระดมเงินฝาก-ปล่อยสินเชื่อแล้ว ธนาคารยังเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ โดยธนาคารเอาเปรียบประชาชนเพราะแทนที่จะเอาเงินไปปล่อยสินเชื่อ กลับไปซื้อหลักทรัพย์ ดังนั้นสินทรัพย์ของธนาคารส่วนใหญ่จึงเป็นพวกพันธบัตร, หุ้นกู้

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุค 30’s มีสัญญาณเตือนมาจากอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มพุ่งสูงขึ้น อันมาจากการที่ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ (เอาไปซื้อหลักทรัพย์แทน) ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป อัตราดอกเบี้ยเลยสูงขึ้น การลงทุนลดลง รายได้ประชาชาติลดลงและอัตราว่างงานสูงขึ้น ปกติอัตราว่างงานจะประมาณ 4-5 % แต่ในช่วงนั้นสูงถึง 25 % ทีเดียว
สรุป M↓ --> i ↑--> Investment↓ --> Y↓ --> อัตราว่างงาน↑

ส่วนธนาคารก็ประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ราคาตราสารลดลง ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในธนาคาร เกิดความตื่นตระหนกตกใจ (Panic) พากันแห่ถอนเงินจากธนาคาร จนในที่สุดมีธนาคารล้มตามไปเรื่อย ๆ (domino effect) ถึง 2,000 กว่าแห่ง

ในช่วงนั้นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อว่า John Maynard Keynes ได้เสนอว่ารัฐบาลไม่ควรปล่อยระบบการเงินเป็นเสรี มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) หรือกลไกตลาดตามแนวความคิดของสำนักคลาสสิกทำงานได้ไม่สมบูรณ์ เคนส์เสนอว่ารัฐจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลัง

ดังนั้นรัฐจึงมีนโยบายการคลังขึ้นมาหลายมาตรการเช่น การใช้พันธบัตรรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ, การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก (FDIC – Federal Deposit Insurance Corporation) เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ประชาชนในการฝากเงิน, จัดตั้ง SEC (Security Exchange Committee – คล้ายกับ กลต. (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เพื่อการจำกัดการใช้ข้อมูลภายใน, มีการแบ่งระหว่างธนาคารออกเป็นธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) กับธนาคารหลักทรัพย์ (Investment Bank - วาณิชธนกิจในไทย) และที่สำคัญมีการกำหนดมาตรการ Q (Regulation Q) คือการที่ธนาคารกลางกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อไม่ให้ธนาคารแข่งขันกันระดมเงินฝาก โดยการให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง ๆ แล้วไปปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่สูง ทำให้ธุรกิจที่มากู้เงินจะหวังผลตอบแทนที่สูงจากกิจการ ซึ่งจะมีความเสี่ยงมาก (High Risk, High Return) การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยจึงลดความเสี่ยงลง

มาตรการเหล่านี้ส่งผลดีในระยะสั้น (Short Run) แต่หารู้ไม่ว่าในระยะยาว (Long Run) ด้วยข้อกำหนดมากมายเหล่านี้จะนำมาซึ่งความหายนะของระบบเศรษฐกิจ มารตรการต่าง ๆ จึงเข้าข่าย “ความตั้งใจที่ดี แต่นำมาซึ่งผลร้าย” (good intention, bad evil)

จากการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย ทำให้หลังจากปี 1933, 1934 อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ มีการผันผวนแปรปรวนน้อย ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น

แต่…อย่างที่ไม่คาดคิด อัตราดอกเบี้ยในปี 1960 กลับเริ่มจะเพิ่มสูงขึ้น …

ช่วงปี 1960-1970
อัตราดอกเบี้ยในปี 1960 เริ่มจะพุ่งสูงขึ้นหลังจากที่มีเสถียรภาพมาตลอด (หลังจากช่วงปี 1930) ซึ่งมีสาเหตุ 2 ประการ ดังนี้
1. นโยบายหาเสียงทางการเมือง: สมัยนั้นประธานาธิบดี Kenedy ประกาศนโยบายลดภาษี (Tax Out) การลดภาษีทำให้คนมีรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable Income, Yd) มากขึ้น การบริโภค-การลงทุนก็จะมากขึ้น ส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ความต้องการถือเงิน (Md – Money Demand) จึงมากขึ้น
สรุป Tax↓ --> Yd↑ --> Consumption↑ --> Investment↑ --> Y↑ --> Md↑

2. สงครามเวียดนาม: สหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายมากในการทำสงครามเวียดนาม (ค่าใช้จ่ายในสงครามเวียดนามเป็นเงินมากกว่าค่าใช้จ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมกับครั้งที่ 2 เสียอีก) จากการนี้ทำให้ปริมาณเงินลดลง นั่นคือ Ms↓ (Money Supply ลดลง)
จากสาเหตุสองประการในข้างต้นทำให้อัตราดอกเบี้ยในปี 1960 สูงขึ้น

แต่เดิมนั้นส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยตลาดและเพดานอัตราดอกเบี้ยจะมีค่าน้อย (เช่นว่า i ตลาด = 4%, เพดาน i = 3%) ทำให้ประชาชนไม่มีแรงจูงใจในการถอนเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

เมื่ออัตราดอกเบี้ยตลาดพุ่งสูงขึ้นในปี 1960 ธนาคารกลางก็ยังกำหนดให้เพดานอัตราดอกเบี้ยต่ำอยู่ จึงทำให้เกิดส่วนต่างของทั้งสองมาก (เช่น i ตลาด = 8%, เพดาน i = 3%) คนเห็นว่านำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จะคุ้มกว่า จึงแห่กันถอนเงินจากธนาคาร เกิดการที่เงินไหลออกจากธนาคาร (Disintermediation) ธนาคารจึงขาดสภาพคล่อง

ในภาวะนั้นธนาคารต้องใช้กลยุทธอื่น ๆ มาช่วยเช่น การแจกของชำร่วยจนเป็นที่มาของคำว่า Teddy Bear Bank (เนื่องจากแจกตุ๊กตาหมีเท็ดดี้แบร์เป็นของชำร่วย), การออกตราสารชนิดใหม่ เช่น NCD (Negotiable Certificate of Deposit – บัตรเงินฝาก, ตราสารธนาคารพาณิชย์ที่ต่อรองได้), การหาแหล่งเงินทุนที่เป็นเงินกู้จากตลาด Eurodollar

จากภาวะขาดสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์จึงรวมตัวกันขอร้องให้ธนาคารกลางยกเลิก Regulation Q ซึ่งเมื่อธนาคารกลางทำการวิจัยก็พบว่าถ้ายกเลิก จะทำให้ธนาคารหลายแห่งล้มลง โดยเฉพาะธนาคารขนาดเล็ก

โดยสมมติว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็น 7% ซึ่งเป็นอัตราคงที่ (fix rate) เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ระยะยาว ถ้าธนาคารกลางกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ 5% ธนาคารก็ยังดำรงอยู่ได้ เนื่องจากมีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเพดานอัตราดอกเบี้ยน้อย (รับ 7% จ่าย 5%) แต่เมื่อธนาคารกลางยกเลิกเพดานอัตราดอกเบี้ย แล้วอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น สมมติว่าเป็น 9% นั่นคืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (รับ 7% จ่าย 9%) ซึ่งอาจทำให้ธนาคารล้มได้ ปัญหานี้เรียกว่า Mismatching คือการที่อายุการไถ่ถอนของสินทรัพย์กับหนี้สินไม่เท่ากัน

ในช่วงปี 1960-1970 อัตราดอกเบี้ยก็ยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการเกิดปัญหาเงินเฟ้อ แต่ในปี 1970 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยเริ่มเปลี่ยนแปลงแบบผันผวนและเกิดภาวะ Stagflation …

ช่วงปี 1970-1980
โดยปกติแล้วรัฐบาลจะทำการแก้ปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น โดยการอัดฉีดเพิ่มปริมาณเงินเข้าไป เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง มีการลงทุน การจ้างงานเพิ่มขึ้น การว่างงานลดน้อยลง



รูป: แสดงว่าเมื่ออัดฉีดปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยก็จะลดลง

จากรูปคือ เมื่อเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปจะทำให้เส้น Ms1 shift มาทางขวาเป็นเส้น Ms2 เกิดดุลยภาพใหม่ที่จุด 2 อัตราดอกเบี้ยจึงลดลงจาก i1 เป็น i2 โดยจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลงเพราะเพิ่มปริมาณเงิน (เพิ่มสภาพคล่อง) เข้าไปนั้นเราเรียกว่า Liquidity Effect
สรุป (1) Liquidity Effect: Ms↑ --> i ↓--> Investment↑ --> Y↑ --> การว่างงาน↓
--> inflation↑ (เงินเฟ้อ) --> P↑

แต่ในทางเศรษฐศาสตร์อะไรที่ไม่มี “ต้นทุน” ต้นทุนจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง เศรษฐกิจดีขึ้น การว่างงานน้อยลงก็คือ การเกิดเงินเฟ้อ (Inflation) อันเนื่องมาจากการที่ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น

การที่เศรษฐกิจดี คนมีงานทำ แต่ก็จะเกิดเงินเฟ้อ ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น หรือว่างงาน แต่อัตราเงินเฟ้อต่ำ นั่นคือต้องมีการแลกเปลี่ยน (trade-off) ระหว่าง “การว่างงาน” (Unemployment) กับ “ภาวะเงินเฟ้อ” (Inflation) ดังที่แสดงได้ไว้ใน Phillips Curve



รูป: Phillips Curve แสดงการ trade-off ระหว่างการว่างงานกับภาวะเงินเฟ้อ

แต่ในช่วงปี 1970-1980 กลับกลายเป็นว่า
- การเพิ่มปริมาณเงินไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง แต่กลับสูงขึ้นและมีความผันผวนรุนแรง
- เกิดภาวะ Stagflation นั่นคือการการว่างงานและเงินเฟ้อขึ้นพร้อมกัน (ซึ่งขัดกับ Phillips Curve)

ปรากฏการณ์นี้ไม่สามารถใช้ทฤษฎีของเคนส์อธิบายได้ แต่นักเศรษฐศาสตร์ชื่อว่า Milton Friedman ได้อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ได้สิ้นสุดแค่รอบเดียว อันเป็นผลของ (1) Liquidity Effect แต่มีผลด้านอื่น ๆ อีก

จากการที่รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นจะทำให้คนมีความต้องการถือเงินมากขึ้น นั่นคือ Md จะมากขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นผลลำดับที่สองเรียกว่า Income Effect
สรุป (2) Income Effect: Y↑ --> Md↑ --> i↑

และจากการที่เกิดเงินเฟ้อ ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จึงทำให้คนมีความต้องการถือเงินมากขึ้นเช่นกัน Md จะมากขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นผลลำดับที่สามเรียกว่า Price Effect
สรุป (3) Price Effect: P↑ --> Md↑ --> i↑
นั่นเป็นที่มาว่าทำไมการที่เพิ่มปริมาณเงินแล้ว อัตราดอกเบี้ยไม่ลดลงแต่กลับสูงขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วธนาคารที่ต้องพยายามรักษาเพดานอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็จะทำการอัดฉีดเงินเข้าไปอีก เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยลดลง (จากผล (1)) แต่ต่อไปอัตราดอกเบี้ยก็จะขึ้นสูงอีก (จากผล (2) และ (3)) เป็นที่มาของการที่อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนขึ้น ๆ ลงๆ

คนจะเริ่มคาดการณ์ได้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น-ลง คือในระยะสั้นเมื่อธนาคารกลางอัดฉีดเงินเข้ามา อัตราดอกเบี้ยจะลดลง แต่ในระยะยาวจากปริมาณเงินที่มากขึ้น ๆ จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ นั่นคือ อัตราเงินเฟ้อที่คาด (Expected Inflation = E) จะเพิ่มขึ้น

จาก Fisher Equation: r = i - E หรือ i = r + E
ในระยาวเราคาดว่า r (real rate) จะคงที่ ดังนั้นถ้า E ↑ --> i↑ เป็นผลลำดับที่สี่เรียกว่า Expected Inflation Effect
สรุป (4) Expected Inflation Effect: E ↑ --> i↑
ซึ่งจากสถิติ Expected Inflation กับอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน

นั่นคือ (1) ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง (2) + (3) + (4) จะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ถ้า (2) + (3) + (4) > (1) อาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าระดับเดิม
ดังนั้นในระยะยาว อัตราดอกเบี้ยจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น ๆ

จาก (2) + (3) + (4) ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การลงทุนจะน้อยลง รายได้ประชาชาติลดลง เศรษฐกิจถดถอย การว่างงานจึงมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่อัดฉีดเข้า จึงเป็นที่มาของภาวะ Stagflation นั่นคือในระยะยาวไม่มีการ trade-off ของการว่างงานกับอัตราเงินเฟ้อ
สรุป Stagflation: i ↑↑--> Investment↓ --> Y ↓--> การว่างงาน↑
--> M↑ --> เงนเฟ้อ↑

ฟรีดแมนกล่าวว่าปรากฏการณ์ในปี 1970 เกิดจากการที่ธนาคารควบคุมการอัดฉีดเงินไม่ดีพอ เป็นนโยบายที่เลวร้ายที่จะไปควบคุมอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Target) ที่จริงแล้วควรที่จะไปควบคุมอัตราการเพิ่มของปริมาณมากกว่า (Monetary Aggregate Target) คือการรักษาปริมาณเงินที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว กลไกตลาด (Market System) จะทำงาน โดยอัตราดอกเบี้ยจะแกว่งตัวในระยะสั้น แล้วในที่สุดจะคงที่ในระยะยาว ดังนั้นในปี 1979 ระบบเศรษฐกิจอเมริกาจึงเปลี่ยนมาใช้ Monetary Aggregate Target

แต่ฟรีดแมนยังกล่าวอีกว่านโยบายนี้สำเร็จได้ยาก อันมาจากปัญหาทางด้าน “การเมือง” ที่เรียกว่า Political Business Cycle คือวัฎจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการเมือง กล่าวคือรัฐบาลดำรงอยู่ในวาระ 4 ปีจึงมองปัญหาในระยะสั้น ถ้าปล่อยดอกเบี้ยแกว่งตัว ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขึ้นสูง เศรษฐกิจแย่ลง การว่างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนเดือดร้อน จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล รัฐต้องเรียกความเชื่อถือคืน โดยจะอัดฉีดเงินเข้าไปอีกเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยลดลง นั่นทำให้วิธีของฟรีดแมนไม่ได้ผล

ผลกระทบต่อประเทศไทย
การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงระยะเวลาที่สาม ระหว่าง พ.ศ.2516 – 2521 (ค.ศ. 1973-1978) ได้รับผลกระทบการที่อัตราดอกเบี้ยของอเมริกาสูงขึ้น โดยจำต้องปรับอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้สูงขึ้นตามตลาดในต่างประเทศเพื่อป้องกันเงินทุนไหลออกนอกประเทศ และเป็นการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อในประเทศไปในตัว โดยปรับอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานจาก 8% เป็น 10% ในปี พ.ศ.2516 แต่ยังไม่เพียงพอที่จะต้านทานภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงได้ จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็น 11% และกำหนดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์สูงขึ้นอีก 1% ทุกชนิด

ช่วงหลังจากปี 1980
สหรัฐอเมริกาต้องรื้อระบบการเงินใหม่ทั้งหมด จากการอัดฉีดเงินมาตั้งแต่ปี 1960 ที่ทำให้เศรษฐกิจบวม มีการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่ถือเป็นการปฏิรูปการเงินอีกครั้ง จากที่ให้รัฐเข้าควบคุมก็กลับสู่ระบบเสรีอีกครั้ง เช่น ยกเลิกเพดานอัตราดอกเบี้ย (ยกเลิก Regulation Q ซึ่งธนาคารล้มไป 203 แห่ง ธนาคารที่มีปัญหาอีก 1575 แห่ง ตามที่เคยคาดไว้), สถาบันการเงินมีอำนาจมากขึ้น, ธนาคารทำประกันหลักทรัพย์ได้ (เริ่มทำธุรกรรมข้ามกันได้)

ระบบการเงินเสรีนี้เองทำให้อเมริกาเป็นมหาอำนาจของโลกทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง
…จนเหตุการณ์เมื่อ 11 กันยายน 2001 ที่ทำให้อเมริกาต้องสั่นคลอน และตรวจสอบการเป็น “มหาอำนาจ” ของตัวเองครั้งใหญ่ แต่ดูเหมือนว่าอเมริกาจะยังทะนงตัวในฐานะ “ตำรวจโลก” และยังฝันหวานกับ “อเมริกันดรีม” ต่อไป …

เอกสารอ้างอิง
1. The Economics of Money, Banking and Financial Markets: Frederic S. Mishkin
2. เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร: วเรศ อุปปาติก
3. เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ 2 (ศ.212): คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. //www.federalreserve.gov
5. //www.mises.org/fullstory.aspx?control=1181
6. //www.myeconlab.com/mishkin
7. //www.sparknotes.com/economics/macro/measuring2/section3.rhtml




 

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2548
1 comments
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2548 16:27:44 น.
Counter : 5465 Pageviews.

 

สวัสดีน๊าาา ทักทายจ้าาาา อิอิ สปาชา sparsha A Moment of Bride เจ้าสาว เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก Freeze Shaping สลายไขมันด้วยความเย็น ลดเซลลูไลท์ Leg Squeezing ผิวเปลือกส้ม FIS หน้าท้องใหญ่ ตัวเล็กแต่มีพุง Body Contouring ลดสัดส่วนทั้งตัว ลดปีกด้านหลัง เนื้อปลิ้นรักแร้ เนื้อปลิ้น Build Muscle สร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหน้าท้อง doctorlife ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก เสริมจมูก Cellulysis สลายไขมัน ulthera ยกกระชับ Acne Clear รักแร้ขาวเนียน เลเซอร์กำจัดขนถาวร กำจัดขน ร้อยไหม Freeze V Lift กำจัดไขมันด้วยความเย็น PRP ผิวหน้า PRP ผมบาง ผมร่วง เลเซอร์กระชับช่องคลอด กระชับช่องคลอด Love Fit Freeze Shaping สลายไขมันด้วยความเย็น Cell Repair ผิวขาวใส ลดสัดส่วน ปรับรูปร่าง TM Former Perfect Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ฟิลเลอร์ Filler รักษาหลุมสิว Subcision Dual Yellow เลเซอร์หน้าใส Love Fit ปัญหาปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะเล็ด Oxy Bright ทำความสะอาดรูขุมขน Bye Bye Fat ลดไขมัน Luminous แสงสีฟ้า รักษาสิว ฆ่าเชื้อสิว ABO Active 3D Toxin IV Drip เพื่อสุขภาพและความงาม Viva Lift ยกกระชับผิว ให้ใจ สุขภาพ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 6092350 3 กันยายน 2563 15:15:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


merveillesxx
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




สำส่อนทางการดูหนัง ฟังเพลงและเสพวรรณกรรม
New Comments
Friends' blogs
[Add merveillesxx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.