สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เรื่องที่คุณยังไม่รู้ของลูกแรกเกิด




แม้คุณจะอ่านตำราและฟังคำบอกเล่าเกี่ยวกับเจ้าตัวน้อยมามากมาย แต่ก็ยังมีอีกมากมายที่เกี่ยวกับลูกน้อยซึ่งทำให้คุณทั้งสับสน สงสัย และกังวล โดยเฉพาะเรื่องราวที่เราจะบอกต่อไปนี้ ซึ่งคงจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายคลายความกังวลใจลงนะคะ

1. ร้องกี่ที…เสียงเหมือนกันหมด

เคยได้ยินมาว่า เสียงร้องของเด็กมีความแตกต่างกันและบ่งบอกถึงความต้องการได้ แต่เอ..ทำไมลูกเราร้องกี่ทีก็เหมือนกันหมดนะ

* เป็นเรื่องปกติของพ่อแม่ที่จะรู้สึกแบบนี้ในช่วงแรก

* เวลาจะช่วยให้คุณแยกแยะเสียงของเจ้าตัวน้อยได้

* ลองตอบสนองลูกขั้นพื้นฐานไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็รู้ใจกันเอง เช่น ป้อนนม เปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนท่านอน วัดไข้ เป็นต้น

2. ลูกไม่น่ารักเหมือนในหนังสือเลย

รูปเด็กในนิตยสาร ทีวี ล้วนดูจ้ำม่ำ น่ารัก แต่นั่นเป็นมายาคติอย่างหนึ่งของสื่อมวลชน ค่ะ ที่จริงแล้วเด็กแรกเกิดสัดส่วนจะดูแปลกตากว่าที่คุณเคยเห็น คิดดูสิคะ แกต้องเดินทางผ่านกระดูกเชิงกราน กระดูกตรงกระโหลกศีรษะที่ยังปิดไม่สนิท จะเปลี่ยนรูปชั่วคราวเพื่อสะดวกต่อการคลอดและไม่เป็นอันตรายต่อสมองน้อยๆ ด้วย อีกทั้งของเหลวในร่างกายยังทำให้ลูกตาดูบวมๆ จมูกบี้ๆ อีกแน่ะ

* ใจเย็นๆ ค่ะ อีก 1-2 สัปดาห์เจ้าตัวน้อยจะค่อยๆ เต่งตึง ดูน่ารักเหมือนคุณนั่นแหละ

3. ตัวแค่เนี๊ยะ…ถีบเก่งจัง

ตอนนี้น้องน้อยมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวแขนขามากกว่าตอนอยู่ในท้องแม่ แต่ก็ยังบังคับกล้ามเนื้อแขนขาไม่เอาไหนเลย จึงยกสะเปะสะปะไปเรื่อย เหมือนกับกระตุกหรือสะดุ้ง

* อาการนี้จะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์ แล้วจะค่อยๆ หายไปภายใน 3 เดือน แต่ถ้าตัวสั่นหรือปากสั่นตลอดเวลา แม้ขณะอยู่ในอ้อมกอดพ่อแม่ ควรปรึกษาคุณหมอค่ะ

4. ลูกอัณฑะใหญ่เกินตัว

เพราะฮอร์โมนจากแม่ ซึ่งอยู่ในร่างกายและเนื้อเยื่อของแก ยังถูกขับออกมาไม่หมด จึงทำให้เด็กผู้ชายมีอัณฑะที่ดูใหญ่ ส่วนเด็กผู้หญิงก็มีอวัยวะเพศดูบวมๆ ในช่วง 2-3 วันแรกได้ ถ้าลูกไม่เจ็บหรือมีอาการอักเสบก็หายห่วงค่ะ

5. ทำไมหิวบ่อยจัง

คุณแม่บางคนรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่ต้องคอยให้นมลูกตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากเด็กที่กินนมแม่จะหิวบ่อย เพราะนมแม่ย่อยและดูดซึมง่ายกว่านมผงค่ะ

* ช่วง 6 เดือนแรก เป็นช่วงทำน้ำหนักของน้องหนู โดยจะขึ้นมาประมาณสองเท่าของตอนแรกเกิดเลยล่ะ

* ทำใจให้สบาย ลูกกินได้ดีกว่ากินไม่ได้นะคะ และประมาณ 1-2 อาทิตย์ คุณกับเจ้าตัวน้อยจะปรับเรื่องเวลาให้นมได้เองโดยอัตโนมัติ

6. มือเท้าเย็น

พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะหาผ้ามาห่มเพิ่ม เมื่อรู้สึกว่าลูกมือเท้าเย็น ซึ่งปกติเด็กแรกเกิดมีโอกาสที่มือเท้าจะเย็นกว่าอวัยวะส่วนอื่นได้ เพราะระบบหมุนวียนเลือดกำลังพัฒนา จึงต้องส่งกำลังเลือดไปเลี้ยงอวัยวะหลักๆ อวัยวที่อยู่ไกลอย่างมือและเท้าจึงได้รับช้า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ระบบหมุนเวียนต่างๆ ในร่างกายจึงจะเข้าที่ค่ะ

* ถ้าสังเกตดูว่าผิวของลูกออกสีชมพู และอุณหภูมิห้องไม่เย็นมาก ก็ยังไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าให้ลูก

* ให้ลูกออกกำลังกาย ยกแข้งยกขา จะทำให้ระบบไหลเวียนสมบูรณ์เร็วขึ้นค่ะ

7. มีเลือดปนมากับผ้าอ้อม

ฮอร์โมนจากแม่ตัวเดียวกันกับที่ทำให้อัณฑะของลูกบวมนี่แหละ ที่บางครั้งยังเป็นเหตุให้มืเลือดออกมาจากช่องคลอดของเด็กผู้หญิงแรกเกิดได้ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช่เลือดแต่เป็นสีของปัสสาวะที่ดูเข้ม

* ไม่ต้องกังวลถ้าคุณเห็นรอยเปื้อนเลือดเล็กน้อยติดอยู่กับผ้าอ้อมในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ถ้าเป็นรอยมากและนานกว่านั้น ถามคุณหมอให้แน่ใจอีกทีดีกว่าค่ะ

8. ผายลมบ่อย

เด็กที่กินนมแม่ อึลูกจะมีสีเหลืองทองและนิ่ม ไม่เป็นก้อนๆ ถ้าเลี้ยงด้วยนมขวดจะมีสีเข้มหรือคล้ำกว่า เด็กบางคนถ่ายทุกวันหรือมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน บางคนสองสามวันถ่ายที แต่ถ้าไม่เป็นก้อนแข็งก็ไม่เป็นไร ยิ่งไปว่านั้นน้องหนูบางคนก็ตดเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะหลังกินนมแม่ (gastro - colic reflex) จนคุณแม่กังวลว่าจะท้องเสีย ท้องอืดหรือเปล่าเนี่ย

* ถ้าไม่ปวดท้อง ไม่งอแง ไม่บวม ก็ถือว่าสบายดี

* คุณต้องสังเกตว่าอะไรคืออาการปกติของลูก ซึ่งอาจไม่เหมือนกับลูกคนอื่น เพราะเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว

* ถ้าอุจจาระลูกเปลี่ยนไปจากที่เคย เช่น แข็งหรือเหลวมาก หรือตดออกมาพร้อมอุจจาระเป็นฟอง นั่นแหละถึงจะเป็นสัญญาณผิดปกติ

9. จามตลอดเวลา

เด็กแรกเกิดอาจจะจามบ่อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแกจะป่วยหรือเป็นหวัดหรอกค่ะ เพราะน้องหนูกำลังทำให้ทางเดินหายใจของตัวเองโล่งสบายต่างหาก ก็รูจมูกของหนูเล็กนิดเดียว ยิ่งเวลาหายใจเข้าก็จะยิ่งแฟบลง

* หลังจากให้นมลูกแล้ว คุณอาจเห็นว่าลูกจาม เพราะระหว่างดูดนม แกต้องกลั้นหายใจเป็นจังหวะ

* ถ้าจามโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ น้ำมูก งอแง แสดงว่าลูกสบายดี

10. ผิวหนังลอก

ตอนอยู่ในท้องลูกจะมีผิวหนังและไขมันเคลือบอยู่ พอคลอดออกมา ไขมันที่ว่านี้ก็หลุดไปทำให้ผิวหนังชั้นนอกสุดแห้งและเริ่มลอกค่ะ

* อีก 1-2 สัปดาห์ ผิวหนังเก่าตรงที่แห้งจะหลุดออก พร้อมมีผิวหนังใหม่ที่ใสและเต่งตึงมาแทนที่

* อย่าแกะ อย่าดึง อย่าขัด ปล่อยให้หลุดมาเอง เพราะเดี๋ยวจะไปดึงเอาผิวหนังที่ยังไม่พร้อมลอกหลุดติดมือมาด้วย ทีนี้ลูกก็จะแสบ เป็นแผล เชื้อโรคเข้าได้ง่าย

11. ทำไมบางทีเหมือนหยุดหายใจ

พอกลับจากโรงพยาบาล พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะเฝ้าอยู่ไม่ห่าง จ้องไปจ้องมา เอ๊ะ…ลูกไม่หายใจหรือหยุดหายใจไปนานจัง ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่ากล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจยังไม่แข็งแรงเต็มที่ การกระเพื่อมของทรวงอกจึงมีน้อย พอใส่เสื้อผ้าหลวมๆ แล้วก็แทบจะมองไม่เห็นจังหวะการหายใจเลยล่ะ

* ประมาณ 6 สัปดาห์ คุณจะสังเกตเห็นการหายใจของลูกชัดขึ้น แต่หากรู้สึกว่าลูกหยุดหายใจเกิน 20 วินาที นั่นเป็นสัญญาณอันตราย

* หมอนนานาชนิดไม่จำเป็นสำหรับเด็กขวบปีแรก ยกเว้นเบาะรองนอน เพราะอาจจะไปอุดทางเดินหายใจของลูก โดยที่คุณไม่ทันสังเกตก็ได้




ขอบคุณข้อมูลจากmomypedia
//women.kapook.com/baby00291/




Create Date : 30 มิถุนายน 2552
Last Update : 30 มิถุนายน 2552 8:09:29 น. 0 comments
Counter : 1535 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
30 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.