ร่วมกิจจกรรมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้
งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก onab.go.th

ในระยะหลัง เมื่อไปร่วมกิจกรรมสำคัญทางศานา หรือไม่ว่าจะไปทำบุญที่วัด ก็จะมักได้ยินคนพูดถึงคำว่า พุทธชยันตี กันมากขึ้น แม้กระทั่งตามสื่อต่าง ๆ ก็ยังมีข่าวว่า ในแต่ละจังหวัด ได้มีการจัดกิจกรรมการรณรงค์ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระที่ครบรอบ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ยังมีหลายคนที่สงสัยว่า พุทธชยันตี คืออะไร มีหมายความว่าอย่างไร หรือมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมคนพูดจึงพูดถึงคำนี้กันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้คลายความสงสัย ทางกระปุกดอทคอมจึงได้จึงรวบรวมข้อมูลมาฝากเพื่อน ๆ กัน

          ก่อนอื่นมาดูควาหมายของคำว่า พุทธชยันตี กันก่อน พุทธชยันตี เป็นภาษาสันสกฤต โดย พุทธ หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับคำว่า ชยันตี มาจากคำว่า ชย แปลว่า ชัยชนะ ซึ่งเมื่อนำคำทั้ง 2 คำ มารวมกันแล้ว พุทธชยันตี จึงหมายถึง การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวง ซึ่งมักใช้เรียกการจัดกิจกรรมเพื่อการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน โดยในแต่ละประเทศอาจใช้คำเรียกที่ต่างกัน เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี

โดยในเบื้องต้น ได้มีการสันนิษฐานว่า การจัดกิจกรรมในวันสัมพุทธชยันตี เริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 โดย นายอู ถั่น ชาวพุทธพม่า ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้มีดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ โดยนำคำว่า พุทธชยันตี ซึ่งเป็นคำเรียกของชาวอินเดีย และเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น

ในส่วนของประเทศไทย สมัยของรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการจัดงานฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พระราชบัญญัติล้างมลทิน และมีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย

          อีกทั้งรัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา โดยการจัดงานครั้งนั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ทำให้คำว่า พุทธชยันตี ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเท่าใดนัก

          ต่อมา หลังรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถูกรัฐประหารและยึดอำนาจ โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 การกำหนดวันธรรมสวนะให้เป็นวันหยุดราชการจึงได้ถูกยกเลิกไป ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งรัฐบาลในสมัยของนายพจน์ สารสิน ให้เหตุผลว่า การหยุดราชการในวันธรรมสวนะไม่สะดวกแก่การปฏิบัติราชการ




ตราสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า


อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 นี้ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในช่วงเทศกาลสัปดาห์วันวิสาขบูชา โดยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จราชดำเนินไปประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมา และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

          ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้มีการกำหนดให้
พุทธชยันตี เป็นวาระแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวพุทธนานาชาติรู้จักประเทศไทย ในฐานะเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้ชาวพุทธในเมืองไทย เกิดความตื่นตัวมากขึ้น โดยรัฐบาลได้มอบธงตราสัญลักษณ์ ที่ผ่านความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาทุกจังหวัด รวมทั้งวัดต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นำไปประดับในสถานที่สำคัญ และได้กำหนดให้ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นศูนย์กลางการ โดยรูปแบบของการจัดงานให้ความสำคัญ 3 ด้าน ประกอบด้วย

1.ด้านการศึกษา ได้แก่ การจัดกิจกรรมทางการศึกษา เพื่อเผยแผ่ เกี่ยวกับการปฏิบัติบูชา รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับ พุทธชยันตี เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วน และประชาชน โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการจัดกิจกรรม

2.ด้านวิชาการ ได้มีการจัดกิจกรรมประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับพุทธประวัติ หลักธรรมคำสอนโดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในการจัดประชุมสัมมนาวิชาการทั้งนานาชาติ และการประชุมสัมมนาวิชาการภาคภาษาไทย

3.ด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม โดยมีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับเครือข่าย เช่น มูลนิธิ หอจดหมายเหตุ จัดหาการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม และการแสดงภาพยนตร์เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

นอกจากนี้ รัฐบาลยังสั่งให้ในแต่ละจังหวัดได้มีการจัดกิจกรรมทางพุทธศานา ตลอดปี 2555 เช่น รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนแต่งกายชุดขาว และ ลด ละ เลิกอบายมุข ในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา หรือจัดพิธีอุปสมบทหมู่ เป็นต้น



Create Date : 11 สิงหาคม 2555
Last Update : 11 สิงหาคม 2555 0:38:28 น.
Counter : 1808 Pageviews.

1 comments
  
ตามที่เข้าใจ เจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ ก็คือการหลุดพ้นจาก อนุสัยกิเลสอย่างละเอียด 7 โดยละไปตามลำดับ โดยผุ้ที่ละได้ขั้นต้นเรียกว่าโสดาบัน ก็ถือว่าเป็นผู้วิมุตติอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อจะเป้นเจโตวิมุตต์ หรือ ปัญญาวิมุตต์ก็แล้วแต่ จะแตกต่างที่พวกเจโตวิมุตติ ได้ละกิเลสอย่างกลางหรือที่เรียกว่านิวรณ์ด้วยอำนาจของสมาธิได้ก่อนแล้ว ส่วนพวกที่เป็นปัญญาวิมุตติ์ ก็ละนิวรณ์ ด้วยอำนาจของ สติ ที่เข้าไปตั้งในกรรมฐาน ที่มีรูป มีนาม เป็นกรรมฐาน อ่านรูปนาม ถึงความตามเป็นจริงคือ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา โดยเป็นไปตามลำดับญาณ ที่ชื่อว่าโสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจความก้าวหน้า ของกรรมฐานว่าอญู่ในขั้นใด เมื่อจบญาณ ๑๖ ก็ถือว่า ถึงวิมุตติ์ อันเป็นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ หรือเรียกว่าฝ่ายปัญญาวิมุตติ์ หนึ่งในสอง ฝ่าย ดังที่ได้กล่าวไว้นั้นเอง
โดย: วิมุตติ์ 2 (sawang sri ) วันที่: 30 สิงหาคม 2555 เวลา:13:04:34 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sawang sri
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เขียนข้อความที่ต้องการ
สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31