Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 

การทดลองของมิลแกรม

การทดลองของมิลแกรม

  การทดลองของมิลแกรมว่าด้วยการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ เป็นชุดของงานทดลองบุกเบิกที่สำคัญในด้านจิตวิทยาสังคม ทดลองโดย ศาสตราจารย์ สแตนลีย์ มิลแกรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งวัดความสมัครใจของผู้เข้าร่วมการศึกษาว่าจะเชื่อฟังเพียงใด เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้เขาทำสิ่งที่ขัดกับมโนธรรมส่วนตัว มิลแกรมอธิบายงานวิจัยนี้ครั้งแรกในวารสารวิทยาศาสคร์ Journal of Abnormal and Social Psychology[1] ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2506 และต่อมาได้อภิปรายการค้นพบของเขาในรายละเอียดในหนังสือ Obedience to Authority: An Experimental View[2] ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2517
         งานทดลองนี้เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 สามเดือนหลังการพิจารณาอาชญากรสงครามนาซีเยอรมัน อดอล์ฟ ไอชมันน์ ในนครเยรูซาเล็ม มิลแกรมออกแบบการศึกษาจิตวิทยาของเขาเพื่อตอบคำถามที่ว่า "ไอชมันน์และผู้ร่วมกระทำความผิดของเขาในการล้างชาติโดยนาซีมีเจตนาร่วมกัน ในเป้าหมายของการล้างชาติโดยนาซีหรือไม่" (Was it that Eichmann and his accomplices in the Holocaust had mutual intent, in at least with regard to the goals of the Holocaust?) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง "มีสำนึกแห่งศีลธรรมร่วมกันในบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่" (Was there a mutual sense of morality among those involved?) การทดสอบของมิลแกรมเสนอว่า อาจมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายล้านคนเพียงปฏิบัติตามคำสั่ง แม้จะขัดต่อความเชื่อศีลธรรมในส่วนลึกที่สุดของพวกเขาก็ตาม การทดลองของมิลแกรมมีการทดลองซ้ำหลายครั้ง โดยมีผลสอดคล้องกันในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เพียงแต่ให้ผลเป็นเปอร์เซนต์ต่างกันเท่านั้น[3]

         มิลแกรมสรุปใจความงานทดลองของเขาในบทความ "The Perils of Obedience" (ภยันตรายของความเชื่อฟัง) ใน พ.ศ. 2517 ไว้ดังนี้

ผมทดสอบดูว่า ผู้คนปกติจะยอมทำร้ายร่างกายผู้อื่นมากแค่ใหน เมื่อถูกผู้วิจัยสั่ง ผู้ร่วมการทดลองอยู่ในสถานะการเช่นนี้ที่ต้องชั่งใจว่าจะเชื่อฟังผู้มีอำนาจ หรือว่าจะใช้ความสำนึกผิดชอบชั่วดี ผลปรากฏว่า ถึงแม้จะได้ยินเสียงโหยหวนของผู้เคราะห์ร้ายอยู่เต็มหู สุดท้ายแล้วผู้ร่วมการทดลองก็ยังเชื่อฟังคำสั่ง นี่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เราควรจะเข้าใจ ว่าทำไมคนถึงเชื่อฟังผู้มีอำนาจขนาดนั้น
ผู้คนทั่วไป แค่ทำงานตามความรับผิดชอบปกติ โดยไม่ได้มีจิตรคิดร้ายอะไร สามารถทำสิ่งที่เลวร้ายมหันต์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้เมื่อเขาจะรู้ว่านี่เป็นการกระทำที่ไม่ดี คนส่วนใหญ่ไม่มีวิจารณญาณที่กล้าแข็งพอที่จะขัดขืนคำสั่งของผู้มีอำนาจ

— Milgram, Stanley. (1974)[4]


มิลแกรมลงโฆษณาหนังสือพิมพ์หาอาสาสมัครมาช่วยร่วมการวิจัย โดยในตอนแรกอาสาสมัครถูกหลอกว่านี่เป็นการวิจัยเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้ ผู้วิจัยแกล้งปลอมตัวเป็นนักชีววิทยาอายุ 31 ปี ท่าทางเข้มงวด แต่งตัวใส่ชุดคลุมแลบ ผู้ช่วยนักวิจัยทำตัวเป็นอาสาสมัครปลอม อายุ 47 ปี ท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเอง[1]

ในห้องมีคนสามคน นักวิจัย อาสาสมัครปลอม และ อาสาสมัครจริง ในตอนแรก นักวิจัยให้อาสาสมัครจริงหยิบบัตรหนึ่งใบขึ้นมาจากหมวก แกล้งทำเป็นว่ามีโอกาส 50-50 ที่จะได้คำว่า "ผู้สอน" หรือ "นักเรียน" แต่ทว่าจริงๆ อาสาสมัครตัวจริงหยิบได้คำว่า "ผู้สอน" เพราะในหมวกมีแต่คำนั้น ในระหว่างนี้ อาสาสมัครปลอมพูดเปรยๆ ว่าเขาเป็นโรคหัวใจ

"นักเรียน" (ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งเล่นเป็นอาสาสมัครปลอม) และ "ผู้สอน" (อาสาสมัครตัวจริง) ถูกพาไปคนละห้องซึ่งมองไม่เห็นกัน แต่ว่าได้ยินเสียงกัน นักวิจัย ช็อกผู้สอนด้วยกระแสไฟฟ้า 45 โวลต์ เพื่อให้ผู้สอนได้ลองสัมผัส ว่ากระแสซ็อกรู้สึกอย่างไร นักวิจัยบอกผู้สอนว่า ตอนนี้นักเรียนถูกมัดนั่งอยู่บนเก้าอี้ ติดกับเครื่องช็อกกระแสไฟฟ้า ซึ่งสวิตช์อยู่ในห้องผู้สอน

นักวิจัยให้ผู้สอนอ่านคำให้นักเรียนฟังที่ละคู่ หลังจากนั้นถามคำถามทดสอบดูว่า นักเรียนว่าจำคู่คำเหล่านั้นได้หรือไม่ นักเรียนมีปุ่มสี่ปุ่มให้กดตอบคำถาม ถ้านักเรียนตอบผิด ผู้สอนต้องส่งกระแสไฟฟ้าไปช็อกนักเรียน โดยเริ่มจาก 15 โวลต์เมื่อตอบคำถามแรกผิด และช็อกด้วยกระแสหนักขึ้น เป็น 30, 45, 60,... จนถึง 450 โวลต์เมื่อตอบผิดในคำถามต่อๆ ไป

ผู้สอนคิดว่าเขากำลังช็อกนักเรียนจริงๆ แต่ในอึกห้องหนึ่งนั้นนักเรียนนั่งอยู่สบายๆ ไม่ได้รับกระแสไฟฟ้า แค่แกล้งแกล้งตอบผิดและทำเสียงเหมือนเจ็บปวด เมื่อกระแสไฟฟ้าเริ่มแรงขึ้น นักเรียนเริ่มเอามือทุบผนังกั้นห้อง และแกล้งร้องถึงโรคหัวใจของเขา มาถึงขั้นนี้ผู้สอน (อาสาสมัครจริง) มักจะเริ่มลังเลใจและอยากจะหยุดทำการทดลอง แต่โดยมากแล้วจะยอมทำการทดลองต่อไป เมื่อนักวิจัยบอกว่าเขาจะรับผิดชอบทุกอย่าง อาสาสมัครบางคนเริ่มหัวเราะอย่างประหม่าเมื่อได้ยินเสียงร้องโหยหวนมาจากห้องนักเรียน

เมื่อไรก็ตามที่อาสาสมัครอยากหยุดการทดลอง นักชีววิทยาจะบอกเขาว่า (ตามลำดับ)

  1. โปรดทำการทดลองต่อไปครับ
  2. มันจำเป็นสำหรับงานนี้ที่คุณจะต้องทำการทดลองต่อไปครับ
  3. มันสำคัญมากๆ ที่คุณจะต้องทำการทดลองต่อไปครับ
  4. คุณไม่มีทางเลือกอื่นครับ คุณต้องทำการทดลองต่อไป

ถ้าอาสาสมัครยังไม่ยอมทำการทดลองต่อ หลังจากนักวิจัยพยายามชักจูงด้วยข้อความเหล่านี้ การวิจัยก็จบลง ถ้าอาสาสมัครยอมทำการทดลองต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วการทดลองจะจบลงเมื่อนักเรียนถูกช็อกด้วยกระแสไฟฟ้าสูงสุด 450 โวลต์ถึงสามครั้ง

ไฟล์:Milgram Experiment advertising.png

โฆษณาการทดลองของมิลแกรม


สรุปผล

ก่อนเริ่มการทดลอง มิลแกรมอธิบายการทดลอง ให้นักเรียนสิบสี่คนในคณะจิตวิทยาฟัง และให้พวกเขาทายว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไร ทุกคนทำนายว่าเพียงส่วนน้อยของอาสาสมัคร (คำตอบของนักเรียนอยู่ในช่วง 0-3% เฉลี่ย 1.2%) จะทำการทดลองจนถึงระดับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด มิลแกรมยังหยั่งความเห็นเพื่อนร่วมงานของเขาอย่างไม่เป็นทางการ และพบว่า พวกเขาเชื่อว่าอาสาสมัครน้อยมากจะทำการทดลองไปเกินช็อกที่รุนแรงมาก[1] มิลแกรมยังหยั่งความเห็นจากจิตแพทย์สี่สิบคนจากสถาบันแพทยศาสตร์ และพวกเขาเชื่อว่าจนถึงช็อกที่สิบ เมื่อเหยื่อเรียกร้องให้ปล่อยเป็นอิสระ อาสาสมัครส่วนมากจะหยุดการทดลอง พวกเขาทำนายว่า เมื่อถึงช็อก 300 โวลต์ เมื่อเหยื่อปฏิเสธจะตอบ จะเหลืออาสาสมัครเพียง 3.73% ที่ยังทำการทดลองต่อไป และพวกเขาเชื่อว่า "มีอาสาสมัครเกินหนึ่งในสิบของหนึ่งเปอร์เซนต์เล็กน้อยจะทำการทดลองจนถึงช็อกสูงสุดบนบอร์ด"[5]

ในชุดการทดลองแรกของมิลแกรม อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง 65% (26 จาก 40 คน) ทำการทดลองไปจนถึงขั้นกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ 450 โวลต์ แม้หลายคนจะรู้สึกอึดอัดที่ได้ทำเช่นนั้น เมื่อถึงขั้นหนึ่ง อาสาสมัครทุกคนจะหยุดและตั้งคำถามถึงการทดลอง บางคนจะให้เงินที่จ่ายให้เข้าร่วมการทดลองคืน ตลอดการทดลอง อาสาสมัครแสดงระดับความเครียดต่าง ๆ กัน อาสาสมัครนั้นเหงื่อออก สั่นเทา พูดติดอ่าง กัดริมฝีปาก ครวญคราง จิกเล็บเข้าเนื้อตัวเอง และบางคนถึงกับระเบิดหัวเราะออกมาอย่างประสาทหรือชัก

ภายหลัง ศาสตราจารย์ มิลแกรม และนักจิตวิทยาอื่น ๆ ได้ทำการทดลองซ้ำทั่วโลก ซึ่งให้ผลคล้ายกัน[6] มิลแกรมได้สอบสวนผลกระทบของที่ตั้งของการทดลองต่อระดับการเชื่อฟังโดยจัดการทดลองในสำนักงานในที่ลับและไม่ได้จดทะเบียนในนครที่แออัด ซึ่งตรงข้ามกับที่เยล อันเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับความเคารพนับถือ ระดับของการเชื่อฟัง "แม้จะลดลงบ้าง แต่ก็ไม่ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด" สิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างคือ ความใกล้ชิดของ "ผู้เรียน" กับผู้ทำการทดลอง

ดร. โธมัส แบลส แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ บัลติมอร์เคาน์ตี ทำการอภิวิเคราะห์ต่อผลของพฤติกรรมที่แสดงออกมาซ้ำ ๆ ในการทดลอง เขาพบว่าร้อยละของอาสาสมัครที่เตรียมช็อกด้วยกระแสไฟฟ้าที่ถึงตายยังคงมีสูงอยู่อย่างประหลาด คือ 61-66% โดยไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ทดลอง[7][8]


จรรยาบรรณในการทำการทดลอง

ในยุคปัจจุบัน ผู้ทำการวิจัยเช่นนี้จะต้อง บอกความจริงให้อาสาสมัครทราบ หลังจากการวิจัยเสร็จสิ้นลง แต่ว่า 4-5 ทศวรรษที่แล้วในสมัยที่มิลแกรมทำการทดลองนี้ กฎระเบียบที่ควบคุมจรรยาบรรณในการทำการทดลอง ยังไม่เข้มงวดเท่าสมัยนี้ ในการทดลองเมื่อปี 2507 มิลแกรมไม่ได้เปิดเผยการทดลองที่แท้จริงให้อาสาสมัครทราบ ทำให้เป็นที่เป็นห่วงว่า อาสาสมัครบางคนอาจจะได้รับ ผลกระทบกระเทือนทางจิตใจ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Milgram, Stanley (1963). "Behavioral Study of Obedience". Journal of Abnormal and Social Psychology 67: 371–378. PMID 14049516. Full-text PDF.
  2.  Milgram, Stanley. (1974) , Obedience to Authority; An Experimental View. Harpercollins (ISBN 0-06-131983-X).
  3.  Blass, Thomas (1991). Understanding behavior in the Milgram obedience experiment: The role of personality, situations, and their interactions. 60 (3). pp. 398–413. doi:10.1037/0022-3514.60.3.398.
  4.  Milgram, Stanley. (1974) , "The Perils of Obedience". Harper's Magazine. Abridged and adapted from Obedience to Authority.
  5.  Milgram, Stanley (1965). "Some Conditions of Obedience and Disobedience to Authority".Human Relations 18 (1): 57–76. doi:10.1177/001872676501800105.
  6.  Milgram (1974)
  7.  Blass, Thomas (1999). "The Milgram paradigm after 35 years: Some things we now know about obedience to authority". Journal of Applied Social Psychology 29 (5): 955–978.doi:10.1111/j.1559-1816.1999.tb00134.x. as PDF
  8.  Blass, Thomas (Mar/Apr 2002). "The Man Who Shocked the World". Psychology Today 35(2).
  9. Blass, Thomas. (2004) , The Man Who Shocked the World: The Life and Legacy of Stanley Milgram. Basic Books (ISBN 0-7382-0399-8).





 

Create Date : 13 สิงหาคม 2556
0 comments
Last Update : 13 สิงหาคม 2556 12:15:27 น.
Counter : 3773 Pageviews.


meku
Location :
ประจวบคีรีขันธ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add meku's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.