ผาแดง
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 

RAW File กับ LightRoom

ได้นำ RAW File มาทดสอบกับ LightRoom ดูแล้วก็ใช้งานไม่อยากอย่างที่คิด หลังจากทนนั่งดู VDO สอน Lightroom ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ดำน้ำไปเลื่อย เลยมาเล่าสู่กันฟังงับ



-----------------------------------------------------------------------------------

ใช้วิธีการ Import ภาพเข้ามาเลือกได้จาก menu เทคนิคการปรับก็คลายๆกับ Adobe Camera Raw ใน Photoshop อยู่ใน mode Library แล้วไปที่ mode ของ Develop



-----------------------------------------------------------------------------------

เอารูปมาอยู่ใน mode Library แล้ว



-----------------------------------------------------------------------------------

แล้วก็เลือกรูปที่ต้องการปรับแต่งไปที่ mode ของ Develop เริ่มปรับตามได้เลย เช่น White Balance แล้วก็อื่นๆ



-----------------------------------------------------------------------------------

ภาพ Befoer ใช้ AWB ISO800 75mm. f/2.8 1/45sec ใต้ไฟนีออน 40x2ww. เลยด้ำดำๆ



-----------------------------------------------------------------------------------

ดูดีกว่าเก่าแล้วเซฟเลยดีกว่า



-----------------------------------------------------------------------------------

หากดูแล้วยังต้องการเพิ่มสีสัน อีกก็ใช้เครื่องมือของกลุ่ม HSL tools

- Hue
- Satuation

ปรับแต่งเพิ่มเติมได้อีกฯลฯ



-----------------------------------------------------------------------------------

ทางด้าน Presets เป็นของทางโปรแกรมจัดมาให้ได้เลือกใช้ หากต้องการความรวดเร็ว



-----------------------------------------------------------------------------------

ก็อธิบายเท่าที่พอจะทำได้อ่ะครับ คงเป็นประโยชน์บ้าง หากของผมไม่สะใจพอ ก็ เชิญชม VDO สอน Lightroom ได้ที่นี้ครับ

//www.whibalhost.com/_Tutorials/Photoshop_LR/01/



-----------------------------------------------------------------------------------

ทำไมต้องเป็น Raw เป็น jpg เป็น tiff ไม่สะดวกกว่าหรือไม่ต้องยุ่งยาก convert กลับมาเป็น jpg หรือ tiff อีกครั้ง มันน่าจะสะดวกกว่า ถ้าจะมองในเรื่องสะดวกก็ใช่เลย แต่ถ้าต้องการคุณภาพด้วยละก็ jpg และ tiff อาจให้ไม่ได้ ที่ใช้คำว่า"อาจ" เพราะว่าโดยทั่วไป file jpg หรือ tiff จาก กล้อง DSLR ก็สามารถตอบสนองความต้องการได้ดีมากแล้ว แต่ในบางครั้งสำหรับคนที่ จริงจังกับการถ่ายภาพ อาจจะต้องการความสมบูรณ์ ของภาพถ่ายที่มากกว่าความสามารถในการบันทึกเป็น jpg ทีกล้องทำให้เรา เช่นในกรณีที่เราต้องการภาพที่มี range ที่กว้างกว่าปกติ Raw file สามารถตอบสนองเราได้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ Technology ที่ใช้พัฒนา Sensor จะก้าวหน้ามากจนกระทั่ง Sensor มี Exposure latitude เทียบเท่า ฟิล์ม สไลด์แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติของ jpg file ก็ไม่สามารถใช้ความสามารถของ Sensor ได้ทั้งหมดเพราะ jpg file ต้องการ file ขนาดเล็ก จึงต้องบีบอัดข้อมูลในสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้นข้อมูลบางอย่างจึงต้องสูญเสียไป เช่น detail ในส่วน high light และ shadow บางส่วนจะหายไปเลย และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ jpg file จะทำการประมวลผล ด้วย chip image processor ที่อยู่ภายในตัวกล้อง มิใช่ว่าประมวลผลด้วย chip ในกล้องจะได้ภาพที่มีคุณภาพที่ไม่ดี แต่ถ้าเทียบกับว่าให้ soft ware ภายนอกกล้องประมวลผลให้มันให้ภาพที่ดีกว่าครับ เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างชัดกว่านี้ มาดูในรายละเอียด ถึงขั้นตอนการบันทึกภาพด้วยกล้อง Digital แล้วผ่านกระบวนการจนออกมาเป็น file ภาพของทั้ง Raw และ jpg กันเลยดีกว่า

Sensor ที่ทำหน้าที่บันทึกภาพแทน ปัจจุบันมี sensor ที่นำมาใช้งานในกล้องถ่ายภาพดิจิตอล อยู่ ๓ ประเภท ใหญ่ๆคือ
1 The new foveon sensor
2 CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)
3 CCD ( Charge-Couple Device)

The new foveon Sensor
Sensor ชนิดนี้ทำงานเลียนแบบฟิล์มถ่ายภาพ จะมี พิกเซล ของชั้นสีของแม่สีวางซ้อนกันอยู่ ๓ ชั้น และมีลักษณะโปร่งแสง เพราะฉนั้น ในแต่ละ พิกเซล จะสามารถแสดงสีได้ครบทั้ง ๓ สี Sensor ชนิดนี้เป็น เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ชนิดอื่นๆ ปัจจุบันน่าจะมีกล้องดิจิตอลของ Sigma รุ่น SD9, SD10, SD11 ใช้อยู่ยี่ห้อเดียว

CMOS & CCD Sensor
CCD เกิดมาก่อน CMOS มีคุณภาพค่อนข้างดี แต่มีข้อเสียคือกินไฟมาก ส่วนข้อเด่นของ CMOS คือมีการทำงานด้วยความเร็วสูงกว่าและกินไฟน้อยกว่า จากข้อเด่นนี้ Canon ได้นำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีคุณภาพที่สูงขึ้นมาก และนำมาใช้ในกล้อง High-End ของ Canon ทุกรุ่น แต่เนื่องจาก Sensor ชนิดนี้มีชั้นเดียว และแต่ละ พิกเซล ทำหน้าที่วัดปริมาณแสงและเปลี่ยนไปเป็นประจุไฟฟ้าเท่านั้น ไม่สามารถแยกแยะสีได้เหมือน ฟิล์ม จึงจำเป็นต้องใส่ ฟิลเตอร์สีบน Sensor ในแต่ละ พิกเซล เพื่อใช้ในการแยกแยะสี เพราะ Sensor ชนิดนี้มีเพียงชั้นเดียวจึงต้องมี Pattern ในการเรียงตัวของ ฟิลเตอร์ โดยใช้รูปแบบของ GRGB คือจะมีฟิลเตอร์สีแดงและสีน้ำเงิน อย่างละ ๒๕ % และสีเขียว ๕๐ % ของพื้นที่ ซึ่งเลียนแบบสายตามนุษย์ที่มีความไวต่อแสงสีเขียวมากที่สุด ดังนั้นในแต่ละพิกเซลของ CCD และ CMOS ต่างก็แยกแยะสีได้เพียงสีเดียว

Sensor รับภาพ ที่ส่งข้อมูลออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้า ซึ่งเป็นค่า Analog จะถูกเปลี่ยนเป็น Digital ด้วยวงจร AD conversion ด้วยความลึกของสีอยู่ในระดับ ๑๒ บิท (เฉพาะกล้องระดับ SLR) ซึ่งให้โทนสีถึง ๓๐๙๖ ระดับ จากนั้นข้อมูลจะถูกจัดเก็บลงใน Buffer Memory โดยผ่านวงจรควบคุม Memory (Memory control block) Buffer Memory จะทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลชั่วคราว ในขณะที่มีการถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง หลังจากหยุดถ่ายหรือ Buffer เต็ม ข้อมูลที่เก็บไว้ชั่วคราวนี้จะถูกส่งย้อน กลับผ่าน compensation block ซึ่งมีหน้าที่ลด Noise และ Artifacts ต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น Moir (เกิดลายตารางบนภาพ) เป็นต้น ถ้าเป็นกรณีที่เราจัดเก็บภาพเป็นแบบ Raw Format ข้อมูลดิบจะถูกส่งผ่านไปยัง Raw compression เพื่อขนาด file ที่เล็กลง (กล้องบางรุ่นจะไม่ผ่านกระบวนการนี้) จากนั้นข้อมูจะถูกจัดเก็บลงใน Memory card
ส่วนในกรณีที่เราตั้งค่าการจัดเก็บเป็นแบบ jpg ข้อมูลจาก Compensation block จะถูกส่งเข้าไปยังวงจร Image Processor เพื่อประมวลผลภาพ ซึ่งก็คือการทำ Interpolate ค่าสีในแต่ละ พิกเซล ให้ครบทั้ง ๓ สี และยังประมวลผลอื่นๆที่เราได้ตั้งค่าไว้แล้วด้วย เช่น ค่า White balance, Saturation, Sharpen เป็นต้น และสุดท้ายลดค่า bit-depth จาก ๑๒ บิท เหลือเพียง ๘ บิท เท่านั้น ก่อนที่จะจัดเก็บลง Memory card
จะเห็นได้ว่าจากกระบวนการจัดเก็บภาพ แบบ Raw format นั้นข้อมูลดิบที่ได้จาก Sensor จะยังไม่ถูกประมวลผลใดๆทั้งสิ้น ซึ่งรวมถึงค่าต่างๆที่เรา ตั้งค่าไว้ก็จะยังไม่มีการประมวลผลใดๆด้วยเช่นกัน และข้อมูลก็จะถูกจัดเก็บอยู่ใน ไฟล์ข้อมูลที่มีชื่อว่า Exif (Exchangeable Image file) ซึงเป็นไฟล์ข้อมูลที่แนบติดไปกับ Raw file เท่านั้น

ข้อดีของ Raw ก็คือมีความลึกของสีสูงกว่านั่นก็หมายถึงรายละเอียดที่มากกว่า อีกทั้งเรายังสามารถเลือก Soft wear ที่มีความสามารถสูงกว่ามาทำการประมวลผล แทน Processor ในตัวกล้องได้ ข้อเสียของ Raw ก็การต้องมาเสียเวลา convert ภาพให้กลับมาเป็น jpg อีกปัญหาหนึ่งของ Raw ก็คือต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บสูง เพราะ Raw file มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แล้วข้อเสียของ Raw นั้นเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้เพิ่มมา

ยิ่งโม้ยิ่งงงเหมือนกันแฮ่ะกำของมนุษย์ ทำไมช่างร่ำบากเช่นนี้

-----------------------------------------------------------------------------------

ความหมายของโหมดต่างๆว่าคืออะไรใช้งานอะไรบ้าง , รวมถึงShort Cut เอาไว้ใช้กับโปรแกรมกันดีกว่า

*Library โหมด คือการ จัดการอัลบั้มภาพ



-----------------------------------------------------------------------------------

Navigator - ใช้สำหรับย่อ / ขยาย ภาพ
Preset - ใช้เรียกค่าการแต่งภาพในโหมด Develop ที่เราบันทึกขึ้นมาใช้กับภาพนั้น
Crop Overlay - ครอบภาพ โดยใช้อัตราส่วนตามที่กำหนด (หากโปรแกรมครอบให้ไม่พอใจ สามารถกด R เพื่อครอบภาพเองได้)
Treatment - เลือกว่าต้องการแสดงเป็นภาพสี หรือขาว-ดำ
WB - ปรับค่า White Balance ของภาพนั้น โดยมี Preset ให้เลือกอยู่แล้ว หรือจะปรับค่า
เองอย่างละเอียด ที่ Temp และ Tint ก็ได้
Exposure - เพิ่มการชดเชยแสงของภาพ
Recovery - ทำให้ส่วนที่เป็น Highlight มืดลง เพื่อกู้รายละเอียดส่วนที่เกิน Highlight กลับมา
Fill Light - ตรงข้ามกับ Recovery ใช้เพิ่มความสว่างให้กับส่วนที่มืด เพื่อดึงรายละเอียดส่วนที่
มืดกลับคืนมา
Black - ใส่สีในส่วนสีโทนมืดของภาพ ให้มืดมากขึ้น
Brightness - เพิ่มความสว่างของภาพ
Contrast - เพิ่มความเปรียบต่างของภาพ (ภาพส่วนดำจะดำมากขึ้น ส่วนขาวจะขาวมากขึ้น)
Vibrance - เพิ่มความสดของสี (คล้าย Saturation)
Auto Tone - ให้โปรแกรมปรับ Option ในส่วน Quick Develop ให้โดยอัตโนมัติ
Reset - คืนค่าเริ่มต้นของภาพนั้น
************************************************************

*Develop โหมด คือการ ตกแต่งภาพ

Histogram

บอก Channel สีรวมถึงขาว-ดำ ว่ามีปริมาณมากน้อย เพียงใดในภาพนั้นๆ ไล่จากด้านซ้าย (ส่วนที่มืดที่สุดไป) จนถึงด้านขวา (ส่วนที่สว่างที่สุด) ใน Histogram แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน หลักๆ ได้แก่
1. Blacks 2. Fill Lights
3. Exposure 4. Highlight

เมื่อเอาเมาส์ไปวางไว้เหนือลูกศรรูปสามเหลี่ยมชี้ขึ้นด้านซ้ายสุด จะบอกถึง พื้นที่ส่วนที่ภาพนั้นไม่มีรายละเอียดเนื่องจาก พื้นที่ในส่วนนั้น มืดเกินกว่าที่กล้องจะเก็บรายละเอียดมาได้ ( ในทางกลับกัน ลูกศรด้านขวาจะบอกถึงพื้นที่ที่ไม่มีรายละเอียด เนื่องจาก พื้นที่นั้นสว่างเกินกว่าที่กล้องจะเก็บรายละเอียดได้ ) นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับค่า Exposure, Recovery, Fill light และ Blacks ได้โดย Drag เมาส์ที่ Histogram ได้เลย

Basic

Treatment = เปลี่ยนภาพเป็นสี หรือ ขาว-ดำ

WB

ปรับ White Balance สามารถเลือกปรับได้ 3 แบบ

1. เลือกจากPreset ที่กำหนด

2. เลือกจากตัวอย่างสีเทากลางในภาพ โดยคลิกที่หลอดดูดสี แล้วเลือกตัวอย่างสีจากในภาพ ตัวอย่างสีที่เลือก ตามทฤษฎี จะต้องเป็นสีเทากลาง 18 % แต่เราพออนุโลมเลือกสีขาว หรือสีเทาในภาพได้

3. ปรับค่าเองจาก สไลเดอร์ Temp และ Tint

Tone

ปรับแสงในภาพ โดยสามารถให้โปรแกรมปรับให้เอง (กด Auto) หรือเลือกปรับเองก็ได้

Exposure - เป็นการจำลองการปรับค่ารูรับแสงให้แคบลง (-) หรือกว้าง (+) ขึ้น มีผลทำให้ภาพนั้น สว่างหรือดำยิ่งขึ้น คล้ายการปรับ F-stop ที่หน้ากล้อง (ไม่มีผลกับระยะชัด)

Recovery - เป็นการทำให้ภาพส่วนที่เป็น Highlight มืดลง เพื่อดึงรายละเอียดในพื้นที่ส่วนที่เกินกว่า Highlight กลับคืนมา (ฟังก์ชั่นนี้จะไม่มีผลกับพื้นที่ส่วน Blacks แต่มีผลเล็กน้อยกับ พื้นที่ส่วน Fill Light และ Exposure )

Fill Light - เป็นการเพิ่มความสว่างให้กับภาพในส่วนพื้นที่ black ( คล้ายฟังก์ชั่น D- Light ใน Capture NX ) มีประโยชน์ในกรณีที่ต้องการให้ภาพทั้งภาพมีโทนแสงเท่ากัน เช่น แก้การถ่ายภาพย้อนแสง เป็นต้น

Blacks - คล้ายกับ Highlight แต่จะเป็นการดึงรายละเอียดในพื้นที่ส่วนที่มืดกว่า Blacks กลับคืนมา

Brightness - เป็นการเพิ่มความสว่าง โดยใช้หลักรีดสีให้สว่างขึ้น โดยจะรีดสีไม่เกินกว่าขอบเขต Black และ Highlight ของภาพ ผลหลักๆ กับพื้นที่ส่วนที่เป็น Fill Lights และ Exposure ของภาพ ในกรณีที่ปรับค่า Brightness เพิ่มขึ้น ภาพจะสว่างขึ้น แต่จะออกลักษณะฝ้าๆ เนื่องจากโทนสีในส่วนที่ควรจะเป็นโทนสีดำกลับเป็นสีเทาแทน

Contrast - ปรับความเปรียบต่างของภาพ มักใช้คู่กับ Brightness เพื่อทำให้ภาพส่วนที่เป็นสีเทากลับเป็นสีดำ หากปรับเพิ่มขึ้น สีโทนขาวที่อยู่ทางขวาของเส้นกลาง Histogram จะถูกปรับให้สว่างมากขึ้น และสีโทนดำที่อยู่ทางซ้ายจะถูกปรับให้ดำมากขึ้น ในทางกลับกัน หากปรับ Contrast ลดลง โทนสีทั้ง 2 ด้าน จะปรับลู่เข้าหาเส้นกลาง ส่งผลให้ภาพดูลักษณะเทาๆ ไม่มีความเปรียบต่างของสี



Colors

โหมดในการควบคุมสี มี 2 ส่วน ได้แก่

Vibrance - เพิ่ม contrast ของสีทั้ง3สี RGB (กรณีภาพอยู่ในโหมด RGB) ให้เข้มขึ้นหรือจืดลง

Saturation - ใช้เร่งสีแต่ละสี (RGB) ให้แต่ละสีขับออกมาได้เด่นขึ้น (กรณีที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ละสีในภาพจะสามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน)



-----------------------------------------------------------------------------------

*Tone Curve

แกน X แสดงความสว่างของภาพ ไล่จากด้านซ้ายไปด้านขวา คือจากมืดไปสว่าง แกน Y แสดงปริมาณของแสงในแต่ละค่าแกน X ว่ามีมากน้อยเพียงไรในภาพ

พื้นที่ของ Curve จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยแบ่งจาก ตาราง 4x4 ใน Curve ได้แก่

1. Highlights สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 4 ของแกน x

2. Lights สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 3 ของแกน x

3. Dark สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 2 ของแกน x

4. Shadows สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 1 ของแกน x

เราสามารถปรับขอบเขตของการปรับ Curve ขึ้นลง ได้โดยเลื่อนสไลเดอร์รูปหยดน้ำ 3 หยด ด้านล่าง Curve

ในเบื้องต้นของการปรับ Curve แนะนำให้ใช้ Slider ด้านล่าง แทนที่จะปรับที่ตัว Curve โดยตรง ซึ่งหลักโดยทั่วไป คือ

1. เพิ่ม Lights เพื่อทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพสว่างขึ้น

2. ลด Highlights เพื่อให้พื้นที่ขาวสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย

3. เพิ่ม Shadows เพื่อให้พื้นที่ดำสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย

4. ลด Dark เล็กน้อย เพื่อคงรายละเอียดส่วนดำของภาพไว้ ไม่ให้ขาวตาม Lights ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาพมีความเปรียบต่างของสี

เรายังสามารถปรับค่าความโค้งของ Curve เพื่อให้เกิด Contrast มากขึ้นหรือน้อยลงได้ที่ Point Curve ได้แก่

1. Linear

2. Medium Contrast

3. Strong Contrast

* ในแต่ละภาพ สามารถปรับแก้ได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพต้นฉบับและวัตถุประสงค์ของการนำเสนอภาพไม่จำเป็นต้องทำตาม 4 ขั้นตอนข้างต้นเสมอไป ใช้หลักให้สายตามองเห็นว่าสวยก็พอ

-----------------------------------------------------------------------------------

*HSL / Color / Grayscale

HSL (Hue, Saturation and Luminance)

Hue = เปลี่ยน Channel สีของภาพ มีให้เลือกเปลี่ยน 8 สี มีจุดประสงค์เพื่อให้สีนั้นๆ ของภาพเปลี่ยนไป เช่น ต้องการเปลี่ยนหญ้าที่ถ่ายมาเหลือง ให้เขียวขึ้น ก็เลือกไปที่ Yellow แล้วปรับค่าไปทางขวาให้เขียวขึ้น

Saturation = ใช้เร่งสีในแต่ละ Channal สี มีให้เลือก 8 สี เช่น ต้องการให้ท้องฟ้าที่ถ่ายมาดูสีสดขึ้น ก็เลือกไปที่ Blue แล้วปรับสไลเดอร์ไปทางขวามือ

Luminance = ปรับความสว่างของสี สามารถเลือกปรับได้ 8 สี เช่น ต้องการปรับให้ผิวนางแบบดู ขาวขึ้น ก็เลือกไปที่ Orange แล้วปรับสไลเดอร์ไปทางขวามือ

Color

เหมือนกับ HSL ทุกอย่าง เพียงแต่เปลี่ยนหน้าตาการใช้งานฟังก์ชั่นให้แตกต่างกันเพื่อความสะดวก

Grayscale

ใช้สำหรับ Convert ภาพจากสีเป็นขาว-ดำ โดยสามารถเข้าไปปรับในแต่ละโทนสีได้

-----------------------------------------------------------------------------------


*Split Toning

เครื่องมือช่วยปรับสีส่วนที่เป็น Highlight และ Shadow ของภาพ ซึ่งแทนที่ภาพในส่วนนั้นจะแสดงออกมาเป็นสีขาว ( Highlight ) หรือ ดำ (Shadow) เครื่องมือตัวนี้จะช่วยใส่สีสันเข้าไปในส่วนที่ไม่มีรายละเอียดของภาพ (Highlight และ Shadow) โดยเลือกที่ Hue เพื่อเลือกสีที่จะใส่เข้าไป และเลือก Saturation เพื่อปรับความเข้มของสีที่ใส่เข้าไป ( หากใส่มากเกินไป จะมีผลกระทบกับรายละเอียดหลักของภาพ

เราสามารถเลือกปรับว่าจะให้ Highlight และ Shadow ที่ปรับมีผลกับภาพมากน้อยเพียงใดได้ที่ สไลเดอร์ Balance โดยที่ -100 มีผลกับ Shadows อย่างมาก และ + 100 มีผลกับ Highlight อย่างมาก



Detail

Sharpening - ใช้เพิ่มความคมชัดของภาพ

Noise Reduction - ใช้ลด Noise ที่เกิดขึ้นในภาพ โดยมี 2 แบบ คือ Luminance และ Color

1.) Luminance คือ Noise ที่เกิดจาก grain ของภาพ มีลักษณะเป็นจุดๆ มักจะเกิดกับภาพที่ขยายเกินกว่าต้นฉบับที่ถ่ายมา หรือภาพที่ถ่ายโดยใช้ ISO สูง การลด Noise ตรงนี้จะทำให้ความคมชัดของภาพหายไป

2.) Color คือ Noise ที่มีลักษณะเป็นจุดสีเด่นขึ้นในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงและน้ำเงิน มักเกิดเวลาปรับภาพให้คมขึ้นมากๆ การลด Noise ตรงนี้ บางครั้งจะทำสีของภาพเพี้ยนไป

-----------------------------------------------------------------------------------



-----------------------------------------------------------------------------------

*Short Cut ที่ควรทราบสำหรับการจัดการและนำเสนอภาพ

F - เปลี่ยนมุมมองหน้าจอ

L - ทำให้จอมืดลง เพื่อให้ภาพเด่นขึ้น

Tab - ซ่อน / แสดง อุปกรณ์เครื่องมือด้านข้าง (ไม่มีผลกับอัลบั้มภาพ)

Shift + Tab - ซ่อน / แสดง อุปกรณ์เครื่องมือทั้งหมด

Num 1-5 - ให้ rating เป็นคะแนนกับภาพนั้น ตั้งแต่ 1 – 5 ดาว

R - ครอบภาพ

C - เรียกภาพปัจจุบันที่เลือกอยู่กับภาพที่เลือกก่อนหน้านี้ ขึ้นมาเปรียบเทียบกัน

T - ซ่อนและแสดง Tool Bar


หมดแล้วครับรองนำไปใช้รองทำดูได้ครับ ผิดตรงไหนก็แก้ไขให้ผมด้วยนะครับ

-----------------------------------------------------------------------------------







 

Create Date : 26 มีนาคม 2551
0 comments
Last Update : 26 มีนาคม 2551 15:40:29 น.
Counter : 2918 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


คนผาแดง
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Google
Friends' blogs
[Add คนผาแดง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.