ท่านขงจื่อ孔子





ท่านขงจื่อ孔子 และขงเบ้ง 孔明-諸葛亮


ท่านขงจื่อ孔子

■ ท่าทางดูสง่า ลักษณะราศีเหมือนกษัตริย์เหยาในสมัยโบราณ
■ ลำคองดงามดุจเสนาบดีเกาเถาผู้โด่งดัง
■ หัวไหล่ หนักแน่นดุจ อุปราชจื๋อฉั่น แห่งแคว้นเจิ้ง
■ ท่อนขาทรงพลังดุจกษัตริย์อวี่ ผู้พิชิตน้ำ
กิริยาท่าทางงดงามอย่างหาผู้ใดปาน


....... ...


Photobucket

โอวาท ท่านขงจื่อ

เวลาดุจธารน้ำที่ไหลผ่านทั้งวันแลคืนมิรู้หยุด
ศิษย์ทั้งหลาย พึงตระหนักว่าชีวิตคนเรานั้นแสนสั้น
พวกเจ้าต้องรู้จักถนอมเวลาศึกษาหาความรู้ให้ได้มากที่สุด..

ผู้รับราชการ จะต้องจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
แลต้องรับผิดชอบต่ออาณาประชาราษฎร์
มีความรักใคร่ ต่อมวลประชา ทะนุถนอมเด็กเล็กคนชรา
ทั้งยังต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของปราชญ์เมธีอย่างกว้างขวาง...


เป็น MV ที่น้องชัชชล กู่ฉิน เอื้อเฟื้อ ลงที่ youtube นะคะ เลยเอามาฝากให้ได้รับชมกัน

Credit : sansen30 (youtube) ขอบคุณน้องชัชชล
ลำนำเพลงเหวินอ๋อง เป็นบทเพลงที่ ท่านขงจื่อ ชื่นชมและประทับใจมาก



เมื่อได้อ่านวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ “ ขงจื้อ จอมปราญช์แห่งแผ่นดิน “ และ "คัมภีร์หลุนอวี่" ซึ่งแปลโดยคุณอมร ทองสุก
โดยส่วนตัวรู้สึกนับถือท่านขงจื้อ ในการทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อดำรงไว้ซึ่งจริยธรรม ความเป็นระเบียบ รู้หน้าที่ และสังคมที่เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน


ซึ่งถือว่าอุดมการณ์ของท่านดูเหมือนจะ เป็นสิ่งที่ยากที่จะทำได้ เพราะต้องฝ่าฝันอุปสรรค ทั้งภายนอก และภายในจิตใจ ของท่านเอง
ซึ่งท่าน ต้องเข้มแข็งมาก ทีเดียว ในภาวะที่ยุคสมัยเปลี่ยนแปร ยุคของท่าน เป็นยุคชุนชิว ที่มีการแก่งแย่ง

ท่านดำรงอยู่ได้ ท่ามกลางความแปรเปลี่ยน สังคมวุ่นวาย นับว่าท่านดำรงอยู่ด้วยความมุมานะ อดทน และยึดมั่นในอุดมการณ์ ที่จะสร้างสังคมให้เป็นสังคมที่ดี

ได้อ่านประวัติของท่าน ก็ยิ่งเห็นความยากลำบากของท่านขงจื้อ แล้วก็สะท้อนใจ ส่วนหนี่งนั้น เพราะชีวิตในสมัยท่านมีชีวิต ก็ยังไม่มิได้บรรลุปณิธานสูงสุดของท่าน

แม้จะผิดหวังกับผู้ปกครองรัฐ จากที่ท่านได้เดินทางมา จากแคว้น หนึ่งไปยังอีกแคว้นหนึ่ง ตั้งแต่หนุ่ม จน อายุปาเข้าไป กว่า 70 ปี แต่ท่านก็ยังมุ่งมั่น ใช้ชีวิตที่เหลือ ถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้ลูกศิษย์ เพื่อให้ได้ใช้ ความรู้ ความสามารถ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการรับราชการ และท่านก็เฝ้ามองดู ลูกศิษย์ของท่าน ว่าเป็นอย่างไร

ความนับถือ อีกอย่างก็คือ ท่านเป็นครู ที่เต็มไปด้วย หัวใจที่เมตตา และ รักศิษย์ เหมือนเป็นลูก การสั่งสอนอบรม ที่ได้พิจารณา อุปนิสัย การเรียนรู้ ของศิษย์ ว่า ท่านจะต้องใช้วิธีสอนแบบนั้น เพราะเจตนารมณ์ของท่าน
ก็คือการอบรม สอนสั่งให้ความรู้ เพื่อสามารถนำไปใช้ ไปพัฒนาประโยชน์ต่อส่วนรวม ใครมีความสามารถอะไร ก็ใช้ให้ถูกทาง ใครขาดอะไร ท่านก็ช่วยเติมและกระตุ้นส่วนนั้นให้ เปรียบเหมือน พ่อ อบรม ลูก โดยที่ท่านก็ต้องการให้ลูกศิษย์มีความพัฒนาด้วยตนเองด้วย

ในความเห็นของเรา ในยุคที่สังคมเปลี่ยนแปลง และเริ่มห่างไกลจากความตระหนักถึงจริยธรรม ด้วยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ความคิดที่เปลี่ยนแปลง เราไม่รุ้สึกว่า คำสั่งสอนของท่าน เป็นการครอบงำความคิด เพราะท่านเองก็ยังบอกว่าต้องพัฒนา แต่จะพัฒนาคำสอนอบรมของท่านไปในทางใด
สิ่งที่เรียกว่ายาก แท้จริงก็อยู่ที่เรา อีกส่วนหนึ่งคือ ปัจจัยอื่นๆ จะสามารถฝ่าฝัน และเข้าใจสิ่งนั้นได้ยังไง

ท่านเป็นผู้ที่ใฝ่ในการเรียนรู้มาก เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การที่ท่านได้ไปขอศึกษาวิชาจากท่านเล่าจื้อก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ เรารู้สึกว่า
แม้จะมีความแตกต่าง กันทางความคิด ถึงแม้ท่านเล่าจื้อจะอาวุโสกว่า ท่านเล่าจื้อก็ยังนับถือเป็นสหาย และให้ท่านขงจื้อศึกษาให้เข้าใจด้วยตนเอง

ท่านเล่าจื้อก็เข้าใจหลักความคิด และไม่แทรกแทรง ความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ ของท่านขงจื้อ เพียงให้โอวาท เพื่อเป็นบทเสริม ให้พิจารณาด้วยตนเอง ถึงแม้ท่านขงจื้อจะเลือกทางที่ไม่เที่ยงแท้ แต่ท่านเล่าจื้อ ก็ให้ความนับถือท่านขงจื้อด้วยเช่นกัน

ได้อ่านแบบนี้ ก็มีความรู้สึกว่าประทับใจ ถึงท่านจะต่างอุดมการณ์ แต่ต่างก็ให้ความนับถือซึ่งกันและกัน

อุดมการณ์ของท่านขงจื้อ จึงเป็นผู้ที่ผลักดัน ลงมือปฎิบัติ เพื่อสร้างสังคมที่ดี มีจริยธรรม เพราะด้วยความรู้ที่เรียนรู้มา จะนำไปใช้ในทางที่ประโยชน์
หากจะให้ท่านเพิกเฉย ดูดาย ท่านก็มิอาจทำได้ ตัดใจไม่ลง

ถึงขนาด เคร่งครัดต่อตนเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นในความคิดของท่านขงจื้อก็คือคนเรา ถ้ามีชิวิต มีโอกาส ก็ควรที่จะศึกษาหาความรู้ แล้วถ้ามีความรู้ ความสามารถแล้ว ก็ให้นำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยท่านเน้นการรับราชการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปกครอง แม้จะเป็นเพียงท้องถิ่น แต่ก็มีค่ามาก ควรที่จะทำ

ในขณะที่เต๋า ของท่านเล่าจื้อ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักธรรมชาติ ดำเนินไปตามธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น ดำรงและเปลี่ยนแปลงภายใต้
สิ่งที่เกื้อกูลกันในความแตกต่าง เป็นไปตามธรรมชาติ โอวาทของท่านก็ให้คิดและเข้าใจด้วยตนเอง อย่าได้ตึงจนเกินไป

โดยส่วนตัวก็เลยประทับใจ หลักความคิด โอวาทของท่าน สามารถเป็นแบบแผนให้นำมาประยุกต์ปฎิบัติได้ โดยขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ว่าเราจะเรียนรู้และเข้าใจไปในทิศทางใด

ซึ่งในยุคหลังๆ ก็ยังมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย และมีแนวความคิดที่แตกต่างออกไป เป็นแนวคิดตามสายอื่นๆ อีก
ซึ่งบ้างครั้งก็เป็นการถกเถียง วิเคราะห์ ซึ่งก็ถือว่ามีส่วนให้พิจารณาในมุมต่างๆ

เพราะในโอวาท และในคำสอน มีสิ่งที่เป็นคุณค่าต่อการใช้ชีวิต การดำเนินชีวิต ควรที่จะพิจารณา ศึกษาด้วยสติและคิดตาม ไม่ใช่ทุกถ้อยทำพูดต้องปฎิบัติเป๊ะ ๆ

ในบรรดาลูกศิษย์ของท่านขงจื้อ เราประทับใจ จื่อกัง ที่สุด เพราะเขามีความเป็นตัวของตัวเอง และปฎิบัติตัวโดยไม่ฝืนความรู้สึกของตัวเอง แม้อาจารย์อยากให้รับราชการ แต่เขาก็ปฎิบัติเพื่อให้ความตั้งใจอาจารย์เป็นผล โดยเข้ารับราชการ เพียงแต่อุดมการณ์ของจื่อกังเอง กลับอยากใช้ชีวิตเป็นพ่อค้า อย่างที่เขาอยากจะเป็น

ซึ่งภายหลัง จื่อกังก็ได้ทำสิ่งที่ตัวเองเลือกจะทำ คือเป็นพ่อค้า ตามอุดามการณ์ของตนเอง ซึ่งเราถือว่า เขาไม่ได้ขัดต่อคำสั่งสอนของอาจารย์ เพราะเขาเองก็บอกเจตนารมณ์ของตัวเองชัดเจนให้อาจารย์ฟังแล้วว่า ใจเขาเลือกที่จะทำในสิ่งที่เขารักที่จะทำ ถึงแม้จะถูกอาจารย์ตำหนิบ้าง

แต่เขาก็เป็นผู้ที่กล้าที่จะพูดกับอาจารย์ อย่างเปิดเผย จริงใจ ในตอนที่อาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าแบกรับสิ่งที่ฝืนใจตัวเอง ซึ่งถ้าขืนเขาทำไป ก็รังแต่จะทำให้ตัวเอง ท้อแท้ และหมดแรงไปในที่สุด โดยยังคงให้ความเคารพ และยึดในคำสอนของอาจารย์ เขาเป็นคนที่ปลูกกระท่อมไว้ทุกข์อยู่ใกล้ๆกับสุสานของอาจารย์ นานถึง 6 ปี

Photobucket

















Create Date : 22 มีนาคม 2552
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 18:52:25 น. 0 comments
Counter : 2276 Pageviews.

เก้าเกสร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




เวลาว่างๆ เราก็มักจะ ทำอะไรเรื่อยเปื่อย ที่ชอบก็คือฟังเพลง ดูหนัง ส่วนหนังสือนานๆ จะจับสักครั้ง ต้องอ่านเป็นเรื่องสั้น หรือ บทความ ตอนๆ
ถ้าอ่านยาวๆ เลย ไม่ค่อยมีสมาธิเท่าไหร่คะ
นิสัยก็ติงต๋อง บ้าๆ บอๆ ^^


Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เก้าเกสร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.