ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ด Thailand Aquatic Pets เว็บบล็อคสำหรับ คนรักสัตว์น้ำ ( และ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ) ประเทศไทยจ้า
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
18 ธันวาคม 2554

มาทำความรู้จักกันกับ กุ้งแคระ Caridina sp. Cardinal




กุ้ง white spotนั่นเอง มีถิ่นกำเนิดจากทะเลสาบโบราณในเกาะสุลาเวสี อินโดนีเซียกุ้งสุลาเวสีชอบน้ำphสูงๆ 7.5 + อุณหภูมิ 26-30 องศาออกไข่ประมาณ10-15ฟองใช้ เวลาปรับตัวในตู้ใหม่นานกว่ากุ้งแคระชนิดอื่น กินอาหารน้อยและชอบหลบซ่อนตัวในที่มืด การเลี้ยงเจ้าwhite spotควรมีไม้ลอยน้ำไว้บังแสงด้วย

ตามประสบการณ์นั้น การรันน้ำนานๆไม่มีความจำเป็น มีคนที่บอกว่าต้องเลี้ยงกับหอยสุลาเวสีด้วยนั้นก็ไม่เป็นความจริง น่าจะเป็นเทคนิคการขายมากกว่า เท่าที่เลี้ยงดูคิดว่ากุ้งสุลาเวสีนี้ต้องการแคลเซียมมากกว่ากุ้งชนิดอื่นๆด้วย

ทั่วไป
ขนาด : 1.8-2.5 ซ.ม.
PH : 7.0-8.5
อัตราการเติบโต : ช้า
นิสัย : สุภาพ

แหล่งกำเนิด

กุ้ง คาร์ดินัลเป็นกุ้งที่สวยงามอย่างมากของเกาะสุราเวสีซึ่งเป็นหมู่เกาะที่ ประกอบเป็นประเทศอินโดนีเซีย เกาะนี้เป็นบ้านของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายประเภทซึ่งสวยงามอย่างหา ได้ยาก และที่น่าสนใจภูมิภาคแถบนั้นยังค้นพบกุ้งสายพันธุ์ใหม่ทุกปีซึ่งสีของมัน นั้นมักเป็นที่ประทับใจผู้รักการเลี้ยงกุ้งสวยงาม

ค่าน้ำ

เหมือน กับกุ้งสุราเวสีส่วนใหญ่ อุณหภูมิของน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้จะมีโอกาสเป็นอันตรายต่อกุ้ง อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือความกระด้างและกรดด่างของน้ำควรทำให้สูงกว่า 7.0 ผู้เลี้ยงหลายคนพยายามอย่างมากที่จะเลี้ยนแบบธรรมชาติให้เหมาะสมกับกุ้งโดย ใช้หินที่คลุมด้วยสาหร่ายหรือมอสน้ำ บางท่านใช้ซากปะการังในการเพิ่มความกระด้างของน้ำหรือทรายละเอียดเพื่อเลียน แบบสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

อาหาร

กุ้งคาร์ดินัลสามารถกินอาหาร เหมือนกุ้งแคระสายพันธุ์อื่นๆ แต่ขอแนะนำสาหร่าย Spirulinaหรือ Chlorellaหรืออาหารเฉพาะสำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งประกอบด้วยสาหร่ายเป็นหลัก มีเคล็ดลับสำหรับผู้เลี้ยงอย่างนึงก็คือกุ้งจะมากินอาหารในที่มืดได้เร็ว กว่า ดังนั้นควรให้อาหารก่อนปิดไฟเป็นประจำ
ควรให้อาหารแค่วันละครั้ง และให้ในปริมาณที่มันกินหมดภายใน2-3ขั่วโมงเท่านั้น อาหารเหลือจะทำให้น้ำเสียซึ่งมีผลโดยปริยายต่อสุขภาพของกุ้ง ในธรรมชาติมันจะคุ้นเคยกับการหาอาหารด้วยตัวเองดังนั้นคุณไม่ต้องกังวลถ้า ไม่ได้ให้อาหารมันสักวันสองวัน มันจะหาอาหารด้วยตัวมันเองได้ง่ายๆในไม้น้ำที่ปลูกไว้หริออย่างอื่นที่กิน ได้ในตู้ ผู้เพาะบางรายอาจไม่ให้อาหารมันเป็นเวลาวันสองวันเพื่อให้มันกินอาหารที่ให้ ให้หมด

เพศ

การแยกความแตกต่างระหว่างสองเพศเป็นเรื่องยากที่จะได้ ด้วยตาเปล่า เพราะหลักการทั่วไปที่ใช้กับสายพันธุ์อื่นใช้ไม่ได้กับสายพันธุ์นี้ตัวผู้ กับตัวเมียจะมีขนาดเท่ากัน แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้เพราะตัวเมียจะมีกระบังข้างลำตัวสำหรับอุ้ม ไข่ยาวออกมาซึ่งสามารถเห็นไข่มันได้ในแสงอินฟราเรด และบางท่านกล่าวว่าเมื่อเทียบกันแล้วเพศผู้จะมีหนวดที่ยาวกว่า

สี

เปลือก ของมันจะปกคลุมด้วยสีแดงทั้งตัวตัดชัดเจนกับจุดสีขาว บางครั้งจุดสีขาวจะล้อมรอบด้วยเส้นสีน้ำเงิน สีของกุ้งคาร์ดินัลยังแบ่งได้เป็นสองสีคือสีแดงเข้ม และแดงสว่าง โดยตัวเมียสีจะออกแดงเข้ม ส่วนตัวผู้สีจะสว่างกว่า แต่ทั้งนี้สุขภาพของกุ้งจะมีผลด้วยเท่าที่สังเกตุเมื่อป่วยสีของมันจะคล้ำ ลง(หนวดและขาจะขาด การเคลื่อนไหวจะช้าลง) หนวดคู่ยาวสีขาว คู่สั้นส่วนที่ติดกับหัว1/3 จะเป็นสีแดงที่เหลือจะเป็นสีขาว จุดที่น่าสนใจอีกอย่างคือขาสองคู่หน้าจะเป็นสีขาว ซึ่งจะเคลื่อนไหวอย่างว่องไวในการหาอาหารซึ่งเมื่อเจออาหารแล้วมันจะหยิบ เข้าปากอย่างรวดเร็ว

พฤติกรรม

กุ้งคาร์ดินัลไม่ใช่กุ้งขี้อาย มักจะพบตัวมันขณะหาอาหาร บนพื้น หรือหินที่คลุมด้วยมอส และมันไม่ก้าวร้าว ไม่ทำร้ายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นในตู้เลี้ยง ผู้เพาะเลี้ยงบางรายระบุว่ามันจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อมันซ่อนตัวอยู่ในหอยหรือ ต้นไม้จากสุราเวสี ก็เหมือนกับสายพันธุ์อื่นมันจะรู้สึกสบายใจถ้าในตู้ตกแต่งด้วยของที่มาจาก บ้านเกิดของมัน

การเพาะพันธุ์

ดูเหมือนว่าผู้เพาะเลี้ยงไม่ประสบความ สำเร็จในการเพาะพันธุ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะเพาะสายพันธุ์นี้แต่ก็มีรายงานว่าการสืบพันธุ์ เกิดขึ้นในน้ำจืดไม่ใช่น้ำกร่อย ซึ่งโดยปกติตัวเมียจะให้ไข่ประมาณ10-15ใบ และจะอุ้มตัวอ่อนจนกระทั่งกลายเป็นลูกกุ้งตัวเล็กๆ และหลังจากออกจากตัวแม่ประมาณ20-30วันก็จะมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัย

เครดิต

//aquariumshrimps.blogspot.com/2010/05/creveti-cardinal-caridina-sp-cardinal.html


//aqua.c1ub.net/forum/index.php?action=aquapedia;sa=view;id=1017


**************************************************************

ขอเชิญพี่ๆน้องๆ เลือกชม หนังสือ E-book ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกุ้งสวยงามชนิดต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดได้ทีนี่ครับ


//www.ebooks.in.th/thaiaquaclub




 

Create Date : 18 ธันวาคม 2554
0 comments
Last Update : 27 มกราคม 2557 22:35:54 น.
Counter : 3614 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เหมียวกุ่ย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




ยินดีต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกท่านเข้าเยี่ยมชม เว็บบล็อคแห่งนี้ หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการชมบล็อคของกระผมนะครับ










View My Stats
New Comments
[Add เหมียวกุ่ย's blog to your web]