สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เรื่องต้องรู้ก่อนพาลูกหาหมอฟัน

ว้าวๆ ตื่นเต้นจังค่ะ และแล้วเจ้าตัวเล็กก็มีฟันซี่เล็กๆ ขึ้นสักที เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการทางร่างกายของลูกที่แม่อย่างเราเฝ้ารอคอยดูแลให้ฟันซี่เล็ก ๆ นั้นแข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากการดูแลเองที่บ้านแล้ว ใช่ว่าจะต้องรอจนมีปัญหาแล้วค่อยพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ หมั่นพาเจ้าตัวเล็กไปพบคุณหมอฟันบ้าง ให้ลูกคุ้นเคยและไม่กลัว

พูดถึงการไปพบคุณหมอฟันใจดี แม่ ๆ รู้ไหมคะว่า เมื่อพาลูกไปหาคุณหมอฟันจะได้ยินคำศัพท์เกี่ยวกับการทำฟันของเด็กอะไรบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมตัว อมยิ้มเลยมีคำศัพท์บางคำที่คุณควรรู้ และทำความเข้าใจมาฝาก เอาไว้เป็นคลังความรู้สำหรับแม่ ๆ ค่ะ

อุดฟัน

กรณีที่พบว่าลูกมีฟันผุ ก็ควรรักษาด้วยการอุดฟัน คุณหมอจะกรอส่วนที่ผุออกแล้วปิดด้วยวัสดุอุดฟันซึ่งมีอยู่หลายแบบนะคะ ขึ้นอยู่กับลักษณะการผุ ขนาดของฟันที่ผุ อายุของเด็ก และระยะเวลาของฟันที่จะอยู่ในช่องปาก เพราะแต่ละซี่ของฟันน้ำนมจะมีอายุไม่เท่ากัน

วัสดุที่ใช้อุดฟันหลักๆ มีอยู่ 2 กลุ่มค่ะคือ กลุ่มที่วัสดุอุดเป็นสีเงิน มีความแข็งแรงทนทานต่อแรงบดเคี้ยวค่ะ แต่อาจไม่สวยงามมากนัก อีกกลุ่มเป็นวัสดุอุดที่มีสีเหมือนฟัน ซึ่งมีสีให้เลือกหลายเฉดสีสามารถเลือกให้กลมกลืนกับสีฟันตามธรรมชาติของเด็กได้

ยาชา

ยาชามีอยู่ 2 รูปแบบค่ะ มีทั้งแบบทาที่มีลักษณะเป็นเจล คุณหมอจะใช้สำลีชุบเจลนี้มาทาบริเวณที่ต้องฉีดยาชา ช่วยให้เกิดการชาในระดับหนึ่งก่อน วิธีการนี้ทำให้ตอนที่ฉีดยาชาหนู ๆ จะรู้สึกเจ็บน้อยลง

ส่วนยาชาแบบฉีดนั้น ใช้สำหรับฉีดหลังจากที่ยาชาแบบทาเริ่มออกฤทธิ์ โดยยาชานี้จะใช้ร่วมกับการรักษาฟันบางประเภท เช่น การกรอฟัน การรักษารากฟัน และถอนฟัน อุดฟันลึกๆ รักษาประสาทฟัน เป็นต้น

รักษารากฟัน

วิธีการรักษาแบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากทีเดียว โดยเริ่มจากฉีดยาชา ใส่เครื่องมือกันน้ำลาย เพื่อให้ทำงานได้สะอาดและสะดวกมากขึ้น ไปจนถึงการเปิดราก ขยายราก ล้างรากฟัน และใส่ยา แล้วพิจารณาดูว่าจะอุดรากฟันได้เมื่อไหร่ จากนั้นจึงทำการอุดรากฟัน เมื่ออุดเสร็จส่วนใหญ่มักจะครอบฟัน เพราะฟันที่รักษารากจะเปราะง่ายนั่นเอง

ด้วยเหตุที่ฟันของเจ้าหนูแต่ละคนที่มาพบคุณหมอมีความแตกต่างกัน บางคนอายุเพียง 3 ปี อาจมีฟันที่ต้องรักษารากแล้ว บางคนอาจต้องใช้การรักษาแบบนี้ตอนอายุ 4-5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากที่ตรวจพบเป็นสำคัญค่ะ
เคลือบฟลูออไรด์

ปัญหาที่เด็ก ๆ 6 ปีแรก มักจะเป็นกันมากก็คือ ฟันผุ เป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความกังวลให้พ่อแม่ไม่น้อย เพราะเด็กวัยนี้ยังเล็กและไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับการรักษาฟันสักเท่าไหร่ค่ะ ดังนั้น การป้องกันฟันผุจึงมีอยู่หลายรูปแบบเชียวค่ะ ทั้งการแปรงฟัน ทำความสะอาดฟัน เลิกนมขวดในช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงการกินอาหารที่ถูกหลัก ขั้นตอนเหล่านี้ทำเองที่บ้านได้ แต่ถ้าต้องไปหาคุณหมอฟันล่ะก็ต้องเคลือบฟลูออไรด์

สำหรับคลินิกทำฟันแล้ว การเคลือบด้วยฟลูออไรด์ นับเป็นการป้องกันฟันผุที่ดีวิธีหนึ่ง มีฟลูออไรด์อยู่ 3 แบบค่ะที่เหมาะกับหนู ๆ อายุต่ำกว่า 6 ปี นั่นคือ

แบบทา คุณหมอจะใช้ฟลูออไรด์ชนิดที่มีลักษณะเป็นเจลสีขุ่น ตัวยาจะซึมเข้าสู่ผิวฟันภายในเวลา 2-3 วินาที ใช้เวลาในการเคลือบประมาณ 2 นาทีก็เสร็จแล้วค่ะ เหมาะกับเด็กเล็กๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ไม่ค่อยจะยอมให้ความร่วมมือกับคุณหมอสักเท่าไหร่

แบบเคลือบ คุณหมอจะเทฟลูออไรด์ชนิดเจลลงในถาดขนาดใกล้เคียงกับฟันบนและฟันล่าง แล้วใส่เข้าไปในปาก ให้เด็กกัดไว้พร้อมๆ กันทั้งฟันบนและล่าง แบบนี้สามารถทำได้ในเด็กที่สามารถให้ความร่วมมือ ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 3 ปีซึ่งเป็นเวลาที่ฟันของเจ้าหนูขึ้นครบแล้วนั่นเอง

แบบเม็ดสำหรับอม หลักการกินฟลูออไรด์ไม่เหมือนการกินยาทั่วไปนะคะ เพราะเด็กต้องอมเม็ดฟลูออไรด์ให้นานสุดเท่าที่จะนานได้ แนบนี้ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะยังควบคุมการกลืนได้ไม่ดี และสำหรับเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อยก็ต้องปรึกษาหมอฟันก่อนใช้นะคะ

ตรวจฟันซ้อน

ฟันที่ขึ้นซ้อนกัน อาจเป็นเรื่องที่ไม่แปลกนักสำหรับเด็กๆ แม้ว่าส่วนใหญ่ฟันน้ำนมจะหลุดได้เอง แต่จะมีกรณีที่ฟันแท้ขึ้นมาแล้วและฟันน้ำนมยังไม่หลุด ต้องให้คุณหมอตรวจดูก่อนว่าฟันน้ำนมซี่นั้นมีแนวโน้มที่จะหลุดได้เองหรือไม่ ถ้าดูแล้วหลุดเองไม่ได้ คุณหมอมักจะพิจารณาให้ถอนออก

ถอนฟัน

ส่วนใหญ่เด็กไม่ค่อยยอมให้ถอนฟันกันหรอกค่ะ คงเพราะกลัวเจ็บนั่นแหละ สำหรับเด็ก ๆ ควรถอนฟันเมื่อมีความจำเป็นที่รักษาวิธีอื่นไม่ได้แล้ว เช่น ปวด บวม การอักเสบลุกลามมาก มีหนอง มีการติดเชื้อเยอะ หรือไม่สามารถรักษารากฟันได้แล้วก็จำเป็นต้องถอนออก แต่การถอนฟันน้ำนมออกอาจต้องใส่เครื่องมือกันฟันไม่ให้ล้มลงมา เพื่อรักษาสภาพหาช่องว่างให้ฟันแท้ขึ้นอย่างถูกที่ด้วย

เคลือบหลุมร่องฟัน

การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นอีกวิธีของการป้องกันฟันผุ โดยเฉพาะบริเวณฟันกรามที่มีหลุมและร่องฟันที่ลึก มีเศษอาหารและเชื้อโรคเข้าไปสะสมได้ง่าย แถมแปรงสีฟันก็เข้าไปทำความสะอาดบริเวณนี้ได้ไม่ทั่วถึง การเคลือบหลุมร่องฟันจึงช่วยปิดหลุดและร่องฟันที่ลึกนี้ไม่ให้สิ่งสกปรกลงไปสะสม

ขั้นตอนการเคลือบหลุมร่องฟันเริ่มจากการทำความสะอาดฟัน จากนั้นเป่าฟันให้แห้งทาสารละลายกรดลงไปบนฟัน ทำให้เกิดความขรุขระที่ผิวเคลือบฟัน เพื่อที่สารเคลือบหลุมร่องฟัน จะสามารถยึดติดกับผิวฟันได้ จากนั้นล้างฟันให้สะอาดและเป่าฟันให้แห้ง ทาสารเคลือบหลุมร่องฟันที่มีลักษณะเป็นวัสดุบางๆ คล้ายพลาสติกลงบนฟันบริเวณที่มีหลุมร่องฟันปล่อยทิ้งไว้สักพักสารเคลือบหลุมร่องฟันจะแข็งตัวด้วยการฉายแสง เท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการเคลือบผิวร่องฟันแล้วค่ะ

วิธีนี้ทำได้กับเด็กที่ฟันกรามขึ้นแล้ว อายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหนู ๆ ให้ความร่วมมือมากน้อยแค่ไหนด้วย เพราะหากเจ้าตัวเล็กโยเย การเคลือบหลุมร่องฟันนี้ก็จะไม่แน่นและหลุดได้ง่าย

ถ้าต้องพาลูกไปหาคุณหมอฟันใจดีครั้งต่อไป แม่ก็ไม่ต้องงงกับคำเหล่านี้แล้วล่ะค่ะ เพราะความรู้ที่เพิ่มขึ้นนี้นอกจากช่วยให้เข้าใจมากขึ้นแล้ว คุณแม่ ๆ ยังสามารถซักถามเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เหล่านี้ได้ดีขึ้นด้วย



ขอบคุณข้อมูลจาก//women.kapook.com/view3211.html




Create Date : 25 สิงหาคม 2552
Last Update : 25 สิงหาคม 2552 9:25:07 น. 1 comments
Counter : 955 Pageviews.

 
ดีจังเลยค่ะ...ที่ได้แวะเข้ามาอ่าน
พอดีกำลังจะพาเจ้าตัวน้อยไปหาหมอฟันอยู่พอดีเลย... ^_^

ก่อนหน้านี้ตอนเขา 3 ขวบ
ได้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับปากและฟันอย่างร้ายแรงค่ะ
ไปหาหมอครั้งนั้น โดนแบบโหดๆ ซะครบเลยยย แหะๆ

เวลาใกล้ๆ นี้ก็จะพาเขาไปอีกค่ะ
ว่าจะพาไปตรวจปกติ และก็ขูดหินปูนบ้าง

หวังว่าเขาจะไม่กลัวนะเนี่ย ^_^


โดย: jme วันที่: 25 สิงหาคม 2552 เวลา:11:40:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.