ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
เสรีภาพ

เสรีภาพ เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปประกอบกับคำอื่น เช่น เสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพทางการศึกษา หรือ เสรีภาพการดำรงชีวิต เป็นต้น แต่โดยทั่วไปพอนิยามได้ดังนี้ “เสรีภาพคือสภาวะที่บุคคลมีอิสระ และ อำนาจในการกระทำ พูด หรือคิด โดยไม่มีแรงบีบบังคับจากภายนอก” ดังนั้นในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเสรีภาพของบุคคล
ในอารยธรรมตะวันตก นักคิดในยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ให้เหตุผลว่ากฎหมายมีอำนาจต่อมนุษย์ และเรื่องที่อยู่เหนือขึ้นไป เช่นเรื่องสรวงสวรรค์ และกษัตริย์ได้รับอำนาจจากกฎหมาย ทั้งที่จริงอำนาจของกษัตริย์ต่างหากที่บังคับใช้กฎหมาย เจตคิตทางกฎหมายเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเริ่มชัดเจนขึ้น และด้วยแนวคิดนี้เองจึงเกิดความสนใจในเสรีภาพส่วนบุคคลขึ้นมา ว่าเป็นความจริงพื้นฐานที่ “ธรรมชาติ และ พระเจ้า” มอบให้มา ดังนั้นในรัฐในอุดมคติ เสรีภาพส่วนบุคคล ควรมีขอบเขตที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราจึงอาจกล่าวได้ว่า ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการให้กำเนิดแนวคิด “เสรีภาพ” ก็ได้ กล่าวคือแนวคิดเกี่ยวกับแต่ละบุคคลมีอิสระมากกว่าในสภาวะแวดล้อมของรัฐที่กฎหมายมีความั่นคง ถัดจากนั้นแล้ว แนวคิดทางปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพอย่างสุดขั้วเกิดขึ้นชัดเจนที่สุดระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และในยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 19
ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อารยธรรมตะวันตกกำลังอยู่ในช่วงของความปั่นป่วนจากสงคามและการปฏิวัติ ทำให้เกิดการหล่อหลอม แนวคิด และความเชื่อ ที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “เสรีภาพบุคคล” พื้นฐานแนวความคิดทางปรัชญาของ “เสรีภาพ” เกี่ยวเนื่องอยู่กับสิทธิความเป็นมนุษย์ และมนุษย์มีคุณค่ามากกว่าความเป็นทาส นอกจากนี้ยังรวมไปถึงแนวคิดของมนุษย์ว่า ควรเป็นผู้กำหนดและควบคุมชะตาชีวิตของตนเองหรือไม่ แนวคิดทางปรัชญาอย่างนี้มีต้นกำเนิดมาจากมุมมองทางศาสนาทั้งสิ้น ชาวคริสต์ ชาวยิว และมุสลิม ล้วนแล้วแต่เคยมีการใช้ทาสมาก่อนทั้งนั้น

ในอารยธรรมตะวันออก ขงจื้อได้เตือนเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลที่มีมากเกินไป คล้ายกับพัฒนาการของแนวความคิดในยุคหลังล็อก และเสรีภาพเชิงลบ ขงจื้อกล่าวว่ารัฐบาลที่ทำงานในลักษณะ “ไม่ทำงาน” นั้น ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วย “กฏหมายและระเบียบวินัย”

ในอารยธรรมตะวันออกกลาง ตามประวัติศาสตร์ของศาสนายูไดนั้น มีการกล่าวถึงบุคคลที่ยืนยัดเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐในห้วงเวลาวิกฤต โมเสสเคยเรียกร้องฟาโรห์ของอียิปต์ว่า “ให้คนของเราไป” หรือ “ชาวแมคคาบี” ที่กบฏต่อการยึดครองของชาวกรีก และ “ชาวซีลอต” ที่ต่อต้านอาณาจักรโรมันไปดี
นักกฎหมายมุสลิมยืนยันมาเป็นนานแล้วว่า แนวทางของกฎหมายที่กำหนดไว้ในคำภีร์อัลกุรอานมีหลักการที่เรียกว่า “การอนุญาต” หรือ “อิบาห์ฮาห์” (Ibahah) โดยเฉพาะที่ใช้กับธุรกรรมทางการค้า อิบน์ ทายมีย์ยาห์ (Ibn Taymiyyah) ว่าด้วย “การไม่ห้าม [การซื้อขายโดยสมัครใจ] นอกเสียจากสิ่งที่พระเจ้า และผู้นำสารของพระองค์ห้ามไว้” แนวคิดนี้ปรากฏในข้อความสองตอนในอัลกุรอาน (ตอนที่ 4:29 และ 5:1)
แนวคิดทางการเมือง เสรีนิยม คือแนวคิดทางการเมืองที่ครอบคลุมถึงอุดมการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งก็คือการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคล โดยทั่วไปแล้ว แนวคิดนี้กล่าวถึงสิทธิในการแยกตัวตัวออกจากแนวคิดดั้งเดิม หรืออำนาจที่มีอยู่แล้วในทางการเมืองและทางศาสนา อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นไม่ตรงลงรอยกันอยู่หลายเรื่อง เกี่ยวกับแนวคิดเสรีนิยม ความขัดแย้งที่เด่นชัดเริ่มปรากฏขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงออก และ เสรีภาพเชิงธุรกิจ (สิทธิในการซื้อ ขาย และการครอบครองทรัพย์สิน) อีกกระแสคิดหนึ่งว่าแม้ว่าเสรีภาพทั้งสองแบบนั้นยอมรับได้ แต่ยังมีความสำคัญแตกต่างกันออกไป เช่น เสรีภาพในการศรัทธาของแทมมี เฟย์ แบคเคอร์ เป็นต้น ในแนวคิดนี้ถือว่าสิทธิในการขายเครื่องสำอางค์ของเธอสำคัญมาก
นักคิดอีกกลุ่มหนึ่งยืนยันว่าเสรีภาพในการแสดงออกกับเสรีภาพในทางธุรกิจนั้นแตกต่างกันมาก ถึงขั้นขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และจำเป็นริดรอนเสรีภาพอย่างหลังลง ถึงจะทำให้เสรีภาพข้างต้นเพิ่มขึ้นได้ ผู้คนที่เชื่อในมุมมองเช่นนี้ ไม่นับว่าเสรีภาพที่เขาต่อต้านมีสิทธิต่อต้านนั้นเป็นเสรีภาพเสียเลยด้วยซ้ำ
แนวคิดกลุ่มที่สาม เป็นแนวคิดของนักเสรีนิยม กลุ่มนี้เชื่อว่าไม่มีข้อแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างเสรีภาพทั้งสองแบบ กล่าวคือ ทั้งคู่เป็นสิ่งเดียวกัน และต้องได้รับการคุ้มครอง (หรือมีการกดขี่ก็ตาม) ไปพร้อมๆ กัน กลุ่มนี้ชี้นำว่า ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกานั้นกล่าวถึง “ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน” ถึงสองครั้ง โดยไม่ได้ระบุถึงข้อแตกต่างใดๆ
นักปัจเจกนิยม เช่น มักซ์ สเตอร์เนอร์ เรียกร้องให้เคารพเสรีภาพของแต่ละบุคคลอย่างสูงสุด ในมุมมองที่คล้ายๆ กันนี้ จอห์น เซอร์ซาน กล่าวว่าเอาไว้ว่า อารยธรรมทั้งหมด ไม่ใช่แต่เพียงรัฐเท่าที่สียฃหาย เพื่อให้เสรีภาพงอกงาม ในหนังสือ “ความเรียงเกี่ยวกับศีลธรรมและการเมือง” เดวิด ฮูม ยังได้เขียนถึง “เสรีภาพของพลเมือง” เอาไว้ด้วย
นอกานี้ บางคนยังมองว่าการปกป้องอุดมคติเกี่ยวกับเสรีภาพว่า เป็นนโยบายเชิงอนุรักษ์นิยม ทั้งนี้เนื่องจากการปกป้องระบอบนี้ตรงกับแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล ที่พวกเขามองว่าเป็นรากฐานของแนวคิดอเมริกันนั่นเอง
เสรีภาพส่วนบุคคล เป็นเสรีภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์ทุกรูปนามเสาะแสวงหา แม้แต่ในการปฎิวัติของฝรั่งเศส ที่ถือว่าเป็นแม่แบบของการปฎิวัติประชาชน ยังชูเสรีภาพในกรณีนี้เป็นแกนนำ ซึ่งต่อมาเป็นแม่แบบของการปฏิวัติในหลายประเทศ และการปฏิวัติของฝรั่งเศสเอง ก็เชิดชู “ภราดรภาพ เสมอภาพ และ เสรีภาพ” เอาไว้ด้วยอย่างชัดเจนดังปรากฏในเพลงชาติของฝรั่งเศส



Create Date : 22 ตุลาคม 2548
Last Update : 22 ตุลาคม 2548 22:15:01 น. 0 comments
Counter : 1745 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.