space
space
space
<<
มกราคม 2560
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
10 มกราคม 2560
space
space
space

ระบบปฎิบัตการ Windows



ย้อนรอยประวัติ Windows แต่ละรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

วัฒนาการของระบบปฏิบัติการWINDOWS ประวัติ Windows ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน Windows แต่ละรุ่นหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน

          เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Windows รุ่นล่าสุดในชื่อว่า Windows 10 เข้าสู่ยุคใหม่ของระบบปฏิบัติการ Windows อย่างเต็มรูปแบบ แต่คงมีหลายคนที่ยังไม่เคยรู้หรืออาจจำกันไม่ได้แล้วว่า Windows แต่ละรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอพาทุกท่านย้อนอดีตไปดูกันดีกว่าว่า Windows รุ่นเด่น ๆ ที่หลายคนรู้จักและบางคนอาจยังไม่เคยเห็นนั้นมีหน้าตาอย่างไรกันบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

Windows 1.0
Windows 1.0

Windows 1.0
Windows 1.0

WINDOWS1.0

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 เป็น Windows รุ่นแรก ซึ่งยัง
ไม่ได้รับความนิยม โดยแรกเริ่มถูกเรียกว่า Interface Manager แต่สุดท้ายทางไมโครซอฟท์ก็เลือกที่จะใช้ชื่อ Windows แทนเนื่องจากเรียกและจดจำได้ง่ายกว่า

Windows 2.0
WINDOWS2.0

Windows 2.0
Windows 2.0

WINDOWS2.0

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1987 เป็นการนำ Windows 1.0 มาพัฒนาใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นแรก เริ่มมีนักพัฒนา หลายรายพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้บน Windows 2.0

Windows 3.0
Windows 3.0

Windows 3.0
Windows 3.0


Windows 3.1
Windows 3.1

WINDOWS3.0

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1990 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จของ Windows ที่ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นก่อนหน้าค่อนข้างมาก รองรับ 16 สี อินเทอร์เฟซถูกพัฒนาให้มีสีสันดูน่าใช้งานมากกว่าเดิม และได้ออก Windows 3.1 ตามมาในปี 1992 ที่ทำให้ Windows กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่คนใช้กับแพร่หลายมากที่สุด

Windows NT
Windows NT

WINDOWSNT

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1993 เป็นรุ่นที่พัฒนามาสำหรับใช้ในกลุ่มองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งในภายหลังได้ออกรุ่นใหม่ ๆ มาในช่วงเดียวกับ Windows สำหรับใช้ในบ้านแต่ละรุ่น

ประสิทธิภาพของWINDOWSNT

Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบ 32 บิตที่สามารถทำงานหลายๆงานควบคู่กันไปได้ และยังสนับสนุนระบบหลายโปรเซสเซอร์ รวมทั้งการประมวลผลแบบสมมาตรที่เป็นการกระจายงานออกไปยังโปรเซสเซอร์ทั้งหลายให้ช่วยกันทำการประมวลผลอย่างได้สมดุล ซึ่งด้วยคุณลักษณ์ดังกล่าวนี้ทำให้บริษัททั้งหลายที่ต้องการระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถจัดซื้อซูเปอร์เซิร์ฟเวอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์หลายๆตัวมาใช้งานร่วมกับ Windows NT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ 6 ตัวก็จะมีความเร็วสูงกว่าเครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ตัวเดียวขึ้นไปอีก 6 เท่าเป็นต้น


Windows 95
Windows 95

Windows 95
Windows 95

WINDOWS95

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1995 ยังคงเป็นระบบปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดย Windows 95 รองรับสีแบบ 32 บิต และรองรับ Multitasking อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึั้นมา รวมทั้งการนำเสนอปุ่ม Start และ Taskbar เป็นครั้งแรก

Windows 98
Windows 98

Windows 98
Windows 98

WINDOWS98

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1998 เป็นรุ่นที่พัฒนามีให้เหมาะกับการใช้ทำงานและใช้เพื่อความบันเทิงในบ้าน อินเทอร์เฟซคล้ายกับ Windows 95 แต่มีสีสันมากกว่าเดิม พร้อมกับการมาครั้งแรกของแถบ Quick Launch สำหรับเปิดโปรแกรมอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเปิด Start Menu

Windows 2000 Professional
Windows 2000 Professional

WINDOWS2000 Professional

วางจำหน่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2000 เป็นรุ่นที่พัฒนามาด้วยโค้ดเคอร์เนลเดียวกับ Windows ตระกูล NT ออกแบบมาเพื่อใช้ในกลุ่มองค์กรหรือธุรกิจ มีการพัฒนาให้รองรับระบบเครือข่ายและมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น

Windows Me
Windows Me

Windows Me
Windows Me

WINDOWSMe

วางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายน 2000 ตัวย่อ Me ย่อมาจาก Millennium Edition เป็น Windows สำหรับใช้งานภายในบ้านรุ่นสุดท้ายที่จะใช้โค้ดเคอร์เนลแบบเดียวกับ Windows 95 และ 98 ในการพัฒนา มีการพัฒนาให้รองรับสื่อบันเทิงต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่า Windows 98

Windows XP
Windows XP

Windows XP
Windows XP

WINDOWSXP

          วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2001 เป็น Windows รุ่นที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุด เนื่องจากอินเทอร์เฟซที่ถูกพัฒนาให้สวยงามกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่างก้าวกระโดด ปุ่ม Start สีเขียว Taskbar สีฟ้าสดใส พร้อมทั้งระบบที่มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถอัพเดทตัวเองได้ มีโปรแกรมรองรับมาก โดย Windows XP เป็นรุ่นที่แรกใช้โค้ดเคอร์เนลตระกูล NT พัฒนาออกมาทั้งรุ่น Home Edition สำหรับใช้ในบ้าน และ Professional สำหรับใช้ในธุรกิจ และออกเวอร์ชั่น 64 บิต ตามมาในปี 2005

Windows Vista
Windows Vista

Windows Vista
Windows Vista

WINDOWSVista

   วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2007 อินเทอร์เฟซที่ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยเน้นไปที่หน้าต่างแบบกึ่งโปร่งใส มองเห็นทะลุได้ ดูคล้ายกระจก ปุ่ม Start ถูกเป็นเปลี่ยนลูกแก้วโลโก้ Windows พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านรักษาความปลอดภัยมากกว่าเดิม แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับ Windows XP

Windows 7
Windows 7

Windows 7
Windows 7

WINDOWS 7

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2009 ยังคงใช้อินเทอร์เฟซแบบกึ่งโปร่งใสคล้ายกับ Windows Vista รองรับการใช้งานแบบระบบสัมผัสหน้าจอ พร้อมทั้งการมาของ Taskbar รูปแบบใหม่ที่แสดงเป็นไอคอนโปรแกรมขนาดใหญ่กว่าเดิม สามารถปักหมุดโปรแกรมที่ใช้เป็นประจำไว้บน Taskbar ได้ เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก และทำให้ผู้ใช้ Windows XP หลายคนตัดสินใจที่จะอัพเกรดมาใช้ Windows 7

Windows 8
WINDOWS8

Windows 8
Windows 8

Windows 8.1
Windows 8.1

WINDOWS 8

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2012 มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อินเทอร์เฟซถูกเปลี่ยนให้เป็นแบบเรียบสไตล์ Metro ปุ่ม Start และ Start Menu หายไป แทนที่ด้วย Start Screen แบบเต็มจอ การใช้งานถูกแบ่งออกเป็นโหมดDESKTOP ปกติเหมือน Windows รุ่นก่อน ๆ กับโหมด Metro สำหรับใช้งานแอพพลิเคชั่นบน Windows Store แบบเต็มจอ รองรับการใช้งานระบบสัมผัสเต็มรูปแบบ มีผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกใจกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและเลือกที่จะใช้ Windows 7 ต่อไป โดยในปี 2013 ไมโครซอฟท์ได้ออก Windows 8.1 ที่นำปุ่ม Start กลับมา พร้อมทั้งปรับปรุงระบบอีกเล็กน้อย

Windows 10
Windows 10

Windows 10
Windows 10

WINDOWS10

          เปิดตัวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2014 เป็น Windows รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทางไมโครซอฟท์ได้ข้ามชื่อ Windows 9 ไป สามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ อินเทอร์เฟซโดยรวมคล้ายกับ Windows 8 แต่โปรแกรมและแอพฯ ต่าง ๆ สามารถใช้งานได้ทั้งโหมดDESKTOP และโหมด Tablet ไม่แยกออกจากกันเหมือนWINDOWS 8 อีกแล้ว พร้อมทั้งการกลับมาของ Start Menu สำหรับการใช้งานแบบโหมด Desktop โดยจะวางจำหน่ายในปี 2015

การรักษาความปลอดภัยภายใต้ WINDOWS NT

ในการเข้าใช้งาน Windows NT นั้น ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสผ่านเพื่อแสดงการขอเข้าใช้ มิฉะนั้น Windows NT จะไม่อนุญาตให้เข้าใช้เซิร์ฟเวอร์ได้ โดยใน Windows NT จะมีโปรแกรม User Manager ที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้ โดยสามารถแบ่งระดับความสามารถในการเข้าถึงระบบเครือข่ายของผู้ใช้ต่างๆออกเป็นหลายๆระดับได้ด้วย นอกเหนือจากนี้ยังสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้และกำหนดสิทธิให้กลุ่มได้ กล่าวคือผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ใช้เดียวกันก็จะมีสิทธิในการใช้ระบบเครือข่ายเท่าเทียมกัน   อีกคุณลักษณ์เด่นหนึ่งของ Windows NT คือโปรแกรม Event Viewer ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้บริหารระบบเครือข่ายใช้ในการตรวจดูสิ่งผิดปกติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย รวมทั้งการฝ่าฝืนต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลแสดงวันที่ เวลา และรูปแบบการฝ่าฝืน รวมทั้งสถานที่ที่ผู้ฝ่าฝืนดำเนินการและชื่อของผู้ฝ่าฝืน ทุกครั้งที่จะเริ่มใช้งาน Windows NT ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสผ่านก่อนทุกครั้งด้วยการกดแป้น Ctrl-Alt-Del เหมือนการบูตเครื่องใหม่ เพื่อทำการป้อนชื่อและรหัสผ่านของตนการรักษาความปลอดภัยภายใน Windows NT เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาระดับ C2 ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากนี้ทาง Microsoft ยังได้แจ้งด้วยว่าจะเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยใน Windows NT ให้สูงกว่านี้ขึ้นไปอีกในอนาคต

การเชื่อมต่อ WINDOWS NT เข้ากับโลกภายนอก

Windows NT มีส่วนบริการการทำเซิร์ฟเวอร์การเข้าใช้ในระยะไกลที่เรียกว่า Remote Access Server มาให้ด้วย ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวจะมีความสามารถในการให้ไคลเอ็นต์ระยะไกลที่ใช้อยู่บน DOS , Windows หรือ Windows NT สามารถหมุนโทรศัพท์เข้าติดต่อกับระบบเครือข่าย Windows NT และทำการลงบันทึกเข้า ( log in) ใช้งานระบบเครือข่ายได้ประหนึ่งเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายโดยตรง จะต่างอยู่บ้างก็ตรงความเร็วซึ่งค่อนข้างช้ามาก โดยเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวนี้สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึง 64 การเชื่อมต่อ และมีการรักษาความปลอดภัยตามพื้นฐานการรักษาความปลอดภัยของ Windows NT เอง ซึ่งรวมถึงการใส่รหัสผ่านที่มีการเข้ารหัสข้อมูลตามมาตรฐาน DES (data encryption standard) และความสามารถในการเรียกกลับ (call – back) เพื่อป้องกันบุคคลไม่พึงประสงค์แอบแฝงเข้า โดยในการติดต่อสื่อสารระยะไกลนี้ Windows NT รองรับทั้งการใช้โปรโตคอล X.25 และ ISDN (integrated service digital network)


ข้อดี และ ข้อเสียของ WINDOWS NT

ข้อดี

1. มีความเชื่อถือได้สูง (Reliability) คือมีการป้องกันแก่นของระบบปฎิบัติการจากแอพพลิเคชั่นต่างๆที่จะเข้ามารบกวนการทำงานของ Windows NT

2. มีความปลอดภัยสูง (Security) NT Server นั้นมีระดับความปลอดภัยถึง ระดับ C2 คือให้รับรู้เฉพาะที่จำเป็น

3. ความยืดหยุ่นสำหรับการขยายตัว (Scalability) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตามจำนวนโพรเซสเซอร์ที่เพิ่มขึ้นโดยรองรับสถาปัตยกรรม SMP

4. ความสามาถในการขยายตัว (Extensibility) เป็นแนวคิดของ Client/Server ที่มาจากระบบ UNIX เมื่อจะต้องนำมาประยุกต์ใช้กับงานเครื่อข่าย

และ แอพลิเคชั่นที่ใช้งานกับระบบฐานข้อมูล

5. ความเข้ากันได้ (Compatibility) สามารถทำงานได้ทั้งแอพลิเคชั่นชนิด 16 bit และ 32 bit

ข้อเสีย

1. ขาดความเข้ากันได้กับ อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้กับอุปกร์ณ์ที่นอกเหนือจากที่ NT Server

2. ถ้าระบบขณะที่ทำงานเกิดเสียขึ้นมาการแก้ไขทำได้ยาก


แหล่งข้อมูล 

://beerkung.wordpress.com/ประเภทของระบบปฏิบัติกา-2/ระบบปฏิบัติการ-windows-nt/


://men.kapook.com/view100198.html




 

Create Date : 10 มกราคม 2560
0 comments
Last Update : 10 มกราคม 2560 11:27:17 น.
Counter : 1436 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 3558187
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3558187's blog to your web]
space
space
space
space
space