เฟดเดอร์บรอย








วันที่ 5 พฤษภาคม 2553

"ไทยเบฟเวอเรจ" เพลย์เมกเกอร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ประกาศลั่นเดินเกม "กินรวบ" ในทุกเซ็กเมนท์ โดยเฉพาะเซ็กเมนท์เบียร์พรีเมียม




กิจกรรมต่างๆ จึงต้องเดินหน้าอย่างเข้มข้นด้วยเม็ดเงินระดับพันล้าน โดยเฉพาะในไตรมาส 2 ที่จะโหมกระหน่ำด้วยกระแสอีเวนท์ใหญ่อย่าง World Cup 2010

ตลาดรวมของเบียร์ในปัจจุบัน แบ่งเป็นตลาดเบียร์สแตนดาร์ด 12% หรือราว 12,000 ล้านบาท อีก 84% หรือราว 84,000 ล้านบาทเป็นของเบียร์อีโคโนมี และอีก 4% เป็นตลาดเบียร์พรีเมียม มูลค่าราว 4,000 ล้านบาท

หากพิจารณาพอร์ตเบียร์ของไทยเบฟฯ จะเห็นว่าปัจจุบันครอบคลุมทุกเซ็กเมนท์แล้ว โดยเซ็กเมนท์ใหญ่อยู่ที่เบียร์อีโคโนมี แต่มีความจำเป็นต้องทำให้แต่ละเซ็กเมนท์มีความแข็งแกร่ง พร้อมๆ กับการแย่งแชมป์เบียร์อีโคโนมีคืนจากค่ายสิงห์

การเปิดแนวรุกในเซ็กเมนท์เบียร์พรีเมียมของไทยเบฟฯ จึงมีความหมาย เพราะถึงแม้จะมีตัวเลขไม่สูงแค่ 4% แต่แนวโน้วของตลาดเบียร์ในเซ็กเมนท์นี้มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

ข้อสำคัญมาร์จิ้น "สูงกว่า" เบียร์เซ็กเมนท์อื่น

จึงเป็นเหตุผลให้ใครต่อใครต่างอยากจะลงชิงชัยในตลาดเบียร์พรีเมียม

ดังนั้นหลังเล็งเห็นช่องว่างที่จะ "แทรกตัว" ในตลาดเบียร์พรีเมียม ไทยเบฟฯ จึงส่งเบียร์เฟดเดอร์บรอยมาเสริมทัพในตลาดนี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยหวังแย่งส่วนแบ่งการตลาดเบียร์พรีเมียมจากเบียร์สัญชาติฮอลแลนด์อย่างไฮเนเก้น ซึ่งผูกขาดตลาดเบียร์เซ็กเมนท์นี้อยู่กว่า 90%

ขณะที่ค่ายสิงห์ก็ได้ส่งเบียร์อาซาฮี ลงชิงชัยในตลาดนี้เช่นกัน

จะว่าไปแล้ว เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการไทยเบฟฯ เริ่มเห็นโอกาสของตลาดเบียร์พรีเมียมอย่างจริงจังเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงดึงนักการตลาดมือดีจากค่าย ”เป๊ปซี่” อย่าง ชาลี จิตจรุงพร มาช่วยทำการตลาดให้กับเบียร์เฟดเดอร์บอยด์ ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการไทยเบฟฯ

2 ปีของการทำตลาดถือว่า "สอบผ่าน" เพราะเบียร์เฟดเดอร์บรอยซึ่งมีจุดแข็งที่รสชาติแบบเยอรมัน มีความเบาของเบียร์ที่ดื่มได้ทุกโอกาส สามารถเบียดแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากเบียร์ไฮเนเก้นมาได้ราวๆ 2-3%

ถึงจะเป็นสัดส่วนไม่มาก แต่เป็นการ "ออกสตาร์ท" ที่น่าพอใจ

จึงต้องจับตาต่อถึงแผนรุกตลาดของเบียร์เฟดเดอร์บรอย โดยเฉพาะในปีนี้ที่ไทยเบฟฯ ตั้งเป้าเติบโตของยอดขายเบียร์เฟดเดอร์บรอยจาก 3 % เป็น 4-5% ให้ได้

"เติบโตเพียง 3% มองว่ายังน้อยไปน่าจะเติบโตได้มากกว่านี้ เราตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 4-5% เพิ่มขึ้นจากเมื่อครั้งเริ่มทำตลาดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมยังอยากเห็นตัวเลขเติบโตของเฟดเดอร์บรอยในระดับ 2 หลัก หรือราวๆ 10% ด้วยซ้ำ" ชาลี บอกเช่นนั้น

จากความเชื่อที่ว่าในปีนี้ ตลาดเบียร์มีโอกาสที่จะ "ดีดกลับ" จากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ผู้บริโภคเริ่มคลายเข็มขัดจากที่เคยรัดติ้ว ที่เคยดื่มเบียร์ราคาถูกก็จะหันมาดื่มเบียร์ราคาแพงขึ้น จึงน่าจะทำให้ตลาดเบียร์พรีเมียมเติบโตขึ้น

ที่สำคัญปีนี้ยังเป็นปีที่พิเศษ เพราะมีรายการกีฬาระดับโลกอย่าง World Cup ทำให้คน "ดื่มเบียร์ เชียร์บอล” มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายเบียร์ให้มากขึ้น

"ตลาดเบียร์พรีเมียมปีที่แล้วตกลงมา 10-11% เพราะคนหันมากินเบียร์ที่อยู่ในตลาดระดับกลางๆ ลงมา เพราะต้องการประหยัด แต่ปีนี้ตรงกันข้ามเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น บวกกับมีแข่งขันฟุตบอลโลกตลาดก็น่าจะโตได้ราวๆ 10-12% ส่วนตลาดรวมของเบียร์ก็น่าจะโตได้ 3-5% หากไม่มีปัจจัยอื่นๆ มากระทบ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองที่จะทำให้คนไม่อยากออกจากบ้าน"

ในการทำตลาดของเบียร์เฟดเดอร์บรอย ชาลีให้ข้อมูลว่า จะรุกตลาด Below the line มากขึ้น เพราะสินค้ากลุ่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถโฆษณาสินค้าได้โดยตรง ด้วยข้อจำกัดทางด้านกฎหมายของประเทศไทย

วิธีทำการตลาดของเฟดเดอร์บรอยจึงเน้นผ่านการสร้าง Brand Experience และสร้างความแตกต่างจากเบียร์ช้างให้ชัดเจน

โดยขณะที่เบียร์ช้างสื่อให้เห็นถึง "ความเป็นไทย" และเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีอายุ เฟดเดอร์บรอยจะเน้นความ "ต่าง โดน เท่ห์" กลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อาทิ นักศึกษา และคนทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-35 ปี ที่มีความมั่นใจ รักอิสระ ชอบความสนุกอย่างมีสาระ รักความท้าทาย มองหาสิ่งใหม่ๆ เติมเต็มชีวิต และมีไลฟ์สไตล์มีระดับในแบบของตัวเอง

กิจกรรมที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับเบียร์เฟดเดอร์บรอยจึงมักเป็นกิจกรรมหรูหรา ทันสมัย อาทิ สร้างประสบการณ์ให้กับนักดื่มผ่านช่องทางร้านอาหาร เกรด A และ B เน้นโฆษณาผ่านช่องทางใหม่ๆ อย่างเวบไซต์ซึ่งเป็นช่องทางที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าถึงได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นเบียร์เยอรมัน

ปลายปีนี้ไทยเบฟฯ ยังมีแผนเปิดลานเบียร์เฟดเดอร์บรอยย่านใจกลางเมืองประมาณ 100 แห่งเพื่อให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะในย่านศูนย์การค้าดังๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

“ต่อจากนี้ไปคงจะจัดกิจกรรมโดยนำคอนเสิร์ตจากต่างประเทศมาเล่นมากขึ้น พร้อมไปกับการออกบูธ เพื่อทำให้เบียร์ดูมีความเป็นอินเตอร์มากขึ้น รวมทั้งการจัดรูปแบบงานที่เหมือนกับเทศกาลเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมันคืองาน Oktoberfest ก็น่าจะทำให้คนรู้จักเบียร์ยี่ห้อนี้เยอะขึ้น” ชาลีเปิดกลยุทธ์ให้ฟัง

แผนต่อมาคือ การนำนวัตกรรมทางความคิดใหม่ๆ มาใช้ เรียกว่าเป็นการแต่งตัวใหม่ให้กับเฟดเดอร์บรอย เพราะจะมีการออกแพ็คเกจใหม่ "เฟดเดอร์บรอยขนาด 5 ลิตร" จำหน่ายเฉพาะในร้านอาหาร ผับ เกรด A ตลอดจนการจับมือกับพันธมิตรอย่างรถมินิ คูเปอร์

ชาลีอธิบายว่า เป็นการต่อยอดความทันสมัยที่รถมินิ คูเปอร์ ให้ความรู้สึกเช่นนั้นอยู่แล้ว โดยเขาจะมีกิจกรรมที่เรียกว่า Mini Club Man เมื่อมีกิจกรรม ทั้งเบียร์เฟดเดอร์บรอยและมินิ คูเปอร์ ก็จะไปด้วยกัน

"เราจะจัดทั้งหมด 8 ครั้ง 8 ผับ เรียกกิจกรรมนี้ว่า Advanture Party"

เขายังเห็นว่า กิจกรรมต่างๆ ที่ทางพรีเมียมเบียร์น้องใหม่โดดลงมาเล่นเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง น่าจะมีส่วนในการกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มตามเป้าหมาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เหมือนกับเบียร์ช้างที่แยกออกมาเป็นซับเซ็ต คือ เบียร์ช้างคลาสสิค ช้างไลท์ และช้างดราฟท์ เนื่องจากเฟดเดอร์บรอยยังมีส่วนแบ่งการตลาดไม่มากเมื่อเทียบกับเบียร์ช้าง

“ถ้าเราทำเฟดเดอร์บรอยให้มีหลายๆ รูปแบบเหมือนเบียร์ช้างที่มีทั้งคลาสสิค ไลท์ และดราฟท์ แบบนี้มันต้องใช้เวลาพอสมควร ที่สำคัญแบรนด์ต้องใหญ่มาก ลงทุนเยอะ มีกิจกรรมต่อเนื่อง อย่างเฟดเดอร์บรอยยังถือว่าเป็นแบรนด์เล็กๆ จึงต้องใช้อีกโมเดลในการขับเคลื่อน นั่นคือ การอัดกิจกรรมลงไปอย่างต่อเนื่อง เล่นกับผู้บริโภคให้เข้าถึงตรง และแรง

ถ้าจะวัดความสำเร็จจากสิ่งที่ทำมาทั้งหมดนี้ว่าประสบความสำเร็จไหม ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณการจำหน่าย แต่อยู่ที่ว่าคนพูดถึงเรากันเยอะไหม ถ้าคนพูดถึงเยอะนั่นคือความสำเร็จ” ชาลีสรุป

นอกจากนี้ แม้เฟดเดอร์บรอยจะเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยมาแล้วกว่า 2 ปี และมาร์เก็ตแชร์ยังมีสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับไฮเนเก้น แต่ไทยเบฟฯ กลับมอง "คนละมุม" ว่า การที่สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากไฮเนเก้นมาได้ และคนดื่มไฮเนเก้นก็สามารถดื่มเฟดเดอร์บรอยได้อีก

“มันอยู่ที่ใครวางหมากได้ดีกว่ากัน เรื่องการแข่งขันของตลาดเบียร์มันอยู่ที่การสร้างภาพเป็นหลัก ซึ่งเราพยายามทำอยู่ในขณะนี้” ชาลีบอกและว่า

หากหันมามองแนวทางการทำตลาดของเบียร์ช้าง เรียกได้ว่าลอยลำไปแล้วจากความแข็งแกร่งของแบรนด์ช้างซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ทำให้แทบไม่ต้องทำการตลาดเรื่องแบรนด์มากนักเมื่อเทียบกับเฟดเดอร์บรอย เพียงแต่ตอนนี้เบียร์ช้างหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างภาพลักษณ์ใหม่มากขึ้นเท่านั้น

ภาพลักษณ์ใหม่ที่ว่านี้ ชาลีขยายความว่า เบียร์ช้างพยายามที่จะสลัดภาพความเป็นสินค้าแอลกอฮอล์ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วสินค้าก็บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นสินค้าแอลกอฮอล์ โดยกลยุทธ์ของเบียร์ช้าง คือ การเน้นกิจกรรมที่เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น (corporate social responsibility : CSR) ภายใต้แนวคิด...The One คนไทยหัวใจเดียวกัน

"ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาเบียร์ช้างเงียบเหงาไปบ้าง ปีนี้ช้างเลยอยากจะโชว์ โดยอิงกับเหตุการณ์ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เช่น ตอนนี้ช้างก็มีโครงการคัดเลือกหนุ่มสาวกว่า 600 คนให้เหลือเพียง 6 คน เพื่อมาร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับเบียร์ช้างโดยกิจกรรมนั้นจะสื่อถึงความเป็นไทยให้มากที่สุด"

หนุ่มสาวทั้ง 6 คนจะกลายมาเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์เบียร์ช้างทั้ง 3 แบบ ตรงนี้จะช่วยสื่อภาพลักษณ์ของเบียร์ช้างให้คนเห็นว่าทำอะไรเพื่อสังคมและจะมีการบันทึกสถิติโลกด้วย โดยผ่านกลุ่มหนุ่มสาวตัวแทนทั้ง 6 คน ชาลีระบุ

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมด้านกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ที่เบียร์ช้างจะเข้าไปสนับสนุนถึง 12 ทีม เช่น ขอนแก่น ชลบุรี ราชประชา บุรีรัมย์ เป็นต้น นอกเหนือจากการเป็นสปอนเซอร์ในทีมพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ

ชาลีอธิบายต่อว่า กิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งหมดมีผลอย่างมากต่อยอดขายของกลุ่มเบียร์ เพราะยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการที่คน "จดจำ" แบรนด์ได้มากขึ้น วัดได้จากรายงานที่ไทยเบฟฯให้ทาง IPSOS (Thailand) ไปศึกษาเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2552 พบว่า ผู้บริโภคจดจำแบรนด์สินค้าภายหลังจากการใช้สื่อโฆษณาในรูปแบบต่างๆ โดยช้างดราฟท์ มีการจดจำแบรนด์เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 22% เบียร์ช้างจาก 25% เป็น 32%

ขณะเดียวกันคู่แข่งในตลาดเองก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยเบฟฯ ต้องออกมาเล่น โดยเฉพาะในกลุ่มเบียร์ในตลาดอีโคโนมี ที่สัญญาณการแข่งขันยังรุนแรงอยู่

ล่าสุดเบียร์ลีโอของค่ายสิงห์ เบอร์หนึ่งในตลาดอีโคโนมีเข้ามาเล่นในตลาดนี้มากขึ้น โดยนำกลยุทธ์เรื่องราคา 3 ขวด 100 บาท กลับมาตีตลาดเบียร์ช้างในแถบต่างจังหวัดตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ค่ายไทยเบฟฯ จึงแก้เก้อว่า การใช้กลยุทธ์เรื่องราคาเป็นอะไรที่เรียบง่ายที่สุด ใครๆ ก็สามารถทำได้

“จะบอกว่าเราเพลี่ยงพล้ำให้กับลีโอไหม มันก็เร็วเกินไปที่จะบอก แต่เราเองพยายามเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่า เน้นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ เพราะเราผ่านจุดการเล่นเรื่องราคาไปแล้ว อย่างตอนนี้ก็เข้าไปสนับสนุนทีมฟุตบอลมากขึ้น เพราะนั่นคือแนวทางในการสร้างแบรนด์ และสร้างภาพพจน์ใหม่ๆ” ชาลีบอก

ในส่วนของงบการตลาดเฉพาะในกลุ่มเบียร์ช้างทั้ง 3 ซับเซ็ต ได้แก่ ช้างคลาสสิก ช้างดราฟท์ และช้างไลท์ ทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 800-1,000 ล้านบาท ซึ่ง 1 ใน 4 ของงบทั้งหมดจะเป็นงบที่ใช้ในกิจกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ส่วนเฟดเดอร์บรอยจะใช้งบเพียง 80-90 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากเน้นลงไปเล่นกับผู้บริโภคโดยตรง ไม่ต้องลงทุนผ่านมีเดีย

กิจกรรมรุกรอบด้านก็เพื่อเป้าหมาย "ทวงแชมป์" เจ้าตลาดเบียร์คืนจากคู่แข่งให้ได้ใน 2 ปี

"ยอดขายเบียร์ช้างปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีมาร์เก็ตแชร์กว่า 40% ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสร้างภาพให้กับแบรนด์ โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะกลับมาทวงแชมป์คืนให้ได้"

นอน แอลกอฮอล์ ครบวงจร

หลังจากที่กลุ่มแอลกอฮอล์ทำได้ครบทุกเซ็กเมนท์แล้ว โดยลึกๆ เจ้าสัวเจริญยังต้องการให้ไทยเบฟฯ เป็นผู้ผลิตสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ครบวงจร

เพื่อตอบสนองความต้องการของทุกคน ในทุกที่ทุกโอกาส ไม่ว่าจะอยากดื่มเบียร์ น้ำ โซดา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ ฯลฯ

ตอนนี้กลุ่มเครื่องดื่มที่ปราศจากแอลกอฮอล์ของไทยเบฟฯ ประกอบด้วย โซดาช้าง กาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มแบล็คอัพ เครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ เครื่องดื่มเกลือแร่พาวเวอร์พลัส น้ำผลไม้ฟรุ๊ตเน็ต

รวมทั้งน้องใหม่อย่าง "น้ำดื่มตราช้าง" ที่ไทยเบฟฯ มีวิสัยทัศน์ที่จะให้น้ำดื่มช้างเป็น Total Drinking Water Solution หมายถึง การเป็นน้ำดื่มสะอาดใสที่มอบความมั่นใจให้ผู้บริโภค

ในช่วง 5 ปีนับจากนี้ (2553-2558) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเติบโตให้ได้ 10% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาทของรายได้รวมในกลุ่มเครื่องดื่มทั้งหมด ขณะที่ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 2,000 ล้านบาท

มารุต บูรณะเศรษฐกุล รองกรรมการผู้จัดการไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง บอกว่า ในปีนี้ตั้งเป้าหมายยอดขายน้ำดื่มช้างไว้ที่ 1,800 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 10% ของมูลค่าตลาดรวมที่มีประมาณ 18,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดขายราว 800 ล้านบาท โดยเห็นว่าตลาดน้ำดื่มในไทยยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไทยมีอัตราการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจัยที่จะทำให้รายได้ในส่วนของน้ำดื่มช้างเพิ่มขึ้นคือ แคมเปญสื่อสารการตลาดให้น้ำดื่มช้างเป็นที่รู้จักของกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ซึ่งไทยเบฟได้ใช้งบราว 100 ล้านในสื่อต่างๆ เช่น หนังโฆษณาทางทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สื่อกลางแจ้ง และจะใช้รายการขาย (Trade deal & promotion) ที่ดึงดูดใจ เพื่อผลักดันน้ำดื่มช้างผ่านเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังมีแคมเปญร่วมกับโซดาช้าง ภายใต้ชื่อ “ช้าง พาลุยบอลโลก” พาผู้โชคดี 5 คู่ไปชมฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งแคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 20 พฤษภาคม และยังมีการจัดโครงการเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อ “มหัศจรรย์ น้ำดื่มช้าง ล้านขวด ล้านน้ำใจ” ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

ส่วนแผนต่อไปไทยเบฟฯ จะทำการตลาดในกลุ่มของเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งจะเน้นการทำตลาดในต่างประเทศเป็นหลัก





------------






สิงหาคม 2551




ไทยเบฟ ปั้น เฟดเดอร์บรอย เติมเต็มยุทธศาสตร์ Premiumization


ดูเหมือนว่า เป้าหมายสำคัญของการออกเบียร์พรีเมียมตัวใหม่ “เฟดเดอร์บรอย” ของค่ายไทยเบฟเวอร์เรจ ไม่ได้ขีดวงอยู่แค่การมีส่วนแบ่งในตลาดเบียร์พรีเมียมที่มีไฮเนเก้นครองตลาดอยู่ให้ได้ 5% ในปีแรก

แต่เบียร์ตัวนี้ยังเป็นตัวเติมเต็มให้การวางยุทธศาสตร์ Premiumization ของไทยเบฟ สมบูรณ์แบบมากขึ้น เพราะเบียร์ตัวนี้เป็นตัวแรกที่มีการปูทางและสร้าง DNA ให้เป็นพรีเมียมอย่างแท้จริง เพื่อที่จะเป็นแฟลกชิพ ในการ

ยกระดับให้เบียร์แบรนด์อื่นๆ ในพอร์ตให้มีอิมเมจที่สูงขึ้น ไม่ติดอยู่กับวังวนของการเป็นเบียร์ราคาถูกเพียงอย่างเดียว....
การสวมบทบาทเบียร์ตัวแรกในการตะลุยเปิดตลาดพรีเมียมของเฟดเดอร์บรอยในครั้งนี้ จึงมีการทุ่มเทอย่างเต็มที่โดยเฉพาะงบการตลาดที่ใช้ในปีแรกนี้ถึง 200 ล้านบาท เพื่อแลกกับภาพพจน์และส่วนแบ่งตลาด


5% โดยมีไฮเนเก้นเป็นด่านทดสอบที่สำคัญในการยกระดับภาพพจน์ในครั้งนี้

ไทยเบฟเวอร์เรจ มีการวางยุทธศาสตร์ในเรื่องของการยกระดับของแบรนด์ในพอร์ตทั้งเหล้าและเบียร์และเริ่มลงมีปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา การลงรายละเอียดในส่วนของเบียร์ที่เห็น

โดดเด่นก็คือ การทำ Brand Development ในส่วนของแบรนด์ช้าง ที่เริ่มมีการออกเบียร์ตัวใหม่ๆ ที่มีภาพพจน์เกาะกับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นช้างไลท์ หรือ ช้างดราฟท์ ที่ทำตลาดในเช็กเม้นต์เบียร์สแตนดาร์ด

ด้วยการที่เบียร์ช้าง อยู่ในตลาดแมส และมีภาพของการเป็นเบียร์ราคาถูก มานาน การยกภาพพจน์ในส่วนดังกล่าวน่าจะต้องใช้เวลาพอสมควรการก้าวข้ามมาในแอเรียที่ไทยเบฟยังไม่เคยเข้ามาทำตลาดอย่างเบียร์

พรีเมียม จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มาพร้อมกับการปั้มแบรนด์ เฟดเดอร์บรอยขึ้นมาเบียร์ตัวนี้เป็นแบรนด์ที่ไทยเบฟ สร้างขึ้นมาเองโดยใช้มาตรฐานของเบียร์เยอรมันมาเป็นตัวชูโรงในเรื่องของคุณภาพของสินค้า ที่ทำตามกฎ

ปฏิบัติของการเป็นเบียร์คุณภาพของเยอรมันคือ ต้องมีส่วนประกอบสำคัญจากธรรมชาติ 4 อย่างเป็นส่วนผสม คือ น้ำ ฮอป ยีสต์ และ มอลต์โดยมีดีกรีอยู่ที่ 4.7 ดีกรี ซึ่งเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ที่ใกล้เคียงกับเบียร์

พรีเมียมทั่วไป

แม้ตลาดเบียร์พรีเมียม จะมีสัดส่วนในแง่ของวอลุ่มแค่ประมาณ 5% ของตลาดเบียร์ปริมาณกว่า 2,000 ล้านลิตร หรือคิดเป็น 5% ของตลาดเบียร์ แต่ความน่าสนใจของตลาดนี้ อยู่ที่ในเรื่องของการสร้างภาพพจน์ซึ่งการเข้าสู่ตลาดเบียร์ในเซ็กเม้นต์นี้ นอกจากจะทำไทยเบฟกลายเป็นบริษัทเบียร์ที่มีสินค้าครบพอร์ตตั้งแต่อีโคโนมี่จนถึงพรีเมียมแล้วในอนาคตอันใกล้ ยังทำให้พอร์ตคนดื่มของค่ายนี้ ขยายมาสู่กลุ่มคนที่เป็นคนรุ่นใหม่ๆในเมืองมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งตรงกับยุทธศาสตร์ที่ไทยเบฟวางเอาไว้พอดี การทุ่มเทในการสร้างแบรนด์เฟดเดอร์บรอยซึ่งเป็นแบรนด์น้องใหม่ในรอบหลายปีของไทยเบฟจึงมีออกมาอย่างเต็มสรรพกำลัง

อย่างไรก็ตาม ไทยเบฟ อยู่ในตลาดแมสมานาน จึงยังคงมีภาพเก่าๆ ที่ติดตัวมา การทำตลาดของเฟดเดอร์บรอยในช่วงแรกจึงแทบจะไมมี่ภาพของไทยเบฟเข้ามาเจือปน ชนิดที่เรียกได้ว่า เป็นการข้ามไปสู่แอเรียใหม่

โดยไม่มีพี่ใหญ่อย่างเบียร์ช้างเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน ซึ่งข้อแตกต่างในการทำตลาดระหว่างเบียร์พรีเมียมกับเบียร์ในตลาดล่างมีค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะในเรื่องของภาพพจน์ของแบรนด์ที่ต้องเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

เป้าหมาย

เฟดเดอร์บรอย เริ่มมีการทำ “ซอฟต์ลอนช์” ไปเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ด้วยการเข้าไปจัดกิจกรรมในผับของกลุ่มเป้าหมายที่เป็น Trendy เพื่อที่จะสื่อถึงภาพพจน์ และบุคลิกของแบรนด์ ที่เป็นเบียร์สำหรับกลุ่มคน

ที่อินเทรนด์มีอายุระหว่าง 21-29 ปี ผ่านทางกิจกรรม “เฟดเดอร์เวนเจอร์” ที่เป็นการมอบประสบการณ์ความสนุกสไตล์ผจญภัยแบบเท่ๆ มีเสน่ห์

คุณชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัทไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เฟดเดอร์บรอย ตามภาษาเยอรมัน แปลว่า เบียร์ขนนก ซึ่งจะถูกใช้เป็น Identity ที่สร้างความแตก

ต่างจากเบียร์พรีเมียมที่มีอยู่ในตลาดซึ่งขนนกสีแดง จะแสดงความหมายถึงความเป็นเบียร์ของคนที่ชอบความแปลกใหม่ ชอบการผจญภัย ตื่นเต้นแต่ไม่ไร้สาระ ซึ่งกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เฟดเดอร์บรอย จะประกอบไป

ด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ หนึ่ง ตัวโปรดักต์ ที่เป็นเบียร์พรีเมียมที่มีความแตกต่างในเรื่องของการเป็นเบียร์ที่ผลิตตามมาตรฐานของการเป็นเบียร์เยอรมัน สอง ชื่อแบรนด์ ที่จะถูกใช้ผ่านการทำกิจกรรมการตลาดในรูปแบบต่างๆ และสาม กิจกรรมการตลาดที่แปลกใหม่ เข้าตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย

“การเป็นผู้ท้าชิงที่เข้ามาใหม่ในตลาด มีข้อได้เปรียบตรงที่รู้ว่า ผู้นำตลาดเขาทำตลาดแบบใหม่ เพื่อนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง อย่างในความเป็นพรีเมียมเบียร์ จะถูกรับรู้

ด้วยสีของขวดที่เป็นสีเขียวที่ลีดเดอร์เขาสามารถยึดตรงนั้นไปได้สำเร็จแล้ว เราจึงต้องหันมาสร้างความแตกต่างผ่านความรู้สึก อย่างตัวขนนกสีแดง เมื่อเห็นสัญลักษณ์นี้ จะทำให้นึกถึงความท้าทาย

แปลกใหม่ ของเฟดเดอร์บรอย ซึ่งจะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการรับรู้แบรนด์ของเรา”

ตลอด 2-3 เดือนของการทำซอฟต์ลอนช์ เฟดเดอร์บรอยสามารถ “ล็อก” ผับที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเที่ยวได้ตามเป้าที่วางไว้ หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยการลอนช์หนังโฆษณาทางทีวีปลายเดือน

กรกฎาคมนี้ จะมีการรุกเข้าทำกิจกรรมในส่วนของ “ออฟ เทรด” หรือช่องทางโมเดิร์นเทรดมากขึ้น โดยมีการเตรียมการตั้งกองโชว์ การดิสเพลย์สินค้า รวมถึงการเตรียมพริตตี้ไว้ 200 คน เพื่อเข้าไปสร้างสีสันในผับเป้า

หมายหลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

ในตลาดเบียร์พรีเมียม ไฮเนเก้น ครองความเป็นผู้นำตลาดค่อนข้างจะทิ้งห้าง มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ในมือร่วม 90% เนื่องจากคู่แข่งขันรายอื่นๆ แทบจะไม่มีความเคลื่อนไหวในแง่ของการทำกิจกรรมการตลาด แม้

ลีดเดอร์จะค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่ก็น่าจะมีช่องว่างพอให้กับรายใหม่ๆ ที่มีความพร้อมในเรื่องของงบการตลาด ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหน คงต้องขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ทั้งในเรื่องของภาพพจน์ กิจกรรมการตลาด และ

รสชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนในการชี้ผลแพ้ชนะในการแข่งขันด้วย

การถูกวางให้เป็นแบรนด์แรกในการนำพาภาพพจน์ของเบียร์ในพอร์ตตัวอื่นๆ ให้โดดเด่นขึ้น คงเป็นเครื่องการันตีได้ในระดับหนึ่งว่า งานนี้ ไทยเบฟ เต็มที่กับที่มั่นใหม่ที่มีการเดิมพันด้วยยุทธศาสตร์ระยะยาวของบริษัท... ®




------------------



ตุลาคม 2551


ประสบการณ์ 21 ปีในตลาดน้ำดำ “ชาลี จิตจรุงพร” อดีตผู้บริหารเป๊ปซี่ ไทย เชื่อมั่นว่า เขาจะบุกเบิก FEDERBRAU เบียร์น้องใหม่สูตรเยอรมันของค่ายไทยเบฟฯ ให้อยู่ในใจผู้บริโภคได้ แม้ว่าภารกิจครั้งนี้ของเขาต้องเปลี่ยนจากผู้นำมาเป็นผู้ตามที่ต้องวิ่งไล่ตามคู่แข่งอย่างไฮเนเก้น ที่ครองตลาดกว่า 90%

อะไรทำให้คุณตัดสินใจมาทำงานที่ไทยเบฟฯ
ประสบการณ์ที่เป๊ปซี่ทำให้ผมสามารถนำมาใช้กับสินค้าอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับน้ำ เบียร์กับเป๊ปซี่ สินค้าอาจจะต่างกัน แต่ว่ามันก็มีความคล้ายกันหลายอย่าง

ด้วยประสบการณ์ที่เป๊ปซี่ เอามาใช้เป็นประโยชน์เผยแพร่หลายและแชร์กับคนอื่นได้มันสนุกดี มาทำกับสินค้าที่ใหม่ซึ่งเราเคยทำแต่สินค้าที่เป็นเบอร์หนึ่ง 20 กว่าปี และสินค้าใหม่ทำให้เรานั้นอยากจะลอง มันท้าทาย

POSITIONING : สิ่งแรกที่คุณชาลีทำในไทยเบฟฯ
ชาลี : ต้องมีทีมเวิร์คที่ดีก่อน ก็เหมือนกับทีมฟุตบอล ผมอาจจะอยู่กองหน้า อีกคนอาจอยู่กองหลัง ถ้ากองหลังไม่ส่งบอลให้กองหน้า กองหน้าจะยิงได้อย่างไง แต่ถ้าเราไม่มีทีมเวิร์คเราจะเข้าใจกันได้อย่างไรสำหรับคนที่มีประสบการณ์มาแล้วจะมีข้อได้เปรียบอยู่บ้าง แต่ว่าการปรับตัวก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าบอกว่าประสบการณ์เราเข้มข้น แต่เราไม่ปรับตัวแล้วจะทำงานกับใครก็ลำบาก

POSITIONING : คนแบบไหนที่จะเหมาะกับการทำตลาดเบียร์ FEDERBRAU หรือ คุณชาลีคิดว่า Culture องค์กรควรเป็นแบบไหน
ชาลี : ต้องเป็นคนที่เข้าใจบทบาทของผู้บริโภค คนอายุ 70 ปี ก็สามารถทำ FEDERBRAU สำเร็จได้ ถ้าเขามีความคิดเหมือนคนอายุ 20-30 ปี และตอนนี้ทีมงานก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จริงๆ แล้ว แนวคิดในการทำตลาดเบียร์ และน้ำอัดลมก็คล้ายๆ กัน ไม่ต่างกันมาก ต่างกันที่ช่วงอายุของลูกค้า น้ำอัดลมลูกค้าจะเป็นกลุ่มวัยรุ่นวัย 12-18 ปี ส่วนเบียร์เริ่มที่ 21-22 ปี

POSITIONING : ประสบการณ์ 21 ในเป๊ปซี่ คุณชาลีนำมาใช้กับการทำตลาดเฟดเดอร์บรอยอย่างไรบ้าง
ชาลี : ประสบการณ์ก็คือการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ทำให้เรารู้ว่าอะไรควรจะเริ่มทำก่อนทำหลัง การแข่งขันของเป๊ปซี่ และตลาดเบียร์มันไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่ แต่ขึ้นอยู่ว่าจะใช้กลยุทธ์ไหน และใช้เมื่อไหร่ ซึ่งประสบการณ์ทำให้เรารู้ว่าต้องแข่งอย่างไง ต้องทำแต้มอย่างไร นั่นคือหลักการที่นำมาใช้ และไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำหรือผู้ตาม คุณต้องมีความคิดริเริ่มที่แตกต่าง เป๊ปซี่เราใช้ดนตรี กีฬา เป็นสื่อในการทำการตลาด แต่สำหรับ FEDERBRAU อาจจะไม่ใช้ดนตรีและกีฬา เพราะว่ามันเป็นของคนอื่น เรามีกิจกรรมใหม่ๆ เช่น โฆษณาผมเลือกใช้ Out Door มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ของตลาดเบียร์

POSITIONING กลุ่มเป้าหมายหลักของ FEDERBRAU
ชาลี : อายุ 22-30ปี ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนุ่มสาวที่เป็นโสด เป็น First Jobber เพิ่งออกจากการดื่มน้ำอัดลม และเริ่มหัดดื่มเบียร์ทีละนิดทีละหน่อย เริ่มจากแอลกอฮอล์ต่ำก่อน แล้วค่อยเป็นเหล้าจากนั้นก็เป็นไวน์ คนดื่มเหล้าส่วนใหญ่มีอายุ 25 ปี แต่ถ้าอายุ 20 ต้นๆ จะดื่มเบียร์ เพราะกินง่ายแอลกอฮอล์ต่ำ

POSITIONING : การวาง แบรนด์โพสิชันนิ่งของ FEDERBRAU มีหลักคิดอย่างไร
ชาลี : FEDERBRAU ถูกวางไว้เป็นเบียร์ระดับพรีเมียม สำหรับคนทันสมัย ชอบผจญภัยไม่โลดโผนมากนัก ถ้าพูดถึงเบียร์พรีเมียมในตลาด แม้สัดส่วนเบียร์พรีเมียมจะมีแค่ 4-5% ของตลาดเบียร์โดยรวม ซึ่งไฮเนเก้นครองตลาด 90% ถือว่าแข็งมาก เพราะเป็นยี่ห้อเดียวที่ทำกิจกรรมต่อเนื่อง ถ้าจะเอาชนะไฮเนเก้นได้ต้องสร้างอะไรที่แตกต่างไป

ไฮเนเก้นนั้น เป็นเบียร์แบบเท่ เพราะคนดื่มเบียร์ระดับพรีเมียมภาพลักษณ์ต้องมาก่อน ซึ่งเฟดเดอร์บรอยก็ต้องเท่ แต่ต้องแตกต่าง คือ จะเน้นผจญภัยไม่โลดโผนนัก เน้นเท่แบบการทำความดี ถ้าดูจากหนังโฆษณาจะเห็นการทำความดีของวัยหนุ่มสาวและคนแก่นั้นแตกต่างกัน สำหรับหนุ่มสาวนั้นภาพลักษณ์ต้องมาก่อน อย่างในหนังเขาทำความดีโดยการเก็บพาสปอร์ตที่มีคนทำหล่น แล้วส่งคืนเจ้าของ ซึ่งคาแร็กเตอร์ของตัวละครก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการทำความดีแบบนอบน้อมแต่เป็นลักษณะหนุ่มสาวที่กวนๆ นิดๆ ดูดีมีบุคลิก นี่คือแนวโฆษณา มูทแอนด์โทน ของเรา

ช่วงแรกมีอุปสรรคเยอะสำหรับการสื่อสารให้คนรับรู้ว่า FEDERBRAU ยากพอสมควร เพราะตอนนี้กฎหมายเข้มข้นมากขึ้น ไม่สามารถพูดอะไรได้ ขวดเบียร์ก็ชูไม่ได้ เราต้องเน้นเรื่องของการทำประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งการทำความดีคือการทำประโยชน์อย่างหนึ่ง

POSITIONING อะไรคือความท้าทายที่สุดของเฟดเดอร์บรอย
ชาลี : FEDERBRAU คือเป็นผู้ตาม ทำอย่างไรถึงจะตามแบบไล่กวดผู้นำได้ นั่นคือความท้าทายที่สูงสุด

POSITIONING : ให้เวลาสำหรับการแข่งขันครั้งนี้อย่างไร
ชาลี : ตอนนี้เราแค่เริ่มต้นไม่ได้คิดที่จะเป็นผู้นำหรอก แต่สิ่งแรกที่จะต้องทำต่อไปคือ ให้สินค้าเป็นที่รู้จักในตลาดก่อน จากนั้นก็ค่อยมาเรียนรู้ เพราะในขณะที่เราปรับเปลี่ยนคู่แข่งเขาก็เปลี่ยนเหมือนกัน เราต้องเรียนรู้ว่าเขาปรับอย่างไง และต้องเดินหน้าเขาตลอดเวลา

POSITIONING : เมื่อคู่แข่งใช้ดนตรี และกีฬาแล้ว เราจะใช้ธีมอะไร
ชาลี : เราก็ไม่ต้องไปยึดหลักดนตรีและกีฬามากเกินไป แต่ต้องยอมรับว่าดนตรีและกีฬาก็เป็นไลฟ์สไตล์ของเราทุกคน เราอาจต้องยึดไลฟ์สไตล์เป็นหลัก แต่ ไม่เจาะลึกมากจนเกินไป

เราต้องทำตอนนี้ให้ดีที่สุด แต่เราเชื่อว่าเรามาจากมวยรองเรามีโอกาสเยอะ แต่เราต้องเลือกในสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพราะว่าแบรนด์เราอายุได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น ส่วนของเขาอายุตั้ง 10 ปี เขาก็คงใช้เวลาทำนานเหมือนกัน เราก็มีตารางในการเดินทางของเรา เช่นตอนนี้เราทำดนตรีไปก่อน ซึ่งไม่สามารถบอกเป็นระยะเวลาได้ว่า จะเริ่มทำกีฬาเมื่อไหร่ เพราะขึ้นอยู่กับการแข่งขัน เช่นถ้าเขามาแรง เราก็ประเมินและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตลอดเวลา เราต้องหัดเดินก่อน ก่อนที่จะวิ่ง เพราะว่าดนตรีและกีฬาเป็นกิจกรรมที่คนให้เวลากับมันมากที่สุด เราต้องแยกให้ออกว่าสิ่งที่อยากทำ กับสิ่งที่จำเป็นต้องทำ

POSITIONING : เปรียบเทียบกับคู่แข่ง จุดอ่อนจุดแข็งของเรากับคู่แข่ง
ชาลี : Product แพ็กเกจจิ้งเราออกมาดี เราใช้ขวดสีเขียวเพราะเป็นสีแห่งความพร้อม เรามีจุดเด่นคือขนนก เป็นคอนเซ็ปต์โลโก้ทำให้คนเห็นชัด ซึ่งเราใช้บริษัทต่างประเทศในการออกแบบ ใช้เงินเยอะพอสมควร ในระยะสั้นนี้ 6 เดือน ข้างนอกมีคนรู้จักว่าเป็นเบียร์ขนนกแดง แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกว่าประสบความสำเร็จแล้ว น้ำเบียร์ก็เป็นเบียร์ที่อ่อนกินง่าย ซึ่งก็เหมือนกับเบียร์พรีเมียมทั้งหลาย

ยี่ห้อ FEDERBRAU ถามยากไหมในการเรียก ก็ถือว่าไม่ง่าย แต่อย่าลืมว่า ไฮเนเก้นเมื่อ 10 ปีก่อน คนก็อ่านไม่ออก แต่ด้วยการโปรโมตบ่อยๆ คนก็จำได้ สำหรับ FEDERBRAU ตอนนี้คนก็ค่อยๆ เรียนรู้

POSITIONING : ทำไมต้องให้ผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นเบียร์ของต่างประเทศ
ชาลี : ถ้าเป็นเบียร์ระดับพรีเมียม คนไทยจะชื่นชอบและยอมรับเบียร์ต่างประเทศ จะเห็นเลยว่า ราคาของเราก็เท่ากับไฮเนเก้น ต้องถือว่าเราใจกล้ามาก เพราะการเป็นแบรนด์เกิดใหม่แต่ไปยืนราคาเท่ากับคู่แข่งไม่ใช่เรื่องง่าย คนมักจะมองว่าแบรนด์น้องใหม่ต้องถูกกว่า แต่เมื่อเรามีความเชื่อมั่นในสินค้าเรา สามารถทำให้เราวางราคาประกบคู่แข่งได้

POSITIONING : ถ้าราคาถูกกว่า โอกาสการขายน่าจะง่ายกว่า
ชาลี : คนที่กินเบียร์พรีเมียมต้องมีเงิน ไม่ใช่ รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำ ฉะนั้นเราจึงวางราคาของสินค้าให้เหมาะกับภาพลักษณ์ของเรา มันก็มีคนที่สามารถซื้อได้

POSITIONING : โปรโมชั่นก็ยาก เพราะมีกฎหมายห้ามไว้ เราแก้โจทย์นี้อย่างไร
ชาลี : สิ่งที่เราทำได้คือการ Sampling ก็คือรูปแบบหนึ่งของการโปรโมชั่น ให้คนได้ทดลองสินค้า และกิจกรรม Federventure ก็สามารถสร้างการรับรู้และให้คนทดลองได้ในเวลาเดียวกัน การจัดกิจกรรมใครๆ ก็ทำได้ แต่สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอ และต้องโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น Federveture ที่มีกิจกรรมทุกอาทิตย์ การที่เราทำไปเรื่อยๆ ทำให้คนเริ่มรู้ว่าเราทำอะไร

POSITIONING : แบ่งสัดส่วนการให้น้ำหนักกับการใช้สื่อ
ชาลี : ต้องเป็นสื่อที่คนหนุ่มสาวเขาดูกัน เช่น รายการ Chic Channel และชาแนลวี เพราะว่าคนกลุ่มนี้เขาชื่นชอบแฟชั่น เมื่อสื่อทีวีมีกฎเกณฑ์เยอะ เราก็หันไปใช้สื่อ Out Door มากขึ้นเพราะว่าหนุ่มสาวดูทีวีน้อยลง เวลาดูทีวี เขาก็ทำหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน เช่น ดูทีวี คุยโทรศัพท์ เล่นคอมฯ ทำให้สื่อประเภทนี้มีประสิทธิภาพน้อยลง เราต้องหาสื่ออื่นที่คนเห็นบ่อยขึ้น เช่น Out Door รถบัส สื่อประเภทนี้จะมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งผมเริ่มทำตั้งแต่เป๊ปซี่ เช่น โฆษณาบนรถไฟฟ้า มันตระการตามาก เพราะเป้าหมายแรกของเราคือต้องการให้คนเห็นแบรนด์ เป็นการสร้าง Awareness ก่อน

ตอนนี้เริ่มทำเว็บเป็นช่องทางสื่อสารที่ค่อยๆ สำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะตลาดออนไลน์โตเร็วมาก เว็บของเฟดเดอร์บรอยตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น มีทั้งรายละเอียดสินค้า ให้คนเข้าไปโพสต์รูปได้ สามารถลงทะเบียนร่วมกิจกรรม Federventure Party ได้

POSITIONING : วางแนวทางของออนไลน์ไว้อย่างไร
ชาลี : ออนไลน์เป็นสื่ออันหนึ่งที่สามารถเข้ากับวัยหนุ่มสาวได้เป็นอย่างดี แต่มันจะดีแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับกิจกรรม โดนใจหนุ่มสาวหรือเปล่า เราจะเชื่อมโยงกิจกรรม Federventure กับออนไลน์

POSITIONING : ส่วนตัวแล้วสนใจออนไลน์แค่ไหน
ชาลี : ผมไปเทศกาลเมืองคานส์ ตั้งใจไปดูงานเกี่ยวกับโฆษณาออนไลน์ ได้ไอเดียมา 1-2 อย่างก็ถือคุ้มแล้ว ตอนนี้ทั่วโลกเทรนด์ไปที่ออนไลน์ เพียงแต่ว่าเข้าใจมากน้อยแค่ไหน

POSITIONING : 6 เดือนประเมินแล้วเป็นไงสำหรับการสร้าง Awareness
ชาลี : ดีขึ้นเรื่อยๆ ดูจากการตอบรับการมียอดขายที่เริ่มสูงขึ้น มาจากการสร้างการรับรู้ และการทดลองใช้สื่อใหม่ๆ ซึ่งกิจกรรมและใช้โฆษณาทุกสื่อทำหมด แต่ความแตกต่างก็คือความต่อเนื่อง FEDERBRAU เปรียบได้กับประสบการณ์ของการรับรู้คอนเซ็ปต์ เมื่อเราพูดถึงความทันสมัย และการผจญภัยที่ไม่โลดโผนหรือแบบใกล้ตัว ก็คือกิจกรรมที่เราทำทุกวัน

POSITIONING : ช่องทางขาย ทำไมต้องเป็นผับ
ชาลี : ผับ เป็นช่องทางที่สำคัญสำหรับเบียร์ระดับพรีเมียม เพราะการที่เข้าผับหรือร้านอาหาร ก็เพราะอยากให้คนอื่นเห็น ยิ่งเป็นกลุ่มหนุ่มสาวแล้วหน้าตาสำคัญ ตัวสินค้าและรสชาตินั้นเป็นรอง เพราะฉะนั้นต้องวางสินค้าให้อยู่ในสถานที่ระดับสูง ส่วนช่องทางอื่นๆ นั้น ถ้าตลาดบนทำได้ดี ตลาดล่างก็ตามมาเรื่อยๆ แต่ถ้ามันดีข้างล่างข้างบนอาจไม่ตามมา

POSITIONING : จะสร้างจุดแตกต่างได้อย่างไร เมื่อคู่แข่งก็ทำกิจกรรมในผับไม่ต่างจากเรา
ชาลี : ต้องขึ้นอยู่ที่ผลประโยชน์ให้กับผับ และผู้บริโภคเรียกหา ถ้ามีผลประโยชน์อย่างเดียวคนไม่เรียกหามันก็ไม่มีประโยชน์ ในช่วงต้นการขายในผับนั้นแบรนด์เดิมอาจง่ายกว่า แต่เราต้องให้เขา และเราต้องผลักสินค้าเราด้วย การกิจกรรมมีส่วนสำคัญมาก ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน กิจกรรมเฟดเวนเจอร์ พ่วงการรับรู้ด้วยการแจกของตัวอย่าง คือ รับรู้ ทดลอง ซื้อเอง ซื้อซ้ำ สินค้ามันจะขายได้

อยากให้คนทั่วไปนึกถึง FEDERBRAU ในภาพแบบไหน

FEDERBRAU เป็นไลฟ์สไตล์ สนุกสนาน ความมุ่งมั่นเป็นแนวประสบการณ์ ความรู้สึกมันจะลึกกว่า เบียร์ช้างที่เป็นแนวของการสร้างแรงบันดาลใจ เพราะไลฟ์สไตล์มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ส่วนแรงบันดาลใจมันจะไม่เปลี่ยน ไลฟ์สไตล์จะเปลี่ยนเร็วกว่า แต่ตอนนี้ยุคนี้ไลฟ์สไตล์ของ FEDERBRAU คือมิวสิก ยังไม่มีกีฬา

POSITIONING : ครึ่งปีหลังกิจกรรมจะเข้มข้นขึ้นแค่ไหน
ชาลี : การแข่งขันจะสูงขึ้น เพราะเป็นช่วงเทศกาล ตลาดเบียร์ 3 เดือนหลังมียอดขายสูงถึง 30% ของยอดขายรวมทั้งปี และ FEDERBRAU จะต้องออกแรงพอสมควร ในฐานะที่เราเป็นคนใหม่ต้องสู้ทุกรูปแบบ ใช้งบ 150 ล้านบาทถึงสิ้นปี ไม่งั้นสู้ไม่ได้ แต่เงินก็คือตัวเลขมันอยู่ที่คุณภาพของการใช้เงินมากกว่า ซึ่งทางไฮเนเก้นก็มีเงินเยอะมากกว่าเรา แต่ถามว่าเรากลัวหรือเปล่าเราต้องยอมรับในความแข็งแกร่งของเขา แต่ถ้าสิ่งที่เราแล้วโดนตลาด เราก็มีโอกาสไปแย่งของคนอื่นมาก็ได้ ตลาดไม่อยู่แค่ FEDERBRAU กับไฮเนเก้น ผู้บริโภคเวลาอยู่ในผับ เขาไม่ได้กินเบียร์อย่างเดียว เขากินวิสกี้ เราอาจจะดึงจากเหล้าก็ได้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สำคัญอยู่ที่ว่าสินค้าโดนหรือเปล่า

สินค้าไหนมีการแข่งขันสูงก็จะมีกิจกรรมเยอะ ดูอย่างตลาดอัดลม เป๊ปซี่กับโค้กแข่งกันมาก จนทำให้รายย่อยๆ เงียบไปเลย ตลาดเบียร์ก็ไม่ต่างกันขึ้นอยู่กับว่าใครทำได้ดีกว่า

POSITIONING : เทรนด์ปีหน้าของเบียร์จะเป็นอย่างไร
ชาลี : การแข่งขันน่าจะสูง FEDERBRAU ก็มาแล้ว ส่วนไฮเนเก้น เขาก็จะมีตัวใหม่เข้ามา การแข่งขันจะสูงขึ้นภายใต้ข้อจำกัดที่มากขึ้น ก็ต้องหาแนวทางใหม่ ๆ มาใช้ในการแข่งขัน




free counters





 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2553
16 comments
Last Update : 12 กรกฎาคม 2553 23:16:47 น.
Counter : 238 Pageviews.

 

2 มิถุนายน 2551

ไทยเบฟฯเท200ล.ปั้นเฟดเดอร์บรอยอัดสื่อโฆษณา360องศาบูมแบรนด์

ไทยเบฟฯ ทุ่ม 200 ล้านบาท ปั้นเบียร์น้องใหม่"เฟดเดอร์บรอย" ชูคอนเซปต์ผจญภัยบุกเซกเมนต์พรีเมียม อัดสื่อโฆษณาครบ 360 องศา จ่อคิวส่งภาพยนตร์โฆษณา พร้อมโหมโรงจัดกิจกรรม "เฟดเดอร์เวนเจอร์" เดินสายโรดโชว์สถานบันเทิงย่านดัง หวังสร้างการรับรู้คอเบียร์ในวงกว้างทะลวงคนรุ่นใหม่

นายชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง อาชา เปิดเผยว่า บริษัทได้ทุ่มงบ 200 ล้านบาท เปิดตัวเบียร์เฟดเดอร์บรอย เซกเมนต์พรีเมียม มีปริมาณแอลกอฮอล์ 4.7 % โดยวางคอนเซปต์เบียร์ผจญภัย เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 22-35 ปี มีความมั่นใจ รักอิสระ ชอบความสนุกอย่างมีสาระ และที่สำคัญมีไลฟ์สไตล์อย่างมีระดับในแบบตัวเอง

ทั้งนี้บริษัทจะดำเนินการตลาดในเชิงรุกในช่วง 9 เดือน โดยเน้นการทำอะโบฟเดอะไลน์มากกว่าบีโลว์เดอะไลน์ ซึ่งจะใช้สื่อโฆษณาครบ 360 องศา ทั้งสื่อบิลบอร์ด กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้และติดตาม นอกจากนี้ยังเตรียมจัดกิจกรรมเปิดตัวในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะเปิดตัวครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศโดยใช้สื่อต่างๆ อย่างครบวงจร อาทิ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วทั้งประเทศ

นอกจากสื่อหลักต่างๆ เข้ากัน บริษัทยังเจาะเข้าถึงร้านค้าด้วยการตกแต่งร้านและจัดอีเวนต์ต่างๆ ที่จะช่วยทำให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นแบรนด์ในทุกสื่อไม่ว่าจะอยู่ที่ใด นำร่องจัดกิจกรรม"เฟดเดอร์เวนเจอร์" โรดโชว์ตามสถานบันเทิงครบสูตร โดยเริ่มที่ย่านทองหล่อ และเตรียมจัดกิจกรรมตามย่านถนนข้าวสาร พระราม 3 เป็นต้น ในระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม นี้

"การทำอะโบฟเดอะไลน์ หรือการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ ยอมรับว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีข้อจำกัดอยู่มาก อย่างไรก็ตามเบียร์เฟดเดอร์บรอยเป็นแบรนด์ใหม่ ดังนั้นจึงต้องทำเน้นอะโบฟเดอะไลน์เป็นหลัก เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างส่วนการจะใช้กลยุทธ์มิวสิค มาร์เก็ตติงหรือสปอร์ต มาร์เก็ตติง ต้องพิจารณาอีกระยะหนึ่ง "

นายชาลี กล่าวว่า พฤติกรรมการดื่มเบียร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยเริ่มมองหาเบียร์ที่มีรสนุ่ม เบา และสดใหม่ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ส่วนแนวโน้มตลาดเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท ปีนี้ไม่ดีมากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ได้ดีมากนัก กำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่หากเศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตดีขึ้น ตลาดเบียร์ก็มีอัตราการเติบโตขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงที่เศรษฐกิจดี ส่งผลให้เบียร์พรีเมียมสามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านลิตรต่อปี โดยปัจจุบันเบียร์พรีเมียมมีมูลค่า 8,000 - 9,000 ล้านบาท ไฮเนเก้นเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 95%

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 3:44:42 น.  

 

วันที่ 23 มีนาคม 2553

เฟดเดอร์บรอยปรับเกมรุกกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม

เฟดเดอร์บรอย วาง 3 แนวทาง สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ระดับพรีเมียม แตกต่าง-โดดเด่น-เท่ รุกตลาดบีโลว์เดอะไลน์ เปิดฉากกิจกรรมเจาะเฉพาะกลุ่ม


นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ระดับพรีเมียม เฟดเดอร์บรอย เปิดเผยว่า ในปีนี้ได้ปรับแผนการรุกตลาดใหม่ ซึ่งกำหนดกลยุทธ์และแผนการสร้างแบรนด์เฟดเดอร์บรอยให้แข็งแกร่งขึ้น ภายใต้ 3 แนวทางหลักคือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และเท่ โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง 20-25 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่

ขณะที่กลยุทธ์การตลาด จะเน้นบีโลว์เดอะไลน์มากขึ้น และลดการใช้งบผ่านสื่อโฆษณาทีวีลง ภายใต้งบประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อจัดกิจกรรมกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละกิจกรรมจะมีความแตกต่างและโดดเด่นสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

ล่าสุดได้เตรียมจัดกิจกรรมการตลาด "มินิ คลับ แมน" (Mini Club Man) โดยร่วมกับร้านอาหาร ผับ เกรดเอ ย่านสุขุมวิท และรถมินิ ที่เพนท์โลโก้ เฟดเดอร์บรอย เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 26 มี.ค.นี้

นอกจากนี้ ยังได้ปรับภาพลักษณ์แบรนด์สร้างการรับรู้ของการเป็นเบียร์แบรนด์เยอรมันผ่านสาวเฟดเดอร์บรอย ที่จะให้บริการในร้านอาหารเกรดเอ ในกรุงเทพฯ รวมถึงกิมมิก ที่แตกต่างผ่านตัวแทน เจนิเฟอร์ คิ้ม และโก้ มิสเตอร์แซกแมน ในสไตล์เยอรมันสมัยใหม่ ที่จะร้องเพลงในสไตล์ที่แตกต่างไปจากเดิม อาทิ แนวเพลงของเลดี้ กาก้า เป็นต้น

สำหรับตลาดเบียร์ปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้น จากกิจกรรมเวิลด์คัพ ปัจจุบันมีมูลค่ารวมเกือบ 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเบียร์ระดับพรีเมียม 4% เบียร์ระดับสแตนดาร์ด 12% และเบียร์อีโคโนมี 84% โดยเฟดเดอร์บรอย ตั้งเป้าเติบโต 10-20% และมีส่วนแบ่งตลาด 4-5%

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 3:48:04 น.  

 

อังคารที่ 23 มีนาคม 2553


พรีเมียมวูบหนัก เฟดเดอร์บรอย ปรับหนีเบียร์ถูก



นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและทำตลาดเบียร์เฟดเดอร์บรอย เปิดเผยว่า ตลาดเบียร์ในปีที่ผ่านมาเติบโตติดลบ 10-11% เนื่องจากมีการขึ้นราคาตามอัตราภาษีสรรพสามิต โดยตลาดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ตลาดเบียร์ระดับพรีเมียมติดลบสูงถึง 20-25% เพราะผู้บริโภคหันมาบริโภคเบียร์ราคาถูกมากขึ้น ซึ่งเฟดเดอร์บรอยมียอดขายโตเพียง 10% จากเป้าเดิมที่คาดไว้ 100-200%

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 3:49:48 น.  

 

6 พฤษภาคม 2551

เมื่อไฮเนเก้นถูกต้อน


50 สถานการณ์ของไฮเนเก้นไม่ค่อยดีนัก หลังจากยอดขายนิ่งสงบเป็นครั้งแรก ทว่าในปี 51 เค้าลางแห่งความยุ่งยากดูเหมือนจะน่ากังวลกว่า เมื่อช้างและสิงห์ กำลังพาดบันได เพื่อปีนขึ้นมาเล่น ในตลาดเดียวกัน


อาจเป็นเพราะตลาดเบียร์พรีเมียมไทย ที่มีมูลค่า 7,236 ล้านบาท มีอัตราการแข่งขันต่ำ เนื่องจากมีเจ้าตลาดเพียงรายเดียว คือ ไฮเนเก้น ที่ครองแชร์อยู่ถึง95%

ขณะตลาดอีโคโนมีที่มีมูลค่า 85,801 ล้านบาท และตลาดสแตนดาร์ด มูลค่า 10,337 ล้านบาท โดยมีเบียร์ช้าง และ เบียร์สิงห์เป็นเจ้าตลาดตามลำดับนั้น

มีการแข่งขันที่"เข้มข้น" ทั้งเกมราคา และ การตลาด ระหว่างค่ายสิงห์ กับช้าง ที่ "เปิดศึก"สร้างไฟต์ติ้งแบรนด์ของตัวเองเพื่อดูดกลืนแชร์ของแต่ละฝ่าย

ช้างไลท์ ,ช้างดราฟ ของค่ายช้าง หรือ ลีโอ ,เบียร์อีสาน ของค่ายสิงห์ เป็นตัวอย่างที่ดีของตลาดที่กลายเป็น "เรดโอเชียน"ไปแล้ว

แม้ภายหลัง จะมีแบรนด์ใหม่อย่าง ไทเกอร์,เชียร์ หรือ ซานมิเกล ลงมาสู่สนามนี้เช่นกัน แต่ก็ทำได้แค่สอดแทรก ปล่อยให้ไฮเนเก้นทำตลาดพรีเมียมอย่างเดียวดาย และครองยิ่งใหญ่ในตลาดบนมายาวนาน

ก่อนที่จะเกิดจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ในปี 51......


เฟดเดอร์บรอย เบียร์พรีเมียม "ช้าง"

ในยุค "พอร์ตโฟลิโอ" ครองเมือง เจ้าของธุรกิจ และนักการตลาดรุ่นใหม่ เริ่มตระหนักว่า การ "ขาดหวิ่น"ของเซกเมนท์สินค้าเป็นจุดอ่อนอย่างยิ่ง ในการ "ช่วงชิง"ทั้งความพึงพอใจต่อลูกค้า และมาร์เก็ตแชร์ในตลาด

คงไม่ใช่เรื่องแปลกนัก หากเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ที่กุมตลาดน้ำเมาเบ็ดเสร็จทั้งสุราและเบียร์ราคาถูก จะแผ่อิทธิพลมายังตลาดเบียร์ระดับบน

เพราะก่อนหน้านั้น "เจริญ"ได้เคยหยั่งเชิงตลาดนี้มาแล้ว กับคลาร์ลสเบิร์ก ค่ายเบียร์สัญชาติเดนมาร์กในฐานะผู้รับจ้างผลิต ก่อนที่สัมพันธ์ทางธุรกิจจะขาดสะบั้นลง

วันนี้แผนเดิมที่วางไว้ ได้ถูกปัดฝุ่นใหม่ เพราะได้เวลาแล้ว ที่ช้างจะขึ้นไปทำตลาดพรีเมียมด้วยตัวเอง!

ช่วงปลายปี 50 ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวถึงการปล่อยเบียร์พรีเมียมของค่ายช้างลงสู่ตลาด ออกมาเป็นระยะๆ ทั้งจากสื่อมวลชน รวมถึงเอเยนต์เบียร์ของช้างเอง ก่อนที่จะมาชัดเจนในช่วงต้นปี 51

เมื่อผู้บริหารเบียร์ช้างได้ฤกษ์เปิดเบียร์ตัวใหม่ ในกลุ่มพรีเมียมเป็นครั้งแรก ภายใต้แบรนด์เฟดเดอร์บรอย (Federbrau) ด้วยการแนะนำตัวกับผู้แทนจำหน่ายที่คิงเพาเวอร์ และเริ่มทยอยกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาด โดยมีสินค้า 3 ขนาด คือ ขวดใหญ่ 630 ม.ล. ขวดเล็ก 330 ม.ล. และ กระป๋อง 330 ม.ล.

เบื้องต้นจะเน้นการวางจำหน่ายตามช่องทางผับ บาร์ หลังจากนั้นก็จะทยอยกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางอื่นๆ ทั้งร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยจะมีการวางจำหน่ายครอบคลุมทุกช่องทางทั่วประเทศประมาณ ต้นเดือน มิถุนายน นี้

นายสมชัย สุทธิกุลพาณิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ช้าง ให้สัมภาษณ์กับ "บิสิเนสไทย"ว่า "เฟดเดอร์บรอย เป็นเบียร์สไตล์เยอรมัน จึงตั้งชื่อแบบเยอรมัน ซึ่งความหมายว่า เบียร์ขนนกสีแดง หรือ เบียร์ที่บางเบาเหมือนขนนก

เพราะมีแอลกอฮอล์บางเบาเพียง4.7% เท่านั้น จึงเป็นเบียร์ที่มีรสชาติอ่อนที่สุดของเบียร์ในเครือช้าง นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองคุณภาพจากประเทศเยอรมันว่าเป็นเบียร์สูตรเยอรมันแท้

การออกเบียร์พรีเมี่ยมเข้ามาในตลาดครั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะแค่เติมพอร์ตโฟลิโอเบียร์ให้ครอบคลุมมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมองเห็นโอกาสทางการตลาดของเบียร์กลุ่มนี้ เนื่องจากพรีเมี่ยมเป็นตลาดที่ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก เพราะมีมูลค่าเพียง 6,000-7,000 ล้านบาท ที่สำคัญมีผู้ประกอบการที่ทำตลาดอยู่เพียงรายเดียว คือ ไฮเนเก้น

"สาเหตุที่เลือกจุดขายความเป็นเบียร์เยอรมันในการเปิดตัวตลาดระดับพรีเมียมครั้งนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ซึ่งคนไทยอาจจะไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรที่มาของเบียร์มากนัก เราจึงจะเน้นการสื่อสารกับผู้บริโภคว่าเบียร์แบรนด์ใหม่นี้เป็นเบียร์สไตล์เยอรมันแท้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเบียร์สไตล์เยอรมันให้มากขึ้นด้วย"

เบียร์เฟเดอร์บอย เป็นเบียร์ที่ผลิตในประเทศโดยโรงงงาน บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำกัด หรือเดิมชื่อบริษัท คาร์ลสเบอร์ก บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด

อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกต จากวงการน้ำเมาว่า หลังจากบมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ได้ดึงตัวนายชาลี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีผลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 นั้น

เนื่องจากต้องการให้นายชาลีมาวางกลยุทธ์ตลาดเบียร์พรีเมี่ยมตัวใหม่ เฟเดอร์บรอย (Federbrau) เบียร์กลุ่มเดียวกับไฮเนเก้น โดยจะเปิดตัวตัวในวันที่ 22 เมษายน รวมทั้งดูแลเรื่องกลยุทธ์ตลาดเบียร์ช้างโดยรวม รวมถึงดูแลทางด้านการเครื่องดื่มในส่วนที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์อีกด้วย

สิงห์เตรียมคลอด เบียร์พรีเมียมชนช้าง

หลังจากประสบความสำเร็จในช่วง 2 เดือนแรกของปี 51 จากตัวเลขการผลิตเบียร์ ที่บ่งชี้ว่า เบียร์ลีโอ มีส่วนแบ่งตลาด 40.3% จากตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท กลายเป็นแบรนด์อันดับ 1 แทนเบียร์ช้างที่มีส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือ 35% จากเดิมที่เคยมีส่วนแบ่งตลาด 45-46%

ผู้บริหารบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ลีโอเบียร์ อีสานเบียร์ ก็ออกมาเปิดเผยว่า พวกเขากำลังจะออกเบียร์พรีเมียมตัวใหม่มาสู่ตลาดเร็วๆนี้

นายปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการกลุ่มตลาด บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยกับ "บิสิเนสไทย" ว่า สิงห์มีความสนใจที่จะออกเบียร์พรีเมียม โดยใช้ชื่อสิงห์ และมีการใช้ชื่ออื่นๆ ต่อท้าย เนื่องจากทางสิงห์เห็นว่า แบรนด์สิงห์ที่มีอยู่ถือว่าเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่ง และเป็นที่ยอมรับของตลาดอยู่แล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

แต่จะออกมาเมื่อไหร่นั้นจะต้องดูระยะเวลาและช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากการจะออกสินค้าใหม่แต่ละตัวจะต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์ตลาดอย่างดีก่อนเพื่อให้สินค้านั้นออกมาถูกจังหวะและโอกาส ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

ผู้จัดการกลุ่มตลาด บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น อธิบายว่า เทรนเบียร์เมืองไทย มาจาก 2 แหล่งคือ อเมริกา ซึ่งขณะนี้นิยมไลท์เบียร์ และญี่ปุ่นซึ่งมีการพัฒนาเบียร์จากเดิมที่มีระดับพรีเมียมขึ้นเป็นเบียร์ระดับซุปเปอร์ พรีเมียม โดยวัตถุดิบในการผลิตเป็นระดับคุณภาพสูงทั้งสิ้น รวมถึงแพ็คเก็จจิ้งที่มีการดีไซน์ให้ตรงใจกลุ่มผู้บริโภค

ยกตัวอย่างแบรนด์ เบียร์อิมิซุ เป็นต้น จึงต้องยอมรับว่าในเมืองไทยเทรนของเบียร์จะมาจาก 2 แหล่งนี้ ซึ่งมีการนำมาประยุคใช้ให้เข้ากับความต้องการของคนไทย ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าน้อยมากที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับเบียร์เกิดขึ้น

ปิติ แสดงทรรศนะ กรณีไทยเบฟฯ ออกเบียร์พรีเมียมลงสู่ตลาดว่า หากวางตำแหน่งเป็นพรีเมียมก็ควรจะมีการทำการตลาดและมีการจำหน่ายในราคาพรีเมียมด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าเบียร์ของไทยเบฟ มักจะเน้นในเรื่องของราคาเป็นหลัก หากพรีเมียมแล้วเน้นการใช้กลยุทธ์ราคาอาจจะไม่สามารถอยู่ในโพซิชั่นนิ่งที่วางไว้ได้

"ผมคิดว่าการเลือกใช้ชื่อแบรนด์อื่นที่ไม่ใช้ช้างนั้น อาจเป็นความเข้าใจของผู้บริโภคในตัวแบรนด์ว่าเป็นแบรนด์ที่เน้นกลยุทธ์เรื่องราคา ดังนั้นหากใช้แบรนด์เดิมจะไม่สามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคได้ จึงจะต้องมีการใช้ชื่อแบรนด์อื่น เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคจะเกิดการรับรู้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการสื่อสารด้านการตลาด รวมถึงความเข้าใจที่มีต่อแบรนด์ด้วย"

แมสมาร์เก็ตติ้ง การแก้เกมของไฮเนเก้น

เมื่อประเมินสภาพการณ์ของตลาดในห้วงนี้ ดูเหมือนว่าเบียร์ไฮเนเก้นกำลังจะ "ถูกต้อน" เมื่อ 2 ค่ายใหญ่ที่ผลัดกันเป็นเบอร์ 1 และ เบอร์ 2 ของตลาดเบียร์มูลค่า 85,300 ล้านบาทในเมืองไทย ทั้งช้างและสิงห์ต่างวางแผนที่จะขยายอาณาจักรของตัวเองไปยังตลาดพรีเมียมที่ไฮเนเก้นเคยครอบครอง

นี่ ยังไม่นับรวมถึง ความเคลื่อนไหวของเบียร์คาร์ลสเบอร์กที่พยายามจะกลับมาทำตลาดในเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่หยุดทำตลาดในเมืองไทยมานานหลายปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาพันธมิตรที่จะเข้ามาช่วยจัดจำหน่าย

"บริษัทในฐานะผู้นำตลาดเบียร์พรีเมียมไม่รู้สึกหนักใจกับการเปิดตัวเบียร์ "เฟดเดอร์บอย" ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยยังทำการตลาดตามปกติ ตรงกันข้ามถือเป็นการสร้างสีสันและความคึกคักให้กับตลาดเบียร์พรีเมียม เนื่องจากปีที่ผ่านมาตลาดชะลอตัวจนต้องทำกิจกรรมการตลาดไตรมาสละ 1 ครั้ง" นายรอนนี่ เตียว ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ เจ้าของเบียร์ไฮเนเก้น เชียร์ และไทเกอร์ ให้สัมภาษณ์

เขาย้ำว่า นับจากนี้บริษัทจะใช้กลยุทธ์การทำตลาดในวงกว้าง หรือแมสมาร์เก็ตติ้ง พร้อมนำผลิตภัณฑ์และตราสินค้าเบียร์ไฮเนเก้นเข้าไปมีส่วนร่วมในประสบการณ์กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย หรือคอนซูเมอร์อินไซด์มากขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดเบียร์ระดับบน

ล่าสุดบริษัทใช้งบกว่า 80 ล้านบาท จัดกิจกรรมการตลาดภายใต้แคมเปญใหญ่ระดับโลก ไฮเนเก้น-เดอะโรด ทู มอสโค ซึ่งบริษัทเป็นผู้สนับสนุนหลักในกิจกรรมกีฬาฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งตลาด 95% ในตลาดเบียร์พรีเมียมมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และ

บริษัท ไทย เอเชียแปซิฟิคฯได้ประกาศนโยบายปี 2551 ว่า ได้ตั้งงบประมาณทางด้านการตลาดของปี 2551 ไว้ 1,100 ล้านบาท สำหรับเบียร์ 3 แบรนด์ คือ ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ จากปี 2550 ที่ใช้งบฯดังกล่าว 1,050 ล้านบาท

เพื่อหวังเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเบียร์ไทเกอร์และเบียร์เชียร์ให้เติบโต 20% ส่วนเบียร์ไฮเนเก้น เติบโต 3% และตั้งเป้าว่าใน 5 ปี จะเติบโตเป็น 2 เท่า หรือ 1.5 หมื่นล้านบาทปีนี้ตั้งเป้ายอดขายเพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน

อนึ่งตลาดเบียร์ปี 2550 มีมูลค่าประมาณ 103,375 ล้านบาท (หรือประมาณ 2,100 ล้านลิตร)เติบโตขึ้น 9% และคาดว่าในปี 2551 จะเติบโตขึ้นอีก 11%หรือประมาณ 112,692 ล้านบาท

นายนิพล สวัสดิพงพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด-ไฮเนเก้น บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น กล่าวเสริมว่า ปีนี้ภาพรวมการแข่งขันตลาดเบียร์พรีเมียมมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะด้านกิจกรรมการตลาด จากการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ๆ

เขาเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นส่วนผลักดันให้ตลาดเบียร์พรีเมียมปีนี้มีอัตราการเติบโต 5% หลังจากปีที่ผ่านมาสภาพตลาดไม่มีอัตราการเติบโตหรือเติบโตไม่ถึง 1% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับเบียร์ไฮเนเก้นนั้น บริษัทยังเดินหน้าทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งและมิวสิกมาร์เก็ตติ้งเพื่อสร้างแบรนด์สินค้าให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

เมื่อเร็วๆ นี้ ค่ายไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ได้มีการนำเข้าเบียร์ไฮเนเก้น ขวดขนาด 500 ม.ล. หรือที่คนในวงการเรียกว่าขวดกลาง ซึ่งผลิตจากโรงงานไฮเนเก้นในประเทศจีนเข้ามาทำตลาด จากปกติที่ไฮเนเก้นมีเฉพาะขวดใหญ่ 630 ม.ล. และขวดเล็ก 330 ม.ล. โดยขวดไซซ์ใหม่ดังกล่าวจะเน้นการวางจำหน่ายในร้านอาหาร สวนอาหาร และตั้งราคาขายไว้เท่ากับเบียร์สิงห์ขวดใหญ่ คือ ประมาณ 80 บาท

สำหรับผลการดำเนินงาน3 เดือนที่ผ่านมา ไทยเอเชีย แปซิฟิคฯมียอดขายเติบโตตามเป้า และตั้งเป้ายอดขายไฮเนเก้นสิ้นปีโตกว่า 5% หรือมีส่วนแบ่งตลาด 95% และมีสัดส่วนยอดขาย 7% ของตลาดเบียร์รวมที่มีมูลค่า 103,375 ล้านบาท เติบโตจากปี 2549 ประมาณ 9%

ส่วนยอดขายของไทยเอเชีย แปซิฟิคฯ ในปี 2550 มีมูลค่าประมาณ 7,500 ล้านบาท ลดลงประมาณ 7% จากปี 2549 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกฎระเบียบในการควบคุมกิจกรรม การโฆษณาและการตลาด

น่าจับตาสมรภูมิฟองเบียร์ในปีนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะคงไม่ใช่แค่ค่ายช้าง ,สิงห์ และคาร์ลสเบอร์ก เท่านั้น ที่มีความเคลื่อนไหว ในการสยายปีกเข้ามาจับจองตลาดบน

หากแต่ยังมีชิงเต่า ค่ายเบียร์ระดับโลกจากจีนอีกรายที่มีกระแสข่าวว่าจะเข้ามาตั้งโรงงานในเมืองไทย รวมถึงซานมิเกลที่ยังนิ่ง หลังจากเข้ามาชิมลางตลาดในเมืองไทยมาพักใหญ่

แน่นอนว่าปีนี้ จะเป็นปีแห่งความท้าทายของไฮเนเก้นอย่างจริงจัง

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 3:51:45 น.  

 

23 มี.ค. 2553

เฟดเดอร์บรอย วาง 3 แนวทาง สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ระดับพรีเมียม แตกต่าง-โดดเด่น-เท่ รุกตลาดบีโลว์เดอะไลน์ เปิดฉากกิจกรรมเจาะเฉพาะกลุ่ม

นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ระดับพรีเมียม เฟดเดอร์บรอย เปิดเผยว่า ในปีนี้ได้ปรับแผนการรุกตลาดใหม่ ซึ่งกำหนดกลยุทธ์และแผนการสร้างแบรนด์เฟดเดอร์บรอยให้แข็งแกร่งขึ้น ภายใต้ 3 แนวทางหลักคือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และเท่ โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง 20-25 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่

ขณะที่กลยุทธ์การตลาด จะเน้นบีโลว์เดอะไลน์มากขึ้น และลดการใช้งบผ่านสื่อโฆษณาทีวีลง ภายใต้งบประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อจัดกิจกรรมกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละกิจกรรมจะมีความแตกต่างและโดดเด่นสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

ล่าสุดได้เตรียมจัดกิจกรรมการตลาด "มินิ คลับ แมน" (Mini Club Man) โดยร่วมกับร้านอาหาร ผับ เกรดเอ ย่านสุขุมวิท และรถมินิ ที่เพนท์โลโก้ เฟดเดอร์บรอย เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 26 มี.ค.นี้

นอกจากนี้ ยังได้ปรับภาพลักษณ์แบรนด์สร้างการรับรู้ของการเป็นเบียร์แบรนด์เยอรมันผ่านสาวเฟดเดอร์บรอย ที่จะให้บริการในร้านอาหารเกรดเอ ในกรุงเทพฯ รวมถึงกิมมิก ที่แตกต่างผ่านตัวแทน เจนิเฟอร์ คิ้ม และโก้ มิสเตอร์แซกแมน ในสไตล์เยอรมันสมัยใหม่ ที่จะร้องเพลงในสไตล์ที่แตกต่างไปจากเดิม อาทิ แนวเพลงของเลดี้ กาก้า เป็นต้น

สำหรับตลาดเบียร์ปีนี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้น จากกิจกรรมเวิลด์คัพ ปัจจุบันมีมูลค่ารวมเกือบ 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเบียร์ระดับพรีเมียม 4% เบียร์ระดับสแตนดาร์ด 12% และเบียร์อีโคโนมี 84% โดยเฟดเดอร์บรอย ตั้งเป้าเติบโต 10-20% และมีส่วนแบ่งตลาด 4-5%

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 3:55:48 น.  

 

2009-08-04

เฟดเดอร์บรอย ปาร์ตี้สุดสวิง ที่เอาทุกหัวใจเต้นแรงกว่าทุกครั้ง






เฟดเดอร์บรอย เบียร์พรี่เมี่ยมสัญชาติเยอรมัน ในเครือไทยเบฟเวอเรจ จัดปาร์ตี้ Ferderventure season3 ภายใต้คอนเซปท์ The Bachalor night"s Party ให้เหล่าคอเบียร์พรีเมี่ยมได้สัมผัสประสบการณ์ความมันส์ภายใต้ปาร์ตี้สุดสวิงกับคนโสดในคืนวันเสาร์ที่1สิงหาคมที่ผ่านมา ที่สลิม อาร์ซีเอ ฝั่งไลฟ์ แบรนด์ โดยคุณชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บ.ไทยเบฟเวอเรจมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ครีเอทสลิม อาร์ซีเอ ให้กลายเป็นสถานที่ที่คนโสดได้มาปาร์ตี้กันในบรรยากาศสุดเย้ายวนใจ เพ่อต้อนรับคนโสดและเหล่าเซเลบริตี้ที่มาร่วมงานกันมากมาย









โดยไฮไลท์ของงาน นางเอกสาวสวย ปู-ไปรยา สวนดอกไม้ มาขอเปิดใจนั่งคุยอย่างเปิดเผยให้พิธีกรฝีปากกล้า วู้ดดี้ มิลินทจินดา และรายการวู้ดดี้เกิดมาคุยได้ล้วงลึกทุกเรื่องราวแบบสดๆ ไม่ว่าจะเปป็นเรื่อง เป็นสาวชอบปาร์ตี้มั้ย,อยู่เมืองนอกเคยใช้ยาหรือเปล่า,เป็นคนใช้ผู้ชายเปลืองจริงหรือไม่,เรื่องคลิปหลุด และเรื่องของแฟนฟนุ่ม Timothy โดยในช่วงจับเท็จ ยังได้ซูปเปอร์สตาร์หมอดู กฤษณ์ คอนเฟิร์ม มาร่วมจับเท็จทุกคำตอบของนางเอกสาวคนนี้อย่างถึงพริกถึงขิงว่าจริงหรือสตอ ทำเอาถูกใจคนโสดเต็มเหนี่ยว ต่อด้วยคอนเสิร์ตของโดม-ปกรณ์ ลัม และวงโนโลโก้ เรียกว่าเป็นปาร์ตี้ที่มันสุดเหวี่ยงซึ่งเป็นประสบการณ์ดีๆที่เฟดเดอร์บรอยจัดให้กับคอเบียร์



 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 3:59:03 น.  

 

24 กรกฎาคม 2551

เฟดเดอร์บรอยเล็งลานเบียร์งัดกลยุทธ์3Dแซะไฮเนเก้น


ผู้จัดการรายวัน – ไทยเบฟฯ เร่งบูมแบรนด์เฟดเดอร์บรอย ครึ่งปีหลังอัดกิจกรรมหนัก ชูกลยุทธ์ทรีดีมาร์เก็ตติง จ่อคิวลุยเบียร์การ์เด้น สิ้นปีโกยแชร์ 2-3% ปีแรกกวาด 5% จากมูลค่าเบียร์พรีเมียม 5,000 ล้านบาท

นายชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง เฟดเดอร์บรอย เปิดเผยว่า แนวทางตลาดครึ่งปีหลังเบียร์เฟดเดอร์บรอย มุ่งเน้นสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง ผ่านการใช้กลยุทธ์ 3D มาร์เก็ตติง เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 22-29 ปี ผ่านการทำจัดกิจกรรมเฟดเดอร์เวนเจอร์ ตามสถานบันเทิง ผับ บาร์ กิจกรรมออนไลน์ และนำสาวเชียร์เบียร์ 200 คน ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดการทดลองดื่ม
อีกทั้งยังวางแผนทำเบียร์การ์เด้น การจัดสนับสนุนตู้แช่หรือจัดบูธผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด และล่าสุดเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดแรก “เทอร์มินอล” ด้วยคอนเซปต์การผจญภัยอยู่ใกล้แค่เอื้อม พร้อมสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกลางแจ้งหลากหลายรูปแบบ เช่น บูธโทรศัพท์ บัสแอด เป็นต้น ภายใต้การใช้งบการตลาด 200 ล้านบาท
“เราพยายามสร้างความแตกต่างจากเบียร์คู่แข่งในเซกเมนต์พรีเมียม ใช้กลยุทธ์ 3D มาร์เก็ตติง ซึ่งไม่ได้สื่อสารผ่านกลุ่มเป้าหมายอย่างเดียว บริษัทจะเน้นเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมทดลองดื่มสินค้าใหม่ได้ง่าย”
นายชาลี กล่าวว่า การเปิดตัวเบียร์เฟดเดอร์บรอย ส่งผลให้ไทยเบฟมีสินค้าที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับกับการแข่งขันของตลาดเบียร์ที่เชื่อว่ายังไม่อิ่มตัว และสามารถเติบโต และพัฒนาสินค้าใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับกำลังการผลิตเฟดเดอร์บรอยในช่วงแรก 2-3% จากตลาดรวมเบียร์เซกเมนต์พรีเมียม 100 ล้านลิตร ซึ่งบริษัทยังวางแผนขยายตลาดส่งออกในเซาท์อีสเอเชีย
สำหรับตลาดเบียร์โดยรวมมูลค่า 1 แสนล้านบาท หรือ 2,200 ล้านลิตร ปีนี้ภาวะตลาดทรงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง สำหรับเบียร์เซกเมนต์พรีเมียมสัดส่วน 5% หรือราว 5,000 ล้านบาท ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมามีสีสัน และคึกคักจากการดำเนินทางการตลาดของเฟดเดอร์บรอย หลังจากที่ผ่านมาตลาดตกลง เพราะด้วยภาวะเศรษฐกิจทำให้คนเลือกที่จะดื่มมากขึ้น และเครื่องดื่มอาร์ทีดีเข้ามาแชร์ตลาด
นายชาลี กล่าวว่า ด้วยตัวสินค้าเฟดเดอร์บรอยเป็นเบียร์ดีกรี 4.7% สอดคล้องกับเทรนด์การดื่มเบียร์ เพื่อต้องการเข้าสังคม และไม่เน้นดีกรีแรง และด้วยรูปแบบกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์การดื่มในสไตล์สบายๆ จะผลักดันให้ส่วนแบ่งสิ้นปีมีราว 2-3% ขณะที่ปีแรก 5% ของตลาดเบียร์พรีเมียม เมื่อเทียบกับไฮเนเก้น ผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งกว่า 90%

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:00:50 น.  

 

5 พฤศจิกายน 2552

เฟดเดอร์บรอย เออร์เบิร์น เอ็กซพีเรียนซ์ เดอะบีตเทิลส์ มาเนีย ปาร์ตี้ โอเวอร์ ดิ แอร์


กำหนดจัดขึ้นทุกศุกร์ต้นเดือนสำหรับปาร์ตี้ชิลลเอาท์บนหน้าปัดวิทยุในชื่อ เฟดเดอร์ บรอย เออร์เบิร์น เอ็กซพีเรียนซ์ ปาร์ตี้ โอเวอร์ ดิ แอร์ ของคลื่อวิทยุ เวฟ เอฟเอ็ม (Wave FM 88) และเบียร์เฟดเดอร์บรอย (Federbrau) โดยคิวเดือนตุลาคมนี้ ได้บิวท์ขึ้นในธีมของวงดนตรีระดับตำนานอย่างเดอะบีตเทิลส์ (The Beatles) ซึ่งหม่อมราชวงศ์รุจยาภา อาภากร ผู้บริหารคลื่น พร้อมด้วยเหล่าดีเจ ได้เปิดสตูดิอเวฟย่านเอกมัย ต้อนรับบรรดาสาวกของ 4 หนุ่ม เต่าทองที่มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง


นอกจากจะได้เพลินกับปาร์ตี้ กิน-ดื่ม เล่นเหมส์และรับของรางวัลกันแล้ว งานนี้ยังได้พี่ฉ่าย สมชาย ขำเลิศกุล โปรดิวเซอร์มือพระกาฬมาช่วยเป็นกูรูให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เดอะบีต เทิลส์แบบเต็มแม็ก พร้อมโชว์จากสาวโรส ศิรินทิพย์ ในเพลง I will และ Here comes the sun ของเดอะบีต เทิลส์ ปิดท้ายด้วยการแสดงสดจากวง Over Me ผู้ก่อตั่งวงขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจาก 4 เต่าทอง และสำหรับปาร์ตี้เฟดเดอร์บรอย เออร์เบิร์น เอ็กซพีเรียนซ์ ปาร์ตี้ โอเวอร์ ดิ แอร์ ในต้นเดือนพฤศจิการยนจะเป็นธีมอะไร สามารถติดตามรายละเอียด และร่วมลุ้นงานได้ที่เวฟเอฟเอ็ม 88 ทุกช่วงดีเจ




 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:06:46 น.  

 

24 มีนาคม 2553


เฟดเดอร์บรอย อัดกิจกรรม - สร้างภาพลักษณ์เบียร์เยอรมัน
24 มีนาคม 2553 – เฟดเดอร์บรอย ทุ่มงบ 90 ล้าน อัดกิจกรรม Experiential Marketing เต็มพิกัด พร้อมเปิดตัวแคมเปญ ไอเดียใหม่ “ต่าง โดน เท่” หวังสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นเบียร์เยอรมันระดับพรีเมี่ยม และ Brand DNA ในด้าน Adventurous-Charming-Playful หวังแย่งส่วนแบ่งจากตลาดเบียร์เซกเมนท์สแตนดาร์ด จากผู้บริโภคที่ขยับขึ้นมาดื่มเบียร์พรีเมี่ยม คาดภายใน 3 ปี ส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 10%



คุณชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาตลาดเบียร์โดยรวม ตกลงประมาณ 11% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และการขึ้นราคา โดยเฉพาะในเซกเมนท์พรีเมี่ยม ซึ่งมีสัดส่วน 4% จากตลาดรวม ตกลงไป 20 – 25% ส่งผลให้ตลาดมีความคึกคักน้อยลง ขณะที่เบียร์เฟดเดอร์บรอย แม้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่ตกลง แต่พบว่ามีการเติบโตช้า ประกอบกับที่ผ่านมาบริษัทจำหน่ายไม่มากนัก โดยปัจจุบันเฟดเดอร์บรอย มีส่วนแบ่งตลาด 4%

สำหรับปีนี้ วางงบการตลาด 80 – 90 ล้านบาท โดยจะเน้นการทำกิจกรรม เพื่อเป็นตัวไดร์ฟแบรนด์มากกว่าการใช้ทำโฆษณา พร้อมกับเปิดตัวแคมเปญ ไอเดียใหม่ “ต่าง เท่ โดน” และสร้าง Brand DNA ให้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อสะท้อนตัวตนของเฟดเดอร์บรอยแก่ผู้บริโภค ได้แก่ Adventurous-Chraming-Playful

โดยการสร้างแบรนด์ และภาพลักษณ์ รวมถึง Brand DNA จะมีกิจกรรมการตลาดจะเป็นการส่งเสริม และตอกย้ำภาพลักษณ์ของการเป็นเบียร์เยอรมันระดับพรีเมี่ยม

สำหรับกิจกรรมการตลาดในปีนี้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ จะทำในด้านต่าง ๆ ดังนี้ สร้างภาพลักษณ์ในร้านค้าเกรดเอ เช่น จัดเฟดเดอร์บรอย ปาร์ตี้, จัดงานช่วงวาเลนไทน์ รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นเบียร์เยอรมันให้มากขึ้น เช่น กิจกรรม Oktoberfest และกิจกรรมคอนเสิร์ตจากต่างประเทศ-ในประเทศ เช่น Summer Fest

กิจกรรมที่สอง คือ กิจกรรมทดลองดื่ม, ทำ Merchandising เช่น กิจกรรมภายในร้านอาหาร, ลานเบียร์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์กับแบรนด์มากขึ้น และล่าสุดได้รถมินิมาเป็นพาร์ทเนอร์ ทำให้ต่อไปจะมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งการเป็นพาร์ทเนอร์กับรถมินิ เชื่อว่าสามารถสะท้อนภาพความเป็นหนุ่ม-สาว ไฟแรง ความทันสมัยได้เป็นอย่างดี
สำหรับการทำตลาดด้านที่ 3 เป็นเรื่องของนวัตกรรม โดยจะส่งเฟดเดอร์บรอย 5 ลิตรลงสู่ตลาด ขายตามผับ ร้านอาหาร

“เราต้องการสร้างความชัดเจน และสร้าง Brand Experience เพราะตลาดเบียร์/เครื่องดื่มแอลกอฮอลื คือ ตลาดของการสร้างภาพพจน์ เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคกล้าหยิบจับ กล้าดื่มในสังคม และเฟดเดอร์บรอย ไม่ได้วัดความสำเร็จที่ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาด หากแต่วัดกันที่ภาพพจน์ การเป็นเบียร์ที่มีความโก๋ เก๋ ทันสมัย และผู้บริโภคมองเช่นนั้นหรือไม่ และวางเป้าหมายในมุมมองแบบกว้าง ที่คนดื่มเบียร์สแตนดาร์ดสามารถขยับขึ้นมาดื่มเฟดเดอร์บรอยได้ แม้จะไม่ได้ขยับขึ้นมาดื่มอย่างถาวรก็ตาม แต่แค่นั้นเราถือว่าโอเคแล้ว”

คุณชาลี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเฟดเดอร์บรอยมีส่วนแบ่งตลาด 4% โดยคาดหวังว่าภายใน 3 ปี จะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10% และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ราว 30 – 40% ส่วนปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 10 – 20%

ขณะที่ภาพรวมตลาดเบียร์ปีนี้ ปัจจัยที่ผลักดันให้ตลาดเติบโตได้ คือ มีการแข่งขันฟุตบอลโลก คาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าวยอดขายน่าจะขึ้นมา 10% และในช่วงปลายปี น่าจะเติบโตได้ดี

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:08:04 น.  

 

22/3/2553

เฟดเดอร์บรอย ปรับกลยุทธ์เร่งเข็นแบรนด์ลุยเบียร์พรีเมียม หั่นงบสื่อโฆษณาทีวีทิ้ง เท 90 ล้านบาท ลุยกิจกรรมสถานบันเทิงชูความต่าง สร้างประสบการณ์ร่วมกับคอฟองเบียร์ดันอิมเมจ ระเบิดนวัตกรรมเบียร์ขนาด 5 ลิตร สิ้นปีแชร์เพิ่ม 5% หวัง 3 ปี กวาด 10% โอดม็อบแดงกระทบพฤติกรรมคนเที่ยวสถานบันเทิงลด ชี้อานิสงส์บอลโลกตลาดเบียร์โต 10%

นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ เฟดเดอร์บรอย เปิดเผยว่า แผนการตลาดเบียร์เฟดเดอร์บรอยปีนี้ได้มีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ภายใต้การใช้งบการตลาด 80-90 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีนี้ไม่ทำสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์
แต่จะใช้จัดกิจกรรมช่องทางออนพรีมิสเป็นสื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์และการรับรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายอายุ 20-25 ปี

“หลังจากการทำตลาดมากกว่า 2 ปี กระจายสินค้าของเฟดเดอร์บรอยยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ สัดส่วน 60-70% และต่างจังหวัดหัวเมืองใหญ่ 30-40% ดังนั้นการใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์จึงไม่ค่อยได้ผลมากนัก แต่หากเฟดเดอร์บรอยเป็นแบรนด์ที่เติบโตขึ้น การรับรู้แบรนด์เพิ่มขึ้น ถึงจะกลับมาใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์อีกครั้ง”

นายชาลี กล่าวว่า เฟดเดอร์บรอยจัดกิจกรรมการตลาด 3 แนวทาง คือ 1.กิจกรรมการสร้างภาพลักษณ์การเป็นเบียร์ระดับพรีเมียมภายใต้แนวคิด “The Adventure is All Around” ด้วยทำดำเนินแคมเปญคอนเซปต์”ต่าง โดน เท่” เน้นสร้างความแตกต่าง โดยเพิ่มความถี่จัดกิจกรรมใหญ่ผ่านทางสถานบันเทิง ผับ บาร์ ระดับไฮเอนด์ ซึ่งมีด้วยกัน 10 กิจกรรม ล่าสุดจัดกิจกรรมเฟดเดอร์เวนเจอร์ ปาร์ตี้ วันที่ 26 มีนาคมนี้ หรือกระทั่งการกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์การเป็นเบียร์จากประเทศเยอรมัน และจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตจากต่างประเทศ

ส่วนจัดกิจกรรมที่ 2 คือ การกระตุ้นให้ทดลองดื่ม และ3.เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ นำร่องเปิดตัวถังเบียร์ขนาด 5 ลิตร จำหน่ายในสถานบันเทิง ผับ บาร์ เป็นต้น จากปัจจุบันช่องทางออนพรีมิสระดับไฮเอนด์ในกรุงเทพฯ กว่า 100 แห่ง โดยการสร้างการรับรู้ถึงการจัดกิจกรรมการตลาด ผ่านทางเว็บไซต์ //www.federbrau.com และผ่านทางวิทยุ เป็นหลัก ล่าสุดจับมือร่วมกับพันธมิตร นำรถมินิ คลับแมน โรดโชว์ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ทันสมัยให้กับเฟดเดอร์บรอย

แนวโน้มเบียร์ระดับพรีเมียมมูลค่า 4,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4% จากตลาดรวมเบียร์ 1 แสนล้านบาท ปีนี้ในแง่ของปริมาณไม่เติบโตหรือโตเล็กน้อย เนื่องจากปีที่ผ่านมาเบียร์พรีเมียม ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหดตัวลง 20-25% ขณะที่ตลาดโดยรวมหดตัว 10-11% ซึ่งผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจปีที่ผ่านมา ทำให้พฤติกรรมการดื่มเบียร์คนไทยคุ้นเคยกับการดื่มเบียร์ราคาถูก
การหันไปซื้อเบียร์ระดับพรีเมียมจึงต้องใช้เวลา นอกจากนี้เบียร์พรีเมียมในช่องทางออนพรีมิส ยังได้รับผลกระทบจากการชุมนุมม็อบเสื้อแดง เนื่องจากคนลดการไปเที่ยวสถานบันเทิงลง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม นี้ ซึ่งปกติเป็นช่วงโลว์ซีซั่น แต่อานิสงส์ดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นตลาดเบียร์ให้เติบโต 10 % และหากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ตลาดเบียร์โดยรวม 1 แสนล้านบาท กลับมาเติบโต 5% ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในช่วงปลายปีนี้มีความรุนแรง และจากการปรับกลยุทธ์การตลาดปีนี้เฟดเดอร์บรอย ตั้งเป้าเติบโต 10-20% หรือมีส่วนแบ่งเพิ่มจาก 2-3% เป็น 4-5% โดยวางเป้าหมาย 3 ปี มีส่วนแบ่ง 10% จากการเติบโต 30% อย่างต่อเนื่อง ส่วนไฮเนเก้น ปัจจุบันเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งกว่า 90% จากตลาด 4,000 ล้านบาท

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:10:25 น.  

 

21 ธันวาคม 2551

ไทยเบฟฯ ชูแผนทำงานหนัก อัดกิจกรรม ใช้งบรอบคอบ รับมือตลาดเบียร์ 1 แสนล้านบาท ปีหน้าหดตัว การแข่งขันเดือดชิงแชร์คู่แข่งเพื่อการเติบโต ปรับกลยุทธ์เบียร์เฟดเดอร์บรอย โฟกัสกลุ่มเป้าหมายชัดเจนแทนกลุ่มในวงกว้าง จ่อคิวทะลวงคนมีกำลังซื้ออายุ 30 ปีขึ้นไป หวังโกยแชร์ 5% หลังพลาดเป้าปีนี้ พร้อมลั่นกลองอัดกิจกรรมช้างดราฟท์ต้นปี

นายชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง อาชา และเฟดเดอร์บรอย เปิดเผยว่า แนวทางการดำเนินการตลาดในปีหน้านี้ ต้องทำงานมากขึ้นและดำเนินกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันมีการพิจารณาใช้งบการตลาดอย่างรอบคอบ โดยอาจตัดงบหรือใช้งบการตลาดเท่าเดิม ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ตลาดเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท ในปีหน้านี้มีแนวโน้มหดตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้บริโภคมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การแข่งขันมีความรุนแรง โดยเฉพาะการโตจากการส่วนชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง และคาดว่าจากภาวะเศรษฐกิจทำให้เบียร์อีโคโนมี่เป็นเซกเมนต์ที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด

"ในปีหน้านี้ยอดขายจะมีอัตราการเติบโตหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งสิ่งที่บริษัทมีความกังวล คือ เสถียรภาพทางการเมือง"

สำหรับกลยุทธ์ตลาดบริษัทใช้ความแข็งแกร่งของพอร์ตโฟลิโอที่ครอบคลุม ประกอบด้วย เบียร์เฟดเดอร์บรอย เซกเมนต์พรีเมียม ช้าง เซกเมนต์อีโคโนมี่ ช้างดราฟท์ และอาชา เป็นต้น โดยการทำตลาดเฟดเดอร์บรอยปีหน้าโฟกัสกลุ่มเป้าหมายให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะเจาะกลุ่มอายุ 30ปีขึ้นไป เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังการซื้อสอดคล้องกับสินค้า จากเดิมก่อนหน้ากลุ่มเป้าหมายกว้างอายุระหว่าง 22-35ปี ทั้งนี้หลังจากเปิดตัวขณะนี้เฟดเดอร์บรอยค่อยๆ เติบโต โดยหลังจากเปิดลานเบียร์เฟดเดอร์บรอย ส่งผลให้การรับรู้แบรนด์เพิ่มขึ้น แต่ในแง่ส่วนแบ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากเดิมตั้งเป้ามีส่วนแบ่ง 2-3% อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการตลาดปีหน้าตั้งเป้าส่วนแบ่ง 5% โดยปัจจุบันไฮเนเก้นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 95% ในตลาดเบียร์พรีเมียมมูลค่า 9,500ล้านบาท

นายชาลี กล่าวว่า ในช่วงต้นปีบริษัทจะดำเนินกิจกรรมการตลาดช้างดราฟท์ ซึ่งล่าสุดมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันบริษัทจะดำเนินการตลาดเบียร์ช้างในเชิงรุกมากขึ้น เพราะเป็นเซกเมนต์ที่เติบโตและสอดคล้องกับกำลังการซื้อของผู้บริโภค ด้านตลาดเบียร์ในช่วงไฮซีซั่นหรือฤดูกาลจำหน่ายสินค้าในปีนี้ ไม่มีอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังตั้งแต่ช่วงต้นปี แม้ว่าจะกลับมาใช้จ่ายในช่วงปลายปีก็ไม่สามารถทดแทนได้

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:27:49 น.  

 

11 สิงหาคม 2551

สร้างแบรนด์เฟเดอร์บรอยเบียร์ งานอย่างช้างของ ชาลี จิตจรุงพร



ผู้บริหารเบียร์ช้างได้ฤกษ์เปิดเบียร์ตัวใหม่ ในกลุ่มพรีเมียมเป็นครั้งแรก� ภายใต้แบรนด์เฟเดอร์บรอย (Federbrau)

เฟเดอร์บรอย เป็นเบียร์ขวดเขียวน้องใหม่ล่าสุดที่ไทยเบฟ พัฒนา และผลิตขึ้นเอง

ชื่อที่เรียกยากๆ นั้น คือคำแปลภาษาเยอรมันของคำว่า Feather Brew

เปิดตัวด้วยการแนะนำตัวกับผู้แทนจำหน่ายที่คิงเพาเวอร์ และเริ่มทยอยกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาด โดยมีสินค้า 3 ขนาด คือ��ขวดใหญ่ 630 มล. ขวดเล็ก 330 มล. และกระป๋อง 330 มล.

เบื้องต้นจะเน้นการวางจำหน่ายตามช่องทางผับ บาร์ หลังจากนั้นก็จะทยอยกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางอื่นๆ ทั้งร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต และไฮเปอร์มาร์เกต�โดยจะมีการวางจำหน่ายครอบคลุมทุกช่องทางทั่วประเทศประมาณต้นเดือนมิถุนายนนี้�����

"เฟเดอร์บรอย เป็นเบียร์สไตล์เยอรมัน จึงตั้งชื่อแบบเยอรมัน ซึ่งความหมายว่า เบียร์ขนนกสีแดง หรือ เบียร์ที่บางเบาเหมือนขนนก เพราะมีแอลกอฮอล์บางเบาเพียง 4.7% เท่านั้น จึงเป็นเบียร์ที่มีรสชาติอ่อนที่สุดของเบียร์ในเครือช้าง นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองคุณภาพจากประเทศเยอรมนีว่าเป็นเบียร์สูตรเยอรมันแท้” สมชัย สุทธิกุลพานิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายเบียร์ช้าง กล่าว

การออกเบียร์พรีเมียมเข้ามาในตลาดครั้งนี้ ไม่เพียงเฉพาะแค่เติมพอร์ตโฟลิโอเบียร์ให้ครอบคลุมมากขึ้นเท่านั้น� แต่ยังมองเห็นโอกาสทางการตลาดของเบียร์กลุ่มนี้ เนื่องจากพรีเมียมเป็นตลาดที่ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก เพราะมีมูลค่าเพียง 6,000-7,000 ล้านบาท ที่สำคัญมีผู้ประกอบการที่ทำตลาดอยู่เพียงรายเดียว คือ ไฮเนเก้น

"สาเหตุที่เลือกจุดขายความเป็นเบียร์เยอรมันในการเปิดตัวตลาดระดับพรีเมียมครั้งนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ซึ่งคนไทยอาจจะไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรที่มาของเบียร์มากนัก เราจึงจะเน้นการสื่อสารกับผู้บริโภคว่าเบียร์แบรนด์ใหม่นี้เป็นเบียร์สไตล์เยอรมันแท้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเบียร์สไตล์เยอรมันให้มากขึ้นด้วย"

เบียร์เฟเดอร์บรอย เป็นเบียร์ที่ผลิตในประเทศโดยโรงงาน บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำกัด หรือเดิมชื่อบริษัท คาร์ลสเบอร์ก บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด�����

หลังจากไทยเบฟ ได้ดึงตัวนายชาลี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีผลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 นั้น

ก็ได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานภายใน คือให้ ชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด ดูเรื่องกลยุทธ์การตลาดเบียร์ของไทยเบฟทุกแบรนด์ประกอบด้วย ช้าง, ช้างไลท์, อาชา และเฟเดอร์บรอย

ส่วน นายสมชัย สุทธิกุลพานิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง ดูแลทางด้านการตลาดของเบียร์ช้าง เดิมจะรับผิดชอบทำตลาดเครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์

กล่าวคือต้องการให้นายชาลีมาวางกลยุทธ์ตลาดเบียร์พรีเมียมตัวใหม่ เฟเดอร์บรอย (Federbrau) เป็นงานชิ้นใหญ่ชิ้นแรก ดูแลเรื่องกลยุทธ์ตลาดเบียร์ช้างโดยรวม รวมถึงดูแลทางด้านเครื่องดื่มในส่วนที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์อีกด้วย

หลังจากเปิดตัวมา 3 เดือน และได้มีการเริ่มทำกิจกรรมโปรโมตตามผับบาร์ และมีการยิงสื่อวิทยุ เพื่อให้ผู้คนคุ้นชื่ออันแสนเรียกยาก ก็ได้ฤกษ์ทำสื่อสารการตลาดเต็มรูปแบบ โดยมีทั้งโฆษณาทีวี และสื่อนอกบ้าน รวมทั้งวิทยุ และกิจกรรมอย่างเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ได้มีการเดินเกมผ่านออนไลน์ ตั้งแต่ใช้เว็บเป็นช่องสื่อสารกิจกรรมต่างๆ (www.federbrau.com) เปิดหน้า Hi5 ใช้สาวๆ เป็นตัวดึงลูกค้าหนุ่มๆ (//federgang.hi5.com) รวมทั้งมีหน้าเว็บ Twitter เครือข่ายทางสังคมที่คอยแจ้งข่าวอัปเดตตลอดเวลาด้วย (//twitter.com/federbrau)

เฟเดอร์บรอยจะประสบความสำเร็จหรือไม่?

เพราะอะไร?��

บทวิเคราะห์
ตลาดเบียร์ไทยแข่งขันกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านนับตั้งแต่เบียร์เปลี่ยนกลยุทธ์หันมาขายเหล้าพ่วงเบียร์เมื่อปี 2540 ทำให้เบียร์ช้างประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด จากเดิมที่ขายได้น้อย ส่วนแบ่งตลาดเป็นเลขตัวเดียว กลายเป็นเจ้าตลาดเบียร์ในแง่ส่วนแบ่งตลาด และรายได้ กลายเป็นหนามยอกอกเบียร์สิงห์ ซึ่งเคยเป็นเจ้าตลาดเดิมแบบไร้คู่แข่งอย่างยาวนาน

สาเหตุที่เบียร์ช้างประสบความสำเร็จในการทลายห้างเบียร์สิงห์นั้นเป็นเพราะเบียร์ช้างใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายของเหล้าของตนเองหักด่านช่องทางการจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์เป็นผลสำเร็จ ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

ความสำเร็จของเบียร์ช้างไม่ได้ทำให้ยอดจำหน่ายของสิงห์ตกลงไปมากนัก แต่ทว่าในแง่ของส่วนแบ่งตลาดถือว่าลดลงไปแบบฮวบฮาบ เพราะเบียร์สิงห์เคยครองส่วนแบ่งตลาดถึง 90% แสดงว่าเบียร์ช้างไม่ได้แย่งตลาดเบียร์สิงห์โดยตรง แต่เข้ามาทำให้ตลาดผู้ดื่มเบียร์เพิ่มขึ้น ซึ่งก็คือการเปลี่ยนผู้ดื่มเหล้าให้หันมาดื่มเบียร์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม สิงห์ก็ตอบโต้ทุกกระบวนท่า ออก Fighting Brand ออกมาหลายตัวจนกระทั่งลงตัวที่ลีโอ ไทเบียร์ และล่าสุดก็คือเบียร์อีสาน

ด้านฝ่ายช้างนั้น แม้จะประสบความสำเร็จกับเบียร์ตลาดล่าง แต่ก็ไม่ได้พึงพอใจแต่เพียงเท่านั้น ต้องการรุกเข้าไปในเซกเมนต์ใหม่ที่เจ้าตลาดอื่นจับจองอยู่

อาชาออกมา เพื่อชนกับลีโอ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเมื่อกระแสการดื่มแบบชิลชิลมาแรง สิงห์ส่งสิงห์ไลท์ลงสู่ตลาด ช้างก็ส่งช้างไลท์ลงสู่ตลาดเช่นกัน ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเบียร์ช้าง เพราะแบรนด์ช้างนั้นเป็นแบรนด์จับตลาดรากหญ้า แต่ไลท์เบียร์นั้นน้องๆไฮเนเก้น ทำให้ช้างไลท์ไม่สามารถแจ้งเกิดได้ ทว่าไทยเบฟก็ไม่ละความพยายามในการไต่สู่ตลาดบนอีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องการมีเบียร์ให้ครบทุกเซกเมนต์

แต่ที่ผ่านมาไทยเบฟไม่เชี่ยวชาญการเจาะตลาดบน เนื่องจากขาดมือการตลาดระดับเซียน ต่อเมื่อได้ชาลี จิตจรุงพร ที่อยู่คู่กับเป๊ปซี่ตลอดมายาวนานให้มาอยู่ภายใต้ร่มไม้ชายคาไทยเบฟ ย่อมหวังว่าความเก๋าของชาลีนี่แหละจะช่วยเจาะตลาดบน

กล่าวสำหรับชาลี การมาอยู่ในอาณาจักรของเจริญ หลังเออร์ลี รีไทร์นั้นถือว่าเป็นการพิสูจน์ตัวเองอย่างดีที่สุด เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้ร่มเงาแบรนด์เป๊ปซี่แล้ว ดังนั้นเมื่อเข้ามาในเครือไทยเบฟก็ต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองนั้นเก่งจริงด้วยตัวเอง ไม่ใช่ประสบความสำเร็จเพราะทำแบรนด์ที่สำเร็จอยู่แล้ว

การออกเฟเดอร์บรอย เบียร์พรีเมียมเกรด จึงเป็นงานชิ้นแรกของชาลี จิตจรุงพร ซึ่งถือว่าเป็นบททดสอบครั้งสำคัญ เนื่องจากที่ผ่านมานอกจากเบียร์ช้างแล้ว ค่ายไทยเบฟไม่มีเบียร์แบรนด์ใดที่ประสบความสำเร็จอีกเลย และค่ายไทยเบฟก็ไม่มีจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเพราะการขายพ่วงทำให้ราคาจำหน่ายถูกอย่างเหลือเชื่อ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว

เมื่อหยุดกลยุทธ์การขายพ่วง ยอดส่วนแบ่งตลาดจะตกทันที แสดงว่าที่ขายได้ดีเพราะราคาเท่านั้น ผู้บริโภคไม่ได้ติดใจรสชาติ

ขณะที่ค่ายสิงห์มีจุดแข็งในเรื่องรสชาติ และช่องทางจำหน่าย เมื่อใดก็ตามที่เบียร์ช้างหยุดพ่วง มาร์เกตแชร์จะมาอยู่กับค่ายสิงห์ทันที นี่คือเหตุ ที่ทำให้ช้าง ( และอาชา) ต้องพ่วงตลอดไป มีอยู่ช่วงหนึ่งหยุดพ่วง มาร์เกตแชร์โดยรวมของสิงห์ชนะค่ายไทยเบฟทันที

การขยายเข้ามาทำเฟเดอร์บรอยจึงเป็นการพยายามขยายตลาดตีตลาดเบียร์ระดับบน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไฮเนเก้นมีแบรนด์ที่แข็งมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นแบรนด์เบียร์ที่แข็งที่สุดในโลก และแบรนด์ระดับโลกแบรนด์เดียวที่สามารถสำเร็จไปทุกประเทศที่บุกไป

ไฮเนเก้นเด่นด้านการทำสื่อสารการตลาดทุกรูปแบบ เมื่อผนวกกับรสชาติถูกปาก และแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ทำให้ยากที่แบรนด์อื่นจะต่อกรได้

ดังนั้นเมื่อไฮเนเก้นลงสู่ตลาดไทย ก็กวาดเบียร์อื่นออกจากตลาดไป ครองส่วนแบ่งถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้นเป็นเรื่องยากที่เฟเดอร์บรอยจะเบียดแทรกได้ กระทั่งคลอสเตอร์ แบรนด์ที่ติดตลาดแล้วที่สิงห์นำมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเลย เมื่อเปรียบเทียบกับค่ายไทยเบฟที่เด่นเฉพาะการทำเบียร์ระดับล่าง จึงเป็นเรื่องยากที่จะทะลุทะลวงมาในตลาดบนได้

อีกทั้งในแง่รสชาตินั้นต้องสามารถที่จะเบียดขับกับไฮเนเก้นได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้หรือเปล่า

ในแง่ชื่อนั้น ยาว และเรียกยากมาก จริงๆ แล้วไม่ควรเกินสองพยางค์

ชื่อยาก และยาว อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียก ครั้นจะเรียกว่าเฟเดอร์สั้นๆ ก็จะกลายเป็นชื่อเดียวกับแอร์เฟดเดอร์

ด้านสื่อสารการตลาด เพื่อการสร้างแบรนด์นั้น ดูเหมือนถอดจากตำราออกมาทีเดียว ซึ่งไม่มีอะไรแปลก และแตกต่าง ถึงขั้นทำให้คน WOW ได้

การทำตลาดแบรนด์เบียร์แบรนด์ใหม่ตลาดบน ขณะนี้ไม่ง่าย เพราะอุปสรรคของกฎระเบียบทางภาครัฐ

จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากว่าเฟเดอร์บรอยจะทำอย่างไร


 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:31:42 น.  

 

3-9-2008

ช้างลุย‘เบียร์พรีเมี่ยม’ได้ผล


ค่ายไทยเบฟฯเขย่าตลาดน้ำเมาอีกระลอก ส่งไม้ต่อ “ชาลี” ลุยศึกตลาดเบียร์แสนล้าน หลัง “ช้างไลท์” เจาะเซ็กเมนต์พรีเมี่ยมเบียร์ไม่สำเร็จ อัดเพิ่ม 150 ล้าน ปั้นสินค้าใหม่ “เฟดเดอร์บรอย” แก้ตัว พร้อมปูพรมโฆษณารอบทิศ มั่นใจ 3 ปี ตีท้ายครัวเจ้าตลาด “ไฮเนเก้น”

นายชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เบียร์ช้าง อาชา เฟดเดอร์ บรอย เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่า จากที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เฟดเดอร์บรอย เพื่อ เจาะตลาดพรีเมี่ยมเบียร์อย่างเป็นทางการ และได้มีการลง พื้นที่ทำตลาดอย่างหนักในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ค่อนข้างประสบความสำเร็จในเรื่องของ การรับรู้ต่อแบรนด์จากผู้บริโภค อย่างน่าพอใจ

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลัก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่ได้มีการลอนช์ภาพยนตร์ชุดแรกออกมาชื่อว่า “เทอร์มินอล” ภายใต้คอนเซปต์การผจญภัยใกล้แค่เอื้อม นอกจากนี้ก็ยังได้มีการ ใช้สื่อวิทยุ, สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อกลางแจ้ง และสื่ออินเตอร์เน็ตออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการรับรู้แก่กลุ่มผู้บริโภค

พร้อมกันนี้ ได้จัดกิจกรรม “เฟดเดอร์เวนเจอร์” ซึ่งเป็นกิจกรรมโรดโชว์ที่ออกไปทำกิจกรรมกับลูกค้าตามสถานบันเทิงร้านอาหาร ผับ บาร์ โดยเริ่มจากย่านทองหล่อ ถนนข้าวสาร และพระราม 3 เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และยังเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการทดลองชิม สำหรับความเป็นเบียร์น้องใหม่ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยกลุ่มเป้าหมายจะเน้นไปที่กลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี

ขณะเดียวกัน ในเรื่องของการจดจำ แบรนด์เบียร์เฟดเดอร์บรอย คาดว่ายังจะต้อง ใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่เข้ามาใหม่ และชื่อค่อนข้างจำยาก ส่วนการจะแจ้งเกิดได้หรือไม่นั้น ระยะเวลาประมาณ 3 ปี หากยังทำไม่สำเร็จก็ถือว่าล้มเหลว

“การจะทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์นั้นจำเป็นจะต้องมีการสร้างกิจกรรมและประสบ การณ์กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ผู้บริโภคสามารถจำแบรนด์สินค้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่า จะเป็นการสร้างสังคมออนไลน์ หรือการจัดปาร์ตี้ให้ลูกค้าได้ทำความรู้จักและสังสรรค์กัน”

นายชาลี กล่าวว่า สำหรับการทำตลาดของเบียร์น้องใหม่นี้ถือว่าเป็นเรื่องลำบากพอสมควร แต่ทั้งนี้ก็เชื่อว่าความลำบากนั้นมักจะมาพร้อมกับโอกาสเสมอ และการทำงานครั้งนี้โดยส่วนตัวไม่มองว่าเป็นภาระแต่อย่างใด แต่กลับมองว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ และต้องทำให้ประสบความสำเร็จ

สำหรับจุดขายของเบียร์เฟดเดอร์ บรอย เป็นเบียร์พรีเมี่ยม โดยดูจากราคาจำหน่าย และแพ็กเกจจิ้งที่เป็นสีเขียว ซึ่งถือว่ามีความชัดเจนในเรื่องของตำแหน่งสินค้ามากที่สุดในกลุ่มของสินค้าเบียร์กลุ่มไทยเบฟฯ แม้ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทจะมีการออกช้างไลท์มาวางตลาดนั้นก็ตาม

แต่ก็ยังไม่ถือว่าไม่มีความเป็นเบียร์พรีเมี่ยมที่ชัดเจนเท่าที่ควร โดยเบียร์ดังกล่าวถือว่าอยู่ในกลุ่มของเบียร์สแตนดาร์ดมากกว่า ถือว่าเป็นการทำตลาดเบียร์พรีเมี่ยมให้มีความชัดเจนขึ้นและยังเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับผลิตภัณฑ์กลุ่มแอลกอฮอล์ของบริษัทมากขึ้น

ทั้งนี้ ในส่วนของกำลังการผลิตขณะนี้ถือว่ายังสามารถรองรับต่อความต้องการของตลาดได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากเฟดเดอร์บรอย ขณะนี้ยังมีการวางจำหน่ายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเฉพาะหัวเมืองใหญ่และเมือง ท่องเที่ยวเท่านั้น

โดยในปีนี้บริษัทจะให้ความสำคัญกับการทำตลาดเบียร์เฟดเดอร์บรอยค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม เบียร์ตัวอื่นไม่ว่าจะเป็นเบียร์ช้าง หรืออาชาบริษัทก็ยังต้องให้ความสนใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้ โดยเฉพาะเบียร์ช้างซึ่งถือเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับบริษัทมากเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาทุกผลิตภัณฑ์เบียร์ของบริษัทยังต้องมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายและสร้างการรับรู้ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นการรักษาฐานของตลาด

สำหรับการแข่งขันตลาดเบียร์ในปีนี้ถือว่ายังมีความรุนแรง และยิ่งในช่วงสภาวะ เศรษฐกิจไม่ดีหลายบริษัทก็จำเป็นที่จะต้องออกมาทำตลาดกัน โดยเฉพาะการจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ทั้งนี้เพราะทุกบริษัทก็ต้องทำรายได้ให้ตามเป้าที่วางไว้

ปัจจุบันตลาดเบียร์โดยรวมมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท หรือประมาณ 2.2 ล้านลิตร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตลาดเบียร์มีอัตราการเติบโตแบบทรงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่กำลังการซื้อของผู้บริโภคก็มีอัตราที่ลดลง สำหรับ เบียร์เซ็กเมนต์พรีเมี่ยมซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วน 5% หรือประมาณ 5 พันล้านบาท บริษัทคาดว่าเบียร์เฟดเดอร์บรอยหลังจากที่ได้มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องนั้น จะทำให้มีส่วนแบ่งตลาดในตลาดเบียร์พรีเมี่ยมประมาณ 5% ขณะที่ไฮเนเก้น ถือว่าเป็นผู้นำตลาด โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 90%

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:48:43 น.  

 

2010-06-01

บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หนุน 14 ล้านบาท ให้แก่สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ประเดิมงานแรกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอล “ปริ๊นเซสคัพ” เฟดเดอร์บรอย วีเมนวอลเลย์บอลอินวิเตชัน ครั้งที่ 15" ณ เมืองย่าโม โดยมี 10 ชาตินักตบร่วมประชันฝีมือกับสาวไทยชุดแชมป์เอเชีย ในวันที่ 11-18 มิถุนายนนี้

เมื่อวันอังคารที่ 1 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเอล็กซานเดอร์ ถนนรามคำแหง พงศ์โพยม วาศภูติ นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นประธานในงานแถลงข่าว การให้การสนับสนุนสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย โดยบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และการแข่งขันวอลเลย์บอล “ปริ๊นเซสคัพ” เฟดเดอร์บรอย วีเมนวอลเลย์บอลอินวิเตชัน ครั้งที่ 15" ร่วมกับ สมควร รวิรัฐ เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย, นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก นายกอบจ.นครราชสีมา และ นายกสมาคมกีฬาจ.นครราชสีมา

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:52:16 น.  

 

สิงหาคม 2552

เกิดมาลุย...เฟดเดอร์บรอยควง "วุ๊ดดี้" สร้างแบรนด์ ทอล์กโชว์ผสมคอนเสิร์ต


เมื่อนางเอกดัง “อั้ม พัชราภา” ท้าให้ “วู้ดดี้ มิลินทจินดา” พิธีกรปากกล้า จับหน้าอกพิสูจน์กับคำถามแบบยิงตรง “นมจริงนมปลอม” ในงานปาร์ตี้ The Bachelor’s Night Party ปรากฏเป็นข่าวดังทั่วเมือง ว่อนทั้งในเว็บและหน้าบันเทิง แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อแบรนด์เฟดเดอร์บรอย ในฐานะสปอนเซอร์ผู้จัดงานนี้ก็ตาม

แต่สำหรับเฟดเดอร์บรอยแล้ว นี่คือแรงโปรโมตชั้นดีให้กับ The Bachelor’s Night Party ครั้งต่อไปของเบียร์เฟดเดอร์บรอยให้แรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เบียร์เฟดเดอร์บรอยยังไม่แรงสมใจ หนำซ้ำกลยุทธ์ Music Marketing จัดคอนเสิร์ต ก็ยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งให้จดจำแบรนด์ได้

ชาลี จิตจรุงพร รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ POSITIONING ถึงผลงาน 1 ปีเศษที่ผ่านมา กับการปั้นเฟดเดอร์บรอยให้เป็นที่รับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย แม้ “ขนนกแดง” จะไม่พลิ้วไหวสวยงามดังใจหวัง ด้วยปัจจัยลบหลายประการ

ปัจจุบันเฟดเดอร์บรอยมีส่วนแบ่งการตลาด 2-3% ในตลาดเบียร์พรีเมียมเท่านั้น ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์เบียร์ของไทยเบฟเวอเรจทุกตัวอยู่ที่ 40-50% ซึ่งชาลีบอกว่าเป็นธรรมดา เพราะเฟดเดอบรอยด์ยังอยู่ในขั้นตอนของการ “สร้างเนื้อสร้างตัว” ยิ่งเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยิ่งทำให้เฟดเดอร์บรอยหงอยไปถนัดตา ต้องมาเจอกฎระเบียบโฆษณาที่คุมเข้ม ยิ่งขยับตัวทำอะไรได้ลำบาก แม้แต่คู่แข่งที่แข็งแกร่งก็ยังต้องประคองตัว เพราะกำลังซื้อถดถอย

“ตลาดนิ่งๆ เฟดเดอร์บรอยก็ยังนิ่งอยู่ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างสร้าง Brand Awareness ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นคนจะลืมง่าย แต่ต้องอดทน และยังคงใช้งบการตลาดปีละ 100 กว่าล้านบาทเหมือนเดิม”

แต่ในปลายปีเฟดเดอร์บรอยเตรียมส่งภาพยนตร์โฆษณาใหม่ในปลายในไตรมาส 3 นี้ ซึ่งเนื้อหาจะยังคงสานต่อปรัชญาของแบรนด์ที่ว่า Adventure is all around เช่นเคย

สร้างสมการตลาดใหม่ ทำไมต้อง “วู้ดดี้”

การพยายามค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่แบรนด์คู่แข่งไม่ได้ทำ คือสิ่งที่ท้าทาย เพราะการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์มักไม่พ้น 3 Platform ใหญ่ คือ ดนตรี-กีฬา-บันเทิง ถึงแม้ว่า FederVenture Party กับการร่วมมือกับวู้ดดี้ครั้งนี้จะอยู่ใน Platform ของ “บันเทิง” แต่เป็นบันเทิงในรูปแบบของทอล์กโชว์ ที่สำคัญ เป็นทอล์กโชว์ที่สร้างกระแส Talk of the town ได้แทบทุกเทป

“เรามองหาความบันเทิงที่กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ รายการวู้ดดี้เขาก็แรง ตัวเขาก็แรง กำลังดังอยู่ในกระแส นอกจากนี้รูปแบบของรายการยังสอดรับกับ Adventure is all around ด้วย คือ ค้นหาคำตอบจากแขกรับเชิญที่น่าสนใจ อย่างตื่นเต้นและมีลุ้นในทุกๆ เทป เหมือนการผจญภัยเข้าไปในชีวิตของแขกรับเชิญ”

รายการ “วู้ดดี้เกิดมาคุย” ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 22.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ฮอตฮิตติดลมบนตั้งแต่การออกอากาศในเทปแรกๆ จากสไตล์การถามแรงๆ และลูกล่อลูกชนของวู้ดดี้กับแขกรับเชิญ รวมถึงการเลือกแขกรับเชิญที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสังคม

ในเวลาไม่นานรายการนี้ถูกหมายตาจากเจ้าของสินค้าและบริการหลากหลายแบรนด์ที่เข้ามา Tie-in นับสิบๆ แบรนด์แล้ว เช่น F&N กาแฟ 3 in 1, แอนลีน และเป๊ปซี่ แมกซ์ เป็นต้น จนเกิดการล้อกันว่ารายการนี้ไม่ใช่วู้ดดี้เกิดมาคุยแต่เป็น “วู้ดดี้เกิดมาขาย” ต่างหาก

แม้จะมีเรตติ้งเพียง 2 แต่สำหรับรายการ Late Night Show แล้วถือว่าเป็นเรตติ้งที่สูงเอาการ และแน่นอนประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรายการคืนนั้นจะกลายเป็นประเด็นสนทนาในเช้าวันรุ่งขึ้นของใครหลายคน

วูดดี้จะทำหน้าที่ “ประชาสัมพันธ์” และเชิญชวนให้แฟนๆ รายการ เข้าไปร่วมค้นหาวิธีการร่วมงานปาร์ตี้ ที่เขาทำหน้าที่เป็นพิธีกรสัมภาษณ์ดาราดังในกระแส โดยไม่ได้เอ่ยชื่อแบรนด์เฟดเดอร์บรอยแม้เพียงครั้งเดียว

เท่ากับว่ารายการวู้ดดี้เกิดมาคุยเป็นทางออกที่นุ่มนวลและรอดพ้นจากกฎหมายว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปได้อย่างแนบเนียน ขณะเดียวกันก็ยังสร้างกระแสต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ได้อีกด้วย

ความร่วมมือในครั้งนี้กินระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งจะมี FederVenture Party 6 ครั้ง จากเดิมจะจัดถี่ราวเดือนละ 2-3 ครั้ง ซึ่งชาลีบอกว่า “เฝือ” เกินไป ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่จดจำ และไม่เห็นความสำคัญ

ด้านการคัดเลือก “คนดัง” มาร่วมเป็นแขกรับเชิญให้วู้ดดี้ซักไซ้นั้น ชาลีบอกว่า “เราจะเป็นคนกำหนดว่าแขกรับเชิญในปาร์ตี้แต่ละครั้งเป็นใคร แต่อันดับแรกคือต้องเป็นคนดังที่อยู่ในกระแส ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เราเปิดปาร์ตี้แรกด้วยอั้ม พัชราภา เพราะตอนนั้นใครๆ ก็รู้ว่าเขาฮอตมาก”

ในแต่ละเทปวู้ดดี้จะพูดดึงดูดให้แฟนรายการเข้าไปติดตามรายละเอียดของการร่วมงานปาร์ตี้ใน //www.woodytalk.com จากนั้นจะเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเฟดเดอร์บรอยโดยอัตโนมัติ คือ //www.federbrau.com เพื่อรับทราบกติกาและรายละเอียดในการเข้าร่วมปาร์ตี้ต่อไป

แขกรับเชิญคนแรกของปาร์ตี้หนุ่มโสด คือ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมาที่คลับ คัลเชอร์ กับกระแสเม้าท์ทั่วเมืองในทันที กับเรื่องท้าพิสูจน์นมจริงนมปลอมจนเกิดกรณีอั้มท้าวู้ดดี้จับจับหน้าอก

กลายเป็น Viral Marketing ที่ส่งผลต่อความอยากรู้อยากเห็นของคนในวงกว้างโดยเฉพาะในสังคมออนไลน์และเว็บบอร์ดต่างๆ ทำให้เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่ได้จบเพียงแค่งานอีเวนต์ที่มีระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น

ที่สำคัญคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นในอีเวนต์ไม่ได้ถูกนำมาออกอากาศ ยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดการถามไถ่จากผู้ที่ไม่ได้ไปร่วมงานแต่ได้รับทราบข่าวดังกล่าว ก่อนที่จะถูกนำไฮไลต์เพียงบางส่วนของงานมาออกอากาศในตอนท้ายของรายการในอีกหลายสัปดาห์ต่อมา

สำหรับงาน FederVenture Party โดยวู้ดดี้ครั้งที่ 2 นี้ เป็นการ เปลือยใจสาวฮอต ปู ไปรยา พร้อมด้วยคอนเสิร์ตโดม โนโลเก้ และวงโปเตโต้ ซึ่งร้อนแรงไม่แพ้ครั้งแรก

จากการพลิกกลยุทธ์มาใช้ “ดารา” ในกระแสเป็นจุดขายของงานปาร์ตี้ พร้อมกับบทสัมภาษณ์ร้อนๆ จากวู้ดดี้ แทนที่จะชูคอนเสิร์ตจากศิลปิน นักร้องเหมือนที่ผ่านมา จึงทำให้งานปาร์ตี้ของเฟดเดอร์บรอยได้รับการจดจำและสะท้อนภาพของความเป็น Exclusive Event ได้มากกว่าการจัดปาร์ตี้รูปแบบเดิมๆ เพราะศิลปินต่างก็เดินสายร่วมปาร์ตี้กับแบรนด์อื่นๆเช่นเดียวกัน

ชาลีรู้ดีว่าแม้การใช้วู้ดดี้กับปาร์ตี้จะสร้างสีสันและสร้างแรงดึงดูดได้มาก แต่ก็ไม่อาจส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของเฟดเดอร์บรอยให้เพิ่มขึ้นได้อย่างเร้าใจ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรและปล่อยให้แบรนด์ง่อยเปลี้ยไปโดยใช่เหตุ เพราะชาลีเชื่อว่าในสถานการณ์ที่ย่ำแย่เช่นนี้ต้อง “ค่อยๆ เยียวยารักษากันไป”

กลเกม “เฟดเดอร์บรอย”

เฟดเดอร์บรอยใช้ Intregreted Media ที่น่าสนใจ โดยเป็นการส่งต่อ Messege ผ่านทั้ง Mass Media (TV) + Digital (Website) + Below the line (Event) โดยแสดงให้เห็นได้ตามแผนผังต่อไปนี้

Entertainment Platform------- ทอล์กโชว์-------วู้ดดี้เกิดมาคุย-----www.woodytalk.com และ //www.facebook.com/woodytalk ----www.federbrau.com ----Exclusive Event + Exclusive Guest----Viral Marketing



 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 4:54:51 น.  

 

กรุงเทพฯ(ไทยทาวน์ยูเอสเอนิวส์) : 12 มีนาคม 2552


เฟดเดอร์บรอย เดินหน้ากระตุ้นตลาดเบียร์พรีเมียม จัดกิจกรรมกลางกรุง
“เบียร์เฟดเดอร์บรอย” กระตุ้นตลาดเบียร์พรีเมี่ยมอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมใหญ่ “เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 3” กลางกรุงฯ ขยายการจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ที่รักอิสระ และความท้าทาย พร้อมมองหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิต



ไทยเบฟพร้อมขยายตลาดเบียร์พรีเมี่ยม “เฟดเดอร์บรอย” อย่างต่อเนื่อง ในปี 2552 โดยเฟ้นหากิจกรรมที่ประทับใจและตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก เริ่มด้วยกิจกรรมใหญ่ “เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 3” ที่ บลู-โอ สยามพารากอน ชั้น 5 มีทั้งการแข่งขันโบว์ลิ่ง มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง พร้อมกระทบไหล่หนุ่มสาวเฟดเดอร์บรอย ที่มีชื่อเสียงทางสังคม celebrities

นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า หลังจาก เฟดเดอร์บรอยประสบผลสำเร็จจากการจัดกิจกรรม เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์1 และ 2 มาแล้วในปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งในปีศักราชใหม่ เฟดเดอร์บรอย ได้จัดกิจกรรม “เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 3” โดยเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 12 มีนาคม 2552 ณ บลู-โอ สยามพารากอน ชั้น 5

“เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 3” โดย เฟดเดอร์บรอย ที่ได้จัดขึ้นในครั้งนี้เป็นการพัฒนาจากการจัดกิจกรรมเฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 1 และ 2 ที่จัดขึ้นในปีที่แล้ว โดยมองหาสถานที่จัดกิจกรรมใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่รักอิสระ และความท้าทาย พร้อมมองหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิต ซึ่งเป็นการต่อยอดจากปีที่แล้วที่ได้จัดกิจกรรมกับผับหรูบนถนนสายบันเทิงหลักๆ ของกรุงเทพและต่างจังหวัด

โดยการเปิดตัวกิจกรรม “เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 3” โดย เฟดเดอร์บรอย ที่ บลู-โอ สยามพารากอน ในครั้งนี้ มีกิจกรรมทั้งการแข่งขันโบว์ลิ่งระหว่างผู้บริหารของไทยเบฟและเจ้าของผับ บาร์ชื่อดัง รวมถึงหนุ่มสาว Federbrau ที่มีชื่อเสียงทางสังคม (Celebrities) อีกหลายคนที่มาร่วมงาน และการแสดงมินิคอนเสิร์ตจาก โป้-โยคี เพลย์บอย และวง scrubb

นายชาลี กล่าวอีกว่า ในปีนี้ เฟดเดอร์บรอยจะจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นตลาดเบียร์พรีเมี่ยมทุกเดือน โดยจะเฟ้นหาสถานที่ และประเภทจัดกิจกรรมให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก ซึ่งนอกเหนือจากโบว์ลิ่งทั้งค่ายของเมเจอร์และเอสเอฟ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเบียร์เฟดเดอร์บรอยแล้ว ยังมีสถานที่ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายนิยมไปทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรายละเอียดของการจัดกิจกรรมสามารถติดตามได้ที่ //www.federbrau.com และตามสื่อนิตยสาร และคลื่นวิทยุต่างๆ

“การจัดกิจกรรมของเราจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยยึดแนวความคิดตามสีสันในแต่ละเดือนเป็นหลัก พร้อมกับผสมผสานเรื่องการท้าทายที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ และตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าเบียร์เฟดเดอร์บรอยเป็นสำคัญ และเชื่อว่ากิจกรรมใหญ่ “เฟดเดอร์เวนเจอร์ ซีซันส์ 3” ที่จัดในครั้งนี้ จะตอกย้ำความเป็นเบียร์พรีเมี่ยมของ เฟดเดอร์บรอยที่โดนใจคนรุ่นใหม่ซึ่งมีไลฟ์สไตล์เท่ๆ รักอิสระและความท้าทาย พร้อมสรรหาสิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิตได้อย่างลงตัว”

แฟนๆ ของเบียร์เฟดเดอร์บรอย สามารถติดตามกิจกรรมมันส์ๆ แปลกใหม่ และเร้าใจ สไตล์เฟดเดอร์บรอย ได้ที่ //www.federbrau.com และตามสื่อนิตยสาร และคลื่นวิทยุต่างๆ














ชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการบริษัทไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ร่วมกับสรกฤต ลัทธิธรรม ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโส บริษัทไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด แถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์ชุดใหม่เบียร์อาชา “สัมพันธภาพที่ตัดกันไม่ขาดระหว่างเพื่อน” ณ เฮาส์ ออฟ คาเฟ่ อาร์ซีเอ เมื่อเร็วๆนี้

Synopsis :

เป็นเรื่องราวของแก๊งเพื่อนนักดนตรี ที่มีความฝันและพร้อมที่จะฝ่าฟันไปด้วยกันเพื่อให้ถึงฝั่งฝัน ระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ทำให้เพื่อนคนหนึ่งต้องผิดใจกับพระเอก และแยกวงออกไป แต่สมาชิกวงที่เหลือก็ยังรวมใจเป็นหนึ่ง จนได้มีคอนเสิร์ตของตัวเอง ในตอนสุดท้ายด้วยความจริงใจและให้อภัยกัน เพื่อนที่เคยแยกออกจากวงก็กลับมาดูความสำเร็จของเพื่อนๆ นี่แหละ...ที่เค้าเรียกว่า “สัมพันธภาพ..ตัดกันไม่ขาด”

 

โดย: ongchai_maewmong 13 กรกฎาคม 2553 5:06:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


MM Story
Location :
Singapore / Bangkok / Sapporo - Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




free counters
New Comments
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add MM Story's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.