หลักความเชื่อที่ถูกต้อง (สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๕๓)

.


มานั่งคัดลอกในวันที่ 14 เมษาฯ ก็จริง
แต่บล็อกวันนี้คิดได้ ว่าน่าทำมานำเสนอตั้งแต่เมื่อวานนี้ (วันสงกรานต์)

วันนี้บ้านเมือง มีความยุ่งเหยิงเยอะ
มีเหตุทำคนเราคิดแตกแยกเยอะแยะไปหมด

ไม่ใช่แค่ในระดับบ้านเมือง ในชุมชน ในกลุ่มเพื่อนฝูง ในเวปบอร์ด จนในบ้านเราเองเลย


อย่ากระนั้นเลย ลองเอาหลักธรรมะ มาเทียบเคียงและประยุกต์ใช้กันดีกว่า
ลองเอามาประยุกต์ใช้ ตัดสินสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา
ทั้งระดับปัจเจกบุคคล ไปจนกระทั่ง ระดับการมองปัญหาชาติบ้านเมืองกันดู





----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------




หลักตัดสินธรรมวินัย ๘


พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี
พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้แสดงธรรมโดยย่อ
เพื่อหลีกออกปฎิบัติแต่ผู้เดียว
พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติ คือ

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
1. ความกำหนัด
2. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
3. ความสั่งสมกิเลส
4. ความมักมาก
5. ความไม่สันโดด
6. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
7. ความเกียจคร้าน
8. ควมเลี้ยงยาก
พึงทราบเถอะว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอน ของพระศาสดา

ส่วนธรรมเหล่าใด ที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า
นั่นเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

สังขิตตสูตร ๒๓/๒๕๕


ส่วนเสริม

ในเมืองไทย มักจะมีผู้อ้างตัวเป็นผู้รู้อยู่ทั่วไป มักจะอธิบายธรรมะ ตามความพอใจของตน
ตีความธรรมะเอาตามใจชอบ ตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ เอามตามความพอใจ
แล้วอ้างว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ พระสูตรนี้ จะเป็นหลักเปรียบเทียบได้อย่างดี

เพื่อความสมบูรณ์โปรดดูมหาประเทศ ฝ่ายพระวินัย และฝ่ายพระธรรมด้วย
ถ้าขัดแย้งกัน แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นของแปลกปลอม เข้ามาใหม่ อย่ารับไว้
เพราะนอกจาก จะทำให้เราเกิดความไข้วเขว ปฎิบัติผิดแล้ว
จะเป็นเหตุให้ พระสัทธรรมเลือนหายอีกด้วย

การเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้อง ไม่ว่าในการพูด หรือเขียน
ควรมีหลักฐานที่มา ที่ไป ชัดเจน เพราะธรรมะต่างๆ ที่เราสอน และเรียนกันอยู่ทั่วไปนั้น
ล้วนเกิดจากการค้นพบของพระพุทธเจ้าทั่งหมด สาวกเป็นผู้สืบทอดต่อมา

ในฐานะพุทธสาวกที่ดี ควรจะรักษาธรรมะที่บริสุทธิ์ไว้
และเผยแผ่แต่ธรรมะแท้ อย่าได้ปลอมปนทิฐิของปุถุชนเข้าไปเลย จะเกิดบาปเสียเปล่า
................




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------





หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระธรรม)



พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ ใกล้โภคนคร
ได้ตรัสถึงมหาประเทศ ๔ สำหรับสอบสวนเปรียบเทียบหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

หากมีภิกษุกล่าวว่า
1. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
2. ในวัดโน้นมีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
3. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้ เป็นผู้ชำนาญ ทรงธรรม ทรงวินัย
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
4. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่องค์หนึ่ง เป็นผู้รู้ เป็นผู้ชำนาญ ทรงธรรทรงวินัย
ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

เมื่อได้ฟังมาดังนี้ จงอย่าชื่นชมหรือคัดค้าน แต่จงเรียนข้อความ และถ้อยคำเหล่านั้นให้ดี
แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตร และเทียบเคียงดูในพระวินัย
ถ้าลง และเข้ากันไม่ได้ พึงทราบเถิดว่า นี้ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ทำจำมาผิดแล้ว จงทิ้งไปเสียเถิด


สัญเจตนิยวรรณ ๒๑/๑๙๕


ส่วนเสริม

พระพุทธดำรัสตอนนี้ เป็นหลักในการเตือนสติอย่างดี
สำหรับผู้ที่มี ‘สัทธาจริต’ คือมีความเชื่อเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน
ใครพูดว่าอะไร? อย่างไร? ก็มักจะ ‘เชื่อด่ะ’ อย่างหลับตาปิดหู
ผลที่ตามมาก็คือ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังอาจจะถูกหลอกเอาอีกด้วย
เพราะไม่ว่ายุคไหน ก็มักจะมีคนประเภท ‘มือถือสาก ปากถือศีล’
แอบแฝงเข้ามาอยู่เสมอ

การมีหลักฐานไว้สำหรับเทียบเคียง ย่อมจะเกิดผลดี ไม่ว่ากาลไหนๆ
หลักการนี้ไม่ใช่ว่า จะใช้ได้เฉพาะธรรมะเท่านั้น แม้ทางโลกก็ใช้ได้ดี
เพราะมี ‘ข่าวลือ’ เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อยู่เสมอๆ





----------------------------------------------------------------------------------------------------------------





หลักใหญ่สำหรับเทียบคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)


พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
เวลานั้น ของขบฉันได้แก่ผลไม้ มีผู้นำมาถวายมาก
พวกภิกษุพากันสงสัย ว่าผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่ควร
พระพุทธองค์ทรงประทาน หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ ฝ่ายพระวินัย ที่เรียกว่า มหาประเทศ คือ

1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้ กับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร


วินัย ๕/๑๒๓


ส่วนสริม

พระวินัย จัดว่าเป็น ‘คำสั่ง’
ซึ่งมาคู่กับ พระธรรม ซึ่งเป็น ‘คำสอน’

ซึ่งสาวกจะต้องให้ความเอื้อเฟื้อ และปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่พระวินัยนั้น เป็นกฎ หรือข้อบังคับ
บางอย่างก็ขึ้นกับกาลเวลา และความเชื่อถือของสังคมนั้นๆ
บางข้อแม้เป็นความผิดปารกลาง แต่คนลางกลุ่มเค้าก็ไม่ถือ
เช่น เรื่องพระใช้เงิน ขุดดิน ตัดต้นไม้ เป็นต้น

บางอย่างโทษทางวินัยไม่รุนแรง
แต่เมื่อนักบวชล่วงเข้า ก็อาจถูกจับสึก หรือถึงติดคุกได้
เช่น สุรา และการพนันเป็นต้น

แต่จะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่ายุคใด สมัยใด
ศีลก็ถือว่าเป็นรากแก้ของศาสนา
ที่ทั้งชาวบ้าน และชาววัด จะต้องให้ความสนใจปฏิบัติ งดเว้นให้ได้ตลอดไป


ส่วนว่าจะปฏิบัติให้หย่อน หรือตึงเพียงไรนั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
ถ้าเราอยุ่ในหมู่คณะใด ก็ควรที่จะคล้อยตามปฏิปทาของหมู่คณะนั้น
มิบังควรที่จะทำตนเป็น ‘แกดำ’ ในหมู่ ‘แกะขาว’ เลย

ในสังคมพุทธปัจจุบันนี้ ก็มีให้เราได้เลือกอยู่หลายแบบแล้ว
เราพอใจที่จะปฏิบัติในแบบหรือวิธีใด ก็ขอเชิญตามสมัครใจเถิด
ขอแต่ว่า เมื่อสังกัดคณะนี้แล้ว ก็อย่าได้โจมตีคณะโน้น หรือคณะอื่นๆ อยู่เลย
เพราะถึงอย่างไร เราก็เป็นลูก ‘พ่อเดียวกัน’ ทั้งนั้น มิใช่หรือ?





-------------------------------------------------------------------------------------------------------------





หลักความเชื่อที่ถูกต้อง


พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกาลามะ ชื่อว่า เกสปุตตะ แคว้นโกศล
ในสมัยนั้น ได้มีผู้อวดอ้างตัว ในคุณวิเศษอันมาก แต่ละพวกนอกจากจะอวดตัวแล้ว
ยังพูดกด และดูหมิ่นลัทธิอื่นอีกด้วย เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึง
มีชาวบ้านเกสปุตตะมาเฝ้า ทรงแสดงหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใขเชื่อ เพราะตรรกะ
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใด รู้และเข้าใจด้วยต้นเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษ หรือ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือควรปฏิบัติ ตามที่รู้และเข้าใจนั้น


เกสปุตตสูตร ๒๐/๒๑๒


ส่วนเสริม

พระสูตรนี้ มักจะถูกนำเอามาอ้างกันมาก แต่มักจะอ้างไม่ตลอดสาย
คืออ้างแต่ว่า ไม่ให้เชื่อตำรา แต่ไม่ได้ดู บทสรุปที่ว่า
‘ต่อเมื่อเข้าใจด้วยตนเองว่า...’

พระสูตรนี้ ท่านมิได้ห้าม ไม่ให้เชื่อ แต่ท่านให้เชื่อ ด้วยมีปัญญาประกอบด้วย
มิฉะนั้น ความเชื่อต่างๆ ก็จะไม่พ้น ‘ความงมงาย’
ถ้าพระสูตรนี้ ไม่ให้เชื่ออะไรแล้ว เราก็ต้องไม่เชื่อพระสูตรนี้ด้วย
เพราะพระสูตรนี้ ก็เป็นตำราเหมือนกันมิใช่หรือ?

ดังนั้น เมื่อฟัง หรืออ่านอะไรมา จึงไม่ควรทำตน
เป็นคน ‘กระต่ายตื่นตูม’
เอะอะโวยวาย พลอยให้คนอื่นเค้ารู้น้อย พลอยเสียประโยชน์ไปด้วย
การใครครวญ พิจารณาด้วย โยนิโสมนสิการ
จึงเป็นคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี พึงมีไว้ประจำตนตลอดไป






“พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์”
โดย ‘ธรรมรักษา’






**********************************







ศีล 5


๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ ให้ล่วงตกไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทร เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชนาปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มสุราน้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันเป้นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีล ๕ ประการนี้ คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์


----------------------------




ทุจริต ๓ อย่าง

๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก มโนทุจริต

กายทุจริต ๓ อย่าง
ฆ่าสัตว์ ๑ , ฉ้อฉล ๑ , ประพฤติผิดในกาม ๑

วจีทุจริต ๔ อย่าง
พูดเท็จ ๑ , พูดส่อเสียด ๑ , พูดคำหยาบ ๑ , พูดเพ้อเจ้อ ๑

มโนทุจริต ๓ อย่าง
โลภอยากได้ของเขา ๑ , พยาบาทปองร้ายเขา ๑ , เห็นผิดจากครองธรรม ๑

ทุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย


“นวโกวาท”






******************************************














ส่วนเสริม และทัศนะ จากเจ้าของบล็อก
ผมนำเอา ศีล๕ และ ทุจริต๓ มาประกอบร่วมในบล็อก “หลักความเชื่อที่ถูกต้อง” นี้ด้วย

เพราะโดยส่วนตัวของผมเอง ..
เป็นเพียงแค่มือใหม่ เป็นชาวพุทธ ที่เพิ่งหัดเรียนรู้ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า

ในโลก ในสังคม ในชีวิต ..ทุกวันนี้ มีข้อมูลข่าวสารมากมายหลั่งไหลผ่านหู ผ่านตา ผ่านใจ เราไป
ในหลายครั้งหลายคราว ในหลากหลายเรื่องราว
ในความที่เรายังเป็นแค่ปุถุชน ย่อมมีอคติ มีลำเอียงกันบ้าง ในประเด็น บางเรื่องราว

แต่หากเมื่อใด จำเป็นที่จะต้องพินิจ พิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว
หากจำเป็นที่จะต้องตัดสินในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ว่า..
ผิดหรือถูก - ควรหรือไม่ควรแล้ว ..


เดี๋ยวนี้ ผมมักจะเอาหลักคิดตามที่คัดลอกลงในบล็อกนี้มาใช้ เพื่อการพิจารณา

แม้พระสูตรข้างต้นนั้น จะเน้นในเรื่องของการตัดสิน พระธรรม และพระวินัย
..พูดง่ายๆ คือเน้นในเรื่อง ของ “ชาววัด”

แต่หลักคิดแห่งพระสูตรข้างต้นนี้ ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ดียิ่ง กับ “ชาวบ้าน” เราๆ ด้วยเช่นกัน


ก็เพียงแค่ใช้ศีล5 หรือ ทุจริต3 ,
ศีลขั้นพื้นฐานของปุถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ มาใช้เป็นกรอบ

แล้วใช้ (1)หลักวิธีตัดสิน หรือ(2)เทียบเคียง (3)หลักความเชื่อที่ถูกต้อง
มาเป็นตัวสอบทาน ..เรื่องที่เราอาจจะจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

เพียงเท่านี้ สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้เราพิจารณา
เราคงจะพอตัดสินใจได้ ว่าสิ่งใด ถูก หรือผิด


ในยุคที่ข้อมูล-ข่าวสาร มีมากมาย ท่วมท้น ล้นอยู่รอบๆ ตัวเรา
เราไม่อาจจะสามารถเสพทุกๆ ข้อมูลได้

ก็ขอเพียงมีหลักความเชื่อที่ถูกต้องเอาไว้ประจำใจ
สิ่งใดๆ ที่ผ่านเข้ามา คงไม่เหลือบ่ากว่าแรง ที่เราจะรับ และตัดสิน(ใจ)ได้ถูกต้อง




สวัสดี..




 

Create Date : 15 เมษายน 2553
3 comments
Last Update : 15 เมษายน 2553 0:55:26 น.
Counter : 1195 Pageviews.

 

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 15 เมษายน 2553 0:24:17 น.  

 


คุณอุ้ม มาเร็วจนผมต๊อก่ะใจเลย
(ยังแก้ไขอยุ่เลย555)

 

โดย: บุญทับ 15 เมษายน 2553 0:39:55 น.  

 


เดี๋ยวขออนุญาต ปิดส่วนตอบก่อนชั่วคราวนะครับ
(ด้วยเหตุผลบางประการ )

 

โดย: บุญทับ 15 เมษายน 2553 0:47:14 น.  


บุญทับ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




กฎของเราก็คือ
เรามีความสุขสนุกสนาน
ได้มากเท่าที่เราต้องการ
แต่ต้องไม่ทำร้ายจิตใจใคร
..แม้แต่คนเดียว


จากหนังสือ ฟ้ากว้าง..ทางไกล



มวลเมฆ คือเนินเขาทำด้วยไอน้ำ เนินเขา คือมวลเมฆสร้างด้วยศิลา..(รพินทรฯ)
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
15 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add บุญทับ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.