Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
16 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
ความหมายของอาชีพอิสระ

คำว่า " อาชีพอิสระ " ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน โดยมีระดับของเงื่อนไขมากน้อยต่างกันไป อาทิเช่น

อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง

อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่ประกอบกันเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะทีjต้องการ การฝึกฝนอบรมพอสมควร เช่น อาชีพทำของที่ระลึกด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น การปลูกผัก การเลี้ยงปลา การประกอบอาหารเป็นต้น และผู้ประกอบการอิสระ หมายถึง ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่เป็นธุรกิจ

อาชีพอิสระ เป็นอาชีพที่สามารถดำเนินการเองได้โดยลงทุนน้อย ใช้ความคิด กำลังกายค่อนข้างมาก เน้นการพึ่งตนเอง คำว่าอาชีพอิสระมีความหมายคล้ายกันกับอาชีพส่วนตัว ธุรกิจขนาดย่อม การประกอบการขนาดย่อม เป็นต้น

อาชีพอิสระหมายถึง ธุรกิจเป็นอิสระ มีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด และไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลอื่น หรือธุรกิจอื่น

อาชีพอิสระหมายถึง อาชีพส่วนตัวทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นระบบ ( Formal Sector ) และภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นระบบ ( Informal Sector ) เจ้าของกิจการเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรูปของกำไร ไม่ใช่เงินเดือน
อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่มีลักษณะ ดังนี้

1. เจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง รับเงินเดือนจากนายจ้าง แต่ได้รับค่าตอบ แทนจากลูกค้า
2. เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานโดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้ จำนวนไม่เกิน 5 คน และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน 500,000 บาท

อาชีพอิสระนี้ไม่สามารถแยกจากธุรกิจขนาดย่อมหรือการประกอบการขนาด ย่อมได้ชัดเจนเพราะมีความคล้ายคลึงและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน บอมแบ็ค ( Baumback , 1988 ) ให้คำจำกัดความของธุรกิจขนาดย่อม ว่าเป็นธุรกิจที่เจ้าของเป็นผู้จัดการธุรกิจด้วยตนเอง มีความเป็นอิสระ ส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่น และอาศัยแหล่งทุนภายในในการขยายกิจการอีกความหมายหนึ่งของธุรกิจขนาดย่อมที่ ได้รับการยอมรับ เป็นความหมายที่ได้รับการเสนอแนะโดย The Committee for Economic Develment ( CED ) ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายของธุรกิจขนาดย่อมไว้ว่าเป็นธุรกิจที่มีลักษณะอย่างน้อยที่ สุด 2 ประการจากลักษณะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. การบริหารงานเป็นอิสระ เจ้าของเป็นผู้บริหารงานเอง

2.บุคคล เดียวหรือกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งจัดหาเงินทุนและเป็นเจ้าของธุรกิจ 3. ขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่นเป็นส่วนมาก พนักงานและเจ้าของอาศัย อยู่ในชุม ชนเดียวกัน แต่ตลาดของสินค้าหรือบริการไม่จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นนั้นก็ได้

4. ธุรกิจมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในธุรกิจประเภท เดียวกัน หลัก เกณฑ์ที่ใช้วัดอาจจะเป็นจำนวนพนักงาน ยอดขาย หรือทรัพย์สิน
การประกอบการขนาดย่อมมีลักษณะ 2 ประการ เหมือนอาชีพอิสระ กล่าวคือ
เป็น อาชีพที่เจ้าของไม่เป็นลูกจ้าง รับเงินเดือนจากนายจ้าง แต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้าและเจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ ปฏิบัติงานแต่มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนผู้ช่วยปฏิบัติงานและ เงินทุนดำเนินงานกล่าวคืออาชีพอิสระจะมีผู้ช่วยปฏิบัติงานไม่เกิน5คนและทุน ดำเนินการไม่เกิน500,000บาทแต่การประกอบการขนาดย่อมจะมี

ผู้ช่วยปฏิบัติ งาน ตั้งแต่ 6 - 50 คน และทุนการดำเนินการตั้งแต่ 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 6,000,000 บาท สำหรับคำว่า ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ หมายถึง เจ้าของกิจการหรือผู้ที่ทำงานธุรกิจต่าง ๆ นอกเหนือไปจากอาชีพลูกจ้าง พนักงานราชการที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้างรายเดือนหรือรายวัน รวมถึงผู้ที่ช่วยครอบครัวประกอบธุรกิจและได้รับค่าตอบแทนจากผลกำไร หรืออาจมีความหมายว่า หมายถึง บุคคลที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ที่ประกอบอาชีพหารายได้เองโดยไม่มีนายจ้าง ไม่อยู่ในฐานะลูกจ้าง แต่เป็นนายตนเอง เป็นเจ้าของกิจการและจะต้องปฏิบัติงานเอง อาจมีผู้ปฏิบัติงานด้วยก็ได้ แต่เนื่องจากการทำโครงงานครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ ผู้มีอายุระหว่าง 13 - 15 ปี จึงได้กำหนดคำจำกัดความของอาชีพอิสระในความหมายกว้างว่า อาชีพอิสระหมายถึงอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการเองทั้งหมดหรือ บางส่วนก็ได้ โดยไม่รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน โดยอาจจะมีผู้ช่วยปฏิบัติงานหรือไม่ก็ได้

การประกอบอาชีพอิสระ

ความหมาย การประกอบอาชีพอิสระ คือ การประกอบกิจการส่วนตัวต่างๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฏหมาย เป็นธุรกิจของตนเองไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม มีอิสระในการกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ไม่มีเงินเดือนหรือรายได้ที่แน่นอน ผลตอบแทนที่ได้รับคือเงินกำไรจากการลงทุน
1. เป็นเจ้านายตนเอง ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่
2. กำหนดการทำงานเอง
3. รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
4. สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ อย่างเต็มที่
5. รายได้ไม่จำกัด (ทำมากรวยมาก ทำน้อยรวยน้อย)

คุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ

1. กล้าเสี่ยง (Taking risk) อาชีพอิสระเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว จึงต้องมีการลงทุนในขณะที่ถ้าเป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร ซึ่งการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เพราะไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร ดังนั้น ก่อนที่จะตกลงใจประกอบอาชีพใด จึงต้องพิจารณา วิเคราะห์ และไตร่ตรองอย่างดีเสียก่อน
2. มีความคิดสร้างสรรค์ (Taking initiative) การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใดๆ เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง ดังนั้น ในการปรับปรุงสินค้าหรือบริการสามารถทำได้อย่างมีอิสระ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรในการดำเนินธุรกิจ
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self - Confidence) ธุรกิจแต่ละประเภทต้องการการตัดสินใจที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบอาชีพอิสระจึงต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ในภาวะการณ์ที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ธุรกิจบางประเภทสามารถสวนกระแสเศรษฐกิจโดยรวมได้ ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระจึงต้องมีความมั่นใจ เพื่อจะได้พาธุรกิจของตนให้ผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ได้ ดังนั้น ถ้าไตร่ตรองดีแล้วว่าจะทำอะไร เมื่อไร เวลาใดจงทำทันที
4. อดทน ไม่ท้อถอย (Persistence and dealing with failure) การประกอบอาชีพทุกอย่างย่อมมีทั้งกำไรและขาดทุน โดยเฉพาะเมื่อเริ่มประกอบการใหม่ๆจะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ผู้ประกอบอาชีพจึงต้องพร้อมที่จะรับข้อผิดพลาดและนำมาแก้ไขด้วยความอดทน ไม่ท้อแท้ ท้อถอย
5. มีวินัยในตนเอง (Having discipline) การประสบความสำเร็จในอาชีพซึ่งเราเป็นเจ้าของกิจการเอง จำเป็นจะต้องมีวินัย มีกฏระเบียบการทำงานต้องสม่ำเสมอ ถ้าขาดวินัยการประกอบอาชีพก็อาจไม่ประสบผลสำเร็จการเป็นผู้มีวินัยนับเป็น สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบอาชีพทุกประเภท เพราะวินัยจะเป็นสิ่งที่คอยกำหนดให้ผู้ประกอบการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้ วางไว้ ถ้าผู้ประกอบการขาดวินัย ธุรกิจย่อมจะต้องประสบกับการขาดทุน และล้มเหลวไปในที่สุด
6. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ (Good attitude) ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่มีเกียรติหรือไม่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักในงานที่ทำ และให้เกียรติกับงานนั้นๆ เสมอ
7. มีความรอบรู้ (Seeking information) การประกอบอาชีพอิสระจะต้องรับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ประโยชน์ของการรับรู้ข่าวสารจะทำให้สามารถปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้ทันสมัย อยู่ตลอดเวลา ผลที่ได้ก็คือกำไร
8. มีมนุษย์สัมพันธ์ (Good human relationship) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์อันดี เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บุคคลรอบข้าง หรือคู่แข่งขันก็ตาม เพราะการมีมนุษยสัมพันธ์อันดี จะทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง
9. มีความซื่อสัตย์ (Honesty with customer) ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจในการขายสินค้าหรือบริการและกลับมาใช้ บริการอีกเป็นหัวใจสูงสุด เพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจและต่อตัวเองในที่สุด
10. มีความรู้พื้นฐานในการเริ่มทำธุรกิจ การที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเราควรได้รู้จักสิ่งที่จะทำอย่างน้อยให้รู้ว่า ทำจากอะไร ซื้อวัตถุดิบจากไหนตลาดอยู่แหล่งใด และหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมจะหาได้จากที่ไหน
11. มีการพัฒนาตนเอง ให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการประกอบอาชีพอิสระ เมื่อมีความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพแล้ว ก็ควรได้มีการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนารูปแบบของสินค้าหรือบริการ อีกทั้งยังต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการประกอบอาชีพนั้นๆ เช่น หากเป็นช่างเสริมสวยก็ต้องพัฒนาตนเองให้ดูสวยงาม เมื่อลูกค้าเห็นได้ดูน่าเชื่อถือหรือหากเลือกที่จะขายอาหาร ผู้ขายก็ควรแต่งตัวให้ดูสะอาด ไม่สูบบุหรี่ขณะทำอาหาร เป็นต้น
หน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพโดยการฝึกอบรม

กรุงเทพมหานคร ให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ โดยการจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครปัจจุบันมีทั้งหมด 27 โรงเรียน เปิดสอนทั้งภาคปกติและภาคค่ำ จำนวน 36 สาขาวิชา หลักสูตร 3 เดือน และ 6 เดือน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายการศึกษาอาชีพ กองส่งเสริมอาชีพ สำนักงานพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร โทร. 2476025,2460301-2 ต่อ 2570

กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดตั้งสถานศึกษาวิชาชีพขึ้นทั้ง 75 จังหวัด การดำเนินงาน การเรียนการสอน ของแต่ละสถานศึกษาวิชาชีพ ขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการของผู้เรียนในแต่ละท้องถิ่น หลักสูตรวิชาชีพเน้นวิชาชีพระยะสั้น สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดทุกจังหวัด
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีภาระหน้าที่ด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยทำหน้าที่จัดการฝึกฝีมือแรงงานในสาขาช่างต่างๆ แก่บุคคลโดยทั่วไป ให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ การฝึกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่
- ฝึกเตรียมเข้าทำงาน เป็นการฝึกอาชีพช่างเบื้องต้นแก่เยาวชนอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งไม่เคยมีความรู้หรือฝีมือช่างมาก่อน โดยไม่คิดมูลค่า ระยะเวลาฝึกตั้งแต่ 4-14 เดือน เป็นการฝึกภาคทฤษฎีร้อยละ 20 และการฝึกภาคปฏิบัติร้อยละ 80
- ฝึกยกระดับฝีมือ เป็นการฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มพูนความรู้และฝีมือให้ทันกับวิทยาการสมัยใหม่ แก่ผู้ทำงานอยู่แล้วในตลาดแรงงาน
- ฝึกอาชีพในชนบท เป็นการฝึกอาชีพให้แก่ประชาชน ในชนบท ให้สามารถประกอบอาชีพเสริม ในสาขาช่างต่างๆ นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มรายได้และป้องกันการเกิดปัญหาการว่างงานได้อีกทางหนึ่ง
- การส่งเสริมการฝึกในกิจกรรมและฝึกพิเศษ เป็นการฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ ตามความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ในเขตกรุงเทพมหานคร ติดต่อที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง 93 ซ. อินทามะระ 22 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทร. 6918431
ในส่วนภูมิภาค ติดต่อที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานฯ และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานฯ จังหวัด

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ให้การสนับสนุนด้านการประกอบอาชีพโดยการฝึกอบรม ดำเนินการในพื้นที่ 46 จังหวัด สาขาวิชาที่ส่งเสริมจำนวน 25 สาขาวิชา สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเกิดได้ที่กองศิลปาชีพ สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ 10303 โทร. 2811202, 2821182, 2813493,2811111

มูลนิธิ "ลุงขาวไขอาชีพ" สอนอาชีพง่ายๆ โดยไม่คิดมูลค่า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ที่มีรายได้น้อย เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ระยะเวลาในการฝึกต่ำสุด 3 ชั่วโมง และสูงสุด 150 ชั่วโมง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิฯ เลขที่ 454/100 ซอย 87 ถ.ลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10310 โทร. 5383981

ศูนย์ ส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ สอนอาชีพในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการเกษตร การทำอาหาร เบเกอรี่ คอมพิวเตอร์ การดูดวงชะตา ฯ เสียค่าใช้จ่ายหลักสูตรละประมาณ 700 - 2,000 บาท (แล้วแต่หลักสูตร) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900

ศูนย์เทคโนโลยีอาชีพมติ ชน ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นใช้เวลาอบรม 1 วัน มีหลากหลายหลักสูตร ทั้งด้านงานศิลปประดิษฐ์ การทำอาหาร เบเกอรี่ ฯ ค่าใช้จ่ายหลักสูตรละ 963 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์เทคโนโลยีมติชน อาคารมติชน ย่านประชานิเวศน์ 1 กรุงเทพฯ โทร. 580-0021 ต่อ 1308 (จันทร์-ศุกร์)

ปัจจัยหลักของการประกอบอาชีพ
ปัจจัยของการเริ่มต้นประกอบอาชีพอิสระ คือ จะทำอาชีพอะไร ต้องรู้อะไรต้องเตรียมตัวอย่างไร ดังนั้น
ปัจจัยหลัก ที่สำคัญก่อนเริ่มการประกอบอาชีพอิสระ

ปัจจัยแรก = คือทุน ทุนคือสิ่งที่จะเป็นปัจจัยพื้นที่ของการประกอบอาชีพ โดยจะต้องวางแผนแนวทางการดำเนินธุรกิจไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ ทราบว่าจะต้องใช้เงินทุนประมาณเท่าไร แล้วพิจารณาว่า มีเงินทุนเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอจะหาแหล่งเงินทุนจากที่ใด อาจได้จากการรวมหุ้นลงทุนกันในหมู่ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง หรือการกู้ยืมจากหน่วยราชการ หรือสถาบัน การเงินต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในระยะแรกไม่ควรลงทุนมากเกินไปเนื่องจาก ยังไม่ทราบความต้องการของตลาดที่แท้จริง

ปัจจัยที่สอง = คือความรู้ หมายถึง ความรู้ในงานอาชีพที่จะมาประกอบอาชีพหากไม่ต้อง ศึกษาและฝึกฝนขวนขวายหาความรู้ โดยการเรียนจากสถาบัน ที่ให้ความรู้ด้านอาชีพ ซึ่งมีทั้งของรัฐบาล และเอกชน หรือสมัคร เรียนกับชมรมต่าง ๆ หรือทำงานเป็นลูกจ้างคนอื่น หรือทดลอง ปฏิบัติด้วย ตนเอง เพื่อให้มีความรู้ เกิดทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ

ปัจจัยที่สาม = คือการจัดการ เป็นความสามารถในการบริหารงานของแต่ละบุคคลในการ จัดการเกี่ยวกับอาชีพของตนเอง เป็นสถานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การทำงานในเรื่องคน เงิน เครื่องมือ เครื่องใช้ และ กระบวนการทำงานต่าง ๆ

ปัจจัย ที่สี่ = คือการตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง เพราะ หากสินต้าและบริการ ที่ผลิตขึ้นไม่เป็นที่ติดหู ติดตาของผู้บริโภค ก็ถือว่ากระบวนการ ทั้งระบบไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถแปรสินค้า และบริการเหล่านั้นให้เป็นตัวเงินได้ ดังนั้นการวางแผนการตลาด ซึ่งใน ปัจจุบันมีการแข่งขันสูง จึงควรได้รับการสนใจในการพัฒนา เทคนิคด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัย เพื่อให้เป็นที่สนใจของกลุ่มเป้าหมาย
การจัดการศึกษาเพื่อการไปสู่การประกอบอาชีพอิสระ

การประกอบอาชีพ อิสระ ในประเทศไทยแต่ครั้งก่อนๆ ฐานเศรษฐกิจของประเทศคือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งได้กลายเป็นผู้ประกอบขนาดใหญ่หลายราย และยังเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของระบบอยู่ ฉะนั้นการประกอบอาชีพอิสระจึงนับเป็นการสร้างงานในระยะค้นให้กับตนเอง และให้กับผู้อื่นในระยะต่อไป

อาชีพอิสระ ได้มีการแยกลักษณะของอาชีพส่วนตัวไว้เป็นประเภทใหญ่ๆ อยู่ 3ประเภท คือ

1.ประเภท การค้า
2.ประเภทอุตสาหกรรมและคหกรรม
3.ประเภทบริการ

จากการ รายงานการศึกษาขออง ประดิษฐ์ ชาสมบัติ เรื่องการประกอบอาชีพส่วนตัวในสาขาเศรษฐกิจนอกระบบในกรุงเทพพบว่า ลักษณะและคุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุผู้ประกอบอาชีพอิสระส่วนใหญ่ค่อนข้างสูงมากกว่าร้อยละ 90 อายุเกิน 40ปี จากการวิจัยพบว่า การศึกษาในระบบไม่ได้ช่วยโดยตรง ในการประกอบอาชีพส่วนตัว แต่การศึกษานอกระบบอย่างยิ่งการฝึกฝนและการทำงานในกิจการ (on the job training ) มีบทบาทอย่างสำคัญในการประกอบอาชีพส่วนตัว ในกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมและหัตถกรรม การศึกษาอบรมวิชาชีพระบบสั้นจะช่วยส่งเสริมอาชีพส่วนตัวได้มาก
สิ่งที่ จูงใจให้ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวที่สำคัญๆ คือ เหตุผลที่ว่า มีประสบการณ์ในอาชีพนั้นๆมาก่อน และเห็นลู่ทางในการหารายได้ และกำไร
อุปสรรค ของการขยายการประกอบอาชีพส่วนตัว คือ ขาดแคลนเงินทุนที่จะขยายกิจการ ความไม่แน่นอนของตลาด ส่วนปัญหาเรื่องขาดแคลนแรงงาน วัตถุดิบ และเทคนิคการผลิตเป็นส่วนน้อย ตลอดจนปัญหากฎ ระเบียบของทางการที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบการ เพราะส่วนใหญ่ผู้ประกอบการไม่ได้พึ่งพิงควมช่วยเหลือของทางการเท่าไหร่

บทบาท การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพอิสระ

การทำให้เกิดผู้ประกอบอาชีพอิสระ มากขึ้นนั้น จะรอให้ปัจจัยต่างๆ ค่อยๆ ปรับตัวเองตามธรรมชาติคงเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรคแล้วจึงหาทางแก้ไข อุปสรรคในการประกอบอาชีพอิสระพอจำแนกได้เป็นอุปสรรคภายนอกและภายใน

อุปสรรค ภายใน ได้แก่ ตัวบุคคลเอง เช่นขาดความรู้ที่จะประกอบอาชีพเรียกว่า ทำมาหากินไม่เป็น ขาดการกระตือรือร้นที่จะประกอบอาชีพด้วยตัวเอง ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะประสบความสำเร็จจำเเป็นจะ ต้อง มีคุณลักษณะดังนี้

1.ต้องเป็นคนที่สามารถทนทำงานหนักได้เกินกว่า บุคคลปกติ
2.เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ
3.มีความเชื่อ มั่นในตัวเองและมีความมุ่งมั่นที่จะทำอะไรให้ได้
4.ในการประกอบกิจการใดๆ มักจะตั้งเป้าหมายสูง (แต่สามารถปฏิบัติได้)
5.ไม่เบื่อง่าย ไม่ชอบทิ้งอะไรกลางคันเมื่อพบอุปสรรค
6.เห็นคุณค่าของเงิน
7.มีพลังใน การแก้ปัญหาอย่างไม่เสื่อมคลาย
8.ควรเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
9.รู้จักใช้ ความผิดแต่หนหลังเป็นบทเรียน
10. รู้จักใช้คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นให้เป็นประโยชน์
11.มีความคิดริเริ่ม และกล้าที่จะรับผิดชอบต่อความคิดริเริ่มนั้น
12.รู้จักใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัดให้มีประโยชน์ให้มากที่สุด
13.ในการทำงานต้องตั้งเกณฑ์สูง สุดเข้าไว้และต้องทำให้ได้เสมอ

อุปสรรคภายนอก ได้แก่องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมอำนวยความสะดวก พื้นฐานของผู้อยากประกอบอาชีพอิสระได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของการประกอบการ คือ เงินทุน การตลาด แหล่งวัตถุดิบ การแข่งขัน





ที่มาจาก : //cms.sme.go.th

ลิงค์ : //guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=7225
เนื้อหา :ความหมายของอาชีพอิสระ


Create Date : 16 พฤษภาคม 2554
Last Update : 16 พฤษภาคม 2554 20:39:39 น. 0 comments
Counter : 597 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลูกน้ำกว๊าน
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่าน นะคะ




อยากมีและอยากรู้จัก เพื่อนที่มีที่มาต่างกัน และอยากร่วมแชร์ ประสบการณ์ให้คนอื่น ได้รับรู้บ้าง เพื่อนๆชาว บลอคแกงค์เป็นอะไรที่ ใช่เลย ที่คอยอยู่ด้วยกัน ตลอดเวลา พอเรา เปิดดูครั้งใดก็จะมีคน นั่งเขียนบลอก นั่งอยู่ที่ หน้าจอ คอยเป็นเพื่อน กันเสมอ รัก ทุกคนใน บลอกแกงค์ ค่ะ
: Users Online
Friends' blogs
[Add ลูกน้ำกว๊าน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.