มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
กระบวนการส่งเสริมการเรียนของลูกแบบwaldorf
กระบวนการส่งเสริมการเรียนของลูกแบบwaldorf
ที่มา//luksoshow.multiply.com/journal/item/70
การจัดการศึกษา

        การศึกษาต้องพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ด้วยการพัฒนาให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรม

เด็กวัยแรกเกิดถึง 7 ปีเรียนรู้ด้วยการกระทำ ดังนั้นการสอนต้องเน้นให้เด็กมุ่งมั่นตั้งใจกับการกระทำความดี
เด็กวัย 7 - 14 ปี เรียนรู้จากความประทับใจ ดังนั้นการสอนต้องเน้นให้เด็กรู้สึกถึงความงาม
เด็กวัยหนุ่มสาววัย 14 -21 ปีเรียนรู้จากการคิด ดังนั้นการสอนต้องเน้นให้เด็กคืด จนเกิดปัญญา เห็นสัจธรรม
และความจริงในโลก

         แม้ว่าพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันแต่การศึกษาทุกระดับต้องพัฒนาร่างกายและจิต
วิญญาณควบคู่กันโดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย(ลงมือกระทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และ
สมอง (ความคิด )

        เนื่องจากเด็กวัยแรกเกิดถึง 7 ปี มีลักษณะที่เรียนรู้พร้อมกันไปทั้งตัวโดยการเลียนแบบที่มิใช่เฉพาะท่าทางภายนอก แต่เลียน
แบบที่ลึกลงไปในจิตวิญญาณโดยที่เด้กเองไม่รู้ตัว ในวัยนี้ความดีงามของผู้ใหญ่รอบข้างจะซึมเข้าไปในตัวเองช่วยให้เด็กพัฒนา
ความมุ่งมั่นในสิ่งดีงาม ดังนั้น การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักต่อไปนี้

1. การทำซ้ำ ( repetition) เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิต
จนเป็นนิสัย
2. จังหวะที่สม่ำเสมอ( rhythm )กิจกรรมในโรงเรียนต้องเป็นไปตามจังหวะสม่ำเสมอเหมือนลมหายใจเข้า - ออก
ยามจิตใจสงบและผ่อนคลาย เด็กจะได้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัย
3.ความเคารพและการน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง กิจกรรมและสื่อธรรมชาติที่จัดให้เด็กเพื่อให้เด็กเคารพและน้อมรับ
คุณค่าของสิ่งต่างๆที่เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆจะเป็นแก่นของจริยธรรม
ตลอดชีวิตของเด็ก

  

การจัดบรรยากาศ

        เนื่องจากเด็กวัยแรกเกิดถึง 7 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้จากการเลียนแบบซึ่งการเลียนแบบนี้มิใช่เป็นการเลียนแบบอย่างผิวเผิน
เพียงแต่ท่าทางหรือคำพูดแต่เป็นการเลียนแบบลึกลงไปถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด สิ่งที่เด็กเลียนแบบไปในช่วงนี้ฝังลึกลง
ไปในเด็กและจะหล่อหลอมเด็กทั้งกายและจิตวญญาณ การเรียนรู้ของเด็กเป็นการเรียนผ่านจิตใต้สำนึกเพราะฉะนั้นสิ่งที่เด็ก
เรียนรู้ไปจะส่งผลต่อสุขภาพกาย กริยาท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด โดยไม่รู้ตัวและจะฝังแน่นไปจนโตการจัดการศึกษา
เพื่อเด็กต้องคัดเลือกสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กและปกป้องเด็กจากสิ่งที่จะทำลายความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาซึ่งเป็นความดีงามที่ติดตัว
เด็กมา

        ด้วยแนวคิดดังกล่าวการจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน อาคารเรียนและบริเวณโรงเรียนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ของการศึกษาวอลดอร์ฟ ความงดงามของธรรมชาติจะปรากฎอยู่ทั้งกลางแจ้งและภายในอาคาร ภาพศิลปะ งานปฏิมากรรม
กลิ่นหอมของธรรมชาติเป็นส่วนที่ทำให้บรรยากาศสงบและอ่อนโยน

        ทฤษฎีเกี่ยวกับสีของเกอเธต์และสถาปัตยกรรมตามแนวมนุษย์ปรัซญา เป็นพื้นฐานในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้
สำหรับเด็กในศาสตร์ด้านการศึกษา สีที่เหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 7 ปีคือ สีส้มอมชมพูเพราะเป็นสีที่นุ่มนวลทำให้เด็กรู้
สึกถึงความรักความอบอุ่นและช่วยให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส ไม่เคร่งเครียดอ่อนล้า ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้เด็กสงบมีสมาธิ
ต่อจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตน ไม่ตื่นเต้นลุกลี้ลุกลนจนไม่สามารถอยู่นิ่งได้

      แสงที่พอเหมาะกับเด็กอนุบาล คือ แสงธรรมชาติที่ไม่จ้าเกินไปหรือมืดทึมเกินไป แสงที่จ้าเกินไปทำให้เกิดความร้อน
และเด็กจะขาดสมาธิ ม่านผ้าจะช่วยกรองแสงให้อยู่ในนระดับที่พอเหมาะ ถ้าห้องมืดเกินไปควรใช้แสงสว่างเช่นเดียวกับแสง
อาทิตย์โดยเปิดไฟหรือหรือตั้งโคมไฟในบางจุดที่จำเป็น ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟทั่วทั้งห้องการทำกิจกรรมในห้องที่มีแสงสว่าง
ธรรมชาติช่วยให้เด็กปรับตัวให้เรียนรู้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้าเกินจำเป็น

     เสียงเป็นสิ่งเร้าที่เด็กไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อเด็กเห็นแสงหรือสีที่รุนแรงเกินไปเด็กสามารถหลับตาหรือหันไปทางอื่น
ได้แต่เด็กจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงเสียงดังหรือเร่งเร้าเกินไปได้ เด็กอาจจะยกมือขึ้นอุดหูแต่ก็ทำได้ชั่วขณะดังนั้นเสียงที่เป็นโทษ
เหล่านั้นก็จะเข้าสู่โสตประสาทและจิตใจของเด็กโดยเด็กไม่อาจปฏิเสธได้ทำให้เด็กขาดสมาธิหงุดหงิดโดยไม่รู้สาเหตุ เสียงที่
ไพเราะอ่อนโยนและดังพอเหมาะช่วยให้จิตใจอ่อนโยนด้วยเหตุนี้เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง ลมพัด ฝนตก เสียงดนตรีและ
เพลงที่ไพเราะอ่อนโยนและความเงียบเป็นส่วนสำคัญในการจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านทั้งจิตใต้สำนึกของเด็ก
ตลอดทั้งวัน

 
เนื้อหาสาระ

        ในระดับปฐมวัยจะไม่มีการแบ่งเนื้อหาสาระเป็นวิชาแต่จะเป็นการจัดเนื้อหาสาระในรูปของประสบการณ์ในการเล่นและ
ในการดำเนินชีวิตถ้าพิจารณาเนื้อหาสาระในแง่วิชาต่างๆก็จะพบว่าเนื้อหาสาระเหล่านั้นบูรณาการกันอย่างแน่นสนิทใน
กิจกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามการอธิบายเนื้อหาสาระเป็นวิชาอาจทำได้โดยสังเขปดังนี้

 

ภาษา

        ในช่วงปฐมวัย ภาษาพูดเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเพราะภาษาพูดสามารถสื่อเข้าไปถึงดวงจิตของเด็ก ครูทุกคนต้องผ่าน
การฝึกฝนในหลักสูตรฝึกหัดครูให้สามารถพูดได้ชัดเจน มีศิลปะในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ลึกซึ้งเด็กจะได้คุ้นเคยและ
สั่งสมความรู้สึกซาบซึ้งในความงดงามของรูปแบบและจังหวะของภาษา ครูใช้นิทานและคำประพันธ์เพื่อให้เด็กได้สัมผัส
อารมณ์ความรู้สึกที่สามารถสื่อจากครูผ่านภาษาได้ เทพนิยายเป็นสื่อที่ครูใช้ในการเล่านิทานเพราะเทพนิยายแฝงภูมิปัญญา
และความจริงทางจิตใจที่เด็กเห็นภาพได้ ครูจะเล่านิทานปากเปล่าโดยอาจเล่นนิ้วมือหรือหุ่นง่ายๆประกอบและจะไม่ใช้สื่อ
มากจนจำกัดจินตนาการของเด็ก ภาษาพูดของครูจะกระตุ้นให้เด็กๆสร้างจินตนาการภายในใจของแต่ละคน ทุกสิ่งมีชีวิต
จิตใจพูดกันได้ ครูจะไม่เปิดเทปนิทานหรือเพลงเพราะภาษาจากสื่อเหล่านั้นเป็นภาษาที่ไม่มีชีวิตและไม่สามารถส่งพลังสั่น
สะเทือนเข้าไปกระตุ้นการตอบสนองที่ละเอียดอ่อนภายในกายของ เมื่อเด็กได้ยินภาษาพูดนั้นได้เด็กจะซึมซับเรื่องราวขอ
งเทพนิยายผ่านภาษาที่ไพเราะ จังหวะการเล่าที่นุ่มนวลความประทับใจในสิ่งที่ดีงามท่ได้ยินได้ฟังจะฝังลึกในดวงจิตของเด็ก
ไปจนโต นอกจากการเล่านิทาน ครูจะจัดแสดงละครหุ่นเป็นครั้งคราว บางครั้งเด็กก็ร่วมเล่านิทานหรือแสดงละครหุ่นกับครู

        สำหรับภาษาเขียนยังไม่เน้นในวัยนี้เนื่องจากครูมุ่งพัฒนาให้เด็กใช้จินตนาการภาพในใจให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ครูก็เปิด
โอกาสให้เด็กได้วาดภาพและ/หรือขีดเขียนอย่างอิสระเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้ปรากฎเป็นสัญลักษณ์ 2 มิติ ผลงานของ
เด็กมีทั้งที่เป็นภาพอย่างเดียวและภาพกับข้อความ เช่นชื่อของเด็กเด็กเรียนรู้ภาษาเขียนจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและในชีวิต
ประจำวันโดยเฉพาะจากการเลียนแบบพฤติกรรมการอ่านเขียนในชีวิตจริงของผู้ปกครองและครู

 

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

        คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นว่าทุกหนทุกแห่งในจักรวาล ในมนุษย์ ในธรรมชาติ มีคณิต-
ศาสตร์อยู่ คณิตศาสตร์สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับทุกสิ่งและมิได้มีเนื้อหาเฉพาะส่วนที่เป็นแนวคิดแต่มีส่วนที่เป็นความรู้สึก
ควบคู่กันไปด้วย ของเล่นที่เป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น แท่งไม้ ก้อนหิน กรวดผ้า เชือกที่ครูคัดเลือกและจัดทำเป็นของเล่นให้แก่เด็ก
นอกจากแสดงให้เห็นความงดงามและน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติแล้วยังให้แนวคิดพื้นฐานทางเรขาคณิตเกี่ยวกับลักษณะ
ต่างๆของวัตถุและรูปเรขาคณิตในสิ่งรอบตัวเมื่อเด็กจัดเก็บของเล่นเหล่านั้น เขาจะได้ฝึกทักษะการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรม
ประจำวันตามหลักการทำซ้ำ ตามจังหวะเวลาที่สม่ำเสริมและการสังเกตและน้อมรับธรรมชาติจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ
วิทยาศาสตร์จากการสังเกต และทำนายความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวทุกๆวันตลอดเวลา

        นอกจากนี้เด็กจะได้เรียนรู้แนวคิดด้านเวลา และทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ทั้งในตัวและในธรรมชาติ
การทำสวนเก็บเกี่ยว ทำและเสิร์ฟอาหารจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการวัดและนับ รวมทั้งแนวคิดพื้นฐานด้านการวัดและ
ด้านจำนวน เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะด้านจัดกระทำข้อมูลสื่อความหมายข้อมูลและลงความเห็นข้อมูลจากการเล่าเหตุการณ์ตาม
ลำดับและการอภิปรายความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติทั้งที่เกิดขึ้นเองและที่เขามีส่วนทำให้เกิดการเก็บเกี่ยว การซื้อขายแลก
เปลี่ยนผลผลิตจากแปลงพืชผักกันเองภายในโรงเรียนและชุมชนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้แนวคิดพื้นฐานด้านเวลาและเงิน การที่เด็ก
จะต้องประดิษฐ์และออกแบบสิ่งของทุกครั้งที่เขาเล่น

 

ศิลป : การระบายสี การปั้นและการวาด

        สีมีความสำพันธ์กับความรู้สึก ดังนั้นสีจึงเป็นสื่อสำหรับประสบการณ์ของดวงจิต การมองสี คือ การมองเข้าไปในดวงจิต
ดังนั้นครูจะให้เด็กใช้สีน้ำและสีขี้ผึ้งในการระบายสี และใช้ขี้ผึ้งสีในการปั้น ศิลปะในวัยนี้เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับสี
เช่นเมื่อสีเหลืองติดอยู่กับสีฟ้าจะรู้สึกอย่างไร เมื่อสีเขียวถูกล้อมด้วยสีแดง สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมต่างกันเมื่อสีแดงถูกล้อมด้วยสีเขียว
เมื่อสีต่างๆกลมกลืนกัน ความงดงามจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อสีแดงและสีเหลืองเข้าไป สีฟ้า และสีม่วงจะพลันลดลง เด็กปฐมวัย
สามารถรู้สึกถึงคุณสมบัติของสีแท้ๆได้โดยไม่ต้องโยงสีกับวัตถุที่มันอยู่ การใช้สีเป็นการจงใจให้เกิดจินตนาการและการพัฒนาการ
มองให้เข้าไปถึงความรู้สึก ครูจะส่งเสริมให้เด็กระบายสี ปั้นขี้ผึ้งและมีความสุขกับสีโดยไม่จำเป็นต้องวาดหรือปั้นเลียนของจริง

 

ดนตรี

        การสอนดนตรีในโรงเรียนอนุบาลวอลดอร์ฟ มิได้เน้นที่ความรู้ความสามารถทางดนตรีเป็นหลัก แต่เน้นที่การใช้ดนตรี
เพื่อพัมนาการและจิตของเด็กให้สมดุลกลมกลืน เสียงมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกและเป็นประสบการณ์ของดวงจิต เพราะ
การฟังเสียง คือการฟังดวงจิต เพลงที่เหมาะสำหรับเด็กอนุบาลเป็นเพลงทำนองเพนทาโทนิค ซึ่งเป็นเสียงที่นุ่มนวลฟังแล้ว
เบาสบาย สื่ออารมณ์ความรู้สึกของเด็กได้ดี เด็กสามารถร้องได้ง่ายและรู้สึกสงบ เพลงพื้นบ้านในแทบทุกวัฒนธรรมเป็นทำนอง
เพนทาโทนิค ซึ่งตามทฤษฎีของรูดอร์ฟ สไตเนอร์ถือว่าเป็นเสียงที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ทำให้มนุษย์รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กับจักรวาลและจิตวิญาณระดับสูงของตน ดังนั้นเพลงที่ครูใช้ในกิจกรรมประจำวันตลอดทั้งวันมักเป็นเพลงเพนทาโทนิค อย่างไร
ก็ตามครูก็ใช้เพลงอื่นๆด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางดนตรีกับกิจกรรมที่บ้าน และโลกภายนอก

        เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการร้อง โดยครูร้องด้วยเทคนิคของศรีษะ(head tone) ซึ่ช่วยทำให้เด็กสงบ เครื่องดนตรี
ที่ครูใช้ได้แก่ pentatonic harp,pentatonic recorder เครื่องดนตรีที่เด็กใช้มักเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเลียนเสียงธรรมชาติ
รอบตัวได้ เช่น

finger cymbal สำหรับเสียงนกหัวขวาน
glockenspiel สำหรับเสียงนกไนติงเกล
couckoo's สำหรับเสียงนก cuckoo

 

การเคลื่อนไหว : ยูริธมี

        ยูริธมีเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวที่รูดอล์ฟ สไตเนอร์ได้พัฒนาขึ้นเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกายที่แสดงให้เห็นกฎเกณฑ์
และโครงสร้างภายในของภาษาพูดและดนตรี ยูริธมีจึงมีอีกชื่อว่าเสียงพูดหรือดนตรีที่มองเห็นได้ การฝึกยูริธมีช่วยจัดระเบียบ
และความกลมกลืนทั้งกายและจิตระดับต่างๆ ยูริธมีสำหรับเด็กปฐมวัยมักเป็นคำกลอนที่ผูกเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆที่ให้เด็ก
ทำท่าประกอบ ท่าทางที่ออกแบบมานั้นจะมีความสมดุลเปรียบเหมือนกับมีท่าที่เป็นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก การเรียน
ยูริธมีจะทำสัปดาห์ละ 1 ครั้งโดยมีครูพิเศษที่ผ่านการฝึกหัดมาโดยเฉพาะเป็นผู้สอน

 

งานปฎิบัติหัตถกรรมและงานทำสวน

        งานปฎิบัติทำให้หลักสูตรวอลดอร์ฟมีความสมดุลระหว่างวิชาที่ใช้พลังสมองและวิชาที่ต้องใช้มือ แขนและขา ตามทฤษฎี
พัฒนาการของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ เด็กแรกเกิดถึง 7 ปี จะพัฒนาระบบประสาทผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย มือ แขน และขา เด็ก
จะต้องมีประสบการณ์ที่ได้รับความรู้สึก 4 ด้านแรกคือ ความรู้สึกจากการสัมผัส ความรู้สึกแห่งชีวิตความรู้สึกจากการเคลื่อนไหว
และความสมดุลของร่างกายมากพอเพื่อให้มีพื้นฐานที่ดีสำหรับพัฒนาการช่วงต่อๆไปที่อาศัยความรู้สึกที่เหลืออีกแปดด้าน

        การที่บางคนต้องเคลื่อนไหว เช่น เดินไปมาขณะกำลังคิดแสดงว่าร่างกายช่วยการทำงานของสมองเมื่อเด็กใช้มือสร้าง
หรือประดิษฐ์ของเล่นเขาจะได้ฝึกสมาธิ ความวิริยะอุตสาหะ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความรู้สึกชื่นชมในสิ่งที่ตนสร้างขึ้น
เด็กจะตระหนักถึงความยากลำบากในการคิดและการทำงานซึ่งจะช่วยให้เห็นคุณค่าทุกคนและทุกสิ่ง

การทำสวนช่วยให้เด็กได้สัมพันธ์กับพื้นโลกและเรียนรู้คุณค่าและความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน

 

5.กิจกรรมประจำวัน

        กิจกรรมประจำวันของแต่ละโรงเรียนย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพและวัฒนธรรมของท้องถิ่นรวมทั้งการประยุกต์ใช้
แนวคิดทฤษฎีของครู อย่างไรก็ตามโดยภาพรวม กิจกรรมในแต่ละวันของเด็กจะเรียบง่าย โรงเรียนอนุบาลเปรียบเหมือน
ครอบครัวใหญ่ ครูเปรียบเหมือนแม่ที่ดูแลบ้านอย่างมีความสุข อุปกรณ์การสอนที่เตรียมไว้ให้เด็กเล่นจะเป็นของเรียบง่าย
เช่น แท่งไม้ ก้อนหิน กรวด เปลือกหอย เมล็ดพืช ด้าย และไหมสีต่างๆพร้อมไม้สำหรับถัก กรอบไม้สำหรับทอผ้า สะดึงสำหรับ
ปักผ้า ตระกร้าเย็บผ้า ผ้าเส้นใยธรรมชาติสีและขนาดต่างๆ โต๊ะและอุปกรณ์ทำงานไม้ อุปกรณ์ทำสวน ครูจะเตรียมอุปกรณ์
ต่างๆโดยการวางแผนอย่างรอบคอบแต่การจัดวางอุปกรณ์เหล่านี้จะดูเป็นธรรมชาติ งดงามและกลมกลืนความเป็นอยู่ใน
ชีวิตจริง

        ครูจะกำหนดกิจกรรมแต่ละช่วงโดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการคือการทำซ้ำ จังหวะเวลาที่สม่ำเสมอ ความเคารพ
และน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง ดังนั้นกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งก็จะยืดหยุ่นไปตามสภาพชีวิตในชุมชน
นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแบบแผนตายตัว





Create Date : 08 มิถุนายน 2555
Last Update : 8 มิถุนายน 2555 14:26:57 น.
Counter : 1042 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ซาซิมิจัง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]