Memorial of life
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
30 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

ซิลิกา เจล(Silica gel)กับกล้องและอุปกรณ์

ซิลิกา เจล (silica gel)เป็นสารสังเคราะห์ ในรูปของ ซิลิกอน ไดออกไซด์ (Silicon Dioxide, SiO2)ที่มีพื้นที่ผิวมาก ประมาณ 800 ตารางเมตร ต่อ 1 กรัม การดูดความชื้น ของซิลิกา เจล เป็นลักษณะ ทางกายภาพ โดยกักเก็บ ความชื้นไว้ ที่โพรงโครงสร้าง ด้านใน

ซิลิกา เจล ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ ในบรรจุภัณฑ์ ยาและอาหาร โดยปกติ ซิลิกา เจล สามารถ ดูดความชื้น ได้ระหว่าง 24-40%ของน้ำหนักตัวเอง และ มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 c. หากอุณหภูมิ สูงกว่านี้ ประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้น จะลดลงไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ ซิลิก้าเจล ยังถูกนำไปใช้ในการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศ ที่มีความผันผวน หรือ ความแตกต่าง ระหว่างอุณหภูมิ และ ความชื้นสัมพัทธ์ ของประเทศไทย และ ประเทศปลายทาง ย่อมมีโอกาส เสี่ยงต่อ การดูดและคาย ความชื้นของซิลิกา เจล เป็นอย่างยิ่ง

ซิลิกา เจล ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไปมี 3 ชนิด คือ เม็ดสีใสๆ ขนาด 2-5 มิลลิเมตร และ เม็ดสีน้ำเงิน (Indicating Silica Gel) และเม็ดสีส้ม ขนาดเท่าๆ กัน คุณสมบัติของซิลิกา เจล ทั้ง 3 ชนิดนี้ แตกต่างกัน ในเรื่องสิทธิภาพ การดูดความชื้น เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในซิลิก้าเจลสีน้ำเงินการเติม Indicator ลงไป ทำให้มีสีน้ำเงิน บนเม็ดซิลิกา เจล สีน้ำเงินนี้ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ รอบข้าง สูงขึ้นมากกว่า 40% ซิลิกาเจล ชนิดนี้ มีประโยชน์ ในการสังเกต ได้โดยง่ายว่า สินค้ามีโอกาสเสี่ยง ต่อความชื้นมากน้อย เพียงไร หากซิลิกา เจล ที่ใช้ยังคงมีสีน้ำเงิน หรือ ไม่เปลี่ยนสีมากนัก แสดงว่าความชื้น รอบข้างถูกซิลิกา เจล ดูดไว้ และ มีระดับ ความชื้นสัมพัทธ์ ที่ต่ำ ในทางตรงกันข้าม หากสีของซิลิกา เจล เปลี่ยนเป็นสีชมพู แสดงว่า ความชื้นรอบข้างนั้น มีปริมาณที่สูง เกินกว่าที่ซิลิกา เจล จะดูด และ ควบคุม ให้อยู่ในระดับ ที่ต่ำได้

อย่างไรก็ตาม การใช้ซิลิกา เจล ชนิดสีน้ำเงินนี้ ควรระมัดระวัง การใช้งาน เป็นอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง กับสุขอนามัย ระดับโลกบางแห่ง เช่น European Commission และInternational Agent for Research on Cancerได้จัด cobalt chloride ไว้ อยู่ใน ประเภทของสาร ที่อาจก่อให้ เกิดมะเร็ง (carcinogen)หากสูดดมเข้าไป และ อาจมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ในระยะยาวได้
ส่วนเม็ดสีส้ม เป็นซิลิก้าเจล น้องใหม่ ที่ถูกผลิตขึ้นมาแทนเม็ดสีน้ำเงิน ที่บางประเทศห้ามใช้ ซึ่ง ซิลิก้าเจลเม็ดสีส้ม จะมีคุณสมบัติเหมือนกับสีน้ำเงินทุกประการ จะต่างกันที่ Indicator ที่ใส่ลงไป สาร Indicator ที่ใส่ในซิลิก้าเจลสีส้มนั้น เป็นสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะทำให้สีส้มเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อ ดูดความชื้นเต็มที่แล้ว ซึ่งในต่างประเทศ ซิลิก้าเจลสีส้ม กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน ซิลิก้าเจล สีน้ำเงินก็มีการใช้งานลดลงด้วยเช่นกัน

เมื่อซิลิกา เจล ดูดความชื้น จนเต็ม เราสามารถนำซิลิกา เจล ไป คายความชื้นออก เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยวิธีที่นิยมใช้ มี 2 วิธี วิธีแรก คือนำซิลิกา เจล เข้าตู้ไมโครเวฟ อบ ซักพัก แล้วเอามาพึงข้างนอกให้ความชื้นระเหยออก ทำซัก 2-4 รอบ จะได้ซิลิกา เจลพร้อมใช้อีกครั้ง ส่วนวิธีที่ 2 คือชาวกล้องนิยม ก็คือการหากระป๋องเหล็กมา แล้ว เอาซิลิก้าเจลใส่ แล้วเอาไปลนไฟอ่อนๆ เขย่าไปด้วยก็ดีนะครับ จะได้ทั่วถึง จนกระทั้ง สีชมพูเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน รอให้เย็นก็พร้อมนำกลับไปใช้ได้

กลับมาที่การเก็บรักษาอุปกรณ์ถ่ายภาพครับ เพื่อนๆ ที่รักการถ่ายภาพ คงจะลงทุนไปไม่น้อยกับอุปกรณ์ถ่ายภาพ โดยเฉพาะเลนส์ซึ่งมีราคาแพง พอได้เลนส์มา คงมีเพื่อนๆ ส่วนหนึ่ง ที่มีปัญหา ตู้ดูดความชื้นมีราคาแพงเกินไป แต่ก็อยากจะเก็บ อุปกรณ์เหล่านั้นให้ดีไม่อยากให้เป็นฝ้า หรือขึ้นรา ที่เลนส์เป็นแน่(เพราะแพง) จึงมีวิธีที่ดี ราคาไม่แพง คือ ไปหาซื้อกล่องพลาสติด ที่มีฝาปิด กันความชื้นเข้าออกได้ พวกคับเปอร์แวร์ อะไรประมาณนั้นนะครับจะเป็นแบบไมโครแบน หรือแบบมีคลิ๊ปล๊อกที่ฝาก็ตามกำลังทรัพย์ในกระเป๋านะครับ มา แล้วจัดการเอาอุปกรณ์แสนรัก เก็บเข้าไปเลย แล้วหาภาชนะเล็กๆ เช่นขวดซุปไก่ยี่ห้ออะไรก็ได้ ลอกฉลากออกให้มันใสๆ แล้วเทซิลิก้าเจลลงไปซักค่อนขวด วางลงไปด้วย แค่นี้ก็ไม่ต้องกลัวว่า ความชื้นจะเข้ามาทำร้ายอุปกรณ์แสนรักของเราแล้ว แค่คอยสังเกตุเจ้าซิลิกา เจล ว่าเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือยัง ถ้าเปลี่ยน ก็เอาออกมาคายความชื้น ตามวิธีที่ให้ไว้ข้างบน นะครับ ออ เจ้าซิลิกา เจลนะ อย่าใส่มากไปนะครับ เดี๋ยวจะทำให้แห้งเกิน จนส่วนอื่นที่เป็นซีลยางของเลนส์ แห้งกรอบแข็งเสีบหายได้ ใส่เท่าที่ผมบอกนะครับถ้ามันชื้นเร็วโดยไม่ได้เปิดกล่องออก แปลว่า ฝาปิดไม่สนิดนะครับ หวังว่า คงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ

ที่มา //www.dud-d.com




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2553
1 comments
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2553 19:55:34 น.
Counter : 3154 Pageviews.

 

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

 

โดย: spiyaart 30 พฤศจิกายน 2553 21:48:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


tecrkung
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add tecrkung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.