สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

พรรณไม้ในวรรณคดี ตอนที่ 1







กรรณิการ์


กรรณิการ์ก้านสีแสด คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง ห่มสองบ่าอ่าโนเนฯ

ผ้าสีมีขลิบเนื้อ บางดี
ก้านกรรณิการ์สี แสดเถ้า
โนเนนาดน้องสี ลาเลิศ
เมียมิ่งเรียมดูเจ้า ห่อนได้วางตา
— กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก
พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nyctanthes arbortristis Linn.

ชื่อสามัญ: กรรณิการ์ (อังกฤษ: Night blooming jasmin - มะลิบานราตรี)

ประเภท: ไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง

ลักษณะ:

ต้น: สูงประมาณ 3 - 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย

ใบ: เป็นไม้ใบเดี่ยวแต่ออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวและมีขนอ่อนๆ เป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ มีลักษณะสากคายมือ

ดอก: ดอกสีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 - 8 ดอก ดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด หลอดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.50 - 2 เซนติเมตร หลอดดอกยาว 1.50 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 - 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกของกรรณิการ์มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี

ผล: เป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด

การขยายพันธุ์: โดยการตอน หรือปักชำกิ่ง

การดูแล: ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ต้องการความชุ่มชื้น และปลูกที่กลางแจ้ง
ประโยชน์: ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ก้านดอกสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรพระ หรือสีทำขนม







กระทิง

ดอกกระทิงปรากฏในวรรณกรรม พระมะเหลเถไถ - คุณสุวรรณ

กระทิงถินกลิ่นขจรมะลอนโหว
มลิวันมันโมกกะโหลกโก
กุหลาบแกมแนมโยทกาลี
กาหลงชงโคมะโยแป๋ว
มะโยปมนมแมวมะแลวฉี
มะไลยฉาวสาวหยุดมะลุดล
มลิลาสารภีมะลีโซ


กระทิง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calophyllum inophyllum L.

ชื่ออังกฤษ: Alexandrian laurel; Borneo mahogany)

ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กระทิง กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ) เป็นดอกไม้

ลักษณะ: เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20 – 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง

การดูแลรักษาทำได้โดยชอบดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด






กล้วยไม้ปรากฏใน นิราศธารทองแดง (พระนิพนธ์ โดย เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)

กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย
นมตำเลียเรี่ยทางไป
หอมหวังวังเวงใจ
ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว


กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีมากกว่า 800 สกุล และ 25,000 สปีชีส์ กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledoneae) อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่

กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ


การจำแนกวงศ์ย่อยของกล้วยไม้ วงศ์ย่อยต่างๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่

APOSTASIOIDEAE Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia
CYPRIPEDIOIDEAE Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ Cypripedium, Paphiopedilum (สกุลร้องเท้านารี) , Phragmipedium และ Selenipedium
SPIRANTHOIDEAE Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้
ORCHIDOIDEAE ไม่พบในไทย
EPIDENDROIDEAE วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanilla สกุลต่างๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และสกุลสิงโตกลอกตา
VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า


กล้วยไม้ในประเทศไทย

สิงโตรวงข้าวฟ่าง เอื้องปากนกแก้วในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป


กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่พบในประเทศไทยได้แก่

สกุลกุหลาบ (Aerides)
สกุลเข็ม (Ascocentrum)
สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum)
สกุลเอื้องน้ำต้นหรือคาแลนเธ (Calanthe)
สกุลเอื้องใบหมากหรือซีโลจิเน (Coelogyne)
สกุลกะเรกะร่อนหรือซิมบิเดียม (Cymbidlium)
สกุลหวาย (Dendrobium)
สกุลม้าวิ่ง (Doritis)
สกุลเพชรหึงหรือแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum)
สกุลลิ้นมังกรหรือฮาบีนาเรีย (Habenaria)
สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum)
สกุลเขากวางอ่อนหรือฟาเลนอปซิส (Phalaenopsis)
สกุลหวายแดงหรือรีแนนเธอร่า (Renanthera)
สกุลช้าง (Rhynchostylis)
สกุลพิศมรหรือสแปทโธกลอตติส (Spathoglottis)
สกุลเสือโคร่ง (Trichoglottis)
สกุลฟ้ามุ่ยหรือแวนดา (Vanda)
สกุลพระยาฉัททันต์หรือแวนดอปซิส (Vandopsis)
สกุลคัทลียา






กัลปพฤกษ์

นานาทุมาผลธา ผกากอบเป็นอาจิณ
รายรอบสโรทกคือนิล ฉัตรกั้นกำบังสูรย์
เกิดกัลปพฤกษ์พฤกษอุฬาร ธนาสารก็สมบูรณ์
ประสงค์ใดปนโดยจิตนุกูล ทุกสิ่งสรรพโภคา
(สมุทรโฆษคำฉันท์)


กัลปพฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia bakeriana Craib) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากทางภาคอีสานและภาคเหนือ พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ23เซนติเมตรมีกลีบดอก5กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ เป็นพุ่มใบแบนกว้าง


การดูแล
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อยถึงปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1.2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การปลูก

นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนควรปลูกให้ห่างบริเวณบ้านพอสมควรเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้าน สาขากว้างใหญ่ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก






กาหลง

เต็งแต้วแก้วกาหลง
บานบุษบงส่งกลิ่นอาย
หอมอยู่ไม่รู้หาย
คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู
(บทเห่เรือ - เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia acuminata Linn.

ชื่อสามัญ: กาหลง

ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาว

ลักษณะ: ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร

ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ปลายแฉกทั้งสองข้างแหลม ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

ดอก: ดอกออกหลังจากใบใหม่แตกออกมาแล้ว ดอกสีขาว มีลักษณะเป็นช่อดอกสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก
ฝักและเมล็ด: ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็กคล้ายรูปขอบขนาน

การดูแล: ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดปลูก

ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ

เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล






แก้ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Murraya paniculata (L.) Jack.; ชื่ออังกฤษ: Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree)

ชื่อพื้นเมืองอื่น

กะมูนิง, แก้วขาว, แก้วขี้ไก่ (ใต้), แก้วพริก (เหนือ), แก้วลาย, จ๊าพริก, ตะไหลแก้ว


ลักษณะทั่วไป
แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด


การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี

การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก
การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปแสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

การดูแลรักษา
น้ำ ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย ดินร่วนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง

การขยายพันธ์
โดยการเพาะเมล็ดและการตอน


โรคและแมลง
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร



ขอขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




 

Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2552
3 comments
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2552 10:39:42 น.
Counter : 6228 Pageviews.

 

กัลปพฤกษ์ ในรูปรู้สึกจะเป็น กาฬพฤกษ์ นะครับ

 

โดย: endless man 23 กุมภาพันธ์ 2552 12:58:21 น.  

 

แวะมาชมไม้วรรณคดี

มีเนื้อหาดี แต่เสียดายรูปเล็กไปนิดอ่ะนะ

 

โดย: tiensongsang 23 กุมภาพันธ์ 2552 13:36:49 น.  

 

ว้าวววว รูปที่ลงมานี่ ปลูกเองทั้งหมดเลยหรือเปล่าคะ
ข้องใจเรื่องกาหลงค่ะ ในบทประพันธ์บอกว่าหอม แต่ต้นที่บ้านไม่เห็นมีกลิ่นเลย เคยอ่านเจอว่าต้นที่หอมจะเป็นอีกอย่างนึง เรียกกาหลงเหมือนกัน ยังงงจนถึงปัจจุบันเลยค่ะ

 

โดย: espexy 24 กุมภาพันธ์ 2552 0:19:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
23 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.