พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
Review Fish Oil part 1





กรดไขมันจำเป็นและไอโคซานอยด์

ก่อนจะมารู้คุณประโยชน์ของน้ำมันปลา เราต้องมาปูพื้นกันซักหน่อยนะครับ

กรดไขมันจำเป็นและไอโคซานอยด์ก่อนจะรู้จัก ไอโคซานอยด์นั้น คงต้องมารู้จักระบบ ฮอร์โมนกันก่อนนะครับฮอร์โมน เป็นกลไกหนึ่งซึ่งร่างกายใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน หรือเรียกฮอร์โมนว่าผู้สื่อสาร (messenger) เพื่อที่จะไปบังคับให้ร่างกายทำหรือไม่ทำหน้าที่ต่างๆ ซึ่งฮอร์โมนนั้นจะควบคุมได้ตั้งแต่ระดับเซลล์ (อณู) จนถึงระดับอวัยวะ (เจ้าเรือน) เลยทีเดียว

ฮอร์โมนอาจจะแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

1. เอนโดไครน์ (Endocrine) เอนโดไครน์ ฮอร์โมนนั้น จะถูกหลั่งออกจากต่อมไร้ท่อ เข้าสู่กระแสเลือด ไปสู่เซลล์เป้าหมาย ซึ่งมีตัวตั้งรับ (Receptors) อยูที่ผิวเซลล์ เซลล์อื่นๆที่ไม่มีตัวตั้งรับ ก็ไม่สามารถรับข้อมูลหรือติดต่อสื่อสารกันได้ เช่น ฮอร์โมนเพศ ,ไธรอยด์ ฮอร์โมน , อินซูลิน เป็นต้น

2. พาราไครน์ (Paracrine)พาราไครน์ฮอร์โมนนั้น ไม่ได้เดินทางด้วยกระแสเลือด แต่ทำหน้าที่เฉพาะที่ไปสู่เซลล์ใกล้เคียง เดินทางโดยตรงหรือระยะใกล้ หรือทางเส้นประสาท เช่น นิวโรทรานสมิตเตอร์ (Neurotransmitter , สารสื่อประสาท) ยกตัวอย่างเช่น เซอโรโทนิน (Serotonin) และ โดปามีน (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสื่อสารข้อมูลให้เซลล์ในสมอง ก็ถือว่าเป็นพาราไครน์ ฮอร์โมน

3. ออโตไครน์ (autocrine) ออโตไครน์ ฮอร์โมน ทำหน้าที่ “ทดสอบ” โดยมันจะถูกหลั่งออกจากเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ทดสอบในบริเวณรอบตัว แล้วกลับมาส่งข้อมูลให้เซลล์เพื่อทำหน้าที่ปรับสมดุล หรือทำหน้าที่ภายในเซลล์ของมันเอง โดยไม่ต้องออกมานอกเซลล์ ฮอร์โมนสำคัญในกลุ่มออโตไครน์ ก็คือ ไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) ชนิดต่างๆ นั่นเอง

ทั้ง พาราไครน์และออโตไครน์ บางท่านใช้คำว่า “สารคล้ายฮอร์โมน” โดยสรุปแล้ว ฮอร์โมนทำหน้าที่ 2 อย่าง เปรียบได้กับสัญญาณไฟจราจร คือ เขียว และ แดง คือ ให้ไปหรือหยุด เป็นปฎิกิริยาตรงกันข้าม เพื่อรักษาสมดุลนั่นเองดังที่กล่าวแต่ต้นแล้วว่า ฮอร์โมนแต่ละประเภทนั้นทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง และทำหน้าที่ต่อเซลล์เป้าหมายเท่านั้น ไม่ใช่ออกฤทธิ์ต่อทุกเซลล์ ธรรมชาติจึงได้สร้างฮอร์โมนหลากหลายชนิด เพื่อทำหน้าที่ต่างๆกัน โดยร่างกายจะผลิตฮอร์โมนตลอดเวลา และก็เกี่ยวข้องกับเซลล์ทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์ (เซลล์ทั่วร่างกายโดยประมาณ)

เมื่อทำหน้าที่ตรงกันข้ามกันได้ดี ก็เกิดภาวะสมดุล ทำให้ร่างกายปกติสุขดี แต่ถ้าไม่สมดุลก็จะก่อให้เกิดโรคเรื้อรังไอโคซานอยด์ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก เพราะว่า มีผลในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ อีกต่อหนึ่ง ต่างจากฮอร์โมนตัวอื่นๆ ที่ผลิตโดยต่อมไร้ท่อต่อใดต่อมหนึ่ง แต่ตรงกันข้ามกับไอโคซานอยด์ เนื่องจากในทุกๆเซลล์ของร่างกายมีความสามารถถในการผลิตไอโคซานอยด์ได้ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า เรามีต่อมผลิตไอโคซานอยด์กว่า 60 ล้านล้านต่อม เลยทีเดียวเริ่มมีการวิจัยเรื่องไอโคซานอยด์มาอย่างยาวนาน

แต่ที่เด่นที่สุดก็คือ ดร.เวนและคณะ จึงได้รับรางวัลโนเบลในปี 1982 และมีผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับไอโคซานอยด์ในวารสารการแพทย์ไม่น้อยกว่า 87,000 เรื่องไอโคซานอยด์นั้นเป็นฮอร์โมนตัวแรกที่ได้พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการมีชีวิต โดยใช้ไขมันที่มีในเยื้อหุ้มเซลล์ เป็นพื้นฐานเริ่มต้น ด้วยเยื้อหุ้มเซลล์มีองประกอบเป็นไขมัน รวมทั้งกรดไขมันจำเป็นซึ่งเป็นสารเบื้องต้นในการผลิตไอโคซานอยด์ ฉะนั้น เยื้อหุ้มเซลล์จึงเป็นแหล่งผลิตไอโคซานอยด์ที่ดีนั่นเอง

ทุกๆเซลล์ในร่างกายจึงผลิตฮอร์โมนตัวนี้ได้โดยเป็นฮอร์โมนประเภท พารไครน์และออโตไครน์ จึงไม่ได้ไหลเวียนเข้ากระแสเลือด ผลิตออกมา ทำหน้าที่ แล้วก็สลายไปเองอย่างรวดเร็ว ยากที่จะตรวจวัดได้เนื่องจากในทุกๆเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม จึงอาจเรียกได้ว่า ทำทุกๆหน้าที่ในร่างกาย กล่าวได้ว่า จะมีสุขภาพดี หรือ ไม่เจ็บป่วยนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นกับฮอร์โมนกลุ่มนี้ หลักการที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ถ้าจัดการให้มีความสมดุลระหว่างไอโคซานอยด์ดี กับ ไม่ดี ได้ ก็จะทำให้สุขภาพดี

ระบบเช่นนี้ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นการคานปฎิกิริยาทางสรีระต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น มีระบบที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ก็มีผลดี ทำให้ไม่การอุดตันของลิ่มเลือด แต่ถ้ามีระบบเดียว เลือดก็จะออกจากร่างกายไม่หยุด ร่างกายจึงถูกสร้างมาให้มีระบบที่ทำให้เลือดแข็งตัวไว้ป้องกันด้วย ระบบทั้งสองนี้จึงมีส่วนดี เมื่ออยู่ในภาวะสมดุล และเป็นผลเสียเมื่อขาดสมดุล

เป็นที่น่าสนใจว่า ร่างกายจะผลิตไอโคซานอยด์ที่ดีนั้นจำเป็นต้องมี EPA เป็นรากฐาน น้ำมันปลาจึงมีประโยชน์มากกว่าที่เคยคิด
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า ไอโคซานอยด์ผลิตมาจากเยื้อหุ้มเซลล์ ทีนี้เราต้องมาทำความเข้าใจของเยื้อหุ้มเซลล์กันก่อนนะเยื้อหุ้มเซลล์มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเยื้อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่แบ่งแยกหรือกันขอบเขตแยกสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกออกจากกัน องค์ประกอบพื้นฐานขอบเยื้อหุ้มเซลล์นั้น เป็นไขมันและยังมีโปรตีนบางชนิดแทรกตัวอยู่ โปรตีนบางตัวทำหน้าที่เป็นตัวรับ (Receptor) สำหรับฮอร์โมน (Peptide hormone) เพื่อถ่ายทอดสัญญาณไปควบคุมการทำหน้าที่ของเซลล์ นอกจากนี้ ไขมันที่เยื้อหุ้มเซลล์ ยังทำหน้าที่สื่อสัญญาณโดยตรงเข้าไปในเซลล์และบริเวณใกล้เคียงอีกด้วยไขมัน ซึ่งมีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นกรดไขมัน ที่เป็นองค์ประกอบของเยื้อหุ้มเซลล์

เเบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids)

2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

3. สฟิงโกไลปิด (Sphingolipids) เยื้อหุ้มเซลล์ของเซลล์แต่ละชนิดก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก เช่น เยื้อหุ้มเซลล์โดยทั่วไปจะมีคอเลสเตอรอลมากแต่ฟอสโฟไลปิดน้อย ซึ่งตรงข้ามกับเยื้อหุ้มไมโตคอนเดรีย ซึ่งไม่มีคอลเลสเตอรอล เป็นต้นการไหลหรือการเคลื่อนที่ของโมเลกุลไขมันที่เยื้อหุ้มเซลล์ (Cell fluidity) องค์ประกอบของเยื้อหุ้มเซลล์นั้น โดยเฉพาะส่วนที่เป็นไขมันเป็นส่วนที่โมเลกุลสามารถเคลื่อนที่ไปมาในแนวนอนได้ ซึ่งทำให้เกิดคุณสมบัติของการไหล หรือการเคลื่อนที่ขึ้น โดยเฉพาะการหมุนรอบตัวเองและการเคลื่อนที่ของสายไฮโดรคาร์บอน

ซึ่งเกิดจากความยืดหยุ่นของไขมันเอง และ การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง การเคลื่อนที่ของไขมันบริเวณเยื้อหุ้มเซลล์นั้น เกิดขึ้นตลอดเวลา และค่าการไหลจะยิ่งสูงมากขึ้นหากมีการเคลื่อนไหวคล่องตัว (mobilily)ค่าการไหลขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของไขมัน ค่าจะมากขึ้น

เมื่อไขมันที่เป็นองค์ประกอบของเยื้อหุ้มเซลล์เป็นสายไฮโดรคาาร์บอนสั้น หรือ เป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ยิ่งไม่อิ่มตัวมากหรือมีพันธะคู่มาก ก็จะยิ่งทำให้ภาวะการไหลหรือการเคลื่อนที่ของโมเลกุลไขมันที่เยื้อหุ้มเซลล์มากขึ้นด้วยทีนี้ คอเลสเตอรอลก็เป็นเหมือนฉากกั้นห้องที่ทำให้โมเลกุลไขมันไม่ไหลมากจนเกินไป หากมีคอเลสเตอรอลในระดับเหมาะสม แต่หากมีคอเลสเตอรอลสูงมากจนเกินไปก็จะทำให้การไหลของโมเลกุลไขมันลดต่ำลง ก่อให้เกิดเยื้อหุ้มเซลล์ไม่ยืดหยุ่น หรือ แข็งนั่นเอง

การที่เยื้อหุ้มเซลล์มีภาวะการไหลที่ดี ทำให้สารอาหาร น้ำ เกลือแร่ แระสารอื่นๆ ทั้งสารพิษ หรือ ของเสียที่เซลล์ผลิตขึ้นมา สามารถเข้าออกเยื้อหุ้มเซลล์ได้ดีขึ้น (ปกติเยื้อหุ้มเซลล์จะคัดเลือกสารเข้า ระดับหนึ่ง เรียกว่ามีสมบัติของเยื้อเลือกผ่าน) ภาวะการไหลและไขมันในเยื้อหุ้มเซลล์เราสามารถตรวจภาวะการไหลของผนังเซลล์ได้ เซลล์ที่มักนำมาทำการตรวจวัดกัน คือ เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด การไหลที่ดีจะบ่งชี้ถึงคุณภาพของเยื้อหุ้มเซลล์

มีการแสดงว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 และ EPA ที่ได้จากการกินปลาหรือได้รับจากอาหารเสริมนั้นจะเข้าไปประกอบในฟอสโฟไลปิดของเยื้อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด ยังผลให้เม็ดเลือดแดงมีผนังที่ปรับรูปร่างได้ดี (Deformability) และความหนืด (Viscosity) ของเลือดลดลงอย่างชัดเจน สามารถม้วนตัวลอดผ่านเส้นเลือดฝอยที่เป็นโรค (ตีบแคบมากๆ) ได้ เช่นทำให้ไปเลี้ยงสมองในผู้ป่วยหลอดเลือดตีบแข็งได้ดี ทั้งนี้กรดโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลานั้นมีความไม่อิ่มตัวมากกว่าโอเมก้า 6 ฉะนั้น เมื่อเรากินโอเมก้า 3 เข้าไปแล้วมันจึงไปแทนที่เยื้อหุ้มเซลล์เก่าๆ ทำให้เกื้อหนุนคุณสมบัติการไหลของเซลล์ได้ดีกว่า ทำให้ทำหน้าที่ได้เหมาะสม ส่งผลสู่สุขภาพที่ดีซึ่งเริ่มจากระดับโมเลกุลและเซลล์นั่นเอง

กรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบของเยื้อหุ้มเซลล์เยื้อหุ้มเซลล์นั้นมีกรดไขมันหลายชนิด ทั้งอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว (มีพันธะคู่ระหว่าง 1-4 พันธะ) และมีสายไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอน 12 -24 อะตอม กรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบของฟอสโฟไลปิด ในเยื้อหุ้มเซลล์นั้นมี DHA ประมาณ 36.4% โดยเฉพาะที่สมอง เรตินา และ สเปิร์ม ส่วนคอเลสเตอรอบอาจจะพบได้ถึง 50% ดังนั้นไขมันในอาหารที่เราๆท่านๆกินกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็จะนำไปสร้างเยื้อหุ้มเซลล์ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเลือกกินไขมันที่ดี นั่นก็คือไขมันที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 จะไปประกอบเป็นเยื้อหุ้มเซลล์ทุกชนิด คือ ไปแทนที่กรดไขมันที่มีคุณภาพด้อยกว่า ทำให้เซลล์อ่อนนุ่ม มีคุณภาพ

จากการที่เราเข้าใจแล้วนะคับว่า ไอโคซานอยด์นั้น ผลิตมาจากเยื้อหุ้มเซลล์ของทุกๆเซลล์ในร่างกายของเรา และ เยื้อหุ้มเซลล์นั้นต้องสังเคราะห์มาจากกรดไขมันซึ่งมีทั้งกรดไขมันจำเป็นและกรดไขมันไม่จำเป็น หรือ กรดไขมันอิ่มตัวหรือกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงกล่าวได้ว่า ไอโคซานอยด์นั้น ผลิตมาจากกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบหลักของเยื้อหุ้มเซลล์ นั่นเอง และที่สำคัญ ไอโคซานอยด์จะผลิตมาจาก “กรดไขมันจำเป็น และ ไม่อิ่มตัว” เท่านั้น 

กรดไขมันโอเมก้า หรือกรดไขมันจำเป็น โดยทั่วไปแล้วมีองประกอบของคาร์บอนอะตอมจับกันเป็นสาย 18 ตัว และจำเป็นที่ร่างกายจะต้องสังเคราะห์ให้เป็นสายที่ยาวขึ้น เป็นคาร์บอน 20 อะตอม ก่อนที่ไอโคซานอยด์จะถูกสร้างขึ้นได้ ไอโคซานอยด์ทุกตัวมาจากกรดไขมันจำเป็นที่มีคาร์บอน 20 อะตอม หรือกรดไขมันจำเป็นที่สังเคราะห์ให้ได้ คาร์บอน 20 อะตอม และมีพันธะคู่อย่างน้อย 3 ตำแหน่งสำหรับกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ได้จากน้ำมันปลา คือ EPA นั้นมีคาร์บอนในสาย 20 อะตอม อยู่แล้ว ร่างกายจึงสังเคราะห์ไอโคซานอยด์ได้ดีกว่า (ง่ายกว่า)

กรดไขมันที่มาจากพืช เช่น ALA ซึ่งมีคาร์บอนในสายไม่ถึง 20 อะตอมไอโคซานอยด์ตัวแรกที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบนั้น ก็คือ พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) จากต่อมลูกหมาก (Prostate gland) เมื่อปี 1983 แต่เดิมเชื่อว่า ไอโคซานอยด์ชนิดนี้ ต้องมาจากต่อมลูกหมาก แต่ปัจจุบันเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ผลิตได้จากทุกเซลล์ของร่างกาย ปัจจุบันนักชีวเคมีสามารถค้นพบไอโคซานอยด์ได้ 100 กว่าชนิดแล้ว แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น Prostaglandin , Prostacyclin , Thromboxanes , Leukonutrients เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ

เราจะแบ่งไอโคซานอยด์เป็น 2 ประเภทคือ ไอโคซานอยด์ชนิดดี และ ไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี  ซึ่งการเรียกว่าดีหรือไม่ดีนั้น เป็นการสมมติว่าเป็นการทำงานตรงข้ามกันเท่านั้นนะครับ ซึ่งจริงๆแล้วมีประโยชน์ทั้งคู่กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ได้จากน้ำมันปลานั้น เป็นสารเริ่มต้นของไอโคซานอยด์ชนิดดี ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 หรือกรดอารัชชิโดนิก (AA) เป็นสารเริ่มต้นของไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้ EPA ยังยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้การผลิต AA และ ไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี ลดลงด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มไอโคซานอยด์ชนิดดีไปในตัว นับว่าช่วยให้เกิดสมดุลระหว่างไอโคซานอยด์ชนิดดี และ ไม่ดี

ส่วนไขมันที่ได้จากการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) เพื่อให้น้ำมันพืช หรือ โอเมก้า 6 แข็งตัว , ทรงสภาพ และกันออกซิเดชันนั้น เรียกว่า ทรานส์แฟต (Trans fats) นั้นจะไปต้านกรดไขมันจำเป็น จึงเป็นการไปต้านการสังเคราะห์ไอโคซานอยด์ ดังนั้น ทรานส์แฟต จึงไม่ดี เวลาเลือกซื้อน้ำมันควรดูที่ฉลาก จะระบุว่า “ partially hydrogenated vegetable oil” อันนี้แหละ trans fatsส่วนน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monosaturated fatty acid) ที่มีมากในน้ำมันมะกอกนั้น ไม่สามารถสังเคราะห์ให้เป็นไอโคซานอยด์ได้ แต่ช่วยควบคุมอัตราการเข้าสู่กระแสเลือดของคาร์โบไฮเดรต เป็นการช่วยควบคุมการหลั่ง อินซูลิน การมีไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี ในระบบมากขึ้น หรือมากจนเกินไป (ขาดสมดุล) มีผลเสียหายหลายอย่าง ที่สำคัญคือ

1. ส่งเสริมให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกัน (Platelet clumping) ก่อให้เกิดลิ่มเลือด

2. เป็นตัวส่งเสริมการอักเสบระดับโมเลกุล (Mediator of inflammation) ซึ่งส่งผลให้คราบเลือดแข็งที่ไม่มันคงอยู่แล้ว (Unstable atherosclerotic plaque) แตกได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ร่างกายจะนำเกล็ดเลือดเข้ามาอุด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ซึ่งส่งเสริมการอักเสบของเซลล์ที่อวัยวะต่างๆ

3. ทำให้หลอดเลือดบีบเกร็ง (Vasospasm) อย่างแรงได้4. ไปทำให้การบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (Rhythms) ผิดปกติไป คือ เต้นไม่เป็นจังหวะ (Arrhythmia) ทำให้สูบฉีดเลือดได้ไม่ดี และเนื่องจากหัวใจเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ มีเซลล์ที่บีบและคลายตัวสัมพันธ์กันหมดทั้งหัวใจ เพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อจังหวะการบีบ คลาย เสียไป หากเป็นมากๆเข้า ก็จะทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว แต่ไม่มีแรง (Fibrillation) จนทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วนะว่า น้ำมันปลา ซึ่งให้ โอเมก้า 3 ป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้









ตารางเปรียบเทียบระหว่าง ไอโคซานอยด์ "ดี" และ ไอโคซานอยด์ "ไม่ดี"

ไอโคซานอยด์ทั้ง ดี และ ไม่ดี นั้นทำหน้าที่โดยรวมคือ ช่วยควบคุมทุกๆหน้าที่ของร่างกายมนุษย์ให้ทำงานอย่างสมดุลจากตารางข้างต้น จะพบว่าหากมีไอโคซานอยด์ไม่ดี มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคเรื้อรังหรือโรคจากความเสื่อมสภาพได้ หลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง ข้ออักเสบหรือเสื่อม โรคติดเชื้อเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ส

เหตุที่โรคเหล่านี้เกี่ยวข้องกับไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดีเนื่องจากโรคเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ โรคที่เกิดจากออกซิเดชันที่มีอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุนั่นเองกรดไขมันโอเมก้า 6 กับไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดีกรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น กรดไลโนเลอิค (LA) จากน้ำมันพืช สามารถถูกสังเคราะห์ให้เป้น ไอโคซานอยด์ชนิด ดี หรือ ไม่ดี ก็ได้ แต่ก่อนจะได้ไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดีนั้น ต้องสังเคราะห์เป็นกรดอารัชชิโนนิค (AA) ก่อน โดยการเพิ่มคาร์บอนในสายให้ยาวขึ้น ถ้าร่างกายสังเคราะห์ AA มากขึ้น ก็จะมีการผลิตไอโคซานอยด์ไม่ดี มากขึ้นไปด้วย

ดังนั้นเราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการผลิตไอโคซานอยด์ชนิด ไม่ดีมากได้ โดย

1. ป้องกันการสังเคราะห์ AA โดยการกินน้ำมันปลาในปริมาณที่เพียงพอ เพราะ EPA ในน้ำมันปลาจะไปขัดขวางเอนไซม์ที่ช่วยสังเคราะห์ AA

2. กินน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6 แต่พอประมาณ ก็เท่ากับการไปลดสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ AA ลงนั่นเอง นอกจากนั้นน LA ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิ่งซ้อนโอเมก้า 6 ที่มีในน้ำมันจากพืชต่างๆ เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด และอื่นๆ แม้จะมีผลดีที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่ก็มีผลเสียใจากการใช้มากในระยะยาว ก็คือ มันจะไปกดภูมิคุ้มกัน ลดระดับ HDL ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี และ มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ได้ และทำให้ LDL เกิดออกซิเดชัน ได้อีกด้วย ฉะนั้น ควรใช้น้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกแทนให้มากขึ้น

3. การลดระดับอินซูลินในเลือด อินซูลินเป้นฮอร์โมนชนิดเอนโดไครน์ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อที่อยู่ที่ตับอ่อนทำหน้าที่ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลง ฉะนั้น การกินอาหารประเภทแป้ง หรือ คาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ทำให้ร่างกายเปลี่ยนมันเป็นน้ำตาลมากขึ้น ทำให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น และ เจ้าอินซูลินนี่แหละ ที่จะไปกระตุ้นเอนไซม์ที่ช่วยสังเคราะห์ AA จากกรดไขมันโอเมก้า 6 (จากน้ำมันที่เรากินกับแป้งนั่นแหละ) หากพี่น้องกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตแต่พอประมาณ ก็เท่ากับเป็นการลดระดับอินซูลินลง ส่งผลให้การสร้าง AA ลดลง ไอโคซานอยด์ก็จะถูกสร้างลดลงไปตามระเบียบกินแป้งน้อย  อินซูลินหลั่งน้อย  การสร้าง AA ลดลง  ไอโคซานอยด์ไม่ดีก็จะถูกสร้างลดลง

4. AA มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์บก และเนื้อปลาเขตร้อน การกินอาหารเหล่านี้แต่น้อยหรือพอประมาณ ก็จะเป็นการลดการผลิตไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี ได้อีกทางหนึ่ง

5. ส่งเสริมให้ร่างกายได้รับไอโคซานอยด์ดีมากขึ้น ก็จะเป็นการลดการผลิตไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี ลงด้วย เพราะไอโคซานอยด์ชนิดดีนั้น ไปทำให้การผลิตอินซูลินลดลง ยังผลให้การสังเคราะห์ไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดี ลดลง

จากรูป : การสังเคราะห์ไอโคซานอยด์จากกรดไขมันโอเมก้า 6เมื่อเราควบคุมให้การสังเคราะห์ AA ลดลง การผลิตไอโคซานอยด์ไม่ดี ก็จะลดลงตามไปด้วย ร่างกายก็จะนำกรดไขมันโอเมก้า 6 ไปผลิตเป็นไอโคซานอยด์ชนิดดีแทนเราสามารถควบคุมให้ระดับอินซูลินไม่สู่งได้โดยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตค่อนข้างต่ำ และโปรตีนพอประมาณ กินผักและผลไม้มากๆ รับไขมันจากน้ำมันปลาเป็นสำคัญ จะเป็นการทำให้ไอโคซานอยด์ไม่ดี ผลิตได้น้อยลง และ ไอโคซานอยด์ชนิดดี ก็จะถูกผลิตได้มากขึ้น

จะเห็นว่า การควบคุมอาหารจึงเป็นการควบคุมการผลิตฮอร์โมนไอโคซานอยด์ที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องใช้ยาหรือสารเคมี

แต่ ที่สำคัญต้องได้รับน้ำมันปลาอย่างเพียงพอด้วย ซึ่งน้ำมันปลานอกจากจะมี EPA เพื่อไปควบคุมไอโคซานอยด์และช่วยผลิตไอโคซานอยด์ชนิดดี ให้มากขึ้นแล้ว น้ำมันปลายังมี DHA ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำหน้าที่ของสมองกรดไขมันโอเมก้า 6 อีกตัวหนึ่งก็คือ กรดแกมมาไลโนเลนิค (GLA) ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จาก LA ที่ได้จากน้ำมันพืช ดอกคำฝอย น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันบอเรจ ฯลฯ เราก็ต้องการเหมือนกัน เนื่องจาก GLA เป็นสารต้นกำเนิดของไอโคซานอยด์ที่ดีหลายตัว เช่น พรอสตาแกลนดินอี 1 (Prostaglandin E1) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอักเสบ และ ยังมีคุณสมบัติลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มเอสดีแอล ซึ่งเป็นข้อดีอีกด้วย

เนื่องจากน้ำมันปลาไปลดกิจกรรมของเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ GLA ได้ จึงต้องกิน GLA เสริมบ้างกรดไขมันโอเมก้า 3 , น้ำมันปลากับไอโคซานอยด์ชนิดดีกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า 3 ในธรรมชาติมีอยู่ 2 แหล่ง คือ จากพืชก็คือ ALA มีมากในเมล็ดป่านลินิน (flaxseed) และเมล็ดมัสตาร์ด (mustard) และ จากสัตว์ เช่น มีในปลา คือ EPA และ DHA กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ALA นั้น สามารถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็น EPA ได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน จากการศึกษาในคนพบว่า การสังเคราะห์ EPA จาก ALA นั้น ทำได้จำกัดมาก ฉะนั้น หากต้องการผลดีจาก EPA แล้ว การได้รับจากน้ำมันปลาจะดีกว่า การได้รับจากพืช

และได้พูดไปแล้วว่า EPA จะไปยับยั้งเอนไซม์ที่สังเคราะห์ AA จากกรดไขมันโอเมก้า 6 ทำให้ลดการผลิตไอโคซานอยด์ชนิดไม่ดีลง การสังเคราะห์จึงเปลี่ยนทิศทางไปสังเคราะห์ไอโคซานอยด์ดีแทน ทำให้ไอโคซานอยด์ดีผลิตได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น ที่เราต้องกิน EPA ให้เพียงพอนั้น ก็เพื่อไปป้องกันการผลิตไอโคซานอยด์ไม่ดี และใช้เป็นสารเริ่มต้นของการผลิตไอโคซานอยด์ดีชนิดต่างๆ นั่นเองจากที่ร่ายยาวมานี้

ข้อเสนอบทสรุป บทบาทของโอเมก้า 3 ในคน  ดังนี้

1. เป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์ โดยเยื้อหุ้มเซลล์ในเนื้อเยื้อต่างๆของร่างกายคนเรานั้น เป็นไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งมี DHA อยู่ประมาณ 36.4% โดยเซลล์ที่สำคัญๆ เช่น เยื้อหุ้มเซลล์เยื้อบุหลอดเลือด เยื้อหุ้มเซลล์เกล็ดเลือด เยื้อหุ้มเซลล์ประสาทจอภาพตา และ เซลล์สมอง เป็นต้น ภาวะการไหลของโมเลกุลไขมันที่เยื้อหุ้มเซลล์มีความจำเป็นที่ทำให้เนื้อเยื้อต่างๆ ทำหน้าที่ได้เหมาะสม ซึ่งกรดโอเมก้า 3 ทำหน้าที่นี้ได้ดีมาก โดยมีอยู่ในเซลล์ทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์

2. กรดไขมันโอเมก้า 3 ใช้ในการป้องกันและบำบัดโรคต่างๆ เช่น
2.1 โรคหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) หรือเรียกกันว่า โรคหัวใจหลอดเลือด และ หลอดเลือดตีบตัน ที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจโคโรนารี , สโตรค หลอดเลือดที่อวัยวะอื่นๆ ตีบตัน
2.2 ภาวะการขาดกรดไขมันจำเป็นตัวนี้ในทารก มีผลเสียต่อการเจริญของประสาทจอภาพตาและสมอง

2.3 โรคภูมิแพ้ที่สำคัญ เช่น โรคลูปัส และ ไต
2.4 Crohn’s disease หรือ โรคลำไส้อักเสบชนิดหนึ่ง
2.5 มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และอื่นๆ

2.6 ความดันโลหิตสูงอย่างอ่อน
2.7 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
2.8 โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
2.9 โรคเบาหวาน
2.10 โรคทางจิตเวช

2.11 อื่นๆที่สำคัญสมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association , AHA) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโภชนาการของสมาคมฯ และตีพิมพ์ลงในวารสาร Circulation ฉบับพฤศจิกายน 2002 ดังนี้“กรดโอเมก้า 3 ได้รับการศึกษาทางระบาดวิทยาและการทดสอบทางคลินิคแล้วว่า มีผลทำให้อุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดเล็กลง พบว่าบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวหัวใจและหลอดเลือดจะได้ผลดีจากการกินกรดไขมันโอเมก้า 3 จากสัตว์น้ำหรือพืช แต่ว่าการกินเท่าไหร่จะไม่กำหนดไว้ชัดเจน แต่จากการศึกษาที่ผ่านมา แนะนำว่ากรดไขมัน EPA , DHA ควรได้รับ 0.5 – 1.8 กรัมต่อวัน (ในรูปแบบของน้ำมันปลาหรือปลาที่มีไขมัน) สำหรับโอเมก้า 3 จากพืช (ALA) ควรได้รับ 1.5 – 3 กรัมต่อวัน โดยผลที่ได้เป็นประโยชน์ทำให้ลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจโคโรนารี หรือ โรคอื่นๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ”

จากแถลงการฉบับนี้ ได้สรุปศักยภาพของกลไกของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ไว้ดังนี้

1. ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจที่จะเกิดการเต้นไม่เป็นจังหวะ

2. ต่อต้านระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

3. ลดการเติบโตของคราบภาวะหลอดเลือดแข็ง (Plaque) โดยลดการจับติดของอณู (Reduced adhesion molecular expression)ลดโกรธแฟคเตอร์ของเกล็ดเลือด (Reduced platelet – derived growth factor)ต้านการอักเสบ (Anti-inflamation)

4. ส่งเสริมให้ผนังเยื้อบุของหลอดเลือดคลายตัวด้วยไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide – induced endothelial relaxation)

5. มีฤทธิ์อย่างอ่อนทำให้ความดันโลหิตลดลงน้ำมันปลากับความงามของเซลล์ผลดีของกรดไขมัน EPA ที่ถูกร่างกายนำไปผลิตไอโคซานอยด์ดีนั้น มีต่อเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย ไม่เฉพาะเซลล์ผนังบุหลอดเลือดเท่านั้น แต่ยังทำให้หลอดเลือดขยายตัวและลดการอักเสบ การทำให้หลอดเลือดขยายตัวนั้น เป็นผลดีอย่างมาก โดยเฉพาะหลอดเลือดฝอยซึ่งกระจายชอนไชอยู่ทั่วทุกแห่งหนในร่างกายของเรา ทำให้สามารถนำเอา สารอาหาร ออกซิเจน สารที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน แอนติออกซิแดนต์ และสารอื่นๆ ไปเลี้ยงเซลล์ ทั้ง 60 ล้านล้านเซลล์ ได้ดีขึ้นหรือดีกว่าเดิม

เมื่อร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงได้ดีขึ้น ก็สามารถทำหน้าที่ทุกชนิดได้ดีขึ้น รวมทั้งการซ่อมแซมหรือแม้แต่การขนัดของเสียด้วย นอกจากนี้หากเราได้รับน้ำที่มีคุณภาพที่ดีด้วยแล้ว (น้ำเป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ช่วยสนับสนุนให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น และ น้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเซลล์ด้วย) ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ดีมากขึ้นอีก จนปรากฎให้เห็นได้ง่าย คือ ผิวหนังจะมีสีแดง หรือ ชมพู มากขึ้น หรือคนไทยเรียกว่า มีเลือดฝาด (อาจจะมีคนทักว่าหน้าแดง) ผิวหนังอ่อนนุ่ม เมื่อได้รับร่วมกับสารแอนติออกซิแดนต์อื่นๆ ผมพบว่าคราบกระแก่ที่เกิดในผู้สูงอายุจะค่อยๆจางหายไปกระแก่ คือ ตะกรันไขมันที่ไม่ดี (Lipofuscin) ที่ร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปได้ จะค่อยๆสะสมทีละเล็กทีละน้อย เมื่อเวลาผ่านไปจะปรากฎเป็นรอยด่างดำ นอกจากนี้ไอโคซานอยด์ชนิดดี ที่มาจาก EPA ที่ช่วยลดการอักเสบนั้นทำให้เซลล์มีสุขภาพที่ดี ซึ่งจะแสดงออกมาทางผิวหนังเหมือนกัน

เมื่อไม่มีการอักเสบก็จะมีสุขภาพดังที่พูดมา ทำให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ไม่เฉพาะกับผิวหนังเท่านั้น แต่ส่งผลไปถึงเซลล์ทั่วร่างกาย อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการฟื้นคืนสภาพจากความแก่ได้อีกด้วย (Reversal of aging)

สรุปว่า ผิวสวยได้ด้วยน้ำมันปลา โอเมก้า 3 แอนติออกซิแดนต์ต่างๆได้รับสารอาหารที่ดี  ดื่มน้ำคุณภาพดี มากพอ








Create Date : 17 พฤษภาคม 2555
Last Update : 21 มิถุนายน 2555 23:29:37 น.
Counter : 4724 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.