ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต

โดย หมอนัท

ในปัจจุบันมีคุณพ่อคุณแม่จำนวนมากที่นำลูกๆ มาพบกุมารแพทย์เนื่องจากปัญหาตัวเล็กหรือตัวเตี้ยกว่าเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน ซึ่งปัญหาตัวเตี้ยของเด็กในกลุ่มนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางกายบางอย่าง หนึ่งในสาเหตุที่พบได้ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้คือ โรคขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตครับ


ฮอร์โมนการเจริญเติบโตคืออะไร



(ดัดแปลงจาก: //endocrine.niddk.nih.gov/pubs/prolact/prolact.htm)


ฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone (GH) เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนสายสั้นซึ่งผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Pituitary Gland) มีบทบาทในการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก และกล้ามเนื้อลาย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการสลายไขมัน และมีบทบาทในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย


สาเหตุของการขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต


ความผิดปกติของต่อมใต้สมองอาจทำให้เกิดการขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก

1. กลุ่มที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด
เช่น การมีต่อมใต้สมองขนาดเล็กกว่าปกติ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนการเจริญเติบโตได้น้อย

2. กลุ่มความผิดปกติซึ่งเป็นในภายหลัง
เช่น เนื้องอกที่บริเวณต่อมใต้สมอง การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือการผ่าตัดที่ไปทำลายต่อมใต้สมอง ก็จะทำไม่สามารถผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตได้เพียงพอ

3. ไม่ทราบสาเหตุ


เด็กที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะมีอาการอย่างไร


ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาตัวเตี้ย มีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้าผิดปกติ เด็กที่ขาดฮอร์โมนอย่างรุนแรงจะมีลักษณะพิเศษคือตัวเตี้ยและจ้ำม้ำ เนื่องจากมีการสะสมของไขมันบริเวณลำตัวมากขึ้น (truncal obesity) อาจมีลักษณะหน้าผากโหนก ใบหน้ากลม น่ารัก หน้าตาเหมือนตุ๊กตา และมีเสียงแหลมเล็ก เป็นต้น

ในขณะกลุ่มที่มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ก็อาจตรวจพบร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่

สำหรับในรายที่เกิดจากเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ ตามัว อาเจียนพุ่ง หรือปัสสาวะบ่อยได้


เด็กกลุ่มใดที่ควรมาพบแพทย์


1. เด็กที่ตัวเตี้ยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน หรือพี่ที่ตัวเตี้ยกว่าน้อง เป็นต้น

2. มีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ เช่น เด็กในวัย 4-10 ปี ที่มีความสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 4 cm ต่อปี hhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhh

3. เด็กที่มีกราฟการเจริญเติบโตเบี่ยงเบนไปจากเส้นปกติ


การวินิจฉัย




เนื่องจากภาวะตัวเตี้ยอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น ปัจจัยจากกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหาร ดังนั้นแพทย์จะอาศัยประวัติการเจริญเติบโต การตรวจร่างกาย และอาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัย

1. การวัดการเจริญเติบโต ประกอบด้วยการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เปรียบเทียบสัดส่วนของร่างกาย ซึ่งจะใช้เครื่องมือและวิธีการวัดที่เป็นมารตรฐาน นอกจากนี้การใช้บันทึกการเจริญเติบโตของเด็กจากสมุดสุขภาพและสมุดพกแต่ละชั้นเรียน ก็จะช่วยให้ข้อมูลแก่แพทย์ได้เป็นอย่างมาก

2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจ x-ray อายุกระดูกแล้วแต่ความเห็นของแพทย์


การรักษา


เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางต่อมไร้ท่อ จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนในรูปยาฉีดทดแทนอย่างต่อเนื่อง และจะต้องฉีดทุกวันจนได้ความสูงเต็มที่ซึ่งในปัจจุบันราคายายังค่อนข้างสูง


เอกสารอ้างอิง


1. สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ. โรคตัวเตี้ย (Short Stature): กรณีศึกษาที่ 4 ตัวเตี้ยจากขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต. ใน: สมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล และสุภาวดี ลิขิตมาศกุล บรรณาธิการ.Guideline for Management & Case Illustration in Pediatric Endocrinology. ชมรมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น. กรุงเทพมหานคร 2545

2. Mark A. Sperling, Stuart A. Weinzimer, William V. Tamborlane. Diabetes Mellitus In: jeremy K.H. Wales, jan-Maarten Wit and Alan D. Rogol ed. Pediatric Endocrinology and Growth, 2nd ed. Saunders, 2003



Create Date : 22 กรกฎาคม 2553
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 22:11:38 น. 15 comments
Counter : 6887 Pageviews.

 
ดีใจนะคะที่คุณชอบรูปที่ลงในบลอค
บลอคคุณเองก็สาระประโยชน์มากมายเลยค่ะ
นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ที่อาจแก้ได้ยากแล้ว
สมัยนี้ ตอนตั้งครรและคุณแม่มือใหม่ คุณหมอแนะนำคุณแม่ไหมค่ะ
ว่าต้องทำยังไงลูกถึงจะไม่เกิภาวะขาด growth hormone




โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:34:22 น.  

 
^
^
^
การวินิจฉัยหรือการป้องกันก่อนคลอดนั้นอาจจะบอกได้ยากครับ

อย่างไรก็ตามเพียงแต่คุณพ่อคุณแมไม่นิ่งนอนใจ หากพบว่าลูกมีปัญหาตัวเตี้ย ก็ให้พามาพบคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก็จะดีที่สุดครับ


โดย: malaguena วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:44:53 น.  

 
สวัสดีค่ะ น้องนัท

เข้ามาบล็อกน้องนัททีไรได้สาระดีๆกลับไปทุกที


พี่เขียนทริปญี่ปุ่นตอนที่สองแล้วจ้า ว่างๆเชิญเข้าไปชมได้จ้า



โดย: NumWhan_SK วันที่: 27 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:54:20 น.  

 
^
^
^
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
น่าจะมีงานวิจัยที่ทำทางด้านนี้นะคะ
เพราะอะไรที่คุณแม่ทาน คุณลูกก็ได้ด้วยน่ะคะ
ไม่น่าเชื่อว่างานวิจัยยังไปไม่ถึง

ฝันดีค่ะวันนี้




โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 27 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:55:40 น.  

 
มาทักทาย และขอบคุณที่ไปเยี่ยมนะครับ


โดย: wicsir วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:5:05:31 น.  

 
กำ หยั่งงี้เพื่อนติโหมกินนมเข้าไปไงก้ไม่สุง ต้องฉีดยาสถานเดวหรอครับหมอนัท

สงสารนาง นางมีความหวังว่าโด้บนมเยอะๆจะสูง TT^TT


โดย: ติศักดิ์ วันที่: 7 สิงหาคม 2553 เวลา:17:12:21 น.  

 
ก็ดีค่ะ


โดย: การที่ผู้หญิงมีแฟนหลายคน ไม่ใช่เหตุผลของคนหลายจัย IP: 203.172.224.162 วันที่: 30 สิงหาคม 2553 เวลา:12:41:40 น.  

 
ต้องการทราบว่าถ้าจะต้องไปรับการตรวจจะต้องไปที่โรงพยาบาลไหนคะ


โดย: ้้h IP: 124.122.124.161 วันที่: 5 กรกฎาคม 2555 เวลา:16:56:11 น.  

 
สามารถไปขอคำปรึกษาจากกุมารแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วไปก่อนได้ครับ

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนำสมุดพกหรือสมุดบันทึกสุขภาพที่มีข้อมูลส่วนสูง-น้ำหนักตัวไปด้วยนะครับ

หากคุณหมอประเมินแล้วว่ามีเส้นกราฟความสูงที่ผิดปกติ ก็อาจจะพิจารณาส่งไปพบกุมารแพทย์โรคต่อมไร้ท่อเพิ่มเติมต่อไปครับ


โดย: malaguena วันที่: 19 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:18:56 น.  

 
อย๋ชั้นป.1พันธ่กรรมทางคุณแม่ตัวเล็กนักรบเลยสูงแค่120 ตัวเตี้ยกว่าเพื่อนในห้อง แต่ไม่มีอาการผิดปกติอย่างอื่นครับ ผมสามารถไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลรัฐได้มั๊ยครับ


โดย: น้องนักรบ IP: 171.4.19.130 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:9:28:03 น.  

 
คุณหมอช่วยตอบนักรบด้วยนะครับอยากสูงเหมือนเพื่อนครับ แต่นักรบคงไม่มีตังค์เยอะที่จะไปจ่ายค่ารักษา ได้ยินว่าค่ารักษาแพงมากใช่มั๊ยครับ


โดย: น้องนักรบ IP: 171.4.19.130 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:9:30:33 น.  

 
นักรบกินนมวันละ3กล่องจะมีโอกาศสูงมั๊ยครับ ว๊า.............แย่จัง


โดย: นักรบ IP: 171.4.19.130 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:9:32:14 น.  

 
ไปไหนหันหมดมีใครอยู่ในห้องนี้มั๊ยครับ


โดย: นักรบ IP: 171.4.19.130 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:9:50:17 น.  

 
ลองดูข้อมูลจากกราฟส่วนสูง-น้ำหนักในสมุดพกดูก่อนได้ครับ ถ้าส่วนสูงยังอยู่ในเกณฑ์และเพิ่มขึ้นปีละ 4-6 เซนติเมตรต่อปี น่าจะปกติครับ

โดยอาจตกอยู่ในกลุ่มที่สูงช้ากว่าเพื่อนๆ สักหน่อย แต่พอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลายมักจะทันกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านพันธุกรรมด้วยครับ


โดย: malaguena วันที่: 18 มีนาคม 2556 เวลา:12:16:03 น.  

 
ลูกสาว ตอนนี้ 3ขวบ เป็นเด็กพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโตค่ะ หมอ โรงพยาบาลเด็ก นัดฉีดยาการเพิ่มส่วนสูงค่ะ ค่ายาขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเด็กค่ะ สงสารลูกนะค่ะ ต้องฉีดยาวันละ3ครั้ง จนถึงอายุ 18 ปี เลยค่ะ สงสารลูกจัง


โดย: อลงกรณ์ หมื่นแผงวารี IP: 171.98.96.182 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2556 เวลา:15:19:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

malaguena
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add malaguena's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.