你还好吗?
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
29 กรกฏาคม 2550

中国古代名医- หมอจีนในสมัยโบราณ

ความรู้ส่วนใหญ่ในนี้จะเป็นเรื่องจีน ๆ ที่เอาไปประกอบการดูหนังและอ่านนิยายจีน สำหรับผู้สนใจก็ติดตามอ่านกันได้เรื่อย ๆ ค่ะ วันนี้มาด้วยเรื่อง “หมอ” โอ๊ะ โอ….หมอภาษาไทยนะคะ ถ้าภาษาจีน คำว่า “หมอ”(魔) จะแปลว่า “มารร้าย” ค่ะ เหอ เหอ.....



มาดูคำว่าหมอกันก่อน ปัจจุบันเรียกหมอว่า อีเซิง(医生) และไต้ฟู(大夫)แต่ในสมัยโบราณจะเรียกหมอว่า ไต้ฟู(大夫) หรือว่า หลางจง(郎中)

คนเหนือของประเทศจีนเรียกหมอว่า "ไต้ฟู" คนใต้โดยเฉพาะคนในชนบทเรียกหมอว่า "หลางจง" คำเรียกเช่นนี้มีมาตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ถัง 唐ต้นสมัยอู่ไต้สือกั๋ว五代十国 (ห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร(907-960 A.D.) นับเป็นเวลากว่าพันปีแล้ว

ในสมัยนั้นมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงกันเป็นว่าเล่น ประชาชนทุกข์ทรมานเพราะศึกสงคราม ส่วนชนชั้นปกครองก็ขายกินแม้กระทั่งตำแหน่งราชการของตนเอง ชนชั้นสูงก็ตกอับเป็นอันมาก ทำให้เกิดคำเรียกหาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย เช่นคำว่า “เซียงกง” (相公)ใช้เรียกนักการศึกษา ไต้เจ้า(待诏) ใช้ เรียกแรงงานหัตศิลป์ ฉาป๋อซื่อ (茶博士) ใช้เรียกคนขายใบชา เฉาเฟิง (朝奉 ใช้เรียกเถ้าแก่โรงรับจำนำ หยวนไหว้(员外) ซวนจิ้ง (宣敬) หรือ เฟิ่งจาย (奉斋 )ใช้เรียกคนรวย

ที่คนโบราณเรียกหมอว่า ไต้ฟู หรือ หลางจง เพราะทุกคนเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องหาหมอเกิดความเคารพหมอมาก จึงเอาตำแหน่งสูงสุดทางราชการว่า "ไต้ฟู" และ "หลางจง" มาใช้เรียกคุณหมอ มาถึงสมัยซ่ง(960 – 1279 A.D.) การแพทย์พัฒนาไปมาก หมอหลวงมีตำแหน่งถึง 7 ระดับ 22 ขั้น เช่น เหออันไต้ฟู (和安大夫)เฉิงเหอไต้ฟู (成合大夫,成和大夫)เป็นต้น คำว่าไต้ฟูจึงเป็นคำที่ใช้เรียกหมอต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อไปมาดูหมอชื่อดังในอดีตกันบ้าง

เปี่ยนเชวี่ย (扁鹊)




ตอนที่ดูเรื่อง "ปาต้าเหาเสีย" (ขบวนการ 8 วีรชน) ในเรื่องมีหมอสาวสวยคนหนึ่ง ชื่อว่า "เปี่ยนซู่เวิ่น"



นางเก่งเรื่องการแพทย์มาก เราสงสัยแซ่ของนางว่าแปลกดีไม่ค่อยเคยได้ยิน ชื่อด้วย ทำไมชื่อ "ซู่เวิ่น" (素问)ต่อมาก็เริ่มคิดเอาเองว่าคงจะมีสาเหตุ เพราะแซ่เปี่ยนเป็นแซ่ของหมอชื่อดังเปี่ยนเชวี่ย และคำว่าซู่เวิ่นเป็นบทหนึ่งในตำราหวงตี้เน่ยจิงซึ่งเป็นตำราแพทย์แต่โบราณ ประการนี้เองทำให้เราเริ่มค้นหาเรื่องของเปี่ยนเชวี่ยขึ้นมา




เปี่ยนเชวี่ย เป็นหมอสมัยชุนชิวจ้านกั่ว แซ่ฉิน ชื่อว่า เยวี่ยเหริน เปี่ยนเชวี่ยนับเป็นผู้นำด้านการแพทย์ที่ทุ่มเทเพื่อการพัฒนาการรักษาเป็นอันมาก เขาเดินทางรักษาผู้คนไปทั่วช่วยผู้คนมากมาย ทำให้ได้รับฉายาว่า "เปี่ยนเชวี่ย" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นหมอเทวดาที่รักษาหวงตี้(กบัตริย์จีนโบราณที่ได้รับความนับถือมาก)

เปี่ยนเชวี่ยมีกฎการไม่รับรักษา 6 ประการ( “六不治”)

1.พวกที่มีอำนาจล้นฟ้า วางอำนาจบาตรใหญ่ ไม่รักษา

2.พวกเห็นแก่เงิน ไม่เห็นแก่ชีวิต ไม่รักษา

3.พวกตระกรามเห็นแก่ดื่ม เห็นแก่กิน ไม่รักษา

4.พวกที่ป่วยหนักแต่ไม่ยอมไปหาหมอแต่เนิ่น ๆ ไม่รักษา

5.พวกที่ร่างกายอ่อนแอจนกินยาไม่ได้ ไม่รักษา

6 พวกที่เชื่อในไสยศาสตร์แต่ไม่เชื่อในแพทยศาสตร์ ไม่รักษา


วิธีการรักษาของเปี่ยนเชวี่ยได้รวบรวมมาความรู้ทางการแพทย์ก่อนหน้ายุคของเขาโดยการดูสีหน้า (看气色)ฟังเสียง (听声音) สอบถามอาการ (问病情)ตรวจชีพจร (按脉搏)ทั้ง 4 ประการนี้ เปี่ยนเชวี่ยถนัดในการตรวจอาการจากสีหน้าและการจับชีพจรที่สุดจนได้ชื่อว่าเป็นเลิศในแผ่นดิน

เปี่ยนเชวี่ยเดินทางรักษาชาวบ้านในรัฐต่าง ๆ จนมีชื่อในทุกด้าน ไปรัฐจ้าวได้รับขนานนามให้เป็นหมอเก่งด้านสูตินรีเวช ไปรัฐโจว เขาว่ากันว่าเก่งด้านหูคอตาจมูก ไปรัฐฉินก็ขึ้นชื่อทางกุมารเวช แต่ที่รัฐฉินนี่เองที่เปี่ยนเชวี่ยถูกคนริษยาจนตัวตาย เปี่ยนเชวี่ยได้แต่งตำราสองเล่มคือ ไหว้จิง《外经》 กับ เน่ยจิง《内经》แต่หายไป เปี่ยนเชวี่ยมีศิษย์หลายคนซึ่งพวกเขาต่างก็มีผลงานไม่เลว เชื่อกันว่าตำรา "หวงตี้ปาสืออีหนันจิง"《黄帝八十一难经》ในสมัยฮั่น เป็นตำราที่นำความรู้ทางการแพทย์ของเปี่ยนเชวี่ยมาบันทึกไว้โดยเฉพาะการจับชีพจรตรวจอาการของโรค




จางจงจิ่ง (张仲景) A.D. 150 - A.D.219



จางจงจิ่ง เป็นหมอสมัยฮั่นที่ขยันศึกษาหาความรู้แต่เล็ก มีคนทำนายว่าเขาจะกลายเป็นหมอชื่อดังในอนาคตและก็เป็นไปตามนั้นจริง ๆ จางจงจิ่งเรียนวิชาแพทย์กับหมอในหมู่บ้านเดียวกันที่เรียกว่า จางป๋อจู่ (张伯祖) เนื่องจากความฝักไฝ่สึกษาวิชาแพทย์ ในเวลาไม่นานนัก เขาก็กลายเป็นหมอที่ได้รับการยอมรับนับถือทั่วไป

จางจงจิ่งมีชีวิตอยู่ในปลายสมัยฮั่นซึ่งมีการรบและโรคระบาดเกิดขึ้นเป็นกิจวัตร ทำให้เดิมครอบครัวเขาทีมีสมาชิกถึง 200 คนตายไปถึง 1 ใน 3 และส่วนใหญ่ตายด้วยไข้ไทฟอยด์(Typhoid-伤寒 )ทำให้เขาเสียใจมาก และพยายามหาทางรักษาโดยศึกษาค้นคว้าตำราแพทย์โบราณ ซู่เวิ่น(素问 เป็นส่วนหนึ่งของตำราแพทย์โบราณหวงตี้เน่ยจิงที่กล่าวถึงร่างกายของมนุษย์และโรคต่าง ๆ )ปาสืออีหนัน(八十一难) อินหยางต้าลุ่น(阴阳大论)และตำราแพทย์โบราณต่าง ๆ อย่างจริงจัง ค้นคว้าและทดสอบตำรับยา ประกอบกับประสบการณ์การรักษาคนไข้ นำมาบันทึกเป็นตำราแพทย์ที่ชื่อว่า "ซังหานจ๋าปิ้งลุ่น" (伤寒杂病论) มีทั้งหมด 16 บท แต่สูญหายไป ต่อมาคนรุ่นหลังค้นหาจนรวบรวมไว้แบ่งเป็น 2 เล่มคือ "ชังหานลุ่น"(伤寒论)กล่าวถึงเรื่องไข้ไทฟอยด์และ "จินคุ่ยเย่าเลวี่ย"(金匮要略)กล่าวถึงโรคทั่วไป(杂病) จางจงจิ่งได้ฉายาว่า อีเซิ่ง(医圣 หมอวิเศษ) นับเป็นหมอยุคต้น ๆ ที่ทุ่มเทเพื่อการแพทย์จีนโบราณผู้เสียสละและสร้างประโยชน์แก่การแพทย์จีนอย่างยิ่ง




หวงฝู่มี่ (皇甫谧) A.D. 205 - 282



กล่าวถึงหวงฝู่มี่ต้องนึกถึงตำราฝังเข็ม เจินจิ่วเจี๋ยอี่จิง《针灸甲乙经》และตำราแพทย์อีกหลายเล่มเช่น "ลี่ไต้ตี้หวังซื่อจี้《历代帝王世纪》、เกาซื่อจ้วน《高士传》、อี้ซื่อจ้วน《逸士传》、เลี่ยหนี่จ้วน《列女传》、และหยวนเยี่ยนเซียนเซิงจี๋《元晏先生集》

หวงฝู่มี่ มีชื่อว่าซื่ออัน (士安) มีชีวิตอยุ่ในสมัยตงฮั่น (A.D.205)ตอนเล็ก ๆ ถูกยกให้เป็นลูกของลุงกับป้า ซึ่งทั้งสองท่านรักและเอ็นดูเขามาก ตอนเป็นเด็กหวงฝู่มี่ไม่ขยันหาความรู้เอาแต่เที่ยวเล่น จนโดนคนล้อว่าเป็น "เจ้างั่ง" จวบจนอายุ 17 ปีแล้วก็ยังรักเที่ยวรักเล่นอยู่ไม่รู้คลาย จนลุงป้าเป็นห่วงและกลุ้มใจในอนาคตของเขาเป็นอย่างยิ่ง

วันหนึ่งเพื่อให้บทเรียนแก่เขา ลุงป้าไล่เขาออกจากบ้าน แต่ด้วยความกตัญญูหวงฝู่มี่กลับเอาผลไม้กับขนมมาฝากลุงกับป้าเผื่อว่าท่านจะหายโกรธ ผิดคาดทั้งสองท่านโกรธยิ่งกว่าเดิม ทรุดตัวลงร้องไห้กับพื้น บอกกับเขาว่าหากเขายังเป็นแบบนี้อยู่อีกจะเรียกว่ากตัญญูได้อย่างไร หากจะกตัญญูควรตั้งใจเรียน หวงฝู่มี่สะเทือนใจมากที่ทำให้ลุงกับป้าต้องเสียใจ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องเรียนให้ดี จากนั้นเขาก็ขยันใฝ่ศึกษาไม่เคยขี้เกียจแม้แต่วันเดียว ทั้งยังตั้งใจว่าจะแต่งตำราเกี่ยวกับการฝังเข็มสักเล่มให้ได้ จนสำเร็จในที่สุด

เจินจิ่วเจี๋ยอี่จิง มี 10 เล่มรวม 128 บท เนื้อหากล่าวถึงอวัยวะภายใน จุดและเส้นต่าง ๆ ในร่างกาย สาเหตุของโรค การตรวจโรค และวิธีการรักษา โดยเฉพาะจุดที่ใช้ฝังเข็มกล่าวไว้อย่างละเอียดถึง 654 จุด นับเป็นต้นแบบการรักษาด้วยการฝังเข็มของแพทย์จีนแผนโบราณ(“中医针灸学之祖”) เมื่อตำราเล่มนี้เผยแพร่ไปสู่ต่างประเทศก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งในสมัยของเท็นจิเท็นโน(天智天皇)โดยฟูจิวาระโนบุฮิโตะ(659-720)ขุนนางต้นสมัยนาราได้กำหนดในกฎหมาย ให้เเป็นหนึ่งในหนังสือที่ควรอ่านสำหรับใช้อ้างอิงทางการแพทย์







ฮวาถัว (华佗)

Hua Tuo ชื่อตัวว่า หยวนฮว่า元化 มีชีวิตอยู่ในปลายสมัยฮั่นต้นสมัยสามก๊กเป็นคนเพ่ยกั๋วเฉียว(沛国谯) ปัจจุบันอยู่ในมณฑลอันฮุย ระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ไม่แน่นอน ประมาณ145 A.D. หรือ 208 A.D.แต่ระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่เป็นช่วงที่เกิดศึกสงครามบ้านและเมืองวุ่นวาย โรคภัยไข้เจ็บระบาดไปทั่ว ฮวาถัวไม่ต้องการรับราชการแต่เดินทางไปทั่วเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนได้รับความนับถือจากประชาชนทั่วไป เขาได้คิดค้นวิธีฝึกกายบริหารเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเสือ กวาง ชะนี หมี และนก ทำให้คนที่ฝึกมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืน

ฮวาถัวได้ใช้ประสบการณ์ทางการแพทย์ช่วยเหลือผู้มีชื่อเสียงอย่าง กวานตี้และเฉาเชา(โจโฉ) ฮวาถัวเป็นผู้มีความรู้สูงทางศัลยกรรมผ่าตัดโดยเอายาสลบมาใช้เป็นคนแรก แต่เสียชีวิตเพราะถูกเฉาเชาสั่งประหาร ก่อนตายฮวาถัวได้เขียนหนังสือตำราแพทย์ไว้ส่งให้ผู้คุมเรือนจำ ฮวาถัวได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์ของจีน

ใครสนใจดูหนังชุดเรื่องฮวาถัวของทีวีบีที่หลินเหวินหลงเล่นกับหวงยื่อหัวได้ค่ะ






หลี่สือเจิน (李时珍)(1518 - 1593)



หมอชื่อดังสมัยราชวงศ์หมิง ผู้เขียนตำราสมุนไพรอันโด่งดัง "เปิ่นเฉากังมู่" (本草纲目)หรือหนังจีนชุดเอามาสร้างชื่อเรื่องว่า "เปิ่นเฉาเย่าหวัง" 本草药王 (ราชาสมุนไพร)



หลี่สือเจิน เกิดในตระกูลที่เป็นหมอกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ตัวเขาเองก็ตั้งใจจะเป็นหมอที่ดีต่อไป แต่ในสมัยนั้นอาชีพหมอตกต่ำและพวกข้าราชการก็มักมารังแกอยู่เสมอ ทำให้พ่อของหลี่สือเจินให้ลูกไปสอบเป็นข้าราชการเผื่อความเป็นอยู่จะดีขึ้น หลี่สือเจินแม้จะชอบทางด้านรักษาคนแต่ไม่กล้าขัดใจพ่อ จึงไปสอบเข้ารับราชการ อายุสืบสี่สอบได้ซิ่วไฉ (การสอบในระบบเคอจวี่科举 ที่หลี่สือเจินสอบเป็นระดับเยวี่ยนซื่อ (院试) ซึ่งต่ำสุดผู้สอบผ่านจะได้รับราชการในระดับอำเภอ ลำดับต่อมาเป็นการสอบในระดับมณฑล เรียกว่า เซียงซื่อ (乡试) หากสอบผ่านระดับนี้ได้จะได้เป็น จวี่เหริน 举人ซึ่งมีสิทธ์สอบในระดับสามซึ่งเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งเรียกว่า เตี้ยนซื่อ (殿试) คนที่สอบได้ระดับนี้จะเรียกว่า จิ้นสือ(进士) ซึ่งมีตำแหน่งคนที่สอบได้ที่ 1 เรียกว่าจ้วงหยวน(状元 จอหงวน) ที่ 2 เรียกว่า ปั้งเหยี่ยน(榜眼)และที่3 เรียกว่า ทั่นฮวา(探花 ลี้คิมฮวงในฤทธิ์มีดสั้นก็สอบได้ตำแหน่งที่สามนี้ เก่งไหมล่ะคะ?)จากนั้นก็ไปสอบระดับจวี่เหรินอีกถึงสามครั้ง แต่สอบไม่ผ่าน

หลี่สือเจินจึงขอพ่อว่าอยากเป็นหมอ คราวนี้พ่อขัดใจลูกไม่ได้บ้าง จึงยอม หลี่สือเจินค้นคว้าวิจัยอยู่หลายสิบปี พออายุ 30 กว่าปีก็กลายเป็นหมอชื่อดังแห่งยุค เขารักษาเชื้อพระวงศ์จนหาย ได้รับราชการในวังและศึกษาตำราทางการแพทย์โบราณที่หายากและเก็บไว้แต่ในวังมากมายจนทำให้เพิ่มพูนความรู้อย่างกว้างขวาง แต่รับราชการได้ไม่ถึงปีก็ลาออกกลับบ้านเกิด




หลี่สือเจินใช้ความรู้ที่มีเขียนตำรายาสมุนไพรเปิ่นเฉากังมู่แล้วเสร็จในปีค.ศ.1578 เขียนด้วยจำนวนคำล้านเก้าแสนกว่าคำ แบ่งเป็น 16 เล่ม 62 ชนิด 50 บท รวมสมุนไพรไว้ถึง 1892 ชนิด เพิ่มจากเดิมถึง 374 ชนิด บันทึกตำหรับยาไว้ถึง 11096 อย่าง มากกว่าที่ก่อน ๆ บันทึกไว้ถึงสี่เท่า ทั้งยังวาดภาพประกอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับสมุนไพรต่าง ๆ อย่างชัดเจน ถึง 1160 ภาพ เปิ่นเฉากังมู่รวมความรู้ทางด้านยาสมุนไพรของจีนโบราณกว่า 2000 ปีไว้ ทั้งยังเพิ่มความรู้ใหม่ ๆ ลงไปและขจัดข้อสงสัยและความเข้าใจผิดที่มีมาแต่เดิมให้ถูกต้องชัดเจนขึ้น ตำรายาอันโด่งดังด้วยความรู้อันล้ำค่านี้แปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษาเช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย และเกาหลี นับเป็นแหล่งความรู้จากตะวันออกอันหาค่ามิได้





หลุมศพของหมอหลี่



หลินเหวินหลง ในบทหมอ "หลี่สือเจิน"











Create Date : 29 กรกฎาคม 2550
Last Update : 26 สิงหาคม 2550 16:17:14 น. 39 comments
Counter : 20539 Pageviews.  

 
มาอ่านค่ะ


โดย: meaw_1985 วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:09:43 น.  

 
มาอ่านค่ะ ขอบคุณที่นำความรู้ดี ๆ มาเผยแพร่ค่ะ


โดย: น้ำเงี้ยว วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:37:59 น.  

 


โดย: แ ม ง ป อ วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:09:16 น.  

 
ฮวาถัว (华佗) ชื่อตัวว่า หยวนฮว่า

ตัวอักษรจีนไม่ขึ้น ฟังจากเสียงน่าเป็นจีนกลาง ใช่ "ฮูโต๋" หรือเปล่าคะ มามิ

ได้ยินชื่อในนิยายจีนหลายเรื่องแล้วค่ะ ดังมากๆเลย น่าเรียกว่าหมอศัลย์มือหนึ่งได้นะ

บางเรื่องก็พาดพิงไปถึงเรื่องยาอายุวัฒนะด้วยละ

ไม่รู้ว่าใช่คนเดียวกับที่กำลังพูดถึงรึเปล่า



โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 31 กรกฎาคม 2550 เวลา:6:53:44 น.  

 
ขออภัยค่ะ ฮัวโต๋ หรือ ฮูโต๋หรือ ฮวาถัว คนเดียวกันค่ะพี่


โดย: mamiya วันที่: 31 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:44:52 น.  

 
มารร้าย แต้จิ๋ว เป็น ม้อ


โดย: ฉั่วเป่งใช้ วันที่: 3 สิงหาคม 2550 เวลา:14:05:56 น.  

 
กำลังแปะหนังเรื่อง Herbalist Manual อยู่เลยค่ะ
ตกลงหมอชื่อหลี่สือเจิน ใช่ป่าวคะ จะได้ไปแก้ค่ะ ทำไมหูเราเพี้ยนๆ ฟังชื่อจากหนังได้ยินเป็นสี่จั้นอ่ะ


โดย: จอมยุทธหญิง IP: 203.144.130.176 วันที่: 6 สิงหาคม 2550 เวลา:19:04:08 น.  

 
ท่านจอมยุทธหญิงคะ ดูเป็นภาษากวางตุ้งหรือเปล่าคะ? อย่างนั้นชื่อของท่านหมอจะเป็น "เหลยสี่จั๊น" น่ะค่ะ หลี่สือเจินเป็นภาษาจีนกลางค่ะ

น่าแปลกไหมล่ะคะ ที่หมอชื่อดังในสมัยโบราณโดน "หลินเหวินหลง" กวาดไปรับบททั้งสองท่านเลย

เรื่องนี้เราดูแล้วแต่ไม่ค่อยเท่าไหร่ อยู่กลาง ๆ ดูได้เรื่อย ๆ สำหรับท่านที่อยากทราบเนื้อเรื่อง เชิญกดที่บล็อคท่านจอมยุทธหญิงได้เลยค่ะ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=foreverray&date=20-11-2005&group=1&gblog=7



โดย: mamiya วันที่: 6 สิงหาคม 2550 เวลา:21:43:27 น.  

 
ได้ยินเรื่องของหมอๆๆ ช่วงนี้แล้ว เหนื่อยจังค่ะ มามิ

คงเป็นเพราะช่วงนี้ร่างกายไม่ค่อยได้ดั่งใจเลย
(เพิ่งหายหวัดนะสิ)

แต่ท่านหมอหลี่สือเจินนี่ไม่เคยได้ยินแฮะ
น่าจะมีอีกท่านหนึ่ง ที่ได้กล่าวไว้ในพยากรณ์ประกาศิต จำชื่อไม่ได้แล้วค่ะ


ช่างเถอะ เดี๋ยวคงนึกออกเองแหละ เรื่องข้างบนนี่คงไม่ได้เข้ามาฉายในไทยแน่เลย

หน้าตาหลินเหวินหลงนี่คงเหมือนพวกคงแก่เรียนมั๊งเลยได้บทประเภทนี้บ่อยมาก



โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 7 สิงหาคม 2550 เวลา:6:56:20 น.  

 
พี่ฟง ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
อย่าว่าแต่พี่ฟงเลย หลิงเอ๋อร์ก็เป็นหวัดเหมือนกัน อิอิ
ร่างกายคนเรา ไม่เคยได้ดั่งใจหรอกค่ะ

ในพยากรณ์ประกาศิต เคยอ่านบลอค พี่ magarita 30 เรียกว่า หล่ายเหยิกยี ไม่รู้ว่าจีนกลางเรียกว่าอะไร
เรื่องนั้น หลินเหวินหลงเล่นเป็นหมอดูค่ะ คลาดหมอไปนิดเดียว



โดย: หลิงเอ๋อร์ IP: 125.26.144.65 วันที่: 8 สิงหาคม 2550 เวลา:20:43:09 น.  

 
สวัสดีค่ะ พี่น้องทั้งหลายขา

รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ คุณหมอหลิงเอ๋อร์ก็ด้วยนะคะ

ในพยากรณ์ประกาศิต ด๊อกเตอร์ล่าย เรียกเป็นภาษาจีนกลางว่า "ล่ายเย่าเอ๋อร์" ค่ะ อ้อ หลินเฟิงเล่นเป็นหมอสมัยใหม่อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง "เทียนหยาเสียอี" ชื่อไทยจำไม่ได้ ท่านจอมยุทธหญิงน่าจะทราบดี

ส่วนเรื่อง "พยากรณ์ประกาศิต" นั้นหลินเหวินหลงก็เล่นเป็นหมออีกแล้ว แต่เป็นหมอดู อ่ะ ฮ่า ควรเก็บไว้ในหมวดนี้ด้วยหรือเปล่าหนอ?

มาแจกเพลงเพราะ ๆ ให้ฟังค่ะ เพื่อประโลมจิตใจให้แช่มชื่น เพลงนี้ชื่อว่า "หลิวสุ่ย" (ธาราไหลริน) เป็นเพลงบรรเลงกู่ฉิน(พิณจีนโบราณ) เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศเรื่องค่ะ นี่ถ้าจุดกำยานและเรียกจอมยุทธมาร่ายรำกระบี่ประกอบด้วยได้ คงทำให้แล้ว ฮ่า ฮ่า .......


หลิวสุ่ย........



โดย: mamiya วันที่: 8 สิงหาคม 2550 เวลา:21:41:58 น.  

 
อย่าถึงขั้นจุดกำยานและเรียกจอมยุทธมาร่ายรำเลยค่ะมามิ



กลัวไม่ใช่จอมยุทธชอหรือเซี่ยวหงส์จะแย่เอาค่ะ

พี่ก็มีเพลงบรรเลงกู่เจิงเหมือนกัน ของอาจารย์หลี่หยาง
เพราะมากๆค่ะ

ส่วนเรื่อง "พยากรณ์ประกาศิต" นั้นหลินเหวินหลงก็เล่นเป็นหมออีกแล้ว แต่เป็นหมอดู

ในพยากรณ์ประกาศิต เคยอ่านบลอค พี่ magarita 30 เรียกว่า หล่ายเหยิกยี ไม่รู้ว่าจีนกลางเรียกว่าอะไร

หลิงเอ๋อร์ คงเป็นลี้โป่วอีมั๊งค่ะ (พี่ออกเสียงตามเสียงแต้จิ๋วนะ) เคยยืมมามิมาอ่านเหมือนกัน แต่เป็นภาคสองแล้ว

สนุกมากๆๆๆๆ อยากให้พิมพ์ใหม่จริงๆ

เชื่อแล้วว่าหลินเหวินหลงถูกโฉลกกับบทหมอจริงๆ
สารพัดหมอเลยวุ้ย


โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:7:38:50 น.  

 
พี่ฟงเหงื่อตกเลยหรือคะ? จอมยุทธหนุ่มอย่างเถี่ยหมอเล่อได้ไหมคะ? แต่หมอเล่อ เด็กมาก ๆ ค่ะ 16-17 ปีเอง ให้ไปฝึกวิชาอีกสักหลายปีก่อนแล้วค่อยมาคุ้มครองพวกเราดีไหมคะ? ฮ่า ฮ่า ฮ่า

กู่เจิงของอาจารย์หลี่หยาง มีโน้ตเพลงแต่ไม่มีซีดีค่ะ พี่คะ กู่ฉินชุดนี้ของเหล่าซือมามิเองค่ะ เหล่าซือเขาชอบเอามาฟังตอนพัก เราเลยไปขอก๊อปมา ยังมีอีก 8 เพลงได้กระมัง แต่มามิว่าเพลงนี้เพราะที่สุด สะดุดหูทุกโน้ตที่ดีด ได้อารมณ์ดีแท้ ๆ


โดย: mamiya วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:19:49:07 น.  

 
อยากได้ซีดีครูหลี่หยางเหมือนกันค่ะ
หลิงเอ๋อร์ เป็นลูกศิษย์แท้ๆของครูยังมีแต่เทป ไม่มีซีดีเลย ที่มีก็ฟังซะเทปยืดหมดแล้ว

ว่าแต่ ช่วงหลังไม่ค่อยได้ซ้อมกู่เจิง ถ้าครูมาเห็นคงต้องร้องออกมา
"น้อง... ทำไมเล่งมือเกร็งจังเลยคะ รีแลกซ์หน่อย แล้วตั้งมือขึ้นด้วย"

ถ้าพี่ๆอยากได้เพลงของครู คงหาไม่ยากแต่เพลงลูกศิษย์ครูคนนี้ แหะๆๆ อีกนานค่ะ

ทำไมไม่รู้ รู้สึกว่า เสียงกู่เจิงกูฉิน เหมือนเสียงชายชราหญิงสาวเลย คนละอารมณ์กัน
เคยถามครู กู่ฉิน เป็นยังไง(ตอนนั้นไม่เคยได้ยิน แยกเสียงไม่ออก) ครูบอกว่า เสียงจะโบราณๆ ไม่สดใสเหมือนกู่เจิง พอมาฟังก็เลยถึงบางอ้อซะที จริงแฮะ


โดย: หลิงเอ๋อร์ IP: 58.8.50.8 วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:20:23:38 น.  

 
^
^
ลืมไป เพลง เกาซันหลิวสุ่ย รึเปล่าคะ


โดย: หลิงเอ๋อร์ IP: 58.8.50.8 วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:20:24:58 น.  

 
นึกว่า กู่เจิง กับ กู่ฉิน นี่เป็นตัวเดียวกัน แต่อ่านคนละเสียง

เคยฟัง(และเห็น)กู่เจิง จากงานเดี่ยวกู่เจิงของอาจารย์หลี่หยางที่ม.เกษตร เมื่อหลายปีมาแล้ว (รู้สึกว่าครั้งนั้นอาจารย์เจิมศักดิ์ ก็ไปด้วย ท่านตัวสูงใหญ่ สะดุดตามากเลยค่ะ)

ตอนแรกไม่รู้จักอ.หลี่หรอกค่ะ เซี่ยวหงส์ชวนไปดูค่ะ



พออาจารย์เริ่มเล่น โอ้ พระเจ้าจอร์จ เหมือนเข้าไปอยูอีกโลกหนึ่ง เพราะมากๆค่ะ
หลังจากนั้นก็ถามน้องชายตลอดว่า อาจารย์เป็นใคร และจะจัดการแสดงอีกไหม

แต่นี่มาเจอลูกศิษย์อาจารย์แล้ว เดี่ยวให้ฟังบ้างสิคะ หลิงเอ๋อร์

ถ้ามีโอกาสก็อยากฟังอีก ครั้งนั้นเลยได้ซีดีมาแผ่นหนึ่งค่ะ
ที่ชอบมากๆอีกเพลงคือ ระบำเผ่าอี้ (เขียนผิดรึเปล่าหว่า)

มันให้อารมณ์ดีค่ะ ดีจังที่รู้ว่า มามิกับหลิงเอ๋อร์ก็ชอบกู่เจิง


โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 15 สิงหาคม 2550 เวลา:7:42:57 น.  

 
แหะๆ เครื่องกู่เจิงหอบไปขอนแก่นแล้วค่ะ แต่ถ้ามีโอกาสอาจยืมเครื่องที่ OKLS เล่นได้ (ต้องไปฟังที่โรงเรียน) เคยทำแบบนี้เมื่อสามปีก่อน แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะทำได้อีกรึเปล่า ที่สำคัญ จะได้กลับไปทำหรือเปล่า
สงสัยต้องเล่นทางโทรศัพท์ซะแล้วน่ะค่ะพี่ฟง

กู่เจิง เดิมมีเพียงเจ็ดสาย แต่มีการพัฒนาจนมี 21 สายแบบในปัจจุบัน ความยาว 1.5 เมตร สุงเกือบเท่าตัวหลิงเอ๋อร์ มีหย่องตรงกลางเครื่อง (คล้ายๆ"นม" ของจะเข้ไทย) การเล่นใช้ทั้งสองมือ เกือบทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วก้อย
ส่วนกู่ฉิน จะเป็นพิณแบนๆคล้ายพิณญี่ปุ่น มีจำนวนสายไม่เท่ากู่เจิง(ไม่แน่ใจว่ามีกี่สายน่ะค่ะ) เห็นได้บ่อยกว่าในภาพยนต์จีนกำลังภายใน(เครื่องดำๆเล็กๆน่ะค่ะ)

เพลงระบำเผ่าอี๋ เพลงโปรดเลยค่ะ^^


โดย: หลิงเอ๋อร์ IP: 58.8.45.164 วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:17:05:14 น.  

 
กู่ฉินเป็นเครื่องดนตรีที่มีอายุสามพันกว่าปีครับ
และกู่ฉินกับกู่เจิง ไม่มีความเกี่ยวดองกันแม้แต่น้อย
กู่ฉินมีเจ็ดสาย และมีจุดบอกตำแหน่งสิบสามจุดเพื่อบอกต่ำแหน่งที่กดสายและรูดสาย การเล่นกู่ฉินนั้นมือขวาต้องไว้เล็บทั้งสี่นิ้วยกเว้นนิ้วก้อย ส้วนมือซ้ายนั้นห้ามไว้เล็บเพราะมีไว้กดและรูด โน๊ตกู่ฉินนั้นเป้นโน๊ตที่จะมีแต่คนเล่นเท่านั้นที่อ่านออก เพราะเป้นโน๊ตตัวอักษรสัญลักษณ์ ในความรู้สึกผม ผมว่ากู่ฉินเล่นยากกว่ากู่เจิงมาก เพราะตอนนี้ผมก็กำลังเรียนกู่ฉินอยู่ ถ้าสนใจดนตรีกู่ฉินก็แอดดมาคุยได้คับ tq.canchuan@hotmail.com


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:15:30:22 น.  

 
คุณชัชคะ ขอคุยกันนิดนะคะ กู่ฉินกับกู่เจิงแล้วก็เอ้อหู่ อะไรเล่นง่ายที่สุดคะ? ได้ฟังเพลงนี้แล้วไม่เลวจริง ๆ เลยชักสนใจกู่ฉินขึ้นมาเหมือนกัน เมื่อก่อนฟังแต่กู่เจิง เสียงใส ๆ ไพเราะมาก แม้จะเล่นกับเพลงฝรั่งก็เพราะ แต่เมื่อได้ฟังกู่ฉิน รู้สึกว่าก็ไม่ได้ด้อยกว่ากัน

ยามเหนื่อยล้าจากการงาน ได้ฟังบรรเลงกู่ฉิน เหมือนกับได้ปัดฝุ่นออกจากจิตใจ ให้จดจ่ออยู่กับโลกของเสียงเพลงแบบโบราณ พรางคิดถึง หินสวย น้ำใส ป่าโปร่ง ลมเย็น ได้ผ่อนคลายไปอีกแบบหนึ่งค่ะ

หลิงเอ๋อร์...เป็นศิษย์อ.หลี่หยางเสียด้วย ยอดจริง ๆ อย่าทิ้งนะคะ ฝึกเข้าไว้ ชั่วโมงหนึ่งกับอ.หลี่หยางแพงมากค่ะ เคยไปถามเหมือนกัน แต่ถ้าฝึกกับลูกศิษย์อ.อีกทีราคาก็ลดหลั่นกันลงมา เพลงที่เล่นก็มีแนว ๆ "เสี่ยวเฉิงกู้ซื่อ" และอื่น ๆ ของเติ้งลี่จวิน สำหรับเพลงโบราณ แบบโน๊ตหายไปและมาขุดพบในหลุมศพโบราณนี่ค่อนข้างน้อยที่จะได้ฟัง

พี่ฟงชอบกู่ฉินไหมคะ? หรือว่ายังรักเดียวใจเดียวกับกู่เจิง? กู่เจิง มีหลายสิบอัลบั้มเลยค่ะ ไว้จะหาที่เด็ด ๆ มานำเสนออีกค่ะ



โดย: mamiya วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:21:21:02 น.  

 
ถ้ามีความคิดของผม
กู่ฉินเล่นยากสุด แต่ก่อนผมเคยคิดว่าง่าย แต่พอเริ่มเข้าไปลึกๆมันไม่ใช่แต่เสียง แต่ก่อนเคยได้ยินอาจารย์ท่านนึงว่า กู่ฉินคนโง่ก็เล่นได้ แต่เล่นให้คนอื่นเช้าใจมันคนละเรื่องแล้วผมก็เพิ่งเข้าใจว่ามันแปลวว่าอะไร พอเราได้เรียนรู้ลึกไปเรื่อยๆ มันมากกว่าเสียง เพียงแต่เราใช้เสียงเป็นสื่อพูดออกมาแทนเรา สื่อความรู้สึกเราผ่านมันออกมา

เพลงของกู่ฉินส่นใหญ่จะบรรยายเกี่ยวกับความรู้สึกของเราต่อวิวทิวทัศน์นั้นๆ เช่น บึงใหญ่ในยามเย็น พระจันทร์เต็มดวง รวมไปถึงความแค้นก็มี แล้วนักดนตรีกู่ฉินแต่ละคนก็บรรเลงออกมาไม่เหมือนกัน ต่อให้เป็นโน๊ตเล่มเดียวกันก็ตาม หรือแม้ในคนคนเดียวกัน เล่นแต่ละครั้งความรู้สึกก็ไม่เหมือนกัน นั่นขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้บรรเลงในตอนนั้นด้วย

ซึ่งในสมัยโบราณก็เคยบันทึกว่ามีนักดนตรีผู้หนึ่งชื่อป๋ปหยาดีดกู่ฉินเพลง เกาซานหลิวสุ่ย แล้วก็มีอีกผู้หนึ่ง(จำชื่อไม่ได้)สามารถฟังแล้วบรรยายออกถึงสิ่งที่ป๋อหยาจะสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน ทั้งสองจึงกลายเป็นเพื่อนกัน หลังจากนั้นไม่นานคนหนึ่งก็ได้ตายจากไป ป๋อหยาผู้นั้นเศร้ามาก เลยทำลายกู่ฉิน แล้วแบ่งเพลงเกาซานหลิวสุ่ยเป็นสองเพลง คือเพลง เกาซาน และหลิวสุ่ย
ซึงเรื่องนี้ก็มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ในยุคชุนชิว

ส่วนข้างล่างนี้เป็นคลิปศาสตราจารย์หลี่เสียงถิง บรรเลงเพลงกว่างหลิงส่าน
เพลงนี้เป็นเพลงที่เต็มไปด้วยความเคียดแค้นของชายผู้หนึ่ง ซึ่งพ่อของตนเองถูกอ๋องฆ่าตาย ด้วยความกตัญญู ชายผู้นั้นก็ได้ไปเรียนกู่ฉินหลายสิบปีจนมีฝีมือดี แล้วได้เข้าไปบรรเลงต่อหน้าอ๋องผู้นั้น พอเพลงจบ เค้าก็ชักมีดออกมาจากกู่ฉิน ฆ่าอ๋องล้างแค้นให้พ่อสำเร็จ แล้วฆ่าตัวตายตาม
//www.tudou.com/programs/view/aM6yficaocs/

แล้วอันนี้ก็เป็นกู่ฉฺนอายุพันสองร้อยปี กู่ฉฺนสมัยราชวงศ์ถัง เล่นเพลงโยวหลาน หรือกล้วยไม้เดียวดาย เพลงนี้ขงจื้อเป็นคนแต่ง เนื้อหาคือกล้วยไม้ป่า ไม่ต้องมีคนมาเห็น มันก็หอมของมันเอง แสดงถึงคุณค่าของสิ่งๆหนึ่งที่มีค่าด้วยตัวมันเอง
//www.tudou.com/programs/view/aM6yficaocs/

ปล. สังเกตุว่านักดนตรีระดับปรมาจารย์จะไม่แสดงสีหน้าออกมา เพราะให้เสียงสื่อแทนคำพูดหมดแล้ว


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:16:00:51 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำบรรยายข้างบนนะคะคุณชัช มีประโยชน์มากค่ะ และคลิปของ อ.หลี่เสียงถิงด้วย เรื่องเพลงกว่างหลิงซ่าน เคยได้ยินมาก่อน รู้สึกยากที่จะลืม มีอยู่คืนหนึ่ง เรียกว่าเช้าก็ได้ ประมาณ ตีสามกว่า ๆ เราอยากรู้ว่าหากฟังตอนเงียบ ๆ แล้วรอพระอาทิตย์ขึ้น อารมณ์จะประมาณไหน เลยเปิดซีดีเพลงนี้นอนฟัง ไปเรื่อย ๆ ปรากฎว่าคนรอบข้างที่ได้ยิน เรียกเพลงนี้ว่า "เพลงปีศาจ" ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้และไม่สนใจกู่ฉินเลย (และอาจจะคิดในใจว่าเราบ้าไปแล้วล่ะมั๊ง มานอนฟังซีดียามเช้าเงียบ ๆ แบบนี้เหมือนกำลังจะเพี้ยน เหอ เหอ...ทำไมไม่ยักมีใครเห็นว่ามันออกจะน่าสุนทรีย์) บอกตามตรงตอนที่มองหน้าต่างแล้วเห็นแสงลำแรกของอรุโณทัยกับพร้อมกับฟังเพลง ๆ นี้ อารมณ์นึกถึงคนเล่นกู่ฉิน โหย.....อย่าบอกใคร หากจะลองบ้างเพื่อสัมผัสกับสิ่งที่ท่านไม่เคยทำ ก็ไม่ว่ากัน

กว่างหลิงซ่านนี้เป็นเพลงหนึ่งที่เราชอบมากเหมือนกันค่ะ มันวังเวง ฟังแล้วเหมือนกับน้ำทะเลขึ้น ๆ ลง ๆ มีราบเรียบราวกับจิตใจสงบเยือกเย็น มีคลื่นลมปรากฎดั่งความพลุ่งพล่านในจิตใจ มีเสียงเบา มีบางครั้งหนักเหมือนกับจะดีดสายกู่ฉินให้ขาดไปกับมือ ทั้งรุนแรง ทั้งสงบ สลับกันไป เหมือนอารมณ์ในจิตใจคนเราเลยล่ะค่ะ


เริ่มมันส์กับเรื่องกู่ฉินเสียแล้ว





โดย: mamiya วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:21:18:06 น.  

 
อ้อ...เพลงโยวหลาน ลิงค์เหมือนกว่างหลิงซ่านเลยค่ะ


โดย: mamiya วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:21:26:03 น.  

 
//www.tudou.com/programs/view/geIwQBHk_fM/
คลิปโยวหลานครับ ผิดๆ

ถ้าถามว่าระหว่างเล่นกับฟัง อันไหนยากกว่ากัน
คำตอบคือการฟังครับ บางคนบอกว่า ยากไง ก็ฟังๆ เหมือนฟังเพลงทั่วไป แต่กู่ฉินที่บอกไปแล้วว่าไม่ใช่แค่เสียง มันเป็นเนื้อหาของอารมณ์ ซึ่งคนฟังไม่ออก ก็ไม่ใช่ว่าคนนั้นจิตใจไม่ถึงหรืออะไร เพียงแต่ว่าคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลมโชยๆ บางคนบอกว่า เย็นสบายจัง อีกคนบอกว่า เย็นหรอเนี่ย ร้อนจะตายอยู่แล้ว ปัจจัยของการฟังกู่ฉินให้รู้เรื่องคือหนึ่ง ผู้เล่น และสอง ผู้ฟัง ทั้งสองต้องมีสิ่งที่ไกล้เคียงกันคือ ระดับอารมณ์และจิตใจ และผู้ฟังไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เล่นเสมอไปด้วย ดังนั้นจากจะหาผู้รู้ใจแบบป๋อหยานั้นยาก เพราะคนบนโลกมีมากมาย อ.หลี่เสียงถิงก็ได้กู่ฉินอายุสองพันกว่าปีนั้นมาจาก อ. เจิงเฉิงเหว่ย แห่งหมาลัยดนตรีเสฉวน เพราะว่า อ. หลี่ แกเล่นได้โดนใจ อ. เจิงที่สุด อ. เจิง แกบอกว่าแต่ก่อนให้นักดนตรีฉินเล่นทั่วประเทศ แต่ยังไม่ใช่ พอมาเจอ อ. หลี่ แกยกฉินนี้ให้ฟรีเลย แล้วก็ไม่ให้ใครแตะต้องมันอีก แต่ก่อนผมก็ฟังเอาเพราะ เดี๋ยวนี้เริ่มเข้าไปถึงเนื้อหาในระดับนึง รับความรู้สึกที่ผู้เล่นสื่อออกมาได้ ค่อยๆรู้สึกลึกซึ้งไปกับเพลง


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:22:17:08 น.  

 
แล้วอีกย่างที่ว่าทำไมเล่นกู่ฉินต้องอาบน้ำ จุดกำยาน ก็เพราะว่าจะให้ให้จิตใจเราสงบ สื่อเนื้อหาออกมาได้ดีขึ้น
ผู้ฟังห็เช่นกัน ต้องจิตใจสงบถึงจะจับใจความได้ แต่กู่ฉินเมื่อได้ฟังเวลาที่จิตใจวุ่นวาย ถึงแม้จะฟังไม่ออก ถึงแม้ว่าเพลงจะรุนแรงแค่ไหน ที่น่าแปลกคือ จิตใจผู้ฟังจะสงบลงอย่างไม่น่าเชื่อ


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:22:22:44 น.  

 
เพลงที่เล่นด้วยกู่ฉิน มีการนำมาแปลงโน้ตเพื่อเล่นด้วยกู่เจิงด้วยค่ะ แต่การเล่นจะแตกต่าง เพราะกู่เจิงจะใช้เทคนิกเล่นค่อนข้างซับซ้อน การเล่นมีหนักเบา นุ่มนวลหรือแข็งกร้าว ผ่อนคลายเคร่งเครียด ตามอารมณ์เพลง คนเล่นในปัจจุบัน ใช้เล็บเทียมทำจากกระดองเต่า(หรือพลาสติก...ถ้างบน้อย)มาพันที่ปลายนิ้วแทน ต่างจากการไว้เล็บแบบในอดีต เพราะวิธีการเล่นในปัจจุบันจะใช้ความเร็วสูง ใช้แรงมากกว่า ทำให้เล็บที่ไว้โดยธรรมชาติจะเกิดการอักเสบจากการบาดเจ็บซ้ำๆ
การเล่นทุกครั้งต้องผ่อนคลายกล้ามเนื้อนิ้วมือ ข้อมือ แขนไหล่ ถ่ายแรงจากไหล่ลงปลายนิ้ว ให้เหมือนสายน้ำไหลออกมา สะบัดข้อมืออย่างผ่อนคลาย จรดปลายนิ้วต้องแม่นยำ เสียงจึงจะมีพลัง

เทียบความยากกับกู่ฉิน... ไม่ทราบค่ะ เพราะไม่เคยเล่นกู่ฉิน แต่กู่เจิงเองก็มีฝีมือหลายระดับ คล้ายๆเปียโน ตั้งแต่กิ๊กก๊อก จนระดับมืออาชีพ ในประเทศจีนมีการสอบวัดระดับความรู้ด้วย


โดย: หลิงเอ๋อร์ IP: 125.26.145.79 วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:17:26:54 น.  

 
สวัสดีจ้าหลิงเอ๋อร์

กู่ฉินน่าสนใจมาก จะแตกหัวข้อดีไหมแล้วเชิญสองท่านคือหลิงเอ๋อร์กับคุณชัชมาช่วยกันเขียนเรื่องราวที่เป็นความรู้เกี่ยวกับกู่ฉิน ตอนนี้มามิยะยังไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านนี้สักเท่าไหร่ ขอเวลาศึกษาเสียหน่อย

เพลงโยวหลานก็เพราะดีนะคะ ยิ่งรู้ว่าเกิดจากเสียงของกู่ฉินสองพันปียิ่ง น่าสนใจเข้าไปใหญ่ อ้อ ข้างบนเพลงกว่างหลิงส่าน ที่ถูกต้องต้องเขียนอย่างคุณชัชเขียนค่ะ มามิยะเขียนซ่านไม่ถูกต้องค่ะ ต้องขออภัยด้วยนะคะ

เพลงกว่างหลิงส่านเหมือนกับว่าเคยอ่านว่าหายจากการสืบทอดไปนาน และมาขุดเจอในหลุมศพอีกทีแล้วเอามาบรรเลงเป็นบทเพลงเย้ยยุทธจักร จากนิยายของท่านจินยง ในเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักรในเวอร์ชั่นภาพยนตร์แต่แท้จริงแล้วคนบรรเลงก่อนตายชื่อ จีคัง 嵇康(223-262)ในสมัยสามก๊ก หาข้อมูลก่อนแล้วจะมาเขียนใหม่นะคะ


โดย: mamiya วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:22:27:10 น.  

 
เพลงที่แปลงจากกู่ฉินมาเป็นกู่เจิงอันนี้รู้มาพอสควรครับ เพราะผมเคยเรียนกู่เจิงมาก่อน แล้วก็ได้ชมการบรรเลงของนักดนตรีกู่เจิงระดับปรมาจารย์อยู่บ่อยๆ แต่เรื่องเทคนิคกู่ฉินก็ซับซ้อนครับ และซับซ้อนกว่ากู่เจิงแน่นอน ตัวอย่างเพลงกว่างหลิงส่าน แค่ฟังเปรียบเทียบก็เห็นมือผู้บรรเลงในหัวแล้วว่าแตกต่าง ถ้าเทียบโน๊ตด้วยแล้ว เทียบไม่ติดครับ สายกู่ฉินทำด้วยโลหะพันด้วยไนลอนอย่างนุ่มสองชั้น ต่อให้เป็นเพลงที่รุนแรงขนาดไหนก็สื่ออารมณ์ออกมาได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เล็บปลอม เพราะกู่ฉินไม่ใช่ดนตรีตลาด ไม่จำเป้นต้องทำให้มีเสียงดัง เพราะเล่นเองฟังเอง หรือไม่ก็ให้สหายรู้ใจสามสี่คนฟังเท่านั้น

กู่ฉินหนึ่งสายไม่ใช่หนึ่งเสียง ความยากจึงทวีคูณ ตัวอย่าง ใช้นิ้วนางกดที่ต่ำแหน่งที่เก้าของสาย แล้วใช้นิ้วโป้งกระแทกที่ตำแหน่งที่แปดส่วนห้าและงัดขึ้นทันที เสียงที่เกิดเสียงแรกคือเสียงที่เกิดจากการกระแทกของนิ้วโป้งและเสียงที่สองเกิดจากการงัดสายที่ถูกนิ้วนางกดค้างไว้ ตามด้วยใช้นิ้วนางไต่ไปมาสามสี่สายโดยเวลาข้ามสายต้องเหลือเสียงของสายที่แล้วไว้จางๆ ห้ามขาด เทคนิคเหล่านี้พอไปให้กู่เจิงเล่นก็ไม่ยากแล้ว เพราะกู่เจิงหนึ่งสายก็หนึ่งเสียง ขอให้เร็วพอไปดีดอีกสายก็จบ แค่หาไปตามเสียงที่นิ้วกู่ฉินกดลงไปเท่านั้น ผมดูอาจารย์ผมเล่นยังอึ้งเลย มือซ้ายที่กดสายแทบไม่ขยับ และเหมือนนิ้วแทบไม่โดยสาย แต่เสียงที่ออกมานั้นมันมากซะจนน่าแปลกใจ อาจารย์ผมเรียนเอกกู่ฉิน โทกู่เจิงที่วิทยาลัยดนตรีแห่งชาติจีนครับ แกยังบอกเลยว่ากู่ฉินยากกว่า และเทคนิคของกู่ฉินถูกบันทึกด้วยสัญลักษณ์เจ็ดสิบกว่าแบบ นั่นคือเทคนิคทั้งหมด และโน๊ตกู่ฉินที่ถูกบันทึกไว้ ไม่มีจังหวะครับ เพราะความรู้สึกของแต่ละคนต่อสิ่งที่พบเห็นไม่เหมือนกัน นอกจากสำเนียงของอาจารย์ดังๆ จะถูกบันทุกด้วยบรรทัดห้าเส้นด้วยก็มี ความยากและซับซ้อนของกู่ฉินนั้นขนาดนักดนตรีชาวจีนเองยังพูดว่าไม่น่าเรียน ถ้าคนที่ไม่ได้รักจริงๆ ไปไม่รอดแน่ๆ

ส่วนการสอบวัดระดับนั้นเครื่องดนตรีจีนเกือบทุกประเภทมีครับ แบ่งเป็นสิบระดับ กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้สำหรับเด็กนักเรียน เพราะเวลาไปสอบเข้าเรียนไม่ว่ามหาลัยหรือระดับมัธยมก็เหมือนเป็นความสามารถพิเศษที่ใบรับประกัน เวลาเข้าศึกษาต่อก็มีโอกาศได้รับการพิจารณาจากสถาบันมากขึ้น ส่วนกู่ฉินนั้นยังไม่มีครับ เพราะความรู้สึกไม่มีมาตราฐาน วัดกันไม่ได้


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:22:34:45 น.  

 
เรื่องตำนานเพลงกว่างหลิงส่านผมมีเอกสารครับ คิดมากับโน๊ตกู่ฉินที่อาจารย์ให้มา ซึ่งถือว่าเป็นโน๊ตเพลงที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โน๊ตต้นฉบับก่อนสมัยราชวงศ์ถัง ก่อนที่จะถูกนักดนตรีรุ่นหลังตัดต่อเพิ่มเติม เท่าที่อ่านคร่าวจากเอกสารที่แนบมา เค้าว่าจีคังเป็นคนแต่งบ้าง จีคังตายแล้วคนอื่นแต่งบ้าง อีกอันก็ว่าเกี่ยวกับซือหม่าอี้และลูกชาย ไม่เกี่ยวกับจีคังมากมาย แต่เอกสารกล่าวว่าล้วนไม่น่าเชื่อถือ ยังไงผมจะลองแปลๆอีกทีครับ เพราะผมไม่ชำนาญตัวเต็ม


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:22:45:26 น.  

 
ข้อมูลเรื่องหมอดีมากๆ ครับ ผมไม่เคยหาอ่านที่ไหนได้มาก่อนเลย แถมสรุปกระชับรัดกุมดีมาก ขออ้างอิงไปเขียนนิยายบ้างนะขอรับ...อิอิ...


โดย: เสี่ยวเหลียงจือ วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:0:15:32 น.  

 
คุณชัชคะ สิ่งที่ได้ฟังจากคุณทำให้มามิยะรู้สึกว่าเรื่องที่คุณชัชเล่ามีประโยชน์มากเลยค่ะ หากได้ฟังจากผู้มีชำนาญเฉพาะด้านจะมีประโยชน์มหาศาลขอบคุณมาก ๆ ที่เสียเวลาอันมีค่าเขียนเล่าให้ฟังนะคะ

เรื่องของจีคัง บอกตามจริงว่ามามิยะไม่กล้าเขียนในตอนนี้ค่ะ เนื่องจากแหล่งข้อมูลไม่ตรงกัน เรื่องการตายของจีคัง บ้างว่าเขาปฎิเสธการเป็นขุนนางที่ซือหม่าเจาบังคับเลยทำให้ถูกสั่งฆ่า บ้างก็ว่าอย่างคุณชัชว่าข้างบน และยังมีความสับสนเรื่องตัวเขา บ้างว่าเขาเป็นซันกั๋วเว่ยเหริน บ้างก็ว่าเขาเป็นเว่ยจิ้นเหริน แต่ที่แน่ ๆ คือเป็นคนสมัยสามก๊ก ข้อมูลที่เมื่อคืนอ่านซะปวดตา ต้องรอเช็คอีกสักนิด หากคุณชัชมีก็ดีเลิศเลยค่ะ

คุณเสี่ยวเหลียงจือคะ หากเกิดประโยชน์มามิยะจะยินดีมากเลยค่ะ บางทีรู้สึกว่าเรียนภาษาจีนมาตั้งนาน ใช้ประโยชน์ก็ยังไม่ค่อยได้ ที่อ่านมาก็น่าสนใจเลยอยากจะแบ่งปันกับคนอื่นด้วย จึงเอาข้อมูลมาลงในบล็อคค่ะ ข้อมูลหมอข้างบนยังเหลือหมออีกแปดคนที่โดดเด่นในสมัยต่าง ๆ รูปมีแล้ว เรื่องก็มีแล้ว แต่เวลาเขียนและแปล ยังไม่ค่อยมี และบางทีก็มีเรื่องน่าสนใจอื่นที่ทำให้เราเกิดความอยากเขียนมากกว่า เรียกได้ว่าเขียนตามใจสั่งงั้นแหละค่ะ แหะ แหะ เขียนคนหนึ่งก็ต้องเช็คหลายที่ เรื่องหมอข้างบนท่อนแรกแปลมาจากหนังสือที่เพื่อนซื้อมาจากเมืองจีน ส่วนหมอแต่ละคนก็เทียบข้อมูลจากที่มีและอินเตอร์เน็ต สำหรับตัวเลขต่าง ๆ เช่นตำรับยาก็เทียบเท่าที่หาได้จากที่เคยมีตำราในห้องสมุดเอาบ้าง และเทียบในเน็ตสักหลายแห่งบ้าง ถามอาจารย์เอาบ้าง จากนั้นก็สรุปออกมาสั้น ๆ เพราะรู้สึกว่า หากยาวคนจะไม่อยากอ่าน และเซ็งที่จะอ่าน เอาเนื้อ ๆ สั้น ๆ แบบประกอบการดูหนังได้ทันที เหมือนกินม่าม่า ก็ชีวิตประจำวันคนเราออกจะรีบร้อนใช่ไหมคะ ต้องเอาแบบทันใจกันหน่อย

แต่บางทีก็เผลอยาวเหมือนกัน


โดย: มามิยะ IP: 124.121.240.225 วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:14:07:09 น.  

 
พี่มามิยะคะ
ถ้าจะแตกหัวข้อก็เชิญเลยค่ะ
แต่คงต้องขอให้คุณชัช solo แล้วกัน

เจียมตนว่า ข้าน้อยความรู้ยังด้อยนัก มิอาจเปรียบเทียบได้

ช่วงนี้ เหนื่อย..




โดย: หวงหลิง วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:14:49:56 น.  

 
เมื่อครูลองอ่านเอกสารคร่าวๆดูครับ ได้ใจความดังนี้
เพลงกว่างหลิงส่าน เป็นที่นิยมก่อนสมัยที่จีคังมีชีวิตตั้งนานแล้ว พอจีคังตายเพลงก็ไม่ได้หายไปไหน แถมเกือบทุกราชวงศ์ล้วนมีผู้บรรเลงนี้ได้ และมีการดัดแปลงเพื่อบรรเลงกับเครื่องดนตรีอื่นด้วยเช่น กู่เจิง เซิง เป็นต้น แถมบางคนก็เอาชื่อกว่างหลิง ชื่อที่แห่งหนึ่งในแคว้นเว่นในสมัยสามก๊กมาโยงกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง และบางคนยังแปลคำว่า "ส่าน" ตามความหมายเดิมอีก ทั้งๆที่จริงแล้ว "ส่าน" ในที่นี้แปลว่า เพลง เป็นประเภทของเพลงกู่ฉินชนิดหนึ่ง และคีย์เพลงแคว้นฉู่ แสดงว่าเพลงนี้น่าจะเป็นที่นิยมกันในรัชสมัยของฉู่ฮว๋ายอ๋อง ๓๒๐ ปีก่อน คศ. ซึ่งในสัมยนั้นก็มีเมืองชือเมืองกว่างหลิงเหมือนกัน ซึ่งความเป็นไปได้ของชื่อเพลงน่าจะมาจากที่นี่นี่มากกว่า

พอจะสรุปได้ว่า ชื่อเพลง เกิดจากชื่อสถานที่ที่เป็นที่นิยมบรรเลงในตอนนั้น โดยเอาชื่อสถานที่สำคัญ นิทานของเนี่ยเจิ้งมาเป็นตัวกำหนดชื่อเพลงเท่านั้น เพราะนิทานของเนี่ยเจิ้งเป็นที่นิยมในเมืองกว่างหลิงในตอนนั้น

ส่วนเนื้อหาของเพลงแบ่งที่มาเป็นสองเรื่องคือ
หนึ่ง
เนี่ยเจิ้งเป็นตัวแทนล้างแค้นให้ผู้อื่น
สอง
เนี่ยเจิ้งแก้อค้นให้บิดาที่ถูก หานอ๋องฆ่าตาย โดยไปเรียนฉินปเนเวลาหลายสิบปี หานอ๋องได้ยิน ก็อยากจะลองฟันฝีมือของผู้นั้น หารู้มั้นว่า ผู้นั้นต้องจากจะล้างแค้นแทนบิดา พอบรรเลงเพลงจบ เนี่ยเจิ้งก็ชักมีดออกมาจากฉิน ฆ่าอ๋องจนสำเร็จ แล้วฆ่าตัวตายตาม

ปล. เอกสารเป็นภาษาจีนตัวเต็ม แถมซีรอกใม่ชัด อาจมีเนื้อหาคลาดเคลื่อน


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:23:11:33 น.  

 
เอ…............ชักงง งง ตกลงเนี่ยเจิ้งหรือจีคังกันแน่ที่บรรเลงเพลงนี้ก่อนตาย หรือว่าจะเป็นทั้งสองคน
เท่าที่มามิยะได้อ่านมาจนขณะนี้ ได้ความว่า กว่างหลิงส่านเป็นบทเพลงที่ใช้ดีดกู่ฉินแต่จีคังบรรเลงก่อนตาย และได้เงยหน้าขึ้นสู่ท้องฟ้าและบอกว่า

“นับแต่นี้ไปกว่างหลิงส่านจะสาบสูญ!”

ตรงนี้ทำให้คิดไปได้ว่าเพลงนี้มีอยู่ก่อนและกว่างหลิงส่านเป็นเพลงที่จีคังโปรดมาก ก่อนตายก็ได้บรรเลงเพลงนี้ และสาเหตุคือปฎิเสธซือหม่าเจาที่จะให้ไปรับใช้

ส่วนโน้ตเพลงนี้เจออีกครั้งในสมัยหมิง ในบันทึก “เสินฉีมี่ผู่”(ค.ศ.1425) ซึ่งบันทึกเรื่อง “ชื่อหาน”(สังหารหาน) เล่าเกี่ยวกับการที่เนี่ยเจิ้งลอบสังหาร หานหวัง(อ๋องหาน) ตัวโน้ตทุกวันนี้ของเพลง “กว่างหลิงส่าน”ที่เราฟังกัน ได้รับการปรับปรุงจากบันทึกใน “เสินฉีมี่ผู่” ในปี ค.ศ. 1949 (จีนใหม่แล้วนี่นา) แบ่งเป็น 45 บรรทัดตัวโน้ต(乐段) ประกอบด้วยหกท่อนคือ “开指”、“小序”、“大序”、“正声”、“乱声”、“后序” ตรงนี้ไม่กล้าแปล เพราะไม่มีความรู้ทางดนตรี รอคุณชัชมาแนะนำจะดีกว่ามั๊งคะ คุณชัชลองอ่านดูตรงข้างล่างนี้นะคะ


嵇康(公园223-262),谯郡(今安徽宿县)人,字叔夜,魏晋名士,“竹林七贤”之一。尚老庄,善诗琴,工书画。主张“越名教而任自然”,对世俗政治、儒家礼教不屑一顾。为人嫉恶耿介、锋芒毕露。终遭小人谗陷,被魏王司马昭所杀。刑前,嵇康鼓奏一曲,仰天长啸曰:“《广陵散》于今绝矣!”而后引颈就死。

一般的说法是,《广陵散》自嵇康死后便逐渐失传,坊间所奏《广陵散》均系后人附会之作。对此,王君的解释是,嵇康《广陵散》原是一首即兴弹奏曲,而后人记录下来的乐谱版本众多,就像《蘭亭序》有冯本、褚本、欧本等诸多摹本一样。

《广陵散》古谱始见于明朝朱权编《神奇秘谱》(1425年),有“刺韩”、“冲冠”、“发怒”、“报剑”等几个小标题,故事取自“聂政刺韩王”的传说。今天看到的乐谱,乃是著名古琴家管平湖于1949年后根据《神奇秘谱》整理出来的乐谱。全曲共有45个乐段,分成“开指”、“小序”、“大序”、“正声”、“乱声”、“后序”6个部分。

王君说,嵇康获罪,也与此曲有关。中国古代有“宫、商、角、徵、羽”五音之说。根据儒家正统观念,这五音分别对应着不同的社会阶层、事相,有着严格的伦理秩序,正像《礼乐•乐记》所说“宫为君、商为臣,角为民,徵为事,羽为物”。所谓“音有纲常,弦有乾坤”之谓也。而《广陵散》之所以被认作有杀伐之气,是一种乱世之音,正在于它扰乱了五音的纲常秩序,违反了儒家伦理准则。香港音乐人黄霑便是借用《广陵散》的这个特点,以古代五音为徐克新派武侠片《笑傲江湖》谱写了主题曲,意在表现江湖侠士对主流社会的反抗和蔑视。




โดย: mamiya วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:22:20:40 น.  

 
เสินฉีมี่ผู่เป็นแค่ตำราบันทึกโน๊ตสมัยใหม่ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการบันทึกไว้แล้วในสมัยราชวงศ์ถัง ผมอ่านชื่อตำราไม่ออกวีรอกไม่ชัดครับ ส่วนเสินฉีมี่ผู่เป็นโน๊ตที่ถูกนักดนตรีรุ่นหลังแต่งเพิ่มเติมจากของเดิม ในเสินฉีมี่ผู่มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนความยาวยี่สิบกว่านาที ส่วนที่บอกว่าเพลงทั้งสี่สิบห้าท่อนแบ่งเป็นหกส่วนนั้น บอกเป็นเนื้อหาของอารมณ์เพลงครับ

ส่วนที่จีคังบรรเลงกว่างหลิงส่านได้นั้นเพราะได้เรียนเพลงนี้กับม่อจื่อ(เอกสารของผมว่าไว้อย่างนั้น) ส่วนเรื่องที่เพลงกว่างหลิงส่านสาปสูญ เรื่องแต่งแน่นอนครับ เอกสารบอกว่าเพื่อให้เพลงมีความลึกลับยิ่งขึ้นจึงแต่งเติมให้เพลงหายไปแล้วมีคนค้นพบใหม่ ทั้งที่จริง เพลงนี้มีคนนักดนตรีฉินบรรเลงได้ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ (ไม่งั้นจะพัฒนาจากยี่สิบเจ็ดท่อนก่อนถังเป็นสี่สิบห้าท่อนได้ยังไงกัน) ที่ว่าเจออีกทีในสมัยหมิงเพราะว่า สมัยโบรารไม่นอยมบันทุกโน๊ตดนตรีครับ ไม่มีคนเล่นก็หายไปเลย อาศัยการต่อมือจากอาจารย์ตัวต่อตัว เพิ่งจะมีการบันทึกจริงๆจังยุคหลังนี้เอง

เนื้อหาข้างล่างนั้นเกี่ยวกับคีย์ดนตรีจีนโบราณครับ ผมก็ไม่ขอแปลดีกว่า อธิบายยากครับ


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:22:40:55 น.  

 
มาเก็บความรู้เรื่องเครื่องดนตรีที่ชื่นชอบค่ะ

คิดเหมือนหลิงเอ๋อร์ว่าน่าจะแตกไปอีกหัวข้อเลยนะคะ
เรื่องของเครื่องดนตรี กู่ฉิน กับ กู่เจิง

ไม่ค่อยมีคนนำหัวข้อนี้มาเขียนเท่าไหร่ด้วย

มีผู้เชี่ยวชาญมาคุยด้วย น่าสนุกดีออก เชิญคุณชัชมาให้ความรู้เพิ่มเติมด้วย

ว่าแต่ว่า....มามิ ..จะแบ่งเวลาไหวรึเปล่าเท่านั้นแหละ


โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 28 สิงหาคม 2550 เวลา:13:07:09 น.  

 
เอ๋ ..... ขึ้นต้นเป็นเรื่องหมอ
แต่ทำมัยท้ายๆ กลายเป็นดนตรีไปหละคับ อิ อิ อิ

ดีๆๆคับ น้องเล็กชอบ อ่านทีเดียว ได้ 2 เรื่องเบิ้ล


โดย: หงส์น้อยแซ่เล็ก IP: 58.9.168.161 วันที่: 30 สิงหาคม 2550 เวลา:20:56:33 น.  

 
กำ กลายเปงกระทู้ดนตรีซะงั้น
ขอเเจมด้วยละกาน

เเม่นางหลิงเอ๋อร์ ข้าพเจ้าเอ้อหูจากเมืองซูโจว
อยากเชิญท่านมาสนทนาภาษากู่เจิงกันหน่อย
พอดีข้าอยากจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับพระอาจายร์เเม่นาง
ยังไงช่วยแอดที ohm730586@hotmail.com
ข้าพเจ้าเองอยากเล่นเพลงเสือปืนเขามากเลย
ยังไงโปรดMSNมาทีเด้อ อ้าเด้อ

เพลงที่แปลงจากฉินมานั้น
ผมลองฟังเเล้ว ไม่รรู้เรื่องเลย
ห้าๆ มันยังไงไม่รู้อ่ะ ตามความชอบผม
ชอบเอาของเก่ามามิกทำใหม่มากก่า เเต่ก็อย่าลืมของเก่าด้วย เอาเจิงมาเล่น Canon เเล้วเพราะอย่าบอกใครเลย


โดย: Erhuman IP: 58.9.160.235 วันที่: 29 สิงหาคม 2551 เวลา:17:56:37 น.  

 
ม้ายมีหมวดร่างกายจีนเลย


โดย: เล็ก IP: 125.24.89.43 วันที่: 7 กันยายน 2551 เวลา:13:07:59 น.  

 
ในประวัติ หมอหลี่สือเจิน ที่พูดถึง
ตำแหน่ง "ทั่นฮวา" (探花)

เข้าใจว่า ลี้คิมฮวง ใน ฤทธิ์มีดสั้น
ไม่ได้สอบได้ตำแหน่งทั่นฮวาครับ

แต่ที่มีคนเรียกว่า "เซียวลี้ถ้ำฮวย"
เพราะมีดบินของเขาอยู่อันดับ 3 ใน
ทำเนียบศาตราวุธของแป๊ะเฮียวแซ

ถ้ามีโอกาสลองตรวจสอบดูนะครับ
เพราะผมก็ทักท้วงเอาจากความจำ ^_^


โดย: jerasak IP: 58.9.142.8 วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:6:22:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mamiya
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์ตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้นำไปเผยแพร่และอ้างอิง ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของข้อความ ในสื่อคอมพิวเตอร์แห่งนี้เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดี ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด งานเขียนทุกชิ้นในบล็อคนี้ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน กรุณาให้เกียรติผู้เขียนเมื่อนำไปเผยแพร่ต่อควรขออนุญาตก่อน
[Add mamiya's blog to your web]