มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
ใช้ทักษาหายามที่ดี
หลายๆท่าน คงเคยได้ยินคำว่า "ฤกษ์งาม ยามดี" กันมาบ้างแล้ว ถ้าพูดถึงฤกษ์ คงพูดกันยาว ตำรับตำราที่เกี่ยวกับฤกษ์ ก็หนาหลายร้อยหน้า อ่านแล้วก็เวียนหัว จับต้นชนปลายไม่ถูก หากไม่ได้ไปศึกษากับครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ก็คงยากที่จะใช้ฤกษ์ในการหาเวลาที่ดี เพื่อที่จะทำการต่างๆได้

เมื่อหาฤกษ์ได้ยาก ก็ลองหันมาดูที่ยามกันบ้าง ยามคือ ชั่วเวลาหนึ่งๆในรอบวัน โบราณจารย์ท่านแบ่งยามเอาไว้เป็น 16 ยาม คือ 

กลางวันตั้งแต่เวลา 06.01-18.00 น. มี 8 ยาม ยามล่ะ 90 นาที
กลางคืนตั้งแต่เวลา 18.01-06.00 น. อีก 8 ยาม ยามล่ะ 90 นาที

แต่ล่ะยามก็จะมีพระเคราะห์(ดาว)ประจำยาม ตามรูปด้านล้างนี้





เมื่อเราพอจะทราบแล้วว่ายามแบ่งอย่างไร มีพระเคราะห์ดวงไหนประจำยามบ้าง วิธีการที่เราจะหายามที่ดีสำหรับตัวเรา ก็ใช้ผังทักษาคู่ธาตุเข้ามาช่วย หน้าตาของผังทักษาคู่ธาตุก็เป็นแบบรูปด้านล่างนี้ (หากต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทักษาคู่ธาตุ ก็ลอง search หาใน google มีครูบาอาจารย์หลายท่าน เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยละเอียดแล้ว)



ทักษาที่เราจะใช้ในการหายามที่ดี จะใช้ทั้ง 8 ตัว เพราะแต่ละตัวก็มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

1. หมวดบริวาร ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การรับบริวาร(คนรับใช้)  การรับ ลูกเลี้ยง ลูกเขย ลูกสะไภ้ เข้าบ้าน หรือแม้กระทั้งสัตว์ที่เข้ามาอาศัยร่มไม้ชายคาของบ้านเรา ทั้งนี้ยังใช้ได้กับสิ่งของทั่วไป เช่น การจะซื้อโต๊ะ เตียง ตู้ ทีวี ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ตัวบริวารนี้ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เพราะหากบริวารไม่ดีแล้ว จะส่งผลถึงเจ้าบ้าน ทำให้เกิดปัญหา ติดขัด จนบางครั้งกลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตขึ้นมา 

2. หมวดอายุ ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ สุขภาพ เช่น การทำประกันสุขภาพ การเข้าหรือออกจากโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว การทำพิธีกรรมบางอย่างเกี่ยวกับการต่ออายุ 

3. หมวดเดช ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ อำนาจ บารมี หรือการแข่งขัน การต่อสู้ เช่น การเลือกตั้ง การสอบ การแข่งขันกิฬาต่างๆ แม้กระทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ในการเข้าจับกุมคนร้าย 

4. หมวดศรี ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ ความรัก ความดี ความเป็นมงคล เช่น การแต่งงาน(สำหรับเรื่องการแต่งงาน ควรหาฤกษ์เป็นหลัก และใช้ยามประกอบ) การเปิดบริษัทฯ ห้างร้าน กิจการที่ต้องการเกียรติยศชื่อเสียง 

5. หมวดมูละ ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ ความมั่นคง ความสามัคคี ความปรองดอง รวมถึงที่อยู่อาศัย เช่น การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ การซื้อขายที่ดิน การย้ายเข้าหรือออกจากที่อยู่อาศัย

6. หมวดอุตสาหะ ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ ความเพียร ความพยายาม หน้าที่การงาน เช่น การขอปรับเงินเดือน การขอเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การเริ่มต้นเข้าทำงาน หรือการเริ่มต้นทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องใช้เวลานานๆ 

7. หมวดมนตรี ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การอุปถัมภ์ ความช่วยเหลือ เช่น การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น การเข้าหาผู้ใหญ่ด้วยเรื่องสำคัญ การเปิดเว็บไซค์ การเปิดร้านอาหาร ร้านค้า แผงลอย การขายทั่วไปที่ต้องการลูกค้ามาช่วยอุดหนุนเยอะๆ

8. หมวดกาลี หรือกาลกิณี ใช้สำหรับหาเวลาที่ดี สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับ อุปสรรค ปัญหา ความชั่วร้าย ความไม่ดีต่างๆ เช่น คดีความที่กำลังจะแพ้ ป้ญหาที่แก้ไม่ตก หรือแม้แต่พิธีกรรมบางอย่างในการขับไล่สิ่งที่ไม่ดี

หลักการใช้ทักษาในการหายามที่ดี

1. ใช้วันเกิดของตัวเราเองเป็นตัวตั้ง เช่น เกิดวันอาทิตย์ ก็ตั้งทักษาอาทิตย์ (เลข ๑) เป็นบริวาร หรือ เกิดวันจันทร์ ก็ตั้งทักษาจันทร์ (เลข ๒) เป็นบริวาร
2. ใช้วันตามหมวดให้เข้ากับเรื่องที่เราต้องการ 
3. เลือกเวลาที่ดี ใช้อยู่ 2 อย่าง คือ เวลาศรี(ดีงาม เพรียบพร้อม) กับ เวลามนตรี(ความช่วยเหลือ) ห้ามใช้ยามกาลีโดยเด็ดขาด

ตัวอย่าง 1  คนเกิดวันอาทิตย์ ต้องการที่จะย้ายเข้าที่อยู่อาศัยใหม่ ใช้วันมูละ คือ วันเสาร์ ใช้เวลาศรี คือ พุธ (13.31-15.00 น.)  ในการย้ายเข้าที่อยู่อาศัย หรือเรียกว่า ทำมูละให้เป็นศรี 

ตัวอย่าง 2  คนเกิดวันเสาร์ ต้องการที่จะเปิดเว็บไซค์ ใช้วันมนตรี คือ วันอังคาร ใช้เวลาศรี คือ ศุกร์ (09.01-10.30 น.) ในการเปิดเว็บไซค์ เรียกว่า ทำมนตรีให้เป็นศรี

ตัวอย่าง 3 คนเกิดวันพฤหัส กำลังมีปัญหาติดขัดที่แก้ไม่ตก ต้องการทางออกหรือความช่วยเหลือ ใช้วันกาลี คือ วันเสาร์ เลือกเวลามนตรี คือ พุธ (13.31-15.00 น.) ในการเริ่มต้นแก้ปัญหา หรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เรียกว่า ทำกาลีให้เป็นมนตรี

หมายเหตุ การใช้ทักษาหายามที่ดีนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการช่วยตัดสินใจ ในการหาเวลาที่เหมาะสมเืพื่อทำกิจกรรมบางอย่างที่ไม่สำคัญมากนัก แต่หากกิจกรรมนั้นมีความสำคัญมากๆ ก็ควรปรึกษาครูบาอาจารย์ผู้ที่เชี่ยวชาญ และมีความชำนาญในการให้ฤกษ์ เพราะจะได้เวลาที่ดี เฉพาะเจาะจงลงไปของแต่ล่ะบุคคล



Create Date : 10 มิถุนายน 2555
Last Update : 10 มิถุนายน 2555 16:38:56 น.
Counter : 5814 Pageviews.

1 comments
  
good
โดย: บุญกรุ่นเกล้า วันที่: 11 มิถุนายน 2555 เวลา:15:30:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mahahora
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



New Comments