มีนาคม 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
มหัศจรรย์แห่งโปรตีน





Review Icons


ผลิตภัณฑ์ที่เฟยเฟยชื่นชอบ หรือ มีความโดดเด่นในเรื่องของส่วนผสม มีความปลอดภัย หรือ ไม่โฆษณาเกินจริง หรือ มีวิจัยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือยืนยันรับรอง จะได้ไอคอน "มงกุฏใบมะกอก" ไปครอง



ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมโดยรวมน่าประทับใจ ปลอดภัย หรือ มีวิจัยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือยืนยันรับรอง หรือ ยังขาดส่วนผสมที่ควรจะใส่ลงไป(ขาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น)จะได้ไอคอน "ไฟเขียว" นี้ไป



ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมโดยรวมค่อนข้างธรรมดา สามารถหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด หรือ มีส่วนผสมที่ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงประสิทธิภาพเป็นส่วนใหญ่ จะได้ไอคอน "ไฟเหลือง" นี้ไป



ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่ธรรมดาๆๆๆ มากๆๆๆ +ราคาแพงเกินจริง+โฆษณาโม้แหลก เรียกได้ว่าห่วยแตกเกินจะรับได้ จะได้ไอคอน "ไฟแดง" นี้ไป



ตั้งราคาขายไว้ถูกมากๆ เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เอง หรือ เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ (เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล)



ตั้งราคาขายสูงเกินจริง/สามารถหาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันได้ในราคาที่ประหยัดกว่า (เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล)




โปรตีนและกรดอะมิโนแตกต่างกันอย่างไร

                โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ หากจะพูดให้ถูกต้องแล้ว สิ่งที่ร่างกายต้องการไม่ใช่โปรตีนแต่เป็นกรดอะมิโนที่เป็นหน่วยย่อยเล็กๆของโปรตีนต่างหาก
                กรดอะมิโน ที่ค้นพบในปัจจุบันมีมากว่า 20 ชนิด และการที่กรดอะมิโนแต่ละชนิดมาเรียงร้อยต่อกัน ก็ก่อให้เกิดโปรตีนนั่นเอง และเป็นที่น่าแปลกว่า ถึงจะเป็นกรดอะมิโนที่เหมือนกัน แต่หากต่อต่างกันแล้ว ก็ก่อให้เกิดโปรตีนต่างชนิดกัน ยกตัวอย่างเช่น สมมติเรามี กรดอะมิโน 3 ชนิด นั่นก็คือ กรดอะมิโน A , กรดอะมิโน B , กรดอะมิโน C หากเรานำมาต่อกันแล้ว จะได้

A—B—C  โปรตีน ชนิดที่ 1 A—C—B  โปรตีน ชนิดที่ 2 B—A –C โปรตีน ชนิดที่ 3  

B—C—A โปรตีน ชนิดที่ 4  C—A—B  โปรตีน ชนิดที่ 5  C—B—A โปรตีน ชนิดที่ 6

 
                จะเห็นได้ว่า กรดอะมิโนที่ต่อต่างกัน ก็ก่อใหเกิดโปรตีนที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จากเหตุการณ์ที่ยกมานี้จะเห็นได้ว่า กรดอะมิโนเพียงไม่กี่สิบชนิด สามารถก่อร่างสร้างตัวกลายเป็นโปรตีนที่แตกต่างกันมากมาย หลากหลายนับพันชนิด 


กรดอะมิโนที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ 23 ชนิด (สมัยมัธยมเค้าจะให้เราเรียน 20 ชนิด) แบ่งเป็น


1. กรดอะมิโนจำเป็น = ร่างกายไม่สามารถสร้างกรดอะมิโนเหล่านี้ขึ้นมาได้ จึงต้องหากินจากอาหารเสริมหรือแหล่งอาหารอื่นๆ ตามธรรมชาติ ซึ่ง มีอยู่ 8 ชนิด จริงๆแล้วกรดอะมิโนจำเป็นมี 9 ชนิด แต่อีกชนิดหนึ่ง เป็นกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับเด็กทารกเท่านั้น นั่นก็คือ ฮิสทิดีน ผมจึงไม่ได้พูดถึง โดยโปรตีนชนิดนี้จะมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ในถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารทะเล ไข่ นม และ ชีส

2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น = ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งการกินอาหารจากภายนอก โดยโปรตีนชนิดนี้มักจะได้จาก พืชต่างๆ ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว(ยกเว้นถั่วเหลือง) งา เป็นต้น 

                แล้วทำไม ทั้งๆที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้เองตั้ง 8-9 ตัวอย่างงี้แล้ว เรายังขาดโปรตีนกันอีกล่ะ ก็เพราะว่า การที่ร่างกายจะ ใช้ หรือจะ สร้าง กรดอะมิโนไม่จำเป็นหรือโปรตีนอื่นๆได้นั้น ร่างกายจะต้องมี กรดอะมิโนจำเป็น ในอัตราส่วนที่ มาก พอเหมาะ การขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียง 1 ตัว เพียงชั่วคราว สามารถส่งผลต่อการสังเคราะห์โปรตีนได้ อันที่จริงแล้ว ไม่ว่ากรดอะมิโนจำเป็นตัวใดต่อหนึ่งมีการลดระดับลง หรือ ร่างกายขาดแคลน จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของกรดอะมิโนตัวอื่นๆทั้งหมด ลดลงอย่างชัดเจน 

พูดง่ายๆภาษาชาวบ้านก็คือ หากพี่น้องกินกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ร่างกายก็จะสร้าง กรดอะมิโนตัวที่เหลือ ไม่ได้ หรือ ลดการสร้างลงแบบฮวบฮาบ

กรดอะมิโนชนิดต่างๆ


ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโปรตีน
                หลายคนมักจะเข้าใจว่าโปรตีนนั้นไม่ทำให้อ้วน ความเข้าใจผิดๆนี้ได้สร้างความท้อใจให้แก่ผู้ที่ตั้งใจลดน้ำหนัก ซึ่งลดละการกินข้าว หรือ ขนมปัง แล้วหันมากินสเต็ก แทน จึงไม่ต้องแปลกใจเมื่อพบว่าน้ำหนักกลับยิ่งพอกพูน 

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้

โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี

คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี

ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลอรี

                เห็นได้ชัดว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตนั้น ให้พลังงานเท่ากับเป๊ะๆๆ  อีกทั้งลำดับการใช้สารอาหารของร่างกาย จะใช้คาร์โบไฮเดรตก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นหากพลังงานไม่เพียงพอ ร่างกายจึงจะนำไขมันมาใช้ หากพลังงานยังไม่พออีก ทีนี้ร่างกายจะดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ จะเห็นได้ว่า ร่างกายต้องใช้คาร์โบไฮเดรตก่อนโปรตีนอยู่แล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือ พี่น้องรู้มั๊ยว่า หากเราได้รับโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินความต้องการของร่างกาย ร่างกายของเรามันจะไปเปลี่ยน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตที่เหลือ กลับไปเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย (ทั้งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต สามารถเปลี่ยนไปเป็นไขมันได้) รู้อย่างนี้แล้วพี่น้องคิดเห็นเป็นอย่างไรและยังมีความเชื่ออีกว่า โปรตีน ช่วยเผาผลาญไขมันได้ นับเป็นสมมติฐานที่ผิดโดยสิ้นเชิงอีกประการหนึ่ง (จริงๆแล้วเซลล์กล้ามเนื้อต่างหากที่สามารถทำลายเซลล์ไขมันได้ ไม่ใช่โปรตีน แล้วการจะได้มาซึ่งกล้ามเนื้อพี่น้องก็ต้องออกกำลังกายพร้อมกับกินโปรตีนเสริม หรือ กรดอะมิโนเสริม นะฮ๊าฟฟ...) ความเชื่อฝังหัว ที่พูดต่อๆกันมานี้ ทำให้ผู้พยายามลดน้ำหนักมากมายหลงเชื่อ สุดท้ายก็ต้องขยี้ตาอีกครั้งเมื่อเห็นตัวเลขบนตาชั่ง ความเชื่อที่ว่าโปรตีนช่วยเผาไขมันนี้ เป็นความเชื่อที่ผิด พอๆกับความเชื่อที่ว่า ยิ่งกินโปรตีนมากเท่าใด ยิ่งจะผอมลงเท่านั้น ลองได้รู้ความจริงอย่างนี้แล้ว พี่น้องก็จงตรองดูเถิด...

การกินโปรตีนเสริม
                 สำหรับใครก็ตามที่ไม่สามารถกินโปรตีนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน การกินโปรตีนเสริมนั้นย่อมเป็นประโยชน์ โดยที่ผมจะแบ่งการเสริมโปรตีน เป็น 2 แบบ ก็คือ

1. การกินโปรตีนเสริมเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ปลอดโรค โดยแหล่งของโปรตีนจะมาจากถั่วเหลืองSmileyเท่านั้น

2. การกินโปรตีนเสริมเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยโปรตีนเสริมรูปแบบนี้ จะเน้นโปรตีนที่ได้จากสัตว์ เช่น เวย์โปรตีน เป็นต้น โดยโปรตีนเสริมสูตรที่ดีที่สุด ทำจากถั่วเหลือง ไข่ขาว เวย์โปรตีน และนมปราศจากไขมัน ซึ่งจะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน 

การกินกรดอะมิโนเสริม
           กรดอะมิโนเป็นส่วนย่อยของโปรตีนซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เลย โดยผมจะแบ่งการเสริมกรดอะมิโนเป็น 2 แบบก็คือ

1. กรดอะมิโนแบบสูตรวม และ กรดอะมิโนแบบรวมบางชนิด เช่น BCAA ซึ่งจำเป็นและเหมาะ สำหรับการสร้างกล้ามเนื้อ การเพาะกาย และ การเล่นกีฬาทั่วๆไป

2. กรดอะมิโนชนิดแยกเดี่ยว ซึ่งกรดอะมิโนแต่ละตัวต่างก็มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของการส่งเสริมระบบภูมิคุ้ม การลดความอ้วน การสร้างกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการทดแทนการกินยาแบบพร่ำเพรื่อ โดยกรดอะมิโนที่นิยมกินเสริมแบบแยกเดี่ยว ก็อย่างเช่น ทริปโตแฟนและ 5 –HTP ฟีนิลอะลานีนSmiley ดีแอล-ฟีนิลอะลานีน ไลซีน อาร์จีนีน + ออร์นิทีน ทอรีน กลูตามีน กลูตามิกSmiley แอสพาร์ติก เมไทโอนีน ซีสทีนและซีสเทอีน ไกลซีน ไทโรซีน เป็นต้น

                จะเป็นการฉลาดกว่าหากว่าเรากินกรดอะมิโนเสริมร่วมกับการกินวิตามินหลักที่ทำงานร่วมกันในการะบวนการเผาผลาญอาหาร อย่างเช่น วิตามินบี 6 บี 12 และ ไนอะซิน และถ้าหากพี่น้องจะเลือกกินเป็นกรดอะมิโนสูตรรวมหลายตัว ควรมั่นใจว่าเลือกสูตรที่จัดสัดส่วนได้สมดุล ควร อ่านฉลากก่อนซื้อ !!! อย่าลืมว่า การสร้างโปรตีนจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น และกรดอะมิโนไม่จำเป็นอย่าง “สมดุล” และมีสัดส่วนที่เหมาะสม ระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัว  เช่น ไลซีนควรมีอัตราส่วนเป็น 2 : 1 กับเมไทโอนีน และ มีอัตราส่วนเป็น 3 : 1 กับทริปโตแฟน เป็นต้น 



Reference : กฤษดา สิรามพุชนพ : ถ้าไม่รู้จักอาหารเสริมก่อนแก่ ISBN 978-974-7814-56-9 / ธรรมชาติ ต้านมะเร็ง ISBN 978-974-7814-69-9 / แก้ว กังสดาลอำไพ รศ.ดร : อาหารพอเพียงต่อต้านมะเร็ง ISBN 978-974-660-1610 / ใกล้หมอ ก.พ. 2546 / คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรีรวิทยา 1 ISBN 974-661-641-2 / คลินิก ปีที่ 25 8 ส.ค. 2552 ISBN 0857-149x / คู่มืออบรมเวชศาสตร์ครอบครัวครั้งที่ 30 2544 ISBN 974-88329-29 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ : อายุรศาสตร์แนวใหม่ ตุลาคม 2552 ISBN 974-332-792-4 / โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ตำราอายุรศาสตร์ 4 ISBN 978-974-03-1/939-9 / ฉลาดซื้อ ISSB 0858-9461 พ.ค.-มิ.ย. 52 / เฉลียว ปิยะชน ศ.นพ. : รู้สู้โรค ISBN 974-409-833-3 / หลอดเลือดแข็งตีบตันป้องกันได้ : ISBN 974-409-792-2 / ชีวโมเลกุลทางการแพทย์ของศูนย์ชีวโมเลกุลเอเชีย / ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : มหัศจรรย์ น้ำมะพร้าว เล่ม 1-2-3 ตุลาคม 2551-52 / กัลปพฤกษ์ ก.ค. 2552 / ทวีศักดิ์ บูรณวุฒิ พอ.รศ. : วารี พร้อมเพชรรัตน์ พอ. หญิง ผศ.ดร. บก. : สาระสำคัญวิชาสรีรวิทยา โครงการตำรา วพม ISBN 974-7634-22-8 / เทพ หิมะทองคำ ศ.เกียรติคุณ นพ. เบาหวาน ฉบับเทพ ISBN 978-7318-29-5 / เทอดศักดิ์ เตชคง พบ.วรสารคลินิก นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ธันวาคม 2549 ISSN 0857-149x / ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์ นพ. : เวชปฎิบัติโรคผิวหนัง ISBN 974-8615-40-5 / ธิดากานต์ รัตนบรรณากูร นพ. : สูตรลับชะลอวัย Anti-Aging ISBN 978-974-212-840-1 / ธีรวัฒน์ บูรวัฒน์ พบ. วรสารคลินิค พ.ค. 49 ISSN 0857-149x / นิวัฒน์ ศิตลักษ์ นพ.,สมบูรณ์ ธนกิจสินทร.,แน่งน้อย เฉลิมโรจน์ ภญ.,พัชร์อริญ กาญจนวรินทร์ ภญ.: การแพทย์บูรณาการ ฉบับหมอมวลชน. ISBN 978-974-350-398-6 / นราชาญ เอื้อประเสริฐ นพ. , อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ นพ. บก. : Essential Hematology for general Practitioners 2552 / นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีระวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลินิค 257(22)/5/49 / นิจศรี ชาญณรงค์ ภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอยุรศาสตร์แนวใหม่ โครงการตำราอายุรศาสตร์ ฉบับี่ 19 ISBN 974-332-792-4 / นิสา เลาหพจนารถ ภญ. : วงการยา ก.พ. 54 / บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล นพ. และ ณรงค์ โฉมเฉลา ดร. : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรค ธ.ค. 2551 ISBN 978-974-9751-53-4 / บรรเจิด ตันติวิท นพ., ดวงจิตติ สรรพศรี ตันติวิท : หลิงจือกับข้าพเจ้า ISBN 974-90278-8-4 / ประเวศ วะสี ศ.นพ. บรรณาธิการ : โลหิตวิทยา 2513 / ประสาน เปรมะสกุล พลเอก : เบาหวานรู้จริงจะเบาใจ ISBN 974-9608-17-8 / ลดความดันเลือดด้วยตัวเอง ISBN 974-90858-7-6 / มะเร็งพ่าย ISBN 974-91833-7-1 / Dermatology 2000 ISBN 974-7803-34-8 / ปรียา กุลลวณิชย์ / ประวิทตร พิศาลบุตร : ปัญหาได้รับการปรึกษาบ่อยทางอายุรศาสตร์ : กองอายุรกรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 2546 ISBN 974-915066x / พิชิต สุวรรณประกร พบ. : ตำรับยาและวิธีรักษาโรคผิวหนัง ISBN 974-86164-7-9 / พินิจ ลิ้มสุคนธ์ นพ. : รู้ทันโรค รู้ทันหมอ เล่ม 1 2551 ISBN 978-974-05-3564-5 / ภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ : เซลล์ชีววิทยาทางการแพทย์ 1-2 //www.md.chula.ac.th/biochem / กลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื้อ / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ก้าวทันชีวเคมีทางการแพทย์ สูงวัย ห่างไกลโรค ISBN 974-9980-63-8 / ภาคชีวเคมี คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำราชีวเคมี 2548 ISBN 974-284-073-3 / ภาคสูตินศาสตร์ - นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์จุฬา : ตำรานรีเวชวิทยา 2547 ISBN 974-277-898-1 / ยุวดี สมิทธิวาสน์ ภญ. : ประโยชน์ของธาตุสังกะสีต่อสุขภาพ //www.elib-online.com / รีดเดอร์ไดเจสท์ : คู่มือฉลาดใช้วิตามินและแร่ธาตุและสมุนไพร ISBN 974-93003-5-1/มหัศจรรย์ อาหารต้านโรค 2549 ISBN 974-9784-42-4/1001/ตำรับยาใกล้ตัว ISBN 974-7784-31-9 / รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผศ. นพ. , กัมมันต์ พันธุมจินดา ศ. นพ. , ศรีจิตรา บุนนาค ศ. พญ.ท่านผู้หญิง : พาร์กินสันรักษาได้ ISBN 974-9922-40-9 / รุษณา สวนกระต่าย รศ.นพ.,ชานินทร์ อินทรกำธรชัย ศ.นพ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ บก. : update in Problem-Based Medical Practices ISBN 974-9941-780 / เรย์ ดี แสตรนด์ นพ. เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม บำบัดโรค...ความตายอาจ...กำลังครอบงำคุณ แปลโดย พรหมพัฒณ ธรรมรัตน์จินดา 2549 ISBN 974-94582-0-6 / ลลิตา ธีรสิริ พญ. : ภูมิเพี้ยน ISBN 978-974-9751-21-3/หลับไม่ดี มีทางแก้ ISBN 974-9754-97-8 / วิจิตร บุณยะโหตระ ศ. ดร. นพ. :ศาสตร์ชะลอวัย.ISBN 978-616-7005-35-5 / วัฒนา เลี้ยววัฒนา รศ.นพ. : Hemocysteine ISBN 974-05-0158-3 / วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ภก. : ศาสตร์ชะลอชรา ISBN 978-974-06-0702-1 / วิตามินและโภชนาบำบัด ศาสตร์มัศจรรย์ชะลอความชรา ISBN 978974-06-0702-1 / เวชศาสตร์ครอบครัว ครั้งที่ 30 พ.ศ.2544 ISBN 974-88329-2-9 / ศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ พ.อ.หญิง / และคณะ แปล วารสาร อาหาร & สุขภาพ ฉ.104/2546 , ฉ84,85,86/2543 , ฉ.97/2545 / ศักดา ดาดวง ดร. แปล โภชนาการต้านมะเร็ง ISBN 978-974-212-811-1 / ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ พบ.จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารคลินิก ส.ค. 2553 ISBN 0857-149x / ศุภวรรณพิพัฒนพรรณวงศ์ กรีน : ไอน์สไตล์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ ISBN 974-9412-59-1 / สง่า ดามาพงษ์ : อ้วนอันตราย ...ไม่อยากตายต้องลดอ้วน ISBN 978-974-7361-63-6 / สมยศ กิตติมั่นคง นพ. : เมื่อหมอต้องลดความอ้วน ISBN 978-974-7316-41-4 / สมศักดิ์ วรคามิน ศ.ดร.นพ. : King of Herbs ISBN 978-974-067570-9/Food of the Future ISBN 978-974-04-4242-4/Omega 3 น้ำมันปลา ISBN 978-974-7512-92-2 / Stem cell 2552 ISBN 978-974-03-2283-2/ Water for Life ISBN 974-90899-9-5/ มหัศจรรย์แมกนีเซียม ISBN 974-92340-5-7 / เบต้ากลูแคน ISBN 978-974-03-2650-2 / สมหมาย ถุงสุวรรณ บก. : นรีเวชวิทยา โครงการตำราศิริราช 2523 / สมาคมรูมิติสซั่มแห่งประเทศไทย โรคข้อและรูมาติสซั่ม ISBN 978-974-0529163/ISBN 974-94142-4-1 / สรจักร ศิริบริรักษ์ ภก. : โรคกระดูกพรุน คอลัมน์ เภสัชโภชนา นิตยสารพลอยแกมเพชร / สรรพสาร DNA Volume 036, May 2009 USSB 1686-3658 / สรรพสารวงการแพทย์ 1-15/09/10 / สรรพสารวงการยา ISSN 1513-5896 ส.ค. 52 / สรีรวิทยา : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุ๘ ISBN 974-7762-41-2 / สุพรพิมพ์ เจียสกุล และคณะ สรีรวิทยา 3 ISBN 974-661-641-2 (ล.3)2552 / สุรพล รักปทุม นพ. : สู้มะเร็งด้วยเห็ดหลินจือ ISBN 978-974-7525-86-1 / หมอมวลชน บจก.โภชนาการ เล่ม 1, 2 / เอมวลี อมรมย์ดี พบ. : โรคเก๊าท์และภวะกรด ยูริคสูง / Belardinelli R, et al (2005) Coenzyme Q 10 improves contrac tility ofdysfunctional myocardium in chronic heart failure, Biofac tors, 25 (1-4) p. 137-45 / Cooper JM , et al (2003) Friedreich’s Ataxia : disease mecha nisms , antioxidant and Coenzyme Q10 therapy, Biofactors ; 18(1-4) p.163-71 / Earl mindell : The new vitamin bible. ISBN 978-616-529-016-6 / Ely, JTA (2000) A Brief Update on Ubiquinone (Coenzyme Q10), Journal of Orthomolecular Medicine 2000; 15(2) p. 63-68 / Ferrante KL, etal (2005) Tolerance of high-dose (3000 mg/day> coenzyme Q10 in ALS,Neurology, Dec 13; 65(11) p. 1834-6 / Hathcock JN, et al (2006) Risk Assessment for coenzyme Q10(Ubiquinone) , Regul Toxicol Rharmacol, Aug; 45(3) p. 282-8 / Healthy Eating –Fat and Cholexterol //www.diabetes-insght.info/healthy-eating/DL-gat.asp ///en.wikipedia.org/wiki/conjugated-linoleic-acid / //thyroid.about.com.cs.dietweightloss.a.cla.htm /http:..www.consumeraffairs.com/diet/news/20060522/cla_weight_loss_debate_continues / //www.zincinfothailand.com / Kalpravidh RW et al (2005) Dffect fo coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thalassemia/Hb E patients,Biofactors, 25(1-4) p. 225-34










Create Date : 05 มีนาคม 2555
Last Update : 17 มีนาคม 2555 21:55:29 น.
Counter : 5367 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ultramaths
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]



ผม..เฟยเฟย รายงานตัวค้าบ
ultramaths ขอสงวนลิขสิทธิ์ข้อความทั้งหมดในblogนี้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
All rights reserved.