พฤศจิกายน 2558

3
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
5 พฤศจิกายน 2558
COAL MINING and POWER PLANTS

เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินขนาดใหญ่และมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลายแห่ง  แต่มักมีปัญหาชาวบ้านประท้วงเป็นประจำ  เพราะกลัวปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  

เมื่อปี 2010 ได้มีโอกาสไปโครงการ STUDY VISIT ด้วยทุนสนับสนุนจาก DAAD  และ Prof.Dr. W. Coldewey ,Westfälische Wilhelms-Universität Münster,Geologisch-Paläontologisches Institüt, ได้ประสานงานให้ได้เข้าชมเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ในเยอรมนีที่ Cottbus  ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท  Vattenfall  ซึ่งงเป็น บริษัทสัญชาติสวีเดนร้อยเปอร์เซนต์  โดยผลิตถ่านหินให้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เมือง   Jänschwalde โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี 

อยู่ชายแดนติดกับโปแลนด์ โดยมกำลังผลิตดังนี้

 Electricity capacity :  3,000 MWe (six 500 MW blocks)

Heat capacity :  348 MWth 

Technology :  Condensing power 

Main fuel  :  Lignite 

//powerplants.vattenfall.com/janschwalde

ประวัติโรงไฟฟ้า Jänschwalde

Jänschwalde Power Plant สร้างช่วงปี between 1976–1988  และในช่วงปี 1991–1996 โรงไฟฟ้าทุกโรงได้ติดตั้งเทคโนโลยีที่ป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซและได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ในกลางทศวรรษ 1990s  ก็ได้ติดตั้งชุดลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์ในหม้อต้มทั้ง 12 ชุด และตัวตกตะกอนแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic precipitators)  และปรับปรุงกังหัน และติดตั้งปล่องดักก๊าซกำมะถัน 

//corporate.vattenfall.com/

//corporate.vattenfall.com/globalassets/corporate/sustainability/doc/lignite-booklet.pdf

//www.greenpeace.de/sites/www.greenpeace.de/files/publications/vattenfall-roadmap-studie-englisch-150427.pdf

แต่ด้วยแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม Vattenfall มีโครงการจะลดกำลังผลิตที่ใช้ลิกไนต์ลง   1,000 MW ซึ่งเทียบเท่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 8 ล้านตัน  โดยจะหยุดโรงไฟฟ้า 2 โรง กำลังผลิตโรงละ 500 MW ในปี  2018 และ 2019 ตามลำดับ แต่จะยังคงรักษาสภาพเผื่อฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยด้านพลังงานจนถึงปี 2022/2023 จึงจะปิดแบบถาวร

และตามขัอตกลงจะลดลง   2,700 MW จนถึงปี  2020  ซึ่งเป็นส่วนของโปรแกรมป้องกันสภาพแวดล้อมของเยอรมนี  

และวันที่ไปเยี่ยมชม ก็เป็นสัปดาห์ของประเทศไทย เพราะวันก่อนคฯของเราก็มีคณะวิศวกรรมจากจุฬาฯ และวันถัดจากคณะเราก็เป็นเหมืองแม่เมาะ 















































































































ทำเหมืองเสร็จก็ต้องจัดการให้ได้แบบนี้ และกำลังปลูกองุนเพื่อผลิตไวน์  









Vielen Dank




Smiley



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2558 14:38:34 น.
Counter : 963 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MAOK
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]