สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
กรดยูริกในเลือดสูง จะทำอย่างไรดี





เมื่อตรวจเลือดเพื่อเช็กร่างกายประจำปี โปรดอย่าลืมตรวจหาค่าของกรดยูริกร่วมด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะถ้ามีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และในกรณีที่อายุน้อยกว่า 40 ปี อาจตรวจทุก 2-3 ปี ความรู้เกี่ยวกับกรดยูริกเปลี่ยนไปมากใน 2-3 ปีที่ผ่านมา และในวงการแพทย์ ก็มีผู้รู้ความเปลี่ยนแปลงนี้น้อยมาก จึงตั้งใจเขียนบทความนี้ เพื่อให้วงการแพทย์และประชาชนทั่วไปได้ทราบข้อมูลและความเป็นมาของ กรดยูริกในเลือด อีกทั้งผลเสียจากการมีกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งยังไม่เคยมีคนกล่าวขานกันมาก่อน


กรดยูริกเป็นของเสียที่ร่างกายต้องขับออกทางปัสสาวะ โดยมีต้นกำเนิดจากการแตกสลายของเซลล์ ที่ภายในนิวเคลียสของเซลล์จะมีดีเอ็นเอ และภายนอกนิวเคลียสของเซลล์จะมีอาร์เอ็นเอ ซึ่งสารทั้ง 2 นี้จะถูกสลาย ออกมาเป็นกรดยูริก เมื่อร่างกายไม่มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่หรือเซลล์ใหม่ มีแต่การสลายของเซลล์ออกมา เช่น ผู้ใหญ่ที่มีวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ก็จะมีแต่การสลายของเซลล์ จึงเกิดกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้ง่าย ซึ่งจะไม่พบปัญหานี้ในเด็กหรือในวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่ยังมีการเจริญเติบโต ร่างกายจึงมีความต้องการกรดยูริกทั้งจากภายในร่างกายและจากอาหาร เพื่อใช้ในการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อใหม่


ดังนั้นอาหารที่มีเซลล์มาก ๆ ได้แก่ ตับ ไต ลำไส้ และหนังสัตว์ ก็จะให้กรดยูริกมากกว่าส่วนอื่นของสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ แพทย์ส่วนใหญ่มักเชื่อว่าการรับประทานสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ จะทำให้ กรดยูริกเพิ่มมากนั้น ไม่เป็นความจริง แต่การรับประทานหนังสัตว์ ซึ่งจะมีกรดยูริกและคอเลสเตอรอลมาก จะทำให้ค่ากรดยูริกในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นการรับประทานสัตว์ปีกโดยไม่รับประทานหนังของสัตว์ปีก ก็จะไม่เพิ่มค่ากรดยูริกในเลือดมากเกินไป


เมื่อเจาะเลือดพบว่ากรดยูริก ในเลือดสูง คือ มากกว่า 7 มก./ดล. นั้น ถ้าไม่มีอาการของการปวดข้อ ปวดกระดูก แพทย์ส่วนใหญ่มักจะไม่ให้การรักษาเพื่อลดระดับของกรดยูริก ในเลือดลงมา เพียงแต่แนะนำให้ระวังการรับประทานอาหารที่จะเพิ่มกรดยูริกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นความรู้ในอดีตและเป็นความรู้ของแพทย์ทั่วไป


ต่อไปนี้เป็นความรู้สมัยใหม่ของการเกิดกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมามากมาย นอกเหนือจากอาการปวดข้อ ปวดกระดูก


กรดยูริกนี้อาจเพิ่มมากขึ้นในเลือดจากการที่ส่วนประกอบของเซลล์บางชนิดในร่างกายถูกเร่งสลาย ด้วยการรับประทานอาหาร ที่มีน้ำตาลฟรุคโตสหรือน้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) มากเกินไป กลไกการเพิ่มกรดยูริกในเลือดนี้จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกมากเลย ซึ่งกลไกนี้ช่วย ในคำตอบแก่คนไข้จำนวนมากที่พยายามควบคุมการรับประทานเครื่องในสัตว์และหนังสัตว์แล้วยังมีค่ากรดยูริกในเลือดสูง


น้ำตาลฟรุคโตสหรือน้ำตาลซูโครส ซึ่งมีน้ำตาลฟรุคโตสเป็นส่วนประกอบนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจำเป็นต้องสลายน้ำตาลฟรุคโตส โดยการใช้ ATP มาประกบติด ATP จึงถูกเปลี่ยนเป็น ADP ซึ่งโดยปกติ ADP มักจะถูกนำไปสร้างเป็น ATP ใหม่ แต่การมีน้ำตาลฟรุคโตส มากเกินไป จะไปหยุดยั้งการสร้าง ATP ATP จึงถูกสลายลงมาให้เป็นกรดยูริก จะเห็นได้ว่ากรดยูริกนี้เกิดจากการสลายของ ATP ซึ่งคือแหล่งให้พลังงานในเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นทำงานไม่ดี และแก่ตัวเร็ว และยังเพิ่มกรดยูริกในเลือดอีกด้วย


จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์พบว่า กรดยูริกในเลือดที่สูงขึ้นนี้ จะทำให้หลอดเลือดแดงที่เข้าสู่ไตมีการหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงขึ้นได้ กอปรกับการรับประทานน้ำตาลฟรุคโตสมาก ทำให้ร่างกายมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น เร่งให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงมีโอกาสมากทีเดียวที่คนที่รับประทานน้ำตาลฟรุคโตสมากจะมีโรคความดันโลหิตสูง และเมื่อปล่อยให้เนิ่นนาน จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโตกว่าปกติ จึงมีความเสี่ยงมากขึ้นโอกาสสูงมากที่กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง เมื่อบวกกับเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบตันจากการมีไขมันในเลือดสูงและจากการเป็นโรคเบาหวาน จึงมีโอกาสเกิดโรคหัวใจจาก กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ง่าย


เมื่อพบว่า กรดยูริกในเลือดสูงให้ผลเสียเช่นนี้ จึงแนะนำให้รักษาค่ากรดยูริกในเลือดที่สูงทันที ที่ตรวจพบ โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการปวดเข่าหรือปวดข้อ โดยการรับประทานยาเพื่อลดกรดยูริก ร่วมกับการจำกัดการรับประทานอาหารที่กรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์และหนังสัตว์ต่าง ๆ และจำกัดการรับประทานน้ำตาลฟรุคโตสที่อยู่ในรูปของน้ำอัดลม น้ำ ผลไม้ ผลไม้ และน้ำตาลทราย


เมื่อปฏิบัติตามเช่นนี้ ก็ควรหมั่นตรวจเช็กเลือดเพื่อหาค่ากรดยูริกในเลือดในอีก 3 เดือนถัดมา ซึ่งค่อนข้างจะมั่นใจได้ว่า ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ค่ากรดยูริกในเลือดมักจะกลับมาเป็นปกติ


กรดยูริกในเลือดจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพมากกว่าที่เคยได้รับการสอนมา เพราะมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง และในอนาคตอาจจะทราบผลเสียของการมีกรดยูริกในเลือดสูงมากกว่านี้อีก จึงควรติดตามข้อมูลงานวิจัยทางด้านนี้ต่อไป.



ขอขอบคุณข้อมูลจากเดลินิวส์






Create Date : 11 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 11 ธันวาคม 2551 12:12:10 น. 0 comments
Counter : 1661 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 
11 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.