สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
พระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล







วันนี้ได้รับเมล์เกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริเห็นว่าจะ
เป็นประโยชน์และความรู้ก็เลยอยากมาเล่าสู่กันฟัง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับเต่าทะเลสัตว์ทะเลที่หายากและใกล้
จะสูญพันธุ์ พระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้
รู้จักและรู้คุณค่าของสิ่งเหล่านี้ ก็อยากให้เพื่อนๆ ได้มา
รู้จักกันบ้างค่ะ ตามมาดูกันได้ค่ะ


พระราชดำริเกี่ยว กับการอนุรักษ์เต่าทะเล

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยที่เต่าทะเล ทรงตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเลของไทยนับวันมีแต่จะ ลดน้อยลง มีสัตว์หลายชนิดที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ โดยเฉพาะเต่าทะเล เช่น เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าตาแดง ซึ่งในอดีตเคยมีเป็น จำนวนมาก บัดนี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากราษฎรนิยมเก็บไข่เต่าทะเลไปซื้อขายเพื่อประกอบอาหาร แม้กรมประมงจะ ขอแก้ไขกฎหมายประมง เมื่อ พ.ศ.2493 กำหนดให้ผู้ครอบครองเต่าทะเลมีความผิดตามกฎหมาย แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น





สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล โดยได้ พระราชทาน เกาะมันใน จังหวัดระยอง ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นถวายให้เป็น ทรัพย์สินส่วนพระองค์ จัดเป็น ศูนย์กลางอนุรักษ์และ เพาะขยายพันธุ์เต่าทะเล พระราชทานชื่อว่า โครงการสมเด็จฯอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เริ่มเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2522 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนจากกรมประมง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เต่าทะเล เพื่อนำไปใช้ในการแพร่ขยายพันธุ์ศูนย์อนุรักษ์และ เพาะขยายพันธุ์เต่าทะเลนี้

ต่อมาเมื่อโครงการสิ้นสุดลงได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สังกัดกรมประมง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ห่างจากชายฝั่งอ่าวมะขามประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 137 ไร่ อันมีสภาพภูมิประเทศเป็น ชายฝั่งยาว 1,200 เมตร กว้าง 550 เมตร ประกอบด้วย หาดทรายและ โขดหินน้อยใหญ่จำนวนมาก เป็น แหล่งที่เต่าทะเลชอบขึ้นมาวางไข่ ทั้งเต่ากระและ เต่าตนุ ขณะเดียวกันก็ได้ มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเล โดยห้ามการจับและ มีไว้ในครอบครองอีกด้วย

ศูนย์ฯมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยชีววิทยาของเต่าทะเลอนุรักษ์ และ เพิ่มจำนวนโดยการเพาะขยายพันธุ์ปล่อยสู่ทะเลตามธรรมชาติ โดยวิธีนำไข่เต่าทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ได้ จาก เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็น พื้นที่ในความดูแลของกองทัพเรือ นำมาเพาะฟัก และ อนุบาล เมื่อลูกเต่ามีอายุประมาณ 6 เดือน จะ ติดเครื่องหมายเพื่อติดตามผล นำปล่อยลงสู่ทะเล ลูกเต่าส่วนหนึ่งนำไปเลี้ยงไว้เป็น แม่พันธุ์พ่อพันธุ์ต่อไป กรมประมงประกาศขอให้ผู้พบเต่าทะเลที่ติดเครื่องหมายนำส่งคืนศูนย์ เพื่อเป็น ข้อมูลศึกษาค้นคว้าวิจัย และ ยังทดลองเลี้ยงเต่าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพื่อให้ผสมพันธุ์และ วางไข่ ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถขยายพันธุ์ลูกเต่าให้มีจำนวนมากขึ้น นำมาอนุบาลแล้วปล่อยคืนสู่ท้องทะเล


สถานที่ดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล มี 2 แห่ง คือ

1. เกาะมันใน ดำเนินการเลี้ยงเต่าทะเลตั้งแต่แรกเกิดจนโตขึ้น วัดขนาดตามที่กำหนดแล้วนำไปเลี้ยงไว้ในคอกในทะเลซึ่งมีเนื้อที่ขนาด 30 ไร่ แล้วศึกษาเก็บข้อมูล
2. เกาะคราม อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพเรือ ศึกษาวิจัยเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของเต่าทะเลตามธรรมชาติ โดยติดเครื่องหมายที่แม่เต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พบว่าแม่เต่าตัวเดิมจะ กลับมาวางไข่ห่างกัน 2-3 ปี หรืออาจจะ ถึง 5 ปี และ เก็บข้อมูลแม่เต่าใหม่ที่ขึ้นมาวางไข่ และ ศึกษาพบว่ามีประชากรเต่าทดแทนกันพอสมควร

ในปัจจุบัน สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลในชื่อ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล อยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ ที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี เปิดให้ประชาชนนักท่องเที่ยวเข้าชม และ ศึกษาหาความรู้เกี่ยว กับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เต่าทะเล และ ขายเต่าให้แก่ผู้ประสงค์จะ ปล่อยเต่า นำรายได้ ไปเป็น ค่าใช้จ่ายในการเพาะขยายพันธุ์และ ศึกษาวิจัยเต่าทะเลต่อไป รวมทั้งรับบริจาคด้วย

สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กรมประมง ที่จังหวัดระยองนี้ นอกจากดำเนินการศึกษาวิจัยการเพาะฟักไข่เต่าทะเล การผสมพันธุ์ การวางไข่ การอนุบาล การเลี้ยง ศึกษาพฤติกรรม ดูแลรักษาและ ป้องกันโรคของเต่าทะเลแล้ว ยังศึกษาค้นคว้าเกี่ยว กับปะการังชนิดต่างๆ การแพร่กระจายเติบโตของแนวปะการัง การอนุรักษ์และ ฟื้นฟูปะการัง รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์การเจริญเติบโต การแพร่กระจายของหอยมือเสือ การปล่อยหอยมือเสือลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยว กับถิ่นที่อยู่อาศัยของพยูน การกระจายและ แพร่พันธุ์ การเจริญเติบโตของพยูน ตลอดจนศึกษาและ สำรวจแหล่งหญ้าทะเลชนิดต่างๆที่เป็น อาหารของพยูน สัตว์น้ำที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ในประเทศไทยด้วย





นอกจากโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลจะ ได้ ดำเนินโครงการสนองพระราชปณิธานเกี่ยว กับการเพาะเลี้ยงเต่าทะเล เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้วโครงการฯ ยังได้ นำเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ให้ออกประกาศห้ามส่งกระดองเต่าทะเลเป็น สินค้าออกตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2523) พร้อมทั้งเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับมาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลโดยห้ามครอบครองกระดองเต่าทะเลและ ผลิตภัณฑ์จากเต่าทะเล ผู้ใดฝ่าฝืนจะ มีโทรปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลที่เกาะมันในประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์เต่าทะเลได้ เอง โดยวิธีการนำไข่เต่าจากธรรมชาติมาฟักแล้ว ไปเพาะเลี้ยงในบ่ออนุบาล เมื่อเติบโตพอจะ ดำรงอยู่ด้วยตัวเองได้ ก็จะ ปล่อยกลับลงสู่ทะเล เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตตามธรรมชาติได้ ต่อไป

พระมหากรุณาธิคุณใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์และ ขยายพันธุ์เต่าทะเลนี้ ได้ ก่อให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ประชาชน ในด้านการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เพื่อให้ดำรงอยู่คู่ท้องทะเลไทย ซึ่งจะ เป็น เครื่องหมายแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย และ แสดงให้สังคมโลกประจักษ์ในบทบาทของไทย และ ความมุ่งมั่นมานะพยายามในการอนุรักษ์ธรรมชาติ สรรพสัตว์ และ ความสามารถในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์และ สิ่งแวดล้อม พร้อม กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย


อาหารและ การกินอาหารของเต่าทะเล

เต่าทะเล เป็น สัตว์ที่กินพืชและ สัตว์เป็น อาหาร ส่วนเต่าตนุวัยอ่อนจะ กินพวกสัตว์เล็กๆ และ เมื่อโตขึ้นจะ กินพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเต่ากระที่จับมากทำการเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้ โดยธรรมชาติแล้วจะ ไม่พบสัตว์ในกระเพาะของมันตากตัวอย่างที่ได้ พบเต่าติดอวนและ ตายลง เนื่องจากคอหัก เมื่อผ่าดูและ ตรวจดูที่บริเวณกระเพาะของมัน ปรากฏว่ามีแต่พืช เช่น สาหร่าย (Sargassum sp.) และ สาหร่ายสีเขียว (green algae) อยู่เป็น จำนวนมาก ไม่พบสัตว์ในกระเพาะเต่าตนุ ซึ่งไม่เหมือน กับเต่ากระที่กิน อาหารพวกสัตว์เล็กๆ เช่น แมงกะพรุน กุ้ง ปู ปลา หอย และ พืช รวมทั้งตะไคร่น้ำตามแนวหิน

ในระหว่างเวลาในตอนกลางวันจะ ไม่พบเต่าทะเลในบริเวณน้ำตื้น จึงสันนิษฐานได้ ว่าเต่าทะเลคงจะ หากินในเวลากลางคืนและ ช่วงเวลานั้นขึ้น แต่ในบางครั้งพบเต่าทะเลในบริเวณน้ำที่มีความลึกประมาณ 13-15 เมตร ในช่วงเวลากลางวัน และ ด้วยเต่าทะเลเป็น สัตว์ที่ใช้ปอดในการหายใจจึงทำให้บ่อยครั้งที่พบเต่ทะเลขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เมื่อเต่าทะเลขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำก็จะ สามารถปรับหรือลดความดันของบรรยากาศายในได้ รวดเร็วและ ไม่เป็น อันตราย อันเป็น คุณสมบัติพิเศษกว่าสัตว์น้ำชนิด ยกเว้นสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนำบางชนิดเท่านั้น

นอกจากนี้เต่าทะเลยังมีสัญชาติญาณอีกหลายประการที่น่าสนใจ เช่น การรู้ทิศทางของทะเลในการขึ้นมาวางไข่ หรือแม้แต่ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งออกจากไข่และ หลุมใหม่ๆ จะ มีความสามารถรู้ทิศทางในการลงสู่ทะเลได้ ถูกต้อง และ ความสามารถที่สำคัญอีกอย่างของเต่าทะเลก็คือการรู้เวลาว่าเมื่อใดเป็น เวลาน้ำขึ้นและ น้ำลง ซึ่งทำให้เต่าทะเลสามารถระบุเวลาที่เหมาะสมได้ เป็นต้น


สถานที่เต่าทะเลวางไข่

สถานที่และ บริเวณที่เต่าทะเลแต่ละชนิดใช้ในการวางไข่จะ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เต่าทะเลจะ ขึ้นไปวางไข่ในบริเวณหาดทรายที่อยู่เหนือระดับน้ำขึ้น และ หาดนั้นจะ ต้องมีลักษณะเป็น ทรายขาวและ สะอาด ซึ่งเต่าทะเลจะ สร้างรังไข่เหนือระดับที่ขึ้นสูงสุด แต่ก็มีเต่าทะเลบางตัวที่ขึ้นวางไข่ไกลจากระดับน้ำขึ้นสูงสุดถึง 200 เมตร





เพศ และ ลักษณะของเพศในเต่าทะเล

เต่าทะเลเพศผู้และ เพศเมียแยกอยู่กันคนละตัว (Sex Dimorphism) และ อวัยวะสืบพันธุ์จะ อยู่ภายนอกลำตัว ที่เรียกว่า Intromittent Organ ซึ่งลักษณะเพศของเต่าทะลเจะ สามารถเห็นได้ ชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็ขึ้นอยู่ กับชนิดของเต่าทะเล เพศของเต่าทะเลจะ อยู่ท้ายสุดของลำตัวมีลักษณะคล้ายหาง อวัยวะเพศผู้จะ มีลักษณะใหญ่ ยาว และ โค้งลงเล็กน้อยกว่าอวัยวะเต่าทะเลเพศเมีย

ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมในการผสมพันธุ์ กระดองหนังของเพศเมียจะ มีลักษณะโค้งออกด้านข้างเล็กน้อยในเต่าทะเลบางชนิด ส่วนเต่าทะเลเพศผู้จะ มีกระดองหลังที่นูน และ มีส่วนแคบยาวกกว่าเต่าทะเลเพศเมีย ระยางค์คู่หน้าของเต่าทะเลเพศผู้จะ มีลักษณะยาวกว่าเต่าทะเลเพศเมีย ลักษณะเพศของเต่าทะเลจะ ยังไม่ปรากฏให้เห็นชัดในระยะวันอ่อนของเต่าทะเล


การผสมพันธุ์ของเต่าทะเล

การผสมพันธุ์ของเต่าทะเลเป็น การผสมพันธุ์แบบภายใน (Internal Fertilization) การผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งของเต่าทะเลใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และ จะ อยู่ในช่วงเวลาน้ำขึ้น โดยที่เต่าทะเลเพศผู้จะ ใช้อุ้งเท้า (Forelimp) ประกบจับด้านหลังของเต่าทะเลเพศเมีย หลังจากนั้นเต่าทะเลเพศผู้จะ ขึ้นคล่อมอยู่บนหลังเต่าทะเลเพศเมีย โดยใช้ระยางค์ทั้งสี่จับแน่นพร้อมกันนั้น เต่าทะเลเพศผู้และ เพศเมียจะ ยื่นอวัยวะเพศของทั้งสองมาพบกัน และ เต่าทะเลเพศผู้ก็จะ ถ่ายน้ำเชื้อเข้าสู่อวัยวะเพศเมียเข้าสู่ท่อมดลูกซึ่งแยกออกเป็น สองท่อ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 สัปดาห์แม่เต่าตัวนั้นก็จะ ขึ้นมาวางไข่

อวัยวะของเต่าและ เพศเมีย จะ สามารถเห็นได้ ชัดเจนในขณะวางไข่ ซึ่งจะ มีลักษณะยื่นยาวออกมา และ จะ หดเมื่อทำการวางไข่เสร็จ ตัวอย่างเช่น เต่าตนุที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไม้ขาว ในคืนของวันที่ 29 พฤศจิกายน 2507 ออกไข่ 132 ฟอง และ สามารถวัดอวัยวะเพศเมียได้ มีขนาดของความยาวประมาณ 6 นิ้วฟุตเศษ อวัยวะส่วนนี้ประกอบด้วยผิวหนังที่มีความยืดหยุ่น





การสร้างรังและ การวางไข่

แม่เต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่จะ มีอายุประมาณ 15-18 ปีขึ้นไป และ เชื่อว่าเต่าที่มีอายุถึง 100 ปีก็สามารถขึ้นมาวาไข่ได้ เช่นกัน แม่เต่าทะเลใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการขุดทรายเพื่อทำหลุมวางไข่ เต่าทะเลที่พร้อมจะ วางไข่จะ ขึ้นมาทำการวางไข่บนหาดทรายในเวลาเดือนมืดและ มีคลื่นลมแรง ฟ้าคะนอง และ มีฝนตก และ เมื่อแม่เต่าทะเลขึ้นมาบนหาดทรายแล้วก็จะ หาที่ๆ เหมาะสมขุดหลุมทำรังวางไข่ โดยที่บริเวณนั้นและ ขณะนั้นจะ ต้องปราศจากสิ่งรบกวนที่จะ ทำอันตรายต่อตัวมัน เมื่อได้ สถานที่เหมาะสมก็จะ เริ่มใช้ขาหน้าทำการขุดหลุม หลังจากนั้นก็จะ ลงไปหมอบในหลุมแล้วใช้ระยางค์คู่หลังทำการขุดต่อไป โดยที่มันจะ หันหรือหมุนตัวเองไปตามทิศทางที่ต้องการจะ เอาทรายขึ้นโดยรอบ เมื่อมันเห็นว่าหลุมที่ขุดมีความลึกพอสมควร คือประมาณ 60 ซม. แต่บางหลุมอาจจะ มีความลึกถึง 1-2 เมตร หรือบางหลุมก็ตื้นประมาณ 15 ซม. ก็เป็น ได้ ขึ้นอยู่ กับสภาพพื้นที่บริเวณนั้นว่ามีสภาพเป็น อย่างไร เมื่อแม่เต่าขุดหลุมได้ ขนาดที่ต้องการแล้ว มันจะ คลานไปข้างหน้าเพื่อให้เหลือที่ในการวางไข่

ในการวางไข่นั้นแรกเริ่มมันจะ ขับนั้นเมือกออกมารองรับที่ก้นหลุม เพื่อเป็น การช่วยในการหล่อลื่นและ เพื่อห้องกันการสูญเสียน้ำในใข่ขณะวางไข่ กล่าวคือ ไข่เต่าทะเลในระยะที่ผิวยังบางอยู่นั้น เมื่อมาถูก กับน้ำเมือก จะ ทำให้น้ำเมือกเกาะไข่และ แห้งเป็น ฝุ่นสีขาวนวลหุ้มอยู่ช่วยในการระเหยของน้ำจากภายใน จากนั้นแม่เต่าก็จะ วางไข่ และ ในขณะนี้เองที่น้ำตาของมันจะ ไหลออกมา ซึ่งชาวบ้านเข้าใจว่าเต่าทะเลร้องไห้ แต่ทั้งนี้เป็น เพราะทรายเข้าตา หรือเป็น เพราะความเจ็บปวดในการวางไข่ก็เป็น ได้ ในระยะการวางไข่นี้จะ ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที ขึ้นอยู่ กับจำนวนไข่ที่แม่เต่าไข่ออกมา หลังจากวางไข่เรียบร้อยแล้ว มันจะ ทำการกลบและ ทับหลุมที่วางไข่ด้วยทรายจนมีสภาพเหมือนเดิม โดยการใช้ระยางคู่หลังทำการกลบหลุม ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที ก่อนที่กลับลงสู่ทะเล แต่มีแม่เต่าบางตัวที่ขึ้นมาวางไข่แล้วไม่ยอมกลับทะเล ซึ่งส่วนมากจะ เป็น เต่าทะเลที่มีอายุมาก บางตัวจะ มีการขุดหลุมหลอก บางตัวจะ รอเฝ้าไข่ถึงรุ่งเช้า และ บางตัวจะ มีการขุดหลุมแต่ไม่มีการวางไข่ในหลุมนั้น อาจมาจากการถูกรบกวนที่กำลังจะ วางไข่ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ก็ตาม


จำนวนไข่ของเต่าทะเล

จากการศึกษาพบว่าเต่าทะเลที่มีอายุน้อยจะ ออกไข่ได้ น้อย ส่วนเต่าทะเลที่มีอายุมากจะ มีการออกไข่ได้ มากกว่า จากข้อมูลที่ทำการสำรวจที่ จังหวัดภูเก็ต พบว่าแม่เต่าทะเลวางไข่เฉลี่ยแล้วประมาณ 120 ฟองต่อหนึ่งครั้ง และ มีจำนวนมากที่สุด 226 ฟอง ต่ำสุด 3 ฟอง และ บางหลุมไม่พบไข่เต่าเลย


การดูอายุของเต่า

อายุของเต่าทะเลมิได้ ตัดสินกันที่ขนาดตัวของเต่าทะเล แต่จะ พอใช้การสังเกตจาก ในเต่าทะเลที่มีอายุมาก สีของเกล็ดจะ มีสีคล้ำ และ มีพวกหอยนางลม เพรียง และ สิ่งแปลกปลอมเกาะติดที่กระดองหลัง และ สังเกตอายุของเต่าทะเลได้ จากการดูจำนวนไข่ที่เกิด ในเต่าที่มีอายุมาก ๆ อาจจะ ไม่สามารถออกไข่ได้ เลย ส่วนในเต่าที่อายุน้อยจะ สามารถออกไข่ได้ ไม่มาก หรือได้ จำนวนที่มาก็เป็น ได้ นอกจานี้ ขนาดของไข่ก็สามารถบอกอายุได้ ถือถ้าเป็น ไข่ของเต่าทะเลที่มีอายุมากแล้ว จะ มีขนาดของไข่ที่ใหญ่กว่าในแม่เต่าที่มีอายุน้อยๆ


เวลาและ อาการในการวางไข่

โดยทั่วไปแม่เต่าทะเลจะ ขึ้นมาวาไข่ในเวลาเดือนมืด ระหว่างเวลาประมาณ 21.00-04.00 นาฬิกา หรืออาจจะ ช้าและ เร็วกว่านี้ และ ตามปกติแม่เต่าทะเลจะ ขึ้นวางไข่หลังจากได้ รับน้ำเชื้อจากตัวผู้ประมาณ 1 สัปดาห์ และ จะ ขึ้นมาวางไข่ประมาณ 2-4 ครั้งต่อหนึ่งปีในฤดูวางไข่ ซึ่งจะ กินเวลาห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากการวางไข่ครั้งก่อน จำนวนของไข่จะ ลดลงตามลำดับการวางไข่ ระยะที่มีน้ำขึ้นสูงสุด เดือนมืด ลมแรง และ หากมีฝนตกจะ เป็น ช่วงเวลาที่เหมาะที่แม่เต่าจะ ขึ้นมาวางไข่ และ เมื่อขณะที่แม่เต่ากำลังวางไข่ ถ้าถูกรบกวนแม่เต่าจะ ไม่ยอมออกไข่เลย แม่เต่าทะเลออกไข่เป็น ชุดๆ ละ 2 หรือ 4 ฟอง

แม่เต่าทะเลที่ทำการวางไข่แล้ว ยังปรากฏว่ามีไข่อยู่ข้างในอีก 2-3 เท่า ของไข่ที่ออกมาในครั้งแรก จากผลการสำรวจไข่ภายในของเต่าทะเล (เต่าตนุ) ที่ติดอวนและ คอหักตาย เมื่อทำการผ่าดูไข่ภายใน พบว่ามีไข่อ่อนในระยะต่าง ๆ จำนวน 310 ฟอง เป็น ไข่ที่ไม่มีเปลือกหุ้ม ส่วนมากประกอบด้วยไข่แดง มีท่อเก็บไข่ 2 ท่อ ซึ่งแต่ละท่อมีขนาดความยาวประมาณ 2 เมตร และ จะ มาบรรจบเป็น ท่อเดียวที่ใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งจาการศึกษาถึงไข่ในระยะ ต่าง ๆ พอที่สรุปได้ ว่าแม่เต่าทะเลสามารถผลิตไข่ได้ ตลอดทั้งปี แต่ในเรื่องของฤดูกาลในการวางไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด หากจะ ต้องทำการศึกษากันต่อไป แต่ส่วนมากฤดูวางไข่ของเต่าทะเลจะ ขึ้นอยู่ กับท้องที่ การอยู่ในบริเวณเส้นรุ้ง และ ความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่เหมาะสม


ระยะที่ไข่ใช้ในการฟักตัว

ในความเชื่อของคนทั่วไปเต่าทะเลจะ ฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการวางไข่ของแม่เต่าทะเล แต่จากการศึกษาพอที่จะ สรุปได้ คือ

• เต่ากระจะ ใช้เวลาในในการฟักตัวเร็วกว่าเต่าชนิดอื่น คือประมาณ 45-53 วัน
• เต่าตนุจะ ใช้เวลาในการฟักเป็น ตัว ประมาณ 47-58 วัน
• เต่าหญ้าจะ ใช้เวลาในการฟักเป็น ตัวประมาณ 60 วัน
• เต่ามะเฟือง ใช้เวลาในการฟักเป็น ตัว ประมาณ 58-65 วัน

หลังจากที่ลูกเต่าทะเลฟักออกจากไข่จะ ยังไม่ออกจากหลุมทันที จนกว่า 2-3 วันผ่านไป ลูกเต่าทะเลจึงจะ หันหัวขึ้นในลักษณะเตรียมโผล่พ้นพื้นทราย ตัวใดไม่สามารถโผล่พ้นทรายได้ ก็จะ ตาย และ โดยสัญชาติญาณเมื่อลูกเต่าโผล่พ้นทรายมาก็จะ ลงสู่ทะเลทันที ซึ่งเป็น ในช่วงเวลากลางคืน

จากการศึกษาลูกเต่าวัยอ่อนอายุประมาณ 2-4 สัปดาห์ พบว่าเมื่อทำการปล่อยลูกเต่าแล้ว ลูกเต่าจะ เริ่มว่ายน้ำแข่งกันออกสู่ทะเลลึก แต่มีบางตัวที่ว่ายหลบซ่อนอยู่ตามโขดหินและ หมู่ปะการัง และ จาการศึกษายังพบอีกว่าลูกเต่าตนุที่มีอายุ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ลูกเต่าจะ มีกระดองที่แข็งและ ว่ายน้ำได้ ว่องไว จะ มีขนาดความยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ซึ่งเป็น ระยะที่ปลอดภัยจาการเป็น อาหารของปลาและ นก นอกจากนี้เรื่องเต่าทะเลที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ลูกเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กก. จะ ไม่พบเห็นอยู่ตามธรรมชาติ


ศัตรูของไข่และ ลูกเต่าทะเล

ศัตรูของไข่และ ลูกเต่าทะเลบนพื้นบกที่สำคัญก็มี คน สุนัขที่ใช้เท้าหน้าขุดหลุม ส่วนแรน (ตะกวดชนิดหนึ่ง) จะ ใช้หางขุดทรายเอาไข่และ ลูกเต่าทะเลวัยอ่อนมากินเป็น อาหาร และ ส่วนในระยะที่ลูกเต่าทะเลออกจากหลุมและ ลงสู่ทะเลก็อาจตกเป็น เหยื่อแก่นก ปลาใหญ่และ ฉลาม


สถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง

ทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งประกอบด้วย ป่าชายเลน ชายหาด น้ำทะเล ปะการัง รวมไปถึงสัตว์น้ำต่างๆ ซึ่งเป็น ที่ทราบกันดีว่าทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งของประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีความสวยงาม อย่างไรก็ดี ทรัพยากรเหล่านี้กำลังถูกคุกคาม เอาเปรียบจากมนุษย์ที่ไม่ทราบถึงผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็น ระบบนิเวศที่เชื่อมต่อการถ่ายเทสารอาหารและ พลังงานระหว่างระบบนิเวศป่าบกและ ระบบนิเวศทางทะเล จึงมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เป็น แหล่งอาหารที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ กับทะเลทั้งทางตรงและ ทางอ้อม แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ช่วยป้องกันชายฝั่งจากการพังทลาย และ ช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำ สำหรับความสำคัญต่อมนุษย์ ป่าชายเลนเป็น แหล่งไม้ใช้สอย ไม้ฟืน ถ่าน ไม้เสาเข็ม แหล่งสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และ แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และ ยังมีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียของชุมชนอีกด้วย

จากอดีตถึงปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยได้ ถูกบุกรุกทำลาย และ มีบางส่วนถูกเปลี่ยนสภาพไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม และ เกษตรกรรม เป็น ต้น ทำให้ป่าชายเลนที่เหลืออยู่ก็มีสภาพเสื่อมโทรม ดังนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จึงได้ จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงพระชนมายุ 72 พรรษา เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระราชินีในการฟื้นฟูป่าชายเลน โดยมีกิจกรรมหลัก ได้ แก่ การปลูกป่าชายเลนในพื้นที่สำคัญเร่งด่วน และ การกำหนดเขตพิทักษ์ป่าชายเลนรักษ์สัตว์น้ำ

นอกเหนือจากป่าชายเลนแล้ว ประเทศไทยยังมีแนวปะการังที่สวยงามและ มีความสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันแนวปะการังอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จนเกินศักยภาพในการรองรับ ซึ่งความเสื่อมโทรมของแนวปะการังอาจมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การขุดแร่หรือการก่อสร้างบริเวณชายฝั่ง การระเบิดปลา การท่องเที่ยวที่เกินศักยภาพในการรองรับและ ขาดจิตสำนึก การลักลอบเก็บปะการังหรือปลาสวยงาม เป็น ต้น อย่างไรก็ตามสภาพแนวปะการังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งจึงดำเนินการติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในขณะนี้ได้ กำลังดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวปะการังให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ทำให้ทราบว่าแนวปะการังทางฝั่งอ่าวไทยมีสภาพเสื่อมโทรมลงจากเดิมมาก ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันมีแนวโน้มว่าแนวปะการังฟื้นตัวอยู่ในสภาพดีขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ในทะเลไทยยังพบหญ้าทะเลซึ่งเป็น อาหาร ที่อยู่อาศัย และ แหล่งเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำ เราจะ พบหญ้าทะเลได้ ทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและ ชายฝั่งอ่าวไทย แต่ปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากตะกอนโคลนและ ทรายจากการพัฒนาชายฝั่งและ การทำเหมืองแร่ในทะเล

นอกจากพืชแล้ว ทะเลไทยยังพบสัตว์หายาก เช่น เต่าทะเล ซึ่งพบในประเทศไทย 5 ชนิด ได้ แก่ เต่าตนุหรือเต่าแสงอาทิตย์ เต่ากระ เต่ามะเฟือง เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสีหรือเต่าทะเลริดเลย์ และ เต่าหัวฆ้อนหรือเต่าหัวโตหรือเต่าลอกเกอร์เฮด แต่จำนวนเต่าลดลงกว่าเมื่อ 15 ปีก่อนถึงร้อยละ 90 สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลลดลงเกิดจากอัตราการรอดของลูกเต่าทะเลเองในธรรมชาติต่ำมากและ ใช้เวลานานกว่าจะ ถึงวัยเจริญพันธุ์ การลักลอบเก็บไข่เต่าเพื่อไปรับประทาน หรือติดเครื่องมือประมงทั้งที่ตั้งใจและ ไม่ตั้งใจ สภาพแวดล้อมชายฝั่งเสื่อมโทรม หลักการอนุรักษ์ที่ถูกต้องและ ได้ ผลระยะยาว คือการควบคุมสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัยตลอดจนควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เต่าทะเลลดลง และ ปล่อยเต่าให้มีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ

พะยูนเป็น สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่นับวันยิ่งหายากขึ้นในทะเลไทย ทั้งที่ในอดีตเคยมีอยู่มากในทะเลทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและ ชายฝั่งอ่าวไทย จากการสำรวจทางฝั่งทะเลอันดามันในปี พ.ศ. 2544 พบพะยูนที่จังหวัดตรังเพียง 123 ตัว ส่วนจังหวัดอื่นๆ พบเพียงกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 1-18 ตัว สาเหตุเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมชายฝั่งมีผลกระทบต่อพะยูน เนื่องจากพะยูนกินหญ้าทะเลเป็น อาหารซึ่งอยู่บริเวณชายฝั่ง ประกอบ กับพะยูนมีลักษณะอุ้ยอ้าย ง่ายต่อการทำร้ายและ ถูกล่า นอกจากนี้หญ้าทะเลซึ่งเป็น อาหารก็ลดน้อยลง ปัจจัยจากมนุษย์ ประชาชนในท้องถิ่นยังนิยมบริโภคเนื้อพะยูนอยู่ ทำให้มีการลักลอบฆ่า อย่างไรก็ตาม หน่วยงานรัฐได้ มีมาตรการการอนุรักษ์ขึ้น โดยออกเผยแพร่ความรู้และ ทำความเข้าใจ กับประชาชนถึงความสำคัญของพะยูน การรักษาหญ้าทะเลซึ่งเป็น อาหารหลักของพะยูน การงดใช้เครื่องมือที่เป็น อันตรายต่อชีวิตพะยูน เพื่อคงรักษาชีวิตพะยูนไว้


เต่าทะเลที่พบในประเทศไทย

เต่าทะเล สิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญและมีคุณประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย เต่าทะเลที่พบในโลกมีจำนวนเพียง 2 วงศ์ 7 ชนิดในประเทศไทย ประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ประเทศหนึ่งของโลก ที่มีจำนวนชนิดที่พบในนานน้ำไทยถึง 5 ชนิด จากทั้งหมด 7 ชนิดในโลก เต่าทะเลที่พบในน่านน้ำไทยมีดังนี้คือ





เต่ากระ

Family : Cheloniidae

Genus : Eretmochelys

Species : Eretmochelys imbricata

Common name : Hawksbill turtle





เต่าตนุ

Family : Cheloniidae

Genus : Chelonia

Species : Chelnia mydas

Common name : Green turtle





เต่าหญ้า

Family : Cheloniidae

Genus : Lepidochelys

Species : Lepidochelys olivacia

Common name : : Olive Ridley turtle





เต่ามะเฟือง

Family : Dermochelydidae

Genus : Dermocheltys

Species : Dermochelys coriacea

Common name : Leatherback turtle,Leathery turtle


เต่าหัวฆ้อน

Family : Cheloniidae

Genus : Caretta

Species : Caretta caretta

Common : Loggerhead turtle

หมายเหตุ ไม่มีภาพถ่ายค่ะ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก fwd และภาพจาก talaythai.com






Create Date : 11 มีนาคม 2552
Last Update : 11 มีนาคม 2552 9:55:58 น. 0 comments
Counter : 1997 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
11 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.