ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ด Thailand Aquatic Pets เว็บบล็อคสำหรับ คนรักสัตว์น้ำ ( และ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ) ประเทศไทยจ้า
<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
7 มิถุนายน 2557

"แม่โขงอันลี้ลับ" ค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่หายาก

กองทุนสัตว์ป่าโลก(WWF) ได้รวบรวมการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลกในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงปี 2555-2556 ที่ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์แต่ละชนิดพันธุ์จากทั่วโลก 

โดยการค้นพบดังกล่าว WWF ได้รวบรวมเอาไว้ภายใต้ชื่อรายงาน "แม่โขงอันลี้ลับ" มุ่งเน้นไปยังสัตว์สายพันธุ์ใหม่ 15 ชนิดที่เพิ่งถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ จากพืช 290 ชนิด ปลา 24 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 21 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 ชนิดและนก 1 ชนิด ทั้งหมดถูกขึ้นทะเบียนและได้รับการยอมรับว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทาง การในช่วงปี 2012-2013 หรือ พ.ศ.2554-2555 จากแม่น้ำโขง  กินบริเวณอาณาเขตพาดผ่าน กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในเขตมณฑลยูนนาน  สำรวจตั้งแต่ปี 1997 หรือ พ.ศ. 2550 มี สายพันธุ์ใหม่กว่า 2077 ชนิดได้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในเขตแม่น้ำโขง  เช่น กระรอกบินขนาดยักษ์ สายพันธุ์ใหม่(Biswamoyopterus laoensis) นกกระจิบสายพันธุ์ใหม่ ปลาที่ผสมพันธุ์โดยใช้หัว แมงมุมไร้ดวงตาที่อาศัยอยู่ในถ้ำ กบ Helen′s Flying Frog (Rhacophorus helenae) ซึ่งบินได้ ตุ๊กแกบิน (Ptychozoon kaengkrachanense) เป็นต้น 

นายโทแมน เกรย์ ผู้จัดการของโครงการ WWF โครงการสายพันธุ์แม่น้ำโขง กล่าวว่า รายงาน แม่โขงอันลี้ลับนี้  WWF ต้องการให้คนทั่วโลก ได้เห็นถึงความสวยงาม และความมหัศจรรย์ของสัตว์โลก ที่หาได้ยาก ซึ่งหลายตัวที่นักวิทยาศาสตร์ไปเจอครั้งแรก ก็เจอในที่ที่ไม่ควรเจอ  กระรอกบินขนาดยักษ์สายพันธุ์ใหม่ (Biswamoyopterus laoensis)  ถูกเจอในตลาดค้าเนื้อสัตว์ภายในประเทศลาว ด้วยลักษณะเด่นซึ่งก็คือขนอันมีสีแดงและขาวอันเด่นชัด เจ้ากระรอกบินขนาดยักษ์ตัวดังกล่าวถือได้ว่าเป็นตัวแรกที่ถูกค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขณะเดียวกัน เมื่อปี 2009 หรือ พ.ศ.2552 ก็ค้นพบ นกกระจิบสายพันธุ์ใหม่ได้ถูกค้นพบกลางกรุงพนมเปญ ตั้งชื่อว่านกกระจิบกัมพูชา (Orthotomus chaktomuk)  ระหว่างการตรวจค้นในช่วงแพร่ระบาดของไข้หวัดนก หลังการตรวจสอบโดยละเอียดทั้งจากขนนก เสียงร้อง และยีน ทำให้ O. chaktomuk หรือนกกระจิบกัมพูชาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่อย่างเป็น ทางการ

"การค้นพบสายพันธุ์ใหม่ๆเป็นการยืนยันและย้ำว่าแม่น้ำโขงเป็น หนึ่งในเขตพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่ง หนึ่งของโลก ถ้าเราต้องการที่จะปกป้องสัตว์เหล่านี้ไม่ให้สูญพันธุ์และอยากมีความหวังที่ จะมีการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในปีต่อๆไป เหล่ารัฐบาลของทุกประเทศในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงจะต้องลงทุนและผลักดันโครงการ อนุรักษ์และปลูกป่าให้มากขึ้น รวมถึงเรื่องการกวดขันการล่าสัตว์ป่าด้วย" นายเกรย์ กล่าว

ค้างคาวเวียดนาม

ผู้จัดการโครงการสายพันธุ์แม่น้ำโขง กองทุนสัตว์ป่าโลก กล่าวว่า ปี 2008 หรือ พ.ศ.2551 นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบ ค้างคาวรูปร่างประหลาดในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีลักษณะพิเศษ จมูกขนาดใหญ่อันน่าเกลียดน่ากลัวซึ่งมันใช้ในการนำทางผ่านการสะท้อนของเสียง บนเกาะแคทบาของเวียดนาม แต่เป็นเวลาภายหลังต่อมาเมื่อทีมนักวิจัยสามารถจับเจ้าค้างคาวได้สำเร็จและ ค้นพบว่ามันคือสัตว์สายพันธุ์ใหม่ซึ่งไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน

ปลา Phallostethus cuulong 

"อีกสายพันธุ์หนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์พบในประเทศเวียดนาม คือ ปลาขนาดเล็กที่มีลักษณะ เกือบโปร่งใสจนมองทะลุและมีอวัยวะภายในซับซ้อน ชื่อปลา Phallostethus cuulong มีความพิเศษ คือ มีอวัยวะเพศอยู่ด้านหลังของปากทำให้ เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์โดยใช้หัวสัมผัสกับหัว  และในประเทศเดียวกันนี้ ยังมีการพบกบกบ Helen′s Flying Frog (Rhacophorus helenae) ซึ่งถูกค้นพบห่างออกไปไม่ถึง 100 กิโลเมตรจากเมืองโฮจิมินในเวียดนาม เป็นกบสีเขียวขนาดใหญ่ มีความพิเศษ คือ สามารถร่อนตัวไปมาบนยอดไม้ โดยใช้พังผืดที่เป็นครีบบนมือและเท้า พวกมันจะลงมาจากยอดไม้เพื่อผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำเท่านั้น กบ Helen′s Flying Frog ถูกค้นพบภายในป่าซึ่งถูกล้อมไปด้วยพื้นที่การเกษตร ย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรีบเร่งเข้าไปอนุรักษ์รักษาพื้นที่ป่าลุ่ม ต่ำนี้เอาไว้"นายเกรย์ กล่าว

นายเกรย์ กล่าวว่า สัตว์อีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกค้นพบบริเวณป่าแก่งกระจาน ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ของประเทศไทย คือเจ้าตุ๊กแกลอยฟ้า หรือตุ๊กแกบิน (Ptychozoon kaengkrachanense)มีลายพรางนี้อาศัยการยืดผิวหนังด้านข้างของลำตัวและบนนิ้ว ตีนเพื่อร่อนตัวไปมาตามกิ่งไม้

"อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นหนึ่งใน พื้นที่ซึ่งมีการเข้าสำรวจน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันคือเขตป่าข้ามพรมแดนอันกว้างใหญ่ซึ่งมีพื้นที่ติดกับพม่า นี่เป็นพื้นที่หัวใจหลักสำคัญในการค้นคว้าหาสายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทยและ ประเทศพม่า อีกทั้งมันยังเป็นบ้านของหนึ่งในประชากรเสือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก การค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่นี่ยืนยันความสำคัญของการพยายามอนุรักษ์ผืนป่าอันยิ่งใหญ่แห่งนี้เอาไว้โดย WWF และผู้มีส่วนร่วม" นายเกรย์กล่าว

นายเกรย์ กล่าวอีกว่า นักวิทยาศาสตร์ ยังค้นพบแมงมุมนักล่าสายพันธุ์ใหม่ (Sinopoda scurion) เป็นแมงมุมนักล่าชนิดแรกในโลกที่ไม่มีดวงตา วิวัฒนาการดังกล่าวเกิดจากการที่มันอาศัยอยู่ภายในถ้ำซึ่งไร้แสงอาทิตย์และ มืดมิด


Sinopoda scurion

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขา บ้านโป่ง  กล่าวว่าตุ๊กแกบิน พบมากแถวพะเนินทุ่ง ลักษณะพิเศษคือ บริเวณฝ่าตีนจะมีพังผืดยึดติดกันเป็นแผ่น ใช้สำหรับโผไปมา ระหว่างกิ่งไม้ จากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง ระยะทางที่โผได้ประมาณ 3-5 เมตร ตุ๊กแกบินขนาดลำตัวจะใกล้เคียงกับตุ๊กแกป่า คือ กว้างราว 3 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต กินแมลงเป็นอาหาร บางครั้งก็จะเข้ามากินแมลงที่บินมาเล่นไฟในบ้านพักเจ้าหน้าที่ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่ในป่าแก่งกระจานดั้งเดิม แต่ไม่มีใครรู้มาก่อนว่าเป็นสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ก่อนหน้านี้ได้กำชับเจ้าหน้าที่ทุกคนแล้วว่า ถ้าพบเห็นก็อย่าไปทำร้าย เพราะถือเป็นสัตว์ที่ช่วยทำให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล

*********************************************************

ขอเชิญพี่ๆน้องๆ เลือกชม หนังสือ E-book ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกุ้งสวยงามชนิดต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดได้ทีนี่ครับ

//www.ebooks.in.th/thaiaquaclub




Create Date : 07 มิถุนายน 2557
Last Update : 7 มิถุนายน 2557 22:41:31 น. 0 comments
Counter : 1791 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เหมียวกุ่ย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




ยินดีต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกท่านเข้าเยี่ยมชม เว็บบล็อคแห่งนี้ หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการชมบล็อคของกระผมนะครับ










View My Stats
New Comments
[Add เหมียวกุ่ย's blog to your web]