5ธันวา มหาบพิตร



"ภูมิพโลภิกขุ" ...เมื่อในหลวงทรงผนวช


พระราชฉายาบัฏ
ที่ 1582


เมื่อปี 2499 แต่ปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ล่วงไปแล้ว
ในปีปัจจุบันที่ 2500 เมื่อ ณ วันจันทร์ สุรทินที่ 22 ตุลาคมมาส วัสสานฤดู
ล่วงเวลา 4 นาฬิกา 23 นาที แต่เที่ยง
ภิกษุ พระนามว่า ภูมิพละ อุปสมบทแล้วในพัทธสีมาแห่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ครั้นล่วงเวลา 5 นาฬิกา 43 นาที แต่เที่ยง
ทำทัฬหิกรรม ณ พัทธสีมาแห่งพระพุทธรัตนสถาน
มีท่านสุจิตตะ เป็นพระอุปัชฌายะ
ท่านอุฏฐายี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ฯ


ขอภูมิพลภิกษุนั้น จงทรงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย
ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว


อนึ่ง ขอภูมิพลภิกษุนั้น ทรงดำรงอยู่ในความเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก์
จงทรงอุปถัมภ์จัดแจงทะนุบำรุงเพื่อความงอกงามไพบูลน์แห่งพระพุทธศาสนา

เทอญ ฯ












สมเด็จพระราชชนนี ทรงจรดพระกรรไกร หลังพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499










ทรงเครื่องตามแบบผู้แสวงอุปสมบท เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499









หลังจากทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการส่วนพระองค์ตามราชประเพณีแล้ว
สมเด็จพระราชชนนีฯ ถวายผ้าไตรเพื่อทรงขอบรรพชา










พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือไตรเข้าไปขอบรรพชา
ในท่ามกลางสงฆ์ต่อสมเด็จพระสังฆราช









สมเด็จพระสังฆราชถวายโอวาทสำหรับบรรพชา และถวายผ้ากาสายะ
เพื่อได้ทรงครองอุปสมบท พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ กลับ
เข้าในพระฉาก ทรงครองกาสาวพัสตร์ตามเพศบรรพชิต เสด็จเข้าไปรับสรณคมน์
และศีลต่อสมเด็จพระสังฆราช สำเร็จบรรพชากิจเป็นสามเณรแล้ว ทรงขอนิสัย
สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัธยาจารย์ ถวายพระสมณนามว่า ภูมิพโล
ทรงขออุปสมบท











สมเด็จพระราชชนนีฯ ถวายบาตรสำหรับพระราชพิธีอุปสมบทกรรม










พระสงฆ์ถวายการอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระสังฆราช
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ฉายา สุจิตฺโต ป.7)เป็นพระราชอุปัธยาจารย์










พระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9) วัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ทูลซักถามอันตรายิกธรรม











เมื่อทรงรับอุปสมบทเสร็จเป็นอันทรงดำรงภิกขุภาวะโดยสมบูรณ์แล้ว
สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.9) วัดเบญมบพิตร พระอนุศาสนาจารย์
ถวายอนุศาสน์











สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ถวายเครื่องบริขาร











พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์
(เจริญ สุวฑฺฒโน ป.9) วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จทางหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ทรงรถยนต์พระที่นั่งเข้าไปสู่พระพุทธรัตนสถาน ทรงประกอบพิธีตามราชประเพณี
มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส 15 รูป เมื่อเสร็จอุปสมบทกรรมเวลา 17:43 น.
แล้ว เสด็จทรงรถยนต์พระที่นังพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัธยาจารย์
สู่วัดบวรนิเวศวิหาร











สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เสด็จฯ พระราชทานกฐินในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2499











ทรงรับบิณฑบาตรในพระราชวังดุสิต วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499












สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
เฝ้าในพระราชวังดุสิต วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499











เสด็จฯ ไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9)
พระกรรมวาจาจารย์ ฯ ถวายหนังสือพระวินัยมุนีฯ ถวายพระสีวลีที่ได้จากพม่า
พร้อมด้วยตะลุ่มมุกเล็ก ๆ ที่วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499












เสด็จฯ ไปถวายดอกไม้ธูปเทียน สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.9)
พระอนุศาสนาจารย์ ที่วัดเบญจมบพิตร สมเด็จฯ ถวายหนังสือ
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499










ทรงรับอัฏฐบริขารของ พณฯ ประธานาธิบดีแห่งประเทศพม่า
ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499











ทรงฉายพระรูปพร้อมด้วยพระเถรานุเถระทุกคณะ
ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2499











เสด็จฯ ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระราชบิดา
ณ อนุสสรณี รังษีวัฒนา วัดราชบพิธ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2499












จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและภรรยา เฝ้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน
ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2499










ชาวอินเดียเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร










เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
เสด็จสักการะพระร่วงโรจนฤทธิ์แล้ว เสด็จฯ เข้าพระวิหารถวายสักการะ
พระบรมสารีริกธาตุ ทำวัตรแล้ว เสด็จฯ กระทำประทักษิณพระเจดีย์รอบบน
(รอบละ 300 เมตร) 1 รอบ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499











ทรงสดับพระปาฏิโมกข์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499










ทรงทูลลาสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ บนตำหนักบัญจบเบญจมา
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499










ทรงเฝ้าสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ บนตำหนักบัญจบเบญจมา
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499










เสด็จฯ ออกบิณฑบาตรในถนนหลวง โดยไม่มีหมายกำหนดการ
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499










อาหารที่ทรงรับบิณฑบาตรวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
มีเครื่องในไก่ผัดขิง 1 ห่อ ผัดถั่วฝักยาว 1 ห่อ กุนเชียงผัดหอมใหญ่กับหมู
เนื้อทอด ปลาสลิดเค็มทอด ปลาทูทอด รวมอาหารคาว 7 ห่อ ของหวาน
ขนมครก ถั่วแปบ ขนมบ้าบิ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยหอม กล้วยไข่ โรตี เค็ก
ขนมปังปิ้งทาเนย รวม 9 อย่าง










ประทับในพระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ฉาย
พระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมด้วยเครื่องบริขาร วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499











บนพระปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499










ทรงปลูกต้นสักข้างพระปั้นหยา วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499












ในการทรงลาผนวช วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499












ทรงแถลงการลาผนวช ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499











พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังตำหนักบัญจบเบญจมา
ทูลลาสมเด็จฯ พระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จฯ ถวายสรงน้ำพระพุทธมนต์ ถวายพระพร











บนที่ประทับตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังทรงลาผนวชแล้ว
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499











พระที่นั่งอัมพรสถาน วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499




























เมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ถามหลวงตามหาบัวฯ เรื่องพุทธภูมิ

เนื่องในวโรกาสมหามิ่งมงคลของชาวไทยทั้งชาติ นิตยสารน่านฟ้าขออาราธนาบทสนทนาที่เหนือคำบรรยาย ที่เล่าโดย พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ในสมัยที่ท่านเป็นพระอุปัฏฐากองค์หลวงตา ณ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ในขณะนั้น...

“...เหตุการณ์ ที่น่าทึ่งที่สุดคือ เมื่อปี พ.ศ.2531 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จไปนิมนต์หลวงตาไปในงานในวัง ปกติหลวงตาท่านไม่ค่อยไปไหน แต่ตอนที่พระเจ้าอยู่หัวฯ ไปนิมนต์ ท่านไปนิมนต์ด้วยพระองค์เอง เรายังจำได้.. วันนั้นเป็นวันที่ 7 มกราคม 2531 เป็นปีเฉลิมราชรัชมังคลาภิเษกที่ทรงครองราชย์มากกว่ากษัตริย์ใดในประวัติ ศาสตร์ไทย ท่านนิมนต์หลวงตาเข้าวัง มาเป็นขบวนใหญ่ หลวงตาท่านจะอยู่ที่กุฏิ ท่านให้เราควบคุมดูแลญาติโยม ดูแลพวกทหารที่มา พระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จมาตอน 6 โมงเย็น

เมื่อขบวนพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาถึง เรายืนตรงนี้ ผู้ว่าฯ สายสิทธิ์ยืนตรงนี้ หมออวย แล้วใครต่อใครยืนเป็นแถวรอรับเสด็จ แล้วท่านก็ขึ้นไปข้างบนซึ่งหลวงตารอท่านอยู่แล้ว ส่วนเราก็อยู่ตรงบันได ส่วนหลวงตาอยู่ข้างบน ที่ขึ้นไปก็มีพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จครบหมดเลย พระราชินี พระบรมฯ พระเทพฯ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ หมดทั้งครอบครัวเพื่อจะนิมนต์หลวงตาไปงานพิธีในวัง

พอพระองค์ท่านกราบหลวงตาเสร็จ ท่านก็ถวายคำถามแรก (พระเจ้าอยู่หัวฯ เรียกหลวงตาว่า “หลวงปู่”) “หลวงปู่... สาวกภูมิกับพุทธภูมิต่างกันอย่างไร” โอ้... พระเจ้าอยู่หัวฯ ถามปัญหาหลวงตาขนาดนี้

หลวงตาตอบว่า... “พุทธภูมิ ก็เหมือนดั่งเรานั่งรถไฟ นั่งรถไฟไปเชียงใหม่หรือนั่งรถไฟไปอุดรนั่นแหละ... พุทธภูมิ แต่ถ้าเรานั่งจักรยานมาหรือนั่งมอเตอร์ไซค์ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปนั่นแหละ... สาวกภูมิ เพราะฉะนั้นการเป็นพุทธภูมิก็คือการนำคนไปได้เยอะๆ ส่วนสาวกภูมินั้นนำไปได้น้อยๆ ไม่ได้มากนัก อย่างเก่งก็ 1 คน หรือ 3-4 คน ก็ว่ากันไป นั่นคือสาวกภูมิ เข้าใจไหมล่ะพ่อหลวง”

พระเจ้าอยู่หัวฯ ตอบหลวงตาว่า “เข้าใจแล้วหลวงปู่ แล้วนิพพานเป็นอย่างไรนะ หลวงปู่”

หลวงตาตอบ : “อ้อ พ่อหลวงเหมือนพ่อหลวงมาวัดป่าบ้านตาดนี่แหละ รู้ไหมว่าวัดป่าบ้านตาดอยู่ตรงไหน อยุ่บนกุฏินี่เหรอ วัดป่าบ้านตาดอยู่ไหนล่ะ แต่พอพระมหากษัตริย์มาถึงนี่แล้ว บริเวณนี้ทั้งหมดคือวัดป่าบ้านตาดนี้แหละ แต่จะชี้ลงไปว่าที่กุฏิอาตมาก็ไม่ใช่ ที่กุฏิพระก็ไม่ใช่ ที่ศาลาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งหมด แต่เมื่อรวมกันทั้งหมดในกำแพงวัดนี้นี่แหละคือวัดป่าบ้านตาด นี่แหละพระนิพพานก็มีความหมายแบบเดียวกัน”

และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอบารมีหลวงตาช่วยต่ออายุให้แม่หลวง (คือสมเด็จย่า) ตอนนั้นสมเด็จย่าทรงประชวรอยู่ หลวงตาท่านก็ตอบปฏิเสธเลยว่า... “พ่อหลวงนั่นแหละก็จัดการเองได้ ขอเองได้” ท่านว่างั้นนะ... “พ่อหลวงก็สามารถจัดการได้เอง” ท่านบอกไปเลยนะว่า... ให้พระเจ้าอยู่หัวฯ ขอเอง จัดการเอง อาตมาต่อให้ไม่ได้หรอก

พระเจ้าอยู่หัวฯ ได้กราบลาว่า “เอาล่ะ ได้เวลาแล้ว จะกลับแล้ว ท่านหลวงปู่มีอะไรจะบอกไหม”

หลวงตาท่านได้เทศน์สั้นๆ ว่า “การเป็นพุทธภูมิ สร้างบารมีเพื่อความเป็นพุทธะ พอจบพุทธภูมิได้ก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระ พุทธเจ้าก็มีพุทธกิจ 5 คือ ตอนเช้าบิณฑบาต ตอนบ่ายสอนคหบดีมนุษย์ทั่วไป ตกเย็นสอนนักบวช สมณะชีพราหมณ์ ตอนกลางคืนแก้ปัญหาเทวดา พอมาตอนเช้ามืดเล็งญาณดูสัตว์โลก สัตว์โลกตัวไหนมีกิเลสเบาบางพอที่จะบรรลุธรรมได้ ท่านก็จะเล็งญาณดูรีบไปโปรดก่อน พระพุทธเจ้าสร้างบารมีพุทธภูมิจนได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็มีพระพุทธกิจ 5 อย่างนี้ แต่... ไม่รู้ว่าพ่อหลวงแม่หลวงของประเทศไทยปรารถนาอะไร ทำงานกันจนไม่มีเวลาจะพักผ่อน... เอาล่ะๆ... อาตมาจะให้พร”

พอฟังมา ถึงตรงนี้นะ เรายังจำได้แม่น เพราะพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านถามเรื่องพุทธภูมิ เสร็จแล้วพอท่านจะลากลับ หลวงตาท่านสรุปให้เสร็จสรรพเลย... ไม่รู้ว่าพ่อหลวงแม่หลวงของไทยทำงานปรารถนาความเป็นอะไร... ทำงานกันจนไม่มีเวลาพักผ่อน... เอาล่ะๆ... อาตมาจะให้พร

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านเสด็จลงมา ท่านก็ตรัสว่า อยากให้ท่านอาจารย์อยู่กับหลวงตาไปนานๆ... เราก็ได้ตอบท่านว่า เจริญพร... มหาบพิตร อาตมาก็อยากจะอยู่ แต่ถ้าถึงเวลาที่อาตมาจะต้องเอาตัวเองให้รอด อาตมาก็ขอเอาตัวเองให้รอดก่อน เพราะทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงเวลาไปก็ต้องไปเหมือนกัน แล้วพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็บอกขอทำบุญกับหลวงตา 200,000 ถวายอาจารย์ 20,000 แล้วท่านก็ถามว่าพระที่อยู่ในวัดนี้กี่รูป เราก็ตอบท่านทั้งหมด 29 รูปรวมหลวงตานั่นแหละ... ท่านจึงถวายให้รูปละ 2,000 “แล้วปัจจัยจะให้ไว้กับใคร” ท่านถาม... ท่านหยิบออกมาให้เลยนะ ท่านผู้ว่าฯ ยังรับมือสั่น พระเจ้าอยู่หัวฯ ไม่เพียงมากราบหลวงตา ท่านมาที่วัด ท่านยังมาทำบุญกับพระด้วยปัจจัยที่เตรียมพร้อมจากพระหัตถ์ของท่านเอง จากนั้นพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เสด็จออกไปเยี่ยมประชาชนแล้วก็ขึ้นรถไป

นั่น แหละเราได้ฟังมา เรื่องของพุทธภูมิ เรื่องของพระโพธิสัตว์ สาวกภูมิกับพุทธภูมิต่างกันอย่างไร เสร็จแล้วพอตอนจบขอพร หลวงตาท่านก็สรุปและให้พร จึงบอกได้ว่าเป็นบทสนทนาของจอมปราชญ์...









ด้วยความที่ทรงเคารพและเป็นห่วงใยในหลวงปู่ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์
ทรงพระกรุณาเสด็จไปเยี่ยมอาการอาพาธหลายครั้ง

ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอุตสาหะ ประกอบพิธี
“ยืดอายุ” ของหลวงปู่ โดยทรงถือขัน (อย่างขันน้ำ) บรรจุดอกไม้ห้าสี เข้า
ไปประเคน

พอหลวงปู่รับแล้ว ก็ทรงไม่ให้หลวงปู่ “ทิ้งขันธ์” (เล่นคำ ขัน กับ ขันธ์)
ขอให้หลวงปู่อยู่ไปอีกนานๆ

หลวงปู่หัวเราะ แต่ไม่รับสนองพระราชดำรัส

หลวงปู่ปรารภต่อมาว่า “มันหนักกระดูก ขันธ์มันเป็นทุกข์หนัก แบกขันธ์
มันหนักกว่าแบกครก”


หลังจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ได้ทรงขอเช่นกัน

และครั้งที่สาม เมื่อทรงทราบว่าหลวงปู่อาพาธหนักในเวลาเดียวกันที่
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ก็ได้ส่ง ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี
เป็นผู้แทนไปขอซ้ำอีก หลวงปู่ก็ตอบสนองด้วยการหัวเราะเช่นครั้งก่อนๆ













ในหลวงทรงปฏิสันถารกับหลวงพ่อเกษม เขมโก











รูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงป้อนยาหลวงปู่ขาว
























พระอาจารย์ฝั้น











งานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น











งานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น











ทรงนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ










พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประคองพระราชสังวราภิมณฑ์หรือหลวงปู่โต๊ะ
















หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา










พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน










หลวงพ่อเกษม เขมโก











หลวงปู่แหวน สุจิณโณ











หลวงพ่อฤาษีลิงดำ











ทรงนมัสการ ครูบาชัยวงศาพัฒนา











ทรงสนทนาธรรมกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย












หลวงปู่ชอบ ฐานสโม









ทรงสนทนาธรรมกับ หลวงปู่แหวน สุจินโน










หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต










ทรงนมัสการท่านพระอาจารย์นำ ชินวโร









ล้นเกล้ากับหลวงปู่แหวน










หลวงปู่แหวน









หลวงปู่แหวน









ในหลวงกับหลวงพ่อวัน อุตฺตโม











หลวงพ่อคูณ











หลวงปู่นำ ชินวโร










หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร


















หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


















สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช



























สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์












"พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้
พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ พระราชาเหล่านั้น
ทรงดำรงมั่นอยู่แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลกทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น."




-----------------------------------------------

ทศพิธราชธรรม นี้ได้แก่


ทาน ๑ ศีล ๑ การบริจาค ๑ ความซื่อตรง ๑ ความอ่อนโยน ๑ ตบะ คือความเพียร ๑
ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความอดทน ๑ และความไม่ผิดพลาด ๑










๑. ทาน



นับแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีมากมายจนเหลือที่จะพรรณนาได้สุดสิ้น ครบถ้วนทั้งสองประการ คือ “ธรรมทาน” ซึ่งถือเป็นทานอันเลิศทางพระพุทธศาสนา สามารถแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางจิตใจ ทำให้ใจเป็นสุขและตั้งอยู่ในความดีงาม โดยได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจในเรื่องต่าง ๆ แก่พสกนิกรตามสถานะและวาระโอวาทอยู่เสมอ ในท้องถิ่นที่ต้องการความรู้ ได้พระราชทานความรู้และตรัสแนะนำในสิ่งอันจะทำประโยชน์มาให้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงช่วยดับทุกข์ความเดือดร้อนในจิตใจของประชาชนทั้งมวล


นอกจากธรรมทานแล้ว “อามิสทาน” หรือ “วัตถุทาน” ก็ทรงมีพระเมตตาคุณในพระราชหฤทัยเป็นล้นพ้น ได้พระราชทานพระราชทรัพย์และวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางกายให้แก่พสกนิกรเสมอมา


ในการบำเพ็ญทางบารมีนี้ ได้ทรงบำเพ็ญตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสองทุกประการ คือ ทรงบำเพ็ญครบถ้วนตามคุณสมบัติของทาน ๓ ประการ ได้แก่ คุณสมบัติของทานประการที่หนึ่ง คือ การพระราชทานให้แก่บุคคลที่สมควรได้รับการอนุเคราะห์โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติหรือศาสนา คุณสมบัติของทานประการที่สอง คือ ถึงพร้อมด้วยเจตนาโดยทรงมีพระเมตตาคุณเปี่ยมล้นในพระราชหฤทัยทั้งก่อนการพระราชทาน ขณะพระราชทาน และหลังการพระราชทานแล้ว คุณสมบัติประการที่สาม คือ วัตถุที่พระราชทานนั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ราษฎรผู้รับพระราชทาน ให้พ้นจากการขาดแคลนได้อย่างไม่มีข้อสงสัย











๒ ศีล



ตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช ทรงดำรงพระองค์ได้งดงามบริสุทธิ์ สมควรแก่การเป็นพุทธสาวก จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่พสกนิกรโดยทั่วหน้า


เมื่อทรงลาผนวชมาอยู่พระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราชแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงประพฤติอยู่ในศีลโดยบริสุทธิ์ กล่าวคือ ทรงประพฤติพระราชจริยาในทางพระวรกายและในทางพระวาจาให้สะอาดงดงามถูกต้องอยู่เป็นนิจ ไม่เคยบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นศีลในการปกครอง หรือศีลในทางศาสนาก็ตาม


ในด้านศีลในการปกครอง คือ การประพฤติตามกฎหมายและจารีตประเพณีอันดีงามนั้น ไม่เคยปรากฎเลยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์เหนือกฎหมาย และไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่จะทรงละทิ้งจารีตประเพณีอันดีงามของชาติและของพระราชวงศ์ พระเกียรติคุณในข้อนี้เป็นที่ซึมซาบในใจของชาวไทยเป็นอย่างดี นับจากกาลเวลาที่ล่วงผ่านมาตราบจนถึงทุกวันนี้


ส่วนศีลในทางศาสนา อย่างน้อยคือศีลห้าอันเป็นศีลหรือกฎหมายที่ใช้ในการปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่อดีตก่อนพุทธกาลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาเช่นเดียวกัน


สำหรับผู้ที่มิได้นับถือพุทธศาสนา พระองค์ทรงสนับสนุนให้ยึดมั่นตามคำสอนแห่งศาสนาอันตนศรัทธา ด้วยทรงตระหนักว่าทุกศาสนามีหลักคำสอนที่นำไปสู่การประพฤติดี ศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันของชนหมู่มาก แม้บัดนี้ในการปกครองจะมีกฎหมายอยู่แล้วก็ยังต้องอาศัยศาสนาเป็นเครื่องอุปการะ ด้วยกฎหมายบังคับได้เพียงแค่กาย ส่วนศาสนาสามารถเข้าถึงจิตใจ น้อมนำไปปฏิบัติตามโดยไม่ต้องบังคับ


การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองบ้านเมืองด้วยกฎหมายและศาสนา ประกอบกับการที่ทรงสมาทานศีลอย่างเคร่งครัดดังปรากฎในที่ทุกสถาน ชาวไทยจึงมีความสุขสงบและวัฒนาด้วยศีลบารมีแห่งพระองค์












๓ บริจาค


ในด้านการบริจาค ซึ่งหมายถึงการเสียสละสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยกว่า เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์ใหญ่ยิ่งกว่านั้น ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือประโยชน์และความเจริญของชาติ ศาสนา รวมทั้งประโยชน์สุขของพสกนิกร สำคัญยิ่งกว่าพระองค์เอง พระราชกรณียกิจนานัปการจึงเป็นไปเพื่อความวัฒนา และประโยชน์สุขของชาวไทยและสถาบันดังกล่าว


ด้านการศาสนา ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภกศาสนาต่าง ๆ อันมีในประเทศไทย และได้พระราชทานทรัพย์เพื่อทะนุบำรุงไปเป็นจำนวนมาก โดยพระพุทธศาสนานั้นทรงมีคุณูปการเป็นอเนกอนันต์ ทั้งในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปูชียสถาน อันมีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น การสร้างถาวรวัตถุ เช่น "พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร." และ "พระพุทธนวราชบพิตร" เป็นตัวอย่าง โดยเฉพาะพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองแก่ทุกจังหวัดทั่วประเทศนั้น ได้ทรงบรรจุที่ฐานด้วยพระพิมพ์ซึ่งทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั้งในพระองค์และจากจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านอื่น ๆ อีกนานัปการ ด้วยศรัทธาและปริจาคะของพระองค์เช่นนี้ จึงไม่น่าสงสัยที่พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองจนประเทศไทยกลายเป็นแหล่งศึกษาพระธรรม ของชาวต่างประเทศและเป็นแหล่งส่งพระธรรมทูตไปประกาศพระศาสนาในประเทศต่าง ๆ


ในด้านการสงเคราะห์ ได้ทรงเสียสละพระราชทรัพย์และสิ่งของจำนวนมากมายจนสุดที่จะประมาณได้ เพื่อดับความทุกข์ยากของพสกนิกรในยามประสบภัยพิบัติและในถิ่นทุรกันดาร


ทรงสละพระราชทรัพย์เพื่อพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย โดยโปรดให้มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนในถิ่นยากจนต่าง ๆ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และทุนอานันทมหิดลเพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น


ทรงสละพระราชทรัพย์นับจำนวนไม่น้อย ในการพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่มูลนิธิและสาธารณสถานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของชาวไทย


ทรงเสียสละพระราชทานที่นาของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๕๐,๐๐๐ ไร่ ให้เข้าอยู่ในโครงการปฏิรูปที่ดิน เมื่อปี ๒๕๑๘ เพื่อแบ่งปันที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่ยากจน












๔ ความซื่อตรง (อาชชวะ)



อันทศพิธราชธรรมข้อที่สี่ คือ อาชชวะ หรือความซื่อตรงนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติอยู่นิจ สำหรับผู้ที่มีอายุคงจะจำกันได้ดีว่าหลังจากที่ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นวันกำหนดเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อในต่างประเทศ ระหว่างประทับรถพระที่นั่งเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปขึ้นเครื่องบินนั้น ได้มีเสียงร้องมาจากกลุ่มพสกนิกรที่เฝ้าส่งเสด็จว่า "อย่าทิ้งประชาชน" และได้มีพระราชดำรัสตอบในพระราชหฤทัยว่า "เราจะไม่ทิ้งประชาชน ถ้าประชาชนไม่ทิ้งเรา" การตั้งพระราชหฤทัยดังนี้เสมือนเป็นการพระราชทานสัจจะ ว่าจะทรงเป็นร่มบรมโพธิสมภารของพสกนิกรตลอดไป


ครั้นต่อมาในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรทั่วประเทศว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" วันเวลาที่ล่วงผ่านไปเนิ่นนานจากวันนั้นถึงวันนี้ ๔๑ ปีเศษแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาสัจจะที่ได้พระราชทานให้แก่พสกนิกรทั้งสองประการ มาอย่างสมบูรณ์สม่ำเสมอ พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งพสกนิกร ด้วยทรงถือเอาความทุกข์เดือดร้อนของพสกนิกรเป็นความทุกข์เดือดร้อนของพระองค์เอง




-----------------------------------


พระปฐมบรมราชโองการ
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓













๕ ความอ่อนโยน (มัททวะ)


ราชธรรมในข้อมัททวะหรือความอ่อนโยนนี้ เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรมาช้านานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนเพียบพร้อมทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนโยนในความหมายทางโลกหรือความหมายทางธรรม


ความอ่อนโยนในความหมายทางโลก คือความอ่อนโยนต่อบุคคลอื่นในสังคม อันเป็นมารยาทที่บุคคลในสังคมจะพึงปฏิบัติต่อกันเพื่อผลดีในทางสังคม ความอ่อนโยนในความหมายนี้ย่อมชี้ให้เห็นชัดได้ด้วยพระราชจริยาวัตรต่าง ๆ ในที่ทุกสถาน


ส่วนความอ่อนโยนในทางธรรมนั้น มีความหมายกว้างขวางมาก คือ หมายถึงความสามารถโอนอ่อนผ่อนตาม น้อมไป หรือเปลี่ยนไปในทางแห่งความดี ทำให้เกิดการผสมผสานกันอย่างดีในทางการงานและบุคคลแก่บุคคลทุกระดับชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าถึงธรรมะในข้อนี้เป็นอย่างดี และอย่างถ่องถ้วนทุกระดับขั้น















๖ ตบะ คือความเพียร



ตบะในความหมายหนึ่งคือความเพียรเป็นเครื่องแผดเผาความเกียรคร้าน โดยความหมายนี้จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่เฉย ทรงพอพระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินออกทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ แม้ในถิ่นทุรกันดารและห่างไกล ขวางกั้นด้วยผืนน้ำกว้างใหญ่ ป่าทึบ หรือเขาสูงสุดสายตาเพียงเพื่อให้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขของราษฎร ด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง เมื่อทรงทราบแล้วก็มิได้ทรงนิ่มนอนพระราชหฤทัย แต่ได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เพื่อขจัดความทุกข์เดือดร้อนของราษฎรทั้งในด้านการอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย การศึกษาและอื่น ๆ ด้วยพระราชอุตสาหะ วิริยภาพเช่นนี้ พระองค์จึงทรงขจัดความขัดข้องความยากจนขัดสนทั้งหลายให้แก่ราษฎรได้โดยทั่วกัน


ตบะ ในอีกความหมายหนึ่ง หมายถึงความตั้งใจกำจัดความเกียจคร้านและการกระทำผิดหน้าที่ มุ่งทำกิจอันเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำ ซึ่งเป็นกิจที่ดีที่ชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญตบะในความหมายนี้ได้อย่างครบถ้วนเช่นเดียวกัน ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช ทรงมีหน้าที่ปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็น พระองค์ได้ทรงตั้งพระราชอุตสาหะวิริยภาพ ประกอบด้วยปัญโญภาส ปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นไปด้วยดีไม่มีข้อผิดพลาด ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรโดยไม่หยุดยั้ง


ตบะ ในความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ ความเพียรในการละอกุศลกรรม เพียรอบรมกุศลบุญต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้น โดยความหมายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเพียบพร้อมด้วยพระราชวิริยภาพที่จะทรงเอาชนะความชั่วต่าง ๆ ด้วยความดี














๗ ความไม่โกรธ (อักโกธะ)



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธให้เป็นที่ประจักษ์ใจทั้งในหมู่ประชาชนชาวไทย และในนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน แม้มีเหตุอันควรให้ทรงพระพิโรธยังทรงข่มพระทัยให้สงบได้โดยสิ้นเชิง อย่างที่ปุถุชนน้อยคนนักจะทำได้


การที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริยาธิราชผู้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธได้อย่างมั่นคงเช่นนี้ จึงทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาสัมพันธไมตรีอันดีกับนานาประเทศไว้ได้ตลอดมา พระเกียรติคุณของพระองค์ในข้อนี้จึงเป็นที่ชื่นชมของชาวไทยและชาวต่างประเทศยิ่งนัก
















๘ ความไม่เบียบเบียน (อวิหิงสา)



จากอดีตเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทยได้รับความร่มเย็นมีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงบำเพ็ญอวิหิงสาบารมี คือ ไม่เบียดเบียนให้ผู้อื่นลำบาก ไม่ก่อทุกข์ยากให้แก่ผู้ใดแม้จนถึงสรรพสัตว์ ด้วยเห็นเป็นของสนุกเพราะอำนาจแห่งโมหะหรือความหลง ไม่ทำร้ายรังแกมนุษย์และสัตว์เล่นเพื่อความบันเทิงใจแห่งตน


ในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสัตว์ พระองค์ไม่เคยทรงกระทำการใดให้เป็นที่ทุกข์ยากเจ็บปวด ไม่เคยมีแม้แต่ครั้งเดียวที่จะเสด็จออกประพาสป่าล่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีก็แต่การพระราชทานชีวิตให้เท่านั้น ในรูปของโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์แหล่งน้ำและอนุรักษ์สัตว์ เช่น โครงการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า เป็นต้น


การบำเพ็ญอวิหิงสาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแผ่ไพศาลไปทั่วทุกหนแห่ง จึงปกป้องคุ้มครองชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสรรพสัตว์ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทย จึงดำรงอยู่ได้ด้วยความสุขสงบและร่มเย็น












๙ ความอดทน (ขันติ)



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงมีพระขันติธรรมเป็นยอดเยี่ยมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ บางครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะทรงอดทนได้ แต่พระองค์ยังทรงอดทนรักษาพระราชหฤทัย พระวาจา พระวรกาย และพระอาการ ให้สงบเรียบร้อยงดงามได้ในทุกสถานการณ์


ทรงอดทนต่อโลภะ คือความอยากได้ทุกประการโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ว่าพระองค์ได้เคยมีพระราชประสงค์สิ่งใดจากผู้ใด แม้สิ่งของที่นำมาถวายหากมากเกินไปก็มิได้ทรงรับ เช่น รัฐบาลในสมัยหนึ่งจะถวายรถพระที่นั่งคันใหญ่เป็นพิเศษเพื่อให้สมพระเกียรติยศ แต่พระองค์กลับมีพระราชดำริว่ารถพระที่นั่งน่าจะเป็นรถคันใหญ่พอประมาณและราคาไม่แพงนัก เพื่อจะได้สงวนเงินไว้พัฒนาประเทศได้อีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น


นอกจากนี้ยังทรงอดทนต่อโมหะ คือความหลง โดยพระองค์มิได้ทรงติดข้องอยู่ในความสุขสำราญและความสะดวกสบายต่าง ๆ อันพึงหาได้ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช


ทรงอดทนต่อความทุกขเวทนา ความลำบากตรากตรำพระวรกายต่าง ๆ เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทุกแห่งหน


ทรงอดทนต่อความหวาดหวั่นภยันตรายต่าง ๆ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๑๐ เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ก่อการร้ายกำลังฮึกเหิมพระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้งทหารตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทย โดยทรงมีวิทยุติดพระองค์เพื่อทรงรับฟังเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาทรงสอบถามเหตุการณ์ทางวิทยุอยู่เสมอ และหากทรงว่างจากพระราชภารกิจจะรีบเสด็จไปยังที่เกิดเหตุทันท ีเพื่อทรงสอบถามเหตุการณ์ด้วยพระองค์เอง













๑๐ ความเทียงธรรม (อวิโรธนะ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณีทุกประการ ไม่เคยทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตรนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ทรงปฏิบัติพระองค์ได้อย่างงดงามไม่มีความบกพร่องให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้เลย


พระองค์ทรงรักษาพระราชหฤทัยได้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงมิได้ทรงหวั่นไหวต่ออำนาจแห่งอคติใด ๆ อันมีความรัก ความชัง ความโกรธ ความกลัว และความหลง เป็นต้น จึงไม่มีอำนาจใดที่อาจน้อมพระองค์ให้ทรงประพฤติทรงปฏิบัติไปในทางที่มัวหมองไม่สมควร หรือคลาดเคลื่อนไปจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องผู้ควรอุปถัมภ์ยกย่อง ทรงบำราบคนมีความผิดควรบำราบโดยทรงที่เป็นธรรม และในพระราชฐานะแห่งองค์พระประมุขของชาติไทยในระบอบประชาธิปไตย


ในด้านพระราชภารกิจต่าง ๆ ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่มีผิด้วยทรงสดับตรับฟัง ทรงศึกษา ทรงแสวงหาความรู้ความถูกต้องทั้งจากบุคคล ตำรา จากการที่ทรงสอบค้นด้วยพระองค์เอง และทรงนำมาประมวลใคร่ครวญด้วยพระปัญญา ความรู้ที่ทรงได้จึงเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งและถูกต้อง ด้วยเหตุนี้พระราชกรณียกิจใด ๆ ที่ทรงมุ่งผลให้บังเกิดเป็นความผาสุกความเจริญแก่พสกนิกรอย่างใด ก็ย่อมสำเร็จเป็นความผาสุกและความเจริญอย่างนั้น แม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องแก้ไขอันเป็นธรรมดาของการทำงานทั้งปวง ก็ทรงปฏิบัติแก้ไขอย่างรอบคอบให้บังเกิดผลดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปด้วยลำดับ พระราชกรณียกิจของพระองค์จึงมีแต่ความไม่ผิด ดังเช่น ในการพัฒนาประเทศทรงพัฒนาอย่างถูกต้อง คือทรงพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาประชาชน โดยทรงแนะนำตรัสสอนด้วยพระองค์เองและผ่านทรงโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น


นอกจากนี้ในการพัฒนาแต่ละท้องถิ่นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาถึงภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นย่อมไม่เหมือนกัน การพัฒนาของพระองค์จึงเป็นการพัฒนาด้วยความเข้าใจ เหมาะสมและเหมาะแก่ความจำเป็นของท้องถิ่นนั้น ๆ การพัฒนาโดยวิธีทางที่ถูกต้องนี้เอง ทำให้การพัฒนาประเทศได้ผลไม่สูญเปล่า สามารถช่วยให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้โดยทั่วหน้ากันสมดังพระราชประสงค์ ทั้งนี้ก็ด้วยการบำเพ็ญอวิโรธนะของพระองค์นี้เอง

















ฑีกายุโก โหตุ มหาราชา

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน












Flag Counter




 

Create Date : 05 ธันวาคม 2555
7 comments
Last Update : 6 มกราคม 2558 11:18:44 น.
Counter : 6315 Pageviews.

 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

 

โดย: Saori_Chubby Chic 5 ธันวาคม 2555 9:55:34 น.  

 

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

 

โดย: panwat 5 ธันวาคม 2555 10:14:20 น.  

 

 

โดย: ชอบเที่ยว(ชอบกินด้วย) (Kozumochi ) 5 ธันวาคม 2555 17:32:23 น.  

 

เรื่องราวของพระองค์เป็นประวัติศาสตร์เลยค่ะ
คุณ MM หามาได้ละเอียดดีจัง
บางเรื่องไม่เคยเห็นภาพเลยล่ะค่ะ

 

โดย: พี่ยุ้ย PrettyNovember IP: 115.87.147.226 5 ธันวาคม 2555 22:10:23 น.  

 

ทรงพระเจริญ

 

โดย: I_am_umami 6 ธันวาคม 2555 13:41:00 น.  

 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

 

โดย: กฤศรดา IP: 61.19.52.134 5 กันยายน 2556 15:07:31 น.  

 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

 

โดย: เชา IP: 58.11.162.109 8 มกราคม 2557 16:02:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MM Story
Location :
Singapore / Bangkok / Sapporo - Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




free counters
New Comments
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2555
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add MM Story's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.