สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ยารักษากระดูกพรุนกับการทำฟัน

เมื่อเวลาไปทำฟัน แพทย์มักจะถามว่าขณะนี้เรากินยาอะไรอยู่บ้าง บางท่านอาจสงสัยว่า อุดฟัน ใส่ฟัน จะไปยุ่งเกี่ยวข้องกับยารักษาโรคอื่นได้อย่างไร? ถ้ามองแบบผิวเผินไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน แต่จริงๆ แล้วมียาหลายตัวที่มีผลต่อการทำฟัน โดยเฉพาะการถอนฟัน การผ่าตัดที่ลงลึกในขากรรไกร เพราะการหายของแผลนั้น ต้องเกี่ยวกับกระดูก คนที่เป็นโรคกระดูกพรุนก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ต้องใช้ยารักษา ที่มีผลข้างเคียงต่อการทำฟัน ก็อยากย้ำว่า ต้องระวังมากๆ แต่ก่อนลงรายละเอียด ขอเล่าถึงเรื่องของกระดูกสักนิด

ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 30 ปี คนเราจะมีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ความหนาแน่นของกระดูกขึ้นกับอาหาร กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน วิตามิน การออกกำลังกาย ปกติร่างกายเรามีการสร้างและการสลายของกระดูกตลอดเวลา แต่มีปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงอาย ุ

• อายุ แรกเกิด 25 ปี การสร้างกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก
• อายุ 25-30 ปี การสร้างกระดูกพอๆ กับการสลายของกระดูก
• อายุมากกว่า 35 ปี การสร้างกระดูกจะน้องกว่าการสลายตัวของกระดูก

ในภาวะปกติร่างกายจะมีสมดุลของการเสริมสร้างและสลายของมวลกระดูกในร่างกายหมุนเวียนตลอดเวลา โดยมวลกระดูกในวัยหนุ่มสาว 30-35 ปี จะมีมวลกระดูกสะสมในร่างกายสูงสุด เมื่อเกิดการเสียสมดุล มีการสลายของกระดูกมากกว่าการสร้างมวลกระดูกใหม่ การจะเกิดโรคกระดูกโปร่งบาง osteoporosis โรคนี้ทำให้กระดูกเปราะซึ่งเสี่ยงต่อการหักของกระดูกได้ง่าย ถ้าเกิดอุบัติเหตุล้มกระแทก หรือแม้ไม่มีการล้มกระแทก ก็เสี่ยงต่อการทรุดตัวของข้อกระดูกได้ บริเวณที่พบกระดูกหักได้บ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง สะโพกและข้อมือ

จากสถิติทางการแพทย์มีคนอเมริกันกว่า 10 ล้านคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน และ 34 ล้านคนกำลังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ โรคกระดูกพรุนเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และส่วนใหญ่มักจะได้รับการรักษาด้วยกลุ่มยา bisphosphonates ซึ่งมียาเหล่านี้ เช่น alendronate, risedronate และ ibandronate จากการศึกษาพบว่ายากลุ่มนี้ช่วยลดการสูญเสียของกระดูก เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกทำให้ลดอาการเสี่ยงต่อกระดูกหัก อย่างเช่น alendronate ช่วยลดความเสี่ยงของ
กระดูกสะโพกแตก ในคนเป็นโรคกระดูกได้ถึง 46% ทีนี้มันมายุ่งกับฟันตรงไหน?

เหมือนหนีเสือปะจระเข้ครับ เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานที่น่าตกใจในคนที่รับประทานยา bisphosphonates จะมีอาการบางอย่างที่เกิดจากยาตัวนี้ มันเข้าไปสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกตาย (osteonecrosis ) ของขากรรไกร แม้ว่าจะเกิดได้ยากแต่ถ้าเป็นแล้วค่อนข้างจะมีการทำลายกระดูกอย่างน่าตกใจ

อาการของโรคกระดูกตาย
• ปวด บวม ติดเชื้อของกระดูกขากรรไกร เหงือก
• เป็นแผลแล้วไม่ยอมหาย
• ฟันโยก
• ขากรรไกรชา
• มีหนองไหล
• กระดูกขากรรไกรจะโผล่


จริงๆ แล้ว ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะเกิดในคนที่ใช้ยา bisphosphonates ทางเส้นเลือดมากกว่าการกิน ถ้าท่านได้รับยากลุ่มนี้ จะต้องแจ้งทันตแพทย์เมื่อมาทำฟัน โดยเฉพาะการถอนฟันอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกตาย อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาสุขภาพฟันให้ดี ไม่ปล่อยให้ฟันผุ หรือโรคเหงือก จนต้องมาถอนฟันออกเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับคนกลุ่มนี้ เพราะท่านมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ก็ย้ำกันอีกที

• ถ้าได้รับยา ก็ต้องระวังเวลามาทำฟัน
• ดูแลสุขภาพฟันสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการเสี่ยงดังกล่าว



ขอบคุณข้อมูลความรู้จากพ.ต.ท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี
//www.healthtoday.net




Create Date : 08 สิงหาคม 2552
Last Update : 8 สิงหาคม 2552 9:55:28 น. 0 comments
Counter : 1484 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.